jos55 instaslot88 Pusat Togel Online จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท

 นักวิชาการได้เสนอแนะว่าคำว่าจริยธรรม(Ethics) และความรับผิชอบทางสังคมของบริษัท(Corporate Social Responsibility) สามารถใช้แทนกันได้ จริยธรรมจะต้องเป็นธุรกิจของบุคคลทุกคนภายในบริษัท ความท้าทายที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารบริษัทคือ   การบริหารธุรกิจอย่างมีจริยธรรม  และการทำกำไรที่สูง  ผู้บริหารควรจะให้สินบน เพื่อที่จะไ้ด้รับสัญญาทางธุรกิจจากลูกค้าหรือไม่  บริษัทที่ทำลายของเสียที่อันตรายด้วยวิถีทางที่ไม่ปลอดภัยจะถูกยอมรับได้หรือไม่ การใช้เวลาของบริษัททำธุรกิจส่วนตัวจะเหมาะสมหรือไม่  นี่คือตัวอย่างของคำถามของข้อปัญหาทางจริยธรรม  จริยธรรมจะสะท้อนขนบธรรมเนียมและศีลธรรมที่แตกต่างกันทั่วโลก  บ่อยครั้งข้อปัญหาทางจริยธรรมได้ถูกอภิปรายอย่างกว้างขวาง  เพราะว่าข้อปัญหาทางจริยธรรมได้สร้างความรู้สึกทางพฤติกรรมที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง  นักวิชาการได้ให้ความหมายของพฤติกรรมที่มีจริยธรรมไว้ว่า  พฤติกรรมที่ต้องถูกยอมรับทางศีลธรรมว่า “ดี” และ “ถูกต้อง” ตรงกันข้ามกับ “ไม่ดี”  และ “ไม่ถูกต้อง” ภายในบริบทหนึ่ง พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องอาจจะถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่มีจริยธรรม และพฤติกรรมที่ถูกต้องอาจจะถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่มีจริยธรรมได้

 เมื่อไม่นานมานี้จำนวนของบริษัทอเมริกันที่ซื่้อผลผลิตจากผู้ผลิตต้นทุนต่ำทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้น และบริษัทอเมริกันได้รู้สึกห่วงใยต่อการใช้แรงงานเด็กภายในโรงงานที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ณ ปากีสถาน  เด็กอายุหกขวบทำงานหกชั่วโมงต่อวันภายในโรงงานที่มีสภาวะน่าสลดใจ เพื่อที่จะผลิตพรมส่งออกไปยังต่างประเทศ  เด็กภายในประเทศที่ยากจน  ทั้งอัฟริกา  เอเซีย      และอเมริกาใต้    ทำงานอยู่ภายในโรงานที่มีสภาวะอย่างเดียวกัน การใช้แรงงานเด็กภายในโรงงานมีจริยธรรมหรือไม่  บริษัทควรจะซื้อและขายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยแรงงานเด็กหรือไม่

มุมมองทางจริยธรรมของการใช้แรงงานเด็กจะแตกต่างกัน โรเบิรต ไรซ์ นักเศรษฐศาสตร์  และรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน  ยุคประธานาธิบดีบิล คลินตัน เชื่อว่า การใช้เด็กควรจะถูกลงโทษและผิดกฏหมาย ณ ระดับโลก แต่มุมมองของวารสารอีโคโนมิคส์ รีวิว เชื่อว่าเราไม่มีบุคคลใดเลยต้องการเห็นเด็กถูกใช้งานภายในโรงงาน  ประชาชนของประเทศที่ร่ำรวยต้องยอมรับว่าเด็กของประเทศที่ยากจนคือ  ผู้หาเลี้ยงครอบครัวเท่านั้น   ดังนั้นการไม่ยอมรับการจ้างแรงงานเด็กย่อมจะทำให้ครอบครัวเด็กยิ่งยุ่งยากได้ การทำผิดศีลธรรมอย่างหนึ่ง(แรงงานเด็ก) อาจจะทำให้เกิดการผิดศีลธรรมมากขึ้น(ความยากจน) ดังนั้นวารสารอีโคโนมิคส์ รีวิว  จะสนับสนุนการควบคุมสภาวะที่เลวร้ายของโรงงานที่เด็กทำงานอยู่มากกว่า และคาดหวังว่าเมื่อประทศยากจนร่ำรวยขึ้น   การใช้แรงงานเด็กจะหมดไป

บริษัทระดับโลกหลายบริษัท   เช่น  แอปเปิ้ล ได้ยืนยันว่าบริษัทมีนโยบายการห้ามใช้แรงงานเด็กภายในการผลิตที่เข้มงวด  ถ้าบริษัทพบการใช้เด็กทำงาน    บริษัทจะต้องส่งเด็กกลับบ้านอย่างปลอดภัย  และจ่ายค่าจ้างอยู่ต่อไป หรือสนับเงินทุนการศึกษาแก่เด็ก และแม้แต่การเสนอการจ้างงานอีกครั้งเมื่อถูกกฏหมาย  หรือซัมซุง จะยกเลิกสัญญากับซัพพลายเออร์ทุกรายที่ใช้แรงงานเด็กทันที   วอลมาร์ท   ยักษ์ใหญ่การค้าปลีกของโลก มีนโบายว่าซัพพลายเออร์ต่างประเทศของบริษัทต้องไม่ใช้แรงงานเด็กภายในโรงงาน    บริษัทได้สาบานที่จะตัดเชือกกับซัพพลายเออร์ที่ใช้แรงงานเด็กทันทีด้วย

นักวิจัยได้คาดคะเนว่าเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี มาหกกว่า 300,000 คนกำลังถูกจ้างงานภายในโรงงานเย็บเสื้อผ้าที่ส่งออกไปยังอเมริกา เด็กเหล่านี้ต้องทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และได้ค่าจ้างต่ำกว่า 2.80 เหรียญต่อวัน ค่าจ้างขั้นต่ำของกัวเตมาลา ผู้ค้าปลีกอเมริกันหลายรายไม่ได้ตรวจสอบซัพพลายเออร์ต่างประเทศของพวกเขา ดังนั้นถ้าผู้ค้าปลีกเหลานี้้ไม่เห็นด้วยกับการใช้แรงงานเด็กแล้ว       พวกเขาไม่สามารถละเลยข้อเท็จจริงได้ว่าบริษัทกำลังซื้อเสื้อผ้าที่ผลิตจากเด็ก

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *