แอนดูรว์ คาร์เนกี้ “บุคคลที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี”
แอนดูรว์ คาร์เนกี้ “บุคคลที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี”
เจ พี มอร์แกน จะได้ประโยชน์จากการศึกษาดีที่สุดที่เงินสามารถซื้อได้ พ่อของเขาจะเป็นนายธนาคารระหว่างประเทศ แต่เขาจะมีความสัมพันธ์ที่ตรึงเครียดกับลูกชายของเขาตลอดชีวิต ภายหลังจากจบโรงเรียนมัธยม พ่อของเขาได้ส่งเขาไปโรงเรียนดีที่สุดภายในฝรั่งเศสและเยอรมัน ก่อนที่จะนำลูกชายของเขาเข้ามาสู่อาณาจักรธนาคาร
เจ พีมอร์แกน ได้เรียนรู้ตอนอายุวัยรุ่นว่าการทำเงินเราจะต้องลงทุนเงินของบุคคลอื่น ในฐานะหัวหน้าของธนาคารที่มีพลังมากที่สุดของโลก เจ พี มอร์แกน ได้มุ่งที่การจัดองค์การใหม่และการรวมธุรกิจที่ยุงยากเข้าด้วยกัน เมื่อรถไฟมีความยุ่งยากทางการเงิน ณ เวลาที่ลำบากเมื่อ ค.ศ 1873 เจ พี มอร์แกนได้ซื้อรถไฟหลายสาย รวมมันเข้าด้วยกัน และปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจและการบริหาร เพื่อที่จะกลับรถไฟไปทำกำไร เขาได้กลายเชี่ยวชาญต่อกระบวนการนี้ที่จะยึดครองธุรกิจที่ยุ่งยาก การจัดระบบใหม่จนกลายที่รู้จักกันว่ามอร์แกนไนเซซั่น ชื่อเสียงของเขาในฐานะนายธนาคารและนักการเงินได้ช่วยสร้างความสนใจจากนักลงทุนต่อธุรกิจที่เขาซื้อ แต่กระนั้นเขาได้กลายเป็นร้อนใจ และเมื่อเขามีอายุ 40 ปี เขารู้สึกต้องการที่จะออกไปจากภายใต้พ่อของเขา
เจ พี มอร์แกนได้มองเห็นอะไรที่จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ และแอนดรูว์ คาร์เนกี้ ได้ทำกับการสร้างบริษัทของพวกเขาจากรากฐาน และเขาต้องการทำอย่างเดียวกัน แม้ว่ามันจะขัดแย้งกับความต้องการของพ่อของเขา เจ พี มอร์แกนรู้ว่ามันต้องใช้นวัตกรรม และเขาได้มองเห็นนักประดิษฐ์คนหนึ่ง ชื่อโทมัส เอดิสัน เขาต้องการจะลงทุนภายในธุรกิจหลอดไฟฟ้าของโทมัส เอดิสัน เพราะว่าเขาได้มองเห็นศักยภาพของหลอดไฟฟ้า
เพื่อที่จะดึงดูดนักลงทุนคนอื่น เขาได้ให้โทมัส เอดิสันติดตั้งติดตั้งหลอดไฟฟ้า 400 ดวงภายในบ้านนิวยอร์คของเขา เขาได้ชวนเพื่อนที่ร่ำรวยหลายคนมาเยี่ยมบ้านของเขาที่จะแสดงหลอดไฟฟ้า พ่อของเจ พี มอร์แกน จะไม่เห็นด้วย
แต่กิจกรรมได้บรรลุความสำเร็จ เจ พี มอร์แกน ได้ตัดสินใจที่จะสนับสนุนเงินทุนความคิดของโทมัส เอดิสัน และสร้างระบบไฟฟ้ากำลังแก่ไฟฟ้าครึ่งหนึ่งของเมืองนิวยอร์ค ทุกบ้านที่ได้ต่อไฟฟ้าโดยโทมัส เอดีสันจะเป็นลูกค้าที่สูญเสียต่อจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ ภายใต้ความพยายามจะปกป้องอาณาจักรน้ำมันก๊าด จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ได้ปล่อยการรณรงค์สื่อที่จะทำให้ไฟฟ้าไม่น่าเชื่อถือ
พ่อเศรษฐีของเจ พี มอร์แกน ได้สร้างความมั่งคั่งของเขาด้วยการลงทุนเงินของบุคคลอื่น และช่วยเหลือการสร้างธนาคารลงทุนสมัยใหม่ เมื่อเจ พี มอร์แกน เป็นเด็ก พ่อของเขาได้ให้เขาจัดการเงินสดล้านเหรียญ ดังนั้นเขารู้ว่ามันรู้สึกคล้ายกับอะไร เจ พี มอร์แกน ได้ถูกสอนเริ่มแรกที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย การครอบงำโดยพ่อของเขา เจ พี มอร์แกน จะมีอายุ 40 ปี ก่อนที่เขาจะละเลยบทเรียนธุรกิจของพ่อของเขา
จอห์น เพียร์พอนต์ มอร์แกน จะเป็นนักการเงิน นักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และนักสะสมศิลปะ และนักการเงินต้นแบบของประเทศ อิทธิพลของเขาจะยังคงรู้สึกอยู่ปัจจุบันนี้ เกือบศตวรรษภายหลังการเสียชีวิตของเขาเมื่อ 31 มีนาคม ค.ศ 1913
เจ พี มอร์แกน ชื่อเต็ม จอห์น เพียร์พอนต์ มอร์แกน เกิดที่ฮารทฟอร์ด คอน
เนคติคัท อเมริกา เขาได้ถูกเลี้ยงดูที่นี่ เขาจะเป็นลูกชายของจูเนียส มอร์แกน และจูเลียต เพียร์พอนต์ เจ พี มอร์แกน จะเป็นนักการเงินและนายธนาคารอเมริกัน บุคคลทางการเงินสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลกระหว่างสองทศวรรษก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาจะครอบงำการเงินบริษัทบนวอลล์ สตรีท ตลอดยุคทอง
เจ พี มอร์แกน ได้จัดระบบรถไฟที่สำคัญหลายสายใหม่ และสนับสนุนเงินทุนการรวมกันทางอุตสาหกรรมที่ได้สร้างยู เอส สตีล อินเตอร์แนชั่นแนล และเจ็นเนอรัล อีเล็คทริค ขึ้นมา ในฐานะหัวหน้าของธนาคารในที่สุดได้กลายเป็น เจ พี มอร์แกน แอนด์ โค. เขาจะเป็นพลังขับเคลื่อนคนหนึ่งเบื้องหลังคลื่นของการรวมกันทางอุตสาหกรรมภายในอเมริการะยะเวลาปลายศตวรรษที่สิบเก้าและต้นยี่สิบ
เขาได้เข้ามาสู่ธุรกิจการธนาคารเมื่อ ค.ศ 1850 และเมื่อ ค.ศ 1871 ได้สร้างการเป็นหุ้นส่วนกับนายธนาคารฟิลาเดลเฟีย แอนโธนี เดรกเซิล เมื่อ ค.ศ 1895 บริษัทของพวกเขาได้ถูกจัดระเบียบใหม่เป็น เจ พี มอร์แกน แอนด์ คอมพานี
เจ พี มอร์แกนได้ใช้อิทธิพลของเขาที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพแก่ตลาดการเงินอเมริกันระหว่างวิกฤติทางเศรษฐกิจหลายครั้ง รวมทั้งการตื่นตกใจของ ค.ศ 1907 แต่กระนั้นเขาได้เผชิญกับข้อวิจารณ์ว่าเขามีอำนาจมากเกินไป และถูกกล่าวหาจากการใช้กลอุบายกับระบบการเงินของชาติเพื่อผลประโยชน์ของเขาเอง
ไม่ใช่ว่านักธุกิจที่ร่ำรวยและมีอิทธิพลทุกคนของยุคทองจะเป็นเรื่องราวของยาจกกลายเป็นมหาเศรษฐี เจ พี มอร์แกนได้เกิดภายในครอบครัวของความมั่งคั่ง พ่อของเขาได้ชื่อตัวเขาเองภายในอุตสากรรมธนาคารอยู่แล้ว ด้วยทรัพยากรครอบครัวของมอรแกน เขาจะได้รับการศึกษาทางธุรกิจดีที่สุดเท่า
ที่เงินสามารถซื้อได้
เจ พี มอร์แกน ไม่ต้องคุ้ยเขี่ยและคลานตามทางของเขาไปสู่บนสุดของบันไดบริษัทใดก็ตาม พ่อของเขาได้จัดเตรียมตำแหน่งลู่ทางผู้บริหาร ณ ธนาคารดีที่สุดแห่งหนึ่งของนิวยอร์คไว้แล้ว ไม่มองถึงข้อได้เปรียบของครอบครัวของเขา เจ พี มอร์แกนจะมีจิตใจของตัวเองที่ยิ่งใหญ่ เขาได้วางแผนที่จะยึดครองโลกการเงิน
มอร์แกนได้เริ่มต้นอาชีพวอลล์ สตรีทของเขาเมื่ออายุยี่สิบปีเป็นเสมียนที่ไม่ได้รายได้ ณ ดันแคน เชอร์แมน แอนด์ โค ธนาคารลงทุนที่ผูกกับบริษัทของพ่อของเขาอย่างใกล้ชิด พีบอดี้ แอนด์ โค เมื่อ ค.ศ 1871 เขาได้เป็นหุ้นส่วนกับ
แอนโธนี
เดรกเซิล นายธนาคารจากฟิลาเดลเฟีย ก่อตั้งเดรกเซิล มอร์แกน แอนด์ โค
ตลอดหลายทศวรรษ เดรกเซิล และมอร์แกน ได้สร้างธนาคารลงทุนที่มีพลังมากที่สุดแห่งหนึ่งภายในโลก ภายหลังจากแอนโธนี เดรกเซิล เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ 1893 บริษัทได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เจ พีิ มอร์แกน แอนด์ โค.
เดรกเซิล มอร์แกน แอนด์ โค ได้ยุ่งเกี่ยวภายในอุตสาหกรรมรถไฟ และช่วยสนับสนุนเงินทุนแก่นอรทเธิรน แปซิฟิค เรลโรด บริษัทจะเชี่ยวชาญภายในการจะระบบใหม่แก่อุตสาหกรรมที่ยุ่งยาก การซื้อบริษัทที่แข่งขันและรวมทรัพยากรของพวกเขาให้เป็นบริษัทเดียวภายในทางปฏิบัติที่รู้จักกันว่ามอร์แกนไนเซชั่น เมื่อใกล้จะถึงการสิ้นสุดของศตวรรษที่สิบเก้า เจ พี มอร์แกนได้มุ่งความสนใจของเขาไปยังอุตสาหกรรมอื่น และนำไปสู่การรวมบริษัทเป็นเจ็นเนอรัล อีเล็คทริค และยูเอส สตีล
ภายในยุคที่ขาดธนาคารกลาง บางครั้งเจ พี มอร์แกนจะเป็นโดยพฤตินัย “ผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย” เมื่อ ค.ศ 1893 ประเทศได้เผชิญกับการตื่นตกใจจุดประกายจากลำดับความล้มเหลวของรถไฟ สองปีต่อมาด้วยเศรษฐกิจที่ยังคงดิ้นรนและทองสำรองได้ลดลง เจ พี มอร์แกนได้จัดระบบองค์การของธนาคารระหว่างประเทศ
ที่จะซื้อทองและขายทองแก่รัฐบาลอเมริกันภายในการแลกเปลี่ยนเป็นพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน ระหว่างการตื่นตกใจ ค.ศ 1907 มอร์แกนได้รวบรวมกลุ่มของนายธนาคารให้เงินกู้ 10 ล้านเหรียญแก่ทรัสต์ คอมพานี ออฟ อเมริกา
และเงินกู้แก่สถาบันอื่นที่ยุ่งยาก และเงินกู้ 35 ล้านเหรียญแก่ตลาดหุ้นนิวยอร์ค
ในฐานะนักการเงินแนวหน้าของยุคปฏิรูปประเทศ การทุ่มเทของเจ พี มอร์แกนต่อประสิทธิภาพและความทันสมัยได้ช่วยปฏิรูปรูปร่างของเศรษฐกิจอเมริกัน
เอเดรียน วูลดริดก์ ได้แสดงลักษณะของเจ พี มอร์แกนเป็น “นายธนาคารยิ่งใหญ่ที่สุด” ของอเมริกา มอร์แกนเสียชีวิตภายในโรม อิตาลี ตอนนอนหลับเมื่อค.ศ 1913 เมื่ออายุ 75 ปี การปล่อยทิ้งโชความมั่งคั่งและธุรกิจของเขาแก่ลูกชาย จอห์น เพียพอนต์ มอร์แกน จูเนียร์ รอน เชอรนาว นักชีวประวัติ ได้ประมาณความมั่งคั่งของเขาไว้ 118 ล้านเหรียญเท่านั้น
ิ ภายหลังจากการเสียชีวิตของพ่อของเขาเมื่อ ค.ศ 1890 เจ พี มอร์แกน ได้เข้าควบคุม
เจ เอส มอร์แกน แอนด์ โค. เจ พี มอร์แกนได้เริ่มต้นพูดคุยกับชาร์ลส ชวาบ ประธานบริษัทของคาร์เนกี้ โค. และแอนดรูว์ คาเนกี้ เมื่อ ค.ศ 1900 เป้าหมายคือการซื้อธุรกิจเหล็กของแอนดูรว์ คาร์เนกี้ และรวมกับบริษัทเหล็กอื่นหลายบริษัท ภายหลังจากการสนับสนุนเงินทุนการสร้างเฟดเดอรัล สตีล คอมพานี ในที่สุดได้รวมกับคาร์เนกี้ิ สตีล คอมพานี เมื่อ ค.ศ 1901 สร้างเป็นยูไนเต็ด
สเตรท สตีล คอรปอเรชั่น
เมื่อ ค.ศ 1901 ยู เอส สตีล จะเป็นบริษัทพันล้านเหรียญแรกของโลก ยู เอส สตีล
มุ่งหมายที่จะบรรลุความประหยัดจากขนาดมากขึ้น ลดต้นทุนการขนส่งและทรัพยากร ขยายสายผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงการกระจาย มันได้ถูกวางแผนที่จะช่วยให้อเมริกาแข่งขันระดับโลกกับอังกฤษและเยอรมันด้วย ชาร์ลด
ชวาบอ้างว่าขนาดของยู เอส สตีล จะทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพและเข้มแข็งมากขึ้นภายในการแสวงหาตลาดต่างประเทศ : การกลายเป็นระดับโลก ยู เอส สตีล ได้ถูกมองเป็นการผูกขาด เมื่อบริษัทได้พยายามจะครอบงำไม่เพียงแต่เหล็กเท่านั้น แต่การก่อสร้างสะพาน เรือ รถไฟ และผลิตภัณฑ์อื่นจำนวนมาก ภายใต้ ยู เอส สตีล เจ พี มอร์แกนได้ยึดครองสองในสามของตลาดเหล็ก และชาร์ลด ชวาบ เชื่อใั่นว่าในไม่ช้าบริษัทจะมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 75% แต่กระนั้นภายหลัง ค.ศ 1901 ส่วนแบ่งตลาดของบริษัทได้ลดลง ชาร์ลด ชวาบได้ลาออกจากยู เอส สตีล เมื่อ ค.ศ 1903 ที่จะสร้างเบธลีเฮม สตีล ที่ได้กลายเป็นผู้ผลิตเหล็กอเมริกันใหญ่ที่สุดลำดับสอง
เดรกเซิล มอร์แกน แอนด โค บริษัทบรรพบุรุษของ เจ พี มอร์แกน แอนด์ โค
ได้สนับสนุนเงินทุนการวิจัยของโทมัส อัลวา เอดิสัน ภายในหลอดไฟฟ้า และจากนั้นได้ช่วยเหลือบริษัทเขาก่อตั้งบริษัท ต่อมาบริษัทของโทมัส เอดิสัน ได้รวมกับทอมสัน ฮูสตัน อีเล็คทริค และกลายเป็นเจ็นเนอรัล อีเล็คทริค
เจ พีื มอร์แกน ได้เป็นเครื่องมือภายในการรวมบริษัทที่ได้สร้างยู เอส สตีล และอินเตอร์แนชั่นแนล ฮารเวสเตอร์ ด้วย
อุตสาหกรรมรถไฟปลายศตวรรษที่สิบเก้าได้ถูกมองว่าจำนวนมากเกินไปและสงครามค่าโดยสารที่ได้คุกคามระบบและตลาดการเงิน เจ พี มอร์แกน ได้รับรู้ถึงอันตรายและเจรจาการสงบศึกระหว่างคูแข่งขันรถไฟใหญ่ที่สุดสองรายของประเทศ นิวยอร์ค เซ็นทรัล และเพนซิลวาเนีย เรลโรด เมื่อ ค.ศ 1880 เจ พี มอร์แกนได้กลายเป็นนักการเงินรถไฟทีมีอิทธิพลมากที่สุด
ถ้อยคำว่า “Morganization” มันจะเป็นการรวมกันของ “Morgan” และ “Organization” และได้อ้างถึงการปฏิบัติของการรวมหรือการจัดระบบธุรกิจให้เป็นวิถีทางการผูกขาด มอร์แกนไนเซชั่น จะเป็นชื่อที่ใช้กับเทคนิคของการผูกขาดที่ถูกใช้โดย เจ พี มอร์แกน ภายในศตวรรษที่สิบเก้า เจ พี มอร์แกน ได้ใช้ชื่อเสียงที่จะล่อนักการเงินยุโรปมาภายในอเมริกา ด้วยการยึดครองอุตสาหกรรม
และทำให้มีเสถียรภาพโดยการผูกขาด มอร์แกนจะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมให้เป็นองค์การเดียว มั่นคง และทำกำไร ที่สร้างความพอใจแก่นายธนาคารยุโรปมาก ปัจจุบันนี้เราจะมีกฎหมายห้ามการผูกขาดป้องกันมอร์แกนไนเซชั่น แต่ถ้อยคำจะยังคงถูกใช้อธิบายบุคคลหรือธุรกิจที่ถูกมองว่าพวกเขาได้พยายาม
ที่จะรวบรวมการควบคุมทางอุตสาหกรรมมากเกินไป การครอบครองอำนาจการผูกขาดภายในตลาด หรือแม้แต่ขุนนางนักปล้น นายทุนอเมริกันศตวรรษที่สิบเก้าที่สร้างความมั่งคั่งจากวิถึทางที่โหดร้าย เจ พี
มอร์แกน ได้ใช้มอร์แกนไนเซชั่นกับอุตสาหกรรมรถไฟครั้งแรก การยึดครองบริษัทเล็กที่สภาพคล่องต่ำ ต่อมาเขาได้ยึดครองอุตสาหกรมเหล็ก ไฟฟัา และธนาคารด้วยวิถีทางอย่างเดียวกัน การเจริญเติบโตอย่างมั่นคงแลแข็งแรงได้ทำให้เกิดความสำเร็จภายในการปฏิรูปอเมริกาจากประเทศที่เป็นลูกหนี้ให้เป็นประเทศที่สามารถให้กู้เงินแก่ประเทศอื่นได้
เจ พี มอร์แกน ได้คิดค้นใหม่การผูกขาดสามารถถูกสร้างโดยการกำจัดการแข่งขัน
ได้อย่างไร ด้วยการซื้อบริษัทเล็กกว่า ลดราคาจนกระทั่งคู่แข่งขันพยายามจะแข่งขันจนล้มละลาย การซี้อคู่แข่งขันที่ล้มละลายที่จะครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
ภายในตลาด และลดกำลังงานของบริษัทในขณะที่ลดค่าจ้างลง การกระทำเหล่านี้รวมกันได้ทำให้กำไรของการผูกขาดสูงสุด ในที่สุดเจ พี มอร์แกนสามารถยึดครองอุตสาหกรรมที่สำคัญสามอย่างได้ : รถไฟ ไฟฟ้า และเหล็ก บรรดาบริษัทที่สำคัญหลายบริษัทที่เจ พีิ มอร์แกนสร้างจากมอร์แกนไนเซชั่น บริษัทใหญ่ที่สุดคือนอร์ทเทิรน ซีเคียวริตี้ คอมพานี
เจ พี มอร์แกนจะไม่เหมิือนกัีบแอนดรูว์ คาร์เนกี้ เขาเกิดมาด้วยความร่ำรวย เขาเจริญเติบโตภายในครอบครัวธนาคารที่มีชื่อเสียง และได้การเริ่มต้นของเขาภายในธุรกิจลอนดอนของพ่อของเขาเมื่ออายุ 19 ปี ภายหลังสงครามกลางเมือง เจ พี มอร์แกน ได้เริ่มต้นลงทุนภายในรถไฟ และในไม่ช้าได้ยึดครองอาณาจักรการขนส่ง เขาไ่ม่ได้สร้างถนนและรถไฟ เขาได้รวมรถไฟที่ยุ่งยากทางการเงินภายใต้การควบคุมของเขา
กระบวนการที่เราเรียกกันว่ามอร์แกนไนเซชั่น มอร์แกนไนเซชั่นจะเป็นถ้อยคำที่นิยมแพร่หลายภายหลังจากวิถีทางของ เจ พี มอร์แกน ภายในกระบวนการของการจัดระบบใหม่ธุรกิจที่ยุ่งยาก และทำให้มันทำกำไร เขาได้ใช้ชื่อเสียงของเขาส่วนใหญ่ขับเคลื่อนอัตราดอกเบี้ยที่ดีขึ้นต่อองค์การที่เขานำ บุคคลหลายคนอ้างว่าวิถีทางของเขาคือ การสร้างการผูกขาด
บทเรียนจากประวัติเริ่มแรกของ เจ พี มอร์แกนคือ เราสามารถใช้เงินของบุคคลอื่นที่จะลงทุนทำกำไร เราจะทำเงินเมื่อเราซื้อไม่ใช่เมื่อเราขาย ธุรกิจที่ยุ่งยากและธุรกิจที่แข่งขันตัวต่อตัวอย่างรุนแรงจะสร้างเป้าหมายที่ง่ายต่อการซื้อ เจ พี มอร์แกน จะเป็นายทุนนิยมที่แตกต่างจากแอนดูรว์ คารเนกี้ที่สร้างธุรกิจและชอบการแข่งขัน
เจ พี มอร์แกนจะยึดครองธุรกิจของบุคคลอื่น และเกลียดการแข่งขัน มอร์แกนต้องการจะทำให้เศรษฐกิจอเมริกันที่แกว่งตัวมีเสถียรภาพ ป้องกันสงครามราคาระหว่างคู่แข่งขันทางธุรกิจด้วยการทำลายบริษัทใหญ่ และทำให้เศรษฐกิจยุ่งเหยิง
แผนของเจ พี มอร์แกนจะสอดคล้องกับยักษ์ใหญบริษัทหลายคนที่ต้องการจะดูดซึมการแข่งขันด้วยการสร้างทรัสต์และการผูกขาด จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ ได้ทำสิ่งนี้ด้วยการสร้างการผูกขาดยิ่งใหญ่ที่สุด สแตนดาร์ด ออยล์ ทรัสต์ ไม่มีนายทุนคนอื่นยกเว้นแอนดูรว์ คารเนกี้ มีเงิน
ที่จะสร้างการรวมกันที่ใหญโตนี้ ดังนั้นนักอุตสาหกรรมสร้างอาณาจักรได้ถูกจูงเข้ามาสู่แขนของ เจ พี มอร์แกนและนายธนาคารวอลล์ สตรีทที่น่ากลัวคนอื่น นี่จะเริ่มต้นแรงขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่แก่นิวยอร์ค นายทุนที่มีพลังเหมือนเช่นฟิลิป อาร์เมอร์ ยักษใหญ่เนื้อสัตว์ และคอลลิส ฮันติงตัน ยักษ์ใหญ่รถไฟ ย้ายมาสู่นิวยอร์คเมื่อ ค.ศ 1890 ที่จะอยู่ใกล้กับบริษัทลงทุนเหมือนเช่น มอร์แกน แอนด์ คอมพานี และลีห์แมน บราเธอร์
เมื่อ ค.ศ 1895 นิวยอร์คจะเป็นเมืองสำนักงานใหญ่แก่บริษัทอเมริกัน เกือบครึ่งหนึ่งของเศรษฐีอเมริกันจะมีชีวิตอยู่ภายในนิวยอร์ค และเจ พี มอร์แกนจะควบคุมสมาคมวอลล์ สตรีท ดังที่จอห์น มูดี้ นักเขียนทางการเงิน ได้เรียกว่า “พลังทางการเงินยิ่งใหญ่ที่สุดภายในโลก” ณ จุดสูงสุดของพลังของเขา เมื่อต้น ค.ศ 1900 เจ พี มอร์แกนได้ยึดครองบริษัทเป็นร้อยที่มีมูลค่ามากว่า 22 พันล้านเหรียญภายในทรัพย์สิน บรรดาบริษัทเหลานี้จะเป็นบริษัทพันล้านเหรียญแห่งแรกภายในประวัติศาสตร์ ยู เอส สตีล เจ พี มอร์แกน ได้สร้างทรัสต์เหล็กยักใหญ่นี้เมื่อ ค.ศ 1901 เขาได้ซื้อจากแอนดูรว์ คาร์เนกี้ภายในข้อตกลงเงินสดที่มหาศาล ธุรกรรมครั้งนี้จะเป็นกระแสน้ำขึ้นของพลังนายธนาคารภายในนิวยอร์ค
ผู้ป้องกันเจ พี มอร์แกนได้กล่าวว่าเขาไม่เคยใช้อำนาจของเขาอย่างไม่ถูกต้อง
แต่คำถามคือ บุคคลใดก็ตามภายในระบบประชาธิปไตยควรจะมีอำนาจมากเช่นนี้หรือไม่ มอร์แกนมองตัวเขาเองว่าเป็นพลังอย่างหนึ่งเพื่อสิ่งที่ดี ภายใต้ธนาคารของเขา เขาได้ช่วยเหลือที่จะปฏิรูปอเมริกาให้เป็นชาติที่มีพลังมากที่สุดของโลก และโดยส่วนบุคคลอย่างไม่เปิดเผย เขาได้ให้เงินของเขาแก่บุคคลยากจนภายในชนบท
พ่อแม่ของเขาได้อ้างว่าเขาสามารถทำเงินได้มากกว่าที่เขาได้ทำ นั่นคือความจริง เพราะว่าเขาจะมีชิวิตด้วยการตามใจตัวเอง การใช้เวลาสะสมภาพเขียน หนังสือที่หายาก บ้านใหญ่โต อัญมณี และเรือยอชท์ เมื่อเจ พี มอร์แกนเสียชีวิตเมื่อ ค.ศ 1913 เขาจะมีทรัพย์สิน 80 ล้านเหรียญ เปรียบเทียกับความมั่งคั่งเกือบหนึ่งพันล้านเหรียญของจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ เมื่อจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ได้อ่านเรื่องนี้ภายในหนังสือพิมพ์ เขาได้กล่าวว่า เจ พี มอร์แกนไม่ได้เป็นบุคคลร่ำรวยเลย แต่ข้อสังเกตุของจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ จะพลาดจุดสำคัญ พลังของเจ พี มอร์แกนไม่ได้อยู่ภายใตัเลขเงินล้านของเขา แต่จะอยู่ภายในพันล้านที่เขาได้ควบคุม วุฒิสมาชิกบีเวอร์ริดจ์ ได้เรียกเจ พี มอร์แกนว่า ” นักการเงินที่สร้างสรรค์มากที่สุด” ภายในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
เจ พี มอร์แกน จะเป็นผู้บริจาคที่สำคัญของพิพิธภัณฑหลายแห่ง ลูกชายของเขา เจ พี มอร์แกน จูเนียร์ ได้ยึดครองเจ พี มอร์แกน แอนด์ โค. ภายหลังจากการเสียชีวิตของเขา
มอร์แกนไนเซชั่น ได้สร้างความท้าทายต่อกฏหมายห้ามการผูกขาดของอเมริกา และอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลท์ที่จะนำองค์การและวางแผนเศรษฐกิจ แรงขับเคลื่อนส่วนมากของมอร์แกนที่จะครอบงำธุรกิจจะได้มาจากบุคลิกภาพของเขาเองโดยตรง และเขาได้สนับสนุนแรงกระตุ้นตามธรรมชาตินั้นด้วยการมองไกลของวิสัยทัศน์ และความสามารถที่จะจัดระบบความต้องการของเขาให้เป็นการกระทำโลกที่เป็นจริง นี่คือสาระสำคัญของมอร์แกนไนเซชั่น
เมื่อ 14 กันยายน 2000 เชส แมนฮัตตันจะเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดลาดับสามภายในอเมริกา ได้ประกาศว่าบริษัทได้รวมกับเจ พีื มอร์แกน ธนาคารเรื่องราวมากที่สุดแห่งหนึ่ง มูลค่า 30.9 พันล้านเหรียญ ข้อตกลงได้ถูกเห็นชอบโดยคณะกรรมการของทั้งสองบริษัทแล้ว เมื่อรวมเข้าด้วยกัน เชส และมอร์แกน จะมีทรัพยสินมากกว่า 650 พันล้านเหรียญ ลำดับสองจาก 800 พันล้านเหรียญของซิตี้คอรป บริษัทใหม่จะมีชื่อว่า
เจ พี มอร์แกน เชส เชสจะมีทรัพย์สินรวม 396 พันล้านเหรียญ เปรียบเทียบกับ 266 พันล้านเหรียญของมอร์แกน
“บุคคลที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี” ถ้อยคำนี้จะเป็นคำตัดสินของแอนดรูว์ คาร์เนกี้ นักอุตสาหกรรมและนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ภายในบทความของเขา The Gospel of Wealth เขาได้อ้างจะแก้ปัญหาของบุคคลที่ร่ำรวยและบุคคลที่ยากจน The Gospel of Wealth จะเป็นความคิดที่สร้างความนิยมแพรหลายโดยแอนดรูว์ คาร์เนกี้ เมื่อ ค.ศ 1889
ภายในบทความที่เชาได้เขียน “Wealth” เขาได้อธิบายความเชื่อของเขาว่ามันจะเป็นความรับผิดชอบทางศีลธรรมของบุคคลที่ร่ำรวย โดยเฉพาะบุคคลร่ำรวยที่สร้างตัวเอง ที่จะจัดการความไม่เสมอภาคทางความมั่งคั่ง ด้วยการให้ความมั่งคั่งส่วนเกินของพวกเขาแก่บุคคลที่ยากจน แอนดูรว์ คาร์เนกี้ ยืนยันว่าบุคคลที่ร่ำรวยควรจะบริจาคแก่สถาบันสาธารณะที่มีทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และห้องแสดงดนตรี แอนดรู์ คาร์เนกี้ ได้กล่าวถึง
วิถีทางของการจัดการความมั่งคั่งส่วนเกินจะมีอยู่สามอย่าง มันสามารถทิ้งไว้แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิต ผ่านจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง
มันสามารถเป็นมรดกต่อประโยชน์ทางสาธารณะ และมันสามารถถูกบริหารการใช้ประโยชน์ต่อสังคมโดยผู้ครอบครอง ความมั่นคั่งส่วนใหญ่โน้มเอียงที่จะใช้ภายในวิถีทางอย่างแรกหรืออย่างที่สอง
เขาได้ยืนยันว่าทางเลือกที่น่าเชื่อถือได้เท่านั้นต่อบุคคลด้วยความมั่งคั่งส่วนเกินคือ การใช้มันระหว่างช่วงชีวิตของพวกเขาต่อผลประโยชน์ส่วนรวม และถ้าทำอย่างอื่นจะเสียศักดิ์ศรี เขาได้บริจาคและบริหารความมั่งคั่งจำนวนมากเพื่อความมุ่งหมายทางการกุศล
แนวคิดของความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัทจะเดินทางมายาวนาน และ
มีรากเหง้าของมันอยู่ภายในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของบริษัท เศรษฐศาสตร์และข้อเขียนของแอนดรูว์ คารเนกี้ : 1835-1919 แอนดูรว์ คาร์เนกี้ นักธุรกิจที่มั่งคั่งและนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ได้ท้าทายนักธุรกิจที่มั่งคั่งที่จะสนับสนุนสาเหตุทางสังคม เมื่อปลาย ค.ศ 1800 จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ ได้รับแรงบันดาลใจจากแอนดูรว์ คาร์เนกี้ ดำเนินตามคำขอร้องภายในการบริจาคมากกว่าครึ่งพันล้านเหรียญ
ภายหลังจากแอนดูรว์ คารเนกี้ได้ขายบริษัทเหล็กของเขา ย้กษใหญ่ตัวเล็กอายุ 53 ปี
ได้เกษียณจากธุรกิจและทุ่มเทตัวเขาเองเต็มเวลากับการช่วยเพื่อนมนุษย์
แอนดูรว์ คาเนกี้ อาจจะเป็นนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดภายในประวัติศาสตร์อเมริกัน
ภายใต้ความฝันของชาวอเมริกันและความไม่เสมอภาค
อเมริกาได้อ้างเป็นสถานที่ที่ถ้าเราทำงานหนักเพียงพอ เราสามารถกลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยได้ ที่จริงแล้วอเมริกาจะมีมหาศรษฐีมากกว่าทุกประเทศภายในโลก ช่องว่างระหว่างบุคคลที่ร่ำรวยและบุคคลที่ยากจนจะกว้างอยู่เสมอและกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดศตวรรษบุคคลได้พยายายามจะแก้ไขความไม่เสมอภาคนี้ แอนดรูว์ คาร์เนกี้ จะเป็นบุคคลแรกคนหนึ่งที่เสนอแนะข้อแก้ปัญหา ความคิดของเขาจะเรียกว่า The Gospel of Wealth ได้มีอิทธิพลต่อชาวอเมริกันหลายล้านคนนับตั้งแต่นั้นมา ยักษ์ใหญ่ซอฟท์แวร์ บิลล์ เกตส์ และนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่
วอรเร็น บัฟเฟตต์ บุคคลร่ำรวยที่สุดของยุคของเรา ทั้งสองคนจะได้รับอิทธิพลจาก The Gospel of Wealth
The Gospel of Wealth ได้กลายเป็นที่รู้จักกันภายหลังการพิมพ์ภายในอังกฤษ มันได้กลายเป็นมีชื่อเสียงทั่วแอตแลนติค เมื่อนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนก่อน วิลเลียม แกลดสโตน ได้ช่วยจัดระบบการพิมพ์
แอนดรูว์ คาร์เนกี้ ได้กลายเป็นนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษยแนวหน้าภายในอเมริกาและอังกฤษ ระหว่างสิบแปดปีสุดท้ายของเขา เขาได้บริจาคเงิน 350 ล้านเหรียญ ประมาณ 965 พันล้านเหรียญเมื่อ ค.ศ 2019 บนพื้นฐานร้อยละของจีดีพี
แก่การกุศล มูลนิธิ และมหาวิทยาลัย เกือบ 90% ของความมั่งคั่งของเขา
นอกจากความสนใจของเขาต่อธุรกิจและการกุศลแล้ว แอนดูรว์ คารเนกี้จะสนุกสนานกับการเดินทางและพบและรื่นเริงกับบุคคลแนวหน้าภายในหลายวิชาชีพ เขาจะเป็นเพื่อนกับ มารค ทเวน ธีโอดอร์ โรสเวลท์ และวิลเลียม แกลดสโตน
แอนดูรว์ คารเนกี ได้เขียนหนังสือหลายเล่มและบทความจำนวนมาก บทความ ค.ศ 1889 ของเขา ” Wealth” ได้ระบุมุมมองของเขาว่าบุคคที่มั่งคั่งจะต้องรับผิดชอบทางสังคม และใช้ทรัพย์สินของเขาช่วยเหลือบุคลอื่น บทความได้ถูกพิมพ์ภายในนอร์ธ อเมริกัน รีวิว ต่อมาได้ถูกพิมพ์เป็น The Gospel of Wealth ภายในพอลล์ มอลล์ กาเซ็ตต์
แอนดูรว์ คารเนกี้ ได้เสนอแนะว่่าวิถีทางที่ดีที่สุดของการจัดการกับปรากฏการณ์ใหม่ของความไม่เสมอภาคทางความร่ำรวยแก่บคคลที่ร่ำรวยที่จะใช้ความมั่งคั่งส่วนเกินของพวกเขาภายในวิถีทางที่รับผิดชอบและรอบคอบ วิถีทางนี้จะตรงกันข้ามกับมรดกสมัยเดิมที่ความมั่งคั่งจะถูกส่งลงมาที่ทายาท แอนดูรว์ คาร์เนกี้ ยืนยันว่าความมั่งคั่งส่วนเกินจะถูกใช้อย่างดีที่สุด – เช่น สร้างประโยชน์ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อสังคม เมื่อมันได้ถูกบริหารอย่างรอบคอบโดยบุคคลที่ร่ำรวย แอนดูรว์ิ คารเนกี้ได้ยืนยันต่อต้านกับการใช้ที่สิ้นเปลืองของเงินทุนภายในรูปแบบของความฟุ่มเฟือย การใช้จ่ายอย่างไม่รับผิดชอบ หรือการตามใจตัวเอง บุคคลที่ร่ำรวยควรจะบริหารความร่ำรวยของพวกเขาอย่างรับผิดชอบ และไม่ได้อยู่ภายในวิถีทางที่ส่งเสริมความเกียจคร้าน ความมีนเมา และไม่มีคุณค่า
แอนดูรว์ คารเนกี้ได้กล่าวถึงวิถีทางสามอย่างของการจัดการความมั่งคั่งส่วนเกิน วิถีทางแรกคือ
การทิ้งมันไว้กับครอบครัว การทิ้งความมั่งคั่งให้กับทายาทภายหลังจากเสียชีวิต ส่วนใหญ่ลูกที่ได้มรดกความมั่งคั่งของครอบครัวจะทำให้มันสิ้นเปลือง
หรืือวิถีทางอย่างที่สองคือการยกมรดกความมั่งคั่งแก่สาธารณะประโยชน์ภายหลังจากเสียชีวิต และวิิถีทางอย่างที่สามคือ บุคคลที่ร่ำรวยควรจะให้ความมั่งคั่งของพวกเขาเพื่อสิ่งที่ดีต่อสารธารณะในขณะที่ยังคงมีชีวิตอยู่ แอนดูรว์ คาร์เนกี้เชื่อว่าบุคคลที่คล้ายกับสติปัญญาและความมั่งคั่งของเขาสามารถให้เงินที่เหลือ
ที่จะใช้ได้ดีกว่าเพื่อสังคม เขาไม่สนใจที่ต่อการให้้งินฟรีแก่ความต้องการ
เพราะว่าเงินจะถูกใช้อย่างไม่มีคุณค่าและใช้อย่างไม่ช่วยเหลือ และมันจะเป็นประโยชน์
ต่อบุคคลที่ใช้เงินเท่านั้น บุคคลที่ทำงานหนักเพื่อเงินของพวกเขาสมควรจะมีอำนาจจัดสรรความมั่งคั่ง ความมั่งคั่งควรจะไปสู่สาธารณะประโยชน์ที่จะกระตุ้นและสามารถทำให้บุคคลที่ยากจนปรับปรุงสถานการณ์ของพวกเขาได้
ตลอดชีวิตของเขา แอนดูร์ คารเนกี้ืสังเกตุว่าบุคคลที่มีอำนาจสูงและเงินมากเสียชีวิตไป ต่อจากนั้นเงินของพวกเขาจะอยู่ภายในมือของบุคคลที่มีความสามารถจำกัด เขาได้คิดค้นความคิดว่า บุคคลที่ร่ำรวยควรจะให้ความมั่งคั่งของพวกเขาเพื่อสิ่งที่ดีต่อสาธารณะในขณะที่ยังคงมีชีวิตอยู่ แอนดูรว์ คาร์เนกี้จะไม่สนใจไยดีกับวิธีการแรก การทิ้งความมั่งคั่งแก่บุคคลของสมาชิกครอบครัว
วิธีการอย่างที่สองของแอนดูรว์ คาร์เนกี้คือบุคคลที่ร่ำรวยจะทิ้งความมั่งคั่งส่วนเกิน
ต่อการใช้ประโยชน์ทางสาธารณะจากการเสียชีวิตของเขา แม้ว่ามรดกจะมีประโยชน์บางอย่างต่อสังคม คาร์เนกี้ชี้ว่าเพื่อที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
การบริจาคจะต้องใช้ความสามาถไม่น้อยกว่าการหามาได้ของความมั่งคั่ง
วิธีการที่สามจะเป็นสภาวะอุดมคติ บุคคลที่ร่ำรวยควรจะกระจายความมั่งคั่งส่วนเกินของพวกเขาเพื่อประโยชนสาธารณะรหว่างช่วงชีวิตของพวกเขา เขาไม่แนะนำให้กระจายจำนวนน้อย การนำไปสู่ความไม่มีประสิทธิภาพและความสูญเสีย แต่ได้เสนอแนะการสนับสนุนโครงการใหญเหมือนเช่นสถาบันวิจัยหรือห้องสมุด มันจะมีศักยภาพที่มีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่
ตามมุมมองของแอนดูรว์ คาร์เนกี้ หน้าที่ทางศีลธรรมของบุคคลที่ร่ำรวยควรจะอยู่อย่างถ่อมตัว การจัดหาพอสมควรแก่ผู้อาศัย และบริหารความมั่งคั่งส่วนเกินที่ให้ประโยชน์มากที่สุดต่อชุมชน
The Gospel of Wealth ได้ถูกพิจารณาเป็นเอกสารรากฐานภายในสาขาวิชาการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย คารเนกี้จะเชื่อมั่น
ต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเขาจะมีคำพูดอ้างอิงที่มีชื่อเสียงว่า ” บุคคลที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี ถ้อยคำของคารเนกี้ ได้บันดาลใจผู้นำและนักช่วยเพื่อนมนุษยไปทั่งโลก
ความรับผิิดชอบทางสังคมของบริษัท : ซีเอสอาร์ จะถูกอ้างว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนของบริษัท การมีส่วนร่วมทางชุมชนของบริษัท หรือการเป็นพลเมืองของบริษัท อาร์ชี แคร์รอลล์ ได้เสนอแนะว่าซีเอสอาร์สามารถถูกระบุโดยความรับผิดชอบของธุรกิจสี่อย่าง และสามารถสร่างเป็นโมเดลพีรามิดได้
อาร์ชี แคร์รอลล์ ได้อธิบายว่าความรับผิดชอบของธุรกิจสี่อย่างไม่ใช่ไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้ แต่ควรจะถูกตอบสนองพร้อมกันไป เราจะมีความแตกต่างภายในระดับความสำคัญระหว่างความรับผิดของธุรกิจสี่อย่าง แต่กระนั้นความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจอยู่ล่างสุดของพีรามิด การตอบสนองมันจะเป็นหน้าที่ทางธุรกิจพื้นฐานมากที่สุด ถ้าปราศจากความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ ธุรกิจไม่สามารถตอบสนองความรัยผิดชอบอื่นที่สูงขึ้นของพีรามิดได้
ซีเอสอาร์ จะเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ แต่กระนั้นเราจะมีความคาดหวังโดยปริยายว่าธุรกิจจะมีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดอเมริกันได้ถูกสร้างบนพื้นฐานของโมเดลเศรษฐกิจ ความเชื่อว่าสังคมควรจะควบคุมตลาด ประชาชนจะกำหนดความต้องการของพวกเขา และธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้จะบรรลุความสำเร็จ แต่ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจจะกระทำอย่างมีจริยธรรม
ดังนั้นโมเดลเศรษฐกิจนี้ได้ถูกปรับปรุงด้วยข้อผูกพันทางการช่วยเพื่อนมนุษย์และชุมชน เราจะมีหลักฐานอยู่เสมอตลอดประวัติศาสตร์อเมริกัน ก่อนการปรากฏขึ้นของแนวคิดซีเอสอาร์ ของนักธุรกิจบริจาคแก่การกุศล เมื่อปลาย ค.ศ 1800 และต้น ค.ศ 1900 บริษัทกำลังงอกเงย และผู้มั่งคั่งเหมือนเช่นจอห์น รอคกี้เฟลเลอร์
และแอนดรูว์ คาร์เนกี้ กำลังสะสมความมั่งคั่งอย่างใหญ่หลวง ในขณะเดียวกันการประท้วงของประชาชนมากขึ้นต่อต้านธุรกิจ ไม่เพียงแต่เพราะว่าความสำเร็จ
ของนักธุรกิจเหลานี้เท่านั้น แต่เป็นการปฏิบัติทางธุรกิจที่น่าสงสัยด้วย
แนวคิดความรับผิดชอบของบริษัทต่อสภาพแวดล้อมทางสังคมไม่ใช่เรื่องใหม่
บริษัทได้คิดถึงเกี่ยวกับแนวคิดนี้อย่างน้อยที่สุดเป็นศตวรรษ นับตั้งแต่ ค.ศ 1890
ข้อเท็จจริงวุฒิสภาอเมริกันได้ออกกฏหมายห้ามการผูกขาดเชอร์แมน กฏหมายได้มุ่งหมายที่จะช่วยสังคมโดยการทำให้บริษัทสามารถแข่งขันได้มากขึ้น และด้วยเหตุนี้การผูกขาดไม่สามารถที่จะควบคุมตลาดได้
โฮวารด โบเว็น นักเศรษฐศาสตรอเมริกัน มักจะถูกอ้างว่าเป็น “บิดาของซี
เอสอาร์ ” เขาได้สร้างถ้อยคำ ความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท : ซีเอสอาร์ อย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ 1954 เขาได้เชื่อมโยงความรับผิดชอบของบริษัทกับสังคม และได้พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งเมื่อ ค.ศ 1953 สนับสนุนจริยธรรมทางธุรกิจและการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียทางสังคมชื่อ Social Responsibilities of the Businessman
ภายใต้การถูกวิจารณ์และการเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอน ผู้นำธุรกิจหลายคนเหมือนเช่น แอนดูรว์ คาร์เนกี้ จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ และเฮนรี่ ฟอร์ด ได้เริ่มต้นใช้พลังของพวกเขาเพื่อความสมัคใจเวลาและเงินของพวกเขาต่อสาเหตุทางสังคม พวกเขาได้กลายเป็นนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ยิ่งใหญต่อมา พวกเขาได้ใช้ความมั่งคั่งส่วนใหญของพวกเขา
แก่การกุศลและมูลนิธิ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการเริ่มต้นของการริเริ่มกระทำความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท
เมื่อ ค.ศ 1890 นักวิชาชีพประชาสัมพันธ์ ได้เริ่มต้นแนะนำบุคคลที่มั่งคั่งใช้การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทำให้ประชาชนสงบลงอย่างไร นักอุตสาหกรรมยุคทองหลายคน เช่น จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ และแอนดูรว์ คาร์เนกี้ ได้บริจาคเงินสนับสนุนสถาบันทางวัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ บุคคลเหล่านี้ไม่ได้ถูกจูงใจเพียงแต่การประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่ด้วยหลักการทางศีลธรรมของตัวพวกเขาเองด้วย เช่น ความเชื่อทางคริสต์ศาสนาของจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ ได้สอนเขาว่าการปฏิบัติทางธุรกิจผูกขาดของเขาจะอยู่บนแนวเดียวกับพฤติกรรมที่เลื่อมใสศาสนา ดังนั้นเขาได้ผูกพันที่จะมีส่วนช่วยต่อวัดของเขาและต่อสาเหตุทางสังคม
แนวคิดของความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัทจะมีรากเหง้าภายในข้อเขียนของแอนดูรว์ คาร์เนกีื่ และบุคคลอื่น แอนดูรว์ คาร์เนกี้ ผู้ก่อตั้งคาร์เนกี้ สตีลได้ถ่ายทอดหลักการสองข้อที่เขาเชื่อว่าจำเป็นต่อทุนนิยม
ปรัชญาทางธุรกิจของคารเนกี้จะอยู่บนพื้นฐานของหลักกการสองข้อนี้ : หลักการกุศล บุคคลที่ร่ำรวยควรจะช่วยเหลือบุคคลที่ยากจน รวมทั้งบุคคลว่างงาน พิการ เจ็บป่วย และสูงอายุ
และหลักการเป็นผู้ดูแล บุคคลที่ร่ำรวยจะถือเงินของพวกเขาภายในทรัสต์ เพื่อส่วนอื่นของสังคม การใช้มันเพื่อความมุ่งหมายของสังคมอะไรก็ตามที่เชื่อว่าเหมาะสม หลักการข้อนี้จะได้มาจากไบเบิ้ล ต้องการให้ธุรกิจและบุคคลร่ำรวยมองตัวพวกเขาเองเหมือนผู้ดูแลทรัพย์สินของพวกขา
ทั้งสองหลักการจะเป็นการปกครองแบบพ่อลูก
การมองเจ้าของธุรกิจภายในบทบาทคล้ายบิดามารดาต่อบุคคลคล้ายลูก
แอนดูรส์ คาร์เนกี้ ได้พิมพ์หนังสือเรียกว่า The Gospel of Wealth ที่ได้เริ่มต้นคำแถลงคลาสสิคของความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัทบนพื้นฐานของหลักการสองข้อเหล่านี้
รุ่นสมัยใหม่มากขึ้นของหลักการสองข้อเหล่านี้จะถูกเรียกว่าหลักการของความรับผิดชอบทางสังคม มุมมองที่ธุรกิจมีข้อผูกพันที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของสังคม ความคิดที่ธุรกิจจะต้องมองตัวพวกเขาเองเป็นพลเมืองคนหนึ่งภายในชุมชน และทำสิ่งที่สามารถทำให้ชุมชนเป็นสถานที่ที่ดีขึ้น
เมื่อ ค.ศ 1901 ความมั่งคั่งสูงสุดส่วนบุคคลของแอนดูรว์ คาร์เนกี้จะประมาณ 380 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 309 พันล้านเหรียญตามมาตรฐานปัจจุบันนี้
ต่อจากนั้นเขาได้ทุ่มเทตัวเขาเองแก่การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
แอนดูรว์ คาร์เนกี มีอายุ 66 ปี เมื่อเขาได้ขายบริษัทของเขา
เขาได้กลายเป็นผู้ใจบุญแนวหน้าคนหนึ่งภายในอเมริกาและอังกฤษ ภายในข้อเขียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขา The Gospel of Wealth แอนดูรว์ คาร์เนกี้ ได้กล่าวว่า บุคคลที่ตายด้วยความร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี และเขาได้ใช้ส่วนที่เหลืออยู่ของชีวิตต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ตั่งแต่ ค.ศ 1901 จนกระทั่งการเสียชีวิตของเขาเมื่อ ค.ศ 1919
แอนดูรว์ คาร์เนกี ได้จัดสรรเงิน 350 ล้านเหรียญแก่โรงเรียน ห้องสมุด มหาวิทยาลัย และงานสาธารณะ ภายในโลกที่พูดภาษาอังกฤษ เขาเชื่อว่าวิถีทางดีที่สุดที่จะใช้สิ่งที่เขาเรียกว่า
ความมั่งคั่งที่ล้นเหลือเพื่อสันติภาพโลก ศิลปะ และการศึกษา
เขาได้ให้เงิน 350 ล้านเหียญ – ประมาณ 65 พันล้านเหรียญ ค.ศ 2019 แก่การกุศล มูลนิธิ และมหาวิทยาลัย เกือบ 90% ของมั่งคั่งของเขา บทความ 1889 “The Gospel of Wealth ” ได้เรียกร้องบุคคลที่ร่ำรวยที่จะใช้ความมั่งคั่งของพวกเขาปรับปรุงสังคม และกระตุ้นกระแสของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ บุคคลที่ร่ำรวยควรจะมีข้อผูกพันทางศีลธรรมที่จะจัดสรรเงินของพวกเขาภายในวิถีทางที่ส่งเสริมสวัสดิการและความสุขของสามัญชน ภายใต้กิจกรรมทางเพื่อนมนุษย์ของเขา คาร์เนกี้ ได้ให้เงินเพื่อการสร้างห้องสมุดสาธารณะมากกว่า 2,500 แห่งทั่วโลก บริจาคออร์แกนมากกว่า 7,600 เครื่องแก่โบสถ์ทั่วโลก
Cr : รศ สมยศ นาวีการ