ชีอะฮ์ศึกษา : กรณีศึกษาประวัติสำนักคิดชีอะฮ์ในประเทศไทย
ชีอะฮ์ศึกษา : กรณีศึกษาประวัติสำนักคิดชีอะฮ์ในประเทศไทย
ศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน
โดย ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน
ศูนย์อิสลามศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ชีอะฮ์ตามความหมายของปทานนุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮฺหมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ตัวแทนของท่านศาสดามุฮัมมัด ภายหลังจากการเสียชีวิตของท่านศาสดามุฮัมมัด เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งพวกเขาได้ยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของอะฮฺลุลบัยตฺ (ลูกหลานของท่านศาสดา)
อุละมาอ์ (นักวิชาการ) นิกายชีอะฮ์กล่าวว่า ชีอะฮ์เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด นั่นก็คือท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นผู้เรียกพวกพ้องของอะลีและผู้ทีปฏิบัติตาม ท่านอะลีว่า “ชีอะฮ์” และควาหมายของชีอะฮ์ในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัดก็คือ “กลุ่มที่ยอมรับและเชื่อว่าท่านอะลีคือ อิมามผู้นำ หลังจากท่านศาสดามุฮัมมัดได้เสียชีวิต”
ท่านอัลลามะอ์ ตอบาตอบาอี กล่าวว่า “แท้จริงถือว่าชีอะฮ์ มีมาตั้งแต่สมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด นั่นก็คือ ซอฮาบะฮ์ (สาวก) ที่ยอมรับและเชื่อว่าท่านอะลีคืออิมามหลังจากท่านศาสดาได้เสียชีวิต”(อะบูอาดิล ชะรีฟ อัลฮาดีย์ 2548)
ท่านนูบักตรีย์ กล่าวว่า “ท่านซัลมาน ฟัรซี ท่านอบูซัร ฆัฟฟารี ท่านมิกดาด อิบนิ อัซวัด ท่านอัมมาร อิบนิ ยาซีร คือมุสลิมกลุ่มแรกที่ถูกเรียกว่าชีอะฮ์”
ท่านอบูฮาตัม รอซีย์ กล่าวว่า “คำว่า “ชีอะฮ์” ใช้เรียกกันมาตั้งแต่สมัยของท่านศาสดามุฮัมมัดแล้ว นั่นคือซอฮาบะฮ์(สาวก)ทั้งสี่ได้แก่ ซัลมาน ฟัรซี , อบูซัร ฆัฟฟารี , มิกดาด อิบนิ อัซวัดกินดีและท่านอัมมาร บินยาซีร”
นักวิชาการของชีอะฮ์และบางท่านจากนักวิชาการของสำนักอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ต่างยอมรับ ว่า แท้จริงศาสดามุฮัมมัดกล่าวถึงชีอะฮ์ของท่านอะลีไว้ และยังได้บอกถึงคุณลักษณะที่ดีของชีอะฮ์อะลี ดังนั้นแสดงว่าชีอะฮ์มีมาก่อนหน้านั้นแล้ว ดังที่ถูกบันทึกไว้ดังนี้
1. ท่านซุยูตีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ อัดดุรุลมันซูร โดยนำสารรายงานมาจาก ญาบีร อิบนิ อับดุลลอฮ์ว่า
วันหนึ่งเราได้อยู่กับท่านศาสดามุฮัมมัด ดังนั้นท่านอะลีได้เข้ามาท่านศาสดากล่าวว่า “ขอสาบานต่อผู้ที่มีอำนาจเหนือชีวิตของฉัน! แท้จริงเขาคนนี้ (อะลี) และชีอะฮ์ของเขา จะเป็นผู้ได้รับชัยชนะในวันกิยามะฮ์” และเมื่อท่านศาสดากล่าวจบ โองการหนึ่งจากอัล กุรอานจึงถูกประทานลงมาคือ
แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาและผู้ที่ประกอบการงานที่ดี พวกเขาคือผู้ที่ประเสริฐสุดของประชาชาติ
และท่านศาสดากล่าวต่อไปอีกว่า “พวกเขาเหล่านั้น (ผู้ที่ประเสริฐสุดแห่งประชาชติ) คือเจ้าและชีอะฮ์ของเจ้า”
1. รายงานจาก อิบนิ มัรดุวัย จากท่านอะลี กล่าวว่า
ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวกับฉันว่า “เจ้าไม่เคยได้ยินคำตรัสของอัลลอฮ์หรือที่ว่า
แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธาและประกอบการงานที่ดี พวกเขาคือผู้ที่ประเสริฐที่สุดแห่งประชาชาติ“แท้จริงพวกเขาเหล่านั้น (ผู้ที่ประเสริฐสุดแห่งประชาชาติ) คือเจ้าและชีอะฮ์ของเจ้า”
ท่านอบูฮะตัม รอซีย์ กล่าวว่า
“แท้จริงมัซฮับ (นิกาย) แรกของอิสลาม คือนิกายชีอะฮ์ ซึ่งเป็นชื่อเรียกแก่สาวก(ซอฮาบะฮ์)สี่ท่านคือ อบูซัร ฆัฟฟารี ท่านอัมมาร ท่านมิกดาด และท่านซัลมาน ฟัรซี และหลังจากสงครามซิฟฟิน ชื่อนี้ (ชีอะฮ์) ถูกใช้เรียกแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามอะลี”
3. ท่านอิบนิ ฮะญัร ได้นำริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทหนึ่ง รายงานจากอุมมุสะลามะฮ์ว่า : ท่านศาสดากล่วว่า
“โอ้ อะลีและสหายของเจ้า และชีอะฮ์ของเจ้าจะอยู่ในสวรรค์”
มุสลิมในประเทศไทยและมุสลิมนิกายชีอะฮ์
ชาวไทยมุสลิมในบริเวณนี้ก็มีที่มาแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ กล่าวคือ นอกจากจะเป็นชนเชื้อชาติไทยแล้วยังเป็นชนที่มีบรรพบุรุษจากเชื้อชาติต่างๆ คือ สายที่มีบรรพบุรุษจากเปอร์เซีย อาหรับ ชวา-มลายู จาม-เขมร อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศและจีน เป็นต้น
อนึ่ง มุสลิมที่มีเชื้อชาติต่างๆ ดังกล่าว หากจะจำแนกความแตกต่างในแนวความคิดทางการเมืองในประวัติศาสตร์ ยังแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ซึ่งสองกลุ่มนี้วงวิชาการเรียกว่านิกาย คือ ชีอะฮฺและซุนนะห์ แต่โดยในความจริงแล้ว ไม่มีนิกายในอิสลาม
บรรพบุรุษมุสลิมในธนบุรีมาจากเชื้อชาติต่าง ๆ ดังส่วนหนึ่งของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ
สายอาหรับ-เปอร์เซีย ชาวเปอร์เซียได้นำเครื่องกระเบื้องของตนเข้ามาค้าขายด้วยตั้งแต่ 1,200 ปีมาแล้ว ส่วนชาวอาหรับนั้น เรามีหลักฐานแน่นอนจากจดหมายเหตุของพวกอาหรับซึ่งแสดงให้เราทราบว่า เขาได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับดินแดนส่วนนี้ ตั้งแต่สมัย 1,100 ปีมาแล้วเหมือนกัน (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ, 2539:4)
มีหลักฐานแน่นอนว่า ได้มีมุสลิมเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ปรากฏตามจดหมายเหตุโบราณว่า มีคนที่คนโบราณเรียกว่า “แขกเทศ” ตั้งบ้านเรือนอยู่ตั้งแต่สะพานประตูจีนด้านตะวันตกของกรุงศรีอยุธยาไปจนถึงหลังวัดนางมุกแล้วก็เลี้ยวลงไปที่ท่า “กายี” เป็นบริเวณที่มุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่ในกำแพงเมือง มีถาวรวัตถุร้างไปแล้วยังปรากฏอยู่ ชาวบ้านเรียกมาจนทุกวันนี้ว่า “กุฎีทอง” ที่นี่คำว่า “แขกเทศ” มีปรากฏในจดหมายเหตุนี้ นักโบราณคดีสันนิษฐานกันว่าจะเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามที่มีรกรากบ้านเดิมอยู่ในประเทศอาหรับบ้าง และในประเทศอิหร่านหรือเปอร์เซียบ้าง แล้วก็มาตั้งรกรากเพื่อดำเนินการค้าขาย ในที่สุดก็กลายเป็นคนไทย (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ, 2539 : 3)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากเฉกอะหมัดซึ่งเป็นชาวเปอร์เซียที่มาตั้งถิ่นฐานและสร้างมัสยิดที่เรียกว่า กุฎีทองแล้ว ยังมีชาวเปอร์เซียที่สำคัญอีกท่านหนึ่งเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่หัวเขาแดง (สงขลา) หลังจากตั้งถิ่นฐานที่อินโดนีเซียมาแล้วระยะหนึ่ง ชาวเปอร์เซียท่านนี้เป็นชาวมุสลิมสายซุนนะห์ชื่อ ท่านโมกอล (เข้ามาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ.2145) บิดาของท่านสุลัยมาน ผู้ที่ประกาศแยกสงขลาออกเป็นอิสระจากกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองและสถาปนาตนเองเป็น “สุลต่านสุลัยมานซาห์” เมื่อ พ.ศ. 2173 โดยท่านถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2211 ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ศพของท่านฝังอยู่ที่หัวเขาแดงจังหวัดสงขลา
เชื้อสายของสุลต่านสุลัยมานซาห์อยู่ในตระกูลต่าง ๆ ในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นราชสกุลและสกุลต่าง ๆ ที่ยังคงเป็นมุสลิมและเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนิกชน อาทิ สุทัศน์ ณ อยุธยา สุคนธาภิรมย์ วัลลิโภดม จันทโรจนวงศ์ ณ สงขลา ณ พัทลุง สุวรรณคีรี ขัมพานนท์ ศรุตานนท์ วงศ์วานิช ยงใจยุทธ ฯลฯ ที่ยังเป็นมุสลิม เช่น ตระกูสุวรรณกิจบริหาร โยธาสมุทร บางอ้อ สิทธิวนิช แสงวนิชย์ ปรียากร ชลายนเดชะ บัวหลวง ทองคำวงศ์ ศรเดช ฯลฯ
สายชวา-มลายู ส่วนชาวมุสลิมเชื้อสายปัตตานีซึ่งเป็นชาวบ้านเรียกว่า “แขกปัตตานี” มักจะประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมและค้าขาย (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ, 2539 : 21)
คนที่นับถือศาสนาอิสลามในสมัยศรีอยุธยานั้นมีตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นตำบลใหญ่ หลายร้อยหลายพันหลังคาเรือนเหมือนกัน ตำบลนั้นจะอยู่คลองตะเคียนทางทิศใต้ ส่วนอิสลามิกชนซึ่งมาจากอินโดนีเซียจากเกาะที่เรียกว่า “เกาะมากาซา” หรือ “มักสัน” ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านฝั่งตะวันตกลงไป (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ, 2539 : 3)
ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า ช่วงสงครามไทย-พม่าจนมาถึงช่วงการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา มุสลิมกลุ่มนี้ได้อพยพหลบหนีมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในธนบุรี นอกจากนั้นตลอดสมัยธนบุรีถึง กรุงรัตนโกสินทร์ก็คงมีมุสลิมเชื้อสายชวา-มลายูย้ายถิ่นฐานจากอาณาจักรปัตตานีมาอยู่ในธนบุรี เพราะถูกกวาดต้อนเป็นเชลยและเชิญชวนมาช่วยปฏิบัติงานรับใช้ชาติ ส่วนมุสลิมจากชวาก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเช่นกัน
สายจาม-เขมร จามและเขมรเป็นคนละเชื้อชาติ เพราะจามเป็นชนที่ผสมระหว่างขอมเดิม อินเดีย มลายูและจีน เป็นต้น จามเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเข้ารับราชการเป็นทหารอาสา ดังความในกฎหมายไทย (2439 : 192) ปรากฏว่า ยังมีแขกอีกพวกหนึ่งซึ่งปรากฏในมณเฑียรบาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เรียกว่า “อาสาจาม”
มุสลิมที่อพยพจากกัมพูชานี้ ภายหลังเข้ามารวมเป็นพวกอาสาจาม ส่วนสาเหตุที่อพยพ เข้ามาในไทยเพราะถูกรุกรานจากเวียดนาม (รัชนี สาดเปรม, 2521 : 18)เมื่อเกิดสงครามไทย-พม่า กองอาสาจามจึงเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้ศัตรูของไทย และเสียชีวิตลงจากการต่อสู้กับศัตรูเป็นจำนวนมาก ที่รอดชีวิตส่วนหนึ่งได้อพยพลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบางอ้อและที่อื่น ๆ
สายอินเดีย-ปากีสถาน-บังคลาเทศ อินเดียที่ต่อมาแยกประเทศเพิ่มเป็นปากีสถานและ บังคลาเทศ เป็นชนอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งถิ่นฐานในไทย มุสลิมเชื้อสายอินเดียมีทั้งที่เป็นสายชีอะฮฺและสายซุนนะห์ และมีทั้งรวมตัวตั้งเป็นชุมชนเฉพาะกลุ่มและเข้าไปตั้งถิ่นฐานรวม หรือโดยการแต่งงานกับคนในชุมชนมุสลิมเชื้อสายอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว
มุสลิมอินเดียชีอะฮ์สายอิสมาอีลียะฮ คือที่มัสยิดตึกขาว (เซฟี) มีสุสานอยู่ใกล้กับกุฎีเจริญพาศน์ ส่วนกลุ่มที่เป็นซุนนะห์คือที่ชุมชนมัสยิดฮารูณ ซึ่งเป็นชุมชนริมฝั่งเจ้าพระยาด้านตะวันออกหรือฝั่งพระนคร นอกจากนั้นกล่าวได้ว่า ทุกชุมชนเก่าแก่ในธนบุรี มุสลิมเชื้อสายอินเดียจะกระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ชุมชนมัสยิดตึกแดงซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของ พระคลังสินค้า สกุลต่าง ๆ ของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายนี้ เช่น วงศ์อารยะ นานา นานากุล นานาวิชิต สยามวาลา ชาลวาล ดุลยรัตน์ สถาอานันท์ สมุทรโคจร วานิชอังกูร วานิชยากร อับดุลราฮิม อมันตกุล อมรทัต สิมารักษ์ กุลสิริสวัสดิ์ ฯลฯ
สายจีน มุสลิมเชื้อชาติจีนที่ตั้งถิ่นฐานในธนบุรีอาจมีอยู่บ้าง แต่จำนวนไม่มากเหมือนทางภาคเหนือของไทยและส่วนที่มีอยู่จะเป็นลักษณะการผสมระหว่างเชื้อชาติเสียมากกว่า กล่าวคือ ชาวจีนซึ่งอาจจะมีทั้งจีนมุสลิมแต่เดิมและจีนที่นับถือศาสนาอื่นแต่เดิม แต่งงานกับมุสลิมเชื้อชาติต่าง ๆ เช่นจามมุสลิมก็เป็นกลุ่มเชื้อชาติผสมจีน มุสลิมจากอาณาจักรปัตตานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบบริเวณอ่าวปัตตานีจำนวนไม่น้อยก็เป็นมลายูผสมจีน ทั้งนี้จากการเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย ซึ่งอ่าวปัตตานีจะเป็นบริเวณที่พักหลบลมมรสุมอย่างดี ส่วนในปัจจุบันมุสลิมจากเชื้อชาติต่าง ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในธนบุรีส่วนหนึ่งก็ได้แต่งงานกับลูกหลานชาวจีนที่นับถือศาสนาต่าง ๆ โดยมาเข้ารับอิสลาม และมักจะกลายเป็นมุสลิมผู้เคร่งครัดเป็นจำนวนไม่น้อย
มุสลิมนิกายชีอะฮ์ในประเทศไทย
แขกเจ้าเซ็น หมายถึงกลุ่มชนที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์เฉพาะในประเทศไทยซึ่งมีคนไทยยังมีคำเรียกอื่นๆ ที่ให้ความหมายถึงชนกลุ่มนี้อย่างรวมๆด้วย เช่นคำว่า แขกเทศ แขกมะหง่น หรือแขกมัวร์ “เจ้าเซ็น” หรือ “แขกเจ้าเซ็น” แม้จะหมายถึงผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับชนกลุ่มอื่น เช่น แขกมาลายู แขกชวา แขกจาม หรือแขกอาหรับ แต่มีความเชื่อหรือความศัทธาของตนที่แยกแตกต่างจากชนกลุ่มใหญ่ในศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะพิธีกรรม (Rituals) การรำลึกถึงมรณกรรมของบุคคลสำคัญที่ชื่อว่า ฮูเซ็น อิบนิอะลี ผู้เป็นผู้นำคนสำคัญที่มีตำแหน่งเป็นอิหม่ามและยังมีสถานะเป็นหลายชายของศาสดามูฮัมหมัดที่เกิดจากท่านหญิงฟาฎิมะห์ ผู้เป็นบุตรสาวคนเดียวของท่านศาสดาอีกด้วย นางได้สมรสกับอิหม่ามอาลีและมีบุตรด้วยกันสองคน คือ ฮะซันและฮูเซ็น บุคคลทั้งสองในเวลาต่อมาได้เป็นผู้นำประชาคมและดำรงตำแหน่งอิหม่ามในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 61 ตามปฏิทินอิสลาม ( ราว พ.ศ. 1224 ) สมัยที่ท่านฮูเซ็นเป็นอิหม่ามท่านถูกกระทำทารุณกรรมและถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหด พร้อมกับบริวารของท่านอีกจำนวนหนึ่ง ณ แผ่นดินกัรบะลาห์
และคำว่า “เจ้าเซ็น” หรือ “แขกเจ้าเซ็น” ปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในวรรณกรรมสำคัญๆ เช่น พระราชนิพนธ์กาพย์แห่เรือในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีชื่อบทแห่เจ้าเซ็น ว่า
โคลง
ดลเดือนมหะหร่ำเจ้า เซ็นปี ใหม่แม่
มะหงุ่นประปรานทวี เทวษใหม่แม่
ห่อนเห็นมิ่งมารศรี เสมอชีพ มานา
เรียมลูบไล้ไล้ คู่ข้อน ทรวงเซ็น ฯ
กาพย์
ดลเดือนเรียกมหะหร่ำ ขึ้นสองค่ำแขกตั้งการ
เจ้าเซ็นสิบวันวาร ประหารอก ฟกฟูมนัยน์
มหะหร่ำเรียมคอยเคร่า ไม่เห็นเจ้าเศร้าเสียใจ
สมัยกรุงศรีอยุธยามีชาวเปอร์เซีย ( Persian ) หรือแขกเปอร์เซียเป็นส่วนใหญ่ได้ทำพิธีอาชูรออ์ เพราะแขกกลุ่มนี้เป็นผู้นำแบบแผนนิกายชีอะฮ์ (Shi’ite) รวมทั้งพิธีกรรมของตนเข้าสู่สังคมไทยในช่วงเวลานั้น สังคมไทยในสมัยนั้นรับรู้อัตลักษณ์ของมุสลิมนิกายชีอะฮ์เป็นอย่างดี เพราะว่าในสมัยท่านเฉกอะหมัด กูมี ได้รับโปรดเกล้าเป็นพระยาจุฬาราชมนตรีคนแรกของมุสลิมชาวไทย ท่านเฉกอะหมัด กูมีได้นำพิธีมะห่าร่อม หรือ การรำลึกถึงอิมามฮุเซนในวันอาชูรอมาถือปฎิบัติทุกปี และเป็นอัตลักษณ์ของมุสลิมชีอะฮ์มาแต่ในอดีตสมัย โดยไม่มีความขัดแย้งหรือวิพาททางหลักคิดคำสอนใดๆเพราะสังคมไทยตั้งแต่อดีตเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ดำรงอยู่กับความหลากหลายทั้งด้าน ศาสนา ภาษา วัฒนธรรมความเชื่อ จึงทำให้มุสลิมนิกายชีอะฮ์และพิธีมะห่าหร่ำเป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันคนพื้นที่และท้องถิ่นในประเทศไทยมาช้านาน
พิธีกรรมที่ผู้คนในสังคมอยุธยาเรียกว่า พิธีมะห่าหร่ำถูกบันทึกโดยชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาและพบเห็นพิธีกรรมของคนกลุ่มนี้ได้บันทึกตามความเข้าใจของตนเป็นสำคัญส่วนใหญ่มักกล่าวโดยรวมตามทัศนของตน เช่นกล่าวว่าเป็นพิธีของพวกมะหะหมัดเป็นการเล่าเรื่องเหตุการณ์ให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของพิธีกรรมในลักษณะของรูปแบบการจัดงานไว้อาลัยแก่อิมามฮุเซน(อ)
เฉกอะหมัด กูมีในฐานะผู้นำกลุ่มชนมุสลิมนิกายชีอะฮ์ได้นำพิธีกรรมมะห่าหร่ำหรือพิธีรำลึกไว้อาลัยในวันอาชูรออ์ ท่านได้เดินทางเข้ายังกรุงศรีอยุธยาในสถานะพ่อค้าวานิช เฉกอะหมัดผู้นี้ได้ทำการค้าอยู่ในสังคมอยุธยาจนรุ่งเรืองตลอดจนมีโอกาสช่วยปรึกษาราชการงานบ้านเมืองที่เกี่ยวกับการค้าขายและการเดินเรือกับราชสำนักสยามตลอดจนให้คำปรึกษาด้านการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมแบบพหุวัฒนธรรม ส่งผลให้ประชาชนชาวสยามมีวัฒนธรรมที่ดีต่อกันและเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประเพณีและยังส่งผลให้การค้าของราชสำนักอยุธยาเจริญขึ้นตามลำดับ
การศึกษาถึงประวัติศาสตร์และการพัฒนาการของความเป็น “แขกเจ้าเซ็น “ในสังคมไทยมีความเป็นมาที่ยาวนานพร้อมๆกับการตั้งชุมชนของชนกลุ่มนี้ในสมัยอยุธยาที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจุบัน และแม้ว่าการรับรู้ของสังคมในระยะแรก คนไทยกับคุ้นเคยชนกลุ่มนี้ในความเป็น “แขกเทศ “ “แขกมัวร์ “ หรือความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เปอร์เซียก่อนที่จะรู้จักคำว่า “แขกเจ้าเซ็น “ด้วยเหตุนี้การ
ทำความเข้าใจในพัฒนาการและความเป็นมาของ “แขกเจ้าเซ็น “ จึงมีส่วนสำคัญตลอดจนเป็นพื้นฐานของการศึกษาที่จะนำมาซึ่งความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของผู้คน และพิธีกรรมหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงในกล่าวถึงในสังคมไทยในเวลาต่อมาว่า “ พิธีเจ้าเซ็น “อันเป็นกลไกของการธำรงอยู่ของชนกลุ่มนี้ในสังคมปัจุบัน
ส่วนคำว่า” แขกเจ้าเซ็น” เป็นคำหนึ่งที่กำหนดเรียกจากสังคมไทย หลังจากที่คนไทย หลังจากที่คนกลุ่มนี้เดินทางเข้ามาปฏิสัมพันธ์และนำรูปแบบพิธีกรรมของตนเข้ามายังสังคมไทย คนในสังคมอยุธยาที่ได้พบเห็นหรือคุ้นเคยกับพิธีกรรมเฉพาะของคนกลุ่มนี้ เรียกพิธีกรรมนี้ว่า พิธีเจ้าเซ็นรวมถึงเรียกคนหรือ “แขก “ กลุ่มที่ประกอบพิธีกรรมนี้ว่า แขกเจ้าเซ้น ด้วย
พิธีมะหะหร่ำจึงเป็นเสมือนหนึ่งอัตลักษณ์ร่วมตามความเชื่อความศรัทธาของทั้งหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ได้ผูกโยงกับกลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดเป็นการเฉพาะการเรียนรู้เพื่อสร้างความประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของศาสนาเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนิกายต่างๆในศาสนานี้ ตลอดจนเรียนรู้เรื่องกลุ่มชาติพันธุ์และการผสมผสานด้านวัฒนธรรม เพื่อความเข้าใจบทบาทของพิธีกรรมนี้ไปพร้อมๆกันด้วย
กรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองจากการทำการค้าอย่างมากในพุทธศักราช 2112 กล่าวคือในแผ่นดินของสมเด็จพระนเรศวร ๆ ( พ. ศ. 2133-2148 ) เป็นเวลาที่ราชสำนักอยุธยาเปิดต้อนรับชาวต่างชาติอย่างกว้างขวางพรองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะขยายการค้าทางของกรุงศรีอยุธยาปทางชายฝั่งทะเลตะวันตกมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทรงมีพระราโชบายที่จะกำจัดบทบาทของอาณาจักรเขมร ซึ่งกำลังรุ่งเรืองและพยายามทำการค้าแข่งกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น
สมเด็จพระนเรศวรฯ จึงทรงอำนวยโอกาสให้กันชาวต่างชาติทุกชาติเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ทำให้ชาวต่างชาติเหล่านั้นทั้งในฐานะของนักเดินทาง นักแสวงโชค และพ่อค้าวานิชต่างๆหลั่งไหลเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก รวมถึงพวกกลุ่มแขกมัวร์หรือชาวเปอร์เซียที่เคยเข้ามาสัมพันธ์กับสังคมอยุธยาอยู่ก่อนแล้ว
นิโคลาส์ แชแวส กล่าวถึงบทบาทของแขกกลุ่มนี้ในสังคมอยุธยาว่า
ในชั้นแรก ชนส่วนใหญ่ขอ งแขกมัวร์หมายถึงชาวเปอร์เซีย ซึ่งกลุ่มที่เดินทางเข้ามายังสังคมอยุธยาเป็นจำนวนมากกว่าแขกกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ (16-17) ตรงกับราชวงค์ซาฟาวยะฮ์ปกครองอาณาจักรเปอร์เซีย ( ค.ศ. 1501- 1732 ) การเมืองของราชสำนักสยามตรงกับราชวงค์ปราสาททอง โดยเฉพาะในช่วงที่สมเด็จพระนารายณ์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ได้ทรงส่งคณะราชฑูตไปยังประเทศเปอร์เซียเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักทั้งสอง รวมทั้งความร่วมมือทางด้านการค้า
ด้วยความสามารถในด้านพาณิชยนาวีของพวกแขกมัวร์หรือแขกเปอร์เซีย ส่งผลให้ในเวลาต่อมาแขกกลุ่มนี้บางส่วนได้ก้าวมามีบทบาทรับราชการเป็นขุนนางตำแหน่งสำคัญในราชสำนักอยุธยาในเวลานั้น และมีส่วนที่นำพาให้วัฒนธรรมต่างๆของพวกตนทั้งในเรื่องศาสนาจารีตประเพณี และวัฒนธรรมอื่นๆเข้ามามีบทบาทต่อสังคมหลายด้าน จนกลายเป็นที่คุ้นเคยกับผู้ในสังคมอยุธยา
ชีอะฮ์ในสังคมอยุธยา
คำว่าแขกเจ้าเซ็น สันนิฐานในชั้นตนได้ว่าถูกบัญญัติขึ้นโดยผู้คนในสังคมสมัยอยุธยาเป็นต้นมาทั้งนี้เพราะคำว่า แขกเจ้าเซ็น ถูกเรียกตามพิธีกรรมในศาสนาของกลุ่มนี้โดยการรับรู้ทางสังคมผ่านรูปแบบของพิธีกรรมนี้
พิธีกรรมที่ผู้คนในสังคมอยุธยาเรียกว่า พิธีจ้าเซ็นถูกบันทึกโดยชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาและพบเห็นพิธีกรรมของคนกลุ่มนี้ได้บันทึกตามความเข้าใจของตนเป็นสำคัญส่วนใหญ่มักกล่าวโดยรวมตามทัศนของตน เช่นกล่าวว่าเป็นพิธีของพวกมะหะหมัดหรือพรรณาให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของพิธีกรรมในลักษณะของรูปแบบการจัดงานเฉลิมฉลองทางศาสนาตามลัทธินิยมของพระมะหะหมัด หรือบ้างก็บรรยายให้เห็นภาพของการฉลองอย่างเอิกเกริกคึกครื้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามการบันทึกเรื่องราวและพิธีกรรมของคนกลุ่มนี้ในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่อยู่ในช่วงราชวงศ์ปราสาททอง โดยเฉพาะในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นเวลาที่คณะราชฑูตชาวตะวันตกเดินเข้ามามาก
คำว่า แขกเจ้าเซ็น น่าจะเกิดขึ้นภายหลังและเฉพาะแต่ในหมู่คนในสังคมอยุธยาเท่านั้นตามที่ปรา อฎเป็นหลักฐานในรูปบันทึกคำให้การของชาวกรุงเก่า ซึ่งเป็นบันทึกร่วมสมัยของสังคมอยุธยาตอนปลายที่กล่าวถึงชุมชนแขกกลุ่มนี้ว่าอยู่ในตัวเกาะเมืองด้านใต้ เป็นการพรรณาถึงตัวตนและความมีอยู่ของกลุ่มแขกเจ้าเซ็นในกลุ่มสังคมอยุธยาขณะว่าบันทึกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ชุมชนของแขกเจ้าเซ็นในสมัยอยุธยาอาศัยอยู่ในตัวเกาะเมืองทางตอนใต้ ซึ่งเป็นที่ดินที่กล่างกันว่าในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม ( พ.ศ 2153-2171 ) ทรงพระราชทานให้แก่ชนกลุ่มนี้เพื่อตั้งเป็นนิคมชุมชนของพวกตน
หลักฐานการเดินทางเข้ามายังสังคมไทยของกลุ่มแขกเจ้าเซ็นนี้แม้ว่าจะมีข้อมูลจำนวนไม่น้อยที่แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาตั้งแต่สมัยก่อนสมัยอยุธยาแล้วก็ตามแต่ตัวตนในประวัติศาสตร์ของคนกลุ่มนี้กลับปรากฏขึ้นในสังคมอยุธยาปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรฯ ( พ.ศ. 2133- 2148 ) ถึงแขกกลุ่มนี้ในนามบุคคลว่า เฉกอะหมัด ในฐานะผู้นำกลุ่มชนที่เดินทางเข้ายังอยุธยาในสถานะพ่อค้า วานิชพร้อมด้วยน้องชาย เฉกอะหมัดผู้นี้ได้ทำการค้าอยู่ในสังคมอยุธยาจนรุ่งเรืองตลอดจนมีโอกาสช่วยปรึกษาราชการงานเมืองที่เกื่ยวกับการค้าขายและการเดินเรือกับราชสำนักสยาม ส่งผลให้การค้าของราชสำนักอยุธยาเจริญขึ้นตามลำดับ
ต่อมาเฉกอะหมัดได้โอกาสเลื่อนฐานะภาพขึ้นเป็นขุนนางในแผ่นดินของพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2153-2177 ) พระองค์โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแขกผู้นี้เป็นออกญาเฉกอะหมัดรุตนราชเศรษฐีเจ้ากรมท่าขวาว่าที่จุฬาราชมนตรี ในแผ่นดินของพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172-2199 ) และทรงโปรดเกล้า ฯให้เลื่อนขึ้นเป็นออกญาบวรราชนายกจางวางกรมมหากไทย
ออกญาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด ) ผู้นี้ได้สมรสกับหญิงพื้นเมืองในสังคมอยุธยาที่มีนามว่าเชย และสืบวงศ์วานของตนต่อมาชั้นลูกหลานในสังคมไทยภายหลัง
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ วงศ์แขกเทศของออกญาบวรราชนายก ( เฉกอะหมัด ) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในราชสำนักฯ กล่างได้ว่าเกือบตลอดแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระองค์ทรงเลือกใช้แขกกลุ่มนี้เพื่อคานดุลกับอำนาจกลุ่มต่างฯ ของราชสำนัก ส่งผลให้แขกกลุ่มนี้ก้าวมามีบทบาทต่องานราชการแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ในเวลาต่อมาอีกหลายคน เช่น ออกญาศรีนวรัตน์ (อะกามะหะหมัด ) ผู้ซึ่งเป็นลุงของเฉกอะหมัด เป็นต้น
จุฬาราชมนตรีใน ประเทศไทย กรณีศึกษา :ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีสายนิกายชีอะฮ์
จุฬาราชมนตรี” ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำฝ่ายอิสลามในประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นในสมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163 – 2171)
ในสมัยนั้น ได้มีชาวต่างชาติซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยเข้ามาประกอบการค้า และเข้ารับราชการเป็นจำนวนมาก
ตั้งแต่ปลาย สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133 – 2148) มีพ่อค้าชาวเปอร์เซียสองพี่น้อง คนพี่ชื่อ “เชคอะหมัด” คนน้องชื่อ “เชคสะอิ๊ด” เป็นชาวเปอร์เซีย นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ ซึ่งคนไทยโดยทั่วไปเรียกว่า ”แขกเจ้าเซ็น” พร้อมด้วยบริวาร ได้เข้ามาตั้งรกรากค้าขายอยู่แถวท่าภาษี
สองพี่น้องนี้ทำการค้าโดย ซื้อสินค้าพื้นเมืองจากไทยบรรทุกสำเภาออกไปจำหน่ายต่างประเทศและซื้อของจาก ต่างประเทศเข้ามาขาย ณ กรุงศรีอยุธยา เรียกว่าทำการส่งออกและนำเข้าโดยสมบูรณ์ทั้งขึ้นทั้งล่อง
การค้าของบุคคลทั้งสองเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ จนถึงขั้นเป็นเศรษฐีใหญ่ในกรุงศรีอยุธยาทีเดียว ท่านเชคสะอิ๊ดอยู่ไม่นานก็กลับไปกรุงเปอร์เซีย และมิได้กลับมาอีกเลยตลอดชีวิต ส่วนท่านเชคอะหมัดนั้นได้สมรสกับสุภาพสตรีไทยและตั้งรกรากอยู่ในกรุง ศรีอยุธยาตลอดชีวิตของท่าน
จุฬา ราชมนตรี (เชคอะหมัด)
ในสมัยแผ่น ดินพระเจ้าทรงธรรม ท่านเชคอะหมัดเป็นผู้เจนจัดในด้านการค้ากับต่างประเทศ ได้ช่วยราชการแผ่นดิน โดยร่วมกับพระยาพระคลังปรับปรุงการกรมท่า ทำให้งานราชการด้านดังกล่าวเจริญก้าวหน้ามาก ความทราบถึงเบื้องพระยุคลบาท จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระยาเชคอะหมัดรัตนราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวาและว่าที่จุฬาราชมนตรีเป็นผู้ดูแลควบคุมชาวมุสลิมอีกด้วย
นับ ได้ว่าท่านเชคอะหมัดเป็นปฐมจุฬา ราชมนตรีของประเทศไทย
จุฬาราชมนตรี (แก้ว)
ท่านจุฬาราชมนตรี คนที่ 2 คือ พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) เป็นบุตรของพระยาศรีนวรัตน์ (อากามะหะหมัด) เป็นหลานปู่ของท่านเชคสะอิ๊ด ซึ่งกลับไปเปอร์เซียแล้ว และเป็นหลานตาของท่านเชคอะหมัด เจ้าพระยาบวรราชนายกนั่นเอง
ท่านผู้นี้ได้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และนับเป็นลำดับชั้นที่ 2 ในสายสกุลของท่านเชคอะหมัด แต่ท่านไม่มีบุตรธิดาสืบสกุลเลย
จุฬาราชมนตรี (สน)
ท่านจุฬาราชมนตรี คนที่ 3 คือ พระยาจุฬาราชมนตรี (สน) เป็นบุตรของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) พี่ชายของท่านพระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) นั่นเอง ได้เข้าราชการตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นหลวงศรียศในกรมท่าขวา แล้วได้รับเลื่อนเป็นพระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ 3 กรุงศรีอยุธยา ว่าที่กรมท่าขวา ท่านผู้นี้ไม่มีบุตรธิดาสืบสกุลเลยเช่นกัน
จุฬาราชมนตรี (เชน)
ท่านจุฬา ราชมนตรี คนที่ 4 คือ พระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) เป็นบุตรเจ้าพระยาเพชรพิไชย (ใจ) นี้ได้เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาพุทธ เมื่อคราวเสด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อพระราชดำเนินขึ้นสมโภชพระพุทธบาท แต่พระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) ซึ่งเป็นบุตรยังคงนับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์อยู่มิได้เปลี่ยนศาสนาไปตาม บิดาด้วย ท่านจุฬาราชมนตรี (เชน) นี้ได้ว่าทั้งกรมท่ากลางและกองอาสาจาม ได้รับพระราชทานเกียรติยศเสมอเจ้าพระยาพระคลังแต่มิได้ตั้งให้เป็นเจ้าพระยา เท่านั้น
จุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว)
ในสมัยกรุงรัตน โกสินทร์ ท่านจุฬาราชมนตรีท่านแรกคือ พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ว่าที่จุฬาราชมนตรีคนที่ 1 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ชื่อทางอิสลามมีชื่อว่า “มูฮำหมัดมะอ์ซูม” ท่านได้เข้ารับราชการมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยาศน์อมรินทร์ โดยถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย พ.ศ. 2310 ท่านได้หลบหนีข้าศึกมาได้และถวายตัวรับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็น “หลวงศรีนวรัตน์”
จุฬา ราชมนตรี (อกาหยี่)
เป็นน้องชายของจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบุทธเลิศหล้านภาลัย
จุฬาราชมนตรี (เถื่อน)
จุฬา ราชมนตรี คนที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือคนที่ 6 ของประเทศไทย คือพระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว)
จุฬาราชมนตรี (น้อย)
เป็น บุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (อกาหยี่) ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จุฬาราชมนตรี (นาม)
ท่านจุฬา ราชมนตรีคนที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือคนที่ 7 ของประเทศไทย คือ พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) มีชื่อทางศาสนาว่า “มิรซามุฮัมมัดตะกี” เป็นบุตรของท่านจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาได้ย้ายมาอยู่กรมท่าขวา ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชเศรษฐี
เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ผู้นี้ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์” ในรัชกาลที่ 3 นับว่าพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) นี้ได้รับราชการเป็นที่วางพระราชหฤทัยมากในด้านความซื่อสัตย์สุจริต ได้รับมอบหมายงานทั้งด้านการคลัง การต่างประเทศ ตลอดจนการพาณิชย์ นับเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง
จุฬาราชมนตรี (สิน)
ต่อมาพระยา จุฬาราชมนตรี (สิน) ผู้เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) ก็ได้สืบตำแหน่งต่อมา ท่านมีชื่อทางอิสลามว่า “มิรซากุลามอุชเซ็น” มารดาของท่านชื่อคุณหญิงกลิ่น เป็นราชินิกุลทางสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี ในรัชกาลที่ 5 กล่าวคือ ท่านเป็นลูกเรียงพี่เรียงน้องกับพระราชชนนีของในหลวง ดังนั้นพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) จึงอยู่ในราชินิกุลทางฝ่ายพระราชชนนี
๑๐.จุฬาราชมนตรี (สัน อหะมัดจุฬา)
ท่านจุฬา ราชมนตรี คนที่ 5 ของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือคนที่ 9 ของประเทศไทย คือ พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อะหมัดจุฬา) มีชื่อทางอิสลามว่า “มิรซา อาลีระชา” เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) กับคุณหญิงแพ
๑๐.จุฬาราชมนตรี (เกษม อหะมัดจุฬา)
พระยา จุฬาราชมนตรี (เกษม อะหมัดจุฬา) เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นคนที่ 10 ของประเทศไทย ท่านมีชื่อทางอิสลามว่า “มุฮัมมัดระชา” เป็นบุตรคนที่ 5 ของพระจาจุฬาราชมนตรี (สิน) เป็นน้องต่างมารดากับพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) เจ้าคุณบิดาได้นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สังกัดอยู่ในกรมท่าขวา กระทรวงการต่างประเทศ
๑๑.จุฬาราชมนตรี (สอน อหะมัดจุฬา)
ท่านจุฬา ราชมนตรี คนที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์หรือคนที่ 11 ของกรุงสยามคือ พระยาจุฬาราชมนตรี (สอน อะหมัดจุฬา) เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) กับคุณหญิงถนอม ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงราชเศรษฐี” รับราชการในกระทรวงมหาดไทย
จุฬา ราชมนตรี สายซุนนีย์
จุฬา ราชมนตรี (๑๒.แช่ม พรหมยงค์)
ครั้นต่อมาในสมัย ประชาธิปไตย การแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2488 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม และได้กำหนดให้ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาราชการขององค์พระมหา กษัตริย์ในด้านกิจการศาสนาอิสลาม
นับได้ว่า นายแช่ม พรหมยงค์ เป็นจุฬาราชมนตรี คนที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 12 ของประเทศไทย
๒.จุฬาราชมนตรี (๑๓.ต่วน สุวรรณศาสน์)
หลังจาก ท่านจุฬาราชมนตรี แช่ม พรหมยงค์ ได้ลาออกจากตำแหน่งจุฬาราชมนตรี และเดินทางไปพำนักอยู่ในต่างประเทศแล้ว ราวปี 2490 รัฐบาลขณะนั้นมี จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย ได้เชิญประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัดมาประชุมเพื่อเสนอตัว บุคคลที่ควรจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นจุฬาราชมนตรีต่อไป
๓.จุฬาราชมนตรี (๑๔.ประเสริฐ มะหะหมัด)
หลังจาก นั้นเมื่อ พ.ศ. 2524 ทางราชการก็ได้เชิญบรรดาประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัดมาประชุม ที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อคัดเลือกตัวบุคคลที่จะกราบบังคมทูลให้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีคนต่อไป
๔.จุฬาราชมนตรี (๑๕.สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์)
ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2540 – 2553) โดยได้ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศและได้รับ การเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 เป็นคนแรก
๕.จุฬาราชมนตรี (๑๖.นายอาศิส พิทักษ์คุมพล)
นายอาศิส พิทักษ์คุมพล เกิด เมื่อปี พ.ศ.2490 ที่ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา จบการศึกษาสายศาสนาจากสถาบันปอเนาะใน อ.จะนะ จ.สงขลา และ จ.ปัตตานี แม้ไม่ใช่ชาวไทยเชื้อสายมลายู แต่ที่ผ่านมาได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาภาคใต้ มาหลายกรรมวาระ นอกจากการสนิทแนบแน่นกับพี่น้องมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว พื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา คือ นาทวี จะนะ เทพา และสะบ้าย้อยก็มีเหตุความไม่สงบเกิดขึ้น โดยนายอาศิสต้องเข้าไปรับผิดชอบใน ฐานะผู้นำศาสนาประจำจังหวัด และการเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง คือ การดำรงตำแหน่งสำคัญในกรรมการอิสระเพื่อ ความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
บรรณานุกรม
เชคชะรีฟ ฮาดียฺ แบบเรียนศาสนาอิสลามตามแนวทางชีอะฮ เล่ม ๕ พิมพ์ สถานศึกษา ดารุลอิลม์ มูลนิธิคูอีย์ .ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๒
เชคชะรีฟ อัลฮาดีย์ 2548 การกำเนิดสำนักต่างๆในอิสลาม กรุงเทพฯ :ศูนย์วัฒนธรรมสถานเอกอัคร ราชทูต สาธารรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจำกรุงเทพฯ
นายธีรนันท์ ช่วงพิชิต ,2551 พิธีเจ้าเซน(อาชูรอ) : อัตลักษณ์และการธำรงชาติพันธุ์ของมุสลิมนิกายชีอะห์ในสังคมไทย
พีชวออี แปลโดย ไซม่า ซาร์ยิด ภาพลักษณ์ทางการเมืองของอิมาม ๑๒ พิมพ์ สถาบันศึกษาอัลกุรอานรอซูลอัลอะอ์ซอม.ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๑
อยาตุลลอฮ์ ญะอ์ฟัร ซุบฮานี แปลโดย อบูอาดิล ชะรีฟ อัลฮาดีย์ 2548 ชีอะฮ์ในประวัติศาสตร์อิสลาม กรุงเทพฯ : The Ahl al bayt a.s World Assembly
อัลลามะฮ ฎอบะฎอบาอีย์ แปลโดย เชคชะรีฟ เกตุสมบูรณ์ 2548 ชีอะฮ์ในอิสลาม กรุงเทพฯ :สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม
Ayatullah Misbah Yazdi. Jami ah wa Tareek. Qom Iran : Sazman Tabliqat 1372
Ayatullah Javadi Amoli Falsafah Hukok Bashar. Qom Iran : Isra Puplication Center