เเมรีย์ ฟอลเลต และลิลเลียล กิลเบิรธ นักบุกเบิกการบริหารของโลก
เเมรีย์ ฟอลเลต และลิลเลียล กิลเบิรธ นักบุกเบิกการบริหารของโลก
แมรีย์ ฟอลเลต ได้ถูกรู้จักกันเป็นมารดาของการบริหารสมัยใหม่เป็นผู้เชี่ยชาญการบริหารคนหนึ่งระหว่างต้นศตวรรษที่ 20 เธอได้ใช้จิตวิทยาและมนุษยสัมพันธ์ภายในการบริหารอุตสาหกรรม ได้ปฏิรูปพฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีการบริหารของแมรีย์ ฟอลเลตมุ่งที่การประสานงานและความผูกพันของบุคคล ทฤษฎีของเธอจะเกี่ยวกับความผูกพันของบุคคลภายในสถานที่ทำงานได้ส่องสว่างความต้องการของบุคคล 100 ปีต่อมาแมรีย์ ฟอลเลต ฮิวโก มันสเตอร์เบิรก และเอลตัน เมโย ได้ถูกพิจารณาเป็นผู้บุกเบิกและผู้ก่อตั้งของจิตวิทยาอุตสาหกรรม-องค์การ และการเคลื่อนไหวทางพฤติกรรมภายในทฤษฏีการบริหาร พวกเขาได้เขียนเกี่ยวกับความสำคัญของการพิจารณาด้านพฤติกรรมของคนงาน นอกเหนือจากประสิทธิภาพของคนงาน จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของจิตวิทยาที่ได้ประยุกต์ใช้จิตวิทยาต่อองค์การ เรามักจะอ้างถึงเป็นจิตวิทยาไอโอ การรวมกันนี้ของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและจิตวิทยาองคฺการมุ่งที่การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์และจิตวิทยากระทบงานอย่างไร และมันได้ถูกกระทบโดยงานอย่างไรการศึกษาจิตวิทยาอุตาหกรรม-องค์การกำเนิดขึ้นภายในอเมริกาเมื่อ ค.ศ 1900 ผ่านทางผลงานของนักจิตวิทยา ฮิวโก มันสเตอร์เบิรก และวอลเตอร์ สก็อตต์ ทั้งสองบุคคลได้ถูกฝึกอบรมโดยนักจิตวิทยาเยอรมันวิลเฮล์ม วุนต์ รากเหง้าของจิตวิทยาไอโอย้อนหลังกลับไปสู่การเริ่มต้นของจิตวิทยาเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งเมื่อวิลเฮล์ม วุนต์ได้สร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาแห่งแรกเมื่อ ค.ศ 1879 ภายในไลฟ์ซิก เยอรมัน เขาได้ฝึกอบรมนักจิตวิทยาสองคน ฮิวโก มันสเตอร์เบิรก และเจมส์ แคตเทลล์จะมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการปรากฏขึ้นมาของจิตวิทยาไอโอ และฮิวโกมันสเตอร์เบิรก เป็นผู้ก่อตั้งคนหนึ่งของจิตวิทยาไอโอ ในขณะที่การประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติของจิตวิทยาไอโอถูกพัฒนาผ่านทางผลงานของวิศวกรอเมริกัน เฟดเดอริค เทย์เลอร์ จิตวิทยาไอโอได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและเเม้แต่มากขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองนักจิตวิทยาไอโอบางคนได้พัฒนาวิธีการเพื่อการคัดเลือกและการฝึกอบรมบุคคล ในขณะที่นักจิตวิทยาไอโอคนอื่นได้วิเคราะห์สไตล์ และประสิทธิภาพของผู้บริหาร หรือศึกษาวิถีทางปรับปรุงขวัญ ความพอใจ งาน และประสิทธิภาพของสถานที่ทำงาน สาขาวิชาของจิตวิทยาไอโอได้มีส่วนช่วยต่อการพัฒนาปัจจัยมนุษย์ของวิศวกรรมหรือกายศาสตร์จิตวิทยาไอโอมุ่งที่การประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาต่อโลกของงาน การมุ่งที่เลนส์ของจิตวืทยาบนด้านที่สำคัญของชีวิตมนุษย์คือ ชีวิตงานของพวกเขา โดยทั่วไปเป้าหมายของจิตวิทยาไอโอคือเข้าใจดีขึ้นและบรรลุประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทั้งบุคคลและองค์การอย่างดีที่สุดฮิวโก มันสเตอร์เบิรกนักจิตวิทยาเยอรมัน-อเมริกันเป็นผู้บุกเบิกคนหนึ่งของจิตวิทยาประยุกต์ เขาเป็นบุคคลแรกที่ประยุกต์ใช้จิตวิทยาภายในอุตสากรรมและได้ถูกเรียกว่าบิดาของจิตวิทยาอุตสาหกรรมหนังสือของเขาชื่อ “Psychology and Industrial Efficiency” ถูกเขียนและพิมพ์เมื่อ ค.ศ 1913 ผลงานของเขาได้ค้นพบเทคนิคของการว่าจ้างภายในสภาพแวดล้อมของงาน เขาได้สร้างระบบให้ความสำคัญการว่าจ้างผู้สมัครงานที่ดีที่สุดเพื่องานที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความเหนื่อย และการวางคนงานบนตำแหน่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การว่าจ้างคนงานด้วยบุคลิกภาพและความสามารถทางจิตใจ ที่สอดคล้องกับงานอย่างดีที่สุดเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดต่อการเพิ่มแรงจูงใจ ผลการปฏิบัติงาน และการรักษาไว้ภายในสถานที่ทำงานฮิวโก มันสเตอร์เบิรก รู้จักกันดีที่สุดต่อผลงานของเขาภายในจิตวิทยาประยุกต์ โดยเฉพาะภายในอุตสาหกรรมและคลีนิค ด้วยถ้อยคำธรรมดาจิตวิทยาประยุกต์คือ การศึกษาบุคคลทำงานด้วยกันอย่างไร และมันได้ประยุกต์ใช้จิตวิทยากับสถานการณ์ของงาน เขาได้สร้างการมีส่วนช่วยที่สำคัญต่อจิตวิทยาประยุกต์ เช่น จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวืทยาคลีนิค และนิติจิตวิทยาผลงานของฮิวโก มันสเตอร์เบิรกภายในจิตวิทยาอุตสาหกรรม ได้ปูเส้นทางต่อจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การสมัยใหม่ การวิจัยของเขาบนคำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์ได้สร้างความเข้าใจพื้นฐานบางอย่างของนิติวิทยา ฮิวโก มันสเตอร์เบิรกมีชื่อเสียงต่อการมีส่วนช่วยของเขากับนิติจิตวิทยาอย่างมากหนังสือ 1908 ของเขา “On the Witness Stand” ให้รายละเอียดปัจจัยทางจิตวิทยาสามารถมีอิทธพลต่อผลลัพธ์ของการสอบสวนอย่างไร เขาได้เขียนเกี่ยวกับหลายเรื่องที่ยังคงถูกสนใจจนถึงว้นนี้ เช่น ปัญหาของคำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์ การรับสารภาพเท็จ และการสอบปากคำฮอว์ธอร์น เอฟเฟกต์ เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่ได้ถูกอภิปรายอย่างกว้างขวางภายในจิตวิทยาไอโอ ถ้อยคำนี้อ้างอิงถึงสถานการณ์ของการทดลองทางจิตวิทยา ตั้งแต่ ค.ศ 1929 ถึง ค.ศ 1932 กลุ่มของนักวิจัยนำโดยเอลตัน เมโย จากคณะบริหารธุรกิจฮาวาร์ด ได้เริ่มต้นลำดับของการศึกษา ณ โรงงานใกล้ชิคาโก ฮอว์ธอร์น เวิรคของเวสเทิรน อีเลคทริคการทดลองของฮอว์ธอร์นได้เเสดงว่าประสิทธิภาพการผลิตของคนงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาวะทางกายภาพของงาน ประสิทธิภาพการผลิตของคนงานขึ้นอยู่กับความพอใจของคนงานภายในสถานการณ์ของงาน การทดลองของฮอว์ธอร์นได้ถูกเเบ่งเป็นสี่ระยะคือ
*การทดลองแสงสว่าง
การทดลองระยะที่หนึ่งคือ กลุ่มคนงานจะทำงานภายใต้ระดับเเสงสว่างที่แตกต่างกัน เมื่อเเสงสว่างได้เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตของคนงานสูงขึ้น แต่นักวิจัยได้ประหลาดใจมากเมื่อเเสงสว่างได้ลดลงประสิทธิภาพการผลิตของคนงานยังคงเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นนักวิจัยได้สรุปว่าเราอาจจะมีปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่แสงสว่างที่กระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตของคนงาน
*การทดสองห้องทดสอบการประกอบลีเลย์
การทดลองระยะที่สองคือ นักวิจัยได้เปลี่ยนแปลงสภาพเเวดล้อมของงานบางอย่างของกลุ่มคนงานให้ดีขึ้น เช่น ระยะเวลาวันทำงานที่สั้นลง และระยะเวลาพักกาแฟ เป็นต้น กลุ่มคนงานได้ถูกยอมให้เลือกระยะเวลาพักของพวกเขาเอง และการให้ข้อเเนะนำ ประสิทธิภาพการผลิตของคนงานเพิ่มสูงขึ้น นักวิจัยสรุปว่าความสัมพันธ์ทางสังคมท่ามกลางคนงานและการมีส่วนร่วมภายในการตัดสินใจไม่ใช่สภาพแวดล้อมงานมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต
*โครงการสัมภาษณ์จำนวนมาก
การทดลองระยะที่สามคือ คนงานจำนวนมากถูกสัมภาษณ์เพื่อค้นหาเหคุผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนักวิจัยสรุปได้ว่าประสิทธิภาพการผลิตสามารถเพิ่มขึ้น ถ้าคนงานถูกยอมให้พูดอย่างเสรีเกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญต่อพวกเขา
*การทดลองห้องพันขดลวด
การทดลองระยะที่สี่คือ รายได้ของกลุ่มคนงานจะขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานของทั้งกลุ่ม นักวิจัยคิดว่าคนงานที่มีประสิทธิภาพจะกดดันคนงานที่มีประสิทธิภาพน้อย เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่กระนั้นมันได้ถูกพบว่ากลุ่มคนงานได้สร้างมาตรฐานผลผลิตของพวกเขาเอง และเเรงกดดันทางสังคมได้ถูกใช้บรรลุมาตรฐานของผลผลิตการศึกษาของฮอว์ธอร์นระยะยาวนี้ได้นำจิตวิทยาอุตสาหกรรมเลยพ้นไปเพียงแค่การคัดเลือกบุคคลไปสู่การศึกษาของปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การจูงใจบุคคล และพลวัตรของกลุ่มและการศึกษาเหล่านี้ได้แสดงต้นกำเนิดของจิตวิทยาองค์การ พวกเขาได้เริ่มต้นเป็นการวิจัยต่อผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ระดับของแสงสว่างภายในโรงงาน เเต่นักวิจัยได้พบว่าปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคมภายในโรงงานน่าสนใจมากกว่าปัจจัยทางกายภาพ ข้อสรุปที่สำคัญของการศึกษาฮอว์ธอร์นคือ ประสิทธิภาพการผลิตของคนงานเปลี่ยนแปลงบนข้อเท็จจริงว่าคนงานถูกสังเกตุแม้ว่าประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยปัจจัยการทดลองอื่น นักวิจัยได้สรุปว่าการให้ความสนใจคนงานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อผลผลิต การวิเคราะห์ของการค้นพบโดยนักวิจัยได้นำไปสูถ้อยคำ ฮอว์ธอร์น เอฟเฟกต์ ได้อธิบายเมื่อคนงานถูกให้ความสนใจโดยผู้บริหารประสิทธิภาพการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้น โดยไม่พิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงภายในสภาพแวดล้อมงานเป็นอย่างไรนับตั้งแต่การบริหารแบบวิทยาศาสตร์ของเฟรดเดอริค เทย์เลอร์ และการศึกษาฮอว์ธอร์น ของเอลตัน เมโย เรามีผลผลิตจำนวนมากของสิ่งตีพิมพ์ต่อลักษณะ สาเหตุ ความสัมพันธ์ ผลตามมาของความพอใจงาน การบริหารแบบวิทยาศาสตร์ของเฟดเดอริค เทย์เลอร์มุ่งที่การฝึกอบรมคนงานเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เชื่อว่ามันเป็นแหล่งที่มาของความพอใจงานภายในองค์การ ในขณะที่การศึกษาของฮอว์ธอร์นมุ่งที่การสังเกตุและการควบคุมต่อแบบแผนพฤติกรรมของคนงานเอลตัน เมโย สรุปว่าความพอใจงานของคนงานสามารถปรับปรุงด้วการให้ความอิสระมากขึ้นแก่คนงานภายในการกำหนดมาตรฐานการผลิตของพวกเขา การแสดงนำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อการศึกษาความพอใจงานคือ การศึกษาฮอว์ธอร์น ณ โรงงานฮอว์ธอร์น ของเวสเทิรน อีเลคทริค การศึกษาเหล่านี้ได้ยกย่องแก่เอลตัน เมโย คณะบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด เขาพยายามศึกษาผลกระทบของสภาวะงานที่แตกต่างกัน – ส่วนใหญ่เป็นแสงสว่าง ต่อประสิทธิภาพการผลิตของคนงานในที่สุดการศึกษาฮอว์ธอร์นได้แสดงการเปลี่ยนแปลงสภาวะงานจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพียงชั่วคราว เราจะเรียกกันว่า ฮอว์ธอร์น เอฟเฟกต์ ฮอว์ธอร์น เอฟเฟกต์อ้างถึงปรากฏการณ์บุคคลได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเขาภายในการทดลอง เนื่องจากการให้ความสนใจจากนักวิจัยแก่พวกเขานักวิจัย เฮนรี แลนด์เบอร์เจอร์ ใช้ถ้อยคำ “ฮอว์ธอร์น เอฟเฟกต์” ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ 1950 ภายในการวิเคราะห์การทดลองของเขาดำเนินการเมื่อค.ศ 1920 และ ค.ศ 1930 ฮอว์ธอร์น เอฟเฟกต์ ได้ชื่อมาจากที่ตั้งของการวิจัย ใกล้ ฮอว์ธร์อน อิลลินอยส์ โรงงานฮอว์ธอร์น เวสเทิรน อีเลคทริค บริษัทไฟฟ้า ได้ว่าจ้างนักวิจัยค้นหาเราจะมีการเชื่อมโยงระหว่างสภาพแวดล้อมงานและประสิทธิการผลิตหรือไม่ การวิจัยของฮอว์ธอร์นได้ให้หลักฐานอย่างเข้มแข็งว่าบุคคลทำงานเพื่อความมุ่งหมายนอกเหนือจากรายได้ การปูเส้นทางเพื่อนักวิจัยที่จะตรวจสอบปัจจัยอื่นของความพอใจงาน เอลตัน เมโย ได้ค้นพบว่าความพอใจงานเพิ่มขึ้นผ่านทางการมีส่วนร่วมของคนงานภายในการตัดสินใจ ไม่ใช่ผ่านทางสิ่งจูงใจระยะสั้น
แมรี่ย์ ฟอลเล็ต นักสังคมสงเคราะห์ และนักวิชาการบริหารที่มีอิทธิพลต้นศตวรรษที่ 20 เธอได้ถูกเรียกว่า “ผู้หญิงที่คิดค้นการบริหาร” ได้มองการบริหารเป็น ” เป็นศิลปของการทำงานให้บรรลุความสำเร็จโดยใช้
บุคคลอื่น” แม้ว่าเธอไม่เคยบริหารธุรกิจเพื่อกำไร เธอได้นำเสนอความเข้าใจที่มีคุณค่าไปสู่ความสำคัญของผู้บริหารให้อำนาจกับบุคคล ไม่ใช่ให้อำนาจเหนือพวกเขา และร่วมมือร่วมใจกับบุคคลแก้ไขความขัดแย้งความเป็นผู้นำไม่ถูกระบุโดยการใช้อำนาจ แต่โดยความสามารถเพิ่มความรู้สึกของอำนาจท่ามกลางบุคคลที่ถูกนำ แมรี่ย์ ฟอลเลตได้กล่าวอย่างมีชื่อเสียงว่างานที่สำคัญที่สุดของผู้นำคือการสร้างผู้นำให้มากขึ้น ปรัชญาที่เธอยืนยันอยูบนความคิดของอำนาจร่วมภายในองค์การ เธอจะสนับสนุนโครงสร้างองค์การที่แบน เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ และกระบวนการตามแนวนอนที่จริงแล้วอิทธิพลเริ่มแรกของแมรี่ย์ ฟอลเล็ตต่อการบริหารสมัยใหม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย จน วอร์เร็น เบนนิส นักวิชาการความเป็นผู้นำ ได้กล่าวถึงเธอว่า การเขียนเกี่ยวกับความเป็นผู้นำและองค์การปัจจุบันนึ้จะมาจากข้อเขียนและการบรรยายของเธอแมรีย์ ฟอลเล็ต มารดาของการบริหารสมัยใหม่ ณ เวลานั้น เราจะมีนักวิชาการบริหารผู้หญิงที่ยิ่งใหญ่สองคนคือ แมรี่ย์ ฟอลเล็ต และลิลเลียน กิลเบร็ธ แมรี่ย์ ฟอลเล็ต ได้ระบุอำนาจหน้าที่เป็นอำนาจสิทธิ – สิทธิที่จะพัฒนาและและใช้อำนาจ เธอเชื่อมั่นต่ออำนาจของบุคคลที่ทำงานด้วยกัน และยอมรับการมีส่วนช่วยของบุคคลแต่ละคน เธอสนับสนุนแนวทางของการดึงไม่ใช่การดันแรงจูงใจของบุคคล เธอได้สนับสนุนหลักการที่ได้ใช้คำว่่า “Integration” หมายถึงการรวมตัวกัน ด้วยการใช้แนวคิด “Power With” ไม่ใช่ “Power Over” อำนาจที่แท้จริงไม่ใช่บังคับ – อำนาจเหนือ แต่ต้องเป็นการกระทำร่วมกัน – อำนาจกับ แมรีย์ ฟอลเลต ได้สร้างกรณีว่าผู้นำควรจะให้คุณค่าอำนาจของกลุ่มเหนืออำนาจส่วนบุคคล เธอได้เสนอแนะว่าผู้นำแท้จริงสร้างอำนาจเพื่อกลุ่มไม่ใช่รักษามันไว้เพื่อตัวพวกเขาเอง เหนือสิ่งอื่นใด องค์การไม่ได้ดำรงอยู่เพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งแต่เพื่อองค์การทั้งหมด หลักการอำนาจของกลุ่มยังคงอยู่อย่างกว้างขวางจนวันนี้ภายในการบริหารเป็นเครื่องมือเพื่อการขับเคลื่อนกำลังงานที่ผูกพันและจูงใจมากขึ้นแมรีย์ ฟอลเลต อยู่ร่วมยุดเดียวกันกับเฟดเดอริค เทย์เลอร์ บิดาของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ ในขณะที่เธอยอมรับแนวคิดบางอย่างของเทย์เลอร์ ความคิดของเธอบนอำนาจแตกต่างอย่างมาก เทเลอร์ได้มองอำนาจเป็น นายรู้ดีที่สุด เเละเขาควรจะออกคำสั่งบุคคล บนพื้นฐานการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของสถานการณ์ของเขาตรงกันข้ามฟอลเล็ตมุ่งที่การทำให้บุคคลร่วมมือเธอเชื่อว่าอำนาจแท้จริงไม่ได้เป็นอำนาจเหนือแต่เป็นอำนาจกับแมรี่ย์ ฟอลเล็ตได้อ้างถึงการยืนยันของเฟดเดอริค เทเล่อร์ว่า ผู้บริหารและคนงานมีความมุ่งหมายร่วมกัน ในฐานะของสมาชิกองค์การเดียวกัน เธอเชื่อว่าความแตกต่างที่ทำขึ้นมาเองระหว่างผู้บริหารและคนงาน ผู้ออกคำสั่งและผู้รับคำสั่ง ได้ปิดบังความเป็นหุ้นส่วนโดยธรรมชาติเธอยืนยันว่าผู้บริหารและคนงานต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอย่างแท้จริงนั้น มุมมองสมัยเดิมต้องยกกลับไป เช่น ความเป็นผู้นำไม่ควรจะมาจากอำนาจหน้าที่ที่เป็นทางการตามมุมมองสมัยเดิม แต่ควรจะมาจากความรู้ – ความเชี่ยวชาญของผู้บริหาร ผู้บริหารควรจะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ ความฉลาด และความรู้ แมรี่ย์ ฟอลเล็ต มององค์การเป็นชุมชนหนึ่ง ผู้บริหารและคนงาน ควรจะทำงานด้วยความสามัคคี โดยไม่มีการครอบงำระหว่างกัน บุคคลแต่ละคนต้องมีความเป็นอิสระที่จะอภิปรายและยุติความแตกต่างและความขัดแย้ง เธอได้แนะนำว่า “อย่าเอาแต่กอดพิมพ์เขียว” ผู้บริหารควรจะวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของการเกี่ยวพันระหว่างกันของการบริหาและองค์การแมรีย์ ฟอลเลต ได้บุกเบิกความเข้าใจของกระบวนการตามแนวนอนขององค์การตามลำดับชั้น และการรับรู้ของมันนำไปสู่การสร้างองค์การแบบ
เเมทริกซ์ ดูปองท์จะเป็นบริษัทแรกที่ใช้โครงสร้างแบบแมทริกซ์ เมื่อ ค.ศ 1920 กระบวนการไม่เป็นทางการภายในองค์การ และแนวความคิดของ
อำนาจหน้าที่ของความเชี่ยวชาญได้ถูกใช้ปรับปรุงประเภทของอำนาจหน้าที่พัฒนาโดยเเมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาเยอรมันร่วมสมัยของเธอแมรีย์ ฟอลเลต และลิลเลียน กิลเบิรธเป็นนักบุกเบิกการบริหารหญิงที่ยิ่งใหญ่สองคนภายในระยะเริ่มแรกของทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม ลิลเลียน กิลเบิรธ เป็นผู้บุกเบิกต่อสิ่งที่รู้จักกันในขณะนี้เป็นจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เธอได้ช่วยเหลือให้วิศวกรอุตสหกรรมรับรู้ความสำคัญของมิติทางจิตวิทยาของงาน นอกจากนี้เธอกลายเป็นวิศวกรอเมริกันคนเเรก
ที่ได้สร้างการสังเคราะห์ของจิตวิทยาและการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ ลิลเลียน กิลเบิรธเป็นบุคคลแรกที่รับรู้ความสำคัญของจิตวิทยาภายในโลกของวิศวกรรม เธอจะเป็นผู้บุกเบิกคนหนึ่งของทฤษฎีการบริหารเธอมีชื่อเสียงเป็น สุภาพสตรีคนแรกของวิศวกรรม สุภาพสตรีคนแรกของการบริหาร เเละมารดาของจิตวิทยาอุตสาหกรรม ความสนใจของเธอเป็นด้านทางจิตวิทยาของประสิทธิภาพของงาน และเธอผลักดัน แฟรงค์ กิลเบิรธสามีของเธอ มองปัจจัยมนุษย์ของสถานที่ทำงานหนังสือของเธอ “The Psychology of Management” ได้มีส่วนช่วยที่ยิ่งใหญ่ต่อความเข้าใจบุคคลภายในอุตสาหกรรม หนังสือเล่มนี้เป็นรากฐานต่อผลงานของลิลเลียล กิลเบิรธภายในการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ ได้นำไปสูจิตวิทยาอุตสาหกรม และนำไปสู่การพัฒนาเเนวคิดของการบริหารการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับจิตวิทยาของความแตกต่างระหว่างบุคคลการมุ่งเน้นของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ต้องเป็นบนบุคคล ไม่ใช่บนงานตัวมันเอง เป้าหมายทางจิตวิทยาของงานคือยอมให้บุคคลบรรลุความสำเร็จด้วยตัวเขาเอง ทำให้เขามีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพ การบริหารจะเป็นด้านทางสังคมที่กระทบคนงานไม่เพียงแต่ภายในโรงงานเท่านั้นแต่เป็นไปได้กระทบต่อสังคมตัวมันเอง ในขณะที่เฟดเดอริค เทย์เลอร์ มุ่งที่จุดอ่อนของคนงาน ลิลเลียล กิลเบิรธ ย้ำความต้องการทางจิตใจและร่างกายของพวกเขา ศักยภาพของพวกเขา และความสุขของพวกเขาลิลเลียน กิลเบิรธ เป็นผู้บุกเบิกของการผสมผสานจิตวิทยาและวิศวกรรมไปสู่การบริหารของสถานที่ทำงาน วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเธอ “The Psychology of Management” เธอได้วางข้อเเนะนำพื้นฐานสามข้อของการบริหาร มุ่งที่ความเป็นอยู่ที่ดีของคนงาน ให้การฝึกอบรมแต่ละบุคคลและทดสอบทางจิตวิทยาให้งานสอดคล้องกับบุคคลนอกจากความสำเร็จทางวิชาการเหล่านี้ เธอเป็นแม่ของลูกสิบสองคนและกลายเป็นโมเดลบทบาทต่อแม่ภายในหนังสือและภาพยนตร์ต่อมา”Cheaper by the Dozen” ต่อส่วนใหญ่ของอาชีพเริ่มแรกของเธอเธอได้ถูกบดบังโดยสามีของเธอภายในการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ แฟรงค์กิลเบริธ ด้วยสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่ยกย่องแก่เขา ในขณะที่สามีของเธอมุ่งที่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคของประสิทธิภาพภายในการผลิตลิลเลียล กิลเบิรธ สนใจมากขึ้นเกี่ยวกับสวัสดิการของคนงานและการลดความเครียด ความเหนื่อย และความน่าเบื่อการทำให้เป็นมาตรฐานเป็นชื่อของเกมเมื่อมันมาสู่ประสิทธิภาพไม่เหมือนกับการศึกษาเวลาที่ตายตัวของเฟดเดอริค เทย์เลอร์ เรามีข้อโต้แย้งที่ตรงกันข้ามต่อการทำให้การเคลื่อนไหวเหมาะสม การเคลื่อนไหวที่เหมาะสมจะมุ่งมากขึ้นที่การลดความเหนื่อย การทำให้พวกเขาผลิตได้มากขึ้นโดยไม่ลำบากบุคคลสองคนที่ได้นำไปสู่การบริหารอุตสาหกรรมใหม่นี้คือ แฟรงค์ และลิลเลียน กิลเบิรธ ความเสียอย่างหนึ่งของแปดอย่างของการผลิตแบบลีนคือ การเคลื่อนไหวเกินไป การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นโดยบุคคล สามารถทำลายประสิทธิภาพของสถานทีทำงาน การเคลื่อนไหวมากเกินไปทำให้เกิดความเหนื่อย เเละเราทุกคนรู้ว่าความเหนื่อยสร้างความผิดพลาดของบุคคล ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพ นานกว่าสี่สิบปี อาชีพของลิลเลียน กิลเบิรธ ได้รวมจิตวิทยากับการศึกษาของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เธอได้ทำงานกับสามีของเธอ แฟรงค์ กิลเบิรธ คิดค้นการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว วิเคราะห์วิถีทางที่จะทำให้กระบวนการอุตสาหกรรม งานสำนักงาน และงานบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความผิดพลาดของมนุษย์ และเพิ่มควาปลอดภัยและความพอใจของคนงาน เธอได้มุ่งเน้นความสำคัญของคนงาน คนงานไม่ใช่เป็นเครื่องจักร หรือปัจจัยที่ไม่เป็นมนุษย์อื่น ภายหลังแฟรงค์ กิลเบิรธได้เสียชีวิตลง ลิลเลียน กิลเบิรธ ได้สร้างใหม่อาชีพของเธอเป็นที่ปรึกษาคนเดียวและกลายเป็นอาจารย์วิศวกรรมหญิงคนเเรก ณ มหาวิทยาลัยเปอร์ดู จนกระทั่งเมื่อ ค.ศ 2005 ผู้หญิงคนเดียวเท่านั้นได้เหรียญฮูเวอร์ ที่มีชื่อเสียง การยกย่องบริการไม่เห็นแก่ตัว และไม่เป็นเทคนิคโดยวิศวกรแก่มนุษยชาติ เรามีการมีส่วนช่วยที่สำคัญของลิลเลียน กิลเบริธ ภายในการบริหารอุตสาหกรรมและประสิทธิภาพของธุรกิจยังคงถูกใช้อยู่จนวันนี้ภายในรูปแบบที่หลากหลายดเป็นพินัยกรรมต่ออิทธิพลที่ยั่งยืนของเธอลิลเลียน กิลเบิรธ จบจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิรกลี่ย์ สาขาภาษาอังกฤษ เธอได้เข้าเรียนปรัชญาและจิตวิทยาด้วย เธอแต่งงานกับแฟรงค์ กิลเบิรธ เจ้าของบริษัทก่อสร้างใหญ่ แต่แฟรงค์ กิลเบิรธไม่ได้มีการศึกษามหาวิทยาลัย เป็นผู้ติดตามที่สำคัญคนหนึ่งของผลงานของเฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ผู้บุกเบิกการบริหารเเบบวิทยาศาสตร์แฟรงค์ กิลเบริธ กระตุ้นภรรยาของเขาเดินตามการศึกษาจิตวิทยาต่อไป และประยุกต์ใช้มันกับการบริหารอุตสาหกรรม ช่วยเหลือเขาดำเนินงานบริษัทของเขา และค้นหาวิถีทางเพิ่มประสิทธิภาพภายในการก่อสร้างเธอได้ปริญญาเอกจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยบราวน์การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวของพวกเขาคำนวณและวิเคราะห์ปัจจัยที่กระทบต่อประสิทธิภาพของสถานที่ทำงาน และจำนวนของการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวพันกับงาน ตามมาด้วยเวลาที่ต้องการทำงานพวกเขาได้พิมพ์การวิจัยของพวกเขาเป็นหนังสือ “Motion Study” เมื่อ ค.ศ 1911 แฟรงค์ กิลเบิรธได้ศึกษาการเคลื่อนไหว และสามารถลดการเคลื่อนไหวได้อย่างไร ทุกสิ่งทุกอย่างทำโดยนาฬิกาจับเวลา เขาจับเวลาคนงาน เราสามารถทำให้มันเร็วขึ้น เร็วขึ้น เร็วขึ้นอย่างไรเเต่ลิลเลียลกิลเบิรธ สนใจต่อความพอใจของคนงาน เธอมองดูที่หน้าตาของพวกเขา ฉันทำให้พวกเขามีความสุขกับงานที่พวกเขาทำอย่างไร เธอคิดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน บางทีเราจะมีความต้องการแสงสว่างมากขึ้น หน้าต่างใหญ่ขึ้น หรือคนงานหยุดพักกาแฟ ลิลเลียล กิลเบิรธ ได้ย้ำถึงความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ และการรับรู้ความแตกต่างของบุคคลท่ามกลางคนงานและความต้องการของพวกเขา จิตใจและร่างกาย เเนวคิดของความยุติธรรมและความสุขได้ถูกรวมไว้ภายในการวิเคราะห์และการตีความของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์อะไรทำให้ความคิดของลิลเลียล กิลเบิรธไม่เหมือนใคร เธอจะเป็นบุคคลแรกอย่างแท้จริงที่ได้รวมจิตวิทยา ไปสู่การบริหารอุตสาหกรรมที่จริงแล้วเธอได้ถูกพิจารณาเป็นผู้บุกเบิกต่อสิ่งที่เรียกกันในขณะนี้ว่าจิตวิทยาอุตสาหกรรม-องค์การ แต่กระนั้นผู้จัดพิมพ์ยังคงลังเลที่จะมีชื่อผู้หญิงเป็นผู้เขียน ดังนั้นลิลเลียล กิลเบิรธได้ถูกระบุอย่างคลุมเครือเป็น เเอล. เอ็ม. กิลเบิรธ เมื่อ ค.ศ 1912 แฟรงค์ กิลเบิรธ ได้ปิดธุรกิจการก่อสร้าง และพวกเขาได้กลายเป็นที่ปรึกษาการบริหารอุตสาหกรรม การศึกษาจิตวิทยาของลิลเลียน กิลเบิรธสนับสนุนการวิเคราะห์กลไกและจิตวิทยาของงานของสถานที่ทำงานของสามีของเธอ พิมพ์เป็นหนังสือ “Fatigue Study” และ “Applied Motion Study” การมีส่วนช่วยของเธอมุ่งเน้นการลดความเหนื่อยผ่านทางเเสงสว่างที่ดีขึ้น เก้าอี้ที่พอดีขึ้น และหยุดพักกาแฟ – ไกลไปจากแนวคิดโดยทั่วไปเมื่อ ค.ศ 1916 แม้ว่าพวกเขาเรียกมันการศึกษาการเคลื่อนไหวพวกเขาได้ช่วยเหลือสร้างระบบในขณะนี้ที่รู้จักกันเป็นการยศาสตร์ ภายใต้อิทธิพลของลิลเลียน กิลเบิรธ พวกเขาได้เพิ่มปัจจัยมนุษย์เข้ามาภายในการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ของเฟดเดอริค เทย์เลอร์ลิลเลียน และเเฟรงค์ กิลเบิรธเป็นบุคคลแรกสองคนศึกษากายศาสตร์ภายในสถานที่ทำงาน กายศาสตร์เป็นการประยุกต์ใช้ของทั้งหลักการจิตวิทยา และสรีรวิทยาต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และระบบ ภายในความพยายามลดความผิดพลาดของมนุษย์และปรับปรุงความปลอดภัยและความสบายใจของบุคคล โดยสรุปกายศาสตร์ทำให้บุคคลมีความสุขและสุขภาพดีขึ้นการขาดประสิทธิภาพของสถานที่ทำงานของปลายศตวรรษที่สิบเก้าได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้วิธีการวิทยาศาสตร์ศึกษาสถานที่ทำงาน แฟรงค์และลิลเลียนกิลเบิรธเป็นผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวนี้ พวกเขาได้บุกเบิกการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวของสถานที่ทำงานพวกเขาสนใจต่อประสิทธิภาพดังนั้นพวกเขาได้ทำการทดลองและพิจารณาการเคลื่อนไหวบุคคลได้ทำงานประจำวันของพวกเขาเฟดเดอร์ริค เทเลอร์ และเเฟรงค์ กิลเบิรธ จะเป็นส่วนหนึ่งของสำนักการบริหารสมัยเดิม พวกเขามุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แม้ว่าผลงานของแฟรงคฺ กิลเบิรธมักจะเชื่อมโยงกับเฟดเดอริค เทย์เลอร์ เรามีความแตกต่างทางปรัชญาที่สำคัญระหว่างกิลเบิรธส์ และเทย์เลอร์ สัญลักษณ์ของเทย์เลอร์นิยมคือ นาฬิกาจับเวลา เทย์เลอร์มุ่งพื้นฐานกับการลดเวลากระบวนการตรงกันข้ามแฟรงค์ กิลเบิรธ พยามยามทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการลดการเคลื่อนไหว พวกเขาจะมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของคนงานโดยการวิเคราะห์ทาวิทยาศาสตร์ แต่กระนั้นพวกเขาแตกต่างกันบนความสำคัญของคนงาน การมุ่งเน้นของเฟดเดอริค เทเลอร์เป็นประสิทธิภาพการผลิตและการทำกำไร แต่แฟรงค์ กิลเบิรธได้มุ่งเน้นสวัสดิการและเเรงจูงใจของคนงานด้วยดังนั้นวิถีทางของพวกเขาจะสนใจสวัสดิการของคนงานมากกว่าเทย์เลอร์ บรรดาท่ามกลางการคิดค้นอย่างอื่นของลิลเลียน กิลเบิรธคือ การทำให้เป็นมาตรฐาน แผนค่าจ้างจูงใจ การทำให้งานเรียบง่าย การออกแบบห้องครัว และเเม้แต่การหยุดพักกาแฟ ได้นำมรดกของลิลเลียน กิลเบิรธ ไปสู่ข้างหน้าจนถึงวันนี้ เธอได้นำการรู้คุณค่าของปัจจัยมนุษย์ไปสู่การบริหารแบบวิทยาศาสตร์ และเธอได้วางรากฐานเพื่อการพัฒนาแนวคิด และการปฏิบัติทางการบริหารสมัยใหม่ เช่น การยศาสตร์ ความสมดุลงาน-ชีวิต แลำะการเพิ่มคุณค่างาน เมื่อแฟรงค์ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่ออายุ 56 ปี ลิลเลียน กิลเบิรธต้องดูแลลูกสิบเอ็ดคนลูกสาวเสียชีวตหนึ่งคนตอนวัยเด็ก แต่เธอต้องการรักษาธุรกิจไว้ เมื่อเธอต้องการให้ลูกทุกคนของเธอจบจากมหาวิทยาลัย เธอได้รักษาและดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาของพวกเขาอยู่ต่อไป แต่ในไม่ช้าเธอพบว่าหลายบริษัทไม่เต็มใจทำธุรกิจกับผู้หญิง พวกเขาได้ยกเลิกหรือปฏิเสธที่จะต่อใหม่สัญญาของพวกเขากับลิลเลียล กิลเบิรธลิลเลียน กิลเบิรธได้ตัดสินใจเรื่มต้นการมีห้องปฏิบัติการ ณ บ้านของเธอฝึกอบรมผู้บริหาร ภายในวิถีทางนี้เธอสามารถอยู่บ้านเพื่อลูกของเธอและมีอาชีพในขณะเดียวกัน แต่มันกลายเป็นความยุ่งยาก เนื่องจากความลังเลของบุคคลที่จะเชื่อต่อความน่าเชื่อถือของผู้หญิงเป็นวิศวกร และในที่สุดห้องปฏิบัติการได้กลายเป็นบรรลุความสำเร็จ และชื่อเสียงของลิลเลียลกิลเบิรธได้เจริญเติบโต เธอได้ถูกเชิญเป็นที่ปรึกษาของธุรกิจหลายอย่าง ในฐานะของที่ปรึกษาของร้านสรรพสินค้าเมซีภายในนิวยอร์ค ลิลเลียล กิลเบิรธได้ทำงานจริงเป็นพนักงานขาย เพื่อที่จะได้ความรู้สึกส่วนตัวของสภาพการทำงาน เธอได้ทำงานกับเจ็นเนอรัล อีเลคทริค และบริษัทอื่น ปรับปรุงการออกแบบห้องครัวและเครื่องใช้ครัวเรือน แม้แต่เธอได้สร้างเทคนิคใหม่ช่วยเหลือผู้หญิงพิการทำงานบ้านได้สำเร็จ เธอไม่ได้เกษียณจากงานวิชาชีพ จนกระทั่งมีอายุแปดสิบกว่าปี เธอได้เดินทางไปอย่างกว้างขวาง และได้พูดเเละเขียนเกี่ยวกับเรื่องการบริหาร ความสามารถของเธอที่จะรวมอาชีพและครอบครัวได้นำเธอไปสู่การเรียกว่า อัฉริยะภายในศิลปะของการดำรงชีวิต เธอคิดว่าวิถีทางอย่างหนึ่งที่เธอจะได้สัญญาการศึกษาการเคลื่อนไหวคือ การประยุกต์ใช้วิธีการประหยัดเวลากับห้องครัว เธอเชื่อว่าผู้ผลิตจะรับฟังผู้หญิงคนหนึ่ง เมื่อมันเป็นเรื่องของเครื่องใช้ครัวเรือน
การพัฒนาห้องครัวสมัยใหม่ได้เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ 1920 ด้วยผู้หญิงคิดค้นห้องครัวคนหนึ่ง เธอคือลิลเลียน กิลเบิรธ แม่ของลูกสิบสองคน แนวคิดของสามเหลี่ยมงานห้องครัวได้ถูกพัฒนาเมื่อ ค.ศ 1920 โดย ลิลเลียน กิลเบิรธ เธอได้ออกแบบห้องครัวรูปร่างตัวแอลที่จะเคลื่อนไหวให้เหมาะสมที่สุด การเคลื่อนไหวภายในการออกแบบเริ่มแรกถูกเรียกว่า เส้นทางวงกลม ต่อมาเมื่อ ค.ศ1940 นักออกแบบ ณ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ แห่งคณะสถาปัตยกรรมได้พัฒนาห้องครัวโมเดลแรก บนพื้นฐานทฤษฎีสามเหลี่ยมงาน ภายในการเป็นหุ้นส่วนกับบรุคลิน โบโรห์ แก้ส คอมพานี ลิลเลียนได้พัฒนาการวางผังห้องครัวที่ปรับปรุงอย่างมาก ต่อมาการวางผังนี้ได้ถูกเรียกว่าสามเหลี่ยมงานห้องครัว และหลักการนี้ยังคงยึดอยู่อยู่ภายในห้องครัวของวันนี้ งานพื้นฐานภายในห้องครัวบ้านได้ถูกดำเนินการระหว่างเตาไฟฟ้า อ่างล้างชาม และตู้เย็น มันเป็นจุดสามจุดเหล่านี้ และเส้นทางที่คิดระหว่างมันสร้างอะไรที่ผู้เชี่ยวชาญห้องครัวเรียกว่าสามเหลี่ยมงาน ความคิดคือเมื่อองค์ประกอบสามอย่างเหล่านี้อยู่ใกล้ระหว่างกัน แต่ไม่ใช่ใกล้จนเกินไป ห้องครัวสามารถใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ การลดระยะการสูญเสียที่สำคัญของห้องครัว การวางฝังรูปร่างตัวเอลนี้ใช้พื้นที่ห้องครัวสูงสุดสร้างเส้นทางวงกลมของการทำงานต่อมาการวางผังนี้ได้ถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่าสามเหลี่ยมงานห้องครัวและหลักการนี้ยังคงยึดอยู่อยู่ภายในห้องครัวของวันนี้
แฟรงค์ และลิลเลียน กิลเบิรธ ได้สนใจต่อการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ บุคคลทั้งสองเป็นวิศวกร ได้ร่วมมือกันเป็นทีมของสามีภรรยาศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา แฟรงค์ และลิลเลืยน กิลเบิรธ ได้มีส่วนช่วยอย่างสำคัญต่อการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา พวกเขามักจะใช้ลูก 12 คน เป็นเรื่องของการทดลองอยู่เสมอ การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลาของ แฟรงค์ กิลเบิรธ และเฟดเดอริค เทเล่อร์ มีความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เฟดเดอรริค เทเล่อร์ มุ่งที่การบรรลุประสิทธิภาพด้ายความรวดเร็วของการทำงาน แต่แฟรงค์ กิลเบิรธ มุ่งที่การบรรลุประสิทธิภาพด้วยการลดจำนวนการเคลื่อนไหวของการทำงาน การกำจัดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นออกไป สัญลักษณ์ของระบบเทเล่อร์คือ นาฬิกาจับเวลา แฟรงค์ กิลเบิรธ ได้กล่าวว่า ความเข้าใจผิดยิ่งใหญ่ที่สุดได้เกิดขึ้นกับความมุ่งหมายของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ ความมุ่งหมายรากฐานของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์คือ การกำจัดความสูญเสีย การบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างคุ้มค่า ด้วยจำนวนของเวลาและความพยายามที่จำเป็นน้อยที่สุดแฟรงค์ กิลเบิรธ เคยเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เขาได้สังเกตุการเคลื่อนไหวของคนงานก่ออิฐ และได้เสนอแนะการกำจัดการเคลื่อนไหวที่ไม ทำให้คนงานก่ออิฐเพิ่มสูงขึ้นเป็นสามเท่าต่อวัน แฟรงค์ กิลเบิรธ มองว่าการเคลื่อนไหวและความเหนื่อยจะต้องคู่กัน การลดจำนวนการเคลื่อนไหวย่อมจะทำให้ความเหนื่อยลดงาน คนงานก่ออิฐยิ่งทำงานได้มากขึ้น เขาได้ใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์ศึกษาการเคลื่อนไหวที่ประหยัดที่สุดของงานแต่ละอย่างแฟรงค์ กิลเบิรธ ได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของมือและได้แบ่งย่อยการเคลื่อนไหวของมือเป็น 17 หน่วยที่แตกต่างกันเรียกว่า 17 เธอร์บลิกส์เป็นชื่อของกิลเบิรธ สะกดย้อนหลัง ยกเว้นตัวที และตัวเอช แพทย์ปัจจุบันได้เป็นหนี้บุญคุณต่อแฟรงค์ กิลเบิรธ นับตั้งแต่เขาเป็นบุคคลแรกที่ได้เกิดความคิดว่าแพทย์ผ่าตัดควรจะใช้พยาบาลเป็น “แคดดี้” ส่งเครื่องมิอที่ต้องการแก่แพทย์ผ่าตัด ก่อนหน้านี้แพทย์ผ่าตัดต้องค้นหาและรับเเครื่องมือมาเองในขณะที่กำลังผ่าตัดอยู่ Cheaper by Dozen : เหมาโหลถูกกว่า เป็นหนังสือนวนิยายกึ่งชีวประวัติ เขียนโดย แฟรงค์ จูเนียร์ ลูกชาย และเอิรนเนสทิน ลูกสาวของแฟรงค์ และลิลเลี่ยน กิลเบริธ เมื่อ ค.ศ 1948 หนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงครอบครัวกิลเบิรธได้การใช้การค้นพบใหม่ของการเคลื่อนไหวและเวลาดูแลบ้าน และเลี้ยงลูก 12 คนอย่างไร และหนังสือเล่มนี้ได้ถูกบันดาลใจสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วยชื่อหนังสือเกิดจากเรื่องตลกที่ชอบเรื่องหนึ่งของแฟรงค์ กิลเบิรธ มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อเขาและครอบครัวขับรถยนต์ไปข้างนอกและหยุดตรงไฟแดงคนเดินถนนได้ถามว่า ” เฮ้ นาย มีลูกหลายคนทำไม” แฟรงค์ กิลเบิรธ แสร้งทำเป็นสงสัยต่อคำถาม และเมื่อไฟเขียว เขาได้ตอบว่า ” พวกเขาออกมาเป็นโหลย่อมจะถูกกว่า คุณรู้ไหม”
Cr : รศ สมยศ นาวีการ