jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ (14) - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ (14)

ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ (14)

ผู้เขียน อ.อดุลย์ มานะจิตต์

โดยพวกเขาไม่รู้ตัว’ ดังนั้นสุลัยมานจึงยิ้มสรวลในคำพูดของพวกเขาเหล่านั้น (อัล กุรอาน 27:18-19)

 

(สุลัยมาน) กล่าวว่า ‘โอ้ที่ปรึกษาทั้งหลาย! ผู้ใดในหมู่พวกท่านบ้างที่อาสาไปนำบัลลังก์ของนางมามอบให้กับฉัน ก่อนที่พวกเขาจะมาหาฉันในฐานะผู้สวามิภักดิ์’ (อัล กุรอาน 27:38)

 

ได้มี ‘อิฟรีด’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพวกญินกล่าวลาสาขึ้นว่า ‘ข้าขออาสาเป็นผู้ไปนำบัลลังก์นั้นมาเอง ก่อนที่ท่านจะลุกออกไปจากที่ของท่านนี้แหละ และแท้จริงข้ามีพลังอีกทั้งซื่อสัตย์บนงานนั้น'(อัล กุรอาน 27:39)

 

ส่วนผู้มีความรู้บ้าง (ส่วนหนึ่ง) ของคัมภีร์กล่าวว่า ‘ข้าขอเป็นผู้ไปนำมันมาเอง ก่อนที่สายตาของท่านจะกระพริบกลับมายังท่าน’ ครั้นเมื่อสุลัยมานได้มองเห็นบัลลังก์นั้นมาวางอยู่ต่อหน้าเขาเรียบร้อยแล้ว เขาจึงกล่าวว่า ‘นี่เป็นส่วนหนึ่งจากความโปรดปรานแห่งองค์อภิบาลของฉัน เพื่อพระองค์จะทรงหดสอบฉันว่า ฉันจะกตัญญูหรือฉันจะอกตัญญู อันที่จริงผู้ใดกตัญญู แน่นอนที่สุด! เขาก็กตัญญูเพื่อตัวของเขาเอง และผู้ใดอกตัญญู แน่แท้องค์อภิบาลของฉันย่อมมั่งคั่ง อีกทั้งทรงเผื่อแผ่ยิ่งนัก’ (อัล กรอาน 27:40)

 

มีผู้กล่าวแก่นาง (ราชินีแห่งชีบา) ว่า ‘ขออัญเชิญพระนางเข้าสู่พระราชวังนี้เถิด’ ครั้นมือนางได้เห็นพระราชวังนั้น นางก็คิดว่ามันเป็นเพียงสระน้ำ และนางได้ดึงกระโปรงจากน่องทั้งสองของนาง สุลัยมานจึงกล่าวว่า ‘ที่จริงมันเป็นวังที่ถูกสร้างขึ้นเป็นเงาลื่นจากระจก’นางจึงอุทานว่า ‘โอ้องค์อภิบาลของข้า! แท้จริงช้าได้อยติธรรมต่อตัวข้าเอง และข้าขอสวามิภักดิ์ร่วมกับสุลัยมานต่ออัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลแห่งโลกทั้งหลาย’ (อัล กุรอาน 27:44)

 

และแต่สุลัยมาน ให้มีลมพัดอย่างรุนแรง มันได้วิ่งไปตามคำสั่งของเขาสู่แผ่นดินที่เราได้ดลความจำเริญในนั้น และเรารอบรู้เสมอในทุกๆ สิ่ง (อัล กุรอาน 21:81)

 

และมีชาตานบางตนที่อาสาดำน้ำให้แก่เขา (สุลัยมาน) และทำงานอื่นจากนั้นอีก และเราได้ควบคุมพวกเหล่านั้นไว้ (อัล กุรอาน 21.62)

 

ภายหลังจากที่ศาสดาสุลัยมานสวรรคตแล้ว อาณาจักรอันยิ่งใหญ่และเกรียงไกรของพระองค์ก็มาถึงซึ่งการแตกสลายลงด้วย ถึงแม้จะมีกษัตริย์แห่งอิสราเอลและยูดาปกครองสืบต่อๆ กันมาอีกหลายพระองค์ก็ตาม แต่ก็มีการรบราฆ่าฟันกันเอง ตลอดจนถูกอำนาจของจักรวรรรรดิอื่นเข้ารุกราน เช่น กษัตริย์เนบูชัดเรชชารแห่งบาบิโลน เข้ายึดครองเล็มในเดือนมกราคม 588 ก่อนตริสต์ศักราช โบสถ์วิหารถูกทำลายสิ้นในเดือนกรกฎาคม 587 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวยิวถูกจับตัวเป็นเชลยไปยังนครบาบิโลน ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดไว้ในบทต่อๆ ไป

 

จากนั้นอาณาจักรยูดา ตกอยู่ภายได้การปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียโดยจักรพรรดิ ไซรัส มหาราช ในปี 539 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวยิวที่ตกเป็นเชลยอยู่ ณ นครบาบิโลนได้รับการปลดปล่อยให้กลับคืนสู่ภูเขาไซออนโบสถ์วิหารได้รับการบูรณะ กำแพงเมืองเก่าของนครเยรูซาเล็มถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี 439 ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยของศาสดา เอซรา ผู้สืบทอดต่อจากนีเฮมเมห์ จากศาสดา ฮักไก จาก อิสสะละละฮ์ จาก อีเซเกล ผู้ซึ่งนบีเหล่านี้เป็นจำนวนหนึ่งจาก 313 ท่านที่มีนามปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลเก่า

 

จากนั้นปาเลสไตน์จึงเข้าสู่ยุคการถูกยึดดรองโดยกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งจักรวรรดิมาซิโดเนีย ในปี 332 เมื่อจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ กรีกและมาชิโดเนียจึงตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของจักรพรรดิโรมัน เยรูซาเล็มก็เช่นกัน ตกอยู่ใต้การปกครองของจักรพรรดิปอมเป ในปี 64 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงสมัยของศาสดา ซะกะรียา และศาสดายะฮ์ยา หรือจอห์น เดอะแบบทิสท์ ผู้เป็นบุตรชาย

 

ภายหลังจากกษัตริย์ เฮรอด มหาราช (37-4 ก่อน ค.ศ.) กษัตริย์แห่งยูดาสิ้นพระชนม์ ราชบุตรสามพระองค์คือ อาคีลุส ทรงเป็นเจ้าเมืองสะมาเรีย (4 ก่อน ค.ศ.- ค.ศ. 6) และ แอนตีปาส ทรงปกครองเมือง กาลิลี(4 ก่อน ค.ศ.-ค.ศ. 39) และ ฟิลลิป ทรงปกครองเมือง บาทานาอี (4 ก่อนค.ศ.-ค.ศ.34) ส่วนอาณาจักรยูเดียทั้งหมดอยู่ภายใต้พระราชอำนาจของผู้แทนของจักรพรรดิโรมัน และในช่วงสมัยแห่งการปกครองของจักรพรรดิโรมันมืองที่ พระเยซู ถือกำเนิด ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นของปีที่ แห่งคริสต์ศักราช และเป็นการสิ้นสุดของปีที่ 1 ก่อนดริสต์กาล ทั้งนี้เพราะไม่ปีที่ ๑ ซึ่งต่อแต่นี้ไปจะใช้เฉพาะตัวเลขของปีเท่านั้น แต่สำหรับปีก่อนคริสต์ศักราชจะคงเรียกตามเดิม

 

สรุปก็คือ ศาสดามูชาเป็นศาสนทูตของพระเจ้ามีนามปรากฏอยู่ในอัล กุรอาน จึงเป็นศาสดาท่านที่ 14 และเป็นผู้สืบแทนฯ ท่านที่ 24 ได้รับคัมภีร์ชื่อเตารอตหรือโตร่า ซึ่งฉบับที่แท้จริงนั้นสูญหายไปสิ้น ส่วนคัมภีร์ไบเบิลเก่าซึ่งมีด้วยกันมากมายหลายฉบับและบันทึกไว้ต่างกรรมต่างวาระกันนั้น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นวิวรณ์ที่แท้จริงของพระเจ้า ดังที่ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วข้างต้น

 

ศาสดาฮารุนเป็นนปีท่านที่ 15 เนื่องจากท่านเสียชีวิตก่อนศาสดามูซาสองปี ณ ดินแดนคันฮาน ศาสดามูชาจึงแต่งตั้ง ยูซูอะ บินมูน เป็นนบีและเป็นผู้สืบทอดฯ ตามพระบัญชาของพระเจ้าลำดับที่ 25 ภายหลังจากยูชูอะเป็นนบี ผู้ซึ่งมีนามปรากฏอยู่ในอัล กุรอานจำนวนสองท่านคือศาสดาอิลยาส และศาสดา อัลยะซะล์ ผู้ซึ่งป็นเป็นมลำดับที่ 16 และ 17 ตามลำดับ

 

จากนั้นดาวูดจึงถูกแต่งตั้งให้เป็นศาสดาและรอซูล ซึ่งมีนามปรากฎอยู่ในอัล กุรอานลำดับที่ 18 และเป็นผู้สืบทอดฯ ท่านที่ 26 ติดตามมามมาด้วยสุลัยมานผู้เป็นนบีท่านที่ 19 และเป็นผู้สืบทอดและทายาทของคัมภีร์บทสรรเสริญและหนังสือฮะดิษตามคัมภีร์ซะบูรของศาสดาดาวูด ตามลำดับที่ 27 โปรดสังเกตว่าเรื่องราวของท่านปรากฎเป็นสำคัญอยู่ในซูเราะฮ์ที่ 27 ซึ่งมีชื่อบทว่า อัน นัมลูซึ่งแปลว่า มด’ ดังได้กล่าถึงแล้วในรายละเอียด

 

จากนั้น อซีฟ บิน เบิรอะคียา จึงเป็นผู้สืบทอดฯท่านที่ 28 ภายหลังจากอซีฟยังมีศาสดาอีกสองท่านที่ปรากฏนามในอัล กุรอาน คือศาสดาชุลกิฟลิ้ และศาสดายูนุส ก่อนการมาของศาสดา ซะทะร็ยาและศาสดายะฮ์ยา

 

ศาสดาซูลกิฟลี้และศาสดายูนุส จึงเป็นนปีท่านที่ 20 และ 21 ตามลำดับ ซึ่งเรื่องราวของศาสดายูนุสมีปรากฎเป็นรายละเอียดอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน ณ ซูเราะฮ์ ‘ยผุส’ บทที่ 10 คัมภีร์ไบบิลเรียกท่านว่า โยนะฮ์ แมททิว หรือโยนา บินมาตี ซึ่งท่านเผยแผ่ศาสนาอยู่ ณ เมืองนีนวาหรือไนน์เวตอนเหนือของอิรัก ซึ่งมีประชากรในขณะนั้นหนึ่งแสนคน นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าท่านมีชีวิตอยู่เมื่อปี 862 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งตรงกับช่วงการกลับฟื้นคืนอำนาจของชาว อัชชีเรียน โดยมีกษัตริย์ชื่อ อัชซูรนาซิรับลี 2 (884-860) เป็นผู้รื้อพื้นการก่อตั้งจักรวรรดิอัชซีเรียขึ้นอีก และเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในทุกสาขาวิชา จนกลายเป็นแหล่งอันสำคัญทางความรู้ของวรรณคดีแห่งบาบิโลเนีย จนถึงวาระแห่งการล่มสลายของจักรวรรดิในปี609 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นการเปิดทางให้กับการขึ้นสู่อำนาจของราชาชวงศ์ชาลเดียน แห่งบาบิโลเนีย โดยมีกษัตริย์เนชัดเรชชาร (ที่ 2) มหาราช(605-561 ก่อนค.ศ.) ผู้ซึ่งยกกองทัพเข้าพิชิตอาณาจักรยูดาและเข้ายึดครองนครเยรูซาเล็มในปี 597 ก่อนดริสต์ศักราช ดังได้กล่าวถึงแล้วและอาจะกล่าวถึงอีกในบทต่อๆ ไป

 

อาณาจักรคาลเดียนล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว เมื่อต้องพ่ายแพ้ต่อการรุกรานของกษัตริย์ไซรัสมหาราชแห่งจักรรรดิเปอร์เชีย ณ วันที่ 29ตุลาคม 539 ก่อนคริสต์ศักราช ดังกล่าวถึงแล้วเช่นกัน

 

เนื่องจากศาสดาทั้งสองไม่ได้เป็นผู้สืบทอดฯ ดังนั้นหน้าที่นี้จึงยังคงเป็นของท่านอซีฟ บินเบิรอาคียา ที่จะต้องส่งมอบต่อให้กับท่านศาสดาซะกะรียา ซึ่งเป็นผู้สืบทอดฯ ท่านที่ 29 และเป็นนบีผู้มีนามปรากฏในอัลกุรอานท่านที่ 22 ผู้ซึ่งศาสดายะฮ์ยาบุตรชายของท่านจึงเป็นนมีท่านที่ 23ตามลำดับ

 

เรื่องราวของท่านศาสดาอีซาหรือพระเยคริสต์ ถือได้ว่ามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากท่านเป็นนปีและรอซูลท่านที่ 24 และเป็นผู้สืบทอดและทายาทของคัมภีร์บทสรรเสริญและฮะฮะฮะดิษลำดับที่ 30 และเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ท่านเป็นผู้สืบสายตระกูลโดยตรงมาจากศาสดาดาวูดในทางคุณตาและจากศาสดาฮารูนหรืออารอนทางคุณยาย ซึ่งทั้งสองสายนี้ล้วนสืบตระกูลโดยตรงมาจากศาสดายะอ์กูบหรือจาค๊อบ ผู้เป็นบิดาของบนีอิสรออีลหรือของชนชาติยิวที่มีจำนวน 12 เผ่าพันธุ์จนถึงปัจจุบัน

 

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ชนชาวยิวที่ได้ชื่อว่าเป็นบุตรหลานของศาสดายะอ์กูบหรือบนีอิสรออีลนับจากสมัยของศาสดาซะกะรียาเป็นต้นมา กลับปฏิเสธการเป็นนมีของท่านเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาอีชาหรือพระเยซูคริสต์ ดังนั้นผู้คนของโลกที่ศรัทธาในศาสตาอีขานับจากวันจนถึงวันนี้จึงมีแต่ชาวคริสต์และขาวมุสลิมเท่านั้น ส่วนชาวยิวหรือพวกยะฮูดีกลับตั้งตัวเป็นศัตรูกับบรรดาผู้ศรัทธาในตาสตาอีชาจนถึงปัจจุบัน และคงดำเนินต่อไปจนถึงวาระแห่งการกลับคืนมาของพระเยซูคริสต์

 

จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นอีกเช่นกัน ที่จะต้องบรรยายถึงเรื่องราวของศาสดาทั้งสามท่านผู้ยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอย่างยึดยาวต่อไปอีกดังนี้

 

มัรยัมหรือมารีอาหรือพระแม่มารีมารดาของศาสดาอีซา

 

ภรรยาของอิมรอนไม่มีบุตรเพราะเป็นหมัน แต่นางได้ยินจากสามีของนางว่า พระเจ้าทรงสัญญาว่าจะมีบุตรชายคนหนึ่งเกิดจากนาง ผู้ซึ่งสามารถจะนำผู้คนมาสู่การมีชีวิตและรักษาษาคนป่วยด้วยเช่นกัน โดยผ่านทางอำนาจและพระบัญชาของพระเจ้า

 

นางเชื่อศรัทธาว่าพระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกรสามารถทำสิ่งนี้ได้ และวิงวอนต่อพระองค์ว่าขอให้เป็นตัวนางที่พระเจ้าจะทรงประทานบุตรชายมาให้

 

พระเจ้าทรงตอบรับคำวิงวอนของนางและนางจึงตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการขอบคุณต่อความจำเริญและร่างวัลอัลอันยิงใหญ่นี้ นางสาบานว่า นางจะถวายบุตรของนางให้รับใช้งานอยู่ ณ บ้านของพระเจ้า(ในเยรูซาเล็ม)

 

ทารกที่ถือกำเนิดมานี้เป็นหญิง เมื่อมารดาเห็นเธอนางจึงกล่าวขึ้นว่าหารกนี้เป็นหญิง แต่ถึงกระนั้น! ฉันก็จะยึดถืออยู่กับคำสาบานของฉัน ฉันตั้งชื่อให้กับเธอว่า มัรย้ม ฉันขอมอบหารกกับบุตรหลานของเธอที่จะมีมาไว้ในการคุ้มครองของพระองค์ ให้พ้นจากความชั่วร้ายของซาตาน (อัล กุรอาน 3:33-36)

 

ภรรยาของอิมรอนพามัรยัมไปยังบ้านของพระเจ้า และมอบหมายเธอให้กับผู้พิทักษ์สถานที่แห่งนั้น เนื่องแต่ทารกเป็นบุตรสาว หัวหน้าของพวกเขาคือท่านอิมรอน ทุกคนจึงต้องการจ่ายค่าเลี้ยงดูและเป็นผู้ปกรองให้กับเธอ เพื่อว่าเกียรติยศของการดูแลบุตรสาวของอิมรอนจะได้อยู่กับตัวเขา ในที่สุดจึงเกิดการโต้แย้งกันขึ้นระหว่างพวกเขา และเพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้พวกเขาจึงตกลงให้มีการจับไม้สิ้นไม้ยาวในหมู่ที่ทำหน้าที่พิทักษ์บ้านของพระเจ้า การจับไม้สั้นไม้ยาวได้ผออกมกว่าท่านศาสดาซะกะรียาเป็นผู้ชนะ ดังนั้นมัรยัมจึงมาอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์และการแนะนำของศาสดาซะกะรียา และเธอจึงค่อยๆ เติบโตขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรอื่นนอกจากการเคารพภักดีและการบริการ ณ บ้านของพระเจ้า

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *