jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ประธานาธิบดีอิหร่านเยือนซีเรียกับปักหมุดภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในตะวันออกกลาง - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ประธานาธิบดีอิหร่านเยือนซีเรียกับปักหมุดภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในตะวันออกกลาง

ประธานาธิบดีอิหร่านเยือนซีเรียกับปักหมุดภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในตะวันออกกลาง

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

ศูนย์อิสลามและอิหร่านศึกษา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วทส.

ทันทีที่สำนักข่าว IRNA ของรัฐบาลอิหร่านรายงานว่า ดร.รออีซี่ ประธานาธิบดีอิหร่าน จะเดินทางเยือนกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรียในวันพุธที่๓พ.ค.ที่ผ่านมานั้น ทำให้การจับตาความเคลื่อนไหวอิหร่านเพิ่มขึ้นอีกระรอกหลังจากที่ได้ฟื้นความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบียที่ผ่านมา  โดยที่ฯพณฯ อัคบารี เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำซีเรียได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศน่าสนใจว่า

“การเดินทางเยือนกรุงดามัสกัสของดร.อิบรอฮีม รออีซี่ประธานาธิบดี เป็นการเดินทางที่สำคัญมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความคืบหน้าที่เกิดขึ้นในภูมิภาค”

    “การเยือนครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลอิหร่านและซีเรียเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคสามารถใช้ประโยชน์จากงานนี้ได้”

สำนักข่าวIRNA ระบุว่า ประธานาธิบดีรออีซี่กับคณะได้นำ “คณะผู้แทนระดับสูงด้านเศรษฐกิจ-การเมือง” ร่วมเดินทางเยือนซีเรีย 2 วัน ตามคำเชิญอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรีย นับเป็นการเยือนครั้งแรกของประธานาธิบดีอิหร่านตั้งแต่สงครามซีเรียเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2554 และถือได้ว่าอิหร่านเป็นพันธมิตรคนสำคัญที่สนับสนุนรัฐบาลอัสซาดในช่วงความขัดแย้งยาวนาน 12 ปีของซีเรีย โดยอิหร่านให้การสนับสนุนทางการเงินและการทหารแก่อัสซาดในช่วงนี้และว่ากันว่าซีเรียเกือบจะล่มสลายจากแผนรุมกินโต๊ะเพื่อจะขจัดซีเรียและระบอบอัสซาด แต่มีอิหร่านที่ยืนเคียงข้าง เสมือนมิตรแท้

ผู้นำอิหร่านเยือนซีเรียในรอบ 13 ปี กระชับสัมพันธ์ทุกมิติ

ถ้าย้อนดูสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านและสาธารณรัฐอาหรับซีเรียเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์อย่างใกล้ชิดมานานตั้งแต่ปฏิวัติ1979และอิหร่านได้ให้การสนับสนุนที่สำคัญสำหรับรัฐบาลซีเรียตลอดมา โดยเฉพาะในสงครามกลางเมืองที่ถือว่าสำหรับซีเรียสาหัสมากเพราะถูกรุมกินโต๊ะทั้งจากฝั่งรัฐอ่าวอาหรับและจากสหรัฐฯและอิสราเอล  ในขณะที่อิหร่านมองว่าความอยู่รอดของรัฐบาลซีเรียมีความสำคัญต่อผลประโยชน์ในภูมิภาคและถ้าซีเรียถูกตีแตกนั่นหมายถึงภัยใกล้ตัวสำหรับอิหร่าน เมื่อการจลาจลพัฒนาไปสู่สงครามกลางเมืองซีเรียมีรายงานการสนับสนุนทางทหารของอิหร่านเพิ่มขึ้นและการช่วยฝึกทหารของอิหร่านต่อกองกำลังป้องกันชาติทั้งในซีเรียและอิหร่าน เป็นแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางความมั่นคงระหว่างกันและกันจนทำให้ซีเรียผงาดอีกครั้ง นับว่าอิหร่านถือเป็นประเทศหลักที่ร่วมกับรัสเซียในการปกป้องซีเรียจากวิกฤตสงครามกลางเมืองที่ผ่านมา

ยังมีรายงานว่าได้มีหน่วยงานด้านความมั่นคงและข่าวกรองของอิหร่านให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทหารซีเรียเพื่อรักษาอำนาจของบาชาร์อัล – อัสซาดไว้ ความพยายามเหล่านั้นรวมถึงการฝึกฝนการสนับสนุนทางเทคนิคและกองกำลังรบ  การประมาณการจำนวนบุคลากรของอิหร่านในซีเรียมีตั้งแต่หลายร้อยถึงหลายหมื่นคน เพื่อสกัดกั้นแผนก่อการร้ายในนามกลุ่ม”ไอซิซ”ที่ปักหมุดที่ซีเรียแล้วรุกคืบสู่อิรัก ต่อมาใช้ชื่อ”กลุ่มไอเอส” จนวันนี้ประชาคมโลกประจักษ์ว่าใครอยู่เบื้องหลังของกลุ่มกบฎในซีเรียและกลุ่มก่อการร้ายไอซิซ

มีรายงานอีกว่าในปี 2014 อิหร่านได้เพิ่มการสนับสนุนประธานาธิบดีอัสซาดของซีเรีย ประมาณการความช่วยเหลือทางการเงินมีตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลายแสนล้านดอลลาร์ นับว่าเป็นพันธมิตรอย่างเหนียวแน่นจนทำให้ซีเรียรอดจากปากวิกฤติสงครามกลางเมืองซึ่งซีเรียถือว่าอิหร่านคือเพื่อนแท้ในยามยากเวลานั้น

ดังนั้นการเยือนซีเรียของประธานาธิบดีอิหร่านครั้งนี้ถือว่ามีนัยยะสำคัญทางการเมืองมากเพราะอิหร่านได้ปักหมุดแผนภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในตะวันออกกลาง และเรายังได้เห็นการต้อนรับของชาวซีเรียอย่างอบอุ่นตลอดเส้นทางของกระบวนรถประธานาธิบดีและการต้อนรับอันยิ่งใหญ่จากรัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาดจากการเยือนประธานาธิบดีรออีซี่ที่ผ่านมา

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่าประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้นำซีเรีย ให้การต้อนรับประธานาธิบดีอีบราฮิม รออีซี่ ผู้นำอิหร่าน ที่กรุงดามัสกัส  ซึ่งเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการในรอบเกือบ 13 ปี ที่ประธานาธิบดีอิหร่านเยือนซีเรียอย่างเป็นทางการ https://www.dailynews.co.th/news/2290417/

แม้ทั้งสองประเทศต่างเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรอย่างหนักหน่วงของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลานานกว่า 1 ทศวรรษของสงครามกลางเมืองในซีเรีย ซึ่งปะทุ เมื่อเดือนมี.ค. 2554 อิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศที่คอยมอบความช่วยเหลือทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร ให้แก่รัฐบาลดามัสกัส โดยเฉพาะความสนับสนุนทางทหารจากอิหร่านถือว่า มีส่วนสำคัญอย่างมาก ซึ่งช่วยให้กองทัพซีเรียสามารถกระชับพื้นที่กลับคืนจากกองกำลังฝ่ายกบฏ โดยคงเหลือเพียงพื้นที่บางส่วนทางเหนือเท่านั้น

รายงานโดยสำนักข่าวซานาของซีเรียระบุว่า อัสซาดกล่าวกับรออีซี่ โดยได้ยกย่องความสัมพันธ์ที่มั่นคงระหว่างสองประเทศ ด้านผู้นำอิหร่านแสดงความเชื่อมั่น ว่าทุกภาคส่วนในซีเรียจะสามารถฝ่าฟันทุกอุปสรรคไปได้อย่างราบรื่น “เพื่อชัยชนะ” และความสัมพันธ์ระหว่างซีเรียกับอิหร่าน “เป็นมากกว่าเรื่องการเมืองและการทูต” เพราะ “คือความไว้เนื้อเชื่อใจกันอย่างแท้จริง”ทั้งนี้ อัสซาดและรออีซี่ลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจ ( เอ็มโอยู ) ว่าด้วย “การส่งเสริมความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ในระยะยาว” ครอบคลุมด้านพลังงาน อากาศยาน ระบบขนส่งทางราง และการเกษตรและด้านอื่นๆhttps://www.dailynews.co.th/news/2290417/

       ภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ตะวันออกกลาง

          ๑.ยุติความขัดแย้งซีเรีย-ตุรเคีย

เราได้เห็นการเคลื่อนไหวและขับเคลื่อนของรัสเซียที่ผ่านมาในการเป็นเจ้าภาพจัดการเจรจากับซีเรีย ตุรเคีย และอิหร่าน หวังทำสัมพันธ์ตุรเคียกับซีเรียกลับมาเป็นปกติ หลังตัดขาดกันมากว่า 10 ปี

กระทรวงกลาโหมรัสเซียออกแถลงการณ์ระบุว่า นายพลเซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย เป็นเจ้าภาพจัดการเจรจา 4 ฝ่ายระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมและหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของรัสเซีย ซีเรีย ตุรเคีย และอิหร่าน  เพื่อหารือเกี่ยวกับขั้นตอนปฏิบัติ ในการเสริมสร้างความมั่นคงในซีเรีย, และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซีเรียและตุรเคียกลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการมุ่งเน้นไปที่การต่อต้านภัยคุกคามของผู้ก่อการร้าย และการต่อสู้กับกลุ่มหัวรุนแรงทั้งหมดในซีเรีย ทั้งนี้ ทั้ง 4 ประเทศยืนยันความปรารถนาที่จะรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของซีเรีย และความจำเป็นในการส่งผู้ลี้ภัยชาวซีเรียกลับประเทศโดยเร็ว

ด้านกระทรวงกลาโหมซีเรียออกคำแถลงกล่าวว่า ผู้เข้าร่วมการเจรจา ได้หารือกันเกี่ยวกับประเด็นการถอนทหารตุรเคีย ออกจากดินแดนซีเรีย และการเปิดทางหลวงสายยุทธศาสตร์ M4 ที่ปูทางไปสู่การฟื้นฟูการค้าของซีเรีย กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย ทั้งนี้ ทางซีเรียได้กล่าวมาตลอดว่า การจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซีเรียและตุรเคีย กลับสู่ระดับปกตินั้น ตุรเคียจะต้องตกลงถอนทหารหลายพันนาย ที่ประจำการอยู่ในกลุ่มกบฏทางตะวันตกเฉียงเหนือออกไป

๒.ปิดฝาโลงสงครามกลางเมืองซีเรีย

การสนับสนุนของอิหร่านในระบอบการปกครองของซีเรียเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยปกป้องความอยู่รอดของประธานาธิบดีบาชาร์อัล – อัสซาดซึ่งเป็นประธานาธิบดีที่ได้ต่อสู้กับการ จลาจลต่อต้านรัฐบาล ที่รุนแรงตั้งแต่ต้นปีพ. ศ. 2554 และความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและซีเรียขึ้นอยู่กับการบรรจบกันอย่างไม่ซ้ำกันของผลประโยชน์ อิหร่านและซีเรียไม่พอใจอิทธิพลสหรัฐฯและกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับใน ตะวันออกกลางได้สนับสนุนกลุ่มกบฎต่อต้านซีเรียและจากการเอาจริงเอาจังอิหร่านและการสนับสนุนรัสเซียที่ผ่านมาทำให้แผนของมหาอำนาจและอาหรับบางประเทศในการกำจัดระบอบอัล-อัสซาดล้มเหลวและพ่ายแพ้ และการเยือนของรออีซี่ในครั้งนี้มีนัยยะสำคัญทางความมั่นคง เพื่อจะลดทอนอิทธิพลของสหรัฐฯและกำจัดกลุ่มกบฎที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯให้หมดไป เสมือนเป็นการปิดฝาโลงของการจลาจลและสงครามการเมือง และอีกด้านหนึ่งอิหร่านพร้อมเข้ามาฟื้นฟูซีเรียอย่างเป็นระบบ นับว่าเป็นการวางภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในตะวันออกกลาง

๓.ร่วมต้านอิสราเอลอย่างเป็นระบบ

ซีเรียและอิหร่านนับเป็นพันธมิตรที่ยืนต่อสู้ภัยคุกคามอิสราเอลตลอดมา จนได้ฉายาว่าเป็นแกนนำของ “แกนแห่งการต้านทาน”การรุกรานอิสราเอลและทั้งสองมีศัตรูร่วมกันคืออิสราเอล  ดังนั้นอิหร่านและซีเรียได้ให้การสนับสนุนกลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์ ทั้งสองฝ่ายได้สนับสนุนกลุ่มปาเลสไตน์ฮามาส ซีเรียยืนยันว่าข้อตกลงระหว่างชาวปาเลสไตน์และซีเรียเองยังคงต้องเป็นการแก้ปัญหาเรื่องดินแดนที่ถูกยึดครองอิสราเอล ( Golan Heights )  ดังนั้นกรุงเตหะรานได้ใช้การสนับสนุนซีเรียและขบวนการต่อสู้ชาวปาเลสไตน์ในการเพิ่มความร่วมมือกับชาวอาหรับและในโลกมุสลิมที่กว้างขึ้นด้วยความสำเร็จที่เอาชนะอิสราเอล

อิหร่านได้ให้การสนับสนุนกลุ่มฮิซบุลเลาะฮ์กลุ่มชีอะฮ์ทั้งในเลบานอนและในซีเรียเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในต่อต้านอิสราเอลที่จะเข้าจู่โจมอิหร่านจากซีเรีย และการสนับสนุนซีเรียเสมือนว่าให้ทำหน้าที่เป็นป้อมปราการต่อการรุกรานอิสราเอล และอีกด้านหนึ่งทำให้อิหร่านสามารถตอบโต้กับอิสราเอลได้ง่ายขึ้นผ่านประเทศซีเรีย และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซีเรียเป็นอีกหมุดหมายหนึ่งของอิหร่านในการจะปิดล้อมอิสราเอล

แต่มีผู้สังเกตการณ์พยายามจะนำจุดเปราะบางในระดับทางศาสนาและวัฒนธรรมว่าในอนาคตความสัมพันธ์ระหว่างซีเรียกับอิหร่านอาจจะพบเจออุปสรรคจำนวนมากที่สร้างความยุ่งยากซับซ้อนให้แก่การติดต่อกันก็เป็นได้ โดยมองว่าสองประเทศต่างก็มีประชากรเป็นชาวมุสลิมอย่างท่วมท้นล้นหลาม ทว่ากลับนับถือศรัทธาในนิกายที่แตกต่างกันของศาสนาอิสลาม กล่าวคือ ชาวอิหร่านส่วนใหญ่เป็นชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ขณะที่ชาวซีเรียส่วนมากเป็นซุนนี อาจจะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งนิกายขึ้นเหมือนในสงครามกลางเมืองที่ผ่านมา นอกจากนั้นแต่ละประเทศยังพูดภาษาที่แตกต่างกันหรือมองไปไกลว่าระบอบการปกครองก็มีความแตกต่างกันอาจจะเป็นอุปสรรคในการร่วมมือ แต่ในขณะเดียวกันชาวอิหร่านที่แห่กันเดินทางไปยังดามัสกัส ส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวนิกายชีอะห์ที่เดินทางจาริกไปตามสถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น สถานฝังศพท่านหญิงซัยนับ (Sayida Zainab) บุตรสาวของอิหม่ามอาลี และหลานสาวของนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.)  จากสมมติฐานข้างต้นดูแล้วไม่สมเหตุสมผลโดยเหตุผลหลายประการ นั่นหมายความว่าการกระขยับตัวของระเบียบโลกใหม่ ระเบียบโลกแบบอำนาจหลายขั้ว ระเบียบโลกแห่งการสร้างสันติภาพเป็นหมุดหมายสำคัญของการสัมพันธ์ระหว่างประเทศและตะวันออกกลางในขณะเดียวกันศัตรูร่วมที่ต้องกำจัดคืออิสราเอลถือว่าเป็นภัยคุกคามอิหร่านและซีเรีย ดังนั้นหมุดหมายสำคัญของการเยือนซีเรียของประธานาธิบดีอิหร่าน เสมือนเป็นการปักหมุดทางภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในตะวันออกกลางภายใต้ระเบียบโลกใหม่ที่น่าจับตาและติดตามทีเดียว

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *