jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ประหารชีวิตผู้ประท้วงในอิหร่านกับมาตรฐานสื่อวันนี้ - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ประหารชีวิตผู้ประท้วงในอิหร่านกับมาตรฐานสื่อวันนี้

ประหารชีวิตผู้ประท้วงในอิหร่านกับมาตรฐานสื่อวันนี้

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

ศูนย์อิสลามและอิหร่านศึกษา คณะรัฐประศาสนศาสตร์   วทส.

ดูเหมือนว่าภาพลักษณ์อิหร่านวันนี้ได้ถูกสื่อตะวันตกและสื่อในเครือได้สร้างให้เป็นผู้ร้ายไปในทุกสนามและทุกเวทีอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ไปเสียแล้ว โดยสื่อเหล่านั้นได้นำไปโยงกับเหตุการณ์การประท้วงทำให้อิหร่านถูกมองผ่านมุมสื่อตะวันตกว่าเป็นประเทศที่ไม่มีอารยธรรมบ้างไม่เคารพสิทธิมนุษยชนบ้างไม่มีเสรีภาพบ้างเป็นรัฐเผด็จการบ้าง หรือไปไกลกว่านั้นอิหร่านคือรัฐอิสลามที่ไดละเมิดสิทธิมนุษยชนและได้กดขี่สตรีเพศมากที่สุด

ยิ่งเมื่อสหพันธ์นักฟุตบอลอาชีพนานาชาติ (FIFPRO) ฟิฟโปรได้โปรโพสต์ข้อความบนเพจ “ทวิตเตอร์” อย่างเป็นทางการขององค์กร เมื่อวันจันทร์ที่12 ธ.ค. 2565ว่า ฟิฟโปร รูู้สึกช็อกและหดหู่ตามข่าวที่รายงานว่า อาเมียร์ นาสเซอร์-อดาซานี นักฟุตบอลอาชีพคนหนึ่ง ต้องโทษประหารชีวิต ที่ประเทศอิหร่าน ข้อหารณรงค์ด้านสิทธิและเสรีภาพของสตรีภายในประเทศตัวเอง ทั้งๆที่ข่าวอีกด้านไม่ได้เกี่ยวข้องกับการประท้วงจากการตายของ น.ส. เมร์ซ่า อะมีนี  แต่สื่อตะวันตกยังได้เสนอข่าวอย่างโฆษณาชวนเชื่อว่านายอมีร นัสร์ อาซอดอนี โดนโทษประหารชีวิตเพราะความเห็นต่างทางการเมือง และถ้าติดตามสื่อทางการของอิหร่านพบว่านายอมีร นัสร์ อาซอดอนีเพียงแค่ถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่24พฤศจิกายน ยังไม่มีการตัดสินเป็นเพียงข้อกล่าวหา และถ้าย้อนดูนักฟุตบอลรายนี้ถูกคุมขังในข้อหาว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มติดอาวุธที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยถึงสามราย ไม่เกี่ยวข้องกับประท้วงประเด็นการตายของน.ส.มะฮ์ซา อามีนี่ ส่วนสถานที่เกิดเหตุ ไม่ใช่ที่ชุมนุมประท้วง แต่เกิดเหตุบนถนนที่กลุ่มติดอาวุธไม่กี่คนพยายามจะปิดถนน และได้ฆ่าเจ้าหน้าที่ถึงสามคน

หรือกรณีการตัดสินประหารชีวิตนายมุซิน ชิกอรี  محسن شکاري วัย 23 ปี ด้วยการแขวนคอ สื่อตะวันตกได้อ้างว่ามาจากความผิดกีดขวางถนนและทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ และสื่อยังได้โหนกระแสภาพลักษณ์เสียหายต่อกฏหมายชะรีอะฮ์ของอิหร่านว่า นายมุซิน ชิกอรียังผิดในข้อหา”เป็นปรปักษ์กับพระเจ้า” และได้มีการประณามอิหร่านได้เกิดขึ้นอีกระรอกและถูกวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางสิทธิมนุษยชนต่อประชาคมโลกอีกครั้งและกลุ่มสิทธิมนุษยชนฝั่งตะวันตกได้โหนข่าวอีกว่า ขณะนี้มีประชาชนอีกอย่างน้อย 12 คนกำลังเสี่ยงที่จะถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเป็นรายต่อๆไป

องค์การนิรโทษกรรมสากลออกมาโหนกระแสต่อและได้กล่าวประณามโดยใช้คำว่า “น่าสยดสยอง” พร้อมระบุว่าการประหารชีวิตดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 3 สัปดาห์หลังจากนายเชกอรีถูกตั้งข้อหาในการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรง

หลังจากนั้นประเทศในยุโรปได้รับลูกต่อ โดยการโหนข่าวไปทั่วโลกว่าจะเพิ่มมาตรการคว้ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติมและสหรัฐอเมริกาได้ออกโรงประณามการประหารชีวิตในครั้งนี้ บอกว่ามันแสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้นำอิหร่านนั้นเกรงกลัวต่อประชาชนของตนเอง เน็ด ไพรซ์ โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่าการประหารชีวิตและการลงโทษอย่างรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ ถือเป็นการพยายามข่มขู่คุกคามประชาชนชาวอิหร่านเพื่อยับยั้งการต่อต้านรัฐบาล แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้นำอิหร่านเกรงกลัวต่อประชาชนของตัวเองอย่างไร

องค์กรสิทธิมนุษยชนอิหร่าน (ไอเอชอาร์) ที่มีฐานอยู่ที่ประเทศนอร์เวย์ กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 2022 จนถึงขณะนี้อิหร่านได้ประหารประชาชนไปจำนวน 504 ราย มากกว่าจำนวนทั้งหมดของปีที่ผ่านมา และว่าหน่วยงานกำลังทำงานเพื่อยืนยันกรณีเพิ่มเติมอื่นๆ ที่ประชาชนถูกประหารด้วยการแขวนคอ

นายมาห์มูด อามิรี-โมกัดดัม ผู้อำนวยการของไอเอชอาร์ กล่าวว่า “ปัจเจกบุคคลเหล่านี้ถูกประหารชีวิตโดยปราศจากกระบวนการการไต่สวนที่เป็นธรรม โดยมีการดำเนินคดีในศาลปฏิวัติอิสลามอย่างเป็นความลับ” และ “การตัดสินของพวกเขาทั้งหมดขาดความถูกต้องทางกฎหมาย”

ผู้อำนวยการของไอเอชอาร์กล่าวอีกว่า “การประหารเหล่านี้มีเป้าหมายในการสร้างความหวาดกลัวของสังคม และเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนออกจากความล้มเหลวของหน่วยข่าวกรองอิหร่าน”

ทำไมศาลอิหร่านต้องตัดสินประหารชีวิต?

ประเด็นการประหารชีวิตผู้ประท้วงและการตัดสินประหารชีวิตนักฟุตบอลชื่อดังอิหร่าน ซึ่งข่าวตะวันตกและข่าวกระแสหลักได้พากันรายงานว่าพวกเขานั้นถูกข้อหา”การเป็นปรปักษ์ต่อพระเจ้า” และแม้กระทั้งสื่อในประเทศไทยเองได้รายงานข่าวตามสื่อตะวันตก ได้นำเสนอเหมือนกันว่าผู้ที่ถูกตัดสินประหารสองรายล่าสุด ด้วยข้อหา”เป็นปรปักษ์ต่อพระเจ้า”

การประหารชีวิตผู้ประท้วงสองรายล่าสุดคือนาย มุซิน เชกอรี วัย 23 ปี ถูกตัดสินว่ามีความผิดทำลายล้างประเทศชาติและฆ่าเจ้าหน้าที่กองกำลังกึ่งทหาร ระหว่างการเดินขบวนประท้วง และนายมะญีดเรซอ รอห์นาวาร์ด รายที่สอง โดยถูกพิพากษาตัดสินด้วยข้อหาได้ฆ่าเจ้าหน้าที่รัฐตายด้วยการแทงเจ้าหน้าที่ความมั่นคงสองราย

กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่อประเด็นการประหารชีวิตของผู้ประท้วงทั้งคนนั้น ทำให้สื่อตะวันตกโดยเฉพาะสื่อบีบีซีได้โหนกระแสข่าวนี้ว่า สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้ดำเนินข้อหา”มุฮารอบะฮ”  ซึ่งขั้นร้ายแรงสูงสุดคือการประหารชีวิต โดยสื่อได้มองว่าเป็นการให้ข้อหากับผู้ประท้วงเกินกว่าเหตุและร้ายแรงไร้ความเป็นธรรม

ต่อมามีนักวิชาการบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการตัดสินประหารชีวิตว่า “ถือเป็นความน่าเศร้ายิ่งนักที่มีบุคคลจำนวนหนึ่งได้นั่งบัลลังก์ผู้พิพากษาแต่มีความรู้ดั่งเด็กอนุบาล แต่ใช้อำนาจทางกฏหมายในการพิพากษาที่เกินกว่าเหตุ และยังได้ออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ต่อประชาชนอย่างไม่มีวิจาณญาณ”

ในขณะที่มีนักวิชาการบางคนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า กฏหมายว่าด้วยเรื่อง”มุฮารอบะฮ์ “ไม่ได้หมายความว่าต้องพิพากษาประหารชีวิตทุกกรณีและยังมีบางกรณีสามารถลดหย่อนโทษให้จำคุกตลอดชีวิตทำได้หรือนิรโทษกรรมด้วยดุลพินิจของศาล  ยกเว้นเสียแต่ว่าถ้าเขาผู้ก่อจลาจลนั้นได้ฆ่าผู้บริสุทธิ์โดยเจตนา จะออกคำพิพากษาให้ประหารชีวิตได้ แต่ถ้าเขาได้แค่เพียงข่มขู่หรือทำร้ายร่างกายเท่านั้น ไม่อนุญาติให้ตัดสินประหาร  นายมุรตะฎอ มุกตะดาอี กล่าว

วิเคราะห์

ตามกระแสสื่อตะวันตกได้พยายามมุ่งประเด็นของการตัดสินประหารชีวิตของผู้ประท้วงว่า”เป็นปรปักษ์ต่อพระเจ้า” และถ้าไปดูตัวบทของการการตัดสิน ศาลได้ใช้คำพิพากษาคำว่า” มุฮาริบ” (محارب) มีความหมายตามภาษาคือ “ผู้สร้างสงคราม” แต่ในภาษากฏหมายชะรีอะฮ์หรือในหลักนิติศาสตร์อิสลามและกฏหมายชะรีอะฮ์ได้กล่าวไว้ว่า “มุฮาริบ” คือบุคคลที่ได้ก่อความหวาดกลัวโดยติดอาวุธร้ายแรงในการทำร้ายประชาชน หรือมีเจตนาการสร้างความปั่นป่วนก่อการจลาจลเพื่อทำลายระบอบของรัฐและความมั่นคงให้กับรัฐ ไม่ว่าภาคพื้นดินหรือภาคพื้นทางทะเลหรือทางอากาศก็ตาม และการก่อจลาจบนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเมืองหลวงหรือในชนบท ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน โดยมีการเตรียมการติดอาวุธเพื่อทำสงครามกับรัฐและประชาชนผู้บริสุทธิ์ จนเกิดความหวาดกลัวต่อประชาชนเพื่อทำลายความมั่นคงแห่งรัฐและมาตุภูมิ

ส่วนสำนักคำฟัตวาห์ของนักการศาสนาได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “มุฮาริบ” คือ ผู้ที่ได้สร้างความเสียหายให้กับรัฐถะและประชาชนโดยการติดอาวุธเพื่อทำลายและสร้างความกลัว ส่วนมุฮาริบ และสำหรับผู้พิพากษาและอำนาจศาลสามารถจะเลือกจะตัดสินประหารชีวิตหรือจะจำคุกตลอดชีวิตโดยดุลพินิจ

ส่วนการนิยามตามกฏหมายอาญา คือ มีบุคคลหนึ่งคนหรือมากกว่าหนึ่ง ได้เตรียมอาวุธหรือติดอาวุธ โดยมีเจตตาการก่อจลาจลก่อความเสียหายแห่งรัฐ หรือมีเจตนาทำลายชีวิตและทรัพย์สินประชาชน และการกระทำนั้นยังทำลายระบอบความมั่นคงของชาติ หรือยังเตรียมอาวุธหรือจับอาวุธในการต่อต้านรัฐ เป็นต้นเหตุของการทำลายความมั่นคง

ดังนั้นเมื่อพิจารณาปรากฏการณ์ทางการเมืองวันนี้ของอิหร่านและการตัดสินประหารชีวิตบางรายของผู้ก่อจลาจลและผู้ก่อการร้ายร้ายนั้น จึงเห็นภาพอีกมุมหนึ่งว่ากฏหมายชะรีอะฮ์หรือกฏหมายอาญาของอิหร่านได้ตั้งอยู่บนหลักการทางศาสนา และการตัดสินใดๆผ่านการพิจารณาอย่างรอบด้านของผู้พิพากษาและศาล

ดังนั้นการประหารชีวิตของนักโทษทั้งสองของอิหร่านและรวมไปถึงนักฟุตบอลชื่อดังหรืออาจจะมีอีกนั้น ตั้งอยู่บนหลักนิติรัฐและรัฐธรรมนูญแต่ไม่ใช่ข้อหา”การตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับพระเจ้า”อย่างที่สื่อตะวันได้สร้างภาพร้ายให้กับอิหร่านอย่างแน่นอน หรือในอีกมุมของสื่อตะวันตกจะมองว่านั่นคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงก็ตาม.(ต่อตอนหน้า)

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *