jos55 instaslot88 Pusat Togel Online นักกวีกับการเมือง - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

นักกวีกับการเมือง

 

นักกวีกับการเมือง

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

ศูนย์อิสลามและอิหร่านศึกษา วทส.

โดยทั่วไปแล้วเรามักจะคุ้นกับภาพจำของนักกวีว่าพวกเขาใช้บทกลอนและภาษาของนักกวีเชิงความรักความผิดหวังหรือเป็นการรำพันถึงคนรัก ความผิดหวังอะไรทำนองนั้นส่วนบทกลอนในเชิงการเมืองและสังคมค่อนข้างจะพบเจอน้อยนัก แต่ถ้าลองดูลึกๆและมองนานๆบางทีเราจะได้เห็นมุมของนักกวีได้พูดถึงการเมือง ได้เห็นว่าพวกเขาตำหนินักปกครองไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว

การสืบค้นนักกวีโลกมุสลิม คงไม่ผิดที่จะกล่าวว่าเปอร์เซียคือดินแดนแห่งกวี ดินแดนแห่งสุนทรียภาพทางศิลปะและก็คงไม่เกินเลยเช่นกันที่กล่าวว่าอิหร่านเป็นดินแดนแห่งนักปราชญ์และนักปรัชญาทางการเมืองที่โด่งดังก้องโลก

ฮาฟิซ(Hafiz)ถือว่าเป็นตัวอย่างท่านหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดบทกวี บทลำนำรวมมถึงเรื่องเล่าในมิติการเมืองและสังคมในหนังสือ”ดีวานฮาฟีซ”(Divan Hafiz)ได้น่าสนใจ  และถ้าย้อนดูภูมิหลังของฮาฟิซ เขาได้อาศัยอยู่ในเมืองชีราซ เป็นเมืองใหญ่มีผู้คนอาศัยจำนวนมากอยู่ในฐานะเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟาร์ส และที่มาของการเรียกว่า”เปอร์เซีย” ก็มาจากเมืองฟาร์ซนี้แหละ บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรเปอร์เซียผ่านเมืองฟาร์สและชีราซ  และฮาฟิซได้อยู่ในช่วงการปกครองของกษัตริย์ ชะรอฟุดดีน มะมูด ชาฮ์ ราชวงศ์อินญู ภายใต้การปกครองระบบเจ้าขุนมูลนายของพวกมองโกล  ดังนั้นมุมมองการเมืองของฮาฟิซจึงมีความแหลมคมทีเดียวในการนำเสนอผ่านบทกวีและวรรณกรรม

ถ้าย้อนดูกระบวนทัศน์ทางการเมืองของนักกวีส่วนมากจะผูกโยงอยู่กับลัทธิความเชื่อ ศาสนาและนิกายที่ตัวเองศรัทธาหรือบางครั้งได้แสดงหลักคิดทางการเมืองที่มีพื้นฐานจากโลกทัศน์แบบเทวนิยม ผ่านบทกลอนและเรื่องเล่าหรือวรรณกรรมและเรื่องเล่าที่ตื่นตาตื่นใจ เช่น หนังสือชาฮ์นอเมะฮ์  ของฟีรเดาซ์ซี

ฮาฟีซได้เสนอบทกวีผ่านเรื่องเล่าว่าด้วย”อุตมรัฐ”( آرمانش Utopia) ที่ถ่ายถอดได้แหลมคมไม่ด้อยไปกว่านักปรัชญาการเมือง  และฮาฟีซได้กล่าวถึงนครยูโทเปีย(Utopia)ว่า เป็นการปกครองที่ไม่มีกลิ่นอายของความหยิ่งยะโสไร้การกดขี่เหยียดหยามและการประณามต่อกันและกัน เป็นนครเต็มไปด้วยความงามและความรัก เป็นโลกแห่งเสรีภาพ โลกแห่งการให้เกียรติโดยตั้งอยู่บนหลักความ”รัก”(عشق)

หนังสือ -ดีวานฮาฟีซ-(Divan Hafiz) คือตัวอย่างหนึ่งของบทบาทนักกวีกับการเมือง ที่สะท้อนถึงมิติด้านการเมืองของนักกวีที่ผ่านการเชื่อมโยงทางจิตแล้วสะท้อนภาพการเมืองและนักการเมืองได้อย่างแหลมคมและน่าสืบค้นยิ่ง

ฮาฟีซได้ตั้งสมมติฐานว่า การเมืองเป็นเรื่องสร้างสรรค์ เป็นความงามหนึ่ง แล้วฮาฟิซได้เล่าเรื่องของการเมืองที่มีแง่มุมการใช้ปัญญามากกว่าการใช้อำนาจและได้วิพากษ์นักปกครองด้วยผ่านรูปแบบของบทกลอนและเรื่องเล่าเชิงวรรณกรรมได้สะท้อนถึงสังคมแบบอารยะสังคมอุดมคติ เป็นสังคมการเมืองที่เปี่ยมล้มด้วยความรักและความเมตตาหาใช่สังคมแบบอำนาจนิยม

ฮาฟิซได้เสนอรากฐานการวิพากษ์การเมืองจากวัฒนธรรมอิหร่านยุคของเขา ด้วยการใช้บทกวีและบทกลอนที่ทรงพลังเสมือนเป็นการเตือนสตินักปกครองและนักการเมืองที่ไม่ชอบธรรมและมีฐานคิดทางการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม

ฮาฟิซได้ผูกโยงการเมืองกับธรรมะและสะท้อนภาพการเมืองที่น่ารังเกียจแบบอำนาจนิยมและกดขี่ ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์สากลสามารถมองการเมืองโลกปัจจุบันของการใช้อำนาจรัฐต่อประชาชนอย่างไม่เป็นธรรมได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

มุมมองทางการเมืองของฮาฟิซ มองได้๓ มุม

หนึ่ง การเมืองแบบอำนาจนิยมที่เป็นระบอบไม่สร้างสรรค์และไม่ได้มีพื้นฐานมาจากความรัก

สอง การเมืองแบบชาตินิยม เป็นการเมืองแบบใจแคบเกินไป

สาม การเมืองแบบความรัก  เป็นการเมืองอุมตรัฐ

“อะไรคือความกลียุคเช่นนี้ซึ่งข้าได้แลเห็นอยู่ในวัฎจักรของดวงจันทร์นั้น  ข้าได้เห็นขอบฟ้าทั้งมวลเต็มไปด้วยการต่อสู้ และความสับสน ปลุกปั่น”(ฮาฟิซ)

“ คนมีคุณธรรมกับคนขาดธรรมะชั่งห่างไกลกันใช่  โปรดดูซิ!!  ชั่งแตกต่างกันนี่กระไร หาได้เหมือนกันไม่”(ดีวาน ฮาฟิซ)

ฟีรเดาซ์ซี(فردوسی  : Ferdowsi) นักกวีอิหร่านอีกท่านหนึ่งที่ถูกกล่าวขานและถูกยกย่องว่า”บิดาแห่งภาษาเปอร์เซีย” ผลงานชิ้นเอกของเขาคือ”ชาฮ์นอเมะฮ์”(شاه نامه : Shahnameh)แปลเป็นไทยว่านิทานอิหร่านราชธรรมเป็นหนังสือวรรณกรรมเปอร์เซียที่มีอิทธิพลต่อโลกวันนี้ไม่น้อยทีเดียว

“ชาฮ์นอเมะฮ์”นั้นได้กล่าวถึงนักปกครองและการเมืองผ่านเรื่องเล่าที่น่าสนใจ โดยเนื้อหาของชาฮ์นอเมะฮ์แบ่งออกเป็นสามภาค หนึ่งยุคพิชดาดิยัน(Pishadadiyan)   ยุคเคยานิยัน(Keyaniyan) และยุคซาซาเนียน(Sasanian) แม้ว่าดูภายนอกของมหากาพย์ชาฮ์นอเมะฮ์ คือวรรณกรรมและการเล่าเรื่องราวของกษัตริย์และราชวงศ์ที่ปกครองเหนือดินแดนอิหร่านและเล่าเรื่องวีรบุรุษผู้ปกป้องดินแดนรักษามาตุภูมิไว้ที่เต็มไปด้วยความกล้าหาญของวีรบุรุษอย่างตัวละคร”รุสตั้ม رستم”  แต่ถ้าอ่านอย่างเพิ่งพินิจและเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของฟิรเดาซ์ซีแล้ว  จะเห็นภาพอีกมุมได้สะท้อนถึงค่านิยม อุดมคติและปรัชญาการเมืองไว้น่าสนใจทีเดียว(ประวัติศาสตร์เปอร์เซียยุคอะคีเมนิด :ชาครีย์นรทิพย์ เสวิกุล หน้า214)

ชาฮ์นอเมาะฮ์เป็นเสมือนกระจกเงาสะท้อนคุณลักษณะที่ดีและสูงส่งอันพึงประสงค์ในหลักนักปกครองในหลักสากลเลยทีเดียว โดยได้ชี้ให้เห็นว่าคนมีคุณธรรมไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายสามารถกลายเป็นวีรบุรุษได้และวีรบุรุษไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด หากแต่เกิดขึ้นจากคุณธรรม ฟิรเดาซ์ซีได้เน้นย้ำความเป็นวีรบุรุษว่าเขาต้องมีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ(ธรรมะ) ดั่งตัวละครที่ชื่อว่า”ฟาร์ร”ที่ได้ถูกยอมรับและมอบให้เป็นผู้นำและกษัตริย์ที่ชอบธรรม เนื่องจากความมีคุณธรรมไม่ใช่ความเป็นราชวงศ์

ชาฮ์นอเมะฮ์ยังได้กล่าวถึงมิติความเป็นมนุษย์  โดยได้ชี้ให้เห็นว่าวีรบุรุษตกอยู่ในภาวะของความขัดแย้งเสมอ ทั้งความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ทางศิลธรรมกับภาระผูกพันทางสังคม ในขณะที่ชาฮ์นอเมะฮ์ยังได้กล่าวถึงนักปกครองที่ได้พลาดท่าให้กับความหลงระเริงในอำนาจ ความโลภ ความเย่อหยิ่ง หรือการใช้อำนาจในทางที่ผิด หรือการปฎิบัติต่อประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม คือความหายนะ

ชาฮ์นอเมะฮ์ยังได้สอดแซกมุมการเตือนนักปกครองนักการเมืองว่า นักปกครองที่ไร้คุณธรรม ไม่มีความยุติธรรม จะทำให้โลกตกสู่ห้วงเวลาแห่งความทุกข์ยากที่โหดร้าย มืดมิด และโศกนาฎกรรมอย่างน่าสพรึงกลัวทีเดียว(ประวัติศาสตร์เปอร์เซียยุคอะคีเมนิด :ชาครีย์นรทิพย์ เสวิกุล หน้า213-215)

ดังนั้นการเมืองมุมมองของนักกวีเปอร์เซียผู้โด่งดัง ได้สะท้องให้เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องงดงามและเป็นความงามหนึ่งของโลกใบนี้ แต่การเมืองนั้นต้องเป็นการเมืองแบบมีศิลธรรมมีธรรมะ หาใช่การเมืองแบบระเริงในอำนาจไม่

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *