jos55 instaslot88 Pusat Togel Online เกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน  ปี 2021  ตอนที่ 2 - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

เกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน  ปี 2021  ตอนที่ 2

เกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน  ปี 2021  ตอนที่ 2

ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์  วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า อิหร่านคือตัวแสดงที่เป็นรัฐ(State Actor)ตามนิยามทางทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(International Relation) ที่มีความสัมคัญและมีบทบาทสูงต่อการเมืองระหว่างประเทศในตะวันออกกลางและในระดับโลก  นักวิเคราะห์ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมองว่าอิหร่านคือการเปลี่ยนดุลอำนาจในตะวันออกกลาง และถือว่าอิหร่านคือมหาอำนาจในภูมิถภาคตะวันออกกลางเลยทีเดียว  ดังนั้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านที่เกิดขึ้นในวันที่ 18มิถุนายนนี้ คือตัวชี้วัดหนึ่งว่าการเมืองอิหร่านจะเดินไปในทางทิศใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขั้วทางการเมืองอิหร่านกลับมาอยู่ในมือของฝ่ายอนุรักษนิยมหรือฝ่าวขวา เขาคงจะเห็นฉากทัศน์การเมืองระหว่างประเทศระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯที่มีความเข็มข้นขึ้น ไม่ว่าในเรื่องนิวเคลียร์อิหร่านที่ประตูการเจรจานั้นคงปิดตายและเกมการเมืองที่อิหร่านเป็นผู้เล่นและกำหนดเกมเอง  หรือประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน น่าจะไปในทิศทางที่ร้อนแรงมากขึ้นด้วยกับอิสราเอลกำลังจะมีรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของ นาฟตาลี เบนเนตต์ หลังจากที่นายกฯอย่างเนทันยาฮูได้หลุดจากการฟอร์มทีมรัฐบาลชุดใหม่ ฉากทัศน์ที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งอิหร่านน่าจับตา๒ประเด็น  หนึ่งความสัมพันธ์อิหร่านต่อกลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซีย โดยเฉพาะอิหร่านกับซาอุดิอารเบียที่ส่อถึงทิศทางบวกมากขึ้นหลังจากที่ได้มีกระแสข่าวการประชุมแบบไม่ลับและพบปะผู้บริหารระดับสูงทั้งสองประเทศ ณ กรุงแบกแดด ประเทศอิรักที่ผ่านมา กอรปกับการให้สัมภาษณ์ของ บิน ซันมาล(MBS)ต่ออิหร่านที่มีท่าทีเปลี่ยนไป  สอง กระแสความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่านจะเพิ่มขึ้น  สืบเนื่องจากเหตุการณ์ล่าสุด การถล่มโจมตีอิสราเอลต่อปาเลสไตน์   ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่าอิหร่านได้สนับสนุนขบวนการฮามาสอย่างเต็มที่ ดังคำขอบคุณต่ออิหร่าน จากคำแถลงของ อิสมาอีล ฮานียะฮ์เลขาธิการของฮามาส

นักวิเคราะห์การเมืองตะวันออกกลางและด้านอิหร่านศึกษามองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นไปได้สูงมากที่ฝ่ายอนุรักษนิยม อย่าง ซัยยิด อิบรอฮีม ราอีซี่จะได้กรับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ถ้าดูโพลสำรวจคะแนนนิยมหลังจากการดีเบตและแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครทั้งเจ็ด  ปรากฏว่าคะแนนนิยมต่อซัยยิด ราอีซี่มาอันดับหนึ่ง

การดีเบตครั้งที่หนึ่ง ว่าด้วยประเด็นเรื่องเศรษฐกิจและนโยบายทางด้านการลงทุ และอุสหกรรม  นักวิเคราะห์มองว่าปีกฝ่ายอนุรักษนิยมได้แสดงวิสัยทัศน์แหลมคมกว่าฝ่ายปฎิรูป อีกทั้งยังได้กล่าวถึงรัฐบาล โรฮานี ซึ่งเป็นปีกการเมืองฝ่ายปฏิรูป ว่า”เป็นรัฐบาลที่ไม่มียุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจที่ดี” นั่นเป็นการส่งสัญญาณถึงประชาชนชาวอิหร่านให้ไว้วางใจต่อปีกการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยมต่อการบริหารด้านเศรษฐกิจของอิหร่านในอีกสี่ปีข้างหน้าโดยได้ชูนโยบาย “การนำเศรษฐกิจที่ดีแก่อิหร่าน” และผลจากการสำรวจโพลคะแนนนิยมต่อผู้สมัครทั้งเจ็ด จะเห็นตัวเลขอย่างมีนัยยะสำคัญทีเดียว ดังนี้

๑.ซัยยิด อิบรอฮีม ระอีซี่      ร้อยละ 51

๒. มุซิน เมฮ์ อะลีซอเดะ    ร้อยละ1

๓. อะมีร ฮุเซน กอซีซอเดะ  ฮาชิมี  ร้อยละ22

๔. อับดุลนาซีร ฮิมมะตี   ร้อยละ11

๕.สะอีด ญะลีลี่    ร้อยละ  5

๖.  มุซิน รีซออี   ร้อยละ  1

๗  อะลี รีซอ ซากานี  ร้อยละ 9

ในวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่าน ได้มีการดีเบตครั้งที่สอง ในประเด็นสังคม การเมืองและวัฒนธรรม ก็จะพบว่าผู้สมัครทั้งเจ็ดได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดีเบตอย่างมีชั้นเชิงมากขึ้น ทำให้บางคนคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น และกลับกันมีบางคนมีคะแนนนิยมตกไปอย่างมีนัยยะสำคัญ

โพลจากสำนักข่าวเพรสทีวีเผยว่า ผลสำรวจผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอิหร่านหลังจากการดีเบตครั้งที่2 อดีตประธานศาลสูงสุดซัยยิดอิบรอฮีม ราอีซี จากค่ายอนุรักษ์นิยม มีคะแนนนิยมถึง55.6%  ในขณะที่อันดับสองตามมาแบบห่างๆที่5.5% คือมุฮ์ซิน รีซาอี

 

ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากฝ่ายปฏิรูปทั้งสองคนคือนาย นาเซร เฮมมาตี และนาย มุห์ซิน เมะห์ อาลีซาเดะห์ มีคะแนนนิยม 2.1% และ 0.7% ตามลำดับ

ส่วนผู้สมัครรายอื่นๆเช่น ซะอีด ญะลีลี มีคะแนนนิยมที่ 2%, อะมีร ฮูเซ็น กาซีซาเดะห์ ฮาชีมี 1.9% และ อาลีริซา ซากานี 0.7 %

เพรสทีวียังรายงานอีกว่า หลังจากการดีเบตครั้งที่2 ประชาชนอีก23.2% ยังไม่ได้ทำการตัดสินใจ

ทั้งนี้การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านจะมีขึ้นในวันที่18มิถุนายน 2021 ซึ่งประชาชนชาวอิหร่านที่มีสิทธิ์เลือกตั้งมีจำนวนทั้งสิ้น59.3ล้านคน

แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะฝั่งการเมืองไหนได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีอิหร่าน   สิ่งที่น่าจับตาและติดตามคือการเมืองระหว่างประเทศของอิหร่าน โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเรื่องนิวเคลียร์และปัญหาความสัมพันธ์ต่อกลุ่มประเทศอ่าว(อาหรับ) โดยเป็นไปได้ว่ากระแสความกลัวอิหร่านหรือหวั่นต่อการแผ่อิทธิพลของอิหร่านนั้นจะลดลงไป เนื่องจาก อิหร่านได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ความเป็นเอกภาพและสร้างมิตรระหว่างกลุ่มประเทศอิสลามนั้นคือพลังของการต่อรองในเวทีโลก และจะลดบทบาทของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคลงได้ และอิหร่านยังแสดงเจตนาที่เป็นบวกต่อกลุ่มประเทศอาหรับมาตลอด ไม่ว่ากรณีของกาต้า หรือแม้ประเทศซาอุดิอาราเบียก็ตาม  และอีกเหตุผลหนึ่งที่เป็นไปได้ที่ทำให้กลุ่มประเทศอาหรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงลบต่ออิหร่าน คือผลของสงครามระหว่างฮามาสกับอิสราเอลที่ผ่านมา นับเป็นชัยชนะของฮามาสและปาเลสไตน์ในสงคราม11วัน  เพราะอิหร่านคือประเทศที่มีบทบาทที่สุดในการสนับสนุนและช่วยเหลือฮามาส   กอรปกับความอ่อนแรงลงของรัฐบาลสหรัฐฯในเรื่องการกดดันอิหร่าน จึงเป็นผลบวกต่อการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตและการเมืองระหว่างประเทศต่อกลุ่มประเทศอาหรับไปในทิศทางที่ดีขึ้น  และนั่นหมายความว่า อาจจะเป็นไปได้ที่เราจะเห็นการกลับมาเปิดสถานทูตซาอุดิอาระเบียในกรุงเตหรานอีกครั้ง หลังจากที่ได้ตัดความสัมพันธ์ไปในกรณี การตัดสินประหารชีวิตผู้นำศาสนาชีอะฮ์ เชคนิมร์ อัลนิมร์ ส่งผลให้ชาวอิหร่านบุกเข้าไปทำลายและเผาสถานทูตซาอุฯกรุงเตหราน ในปี พ.ศ. 2559 แต่ก็มีนักวิชาการมองว่า สำหรับสายอนุรักษนิยมของอิหร่านยังมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อประเด็นซาอุดิอาระเบีย ซึ่งอาจจะได้เห็นเกมการต่อรองในเรื่องการยุติสงครามในเยเมนก็เป็นได้ (ติดตามตอนต่อไป)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *