jos55 instaslot88 Pusat Togel Online เชื่อไหมฆ่าสัตว์”บูชายัญ”ยังคงมีอยู่ในโลก - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

เชื่อไหมฆ่าสัตว์”บูชายัญ”ยังคงมีอยู่ในโลก

สบาย สบาย สไตล์เกษม

เกษม อัชฌาสัย

เชื่อไหมฆ่าสัตว์”บูชายัญ”ยังคงมีอยู่ในโลก

ตกใจไม่น้อยละครับ ที่ได้ข่าวว่า ยังคงมีพิธีฆ่าสัตว์ เพื่อใช้เลือดและเนื้อบูชาเทพเจ้า หลงเหลืออยู่บนโลกอันศิวิไลใบนี้ ทั้งๆที่พิธีกรรมที่ว่า น่าจะหมดไป นับตั้งแต่เกิดศาสนาต่างๆ ขึ้นมากำกับพฤติกรรมอันป่าเถื่อนของมนุษย์กว่าพันปีแล้ว แต่ ณ วันนี้กลับมาโผล่ที่เนปาล

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อตั้งแต่วันอังคารที่ ๓ ธันวาคม ได้มีจัดการฉลองเทศกาล”คฒิมาอี” Gadhimai festival ขึ้นที่หมู่บ้าน”ปาริยารปูร์”ในเนปาล ห่างจากเมืองหลวง”กาฏมาณฑุ”ไปทางใต้ราว ๑๖๐ กิโลเมตร ติดพรมแดนรัฐพิหารของอินเดีย แม้ว่าศาลสูงเนปาลจะสั่งห้ามจัดเทศกาลนี้ มาตั้งแต่ปี ๒๐๑๕ และกลุ่มรณรงค์พิทักษ์สิทธิสัตว์จะออกมาต่อต้นและคัดค้านสักเท่าไร ก็ไม่มีใครเชื่อฟัง

ในเทศกาลนี้ จะมีการทำพิธีฆ่าสัตว์เลี้ยงต่างๆ อาทิ ควาย หมู แพะ ไก่หรือแม้แต่หนู รวมแล้วนับหมื่นๆ ตัว(แน่ละจะต้องไม่มีวัว-พาหนะของพระศิวะ”)เพื่อสังเวยแด่เทพเจ้าต่างๆ ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู ด้วยความศรัทธาว่าเทพเจ้าเหล่านี้ จะดลบรรดาลความมั่งมีศรีสุขและโชคลาภให้บังเกิดขึ้น ทั้งยังจะช่วยยับยั้งสิ่งเลวร้าย ที่อาจเกิดต่อผู้ที่ร่วมประกอบพิธีกรรม ซึ่งหมายถึงผู้ที่นำสัตว์ต่างๆ ไปร่วมสังเวยและแม้แต่ผู้ไปร่วมพิธีกรรมแต่ไม่ได้สังเวยชีวิตสัตว์

ในปีนี้ มีผู้คนไปที่นั่นมากเท่าไร ยังไม่อาจบอกได้ แต่ครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๐๑๔ มีราว สามล้านคน ที่พากันไปกินนอนเพื่อร่วมเทศกาลที่นั่น ในเทศกาลที่จะมีขึ้นทุกๆ ห้าปี

คนที่ไป นอกจากจะเป็นชาวเนปาลด้วยกันแล้ว ก็ยังมีผู้ศรัทธาจากรัฐพิหารและรัฐอุตตรประเทศของอินเดีย(ที่สั่งห้ามจัดเทศกาลนี้เด็ดขาด) แห่กันข้ามแดนไปร่วมด้วย หมายได้ความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต

ในวันประกอบพิธีบูชายัญนั้น นักบวชที่ได้รับมอบหมาย ลงมือเจิมหน้า”มือฆ่า”ราว ๒๐๐ คน ที่พกพามีดอันคมกริบขนาดต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสังหารสัตว์ตามความเหมาะสม ก่อนจะลงไปในพื้นกว้างใหญ่ ล้อมรั้วแน่นหนา ซึ่งใช้เป็นสถานที่ต้อนสัตว์เข้าไปทยอยฆ่า

ไม่มีรายงานชัดเจนว่า เนื้อสัตว์ต่างๆเหล่านี้จะนำไปบริโภคหรือไม่ หลังพิธีสังเวยด้วยเลือดเนื้อสัตว์บางส่วนให้แก่เทพเจ้า

เรื่องการฆ่าสัตว์บูชายัญนั้น แท้ที่จริงแล้ว ยังมีอยู่เงียบๆ ในศาสนายูดายและศาสนาอิสลาม ซึ่งจะเล่าต่อหลังจากเล่าถึงความเป็นมาของการบูชายัญ ก่อนหน้าที่บรรดาศาสนาสากลจะบังเกิดขึ้น

เริ่มแรกที่มีสังคมมนุษยชาติ ก็มีการบูชายัญแล้ว ตามความเชื่อต่างๆ ด้วยการนับถือภูติผีปิศาจ ตลอดจนสัตว์ร้าย หรือพลังจากธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งถูกยกขึ้นเป็นเทพเจ้าต่างๆ โดยวัตถุประสงค์ให้ช่วยปกป้องความชั่วร้ายหรือช่วยดลบรรดาลให้เกิดความสุขความเจริญ ด้วยการสังเวยด้วยวัตถุสิ่งของ ผลหมากรากไม้ หรือด้วยชีวิตสัตว์หรือแม้แต่ชีวิตมนุษย์

โดยเฉพาะการฆ่ามนุษย์บูชายัญ มีแทบจะในทุกสังคมโลก ไม่ว่าจะเป็นในอาฟริกา ในเอเชีย ในยุโรป ในละตินอเมริกา

ความเชื่อเหล่านี้ ได้พัฒนามาเป็นความศรัทธาที่มีต่อศาสนาต่างๆ ซึ่งหยุดฆ่ามนุษย์ แต่ก็ยังฆ่าสัตว์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นในศาสนาฮินดู ศาสนายูดายและศาสนาอิสลาม

เหตุการณ์ฆ่าบูชายัญในศาสนาฮินดู ตัวอย่างก็คือ เรื่องเกิดขึ้นในเนปาล แต่ส่วนใหญ่แล้วชนชาวฮินดูทั่วไปจะบูชาเทพเจ้าด้วยนม เนย และธัญพืช

ในศาสนายูดายหรือศาสนายิวนั้น การฆ่าสัตว์บูชายัญกระทำกันในหมู่“ออร์โธดอกซ์ ยิว”(ชาวยิวที่นับถือตามคำสอนในบัญญัติ ๑๐ ประการอย่างเคร่งครัดนับแต่”โมเสส”ได้อัญเชิญคำสั่งสอนของพระเจ้า ลงมาจากภูเขาไซนาย)เสียเป็นส่วนใหญ่

ผมเคยเดินทางไปโมร็อกโก ไปพบว่าชาวยิวที่นั่น(ที่เมือง”อาซีละห์”)ก็ยังคงทำบูชายัญแกะ ซึ่งเขาเรียกพิธีนี้ว่า”กอร์บาน” Korban ส่วนใหญ่ของเนื้อสัตว์นำเอาไปปรุงเป็นอาหารเลี้ยงกันในหมู่เครือญาติ มีบางส่วนมอบให้นักบวชที่เรียกว่า”โคเฮน”และอีกบางส่วนนำไปเผาบนแท่นบูชา

ในศาสนาอิสลาม ก็เรียกว่า”กุรบาน”หรือ”กุรบ่าน”ซึ่งมาจากตำนานเดียวกับกับศาสนายูดายที่ว่า”อิบรอฮีม” (ในศาสนายูดายเรียก”อับราฮัม”) พยามเชือดลูกชาย“อิสมาอีล” (ยูดายเรียก”อิชเมล”)เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าคือ”อัลลอฮ์”ที่ทรงสั่งให้ทำ แต่เชือดไม่เข้า ในที่สุด พระเจ้าทรงสั่งให้เทวทูตนำเอาแกะมาให้เชือดแทนโดยทรงบอกยกเลิกและว่านั่นเป็นการทดสอบความศรัทธา

นี้คือที่มาของการทำ”กุรบาน”ในตรุษอีดิลอัฏฮา โดยมีวัตถุประสงค์คือ แจกจ่ายเนื้อสัตว์แก่ญาติพี่น้องแลคนยากคนจน เพื่อนำเอาไปบริโภค ก็จะได้กุศลบุญจากการทำ”ทาน”นั้น

ที่เขียนเล่ามาทั้งหมดนี้ เนื่องจาก ณ มีอาการเบื่อหน่ายเรื่อง”การเมือง”มากครับ ไม่ว่าเรื่องในต่างประเทศหรือเรื่องในประเทศ ซึ่งมีแต่ความซ้ำซาก แถมทะเลาะกันไม่หยุด ระหว่างพรรคต่างๆ

จนนายกรัฐมนตรีต้องออกมาปรามแรง ตามประสา”ทหารเก่า” ซึ่งก็ทำให้ผมยิ่งเครียดมากขึ้น

แต่ไม่แน่นะครับ ในคราวหน้า อาจเขียนเรื่องการเมืองแรงๆ สักหนหนึ่ง คงจะช่วยคลายความคับข้องใจได้ไม่มากก็น้อย

 

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *