jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ยุโรปกับแนวคิดในการเป็นอิสระจากการครอบงำของสหรัฐฯ - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ยุโรปกับแนวคิดในการเป็นอิสระจากการครอบงำของสหรัฐฯ

คอลัมน์ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ

ทหารประชาธิปไตย

ยุโรปกับแนวคิดในการเป็นอิสระจากการครอบงำของสหรัฐฯ

แนวคิดนี้มิใช่เรื่องใหม่สำหรับยุโรป โดยเฉพาะความมุ่งมั่นของผู้นำอย่างชาร์ล เดอโกล ของฝรั่งเศสภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และแนวคิดของท่านก็ส่งผ่านมายังกลุ่มอนุรักษนิยมที่เรียกกันว่า “โกลลิส”

ทั้งนี้เพราะนายพลเดอโกล ได้เรียนรู้จากประสบการณ์อันเจ็บปวดที่สหรัฐฯ ได้ประวิงเวลาที่จะเข้ามาช่วยฝรั่งเศสต่อต้านการรุกรานของเยอรมัน จนกระทั่งฝรั่งเศสแหลกยับ ปารีสถูกบุก

หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็ถูกครอบงำโดยแผนการมาแชลของสหรัฐฯ ภายใต้งบประมาณของ IBRD หรือธนาคารโลกในปัจจุบัน

จากความคิดริเริ่มของชาร์ล เดอโกล ได้นำไปสู่การรวมตัวกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มจากสหภาพถ่านหินและเหล็กของยุโรปพัฒนาไปสู่สหภาพภาษีอากรแห่งยุโรป นำไปสู่ตลาดร่วม (Common Market)และ สหภาพยุโรป (EU)ในที่สุด

การรวมตัวในยุคเริ่มแรกทำให้ยุโรปมีการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน จึงเกิดพลังในการทำนวตกรรมในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งมีแนวหน้าคือ เยอรมนี อันมีบริษัทชั้นนำอย่าง Mercedes Benz ,BMW และ Volkswagen

นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวและแบ่งงานกันทำในอุตสาหกรรมการบิน ทั้งการสร้างเครื่องบิน Air Bus หรือการบุกเบิกทางอวกาศร่วมกัน

อนึ่งต้องกล่าวถึงผู้นำอีกสองท่านที่ทำให้ยุโรปเจริญเข้มแข็งขึ้นก็คือนายเฮลมุต โคห์และ นางอังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี ทั้งนี้พื้นฐานสำคัญ คือ การรวมตัวกันระหว่างเยอมนีตะวันตกและตะวันออก ที่ก่อให้เกิดฐานรองรับในการพัฒนาที่เข้มแข็งของเยอรมนี จนทำให้เป็นแรงโน้มนำไปสู่พลังของ EU

แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้นำที่เข้มแข็งที่จะนำยุโรปให้มีความเป็นเอกภาพและปลอดจากการแทรกแซงของสหรัฐฯ และอังกฤษก็เริ่มขาดแคลน

ทว่ายุโรปเกิดมีความหวังเล็กๆขึ้นเมื่อครั้งที่อังกฤษถอนตัวจาก EU ด้วยประชามติ BREXIT แต่ความที่ขาดผู้นำยุโรปจึงตกอยู่ในการครอบงำของสหรัฐฯ มากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะในพันธสัญญาร่วมป้องกันแอตแลนติคเหนือ (NATO) และการครอบงำของดอลลาร์เหนือเงินEU

อย่างไรก็ตามก็ยังได้ยินเสียงร่ำร้องเป็นครั้งเป็นคราวเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในการสร้างความเข้มแข็งและเป็นอิสระจากสหรัฐฯ เช่น แนวคิดในการจัดตั้งกองกำลังของยุโรป แยกต่างหากจาก NATO

ผู้นำที่ฉายแววว่าจะลุกขึ้นมายืนหยัดในแนวทางความเป็นอิสระของยุโรปในยุคปัจจุบันก็คือ อิมานูเอล มาครง แม้ว่ายุทธศาสตร์การเป็นอิสระของยุโรปในตัวของมันเองจะค่อนข้างสับสน แต่ก็พอจะตีกรอบไว้ว่า ยุโรปจะมีนโยบายต่างประเทศและนโยบายความมั่นคงของตนเอง ซึ่งสามารถดำเนินโดยอิสระโดยปลอดจากอิทธิพลของสหรัฐฯและสหราชอาณาจักร

แต่หากเราพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันก็ยังมองไม่เห็นวี่แววของการเป็นตัวของตัวเอง สำหรับ EU ตัวอย่างเช่น การแสดงบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศของนางอัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานกรรมาธิการยุโรปที่ทำตัวเหมือนเป็นโฆษกของสหรัฐฯและไร้มารยาททางการทูตในการไปพบปะกับผู้นำจีน หรือการแสดงท่าทีต่อรัสเซีย

ในขณะที่นายมานูเอล มาครง นั้นมีความแตกต่างและเป็นตัวของตัวเองมากกว่าอย่างเป็นนัยสำคัญ แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าการดำเนินการของมาครงจะสำเร็จเป็นมรรคผลเป็นรูปธรรม

หากมองย้อนหลังไปยังอดีต เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2017 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศส ได้ไปกล่าวคำปราศรัยกับนักศึกษาที่สถาบันการศึกษาชั้นนำ คือ ซอร์บอน มาครง ได้ปรารภถึงความอ่อนแอ และความไร้ประสิทธิภาพของสหภาพยุโรป โดยเขามีแผนการปฏิรูป 5 ด้าน ด้วยกัน คือ ด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคง ด้านการจัดการเกี่ยวกับผู้อพยพเข้าเมือง ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน ด้านการปกป้องโลกอันเกิดจากการปรวนแปรของภูมิอากาศ และด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมาครงกำหนดว่าในปี 2024 จะกระชับการรวมตัวของยุโรปใน 5 แนวทาง โดยเริ่มจากฝรั่งเศสและเยอรมนี

บัดนี้เวลาล่วงเลยมากว่า 5 ปีครึ่งแล้วและปีนี้ก็ใกล้ครบกำหนดแล้ว ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้าเลย แม้แต่แผนการสร้างกองกำลังปกป้องยุโรปของตนเอง เพราะมันถูกบดบังด้วยกองกำลัง NATO ซึ่งส่วนใหญ่คือ ทหารอเมริกันนับหมื่นคนกระจายอยู่ตามประเทศต่างๆในยุโรป รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ที่ติดตั้งอยู่ในหลายประเทศ เช่น เบลเยียม เนเธอแลนด์ อิตาลี และเยอรมนี ยกเว้นฝรั่งเศสที่มีอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง

ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจยุโรปกลับถูกทำให้อ่อนแอ ด้วยนโยบายแซงก์ชั่น โดยเฉพาะด้านพลังงานราคาถูกจากรัสเซียทำให้เศรษฐกิจเยอรมันทรุดตัวลงจากผู้นำทางเศรษฐกิจ กลายมาเป็นอันดับหลังๆของยุโรป

เท่านั้นยังไม่พอนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมไฮเทค โดยเฉพาะรถยนต์ EV สหรัฐฯ ก็มีมาตรการอุดหนุนและลดหย่อนภาษี จนทำให้อุตสาหกรรมไฮเทคในยุโรป โยกย้ายไปอยู่ในสหรัฐฯจนนายกรัฐมนตรีเบลเยียม Alexander De Croo ออกมาเปรยว่า “สหรัฐฯเป็นหุ้นส่วนของเรา” เขาจึงหันมาบอกเราว่า “อย่าลงทุนในยุโรปเลยมาลงทุนที่สหรัฐฯดีกว่า”

ด้านปัญหาผู้อพยพเข้ายุโรป ยังไม่มีอะไรคืบหน้าตราบใดที่สงครามยูเครน-รัสเซีย ยังไม่ยุติ จำนวนผู้อพยพก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะรัสเซียโจมตีหนักขึ้นด้วยขีปนาวุธและโดรน เพื่อตอบโต้การส่งอาวุธจาก NATO ให้ยูเครน

ด้านนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านพลังงาน ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฝรั่งเศสและเยอรมนี ต่างมีนโยบายสวนทางกัน คือ ฝรั่งเศสกำลังก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มเพื่อหวังเป็นอิสระด้านพลังงาน และเป็นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรม ในขณะที่เยอรมันประกาศหยุดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเดือนเมษายน 2023 และบางส่วนกลับไปใช้ถ่านหินจนถูกประชาชนประท้วง

หากพิจารณาในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีบริษัทในยุโรปบริษัทใดๆเลยที่จะเข้าใกล้บริษัท IT ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ นอกจากนี้บรรดาคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในด้านนี้ ต่างอพยพไปเรียนหรือไปทำงานในสหรัฐฯ เพราะมีแรงจูงใจทางการเงินที่เหนือกว่า

อนึ่งการลงทุนด้าน IT ของยุโรป โดยเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ และแม้แต่กับจีนก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาก

ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าการสื่อสารและการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของยุโรปถูกครอบงำโดยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ทั้งนี้เพราะข้อมูลข่าวสารดิจิทัล อยู่ในมือของบริษัท IT สหรัฐฯเกือบหมด และที่สำคัญสื่อทั้งหลายของยุโรปดำเนินการโดยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรเป็นส่วนใหญ่

ประการสุดท้ายยุโรปจะเป็นอิสระได้อย่างไรในเมื่อพื้นที่ในยุโรปถูกอัดแน่นไปด้วยฐานทัพ NATO ที่มีทหารอเมริกันเป็นหลัก

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น หากประชาชนในยุโรปไม่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตนเอง ด้วยวิถีทางการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เช่น มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลภายใต้การนำของโอลัฟ ช็อลทซ์ หรือ การเปลี่ยนแปลงในฝรั่งเศจากมาครง มาเป็นมารี เลอแปง ฝ่ายชาตินิยม ก็คงพอมองเห็นได้ว่ายุโรปหรือ EU จะเป็นอิสระได้อย่างไร

ยิ่งโลกแบ่งเป็นหลายขั้วการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งในภูมิภาคยิ่งจำเป็น

ประเทศไทยจะเอาอย่างไรดีครับ

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *