ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ (21)
ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ (21)
ผู้เขียน อ.อดุลย์ มานะจิตต์
บทที่ 5
ความขัดแย้งและการสู้รบกันระหว่างฝ่ายธรรมกับอธรรม
ย่อมพูดได้อย่างไม่ผิดว่า เมื่อมีการต่อต้านและการก่อกบฏต่อค้าบัญชาของพระเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ฝ่ายที่ธำรงไว้ซึ่งคำบัญชาของพระเจ้าก็มิอาจนิ่งดูดายที่จะปล่อยให้ฝ่ายแรกเหยียบย่ำท่าลายกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์สิ่งพระเจ้าได้ หากฝ่ายหลังไม่คัดค้านและห้ามปราม พวกเขาก็จะตกไปเป็นคนกลุ่มเดียวกับฝ่ายแรก และหากเมื่อภัยพิบัติจากฟากฟ้าถูกส่งลงลงมาจากพระเจ้า ฝ่ายหลังก็จะถูกทำลายไปด้วย ดังที่ได้เคยเกิดขึ้นแล้วกับปุโรหิตของชาวยิวที่ไม่ท้ามผู้ฝ่าฝืนไปจับปลาของวันเสาร์ ดังที่ได้กล่าวถึงแล้ว
ด้วยเหตุนี้เองที่อัล กุรอานจึงได้กล่าวไว้ในโองการที่ผ่านมาว่า การสู้รบกับฝ่ายอธรรมเป็นสิ่งดีสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา ถึงแม้ว่าจะมีบางคนกล่าวว่าไม่ดีก็ตาม การสู้รบในลักษณะนี้จึงเป็นการต่อสู้เพื่อธำรงความยุติธรรมอันเป็นเสาหลักอันสำคัญประการหนึ่งของหลักการศรัทธาไว้ไว้ให้คงผู้คู่กับโลกนี้ แน่นอนที่ฝ่ายอธรรมย่อมไม่พอใจที่ฝ่ายกองทัพธรรมลุกขึ้นมาคัดค้านต่อต้านแผนการร้ายที่จะยึดครองโลกเพื่อการสวาปามของพวกเรา
ฝ่ายอธรรมซึ่งมีมารและพญามารเป็นหัวหน้า มันได้วางเครือข่ายกลไกเพื่อการยึดครองโลกไว้ในทุกอิริยาบทของชีวิตนุษย์ ซึ่งอาจแบ่งสายงานอันสำคัญๆ ของมันได้ออกเป็นห้ากองทัพธธรรม ซึ่งแต่ละกองทัพของมันมีแม่ทัพผู้เป็นบุตรชายของมันรวมห้าตัวตัวเป็นผู้บัญชาการ ดังมีภารกิจที่ชั่วร้ายเพื่อทำลายล้างเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ดังนี้
1. ษับรุ (ษาอ์ บาอ์ รอ) พหูพจน์คือ ษุบูรอ แปลว่า ความเสียหายความทุกข์ยาก ความหายนะ ษับร์เป็นสหาย(ศอหิบ)ของพวกที่ประสบ มุศีบัต(การประสบเคราะห์กรรม)ต่างๆ เช่น พวกฉึกเสื้อผ้า ตบตีใบหน้าตัวเองหรือการร้องไห้คร่ำครวญของพวกญาฮิลียะฮ์ (พวกที่อยู่ในยุคมืดมืด)
2. อัล อะอ์วัร (อลีฟ อัยน์ วาว รอ) แปลว่า คนตาเหล่ ตาเขหรือตาบอดข้างหนึ่ง เป็นสหายของพวกที่ ริยาอ์ (ชอบโอ้อวด) และชอบประดับตัวเองด้วยริยาอ์
3. มุเซาวิฏ (มีม สีน วาว ฏอ) แปลว่า ผู้ผสม ปะปน เป็นสหายของพวกที่ชอบโกหก ชอบใส่ร้ายผู้อื่นหรือชอบกล่าวความเท็จ
4. ดาสิม (ดาล อลีฟ สีน มีม) แปลว่า ผู้ที่เปรอะเปื้อนหรือสกปรกมันชอบเข้าไปพร้อมกับสามีที่กลับเข้าบ้านเพื่ออยู่กับกรรยาหรือครอบครัวของเขา แล้วมันจะทำให้ชายนั้นเห็นความบุกพร่องในครอบครัวของเขาและในที่สุดชายนั้นก็จะมีความโกรธเคืองพวกเขาเหล่านั้น(คือทำให้ครอบครัวแตกแยก)
5. ชะลีนูรหรือชะลันบูร เป็นสหายของพวกที่อยู่ในตลาดคอยยุยงให้ทะเลาะตบดีกัน ส่วนมารที่ชอบยั่วยุตอนคนที่ทำนมาชชื่อ คันชิบ และมารที่ชอบยั่วยุคนตอนที่ทำทำน้ำนมาช ชื่อ อัลวิลฮาน(จากหนังสือ อิลมูล ยะกีน 1 / 284 – 285)
พญามารจึงบัญซาการให้บุตรชายของมันทั้งห้าตัว เริ่มต้นภารกิจอันชั่วร้ายกับตัวตนของมนุษย์ก่อน นาโดยการกระซิบกระชาบอยู่ภายในจิตใจของเรา โดยเฉพาะความสามารถทั้งสามที่พระเจ้าทรงมอบให้ นั่นคือจินตนาการหรือความนึกคิด โมหะและราคะของเขา มนุษย์คนโดก็ตามที่มันคุมบังเหียนความสามารถดังกล่าวของเขาได้แล้ว เขาก็จะเริ่มแสดงมันออกมากับครอบครัวของเขาก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นก็จะขยายออกไปในสังคมเข้าไปแทรกซึมอยู่ในระบต่างๆ ที่มนุษย์จัดตั้งขึ้น ตามจินตนการของมนุษย์เอง เช่น ระบบการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งแบบต่างๆของระบบเหล่านี้จะมีอยู่อยู่อย่างมากมายผ่านยุคสมัยต่างๆ ของมนุษยชาติมานานนับหมื่นปี ซึ่งอาจมีเท่ากับจำนวนของกลุ่มต่างๆ ที่จะต้องตกเป็นชาวนรก นั่นคือ 213 กลุ่มจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้นระบบต่างๆ ที่พญามารมีหุ้นส่วนในการจัดตั้งขึ้นร่วมกับมนุษย์เมื่อนำสู่การปฏิบัติ ความขัดแย้งแตกแยกระหว่างกันจึงเป็นผลพวงของต้นไม้แห่งความชั่วร้ายนี้ ซึ่งมนุษย์จำต้องใช้ดื่มกินจากฝีมือแห่งการปลูกของพวกเขาเอง เมื่อพวกเขาเริ่มบริโภคจากต้นไม้แห่งความเกลียดชังนี้ควนเป็นศัตรูกันจึงเริ่มพักตัวขึ้นในจิตใจ ซึ่งมีอำนาจควบคุมความสามามารถทั้งสามของมนุษย์ดังกล่าว
เมื่อความเป็นศัตรูต่อกันระหว่างมนุษย์กลุ่มต่างๆ จาก 213 กลุ่มนี้เติบโตจนแข็งแรงได้ที่ดีแล้ว จากนั้นการเผชิญหน้ากันระหว่างคนสองกลุ่มผู้มีอำนาจ หรืออาจมีหลายๆ กลุ่มในวาระเดียวกันก็ได้ จนลุกลามกลายเป็นการสู้รบกันระหว่างฝ่ายธรรมด้วยกันเอง หรือเป็นการรวมตัวกันของฝ่ายอธรรม เช่นฝ่ายอัล อะฮ์ซาบหรือฝ่ายพันธมิตร เพื่อการทำสงครามกับฝ่ายธรรมซึ่งเป็นกองทัพของพระเจ้า ที่ประกอบด้วยบุคคลสามกลุ่มที่พญามารไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ดังกล่าวแล้ว
หากเมื่อดูโดยผิวเผินถึงการต่อสู้ของมนุษย์กับพญามารแล้ว ย่อมอาจเห็นได้ว่ามนุษย์อยู่ในฐานะที่เสียเปรียบและไม่น่าจะสามารถเอาชนะมันได้เลย ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1) การทำสงครามกับพญามารจะต้องยืดเยื้อยาวนานไปจนถึงวันอวสาน มันทำการรุกรบแต่เพียงอย่างเดียว
2) มนุษย์ไม่สามารถฆ่าสังหารพญามารให้ตายได้ ดังนั้นกองทัพของมันมีแต่จะเพิ่มพลพรรคมากขึ้น
3) มันทำการต่อสู้อย่างไม่หยุดหย่อนทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งหลับและตื่น และมีอยู่ในทุกทนทุกแห่งทั่วพิภพ ทั้งที่มืดและที่สว่าง ทั้งในน้ำบนดินและในอวกาศ
4) มันเป็นศัตรูที่แฝงเร้นแปลงกายได้ และที่ซ้ำร้ายมันไหลเวียนอยู่ในตัวมนุษย์ประดุจดังเลือด มนุษย์ไป๋ไหนมันไปด้วยช่วยยุยง
5) มันไม่เคยยอมลงนามในสัญญาสันติภาพกับมนุษย์เลย และเล็งเห็นว่ามนุษย์คือผู้ที่มันเกลียดชังที่สุดในสากลจักรวาล
6) มันมีความเฉลียวฉลาดพร้อมเล่ห์กลครบเครื่องจนมนุษย์ตามมันไม่ทัน กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว และมันรู้จักมนุษษย์ดีกว่าตัวของมนุษย์เลงเสียอีก
7) ในประการสุดท้าย ณ ที่นี้ก็คือ อัลลลอฮ์ทรงอนุญาตให้มันใช้อำนาจและอาวุธตามที่มันขอเพื่อทำสงครามกับมนุษย์
เมื่อมองดูจากเหตุผลในบางประการจากทั้ง 7 ข้อข้างต้น ผู้หนึ่งย่อมเล็งเห็นได้แล้วว่ามันมีสภาพเหมือนกับการเอาเต่าไปวิ่งแข่งกับกระต่ายเอาควายไปเดินแข่งกับอฐในทะเลทราย ซึ่งเมื่อเปรียบคู่ท้าชิงกันดูแล้วอีกฝ่ายหนึ่งย่อมเป็นต่อกันอยู่หลายขุมในกรณีของพญามารกับมนุษย์ก็เช่นกัน ถ้าหากมันเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะต่อมนุษย์อย่างราบคาบ ก็จะไม่มีมนุษย์คนใดเลยที่ได้เข้าสวรรค์ทั้งหมดก็จะลงนรกไปกับมัน แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ! เพราะอัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวยืนยันไว้แล้วว่าจะมีมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่ได้เข้าสวรรค์หรือที่พระองค์ทรงเรียกบุคคลกลุ่มนี้ว่า อัชฮาบัลญันนะฮ์’ (ชาวสวรรค์)และในขณะเดียวกันสวรรค์ก็ได้ถูกสร้างไว้แล้วให้มีหลายชั้น จากชั้นคำสุดไปสู่ชั้นสูงสุดขั้นฟิรเดาซ์หรือชั้นดาวดึงส์ สรุปก็คือต้องมีมนุษย์กลุ่มหนึ่งในทุกยุดทุกสมัยที่ผ่านมา ที่กำลังดำเนินอยู่ และที่กำลังจะมีมา ที่ได้ทำสงครามและรบชนะพญามารไปแล้ว ที่กำลังสู้รบกันอยู่และที่กำลังจะทำศึกกันต่อไปจนได้รับชัยชนะจากมัน ปัญหาก็คือบุคคลที่ได้กล่าวถึงว่าพวกเขาเป็นชาวสวรรค์นั้นพวกเขาคือกลุ่มชนใดกัน
ในประการแรก ทีเดียว บุคคลกลุ่มนี้จะต้องเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของพญามารและบรรดาพลพรรคของมัน ใน ประการที่สอง พวกเขาจะต้องเป็นผู้ที่มีความเมตตาอ่อนน้อมในหมู่พวกเขากันเอง ประการที่สาม พวกเขามีความมุ่งมั่นในการเคารพภักดีต่อพระเจ้า เพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยจากพระองค์ จนกระทั้งคุณลักษณะอันดึงามของพวกเขาปรากฏอยู่บนใบหน้าของพวกเขา จากการที่พวกเขาได้ทำการสุหยุดต่อพระองค์อยู่เป็นนิจ จนพวกเขามีความแข็งแกร่งประดุจดังไม่ใหญ่ยืนต้น ประการที่สี่ด้วยลักษณะอันสง่างามและเข็มแข็งเช่นน้อง จึงเหตุให้พญามารและพละพลพรรคของพวกกาฟิรึนรู้สึกโกรธแค้นต่อพวกเขา ประการที่ห้า บรรดาผู้ศรัทธาและประพฤติแต่ความดึงามที่เป็นชื่อะฮ์ของพวกเขาย่อมได้รับการอภัยโทษ (มัดฟิเราะฮ์) และได้รับการประหานรางวัลอันยิ่งใหญ่ (อัจรอนอะซึมา) นั้นคือ สวนสวรค์วันนะฮ์ (โปรดดูอัล กรอานบทที่ 48 โองการที่ 29)
โปรดสังเกตว่า อัลลอฮ์ทรงใช้คำว่า ‘และบรรดาผู้ร่วมกับเขา’ ‘อัลละซีนะมะอะฮู ซึ่งบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับศาสดามุฮัมมัด ถูกเปรียบไว้ประดุจดังต้นไม้ที่แตกหน่อออกมาจากตัวของท่านศาสดา ซึ่งหน่อเดียวนั้นได้เจริญงอกงามขึ้นจนเป็นต้นไม้ที่ใหญ่โตแข็งแรง จนเป็นที่พึ่งพอพระทัยของอัลลอฮ์และศาสนทูต อันต้นไม้นี้เป็นพืชพืชพันธุ์เดียวกันกับบรรดาศาสตาและศาสนทูตที่ถูกระบุนามอยู่ในคัมภีร์เตารอตและในคัมภีร์อินฎีล ซึ่งได้แตกดอกออกหน่อแพร่ขยายพันธุ์สืบต่อกันมาจนถึงท่านศาสดามุฮัมมัดและจากท่านต้นไม้นี้ได้แตกดอกออกหน่อเจริญงอกงามเพื่อธำรงรักษาระบบ ผู้นำแห่ง 12 เอาไว้ ซึ่งหลักฐานนี้ปรากฎอยู่อย่างแฝงร้นอยู่ในคัมภีร์อัล กุรอานบทที่ 48 โองการที่ 29 ดังวลีต่อไปนี้
‘ฟะอาซะเราะฮู ฟัซตัคละเซาะ’
‘และหน่อนั้นก็ทำให้พืชเจริญ งอกงามขึ้นจนมันแข็งแกร่ง’
‘กะซัรอินอัคเราะยะชัตอะฮู’
‘ซึ่งระบุว่าเหมือนกับพืชที่ผลิหน่อของมันออกมา’
ซึ่งทั้งสองวลีของโองการข้างต้น ล้วนเขียนด้วยอักษรอาหรับจำนวน12 อักษร
ดังนั้นจากโองการข้างต้น จึงมีบุคคลอยู่ด้วยกันสามประเทกล่าวคือ หนึ่งตัวตนของท่านศาสดา สองผู้ที่อยู่ร่วมกับท่านศาสดาซึ่งโมโองการนี้ใช้สรรพนามว่า ‘พวกเขาและสามบรรดาผู้ศรัทธาที่ประพฤติแต่ความดีบุคคลทั้งสามกลุ่มนี้ก็คือผู้ที่อัลลลอฮ์ทรงให้หลักประกันว่าพวกเขาจะได้รับชัยชนะและได้รับการตอบแทนอันยิ่งใหญ่ ตามลำดับขั้นลดหลั่นกันลงไป
โปรดสังเกตว่า อาจมีผู้ใต้แย้งว่าบรรดาผู้ศรัทธาและประพฤติแต่ความดีที่ปรากฏอยู่ในโองการนี้หมายถึงมุสลิมโดยทั่วไป นับตั้งแต่สาวกท่านศาสดาและลุกศิษย์ และมุสลิมในทุกยุคทุกสมัยจนถึงวันตัดสินพิพากษา แต่อัล กุรอานได้กล่าวถึงบุคคลกลุ่มนี้โดยเฉพาะลงไปว่าเป็นกลุ่มชนจาก พวกเขา’ (มินฮุม) ซึ่งย่อมเป็นหน้าที่ของบรรดาผู้ศรัทธาทุกคนจะต้องแสวงหาเอาเองว่า พวกเขา’ ที่ถูกกล่าวถึงในโองการนี้เป็นบุคลกลุ่มใด ซึ่งมีคุณลักษณะทุกประการดรดรบถ้วนตามที่ได้ระบุอยู่ในคัมภีร์เตารอตและอินญีล ขอแต่เพียงอย่างเดียวว่าให้ทำการศึกษาอย่างจริงจังมิใช่เดาเอาอง ! เพราะมันเรื่องที่มีความสำคัญมาก ถ้าหาทหาดานกลุ่มที่ว่า พวกเรา นี้ผิดไป ความพ่ายแพ้ความปราชัยที่มีต่อพญามารก็จะประสบกับเขา ทั้งนี้เพราะพวกเขาเหล่านั้นย่อมมิใช่บรรดาผู้ร่วมกับท่านศาสนทูต
ดังนั้นการทำสงครามของมนุษย์เพื่อต่อสู้กับพญามาร จึงไม่อาจสามารถกระทำได้แต่ลำพังเพียงผู้เดียว เขาจำเป็นต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และจำเป็นจะต้องอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ศรัทธาและประพฤติแต่ความดีที่มาจาก ‘พวกเขา’
ด้วยความเมตตากรุณาที่พระองค์ทรงมีต่อข้าทาสผู้สะอาดบริสุทธิ์ของพระองค์ พระองค์จึงมิได้ทรงปล่อยพวกเขาไว้ให้ต้องคลำหากลุ่มบุคคลดังกล่าวเอาเองในความมืดมิดว่า ‘พวกเขา’ เป็นใคร ดังนั้นพระองค์จึงทรงแจ้งถึงบางคนของ พวกเขา ว่าเป็นใคร ซึ่งประดุจดังกับการนำทาสของพระองค์จากความมืดมาสู่ความสว่าง บุคคลในหมู่ พวกเขา’ ซึ่งเป็นท่านแรกก็คือ อิมามอะลึ ซึ่งหน้าที่ของท่านในวันตัดสินพิพากษาก็คือ ท่านจะทำหน้าที่คอยดูแลบ่อนำเกาชัร โดยจะเป็นผู้อนุญาตให้บรรดาผู้ศรัทธามาดื่มกินที่บ่อน้ำนี้ ซึ่งทุกๆ คนที่มีสิทธิ์ดื่มจะรับกระบวยตักน้ำซึ่งทำจากไข่ากไข่มุกไปจากท่าน จากนั้นท่านจะไปประจำอยู่ที่ตราชั่งในวันถ่วงบุญบาปด้วยกับอำนาจแห่งการชะฟาอะฮ์ของท่าน และสถานที่สุดท้ายก็คือท่านจะจำอยู่ที่ทางผ่านไปสู่สะพานชิรอต เพื่อคอยช่วยเหลือบรรดาผู้ที่เป็นชื่อยย์ของท่าน ผู้ซึ่งมีความศรัทธามั่นในโองการที่ว่า ‘ศิรอตนอะลียุน อัลมุสตะก็มุน’ ‘ทางของละลีเป็นทางที่เที่ยงตรง’ บุคคลที่สองก็คือท่านหญิงฟาฏิมพ์ผู้เป็นบุตรสาวของท่านศาสดา ท่านหญิงได้รับการยืนยันจากท่านศาสดาก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตว่า ท่านหญิงจะเป็นบุคคลแรกที่จะตามท่านศาสดาไป และนางคือหัวหน้าของสตรีในสากลโลก บุคคลที่สามก็คืออิมามฮาชันและอิมามฮูเซน ผู้เป็นหลานของท่านศาสดา จะได้รับตำแหน่งหัวหน้าของเยาวชนในสวนสวรค์ จากนั้นท่านศาสดาจึงได้ประกาศชื่อของซอฮาบฮ์บางท่านที่จะได้เป็นชาวสวรค์ เช่น ท่านญะย์ฟีร ตอยยัรท่านเซด บินฮาริษ ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิ เราะฮ์วาฮะฮ์ ท่านบิลาล อิบนิ รอบะ ท่านมิกดาด บิน อัสวาด ท่านอบูซาร กิฟารีย์ (ขอพระองค์ได้ทรงโปรดประทานความพึงพอพระทัยของพระองค์ให้กับทุกท่านด้วย)
จากบุคคลผู้สูงศักดิ์ทั้งหมดดังที่ได้กล่าวนามถึงข้างต้น ได้ครอบคลุมเอาบุคคลทั้งสามประเภทที่เป็นชาวสวรค์ไว้นั้นคือ หนึ่งตัวตนของท่านศาสนทูตเอง สอง พวกเขา ซึ่งหมายถึงอะฮ์ลบัยต์(ครอบครัวศาสดา)สามผู้ศรัทธาและประพฤติแต่ความดี ก็คือซอฮาบะฮ์ของท่านศาสดาที่นามของพวกเขาทั้งหมดได้ถูกรับรองจากท่านศาสนทูต ว่าจะได้เป็นชาวสวรค์และบรรดาผู้ศรัทธาโดยทั่วไปที่เป็น ‘ชีอะฮ์’ ของ ‘พวกเขา’
จากความเป็นจริงของชีวิต ย่อมไม่มีกองทัพใดๆ บนหน้าโลกนี้ในทุกยุคทุกสมัยที่จะสามารถทำการสู้รบกับกับศัตรูของพวกเขาได้โดยปราศจากแม่ทัพ ความจริงเช่นนี้ก็มิได้รับการยกเว้นไปจากกองทัพของมนุษย์ที่จะสู้รบกับพญามาร
ในสมัยที่ทำนศาสดา มีชีวิตอยู่นั้น ท่านทำหน้าที่เป็นแม่ทัพหรืออิมามนำประชาชาติอิสลามที่อยู่ร่วมสมัยกับท่าน ทำการสู้รบกับกับแผนการของพญามารที่มันทำการรุกรบกับผู้คนของท่านในทุกรูปแบบ จนถึงกับทำให้ผู้คนของท่านจำนวนหนึ่งต้องพลั้งพลาดกลายเป็นพวกมุนาฟิก็น(กลับกลบกลอก)พวกฟาชิกูน(ละเม็ด) พวกซอลิมุน(อยุติธรรม)และอื่นๆ จนถึงกับท่าให้เหลือ
บ่าวของพระองค์บางกลุ่มจาก ‘พวกเขา’ ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว(อัล กุรอาน 15:40)
ในจำนวนไม่มากนัก และหนึ่งในจำนวนนี้เองที่ได้เคยสอบถามท่านรอซูลเมื่อวาระที่โองการที่ 71 บทที่ 17 ถูกวิวรณ์ลงมาดังมีความว่า