มองฉากทัศน์การเมืองอิหร่านหลังสิ้น ปธน.ซัยยิด อิบรอฮีม รออีซี่ (ตอนที่๒)
มองฉากทัศน์การเมืองอิหร่านหลังสิ้น ปธน.ซัยยิด อิบรอฮีม รออีซี่ (ตอนที่๒)
ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน
คณะรัฐประศาสนศาสตร์/ศูนย์อิหร่านศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ฉากทัศน์เลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านคนใหม่
มองจากทัศน์การเมืองการเมืองอิหร่านหลังการเสียชีวิตซัยยิด อิบรอฮีม รออีซี่ อดีตประธานาธิบดีคนที่๘ ทันทีที่รัฐพิธีศพของชะฮีด รออีซี่จบลง ทางอิหร่านได้ประกาศวันเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ทันที นั่นตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน 2567นี้ โดยได้เริ่มเปิดรับสมัครตั้งวันที่ 30 พฤษภาคม ปรากฏว่ามีผู้สมัครชิงประธานาธิบดีอิหร่านมากกว่า 80คน แล้วต่อมาสภาผู้พิทักษ์ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร และหลังจากนั้นให้มีการหาเสียงเป็นเวลา 15วัน และในขณะนี้รายชื่อผู้สมัครที่ผ่านการตรวจสอบจากสภาผู้ทักษ์(Guardian Council )มีทั้งหมด 6ท่านคือ
อีกด้านมีบุคคลทางการเมืองชื่อดังไม่ได้ถูกรับรองคุณสมบัติเช่น อะลี ลารียานี อดีตประธานรัฐสภา อิสฮาก ยะฮอนกีรี รองประธานาธิบดีคนที่หนึ่งสมัยประธานาธิดีรูฮานี และมะมูด อะมะดี เนจ๊าด อดีตประธานาธิบดีอิหร่านสายแข็งก็ถูกปฎิเสธคุณบัติในการชิงการเลือกเลือกตั้งในครั้งนี้ด้วย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์การเมืองอิหร่านดังขึ้นอีกครั้งของสีสันการเลือกตั้ง จนต้องทำให้โฆษกสภาผู้พิทักษ์(Guardian Council) ผู้มีหน้าที่หลักการตรวจสอบคุณสมบัติออกมากยืนยันถึงความโปร่งใสว่า
“จากการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าชิงประธานาธิบดี ถือเป็นเรื่องปกติที่มีบุคคลสมัครคาดหวังจะได้รับการเลือกตั้งและก็จะมีบางคนก็ต้องผิดหวังที่ไม่ได้ถูกรับรองคุณสมบัติ แต่เราเชื่อมั่นว่าประชาชนมีความเข้าใจและคงจะไม่สร้างความไม่สงบและก่อเหตุใดๆให้เกิดขึ้น และขอร้องต่อบรรดาผู้สมัครทั้งหลายโปรดเคารพต่อการวินิจฉัยของสภาผู้พิทักษ์ที่ยึดหลักรัฐธรรมนูญเป็นที่ตั้ง และรัฐธรรมนูญคือตัวตัดสินของการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครทุกคน”
ส่วน ซัยยิดฮะซัน โคมัยนี หลานของอิมามโคมัยนีผู้ล่วงลับ ได้กล่าวในวันรำลึกครบรอบวันอสัญกรรมอิมามโคมัยนีปีที่๓๕ ว่า“ด้วยความพระประสงค์ของพระเจ้า เราจะได้เห็นการออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้งอย่างมีความหมายของประชาชาติอิหร่าน และผู้ใดที่มีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง คงจะเตรียมความพร้อมในทุกๆด้านเพื่อการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นแน่”
มองการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านคนที่ ๙
ประธานาธิบดีอิหร่านมาจากการเลือกตั้งโดยจะทำหน้าที่สมัยละ 4 ปี และห้ามเกิน 2 สมัย รัฐธรรมนูญระบุว่าประธานาธิบดีเป็นผู้คนที่มีตำแหน่งสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และมีหน้าที่ทำให้ประเทศดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญ เขามีอิทธิผลอย่างมากในการกำหนดนโยบายในประเทศและต่างประเทศ
การเลือกตั้งครั้งนี้มีขึ้นในห้วงสำคัญของอิหร่านก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองระหว่างประเทศที่อิหร่านมีบทบาทในการสงครางระหว่างฮามาสกับอิสราเอล หรือบทบาทกลุ่มตัวแสดงไม่ใช่รัฐ(Non State Actor)เป็นพันธมิตรของอิหร่านในการต่อต้านอิสราเอล อย่างกลุ่มฮิซบุลเลาะฮ์ในเลบานอน กลุ่มฮูตีในเยเมน และกลุ่มต่อต้านอื่นๆในอิรักและซีเรียที่มีความเข็มแข็งมากทีเดียว ในขณะที่การเกิดอุบัติเหตุทำให้อดีตประธานาธิบดีรออีซี่ต้องเสียชีวิต จึงต้องรีบจัดการเลือกตั้งเร็วกว่าปกติ นั่นหมายความว่าได้มีกำหนดเลือกตั้งเร็วขึ้น๑ปีเลยทีเดียว ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าการเตรียมตัวของผู้สมัครและการกำหนดของผู้สมัครยังไม่สะเด็ดน้ำทั้งปีกการเมืองฝ่ายอนุรักษ์และปีกการเมืองฝ่ายปฎิรูปอาจจะส่งผลต่อนโยบายการต่างประเทศของอิหร่านหรือไม่อย่างไรและอิหร่านเองกำลังเผชิญปัญหาจากถูกคว่ำบาตรจากการดำเนินโครงการนิวเคลียร์ ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำในประเทศสูงกว่าในยุคอดีตประธานาธิบดี รูฮานี ดังนั้นจึงเป็นโจทย์สำคัญและท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มาเป็นประธานาธิบดีคนที่เก้านี้และนักวิเคราะห์ได้มองฉากทัศน์ไว้ดังนี้
หนึ่ง– ผู้สมัครผ่านการตรวจสอบทั้งหกคน มีห้าคนอยู่ในสายการเมืองปีกอนุรักษ์นิยม ส่วนที่มาจากปีกการเมืองสายปฎิรูปนิยมมีแค่หนึ่งคนเท่านั้นคือนายมัสอูส เพซิช กียอน อดีตรองประธานรัฐสภาคนที่1 และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขยุคอดีตประธานาธิบดี โรฮานี นั่นหมายความว่า ความเป็นไปได้สูงประธานาธิบดีคนใหม่จะมาจากปีกการเมืองฝั่งอนุรักษ์สายแข็งตามนิยามของสื่อตะวันตกเหมือนกับอดีตประธานาธิบดีรออีซี่ แต่ก็มีอีกบทวิเคราะห์มองว่าก็เป็นไปได้ที่ฐานเสียงฝ่ายปฎิรูปจะเทการลงคะแนนให้นายมัสอูส เพซิช กียอนอย่างเป็นเอกภาพ ส่วนอีกห้าคนจากปีกอนุรักษ์ต้องได้แย่งเสียงกันเอง และอาจจะมีลุ้นได้ประธานาธิบดีคนที่เก้าที่มาจากปีกการเมืองสายปฎิรูป
สอง– ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้คาดการณ์ว่าจะมีผู้มาลงคะแนนเสียงมากกว่าครั้งที่ผ่านมา เพราะจากผลกระทบของชาวอิหร่านที่เกิดขึ้นกับความสูญเสียประธานาธิบดี รออีซี่เพื่อให้กำลังใจฝ่ายบริหาร แต่ก็มีนักวิเคราะห์มองอีกมุมว่าประชาชนชาวอิหร่านเบื่อยหน่ายกับการเมืองภายใน กอรปกับรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นเป็นไปได้ที่เห็นการออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งไม่กึกกั๊กและอาจจะน้อยกว่าครั้งที่ผ่านมา
สาม– สีสันการเมืองอิหร่านยังคงได้เห็นภาพการถูกตัดสิทธิ์ของผู้สมัครคนดังทางการเมือง อย่าง ดร.อะมะดี เนจ๊าด อดีตประธานาธิบดีสองสมัย หรือ ดร.อะลี ลารียานีอดีตประธานรัฐสภาและอีกหลายท่าน นั่นสะท้อนถึงความเด็ดขาดของสภาผู้พิทักษ์ที่มีหน้าที่กลั่นกรองคุณสมบัติผู้สมัคร ถึงแม้สื่อตะวันตกจะพยายามจะตั้งคำถามว่า นั่นคือใบสั่งจากผู้นำสูงสุดหรือไม่ และเป็นคำถามคาใจสำหรับผู้สมัครและกลุ่มสนับสนุนทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง
ผู้นำสูงสุด อายาตุลลอฮ์ คามาเนอี ได้กล่าวประเด็นการเลือกตั้งครั้งนี้ไว้น่าสนใจว่า
“โอ้ประชาชาติอิหร่านผู้เปี่ยมล้นไปด้วยหลักการและมีเป้าหมาย การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ถือว่าเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่สำหรับพวกท่านทั้งหลายอีกครั้ง และการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญอีกครั้งของประชาชาติอิหร่านของเรา ดังนั้นถ้าการเลือกตั้งเกิดขึ้นกับด้วยความงดงามและความยิ่งใหญ่แล้วไซร้ นั่นคือผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ของชาวอิหร่านนั่นเอง เพราะนั่นจะเป็นการทดแทนในช่วงเวลาแห่งความขมขื่นกับเหตุการณ์น่าเศร้า(การจากไปของประธานาธิบดีรออีซี่)
การออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดี จะเป็นภาพสะท้อนของโลกวันนี้อย่างน่ามหัศจรรย์ทีเดียว เพราะการเลือกตั้งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดจะกำหนดความไม่ปกติทางการเมืองระหว่างประเทศและจะรักษาผลประโยชน์ของชาติไว้ถึงที่สุด
การเลือตั้งคือการยึดมั่นต่ออุดมการณ์เป็นที่ตั้งในการขับเคลื่อนประเทศ เพราะประเทศชาติยังต้องการและจำเป็นต่อประธานาธิบดีผู้ที่มีความมุ่งมั่นเสียสละและยึดมั่นในหลักการของการปฎิวัติ(ตามวิถีอิมามโคมัยนี)
ข้าพเจ้าขอสั่งเสีย ขอให้ทุกคนสดับรับฟังว่า การขับเคลื่อนอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี โปรดคำนึงถึงการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง โดยพิจารณาคุณสมบัติประธานาธิบดีที่มาจากผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม และโปรดตระหนักว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีคือหน้าที่ ดังนั้นจงไปทำหน้าที่นั้นให้สมบูรณ์เถิด และด้วยความพระประสงค์ของพระเจ้า พระองค์จะประทานประธานาธิบดีที่เหมาะสมและคู่ควรกับชาวอิหร่านอย่างแน่นอน”
การเลือกประธานาธิบดีครั้งนี้ จะเป็นข้อพิสูจน์ของอิหร่านอีกครั้งว่าจะได้ฝ่ายบริหารมาจากปีกการเมืองสายอนุรักษ์หรือปีกการเมืองสายปฎิรูปในภาวะการเมืองระหว่างประเทศของอิหร่านที่มีความท้าท้ายและเข้มข้นยิ่งนัก ดังนั้นวันที่28 มิถุนายน นี้ คงจะได้เห็นหน้าตาว่าที่ประธานาธิบดีอิหร่านคนที่เก้ากัน.