jos55 instaslot88 Pusat Togel Online คอร์รัปชั่นกระฉูดเพราะรัฐบาลแบบไหนกันแน่ - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

คอร์รัปชั่นกระฉูดเพราะรัฐบาลแบบไหนกันแน่

คอลัมน์ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ
ทหารประชาธิปไตย
                                 คอร์รัปชั่นกระฉูดเพราะรัฐบาลแบบไหนกันแน่

    ทุกวันนี้เราถูกทำให้เชื่อกันว่ารัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งนั่นแหละ คือบ่อเกิดของการคอร์รัปชั่นที่ร้ายแรง ทั้งนี้เพราะนักการเมืองต้องลงทุนในการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นจำนวนมากเมื่อเข้ามามีอำนาจปกครองบ้านเมืองก็ต้องถอนทุน ทุกวันนี้ก็เลยพากันสาปแช่งนักการเมืองกันยกใหญ่ ส่วนหนึ่งเพราะถูกล้างสมอง บางส่วนก็เอาใจรัฐบาลทหาร แต่ความคิดเห็นดังกล่าวมันก็เป็นเพียงการกล่าวหากันลอยๆ โดยไม่มีการเปรียบเทียบว่าในความเป็นจริงรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งกับรัฐบาลทหาร ใครกันแน่ที่เป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดการคอร์รั่ปชั่นมากกว่ากัน

    นั่นคือการศึกษากันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าการเชื่อๆกันตามที่เขาบอก ซึ่งหากยึดตามหลักกาลามสูตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งโดยหลักการก็คือการพิสูจน์ความจริงโดยไม่งมงายตามที่เขาบอกนั่นเอง

    วิธีการหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบการคอร์รัปชั่น ก็คือการใช้ดัชนีการรับรู้ถึงการคอร์รัปชั่น ที่เรียกว่า CORRUPTION PERCEPTION INDEX (CPI) ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ระดับการคอร์รัปชั่นที่เป็นจริงด้วยทางเทคนิคเป็นไปได้ยากที่จะวัด เพราะข้อมูลนั้นมิอาจนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะได้ แต่การวัด CPI ได้มาจากกรรมวิธีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหลายภาคส่วน รวมทั้งข้อมูลจากสถาบันวิจัยชั้นนำทั่วโลก จึงได้รับความเชื่อถือจากนักวิชาการและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เป็นอันมาก
    ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถนำเอาค่า CPI นี้มาศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลทหาร และรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งว่ามีความเกี่ยวพันกับการคอร์รัปชั่นมากน้อย แตกต่างกันอย่างไร ในแต่ละประเทศ

    ทั้งนี้จะขออ้างอิงงานการวิจัยของ MUHAMMAD TARIQ MAJEED และ RONALD MACDONALD แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สก๊อตแลนด์ ชื่อ Corruption and Military in Politics : Theory and Evidence from around the world ที่สรุปว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลทหาร และคอร์รัปชั่นเป็นไปในทางบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ เมื่อใดที่ทหารครองเมืองอัตราการคอร์รั่ปชั่นก็จะเพิ่มขึ้น

    โดยที่ท่านได้อธิบายไว้ในงานวิจัยว่า เหตุที่รัฐบาลทหารมีการคอร์รัปชั่นมาก เพราะองค์กรของทหารเป็นองค์กรที่ควบคุมโดยเข้มงวดและยากต่อการตรวจสอบ เนื่องจากการอ้างอิงความมั่นคงที่ต้องปิดลับเป็นหลัก ทหารจึงเคยชินกับการทำงานที่เกี่ยวกับการเงิน การทอง โดยไม่ถูกตรวจสอบ หรือตรวจสอบพอเป็นพิธี ไม่มีองค์กรไหนที่จะกล้าไปตรวจสอบอย่างละเอียด ครั้นกองทัพมามีอำนาจการปกครองประเทศ จึงใช้อำนาจเบ็ดเสร็จและจัดวางคนของตนไปกำกับดูแลหน่วยงานต่างๆของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวพันกับการตรวจสอบหรือการจัดซื้อจัดจ้างอาวุธยุทโธปกรณ์ หน่วยงานที่จะเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินของรัฐ และหน่วยงานที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญๆของรัฐนั่นคือรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย ตลอดจนการเข้ากำกับดูแลหรือริเริ่มโครงการใหญ่ๆที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก

    ท่ามกลางการปกครองด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จ และการเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ ทำให้องค์การแห่งอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลกันได้ ทั้งนี้รวมทั้งองค์กรอิสระทั้งหลาย ก็อยู่ในสภาพที่ไม่อาจเข้าไปตรวจสอบได้ อย่างละเอียด ซ้ำร้ายบางองค์กรก็กลับมาทำตัวคอยปกป้องหรือรับรองการใช้จ่ายเงินว่าถูกต้องโปร่งใส เพื่อหวังประโยชน์ตอบแทนจากการอิงกับขั้วอำนาจที่เบ็ดเสร็จ สื่อเองก็อยู่ในฐานะลำบากที่จะเปิดโปงขุดคุ้ยเรื่องราวฉาวโฉ่เหล่านี้ บางสื่อก็กลับเชลียร์ขั้วอำนาจด้วยซ้ำไป และแม้มีการเปิดโปงแต่เรื่องก็จะเงียบไปในที่สุด เพราะไม่มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง
    งานวิจัยดังกล่าวจึงสรุปว่า “และด้วยสถานการณ์ที่กิจกรรมและนโยบายต่างๆตรวจสอบได้ยาก จึงทำให้ทรัพยากรสาธารณะ โดยเฉพาะเงินภาษีของประชาชน ถูกใช้ไปเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มในกองทัพได้ง่ายๆมากๆ” จึงทำให้การคอร์รัปชั่นมี CPI ที่ตกต่ำในช่วงรัฐบาลทหาร นั่นคือดัชนี CPI บ่งชี้ว่ามีการคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญ

    ลองมาพิจารณาผลจากการวิจัยโดยเปรียบเทียบในบางประเทศดังนี้
    1.เมียนมาร์ จากการวิเคราะห์ตัวเลขในช่วง 50 ปี ที่ผ่านมา เมียนมาร์ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของทหาร ซึ่งมักจะใช้ความรุนแรง และเข้มงวดในการควบคุมกิจกรรมทางการเมือง นอกจากนี้ยังมีการปราบปรามอย่างรุนแรง เพื่อควบคุมอำนาจ และกระชับอำนาจ ที่สำคัญที่เกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น คือ มีคอร์รัปชั่นสูงมากเพราะ CPI มีค่า 15 ในปี 2012 แต่พอมีการเลือกตั้งทั่วไปในปลายปีนั้น และพรรคของนางอองซาน ซูจีได้เป็นรัฐบาลค่า CPI ได้เพิ่มขึ้นเป็น 21 ในปี ค.ศ.2013 และมีค่า 28 ในปี ค.ศ.2016
    2.ไนเจอร์ ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆในทวีปอาฟริกา มีการปกครองโดยพลเรือนที่ผ่านการเลือกตั้งในช่วงค.ศ.2000-2009 มีค่า CPI เฉลี่ย 29 พอปีค.ศ.2010 ที่ทหารยึดอำนาจค่าคะแนนตกลงมาเป็น 26 และ 25 ในปีค.ศ.2011 ยิ่งอยู่ในอำนาจนานค่า CPI ก็ยิ่งลดลง ครั้นพอมีการเลือกตั้งในปีค.ศ.2012 ค่า CPI ก็เพิ่มขึ้นเป็น 33 นั่นคือระดับการคอร์รัปช่นลดลง

    ด้วยค่า CPI ที่เป็นตัวชี้วัดคือ ถ้า CPI มีค่าสูงขึ้น คอร์รัปชั่นจะน้อยลง ถ้าค่า CPI ลดต่ำลงการคอร์รัปชั่นก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถเปรียบเทียบความเกี่ยวกันในเรื่องคอร์รัปชั่นของรัฐบาลทหาร และรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งในอีกหลายประเทศ เช่น อินโดนีเชีย ไนจีเรีย และ กีนี-บิสเซา แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่แตกต่างกัน และแน่นอนถ้าเปรียบเทียบระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา คือ CPI ของประเทศพัฒนาแล้วย่อมสูงกว่าประเทศด้อยพัฒนา เพราะประชาชนของกลุ่มประเทศพัฒนาจะตื่นตัวเข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในทางการเมืองสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้โดยการเปรียบเทียบกันในช่วงที่มีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง
    อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่าในยุครัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งจะไม่มีการคอร์รัปชั่น แต่รัฐบาลพลเรือนต้องแคร์เสียงประชาชน แม้ว่าจะมีการซื้อสิทธิ-ขายเสียงก็ตาม เนื่องจากเป็นระบบที่มีการแข่งขัน พรรคฝ่ายค้านจะคอยติดตามตรวจสอบและแฉพฤติกรรมของรัฐบาล ตลอดจนจัดทำนโยบายมาแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งต่อๆไป ถ้าหากเกิดระบอบเผด็จการรัฐสภาขึ้นก็ต้องโทษว่าส่วนหนึ่งมาจากความอ่อนแอไร้ประสิทธิภาพของพรรคฝ่ายค้านนั่นเอง

    อนึ่งกุสตาฟ เลอบอง นักปราชญ็และนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส ในยุคมหาปฏิวัติได้กล่าวว่าถ้ากิจกรรมใดที่เกี่ยวกับเงินภาษีอากรของประชาชน มันจะเป็นภาระที่ประชาชนต้องแบกรับ ดังนั้นความรู้สึกของประชาชนต้องได้รับความเคารพซึ่งในกรณีอย่างนี้รัฐบาลทหารไม่ได้ให้ความสนใจ เนื่องจากมีการผูกขาดอำนาจทางการเมืองด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งสร้างภาพดูดีว่าจะดำเนินการต่างๆได้รวดเร็วถูกใจประชาชน แต่ในความเป็นจริง ถูกใจมันเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ที่มันแฝงมาด้วยก็คือการเพิ่มขึ้นของคอร์รัปชั่นตามที่งานวิจัยได้นำเสนอ

    หากเราต้องการให้เงินภาษีของเราถูกใช้ไปอย่างถูกต้อง ทำนองครองธรรม มีประสิทธิ และประสิทธิผล เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน เราคงต้องช่วยกันเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง และเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการปกครองประเทศ อย่าปล่อยให้นักการเมืองไปทำปู้ยี่ปู้ยำจนทหารต้องกลับมายึดอำนาจ ด้วยข้อหาเดิมๆ คือขจัดคอร์รัปชั่นเพราะสุดท้ายคอร์รัปชั่นกลับเพิ่มขึ้น วนเวียนในวงจรอุบาทว์ ในขณะที่ประชาชนต้องทุกข์ยากทับทวีคูณ

    อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยดัชนี CPI อยู่ที่ 38 ในปี 2015 แต่พอปี 2016 ลดลงมาเป็น 35 แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังคงว่ารัฐบาลทหารคอร์รัปชั่นน้อยกว่ารัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริงประเทศไทยก็จะเป็นประเทศเดียวในโลกที่เป็นข้อยกเว้น

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *