jos55 instaslot88 Pusat Togel Online อนาคตประเทศไทยหลังเลือกตั้ง - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

อนาคตประเทศไทยหลังเลือกตั้ง

รองศาสตราจารย์กิจบดี  ก้องเบญจภุช

 

การเลือกตั้งทั่วไปของไทยในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นครั้งแรกที่พรรคการเมืองต่าง ๆ เสนอชื่อผู้ที่พรรคการเมืองของตนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี… ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าช่วงชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นจำนวนมาก… แต่ในความเป็นจริงจะมีผู้ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับความสนใจ และเมื่อได้พิจารณาคุณสมบัติของผู้เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ แต่ละคน มีความรู้ประสบการณ์ อายุ และทัศนคติ มีความแตกต่างกันอยู่มาก… ดูแล้วไม่น่าจะยากลำบากในการตัดสินใจ… แต่องค์ประกอบอื่นก็เป็นตัวแปรที่สำคัญไม่น้อย

กลุ่มแรก… เรื่องทัศนคติ… หากได้ศึกษาจากสื่อต่าง ๆ แล้ว จะพบว่าสังคมไทยยังมีความแตกแยกอย่างรุนแรง… การแบ่งพวกแบ่งฝ่ายยังคงมีอยู่ในสังคมไทยอย่างเหนียวแน่น… และแต่ละฝ่ายมีจำนวนมาก… กลุ่มนี้จะเห็นฝ่ายตรงข้ามทำอะไรเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ขาดเหตุผล… เศรษฐกิจก็ไม่ดีหากินไม่คล่อง ก็ด่ากันไป แท้จริงแล้ว 86 ปีของระบอบประชาธิปไตยไทย ไม่มีเศรษฐกิจรัฐบาลใดดีเป็นพิเศษ เป็นไปตามกลไกทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ… ไม่มีรัฐบาลใดเศรษฐกิจดีกว่ารัฐบาลอื่นอย่างยั่งยืน ประชาชนร่ำรวยทั่วหน้าสักสมัยหนึ่ง… นอกจากราคาคุยของแต่ละรัฐบาลที่นำเอาแต่สิ่งที่ดีมาพูด สิ่งที่ไม่ดีก็เงียบ… ประชาชนถูกหลอกมาตลอด 86 ปีของระบอบประชาธิปไตย… บางรัฐบาลราคายางสูงขึ้นไปตามกลไกของตลาดโลก… พอรัฐบาลต่อมาราคายางตกเพราะกลไกตลาดโลกเปลี่ยนแปลงไป… เอาใครมาเป็นรัฐบาลก็แก้ไม่ได้… นี่คือความจริง… แต่แทนที่จะช่วยกันแก้ไข นักการเมืองกลับนำเอามาโจมตีกัน… ประชาชนเองก็เรียกร้องให้ราคาสูงขึ้นเหมือนเดิม… นี่คือสังคมไทย… หรือกรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยหนึ่งเป็นรัฐบาลของฝ่ายตนคุยโม้โอ้อวดว่าเก่ง ทำให้เศรษฐกิจดี… ต่อมาอีกสมัยหนึ่งมาเป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังของฝ่ายตรงข้าม… ด่าว่าเศรษฐกิจแย่

ถ้าสังคมไทยยังใช้ทัศนคติส่วนตัวที่ไม่คิดถึงประเทศชาติโดยรวมก็ยากยิ่งที่สังคมไทยจะสงบ… เพราะเมื่อหลังการเลือกตั้งไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็จะเปิดประเด็นความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง… ยั่วยุให้เกิดความแตกแยก… ลักษณะนี้ประเทศไทยอาจจะเป็นเหมือนประเทศซีเรียเข้าสักวัน… เข้าตำราที่ว่า… ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา

กลุ่มที่ 2… เป็นกลุ่มอยากลองของใหม่… กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอายุน้อยต่ำกว่า 40 ปี… ส่วนใหญ่ยังไม่เข้ากับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีความขัดแย้ง… เป็นกลุ่มที่ต้องการลองคนใหม่ ๆ โดยที่ไม่พิจารณาความรู้ความสามารถประสบการณ์ ความเป็นผู้นำของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี… แต่ดูจาก คำว่าประชาธิปไตย… โดยไม่ได้ศึกษาเลยว่าจริงตามที่ผู้แข่งขันเป็นนายกรัฐมนตรีพูดหรือไม่… นึกเพียงว่าให้คนรุ่นใหม่ลองดูบ้าง… โดยที่ไม่ได้คิดว่าประเทศชาติเป็นสิ่งที่ไม่ควรนำมาทดลอง… คนกลุ่มนี้… ไม่รู้จักไม่เคยเห็นสงครามคอมมิวนิสต์… ไม่รู้จักสงครามประชาชน… ความคิดความรู้สึกที่ขาดความรู้ความเข้าใจจะนำไปสู่ความหายนะของประเทศ… และความเดือดร้อนของตัวเอง… เพราะตลอดระยะเวลา 86 ปีที่ผ่านมา… ไม่มีรัฐบาลใดดีเลิศ… ซึ่งความจริงแล้วเหมือน ๆ กันทุกรัฐบาล… ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง… ระวังจะเป็นกบเลือกนาย

กลุ่มที่ 3… เป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจในทางการเมืองมองเห็นประโยชน์ของชาติและส่วนรวม…  มีจำนวนใกล้เคียงกับกลุ่มที่ 2… กลุ่มนี้มีความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์การเมือง อยู่ในเหตุการณ์ทางการเมืองที่เห็นความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร… มีเหตุผล… จะไม่เข้าไปอยู่ในความขัดแย้งของกลุ่มใด… มองเห็นปัญหาและประโยชน์ของประเทศโดยรวม… เข้าใจวาทกรรมของนักการเมืองว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้… อะไรจะนำไปสู่ปัญหาของชาติ

หลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาล จะเกิดวาทกรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้เกิดประเด็นของความขัดแย้ง… และประเด็นต่าง ๆ เหล่านั้นเกิดจากกลุ่มแรกฝ่ายที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล… เพื่อให้เกิดความเกลียดชังรัฐบาลใหม่ว่าได้อำนาจมาไม่ชอบไม่ทุจริต และจะเกิดความวุ่นวายปั่นป่วนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลใหม่จะทำอย่างไร

ถ้าพิจารณาจากสถานการณ์การเลือกตั้งครั้งนี้จะเหมือนกับการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 ไม่มีผิดกันเลย…?

ย้อนกลับมาพิจารณาการเมืองไทยตลอด 86 ปี ที่ผ่านมาจะพบว่า… รัฐบาลทุกรัฐบาลบริหารประเทศได้ไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง… แต่ทุกรัฐบาลใช้วาทกรรมสร้างค่านิยมให้กับพรรคหรือรัฐบาลของตนด้วยข้อมูลที่บิดเบือน โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของชาติ

ช่วงปี พ.ศ. 2475-2500 เป็นการแย่งชิงอำนาจกันเองระหว่างคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองฝ่ายหนึ่งเป็นทหารอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพลเรือน… โดยฝ่ายทหารยึดแนวทางของระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข… ฝ่ายพลเรือนอ้างประชาธิปไตยแต่จะนำแนวทางของระบอบคอมมิวนิสต์มาใช้ในประเทศไทย… สุดท้ายทหารถูกกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการ ทั้ง ๆ ที่ปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข… แต่ฝ่ายพลเรือนที่จะนำระบอบคอมมิวนิสต์มาใช้ในประเทศไทยกลับเป็นพระเอกได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประชาธิปไตย… ทั้งนี้เพราะ ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสถานศึกษา… และกลุ่มคนบางกลุ่มจึงเอาจุดนี้มาเป็นประเด็นปลุกระดมทางการเมืองตลอดมา… อยากให้กลับไปค้นคว้าข้อเท็จจริงประวัติกบฏวังหลวง… ไม่เคยเอาจุดอื่นมาพูดให้ประชาชนเห็นข้อเท็จจริง จึงได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน… คือ ฉนวนความวุ่นวายของสังคมไทยมาจนปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2500-2523 กลุ่มต่าง ๆ นำเอาเรื่องบางเรื่องมาใส่ร้ายทหาร… แต่ไม่พูดข้อเท็จจริงทั้งหมด… พูดกันแต่ว่าทหารทำการยึดอำนาจ… ทหารทำการรัฐประหาร… ทหารเป็นเผด็จการ… ทหารทำร้ายประชาธิปไตย… คนรุ่นหลังก็เชื่อตามนั้นเพราะไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไรตลอดระยะเวลาหลายสิบปี… แท้จริงแล้วทหารทำการยึดอำนาจก็ดี รัฐประหารก็ตาม… ก็เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้คงอยู่… ให้ประชาชนมีประชาธิปไตย… มิฉะนั้นแล้ว ประเทศไทยคงกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์… รบกันเอง ตายเป็นสิบล้านคน เช่น เขมร ลาว เวียดนาม เกาหลี… ไม่มีใครเคยพูดความจริง… แล้วกลุ่มคนที่ทำร้ายทหาร ก็คือนักวิชาการบางคน และพวกสนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์และพวก… นิยมคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองฝ่ายที่เป็นพลเรือน… ไม่มีใครชื่นชมทหารว่ารักษาระบอบประชาธิปไตยรักษาแผ่นดิน… คนที่ไม่รักประเทศชาติไม่มีใครเป็นทหาร… เพราะเสี่ยงตาย

ช่วงปี พ.ศ. 2523 ถึงปัจจุบัน นักการเมืองและกลุ่มทุนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง… หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ หลอกประชาชนเข้ามามีอำนาจแล้วเอาเงินของประชาชนไปเป็นของตนเองและแบ่งส่วนน้อยให้ประชาชน… ทหารเข้ามาแก้ไขปัญหาก็ถูกมองว่าเข้ามาแสวงหาอำนาจ… มันน่าเศร้า… เพราะทหารไม่อธิบายไม่ชี้แจง… ประกอบกับนักวิชาการ นักการเมืองที่เข้ามาช่วยทหาร ในด้านต่าง ๆ ใช้โอกาสนี้สนับสนุนให้ทหารสืบทอดอำนาจ… ไม่ต่างอะไรกับเห็บหมา… และเมื่อดูจากประวัติศาสตร์การเมืองของโลก… ไม่มีประเทศใดที่การสืบทอดอำนาจของทหาร จะทำได้สำเร็จตลอดรอดฝั่ง สุดท้ายบาดเจ็บ ล้มตาย… เห็บหมาก็โดดหนีไปเกาะที่อื่นต่อไป… เป็นเช่นนี้ทุกยุคทุกสมัย

อนาคตประเทศไทยหลังเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 จะเป็นอย่างไร…?

คงไม่ต่างจากหลังการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 !

 

อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *