jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ตะวันตกใช้ไต้หวันเป็นเครื่องมือในการกดดันจีน - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ตะวันตกใช้ไต้หวันเป็นเครื่องมือในการกดดันจีน

คอลัมน์ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ

ทหารประชาธิปไตย

ตะวันตกใช้ไต้หวันเป็นเครื่องมือในการกดดันจีน

ท่าทีของชาวโลกที่เริ่มมองเห็นปัญหาของไต้หวันว่าเป็นต้นเหตุแห่งการแพร่พิษในภูมิภาคเอเชีย และจะขยายตัวไปสู่ผลกระทบทั่วโลก โดยเฉพาะอาจกลายเป็นชนวนสงครามใหญ่

ดังจะเห็นได้ว่าในระเบียบวาระการเมืองโลก พบว่ามีจำนวนประเทศที่ยังคงรับรองไต้หวันเป็นรัฐอิสระมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี

จากการที่จีนได้ผ่านพ้นการพิสูจน์ต่อสายตาชาวโลกในนโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” กับฮ่องกงและมาเก๊า ตามแนวคิดของอดีตผู้นำจีนนาย เติ้ง เสี่ยวผิง ถึงแม้ว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านในการที่จีนได้เข้าปกครองฮ่องกง มาเก๊า ภายหลังสัญญาเช่าระหว่างอังกฤษ และปอร์ตุเกสกับจีนหมดอายุ จีนก็มีปัญหาในการลุกขึ้นต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เพราะความเคยชินที่ตกทอดมาเป็นศตวรรษ

แต่จีนก็ได้พยายามแก้ปัญหา เพื่อจัดระเบียบ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงให้มากที่สุด

มาบัดนี้เหตุการณ์เข้าสู่สภาพปกติ อันทำให้ชาวโลกเริ่มเห็นว่ามันเป็นแนวทางแก้ปัญหาวิกฤตกาลที่มีผลมาจากสงครามเย็น และความขัดแย้งนี้จะถูกขจัดปัดเป่าไปในที่สุด

ที่สำคัญในกรณีไต้หวัน พรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นต้นเหตุในการแบ่งแยกไต้หวันออกจากจีน เมื่อครั้งที่จอมพลเจียงไคเชครบแพ้ เหมา เจ๋อตุง แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เข้าปกครองแผ่นดินใหญ่ ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน พรรคนี้กลับมีนโยบายที่จะนำไต้หวันกลับไปรวมกับแผ่นดินใหญ่ แม้จะเป็นรุ่นลูกรุ่นหลานก็ตาม

แต่พรรคพื้นเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยประชาชนที่ถือกำเนิดเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในไต้หวันมาก่อนการแบ่งแยก และสืบเผ่าพันธุ์กันต่อมาจำนวนมากไม่ยอม

ทว่าโดยสภาพภูมิศาสตร์ไต้หวันก็ต้องนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินจีน โดยสืบค้นได้ตามประวัติศาสตร์

หากยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศ สหรัฐฯเองก็ยอมรับการปกครอง 1 ประเทศ 2 ระบบของจีน หลังจากได้เปิดสัมพันธ์กับจีนในช่วงประธานาธิบดีนิกสัน

อย่างไรก็ตาม โดยการใช้นโยบายของสหรัฐฯและตะวันตกในการให้การสนับสนุนไต้หวัน ทั้งทางการทูตและการทหาร ทำให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาค และด้วยอิทธิพลและความเชื่อมโยงเป็นพันธมิตรกับ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ก็ถูกดึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวกันกับความตึงเครียดในกรณีไต้หวัน

ไม่เพียง 2 ประเทศดังกล่าว ประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีกรณีพิพาทในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับจีน ในทะเลจีนใต้ก็ถูกพ่วงเข้าไปรวมกับปัญหาไต้หวันในรูปยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิคของสหรัฐฯ

ทว่าการเชื่อมโยงยังไม่หยุดแค่นั้น เพราะยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิคได้ถูกขยายตัวไปครอบคลุมมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอินเดียที่ถูกดึงเข้าร่วมเป็นสมาชิก Quad (จตุรมิตร) เพื่อทำการปิดล้อมจีน

แม้ออสเตรเลียที่อยู่ด้านใต้ก็ถูกผนวกเข้าในสนธิสัญญา AUKUS ที่มีแผนการผลิตและโครงการร่วมมือสร้างเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์เพื่อร่วมกันใช้เป็นกองกำลังปิดล้อมจีน ทั้งนี้การเข้าร่วมในโครงการ AUKUS ของออสเตรเลีย ก็ทำให้ออสเตรเลียดึงเอานิวซีแลนด์ ที่มีสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันกับนิวซีแลนด์ คือ Anzus ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ ซึ่งเรียกว่าสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกันเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ดังนั้นนโยบายสนับสนุนไต้หวัน ด้วยการจัดส่งอาวุธให้เต็มอัตราศึก ตลอดจนการสนับสนุนทางการเมือง เช่น การเดินทางไปเยือนไต้หวันของนางเปโลซี ประธานสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ในขณะนั้น หรือการนัดพบกันระหว่างประธานาธิบดีไต้หวัน นางไฉ่ อิงเหวิน กับประธานสภาครองเกรสคนใหม่ของสหรัฐฯ นายเควิน แมคคาธีที่นครลอสแองเจลริส ก็เป็นสัญญาณของการแทรกแซงกิจการภายใน ตามมุมมองของจีน จนทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐฯ และตะวันตกมากขึ้น

อนึ่งผลจากนโยบายกดดันของตะวันตก ตลอดรวมไปถึงการเปิดสงครามทางการค้า เช่น การแซงก์ชั่นจีน ทำให้เกิดการเผชิญหน้าที่ไม่ค่อยเป็นมิตรกันทั้ง 2 ฝ่าย

นำไปสู่การซ้อมรบหลายครั้งของสหรัฐฯพันธมิตร และฝ่ายจีนในเวลาใกล้เคียงกัน จนเกือบเกิดการปะทะกัน เพราะมีการท้าทายกันทั้งทางทะเล และเครื่องบินรบ

นี่ไม่ใช่วิกฤติครั้งแรก แต่มันเคยเกิดมาแล้วในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 แต่ครั้งนี้ดูจะขยายตัวใหญ่ขึ้น และมีประเทศเข้าเกี่ยวข้องหลายประเทศ รวมทั้งเกาหลีเหนือที่ท้าทายการซ้อมรบของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ในทะเลเกาหลีและคาบสมุทรเกาหลี ด้วยการที่เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธไปตกไม่ห่างจากพื้นที่การซ้อมรบที่สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ กำลังฝึกร่วมแบบเสมือนจริง

นอกจากนี้ก็ได้มีการทำสงครามข้อมูลข่าวสาร IO ว่าทางการจีนจะเข้ามายึดไต้หวัน และจะปฏิบัติการเช่นเดียวกับในฮ่องกงจนเกิดการปฏิวัติร่มในฮ่องกง ตามมาด้วยการใช้กำลังปราบปราม

ด้วยสงครามจิตวิทยาที่สร้างกระแสการใช้กำลังบุกของจีน จนเกิดกระแสต้านในบางส่วน คือ การแสดงออกของชาวไต้หวันส่วนหนึ่งที่ต้องการจะเป็นอิสระจากจีน

ในขณะเดียวกันจีนก็ตอบโต้สหรัฐฯ และตะวันตกด้วยการสนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหวที่จะนำไต้หวันไปรวมจีน โดยสันติวิธี โดยการชี้นำของพรรคก๊กมินตั๋ง เช่น การเดินทางไปเยือนจีนในวันเชงเม้ง (วันเคารพบรรพบุรุษ) ของอดีตประธานาธิบดีไต้หวันจากพรรคก๊กมินตั๋ง นายหม่า อิงจิ่ว

อย่างไรก็ตาม นักการเมืองสหรัฐฯจำนวนมากได้ถูกครอบงำด้วยความคิดที่เป็นปรปักษ์กับจีน ไม่ว่าจะด้วยความขัดแย้งด้านการค้า การแข่งขันของจีนด้านเศรษฐกิจที่จีนนำอยู่จนเกือบแซงสหรัฐฯ ตามมาด้วยการสะสมกำลังทางทหารของจีนที่ท้าทายการคุกคามของสหรัฐฯ

ดังนั้นการออกเอกสาร หรือแถลงการณ์ต่างๆของฝ่ายการเมืองสหรัฐฯ จึงสร้างกระแสต่อการไม่เป็นมิตรของประชาชนอเมริกันที่มีต่อจีน ดังเช่นปฏิกริยาก่อความรุนแรง ด้วยการไล่ทำร้ายคนที่มีลักษณะคล้ายคนจีนในแผ่นดินสหรัฐฯ

ทั้งนี้นอกจากแถลงการณ์หรือการออกเอกสารของสหรัฐฯ นอกจากจะมาจากฝ่ายการเมืองแล้ว เอกสารของเพนตากอนก็ยังชี้ทิศทางไปในการเตรียมความพร้อมที่จะทำสงครามกับจีน ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ โดยที่ก็ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ โดยเฉพาะความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นที่ไต้หวัน เช่น การสรุปว่าจีนมีแผนที่จะบุกไต้หวันในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ทำให้เกิดความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น

ฝ่ายจีนก็มีข่าวว่าจะตอบโต้การที่สหรัฐฯ ส่งอาวุธให้ไต้หวันด้วย แผนการจะจัดส่งยุทโธปกรณ์ให้รัสเซีย ซึ่งถือเป็นเส้นแดงที่สหรัฐฯ และตะวันตกขีดเส้นไว้ เพื่อปิดล้อมรัสเซีย

แต่เบื้องหลังนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีนก็คือผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ ที่ต้องการสร้างความตึงเครียดในภูมิภาค และขายอาวุธได้เพิ่มขึ้นไม่ใช่เพียงขายให้ไต้หวัน ทำให้งบประมาณทางทหารเพิ่มขึ้นอย่างมากในยุคไบเดน จนทำให้อุตสาหกรรมผลิตอาวุธเฟื่องฟู แต่ประชาชนชาวอเมริกันต้องจ่ายภาษีใช้หนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นทุกทีจากการยกเพดานหนี้

ด้วยสถานการณ์เยี่ยงนี้ทำให้จีนและรัสเซียต้องยิ่งกระชับความสัมพันธ์ทางการเมือง การทหารและเศรษฐกิจยิ่งขึ้น

อีกไม่นานสหรัฐฯ และพันธมิตรก็จะพบกับความเป็นจริงว่า ตนเองไม่อาจดำรงไว้ซึ่งสถานะความเป็นผู้นำเดี่ยว ด้วยดอลลาร์และการทหาร เพราะโลกจะแตกเป็นหลายขั้ว เงินหลายสกุล และการท้าทายทางการทหาร โดยเฉพาะอาวุธนิวเคลียร์ที่โดยรวมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากจีน และไต้หวันก็จะเป็นของจีนในที่สุด แต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะพลอยพังพินาศเพราะความขัดแย้งที่ไม่ใช่ปัญหาของตนโดยตรงเลย

อย่างไรก็ตามการที่รมต.ต่างประเทศสหรัฐฯ นายแอนโทนี บริงเกน ได้เดินทางไปเยือนจีนเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ทำให้ดูประหนึ่งว่าสถานะการณ์จะคลี่คลาย ทว่าเมื่อฟังจากแถลงการของทั้งสองฝ่ายต่างก็พูดกันคนละเรื่อง โดยจีนเน้นความสัมพันธ์ทางการค้า และการเคารพอธิปไตยของกันและกัน แต่สหรัฐฯเน้นระเบียบโลก(ที่สหรัฐฯเป็นผู้กำหนด) และการเปิดกว้างในทะเลจีนใต้แบบfree and open

สุดท้ายการพูดคุยพบปะกันคงยากหาข้อยุติ แต่ที่สหรัฐฯอุตสาห์บากหน้ามาก็คงคาดหวังให้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ไปร่วมประชุมเอเปคที่สหรัฐฯปลายปีนี้ อันจะเป็นการเรียกคะแนนเสียงให้กับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในแนวที่ว่าท่านสามารถจัดการเรื่องจีนได้

สุดท้ายท่านไบเดนกลับทำพัง เพราะไปเรียกท่านสีว่าผู้นำเผด็จการในการปราศัยหาเสียง ทำเอาทีมงานเงิบไปเลย

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *