jos55 instaslot88 Pusat Togel Online การเมืองอิสลามยุคใหม่กับความท้าทายและความหวัง - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

การเมืองอิสลามยุคใหม่กับความท้าทายและความหวัง

การเมืองอิสลามยุคใหม่กับความท้าทายและความหวัง

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

ดูเหมือนว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และการเมืองกลายเป็นส่วนหนึ่งวิถีชีวิตผู้คนไปเสียแล้ว เป็นการสะท้อนย้อนคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องของคนที่ควรใส่ใจและเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังเคราะห์โดยหลักคิดทางปัญญาและปรัชญาเพื่อจะได้แยกแยะระหว่าง”การเมืองแท้กับการเมืองเทียม”

ถ้าย้อนดูแนวคิดทางการเมืองที่ได้ถูกถ่ายทอดจากนักคิดหรือนักปรัชญาการเมือง ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการความคิดใจเชิงปรัชญา(Philosophy)และญาณวิทยา(Epistemology)  เพราะว่าจากการยึดกรอบความคิดที่ยึดหลักปรัชญาจะส่งผลสะท้อนว่าระบอบการเมืองนั้นไปในทิศทางใด   ดั่งตัวอย่างจากแนวคิดทางปรัชญาการเมืองอบูนัศร์ อัลฟารอบี(Al-Farabi)  ที่ได้ถ่ายทอดออกมาอย่างแหลมคมภายใต้หลักญาณวิทยาและภาววิทยา(Ontology)  ซึ่งผ่านกรอบชุดความคิดในเรื่อง”ผู้นำที่ดี” ระบอบการปกครองนครแห่งอารยะ”(อัลมะดีนะฮ์อัลฟาฎิละฮ์)

วันนี้ปรัชญาการเมืองยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern political philosophy) ถูกนำมาถกเถียงและพูดถึงอย่างกว้างขวางในแวดวงนักวิชาการ  เป็นปรัชญาการเมืองที่พัฒนาขึ้นมาภายใต้แนวคิดทฤษฎียุคหลังสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ในฐานะที่เป็นผลมาจากการวิพากษ์ความรู้แบบสมัยใหม่ (modern) ในสังคมตะวันตก นักปรัชญาที่สำคัญที่เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดในยุคนี้ ได้แก่ ฟูโก(Michel Foucault) แดร์ริดา (Jacques Derrida) ลีโยตาร์ด (JeanFrancois Lyotard) เดอเลิซ (Gilles Deleuze) และร็องซีแยร์ (JacquesRanciere) นักปรัชญาเหล่านี้แม้จะไม่ได้อธิบายในเรื่องของการเมืองการปกครองไว้โดยตรง แต่ผลงานของนักปรัชญากลุ่มนี้ก็มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อแนวคิดทางการเมืองการปกครองในช่วงปลายศตวรรษที่ 20และช่วงต้นศตวรรษที่ 21 อย่างน่าสนใจ และมีประเด็นถกเถียงทางปรัชญาการเมืองระหว่างการเมืองแบบอิสลามกับการเมืองแบบเซคคิวลาร์(Secularism) อย่างน่าสืบค้นทีเดียว

อะลี บินอะบีตอลิบ(อ) คอลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรมได้กล่าวว่า

“จงรู้เถิดว่า แท้จริงการปกครองที่อยู่ในมือของเจ้า ไม่ใช่เป็นดั่งอาหาร(ที่เจ้าคอยจะกินมัน) แต่ทว่ามันคือ หน้าที่ความรับผิดชอบ(อะมานะฮ์)ที่อยู่เหนือคอหอยของเจ้าต่างหาก และเจ้ามีหน้าที่ต้องดูแลสำหรับผู้ที่เจ้าอยู่เหนือพวกเขา โดยให้เกิดความยุติธรรมและรักษาสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน และอย่าให้ตัวของเจ้าเป็นผู้ใช้อำนาจปฏิบัติต่อประชาชนตามอำเภอใจอย่างเด็ดขาด”(สาส์นฉบับที่ ๕ นะญุลบะลาเฆาะฮ)

“พวกเจ้าจงปฏิบัติกับประชาชนด้วยความยุติธรรมเถิด โดยการให้สิทธิอันชอบธรรมแก่พวกเขาและจงอดทนต่อความยากลำบากของพวกเขา เพราะพวกเจ้ามีหน้าที่ต้องดูแลรักษาสิทธิของพวกเขา”(สาส์นฉบับที่ ๕๐ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์)

ปัจจุบันปรากฏการณ์ทางการเมืองได้ท้าทายและกำลังทำลายทั้งหลักการทางการเมืองที่ควรจะเป็นไปตามหลักปรัชญาและญาณวิทยาด้วยเหมือนกัน ดังนั้นการเข้าถึงด้านข่าวสารของประชาชนในส่วนต่างๆ ของโลกโดยการสื่อสารผ่านสื่อทันสมัย ทำให้คนทั้งโลกมองการเมืองออกไปหลายด้าน บ้างก็มองบวก บ้างก็มองลบ ยกตัวอย่างการเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนวันนี้ ถือว่าสื่อมีบทบาทมากต่อการสร้างความเข้าใจแก่ผู้คน การโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายขั้วอำนาจก็ยังมีอิทธิพลต่อชาวโลกเลยต้องทำให้เราควรมานั่งทบทวนวาทกรรมทางการเมืองกันใหม่แล้วสังเคราะห์โดยใช้หลักภาววิทยาและญาณวิทยา

แนวคิดทางการเมืองของฌาคส์ร็องสิแยร์ (Jacques Ranciere)ถือว่าเป็นปรัชญาการเมืองหลังยุคใหม่ที่นักรัฐศาสตร์ให้ความสนใจไม่น้อย  ร็องซีแยร์ ถือว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องของการเลือกตั้ง ไม่ใช่การช่วงชิงอำนาจรัฐหรือการแก่งแย่งผลประโยชน์ แต่การเมืองคือการต่อสู้เพื่อปรับเปลี่ยนระบบ

ฌาคส์ร็องซีแยร์เชื่อว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องของความเห็นพ้องต้องกัน (consensus) แต่เป็นเรื่องของการไม่เห็นด้วยหรือการเห็นไม่ตรงกัน (disagreement) เพื่อต่อต้าน ที่จะนำไปสู่การรับรู้ทางการเมืองที่มีพื้นที่ให้กับความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันมากขึ้นต่างหาก

ฌาคส์ร็องซีแยร์ได้นำเสนอปรัชญาการเมืองหลังนวยุคว่าด้วยหลัก“สุนทรียศาสตร์” กับความสัมพันธภาพกับการเมือง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตามทรรศนะของร็องซีแยร์ หมายถึงการชื่นชมอย่างลึกซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมอย่างที่มักจะเข้าใจกันโดยทั่วไป แต่หมายถึงระบบการจำแนกแยกแยะการรับรู้ในเรื่องต่างๆ ของคนในสังคม ส่วนคำว่า “การเมือง” ก็ไม่ได้หมายถึงการเลือกตั้ง การแย่งชิงอำนาจและอื่นๆ อย่างที่มักจะเข้าใจกัน แต่หมายถึงการต่อสู้เพื่อต้องการปรับเปลี่ยนหรือตั้งคำถามกับระบบการแบ่งแยกการรับรู้ที่ดำรงอยู่ในเรื่องนั้นๆ ดังนั้นเมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “การเมืองของสุนทรียศาสตร์” (thepolitics of aesthetics) จึงหมายถึงการตั้งคำถามกับระบบการแบ่งแยกการรับรู้ทางการเมืองของคนในสังคม เพื่อนำไปสู่ระบบการแบ่งแยกการรับรู้ที่มีความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันมากขึ้น(ปรัชญาการเมืองยุคหลังสมัยใหม่ Postmodern Political Philosophy  :รองศาสตราจารย์ ดร.ประโยชน์ ส่งกลิ่น)

ส่วนอัลฟารอบี(Al-Farabi)เชื่อว่าสังคมใดหรือนครรัฐใดที่มีผู้นำทรงธรรมและมีภาวะผู้นำ จะทำให้สังคมนั้นหรือนครรัฐนั้นเป็นนครรัฐแห่งอารยะ(Civil of City)สังคมอารยะ(Civil of Society)  ผ่านระบอบการมีผู้นำมีภาะสำรวมตน อยู่ในฐานะปราชญ์ ดังนั้นอัลฟารอบี มุ่งเน้นที่ระบอบทางการเมืองมากกว่ากิจกรรมทางการเมือง เขาถือว่าระบอบการเมืองที่มีคุณธรรมคือ การนำพาความดีงามและคุณธรรมไปให้ประชาชน และอัลฟารอบี(Al-Farabi)ได้นำเสนอปรัชญาการเมือง โดยผ่านหลักภววิทยาและญาณวิทยา แล้วกลั่นกรองออกมาเป็นหลักคิดทางรัฐศาสตร์ ดังนี้

หนึ่ง รัฐต้องมีผู้นำที่ทรงธรรม ทรงความรู้ ทรงเป็นปราชญ์

สอง ประชาชน ผ่านการปฏิรูปจนกลายเป็นกลุ่มชนที่มีศิลธรรม

สาม รัฐต้องเป็นระบอบการเมืองที่ใสสะอาด โดยผ่านองค์ความรู้ที่มาจากวิวรณ์แห่งพระเจ้า มีความสมบูรณ์ทางกายภาพและจิตภาพ โดยเน้นความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า โดยใช้หลักนิติรัฐนิติธรรมผ่านกระบวนการคิดเชิงปรัชญาและวิวรณ์และผ่านคำสอนหลักการปกครองของตัวแทนของพระเจ้า

อัลฟารอบีย์ได้กล่าวปรัชญาการเมืองนี้ไว้ในหนังสือปรัชญาชื่อว่า” ซียาซะตุลมะดีนะฮ”(หลักรัฐศาสตร์แห่งอุตมรัฐ) และอัลฟารอบีย์ได้กล่าวถึงเรื่อง”นครแห่งอารยะ” (المدينة الفاضلة) หรืออุตมรัฐในปรัชญาการเมืองของเขาไว้ว่า

ระบอบการเมืองที่มีคุณธรรมคือ การนำพาความดีงามและคุณธรรมไปสู่ประชาชนและนำมนุษยชาติสู่เป้าหมายของการรังสรรค์สร้างคือความสันติสุขที่แท้จริง นั่นคือการไปสู่ความผาสุกและสันติสุขอย่างแท้จริง และความผาสุกนั้นจะเกิดขึ้นมาเองมิได้ นอกจากต้องผ่านระบอบการเมืองและการปกครองที่มีคุณธรรมเท่านั้น อีกทั้งจะนำพาพลเมือง ประชาชนไปสู่ความดีงามทั้งโลกนี้และโลกหน้าและมีความสงบสุขทั้งภายในและภายนอก(คือทั้งทางจิตและทางกาย)”

ต่อมานักคิดทางการเมืองทั้งโลกมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมต่างได้หวนกลับมาสนใจอิสลามการเมือง(Political Islam)อีกครั้งและสนอกสนใจปรากฎการณ์ทางการเมืองในแบบกระบวนทัศน์อิมามโคมัยนี ที่ได้ผ่านการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านปี1979นั้น จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ว่ากรอบอิสลามการเมือง เป็นกระบวนทัศน์ด้านการเมืองการปกครองที่นำเอาหลักการอิสลามเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองและยังส่งผลสะท้อนในเชิงบวกทางสังคมอย่างไม่เคยเกิดมาก่อน และนับว่าเป็นความใฝ่ฝันของนักฟื้นฟูอิสลามยุคก่อนๆ อย่างซัยยิด ญะมาลุดดีน อัลอัฟฆอนี ถือว่าการสำนึกต่อการดำเนินชีวิตมุสลิม ต้องมองอย่างลึกซึ้งทั้งสองด้าน คือด้านศาสนาและด้านการเมือง  ซัยยิดอัลอัฟฆอนีเขาได้พยายามที่จะปลุกเร้าจิตใจประชาชนและสังคมมุสลิมทางด้านการเมืองและนำความคิดแบบอิสลามมามีบทบาททางชุมชนและการปรับปรุงประเทศที่เชื่อมั่นว่าอิลามการเมืองคือวิถีแห่งธรรมะและจะนำพาให้ประชาชาติอิสลามมีเกียรติและศักดิ์ศรี  และอิมามโคมัยนีเชื่อว่าการเมืองสามารถส่งผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมุสลิมรวมไปถึงสิทธิและเสรีภาพในการประกอบศาสนกิจในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถประสานความเป็นอิสลามได้ด้วยกันกับความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ผ่านมุมมองของกรอบแนวคิดอิสลามในฐานะที่มีอัตลักษณ์ทางการเมือง(Political Identity)ที่สามารถแสดงออกได้อย่างเสรี

อิมามโคมัยนีผู้นำปฏิวัติอิสลามในอิหร่านมีมุมมองในเรื่อง”การเมืองอิสลาม”ว่า  “แท้จริงคำว่า”การเมือง” ที่เป็นการเมืองโดยแท้นั้น คือ การบริหารจัดการสังคมมนุษย์และการชี้นำมนุษย์ไปสู่สภาวะที่เหนือกว่า    นั่นคือ  มนุษย์มิได้มีแค่ด้านเดียว  ดังนั้นสังคมก็มิได้มีแค่ด้านเดียวเช่นกัน  นั่นหมายความว่า มนุษย์มิได้มีมิติเพียงการเป็นสัตว์โลกประเภทหนึ่งที่หมกมุ่นอยู่เพียงการกินการนอน หรือการมีเพศสัมพันธ์  ดังนั้นการเมืองโดยทั่วไปถึงแม้จะมีนโยบายที่ดีสัเพียงใด ก็จะสนองแค่เพียงด้านเดียว ซึ่งก็คือมิติทางกายภาพ     ส่วนการเมืองที่เป็นการเมืองตามนิยามอิสลามมุ่งเน้นนโยบายทั้งสองส่วน ดังที่บรรดาศาสดาและบรรดาตัวแทนแห่งศาสดา บรรดากัลยาณมิตรของพระเจ้า นั่นคือ การชี้นำมนุษย์สู่ผลประโยชน์อันแท้จริงในทุกมิติของมนุษย์และผลประโยชน์ทุกด้านที่สังคมพึงจะได้รับ

การปฏิวัติอิสลามในประเทศอิหร่านโดยการนำของท่านอายาตุลลอฮ์ อิมามโคมัยนี (Imam Khomaini) ทำให้ประเทศอิหร่านได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolute Monarchy) เป็นสาธารณรัฐ อิสลาม (Islamic Republic State) จนทำให้เกิดความสนอกสนใจของชาวโลกยิ่งทวีคูณมากขึ้น เพราะการนำเอาระบอบเทวาธิปไตย(Theocracy)ที่ยึดหลักศาสนากับการเมืองเป็นสิ่งเดียวกันมาปกครอง และความโดดเด่นของอิหร่านคือการเอาศาสนานำการเมือง นั่นคือ การเมืองกับศาสนาเป็นสิ่งเดียวกัน และยังสามารถปรับเข้ากับความเป็นรัฐสมัยใหม่ได้อย่างน่าพิศวงจนถึงวันนี้.

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *