jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ไปดูเขาเลี้ยงแพะแก้จน - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ไปดูเขาเลี้ยงแพะแก้จน

ภายใต้โครงการ    การพัฒนาประสิทธิภาพเทคโนโลยีการแช่แข็งตัวอ่อนแกะ และการจัดตั้งต้นแบบธุรกิจผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์  สนับสนุนโดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

ไปดูชาวบ้านเลี้ยงแพะที่โคกเจริญ ลพบุรี
แปลงวิกฤตเป็นโอกาส
ศาสตราจารย์ น.สพ. ดร. มงคล เตชะกำพุ
อำเภอโคกเจริญ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลพบุรี ที่มีกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ค่อนข้างเข้มแข็ง   คณะผู้วิจัยได้เดินทางไปสัมมนาแพะให้แก่เกษตรกร ภายใต้การประสานงานกับ รองศาสตาราจารย์ ดร. ดวงใจ บุญกุศล จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี ลพบุรี

ในการสัมมนานี้ได้นักวิจัยรุ่นใหม่ คีอ สัตวแพทย์หญิง ดร, นิธิรา อนัคกุล ที่เคยทำวิจัยเรื่อง “การแช่แข็งน้ำเชื้อ การผสมเทียมด้วยการส่องกล้องและการย้ายฝากตัวอ่อนแพะในประเทศไทย”รวมทั้งสัตวแพทย์หญิง ศราวดี ขันมณี นิสิตปริญญาเอก ที่ทำวิจัยเรื่องแพะแกะ มาบรรยาย
เนื้อหาของการบรรยายจะเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของการผสมเทียม และการย้ายฝากตัวอ่อน ทางทฤษฎี และทางปฏิบติ รวมทั้งประสบการณ์ของการไปฝึกงานในเขตอินเนอร์มองโกเลีย ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และที่ประเทศออสเตรเลีย  ซึ่งทางคุณหมอนิธิรา ได้ให้ตัวอย่างของภาคเอกชนที่นำเอาเทคโนโลยีมาปรับปรุงพันธุ์ในเมืองจีน

ผันวิกฤตเป็นโอกาส
คนเราเขาบอกว่า ถ้าเรานำเอาวิกฤต เปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส ก็จะอยู่รอดได้ เช่นเดียวกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ แกะโคกเจริญ เป็นกลุ่มเกษตรกรที่เกิดจากรวมตัวกัน โดยพื้นฐานปัญหาเดิมของชุมชน คือ วิกฤตภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรต้องหันมาอาชีพอื่น เช่น การเลี้ยงแพะแทนแทนที่ชาวบ้านจะยอมแพ้กับภัยแล้ง กลับผันวิกฤตเป็นโอกาส    เนื่องจากพื้นที่โคกเจริญเหมาะสำหรับการเลี้ยงแพะ โดยเลี้ยงแบบแพะขุน และขายพ่อแม่พันธุ์ โดยได้รับการสนับสนุนพันธุ์เบื้องต้นจากทางจังหวัดและทางปศุสัตว์จังหวัด
หัวแรงสำคัญของการสร้างกลุ่มผู้เลี้ยง คือ คุณจรินทร สุขประเสริฐ (สุขประเสริฐฟาร์ม) เจ้าหน้าที่สัตวบาล ของปศุสัตว์จังหวัดโคกเจริญ ที่เป็นเสมือนพี่เลี้ยงและคำปรึกษาแก่กลุ่ม รวมทั้งน่าจะรวมด้านการตลาดแพะเนื้อแพะพันธุ์ด้วย
ปัจจุบันจากการสอบถามพบว่ากลุ่มโคกเจริญมีแพะรวมกันประมาณ 2,700 ตัว และมีเกษตรกรในกลุ่มประมาณ 70  รายเฉลี่ยรายละ 40 ตัว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีการรวมตัวกัน มีกฎระเบียบของกลุ่มและช่วยเหลือกันทั้งด้านการเลี้ยงและการจำหน่ายแพะ

จากการสอบถาม  คุณจรินทรมีอาชีพหลักเป็นพนักงานราชการเลี้ยงแพะเนื้อเป็นอาชีพเสริมเลี้ยงมาประมาณ 6 ปีเริ่มเลี้ยงเมื่อปี 2554เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะแกะโคกเจริญ โดยมีจำนวนแพะภายในฟาร์มประมาณ 150 ตัว เป็นแพะเนื้อที่มีเลือดบอร์(Boer)สายเลือด 100% แพะสายพันธุ์ลูกผสม พันธุ์บอร์(Boer)พันธุ์แองโกลนูเบียน(Anglonubian)คาราฮารี (Kalahari) ประมาณ 120 ตัว
แหล่งที่มาของสายพันธุ์ ซื้อมาจากฟาร์มภายในประเทศ โดยพ่อพันธุ์ซื้อมาจากฟาร์มที่มีการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์บอร์จากต่างประเทศแล้วผลิตลูกพันธุ์ขายเพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ โดยมีการจัดการด้านอาหารและการเลี้ยงไม่เสริมอาหารข้นสำเร็จรูป แต่มีการเสริมให้กินใบกระถินและข้าวโพดบด ส่วนอาหารหยาบข้อดีของฟาร์มนี้คือ มีแปลงหญ้าและปล่อยให้แทะเล็มตามธรรมชาติอยู่ตรงข้ามบ้าน และเวลาเย็นจะให้แพะกลับมานอนในคอกที่ยกพื้นสูง

โรงเรือนและทุ่งหญ้าเลี้ยงแพะ
แม่พันธุ์อุ้มท้องบอร์ 100% เจ้าของบอกตั้งราคาสองหมื่นบาท
ใช้การผสมเทียมเพื่อปรับปรุงพันธุ์และการผสม
 ชาวบ้านโคกเจริญรู้เรื่องการผสมเทียมในแพะพอสมควร เนื่องจากมีการส่งเสริมจากปศุสัตว์จังหวัด   แต่ก็ตามปกติมีการปรับปรุงพันธุ์ในฝูงโดยใช้พ่อพันธุ์ผสมจริง โดยพ่อพันธุ์เป็นพ่อพันธุ์แท้สายพันธุ์บอร์ที่มีการหมุนเวียนกันใช้ภายในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะแกะโคกเจริญ ซึ่งมีด้วยกันจำนวน 5 ตัวสลับหมุนเวียนกันใช้ และการผสมเทียมผ่านคอมดลูกโดยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นการจัดสรรตามพื้นที่บริการปีละหนึ่งครั้ง(ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ในความเป็นจริงแล้วการผสมธรรมชาติโดยใช้พ่อพันธุ์  จะให้อัตราการผสมติดสูง 80% คือไม่ค่อยมีปัญหาด้านการผสมติด  ยกเว้นแพะบางตัว  แต่เนื่องจากพ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัดและมีการหมุนเวียนกันใช้ภายในกลุ่มจนครบแล้ว ทำให้ในอนาคตประสบปัญหาพ่อพันธุ์ที่ใช้ในฟาร์มและปัญหาเลือดชิด(Inbreeding) ตามมา   การผสมทียมจึงเป็นทางเลือกที่ดี   โดยทางกลุ่มมีประสบการณ์ใช้วิธีการผสมเทียมผ่านคอมดลูก (CAI)ในแพะที่เป็นสัดธรรมชาติ  พบว่าอัตราการผสมติดได้ดีถึง  80% (ผสมติด 4 ตัวจาก 5 ตัว)  ทั้งนี้อุปกรณ์ผสมเทียมได้รับสนับสนุนจากภาครัฐ

แพะดีต้องปลอดโรค
เป็นจุดเด่นของทางกลุ่มที่เน้นสร้างฟาร์มมาตรฐานปลอดโรค และพยายามให้สมาชิกทุกคนสร้างฟาร์มปลอดโรคทางโครงการเคยมีปัญหาแพะเป็นโรคแท้งติดต่อ (Brucellosis)  จนต้องทำการคัดทิ้งหมดฝูง
  โดยมีโปรแกรมสุขภาพ
–    ตรวจโรคแท้งติดต่อทุก 1 ปี เป็นฟาร์มปลอดโรคแท้งติดต่อระดับ A
–    ถ่ายพยาธิภายในและภายนอกทุก 3 เดือน ด้วยAlbendazoleและIvermectinและตรวจหาไข่พยาธิจากอุจจาระ
–    ทำวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD)ทุกๆ 6 เดือน
–    เน้นฟาร์มแพะปลอดโรคเพื่อรองรับตลาดแพะอาเซียน (AEC)และเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้า

ผลิตทั้งพันธุ์ผลิตทั้งแพะขุน
ผลิตสายพันธุ์แท้จำหน่ายเป็นพ่อแม่พันธุ์และขายแพะขุนมีชีวิตโดยแพะขุนขายให้พ่อค้าคนกลางหรือผู้รวบรวมแพะมีชีวิตเป็นหลัก    ซึ่งพบว่าตลาดมีความต้องการแพะเนื้อในจำนวนมากกว่าที่กำลังการผลิตภายในของกลุ่มผู้เลี้ยง โดยพ่อค้าคนกลางรวบรวมแพะมีชีวิตส่งลงไปยังทางภาคใต้ของประเทศไทยและส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย ที่รัฐยะโฮร์ ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อแพะกระป๋องเพื่อส่งไปขายยังประเทศสิงคโปร์

ราคาขายแพะ
–    ขายแพะขุนมีชีวิตกิโลกรัมละ 115 บาท
–    ขายแพะขุนมีชีวิตในโครงการ9101เพื่อนำไปเลี้ยงต่อ ราคากิโลกรัมละ 150 บาท
–    ขายสายพันธุ์ พันธุ์บอร์ สายเลือด 75% อายุ 3-4 เดือน
–    เพศผู้ 7,500-8,000 บาท
–    เพศเมีย 5,000 บาท
–    ขายสายพันธุ์ พันธุ์บอร์ สายเลือด 100% อายุ 3-4 เดือนราคาตัวละ 15,000 บาท
  
จากปลูกอ้อยมาเลี้ยงแพะ
อีกรายหนึ่งที่คณะวิจัยได้มีโอกาสัมภาษณ์ คือ คุณหนึ่งฤทัย สุขประเสริฐ (หนึ่งฤทัยฟาร์ม) ที่เปลี่ยนอาชีพจากทำไร่อ้อย เป็นมาเลี้ยงแพะ แรกๆ ก็เลี้ยงไม่กี่ตัว จนถึงปัจจุบัน มีกว่า 70 ตัว ทางฟาร์มได้ลูกตัวผู้จะขุนขาย ส่วนตัวเมืยจะเก็บเป็นแม่พันธุ์  จึงยึดเป็นอาชีพหลักเลย ไม่ได้ปลูกอ้อย เพราะมีรายได้ที่ดีกว่า  ต้นทุนต่ำ เพราะใช้ต้นกระถินตัดมาให้กิน ทางฟาร์มก็ใช้การผสมเทียมเป็นบางครั้ง  เพราะการใช้พ่อหมุนเวียนภายในกลุ่มเกษตรกร จะทำให้เกิดปัญหาเลือดชิด ลูกออกมาตัวจะเล็กลง เพราะอาจแสดงออกของยีนส์ด้อย

จากประสบการณ์ด้านการผสมทียมผ่านคอมดลูก (CAI)พบว่าครั้งแรก (ในช่วงฤดูร้อน) ผสมทียมผ่านคอมดลูก (CAI) 19 ตัว ตั้งท้อง 4 ตัว อัตราการผสมติด 20%ครั้งที่สอง ผสมทียมผ่านคอมดลูก (CAI) 10 ตัว ตั้งท้อง 7 ตัว อัตราการผสมติด 70%  โดยใช้อุปกรณ์ผสมเทียมได้รับสนับสนุนจากภาครัฐ

จุดเด่นของกลุ่มผู้เลี้ยงแพะแกะโคกเจริญ คือ การเน้นการเป็นฟาร์มแพะปลอดโรคมาตรฐาน โดยเฉพาะโรคแท้องติดต่อ
ปัญหาด้านการผลิตและการตลาด (ความคิดเห็นของเจ้าของฟาร์ม):
–    ด้านการผลิต
–    พันธุ์สัตว์มีราคาแพง
–    ขาดสัตว์พันธุ์แท้หายาก
–    ขาดแหล่งพันธุกรรมที่ดี
–    ด้านการตลาด
–    ระยะเวลากักและตรวจโรคใช้เวลานาน
จากวันนี้ถึงวันพรุ่งนี้ของโคกเจริญ
    จากภัยแล้ง ปลูกพืชไม่ได้ผล เกษตรกรโคกเจริญ ได้ผันตัวเองมาเป็นผู้เลี้ยงแพะเนื้อที่เข้มแข็ง  บางรายเลิกอาชีพทำไร่มาเลี้ยงแพะเป็นอาชีพหลักเลี้ยงครอบครัวได้ ต้นทุนต่ำ โดยมีรายได้ปีละประมาณ 100,000 บาท โดยข้อมูลจากหนึ่งฤทัยฟาร์ม ขายแพะขุนปีละสองรุ่นโดยแต่ละรุ่นประมาณ 11 ตัวการเลี้ยงแพะเป็นการสร้างอาชีพให้ผู้สูงอายุมีงานทำมีรายได้
    กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะแกะโคกเจริญ มีความเข้มแข็งเนื่องจากมีผู้นำกลุ่มที่ดี มีบุคลากรขับเคลื่อนทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติ เช่น พนักงานราชการกรมปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์มีข้อบังคับของสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะแกะโคกเจริญอย่างชัดเจนได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เช่น การผสมเทียมผ่านคอมดลูกแบบไม่มีค่าใช้จ่าย
ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคโดยเน้นฟาร์มแพะปลอดโรคเพื่อรองรับตลาดแพะอาเซียน (AEC) และเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้า
ข้อมูลทางการตลาดพบว่าตลาดมีความต้องการแพะเนื้อในปริมาณมากกว่ากำลังการผลิตภายในของกลุ่มผู้เลี้ยง โดยพ่อค้าคนกลางรวบรวมแพะมีชีวิตส่งลงไปยังทางภาคใต้ของประเทศไทยและส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย ที่รัฐยะโฮร์ ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อแพะกระป๋องเพื่อส่งไปขายยังประเทศสิงคโปร์
ระบบการใช้พ่อพันธุ์หมุนเวียนภายในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะแกะโคกเจริญ ซึ่งมีด้วยกันจำนวน 5 ตัวสลับหมุนเวียนกันใช้ภายในกลุ่ม  จะก่อให้เกิดปัญหาการผสมเลือดชิด (Inbreeding)ได้ในเวลาต่อมา และปัญหาโรคติดต่อที่อาจเกิดจากการสลับหมุนเวียนการใช้พ่อพันธุ์ภายในกลุ่มได้  การนำเทคโนโลยีในการสร้างพันธุ์ด้วยการผสมเทียมและการย้ายฝากตัวอ่อนจะเพิ่มศักยภาพของการผลิตของกลุ่ม ทั้งนี้เกษตรกรเริ่มยอมรับในเทคโนโลยีทางชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์มากขึ้น โดยเฉพาะการผสมเทียมผ่านทางคอมดลูก (Cervical artificial insemination)เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์และป้องกันปัญหาการผสมเลือดชิด (Inbreeding)จากการใช้พ่อพันธุ์ผสมจริงหรือคุมฝูง
ค่าใช้จ่ายในการทำทั้งการผสมเทียมและการย้ายฝากตัวอ่อน เป็นสิ่งที่ทางกลุ่มมีคำถาม เนื่องจากตามปกติจะได้รับการบริการจากภาครัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่เป็นจำนวนจำกัดและในเวลาที่กำหนด

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *