jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ไทยกับอีกมุมมองที่มีต่อจีน - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ไทยกับอีกมุมมองที่มีต่อจีน

คอลัมน์ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ

ทหารประชาธิปไตย

ไทยกับอีกมุมมองที่มีต่อจีน

ความตึงเครียดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค อันเกิดจากการกระทบกันของ 2 มหาอำนาจ ที่มียุทธศาสตร์ตอบโต้กัน ด้านหนึ่งคือยุทธศาสตร์การริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative-BRI)ของจีน กับอีกด้านคือ Indo-Pacific ของสหรัฐฯ

ทั้งนี้เป้าหมายของจีนคือ การขยายอิทธิพลและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยใช้เศรษฐกิจนำ ด้วยการริเริ่มโครงการต่างๆ กับประเทศอื่นๆทั่วโลก รวมทั้งในภูมิภาคเอเชีย และจะให้การสนับสนุนทางการเงิน(ให้กู้ยืม)หรือร่วมทุน

ส่วนสหรัฐฯมีเป้าหมายหลักในการสร้างวงล้อมป้องกันการขยายตัวของอิทธิพลจีน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้วงล้อมนี้สหรัฐฯ ต้องการสร้างความร่วมมือทั้งด้านการทหาร และทางเศรษฐกิจนั่นคือสร้างกลุ่ม IPEF (Indo-Pacific Economic Framework) ขึ้นมารองรับ และมีแนวโน้มจะขยายตัวไปสู่การค้าและการลงทุนในภาพรวมต่อไป

ประเทศไทยนั้นก็มีท่าทีตอบรับที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ทั้ง 2 ค่าย

อย่างไรก็ตามก็มีความเห็นของนักวิชาการและกลุ่มชนที่สนใจการเมืองระหว่างประเทศที่เป็นไปทั้ง 2 แนวคือ สนับสนุนการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและให้ระแวดระวังอีกขั้วอำนาจ

ทว่าผู้เขียนเคยเปิดประเด็นของความเป็นกลาง และเสนอให้มีการรวมกลุ่มกันสำหรับประเทศที่มีแนวโน้มจะเป็นกลางให้มีความร่วมมือกันสร้างอำนาจการต่อรองกับมหาอำนาจ

ทั้งนี้หากมองย้อนไปในอดีต เคยมีการจัดตั้งกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่มีชื่อว่า NAM (Non-Aligned Movement) และมีประเทศผู้เข้าร่วมนับร้อยประเทศ ซึ่งในตอนนั้นมีแกนหลัก คือจีน-ยุคเหมา-โจวเอนไล ยูโกสลาเวีย-จอมพลตีโต้ อินเดีย-เยาหราล เนรู คิวบา-ฟีเดลกัสโตร และอินโดนีเซีย-ซูกาโนร์ เป็นแกนหลัก แต่ต่อมาก็สลายตัวไปเพราะไม่มีผู้นำที่เข้มแข็งในการนำการเคลื่อนไหว

ทว่าในปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างขั้วอำนาจเก่า นำโดยสหรัฐฯกับกลุ่มประเทศตะวันตก และกลุ่มขั้วอำนาจใหม่นำโดย จีน-รัสเซีย และอิหร่าน นั้นทวีความรุนแรงมากขึ้น การพิจารณาจะเข้าร่วมกับขั้วใดขั้วหนึ่ง หรือจะเป็นกลางจึงกลายเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญสำหรับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเล็กๆรวมถึงประเทศไทย

ผู้เขียนเคยวิพากษ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของสหรัฐฯ ในบทความก่อนๆมาพอสมควรแล้ว ครั้งนี้จะขอนำข้อพิจารณาในอีกด้านหรือมุมมองที่มีต่อจีน

โดยแรงจูงใจที่นำมาสู่การเขียนวิพากษ์จีนในประเด็นนี้มาจากไลน์ ที่ผู้โพสต์อ้างเครดิตจากอาจารย์ Nat Thrapong ซึ่งนัยว่าเป็นอาจารย์ทางประวัติศาสตร์ โดยท่านได้พูดถึงหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ Prisoners of Geography เขียนโดยนายทิม มาร์แชล และต่อมาผู้เขียนก็ได้รับความกรุณาจากเพื่อนส่งฉบับเต็มดิจิตัลมาให้ แต่วันนี้คงจะคัดจากที่อาจารย์ Nat ได้โพสต์มาวิพากษ์ ซึ่งก็พอเป็นแนวทางให้มีมุมมองแง่คิดได้พอสังเขป

มุมมองที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือ ข้อพิจารณาทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะเขาเริ่มอธิบายถึงความสำคัญในแง่ของภูมิศาสตร์ของธิเบต ด้วยธิเบตนั้นมีฉายาว่าหลังคาโลก เพราะเป็นที่ราบสูง(สูงมาก) และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย ดังนั้นความสำคัญของธิเบตในฐานะต้นน้ำหลายสายที่ไหลผ่านประเทศจีน หรือไหลไปลงประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อความเป็นอยู่ของจีน

นอกจากนี้ในแง่ยุทธศาสตร์ทางทหาร(มุมมองของผู้เขียน) ความสูงของที่ราบสูงธิเบตนั้นเหมาะกับการติดตั้งเรดาร์ และขีปนาวุธเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าในปัจจุบัน ความสำคัญดังกล่าวอาจขยับไปสู่อวกาศ  เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ตาม แต่ทำเลที่ตั้งดังกล่าวก็ยังมีความสำคัญอยู่

ส่วนซินเกียงนั้นถือว่าเป็นปากประตูที่ติดต่อกับ 8 ประเทศนั่นคือ รัสเซีย อินเดีย ปากีสถาน อาฟกานิสถาน มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และ ทาจิกิสถาน ซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจเรียกว่าเป็นเกาะโลก คือ เชื่อมต่อกับแผ่นดินใจกลางทวีปเอเชีย

นอกจากนี้ซินเจียงยังมีแร่ธาตุจำนวนมาก และน้ำมันดิบจำนวนมหาศาล แถมยังมีพื้นที่ทะเลทรายเวิ้งว้างที่จีนใช้เป็นที่ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์

ประการสุดท้ายดังกล่าวมาแล้ว ซินเจียงคือศูนย์กลางหรือประตูที่จะทำให้ยุทธศาสตร์ BRI ของจีนในทางบกเป็นไปได้

ดังนั้นในแง่มุมต่างๆจากการวิเคราะห์ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ จีนจึงไม่มีวันปล่อยให้ดินแดนทั้ง 2 แห่ง คือ ธิเบต และซินเกียงต้องหลุดมือไปอย่างเด็ดขาด ซึ่งก็เท่ากับว่าดินแดนทั้ง 2 แห่งนี้ คือ นักโทษทางภูมิศาสตร์ (Prisioner of Geography)

อย่างไรก็ตามในการศึกษาเพิ่มเติมนอกจากจีนจะมีมาตรการทางทหารโดยเข้มข้นแล้ว ยังใช้วิธีการดูดกลืนทางเชื้อชาติ Assimilation โดยการกระจายเอาชนชาติฮั่นที่เป็นชนส่วนใหญ่ให้กระจายไปอยู่ในพื้นที่ต่างๆของชนกลุ่มน้อย โดยมีแรงจูงใจต่างๆและที่สำคัญในดินแดนเหล่านั้น ชาวฮั่นจะเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

ผู้เขียนเองก็เคยมีประสบการณ์ในดินแดนเหล่านี้มาบ้าง ก็ขอยืนยันว่าสภาพส่วนใหญ่นั้นก็เป็นดังเช่นที่กล่าวมาแล้ว

ทั้งนี้ยังมีตัวอย่างที่อื่นๆอีกเช่น ที่หนิงเซี่ย ซึ่งอยู่ภาคเหนือตอนบนของจีน แถบต้นแม่น้ำฮวงโห หรือแม้แต่ในมณฑลยูนาน เขต สิบสอง ปันนา โดยภาพหลักคือชาวฮั่นที่ได้รับแรงจูงใจจากรัฐบาลกลาง และกระจายไปอยู่ในเขต Minority ของจีนนั้น ต่างคุมอำนาจสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้นเราจึงอาจเชื่อมโยงเอาวิธีการหรือนโยบายอันแยบยลของจีนในการขยายอิทธิพลไปยังดินแดนต่างๆด้วยยุทธศาสตร์ BRI นั้น นอกจากจะมีการทุ่มเทโครงการทางเศรษฐกิจแล้ว จีนยังมีโอกาสส่งออกประชาชนของตนออกไปยังประเทศเหล่านั้นด้วยแรงจูงใจทางการเงิน

ทั้งนี้หากมองย้อนหลังไปในอดีต ในสมัยราชวงศ์ชิง จีนก็ยังเคยส่งกองเรือขนาดใหญ่ มีคนหลายหมื่นคน ภายใต้การนำของเจิ้งเหอ ไปตะเวณโลก ตั้งแต่เอเชียอาคเนย์ ไปถึงตะวันออกกลาง และบางกระแสก็อ้างว่ากองเรือจีนไปถึงทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสเสียอีก และในระหว่างทางก็มีประชาชนที่เดินทางไปด้วยแยกย้ายไปทำมาหากินในประเทศต่างๆอีกเป็นจำนวนไม่น้อย

และนั่นคือส่วนหนึ่งของที่มาของชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งก็ยังมีความผูกพันกับแผ่นดินแม่อยู่จนทุกวันนี้ ทว่าคนรุ่นใหม่ที่พึ่งอพยพย่อมจะมีความเข้มข้นกว่า และยังมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลจีน

ทั้งนี้จากประวัติศาสตร์จึงเห็นได้ว่านโยบายการล่าอาณานิคมของตะวันตกนั้นใช้เรือปืน แต่จีนที่มีประชากรจำนวนมากใช้วิธีการดูดกลืนที่ผู้เขียนขอเรียกว่า “Prisoner of Civilization” นั่นคือมีแนวโน้มที่ทำให้ประเทศเล็กๆกลายเป็นนักโทษทางอารยธรรม โดยการส่งออกประชากรออกไปยังประเทศเหล่านั้นพร้อมอารยธรรมจีนและควบคุมเศรษฐกิจ

ดังนั้นการติดต่อกับประเทศใดๆก็ตามเราต้องคำนึงว่าประเทศเหล่านั้น โดยเฉพาะมหาอำนาจเขามีจุดยืนที่จะต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ไทยก็คงต้องคำนึงถึงหลักนี้ มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นคนขายชาติไปในที่สุด

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *