jos55 instaslot88 Pusat Togel Online การมีส่วนร่วมของซาอุดีอาระเบียกับประเทศมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (จบ) - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

การมีส่วนร่วมของซาอุดีอาระเบียกับประเทศมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (จบ)

การมีส่วนร่วมของซาอุดีอาระเบียกับประเทศมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (จบ)

จรัญ มะลูลีม

นอกจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไนแล้ว ชนกลุ่มน้อยมุสลิมจำนวนมากอาศัยอยู่ในประเทศไทย  โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดทางใต้สุดของประเทศไทย – พื้นที่นี้มักเรียกกันว่าปัตตานี  อันเป็นดินแดนที่มิได้มีความแปลกหน้าสำหรับความขัดแย้งแต่อย่างใด  โดยพื้นที่เดียวกันนี้ต้องประสบกับความไร้เสถียรภาพที่รุนแรงมาหลายครั้งในศตวรรษที่ 20

โดยแท้จริงแล้ว การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ  นโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อความขัดแย้งในบางยุคสมัยทำให้เกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์ทวิภาคีกับมาเลเซียและอินโดนีเซียหลายครั้ง

องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ได้แสดงข้อกังวลเกี่ยวกับการจัดการความรุนแรงในภาคใต้ของประเทศไทยอยู่เนืองๆ ต่อมาคณะผู้แทน OIC ได้แสดงความยินดีกับขั้นตอนของรัฐบาลไทยร่วมกับมาเลเซียในการเจรจาอย่างสร้างสรรค์กับกลุ่มมุสลิมในภาคใต้ เพื่อพัฒนาโรดแมปเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ผ่านการเจรจา (OIC, 2018)

ปัจจุบัน มาเลเซียมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้เห็นต่างในมาเลย์   นอกจากนี้ภาคประชาสังคมในภาคใต้ยังมองหาการสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบียและ OIC ต่อมาเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่าซาอุดีอาระเบียเลือกที่จะปรับความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยให้เป็นปกติ

 

ความเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ให้เครดิตแก่เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน (MBS) มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย ซึ่งกลายเป็นผู้นำของประเทศในปี 2015 เที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งเป็นครั้งแรก ในรอบ 32 ปี ซาอุดีอาระเบียยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่ไทย ขณะที่ไทยยกเลิกข้อกำหนดวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีอาระเบีย

รัฐบาลทั้งสองประเทศยังตกลงที่จะร่วมมือกันจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับหกประเทศสมาชิกของสภาความร่วมมือแห่งอ่าว (GCC) ที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย

เป็นที่คาดหมายกันโดยั่วไปได้ว่าหลังจากการทำให้ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างซาอุดีอาระเบียและไทย เป็นปกติแล้ว OIC และรัฐบาลซาอุดีอาระเบียจะสามารถมีส่วนร่วมมากขึ้นในการเจรจาสันติภาพในความขัดแย้งทางภาคใต้ของประเทศไทย

ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของซาอุดีอาระเบียและจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่พึ่งพาเศรษฐกิจจีน  ด้วยเหตุนี้จีนจึงมีความสำคัญทางรัฐศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง  จีนได้กลายเป็นคู่ค้าอันดับต้น ๆ และเป็นแหล่งการลงทุนโดยตรงในมาเลเซียที่มาจากต่างประเทศ  การมีส่วนร่วมของซาอุดีอาระเบียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียมีโอกาสที่จะลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจที่ฝังลึกกับจีนได้ในระดับหนึ่ง

จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย โดยการค้าทวิภาคีมีมูลค่าทะลุ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี จีนเป็นตลาดหลักสำหรับสินค้าของอินโดนีเซีย เช่น น้ำมันปาล์ม ถ่านหิน เหล็กกล้า รังนก กาแฟ และผลไม้เมืองร้อน

นอกจากนี้ ตามรายงานของรอยเตอร์ (2022) ในเดือนพฤศจิกายน พบว่าบริษัทอินโดนีเซีย 9 แห่งได้ลงนามในสัญญาขายผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม 2.5 ล้านตัน มูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐให้กับผู้ซื้อชาวจีน 13 ราย การมีส่วนร่วมของจีนเชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วมของซาอุดีอาระเบียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาจกล่าวได้ว่าจีนมีความสนใจอย่างลึกซึ้งในภูมิภาคอาเซียน จีนแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำอาเซียนคนแรกและจัดตั้งคณะผู้แทนที่สำนักเลขาธิการอาเซียนในกรุงจาการ์ตาเมื่อเดือนกันยายน ปี 2012

อาเซียนและจีนยังคงส่งเสริมการเจรจาและความร่วมมือด้านความมั่นคงทางการเมืองผ่านกลไกต่างๆ ของอาเซียนบวกหนึ่ง นอกจากนี้ การลงทุนของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ตามรายงานที่เผยแพร่เมื่อปีที่แล้วโดยบริษัทวิจัย Asia House ของอังกฤษ พบว่าจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของซาอุดีอาระเบีย โดยมีมูลค่าทางธุรกรรมรวม 72.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 และเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รองจากอินเดีย 50.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ในอนาคต มีการคาดการณ์กันว่าจีนและซาอุดีอาระเบียจะสามารถยกระดับความสัมพันธ์พหุภาคีในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างเห็นเป็นรูปธรรม

ปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชาวมุสลิมมากกว่า 240 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 42 ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประมาณร้อยละ 25 ของชาวมุสลิม 1.6 พันล้านคนทั่วโลก ชาวมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นผู้ถือสำนักคิดซุนนี และปฏิบัติตามสำนักคิดชาฟิอี ซึ่งเป็นหลักนิติศาสตร์มุสลิมที่ได้รับความนิยมอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อิสลามเป็นศาสนาทางการของมาเลเซียและบรูไน และเป็นศาสนาที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากอินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ควรจะกล่าวด้วยว่าชาวมุสลิมมองว่าตนเองเป็นสมาชิกของชุมชนโลก (อุมมะฮฺ) ซึ่งถูกมองว่าอยู่เหนือชาติ ชาติพันธุ์ ชนชั้น เพศ และอัตลักษณ์อื่นๆ

ความผูกพันกับอิสลามข้ามชาตินี้ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินมากขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากการฟื้นฟูอิสลามที่ขับเคลื่อนชุมชนทั่วโลกมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 นอกจากนี้ยังมีการฟื้นตัวขึ้นจากความกังวลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของชาวมุสลิมและศาสนาอิสลามทั่วโลก

อาจกล่าวได้ว่าผู้นำซาอุดีอาระเบียในปัจจุบันมีแนวทางปฏิบัติมากกว่าในการกำหนดลำดับความสำคัญของตนเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบียยังเน้นย้ำจากเศรษฐกิจฐานการตลาดไปสู่การพัฒนาเชิงเทคโนโลยีและภาคบริการ การจัดลำดับความสำคัญนี้จะช่วยรับประกันว่าราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียจะยังคงมีอิทธิพลต่อโลกมุสลิม รวมทั้งสร้างดุลอำนาจกับมหาอำนาจอื่นๆ ได้ในเวลาเดียวกัน

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *