การเลือกตั้งแบบตามก้นฝรั่ง กลการเลือกตั้งตามแบบไทย จะทำให้บ้านเมืองล่มจม
การเลือกตั้งแบบตามก้นฝรั่ง กลการเลือกตั้งตามแบบไทย จะทำให้บ้านเมืองล่มจม
การเลือกตั้งแบบฝรั่งนั้นพังหมดแล้ว ไม่ว่าอเมริกาหรืออังกฤษ เพราะไม่มีสัมฤทธิผลตามเงื่อนไขของประชาธิปไตย คือเลือกอย่างไรก็ได้แต่ผู้สมัครที่คนส่วนใหญ่ไม่เอา ขบวนการเลือกไม่เสรี ไม่ยุติธรรม ความเป็นตัวแทนทั่วถึงไม่บังเกิด มีสถิติที่ยืนยันพิสูจน์ได้ทุกกรณี
นอกจากนั้น ผลของการเลือกตั้งหรือประชามติยังทำให้ได้ผู้นำประเทศอย่างทรัมป์หรือได้ Brexit ในอังกฤษ อันเป็นเหตุให้ทั้งสองประเทศหลุดจากการเป็นผู้นำโลกอย่างสมบูรณ์ และนำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงสับสนจนถึงขั้นล้มละลายทางเศรษฐกิจสังคมและการเมือง
ตัวอย่างความล้าหลังและจุดอ่อนของการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษและอเมริกา
ระบบอังกฤษ
ประชากร 66 ล้านคน จำนวนส.ส. ทั้งหมด 650 คน อายุสภาหรือการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี
มีเขตเลือกตั้ง 650 เขต ใช้ระบบเขตเดี่ยว ลงคะแนนลับ หนึ่งคนหนึ่งเสียง แบบ first past the post หรือผ่านเส้นชัย คือใครได้คะแนนมากที่สุดแม้จะเกินที่สองเพียง 1 คะแนน ก็เป็นผู้ชนะได้รับเลือกตั้ง ( ผู้สมัครไม่บังคับสังกัดพรรค แต่สองพรรคใหญ่คือ Labour และ Conservative ผูกขาดในภาคปฏิบัติ พรรคที่ 3 คือพรรค Liberal Democrats (หลัง 2015 ถูกแซงโดยพรรค Scottish National Party และ UKIP หรือ UK Independence Party)
การเลือกตั้งระบบนี้ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งใหญ่หลายประการ ยกเพียง 3 ตัวอย่างคือ
1.ในระดับเขต ผู้ชนะเลือกตั้งคือผู้ที่ถูกปฏิเสธหรือไม่ได้รับการรับรองโดยเสียงส่วนมากเสมอ ได้แก่เสียงส่วนที่เลือกผู้สมัครรายอื่น บวกกับเสียงของผู้ไม่มาใช้สิทธิ์ ตัวอย่างเช่น ในเขตเลือกตั้งหนึ่งๆมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 5 ถึง 90,000 คน สมมุติว่าเขตมีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนน 49,000 คน มีผู้สมัคร 5 รายได้คะแนนเรียงกันดังนี้ 10,001-10,000- 9,999-9,600-9,400 ผู้ที่ได้รับเลือกถูกปฏิเสธหรือไม่รับรองโดยผู้ลงคะแนนถึง 38,999 เสียง ในด้านจิตวิทยากลุ่มผู้ที่ปฏิเสธจะมีความแข็งขันในการต่อต้านและเคลื่อนไหวมากกว่ากลุ่มผู้ลงคะแนนที่สมหวัง
2.พรรคที่ได้รับเลือกส่วนใหญ่ในสภามีแค่ 2 พรรค คือ Conservative กับ Labourได้ที่นั่งเกือบทั้งหมดตามตัวอย่างจริงในปัจจุบัน เปิดดูได้จากคลิปข้างล่างนี้ มีคำแปลบางตอนเพื่อความสะดวกดังนี้. “การเลือกตั้งของอังกฤษแบบ First Past The Post(คือใครได้ที่หนึ่งได้เก้าอี้เลย) ทำให้พรรคเล็กๆเสียเปรียบในระดับประเทศ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้พรรคที่มีฐานเสียงเป็นกลุ่มก้อนในบางเขตเบ่งบานขึ้นได้เหมือนกัน(ทั้งๆที่ไม่ได้ที่นั่ง) เช่นในการเลือกตั้งปี 2015 ซึ่งเป็นที่โต้เถีบงกล่าวขานกันอื้ออึงว่าทำไมพรรค UKIP กับพรรค Greens ซึ่งได้คะแนนเสียงรวมกันถึง 4.9 ล้านเสียง คิดเป็นเปอร์เซ็นถึง 12.6 %และ 3.8 % ตามลำดับ แต่กลับได้ที่นั่งในพรรคละ 1 คนเท่านั้นเอง หลังการเลือกตั้งบรรดาพรรคเล็กได้ยื่นข้อเรียกร้องมีผู้ลงนามถึง 477,000 คนขอให้นายกรัฐมนตรีปฏิรูประบบเลือกตั้งด่วน ”
The UK’s First Past the Post electoral system leaves small parties เช่disadvantaged on a UK-wide scale. It can, however, allow parties with concentrations of supporters in the constituent countries to flourish. In the 2015 election there was widespread controversy[1][2][3] when UKIP and the Green Party of England and Wales received 4.9 million votes[4] (12.6% of the total vote for UKIP and 3.8% for the Greens) yet only gained one seat each in the House of Commons. After that election, UKIP, the Liberal Democrats, and the Green Party of England and Wales, together with its Scottish and Northern Ireland affiliated parties, the Scottish National Party and Plaid Cymru, delivered a petition signed by 477,000[5] people to Downing Street demanding electoral reform.”
https://en.m.wikipedia.org/wiki/List_of_political_parties_in_the_United_Kingdom
https://www.ons.gov.uk/peoplepopulationandcommunity/elections/electoralregistration/bulletins/electoralstatisticsforuk
3.ผลของ 1+2 ก็คือสภาล่างอังกฤษเป็นสภาที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศปฏิเสธมาตั้งแต่วันเลือกต้ัง ดังนั้นจึงมีกำลังแฝงจากภายนอกที่ต่อต้านสภาและรัฐบาลมาตั้งแต่เริ่มต้น ไม่รู้ว่าจะมาจากที่ไหน เมื่อไรและเรื่องอะไร เห็นตัวอย่างได้จากการที่รัฐบาลแพ้การลงประชามติให้อังกฤษออกจากสหภาพยุโรป จนนายกรัฐมนตรีต้องลาออก และเกิดวิกฤตต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้. อีกอย่างหนึ่ง ผู้สนับสนุนของพรรคเล็กซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องที่นั่ง พรรคเหล่านี้ทุกๆพรรคมักจะมีความเข้มข้นและมีนโยบายเพียงหนึ่งอย่างที่เป็นความต้องการของยุคสมัย เช่นพรรคGreen ก็เน้นหนักเฉพาะสิ่งแวดล้อม ซึ่งมักจะขัดกับพรรคใหญ่ที่จำต้องสมยอมกับนายทุนอุตสาหกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นต้น. การลงคะแนนในสภานั้นทุกครั้งจะต้องมีส.ส.ข้ามฝั่งหรือ cross the floor ไปเข้ากับฝ่ายตรงกันข้ามเสนอ เช่นฝ่ายรัฐบาลไปเข้ากับฝ่ายค้านและกลับกัน ซึ่งผู้แทนได้รับความคุ้มครองเต็มที่ไม่มีผู้ใดมากล่าวหาว่าไร้วินัยอย่างของไทย และพรรคจะลงโทษอย่างใดหาได้ไม่ ดังนั้นการลงคะแนนในพรรค ในสภาและในประชามติของอังกฤษจึงเป็นเรื่องที่คุมยาก และส่งผลให้เกิดวิกฤตน้อยใหญ่เสมอ เช่นเรื่อง Brexit ดังที่กล่าวมา จะทำให้นายกรัฐมนตรีอ่อนปวกเปียก ในที่สุดจะไปไม่รอด จับตาดูอังกฤษตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะเห็นวิกฤตต่างๆมาเป็นระลอกๆ เช่นรัฐมนตรียกโขยงลาออก สมาชิกพรรคไม่ไว้วางใจหัวหน้าพรรคหรือรัฐบาลของตนเองเป็นต้น ทั้งหลายทั้งปวงเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมของระบบเลือกตั้งทั้งสิ้น จนกระทั่งตอนนี้อังกฤษซึ่งเคยเรืองอำนาจในโลก ได้กลายเป็นคนป่วยของยุโรปไปเสียแล้ว เพราะประเทศมีปรากฎการณ์. รัฐบาลแตก พรรคแตก และประเทศแตก จากพาดหัวของ น.ส.พ. Guardian ในคลิปนี้https://www.theguardian.com/politics/2018/nov/14/theresa-may-wins-cabinet-backing-for-brexit-dea
ดังนั้น คนไทยไทยคิดดีแล้วหรือที่จะตามก้นคสช. ที่ถูกฝรั่งจูงจมูก จนประเทศจะต้องแตกแบบอังกฤษ
ระบบอเมริกัน
อเมริกามีประชากร 325.7 ล้านในปี 2017 มีจำนวนส.ส.ทั้งสิ้น 450 คน ไม่มีการยุบสภาแต่ส.ส.หมดวาระ ต้องเลือกตั้งใหม่ทุกๆ 2 ปี
เบื้องต้น ผมอยากให้เราเปรียบเทียบจำนวนประชากรกับจำนวนส.ส ของอังกฤษกับอเมริกาอเมริกามีประชากรมากกว่าอังกฤษถึง 260 ล้านคนหรือโตกว่า 5 เท่ากลับมีผู้แทนเพียง 450 คนน้อยกว่าอังกฤษถึง 200 คน นับหยาบๆสัดส่วนผู้แทนต่อประชากรของอมริกาเท่ากับ 1 ต่อ 723,777 คน ของอังกฤษเท่ากับ 1 คนต่อ 101,538 คน. แต่ทว่าเขตเลือกตั้งจริงๆเล็กกว่านั้นเพราะนับเฉพาะผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นหลัก ในอเมริกาเขตเลือกตั้งทั้ง450 เขตมีขนาดเท่ากับผู้มีสิทธิ์ประมาณ 600,000 ถึง 800,000 คน ในอังกฤษ 650 เขต ผู้มีสิทธิประมาณ 50,000 ถึง90,000 คน.
ขอยกตัวอย่างจริงของผู้สมัครที่โด่งดังที่สุดของทั้งสองประเทศดังนี้
อเมริกา
Nancy Pelosi อดีตและอนาคตประธานสภาผู้แทนฯสหรัฐอเมริกา เขตเลือกตั้งที่ 12 รัฐคาลิฟอร์เนีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2016 Pelosi ได้ถึง 274,035 คะแนนนับเป็น 81% ของผู้มาลงคะแนนกว่าสามแสนสี่หมื่นคน นับเป็นชัยชนะครั้งที่ 16 ของเธอ Pelosi เป็นผู้แทนครั้งแรกในปี 1987. ตัวอย่างของPelosi เป็นกรณีที่สุดโต่ง เพราะเธอได้คะแนนเสียงสูงเป็นพิเเศษ สำหรับเขตเลือกตั้งอื่นๆส่วนมากก็มีขนาดใกล้เคียงกัน ผู้ชนะเลือกตั้งอื่นๆมักจะได้คะแนนประมาณ 50 ถึง 65 % ที่ต่ำกว่า 50 % ก็มีไม่น้อย ในบางรัฐไม่ยอมใช้ระบบเลือกตั้งแบบ first past the post หรือขนะที่ 2 เพียง 1 คะแนนก็ได้เป็นส.ส. แต่บังคับให้ต้องได้ majority หรือเสียงมากกว่าครึ่งขึ้นไป จึงจัดให้มีการ run off หรือเลือกใหม่เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนที่ 1 กับที่ 2 หรือบางครั้งที่ 3 ด้วยถ้าคะแนนถึงเก็ณฑ์ ทั้งนี้เพื่อจะให้ได้ผู้ชนะที่คะแนนเกินกว่าครึ่ง ผมขอเสริมว่าอเมริกาไม่มีกกต.ที่มาจุ้นจัดการเลือกตั้ง นอกจากวันเลือกตั้งที่ต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วประเทศในวันอังคารหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนแล้ว แต่ละรัฐมีอำนาจที่จะออกกฎหมายจัดการเลือกตั้งไม่ว่าจะว่าด้วยการหาเสียง การลงคะแนน การนับคะแนนหรือแม้แต่แบบบัตรลงคะแนนรัฐใดจะออกแบบอย่างใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ถ้าเป็นกกต.บ้านเราคงงงตาแตกและประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะทั่วประเทศก็อาจจะเป็นได้ นี่ก็เป็นการเลือกตั้งสภาล่างของอเมริกาที่เป็นสาธารณรัฐและมีการปกครองระบอบประธานาธิบดี มิใช่เป็นราชอาณาจักรที่เป็นระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ การเลือกตั้งของอเมริกันจึงไม่มีเดิมพันตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเหมือนอังกฤษ อเมริกันนั้นเลือกประธานาธิบดีทุกๆ 4 ปีในวันอังคารหลังวันจันทร์แรกเหมือนกัน เป็นการเลือกต่างหากจากฝ่ายนิติบัญญัติ การเลือกตั้ง 2 ปีหลังของ 4 ปีจึงไม่มีการเลือกประธานาธิบดี มีแต่การเลือกส.ส.,วุฒิ,ผู้ว่าฯ และท้องถิ่น เรียกว่าเป็นการเลือกตั้งกลางเทอม (midterm election) ครั้งล่าสุดเพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกา 2018 นี้
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Nancy_Pelosi
อังกฤษ
ผู้สมัคร Theresa May นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งอาจจะตกเก้าอี้และหมดอนาคตการเมืองลงได้ทุกเมื่อตั้งแต่วันนี้ เพราะรัฐมนตรีทะยอยลาออกประท้วงเธอและผู้แทนในพรรคของเธอเองกำลังขู่ว่าจะยื่นญัตติไม่วางใจนายกรัฐมนตรี วิกฤตรัฐบาลและวิกฤตประเทศทั้งนี้สืบเนื่องเชื่อมโยงมาจากประชามติ Brexit ที่รัฐบาลพรรคนางโดยนายกรัฐมนตรีDavid Cameronเป็นผู้นำเสนอจนเกิดความผิดพลาดต้องลาออกไป เปิดโอกาสให้นางขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีแทน
Theresa May ได้รับเลือกครั้งแรกในปี 1997 หลัง Nancy Pelosi 10 ปีพอดี ใช้เวลาในสภา 19 ปีก็ได้เข้าครอบครองทำเนียบหมายเลข 10 Downing Street แบบคาดไม่ถึง. และนางก็ต้องประสบมรสุมการเมืองตั้งแต่วันแรกจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ นับว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่โชคร้ายที่สุด
ข้างล่างนี้เป็นข้อมูลทางการเมืองเกียวกับ Theresa May ซึ่งท่านสามารถเปิดดูได้ด้วยเอง
ส่วนผลการเลือกตั้งของเธอนั้น ผมเลือกเฉพาะตารางข้อมูลรายงานการเลือกตั้งในครั้งแรกมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เปรียบเทียบกับการเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งของ Pelosi ในอเมริกา
หลังจากสอบตกมา 3 สมัย Theresa May ได้ประเดิมตำแหน่งในปี 1997 ในเขตเลือกตั้งใหม่ชื่อ Maidenhead มีผู้มาใช้สิทธิ์ 50,889 คนนับเป็น 75.6% ซึ่งค่อนข้างสูงกว่าทั่วไป อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นเขตเลือกตั้งใหม่เอี่ยมเปิดครั้งแรก Theresa มาเป็นที่หนึ่งได้ 25,344 คะแนน หรือ 49.8 % ผู้สมัครอีก 6 คน ได้คะแนนรวมกัน 25,545 มากกว่าเธออยู่ 201 คะแนน ถือว่าเป็นชัยชนะอย่างงดงาม ในตารางเขียนผิดว่าเธอได้ majority11,981 ความจริงไม่ใช่ majority แต่เป็น margin ที่เธอชนะคนที่ 2
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Theresa_May//en.m.wikipedia.org/wiki/Maidenhead_(UK_Parliament_constituency)https://en.m.wikipedia.org/wiki/Theresa_May
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Conservative_Party_(UK)_leadership_election,_2016
ที่ผมเขียนมายืดยาวแบบนี้ เพราะอยากจะให้มองเห็นภาพ เข้าใจและเกิดทัศนะเปรียบเทียบว่าของใครเป็นอย่างไร อย่างใดใช้ได้ อย่างใดใช้ไม่ได้ เราไปลอกอะไร เขามาอย่างไร มีเหตุผลและกฎเกณฑ์อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนส.ส.ต่อพลเมือง เลือกเขตเลือกตั้ง เลือกระบบเลือกตั้ง เราลอกเขามาแบบตาบอดคลำช้างทั้งสิ้น รวมทั้งกฎเกณฑ์เผด็จการที่จะลองเชิงให้กกต.กำหนดเขตและเปลี่ยนแปลงเขตได้แต่ผู้เดียวทั้งเงื่อนไขและเงื่อนเวลา ซึ่งฝรั่งเขาทำไม่ได้ ของเราเก่งกว่าฝรั่งเรื่องเอาของดีเขามาอ้างเพื่อทำเลว
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าอเมริกากับอังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคเหมือนกัน อะไรๆก็คงจะเหมือนกัน ซึ่งไม่จริงเลย และอาจจะจริงอยู่ข้อเดียวคือโอกาสที่พรรคเล็กพรรคน้อยเสียเปรียบสุดๆจนยากที่จะเกิดได้ ทั้งนี้เพราะระบบเลือกตั้งไม่ยุติธรรม. ข้อเท็จจริงก็คือโครงสร้างและระบบพฤติกรรมของพรรคการเมืองอเมริกากับอังกฤษต่างกันโดยสิ้นเชิง