บุคคลที่สร้างอเมริกา : ขุนนางนักปล้น หรือกัปตันของอุตสาหกรรม
บุคคลที่สร้างอเมริกา : ขุนนางนักปล้น หรือกัปตันของอุตสาหกรรม
เมื่อจอห์น ดี. รอคกี้เฟลเลอร์ ผู้ก่อตั้งสแตนดาร์ด ออยล์ คอมพานี ได้บริจาคเหรียญ 10 เซ็นต์แก่เด็กยากจนเรียงแถวตามถนน เขาเชื่อว่าการรณรงค์เหรียญ 10 เซ็นต์จะช่วยลบล้างภาพพจน์ไม่ดีของเขาจากการเป็นผู้ผูกขาดน้ำมันได้ จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ มองว่าเขากำลังตอบสนองความร้บผิดชอบทางสังคมด้วยการช่วยเหลือเด็กที่อดอยาก
นับตั้งแต่สมัยจอห์น รอคกี้เฟลเลอร์ เป็นต้นมาความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัทจำนวนมากได้ดำเนินโครงการทางสังคมตั้งแต่การสนับสนุนศิลปและวัฒนธรรม การช่วยเหลือการกุศล การปฏิรูปการศึกษา ไปจนถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม
จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ จะเป็นมหาเศรษฐีคนแรกของอเมริกาภายในความรู้สึกอย่างแท้จริง เป้าหมายของนายทุนคนไหนก็ตามคือ การทำเงิน และจอห์น
รอคกี้เฟลเล่อร์ จะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของทุนนิยม ภายใต้การเอาชนะการเริ่มต้นอย่างถ่อมตัว จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์จะมีวิสัยทัศนฺและแรงขับเคลื่อนที่จะกลายเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดภายในอเมริกา ณ ใกล้จะถึงศตวรรษใหม่ เมื่อคนงานได้ค่าจ้าง 8 ถึง 10 ต่อสัปดาห์ จอห์น รอคกี้ิเฟลเล่อร์ จะมั่งคั่งเป็นล้านเหรียญ ความลับของเขาคืออะไร เขาควรจะวางบนแท่นแก่บุคคลอื่นเป็นกัปตันของอุตสาหกรรมหรือ หรือเขาควรจะถูกประณามเป็นขุนนางนักปล้นหรือ โดยความหมายแล้วขุนนางนักปล้นจะเป็นนายทุนอเมริกันที่สร้างความมั่งคั่งตัวเขาเองบนหยาดเหงื่อของบุคคลอื่น หาประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติ หรือครอบครองอิทธิพลของรัฐบาลที่ไม่ยุติธรรม
จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ ได้ถูกรู้จักเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งบนโลกนี้ เมื่อเขาเสียชีวิต ค.ศ 1937 บุคคลส่วนใหญ่ที่อยู่ใกล้กับลำดับที่สิบของเงินของเขาส่วนใหญ่จะเป็นขุนนางนักปล้น จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ จะเป็นกัปตันของอุตสาหกรรม
เพราะว่าเขาได้ก่อตั้งสแตนดาร์ด ออยล์ และได้กลายเป็นนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ในขณะที่เขาได้เผชิญกับข้อวิจารณ์บางอย่างที่ผ่านมาต่อเขาได้สะสมความมั่งคั่งอย่างไร ความพยายามทางกุศลของเขาได้ทาสีเขาเป็นกัปตันของอุตสาหกรรมที่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
เขาได้บริจาคมากกว่าห้าร้อยล้านเหรียญแก่การกุศล มหาวิทยาลัย และวัด ไม่ว่าข้อสรุปจะเป็นอะไรก็ตาม ผลกระทบของจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ ต่ออเมริกาต้องการการยกย่อง บุคคลบางคนจะไม่เห็นด้วยกับว่าจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์เป็นกัปตันของอุตสาหกรรม ที่จริงแล้วบุคคลอาจจะเรียกเขาเป็นขุนนางนักปล้น ความคิดเห็นนี้จะไม่มีมูลความจริงทุกอย่าง ทำนองเดียวกับนักธุรกิจใครก็ตาม จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ จะไม่เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ เขาได้ซื้อบริษัทน้ำมันอื่น จนกระทั่งเขามีการผูกขาดภายในอุตสาหกรรมน้ำมัน เมื่อการผูกขาดได้ถูกทำลายโดยรัฐบาล เขาได้สร้างบริษัทที่เป็นช่องโหว่ภายในกฏหมายการผูกขาด จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ ได้ทำหลายสิ่งที่จะแยกเขาเป็นกัปตันของอุตสาหกรรมได้ เขาได้ปรับปรุงธุรกิจน้ำมันด้วยวิถีทางที่แตกต่างหลายอย่าง
แอนดรูว์ คาร์เนกี้ จะมีความตรงกันข้ามภายในวิถีทางหลายอย่าง เขาจะเป็นนักอุตสาหกรรมสำคัญภายในการสร้างอุตสาหกรรมเหล็ก การเจริญเติบโตความมั่นคั่งของเขาเองภายในกระบวนการ ก่อนที่จะบริจาคความมั่งคั่งต่อมาภายในชีวิตของเขา เขาได้ทำงานจากเด็กกระสวยด้ายจนกลายเป็นนักธุรกิจเหล็กที่ยิ่งใหญ่
เขาสามารถสะสมความมั่งคั่งของเขาโดยการเป็นเจ้าของทุกด้านของกระบวนการผลิต แต่กระนั้นเขาไม่ได้เป็นนายจ้างที่ดีต่อคนงานของเขา ทั้งที่
การสอนว่าพวกเขาควรจะมีสิทธิก่อตั้งสหภาพ ที่จริงแล้วเขาได้ตัดสินใจลดค่าจ้างของคนงานโรงงานลงเมื่อ ค.ศ 1892 การนำไปสู่การนัดหยุดงานโฮมสเตรด ความรุนแรงได้เกิดขึ้นเมื่อบริษัทได้จ้างยามที่จะสลายการนัดหยุดงานทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง แต่กระนั้นคารเนกี้ ได้ตัดสินใจเกษียณเมื่ออายุ 65 ปี ทีจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยการสร้างห้องสมุดมากกว่า 2,000 แห่ง และการลงทุนภายในการศึกษา
แอนดูรว์ คาร์เนกี้ จะเป็นบุคคลที่ขัดแยังกันเอง เขาจะเป็นผู้อพยพมาสู่อเมริกาจากสก็อตแลนด์ เขาได้ก้าวไปข้างหน้าและได้กลายเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดและ
มีพลังมากที่สุดภายในอเมริกาอย่างรวดเร็ว เขาได้สนับสนุนสิทธิของคนงานแต่ทำลายสหภาพ
แอนดรูว์ คาร์เนกี้ จะเป็นตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่ของเรื่องราวยาจกไปสู่มหาเศรษฐีของอเมริกา เขาเกิดภายในครอบครัวชาวสก็อตที่ยากจน เขาและพ่อแม่ของเขาอพยพมาสู่อเมริกาเมื่อเขามีอายุ 13 ปี เขาได้สร้างความร่ำรวยของเขาโดยการลงทุนภายในอุตสาหกรรมเหล็ก และได้กลายเป็นเจ้าของคาร์เนกี้ สตีล คอมพานี บริษัทเหล็กใหญ่ที่สุดภายในโลกเมื่อ ค.ศ 1889 ทั้งที่มีข้อวิจารณ์บางอย่างต่อคนงาน ณ คาร์เนกี้ สตีล ได้ถูกปฏิบัติอย่างไร แอนดูรว์ คาร์เนกี้ จะกระตือรือร้นภายในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ภายใต้ความพยายามของเขา แอนดรูว์ คาร์เนกี้ ได้ถูกรู้จักเป็นกัปตันของอุตสาหกรรม หรือผู้นำที่รับใช้ประเทศของพวกเขาภายในวิถีทางบวก
แอนดูรว์ คาร์เนกี้ได้รับชื่อนี้เพราะว่า เพราะว่าเขาได้กลายบุคคลร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งภายในโลก เขามาจากความยากจนและไม่มีอะไรเลย เหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำไมเขาควรจะถูกพิจารณาเป็นกัปตันของอุตสาหกรรม เพราะว่าเขาได้ช่วยผลิตเหล็กภายในวิถีทางที่มประสิทธิภาพมากขึ้น เหตุผลอีกอย่างหนึ่งทำไมเขาเป็นกัปตันของอุตสาหกรรม เพราะว่าไม่มีเขาเราจะไม่มีห้องสมุดที่เปิดแก่ทุกเชื้อชาติ วัฒนธรรม และศาสนา แอนดูรว์ คาร์เนกี้ได้้ถูกมอง
เป็นนักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เป้าสายตาของสาธารณะมากที่สุด เขาจะบริจาคการกุศล ห้องสมุด และมูลนิธิไปทั่วโลก แม้ว่าแอนดูรว์ คาร์เนกี้จะถูกรู้จักเป็นกัปตันของอุตสาหกรรม เขาจะถูกพิจารณาเป็นขุนนางนักปล้นด้วย เนื่องจากเขาได้สร้างความมั่งคั่งจากการมีคนงานของเขาทำงานหนักภายในโรงงาน สภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและเลวร้าย เขาจะเป็นขุนนางนักปล้นเพราะว่าเมื่อเขาบรรลุความสำเร็จและกลายเป็นถูกอ้างอิงว่า “บุคคลร่ำรวยที่สุดภายในโลก”
เขายังคงไม่ได้เพิ่มค่าจ้างแก่คนงานของเขา เมื่อคนงานได้ทำการนัดหยุดงาน
เขาได้ใช้ความรุนแรง แอนดูรว์ คาร์เนกี้ ได้เปลี่ยนแปลงโลกด้วยการคิดค้นเหล็กของเขา และเขาได้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ เนื่องจากการทุ่มเทการทำงานหนักและความเป็นผู้นำของเขา
เมื่อ ค.ศ 1889 แอนดูรว์ คาร์เนกี้ ได้เขียนบทความที่มีอิทธิพลอย่างมากเรียกว่า The Gospel of Wealth ภายใต้ความมั่งคั่ง แอนดูรว์ คาร์เนกี้ ได้อธิบายความรับผิดชอบของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ โดยบุคคลที่ร่ำรวยสร้างตัวเอง เขาได้เสนอแนะว่าวิถีทางที่ดีที่สุดของการจัดการกับปรากฏการณ์ใหม่ของความไม่เสมอภาคทางความมั่งคั่งคือ บุคคลที่มั่งคั่งควรจะจัดสรรความมั่งคั่งด้วยวิถีทางที่รับผิดชอบและรอบคอบ วิถีทางนี้จะตรงกันข้ามกับการให้มรดกสมัยเดิม
เมื่อความมั่งคั่งได้ถูกส่งลงมาที่เครือญาติ ตามหลักการของ The Gospel of Wealth ขุนนางนักปล้นหลายคนได้บริจาความมั่งคั่งของพวกเขาต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
เฮนรี ฟอรฺด ไม่ได้คิดค้นรถยนต์ คาร์ล เบนซ์ ได้คิดค้นรถยนต์ เขาไม่ได้คิดค้นสายพานประกอบ แต่เขาได้สร้างชื่อเสียงแก่สายพานประกอบ ทำไมบุคคลภายในโลกเรียกเฮนรี ฟอร์ด เป็นนักนวัตกรรม กัปตันของอุตสาหกรรม เฮนรี ฟอร์ด อาจจะไม่ได้คิดค้นอะไรก็ตาม 100% แต่เขารู้จะใช้ความคิดที่มีอยู่ และพัฒนามันให้เป็นบางสิ่งบางอย่างที่ผิดธรรมดาได้อย่างไร เฮนรี่ ฟอร์ด ต้องการให้ความคิดของรถยนต์
ที่สงวนไว้กับบุคคลร่ำรวย และทำให้รถยนต์ราคาถูกออกไปสู่บุคคลหลายล้านคน
เฮนรี่ ฟอร์ด จะเป็นนักอุตสากรรมที่มีชื่อเสียง ผู้ก่อตั้งฟอร์ด มอเตอร์ คอมพานี และผู้สนับสนุนของการพัฒนาสายพานประกอบของการผลิตจำนวนมาก การแนะนำรถยนตโมเดลทีของเขา ได้ปฏิรูปการขนส่งและอุตสาหกรรมอเมริกัน ในฐานะเจ้าของ
ฟอร์ด มอเตอร์ คอมพานี เขาได้กลายเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดและรู้จักกันดีที่สุดคนหนึ่งภายในโลก เขาได้ถูกยกย่องด้วย “ฟอร์ดนิยม” การผลิตจำนวนมากของผลิตภัณฑ์ราคาไม่แพงและตามมาด้วยค่าจ้างที่สูงแก่คนงาน
ปัญหาที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งที่เฮนรี ฟอร์ดได้เผชิญคือ กำลังงานของเขา คนงานโรงงานจะไว้วางใจไม่ได้ และวิธีการใหม่ของเขาจะเป็นงานที่เรียบง่ายและทำซ้ำ และความต้องการของเขาเพื่อการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจะทำให้การเข้าออกจากงานสูง ข้อแก้ปัญหาของเขาคือการเพิ่มค่าจ้างเป็นสองเท่าแก่คนงาน และการลดวันทำงานเป็นแปดชั่วโมง และสัปดาห์การทำงานเป็นห้าวัน การตัดสินใจของเฮนรี ฟอร์ดจะเป็นข่าวทั่วประเทศ แต่หนังสือพิมพ์ได้ดูหมิ่นเขาต่อการช่วยเหลือบุคคลธรรมดา การมองว่ามันจะเป็นนโยบายทางสังคม ไม่ใช่การตัดสินใจทางธุรกิจที่ดี พวกเขาเชื่อว่าเขากำลังทำร้ายอุตสาหกรรม หนังสือพิพ์ฉบับหนึ่งได้เรียกเขา ผู้ทรยศชนชั้น และวิจารณ์ว่าการจ่ายค่าจ้างแก่คนงานมากจะเป็นความผิดพลาด นั่นคือความรุนแรงต่อบุคคลเพียงแต่ต้องการจะจ่ายค่าจ้างแก่บุคคลมากขึ้นเล็กน้อย เพื่อที่จะเชื่อใจพวกเขาต่อการสร้างรถยนต์ที่มีคุณภาพ
เฮนรี่ ฟอร์ด จะเป็นกัปตันของอุตสาหกรรมที่ได้ถูกมองจากการปฏิบัติต่อคนงานอย่างดี เขาเชื่อว่าคนงานที่ได้รายได้ดีจะมีความสุขและประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เขาได้กำหนดค่าจ้างวันละ 5 เหรียญ สองเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างของผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น นอกจากนี้ระหว่างช่วงเวลาที่คนงานต้องทำงาน 10 ชั่วโมงต่อวัน หกวันต่อสัปดาห์ เฮนรี่ ฟอร์ด ได้จัดตารางเวลาคนงานของเขาเป็นวันละ 8 ชั่วโมง ห้าวันต่อสัปดาห์ เฮนรี่ ฟอร์ด ได้ใช้ความมั่งคั่งของเขาเพื่อการมีส่วนช่วยทางการกุศล เขาได้บริจาคเงินทุนแก่องค์การที่เขาได้สร้าง เช่น โรงพยาบาลเฮนรี่ ฟอร์ด แก่บุคคลทำงานยากจนที่สามารถ
จ่ายได้บางส่วนของค่ารักษาเท่านั้น ตลอดเส้นทางชีวิตของเขา เขาได้บริจาคประมาณ 14 ล้านเหรียญแก่สถาบัน นอกจากการบริจาคการกุศลของเขาแล้ว เฮนรี ฟอร์ด จะเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้รักความสงบ เขาจะเป็นส่วนหนึ่งของเรือสันติภาพไปยังยุโรปที่หวังว่าจะช่วยยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เฮนรี่ ฟอร์ด จะไม่เหมือนกับขุนนางนักปล้นอื่น และไม่มีบุคคลอื่นเปรียบเทียบกับเขาได้ เฮนรี ฟอร์ดจะเป็นบุคคลที่สร้างตัวเองและดีเด่น เขาได้สร้างรถยนต์โมเดลที ปฏิรูปโลกอุตสาหกรรม สายพานประกอบของเขา ได้ทำให้เกิดการผลิตจำนวนมากไปทั่วโลกอุตสาหกรรม ยิ่งกว่านั้นเฮนรี่ ฟอร์ดจะดูแลบุคคลอื่นมากกว่าตัวเขาเอง เขาได้บริจาคเงินของเขาส่วนใหญ่แก่การกุศล และได้ทิ้งเงินแก่ลูกชายของเขาที่จะสร้างมูลนิธิ ต่อมาจะรู้จักกันเป็นมูลนิธิฟอร์ด ชื่อเสียงของเฮนรี ฟอร์ดเป็นเจ้าของโรงงานจะดีเด่นด้วย เขาได้ปฏิบัติต่องานของเขาอย่างเคารพ และเขาจะดูแลคนงานอย่างมาก เฮนรี ฟอร์ดได้จ่ายค่าจ้างที่สูงแก่คนงานของเขาและแม้แต่การจ้างบุคคลที่พิการ เนื่องจากเขารู้สึกว่าบุคคลทุกคนควรจะได้รับโอกาสครั้งที่สอง เฮนรี ฟอร์ดจะเป็นผู้บุกเบิกคนเดียวเท่านั้นของการผลิตจำนวนมาก ดังนั้้นเฮนรี ฟอร์ดได้ถูกพิจารณาเป็นกัปตันของอุตสาหกรรม
เมื่อต้นศตวรรษที่สิบเก้าอเมริกาจะมีการทุจริตมาก มันจะเป็นระยะเวลาที่ธุรกิจผูกขาดได้เจริญเติบโต ภายในเวลานี้ เจ พี มอร์แกน ได้กลายเป็นบุคคลควบคุมเงินส่วนใหญ่ภายในโลก และจบลงจุดสูงสุดด้วยการเป็นเจ้าของบริษัทสี่สิบบริษัท ภายในต้นศตวรรษที่สิบเก้า เจ พีิ มอร์แกนจะเป็นทั้งกัปตันของอุตสาหกรรมและขุนนางนักปล้น เจ พี มอร์แกน ได้ถูกพิจารณาเป็นขุนนางนักปล้นโดยบุคคลหลายคน และเราจะมีเหตุผลหลายอย่างต่อสิ่งนี้ เขาจะเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดภายในโลกเมื่อต้นศตวรรษที่สิบเก้า เขาได้ขึ้นไปสู่ตำแหน่งนั้นด้วยการทำสิ่งที่ปัจจุบันนี้จะถูกมองว่าเป็นเงามืด เขาจะเป็นเจ้าของธุรกิจผูกขาดใหญ่ที่สุด
เจ พี มอร์แกน จะเป็นนักการเงินจากครอบครัวที่มั่งคั่ง และได้ถูกมองโดยบุคคลหลายคนจะอยู่ท่ามกลางขุนนางนักปล้นระหว่างยุคเคลือบทองของอเมริกา
ตามคุณค่าที่อ้าง เจ พี มอร์แกนได้มีส่วนข่วยอย่างมากต่ออุตสาหกรรมอมริกัน เขาได้ลงทุนภายในบริษัทของโทมัส เอดิสัน เขาได้ช่วยสร้างเจ็นเนอรัล อิเล็คทริค และอินเตอร์แนชั่นแนล ฮารเวสเตอร์ เขาได้ก่อตั้งเจ พี มอร์แกน แอนด์ คอมพานี
และได้การควบคุมครึ่งหนึ่งของระยะทางเป็นไมล์ของรถไฟ เขาได้สร้างบริษัทพันล้านเหรียญแห่งแรก : ยู เอส สตีล ณ จุดหนึ่งภายในชีวิตของเขา เขาได้เป็นคณะกรรมการบริษัทของ 48 บริษัท เจ พี มอร์แกน ได้กลายเป็นยุ่งเกี่ยวภายในรถไฟเมื่อ ค.ศ 1885 การจัดระบบใหม่ของรถไฟจำนวนหนึ่ง ภายหลังจากการตื่นตกใจของ ค.ศ 1893 เขาสามารถควบคุมหุ้นรถไฟเพียงพอที่จะกลายเป็นเจ้าของรถไฟใหญ่ที่สุดคนหนึ่งภายในโลก แม้แต่บริษัทของเขาสามารถช่วยเหลือระหว่างการตกต่ำทางเศรษฐกิจด้วยการจัดหาทองหลายล้านเหรียญแก่กระทรวงการคลัง
เขาได้ครอบงำการเงินบริษัทและการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมระหว่างช่วงเวลาของเขา เมื่อ ค.ศ 1892 เจ พี มอร์แกน ได้จัดการการรวมเอดิสัน เจ็น
เนอรัล อิเล็คทริค และโทมัส ฮูสตัน อีเล็คทริค สร้างเป็นเจ็นเนอรัล อีเล็คทริค
ภายหลังจากการสนับสนุนเงินทุนการสร้างเฟดเดอรัล สตีล เขาได้รวมกับ
คาร์เนกี้ื สตีล ณ จุดสูงสุดอาชีพของเจ พี มอร์แกนระหว่างต้น ค.ศ 1900 เขาและหุ้นส่วนของเขาได้ลงทุนทางการเงินภายในบริษัทใหญ่หลายบริษัท และเขาได้เผชิญกับข้อวิจารณ์ว่าเขามีอำนาจมากเกินไป และได้ถูกกล่าวหาจากการยักย้ายระบบการเงินของประทศเพื่อผลประโยชนของตัวเอง
แต่กระนั้นเจ พี มอร์แกนได้เกี่ยวพันกับการปฏิบัติที่ขาดจริยธรรมและต่อต้านการแข่งขันบางอย่างเพื่อการกำจัดการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เขาเชื่อมันที่จะควบคุมทรัสต์เงินที่ควบคุมอุตสาหกรรมธนาคาร และถูกมองว่าเป็นหัวหน้าแต่ในนามของวอลล์ สตรีท เขาได้สร้างการผูกขาดโดยการลดกำลังงานและรายได้ของพวกเขาที่จะทำกำไรสูงสุดในขณะที่กำจัดการแข่งขัน ค่าจ้างคนงานจะต่ำเท่ากับหนึ่งเหรียญต่อวันหรือต่ำกว่า และสภาวะการทำงานจะไม่ดี
เมื่อเผชิญกับความเป็นไปได้ของข้อบังคับที่จะคุกคามกำไรของเขา เจ พี มอร์แกน และขุนนางนักปล้นคนอื่นได้มีส่วนช่วยเงินที่จะมั่นใจต่อผู้สมัครประธานาธิบดีที่เป็นมิตรทางธุรกิจ
เจ พี มอร์แกน ได้ถูกเรียกสองครั้งที่จะช่วยชีวิตเศรษฐกิจของประเทศ และเขาได้ทำทั้งสองครั้ง ประธานาธิยดีรูสเวลท์ ได้ต้ดสินใจว่าเขาไม่ต้องการบุคคลที่มีพลังเหมือนเช่นเจ พีมอร์แกน ดังนั้นเขาได้ยุบบริษัทรถไฟของมอร์แกน บริษัทใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่งของเขา ต่อมาเมื่อประเทศเกิดวิกฤติ ประธานาธิบดีรูสเวลท์ทำอะไร เขาได้เรียกบุคคลที่ทำร้ายเศรษฐกิจ บุคคลเดียวเท่านั้นที่จะดึงออกจากวิกฤติได้ ก่อนที่ประเทศจะล้มละลาย บุคคลนั้นคือเจ พี มอร์แกน เขาได้ตัดสินใจที่จะช่วยเหลือ เจ พี มอร์แกนได้วางแผนอย่างฉลาด และและช่วยชีวิตประเทศจากการตกต่ำทางเศรษฐกิจได้ ด้วยการช่วยชีวิตของประเทศ เขาได้บริหารที่จะผลักดันอุตสาหกรรมของประเทศไปข้างหน้า
เมื่อ ค.ศ 1980 บริษัทผู้ถือหุ้นเหล็กของเจ พี มอร์แกน
ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แอนดูรว์ คาร์เนกี้มองว่านายธนาคารที่มั่งคั่งจะเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญ เมื่อศตวรรษที่ยี่สิบได้เริ่มต้น แอนดูร์ คาร์เนกี้ได้ประเมินทางเลือกของเขา : แข่งขันหรือไม่แข่งขัน ด้วยความต้องการที่จะเกษียณ เขาได้เลือกที่จะไม่แข่งขัน แต่ได้นำเสนอที่จะขายแก่ เจ.พี.มอร์แกน อยู่ที่ว่าแอนดรูว์ คาร์เนกี้ควรจะเขียน
ราคาขายบนกระดาษและยื่นให้เจ พีมอร์แกน หรือเขาจะขอให้เจมส์ มอร์แกนเขียนราคาขายบนกระดาษและยื่นให้เขา ไม่ว่่าจะเป็นวิถีทางไหนธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะเกือบ 500 ล้านเหียญ – มากกว่า 13 พันล้านเหรียญในปัจจุบันนี้
เมื่อการตกต่ำทางเศรษฐกิจได้บรรเทาลงภายในปลาย ค.ศ 1980 เจ พี มอร์แกนได้มีสายตาของเขาไปที่เหล็ก และได้เจรจาต่อรองการขายคาเนกี้ สตีล อย่างไม่เปิดเผย แอนดรูว์ คาร์เนกี ได้เขียนตัวเลขบนกระดาษ 480 ล้านเหรียญ และเจมส์ มอร์แกนไม่ได้แม้แต่กระพริบตาก่อนการซื้อ ภายใต้บางมุมมอง นี่จะมากกว่างบประมานทั้งหมดของรัฐบาลกลางของอเมริกา เจ พี มอร์แกน ได้รวมบริษัทเหล็กของเขาสร้าง ยู. เอส. สตีล เมื่อ ค.ศ 1901 บริษัทใหม่จะมีมูลค่าทางตลาด 1.4 พันล้านเหรียญ การทำให้มันเป็นบริษัทพันล้านเหรียญครั้งแรก นี่ได้ทำให้อำนาจของ เจ. พี. มอร์แกน ถึงจุดสูงสุดด้วย ณ จุดนี้เขาได้ยึดครองอุตสาหกรรมธนาคารและควบคุมรถไฟ และอุตสาหกรรมเหล็ก 60% เขาจะนั่งอยู่ภายในคณะกรรมการบริษัทของ 48 บริษัท
ภายในศตวรรษที่สิบเก้า ขุนนางนักปล้นที่เรียกกัน – บุคคลเหมือนเช่น คอร์เนเลียส จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ แอนดูรส์ คาร์เนกี้ เจย์ กูลด์ และเจ พี มอร์แกน – ได้ยึดโอกาสใหม่ที่ยิ่งใหญ่จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมของอเมริกา ขุนนางนักปล้นได้สร้างธุรกิจที่กว้างใหญ่ และได้ช่วยเร่งการก้าวไปข้างหน้าของประเทศใหม่ – รากฐานของอเมริกาที่เรารู้กันวันนี้ แต่พวกเขาได้หว่านเมล็ดพันธ์ุของความก้าวหน้าอย่างน่าทึ่ง หรือพวกเขาได้ขโมยความฝันอเมริกัน
เจย์ กูลด์ จะเป็นนักธุรกิจรถไฟ นักการเงิน นักเก็งกำไร และนักพัฒนารถไฟที่สำคัญ เขาได้ถูกระบุว่าเป็นขุนนางนักปล้นคนหนึ่งของยุคเคลือบทอง การปฏิบัติทางธุรกิจที่แหลมคมและมักจะขาดศีลธรรมของเขาได้ทำให้เขาเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของปลายศตวรรษที่สิบเก้า เจย์ กูลด์ จะเป็นต้นแบบของ ขุนนางนักปล้น และจ้าวแห่งรถไฟที่ทุจริต “โจรสลัด” รถไฟ ตลอดเส้นทางอาชีพของเขา เจย์ กูลด์ ได้สร้างและสูญเสียความมั่งคั่งหลายครั้งในฐานะของผู้บริหารรถไฟ นักการเงิน และนักเก็งกำไร เขาจะมีชื่อเสียงต่อยุทธวิธีที่โหดร้าย หลายอย่างที่ผิดกฏหมายปัจจุบันนี้ ระหว่างช่วงชีวิตของเขา เจย์ กูลด์ จะเป็นบุคคลถูกดูหมิ่นมากที่สุดภายในประเทศ
เมื่อ ค.ศ 1840 เจย์ กูลด์ ได้อยู่ภายในนิวยอร์ค และได้เรียนรู้เกี่ยวกับวอลล์ สตรีท มันจะเป็นตลาดที่ไม่ควบคุม และเจย์ กูลด์ได้แสดงความสามารถของการปั่นหุ้น เขาจะเก่งกับการต้อนหุ้นเข้ามุมและขับเคลื่อนราคาสูงขึ้น เมื่อ ค.ศ 1859 เขาได้เริ่มต้น
การเก็งกำไรกับรถไฟ และในที่สุดจบลงด้วยการยึดครองรถไฟเรนส์ซาเลียร์ และซาราโตก้า
ภายในยุคของการทุจริตและเรื่องอื้อฉาว เจย์ กูลด์ ได้ถูกมองว่าเป็นผู้ชำนาญการให้สินบนและการปั่นหุ้น เขาได้ให้สินบนสมาชิกสภานิติบัญญัติของนิวยอร์ค
และพยายามจะผูกขาดตลาดทอง เจย์ กูลด์ จะเป็นยิ่งกว่าขุนนางนักปล้น ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของเขาคือ การนำเวสเทิรน ยูเนี่ยน ไปสู่การยึดครองภายในอุตสาหกรรมโทรเลข
เจย์ กูลด์ ได้ลดค่าจ้างของคนงานจีนนำเข้าภายในเหมืองแร่ของเขาเพียง 27 เหรียญต่อเดือน เขาได้ถูกประณามเป็นนักเก็งกำไร การใช้อุบายเก็งกำไรตลาดเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้น แต่ที่จริงแล้วเขาได้บรรลุความสำเร็จอย่างแท้จริงจำนวนหนึ่งจากชื่อของเขา ตามจริงเขาจะเป็นผู้สร้างอาณาจักรสร้างระบบรถไฟและการสื่อสารตอบสนองความต้องการการขยายตัวของประเทศ เขาได้ดำเนินงานรถไฟของเมืองนิวยอร์ค และนำเวสเทิรน ยูเนี่ยนไปสู่ชัยชนะภายในการต่อสู้เพื่อการควบคุมอุตสาหกรรมโทรเลข
เจย์ กูลด์ ได้ถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้ร้ายที่ยิ่งใหญ่ของยุคของเขา เจย์ กูลด์ ได้ศึกษาภายในโรงเรียนท้องที่ และงานอย่างแรกของเขาจะเป็นผู้สำรวจรังวัดภายในรัฐนิวยอร์ค การทำงานสร้างแผนที่ของประเทศ เขาได้ใช้เวลาทำงานเป็นช่างตีเหล็กด้วย
จากนั้นเขาได้เปิดโรงฟอกหนัง และเมื่อ ค.ศ 1859 เขาได้เริ่มต้นเก็งกำไรภายในหุ้นของรถไฟ เขาได้จัดการหุ้นของรถไฟอย่างต่อเนื่องภายในนิวยอร์คระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกัน และเมื่อ ค.ศ 1863 เขาได้กลายเป็นผู้บริหารของเรนส์ซาเลียร์ และซาราโตกา เรลโรด เขาได้ซื้อและจัดระบบรัทแลนด์ และวอชิงตัน เรลโรด และเมื่อ ค.ศ 1867 เขาได้กลายเป็นผู้อำนวยการของอีรี เรลโรด เมื่อ ค.ศ 1868 เขาได้ร่วมกับแดเนียล ดริว และจิม ฟิสค์ ภายในการต่อสู้ที่จะกระชากคอร์เนเลียส แวนเดอร์บิวท์จากการควบคุมรถไฟภายในสงครามอีรี่ที่เรียกกัน ในที่สุดเจย์ กูลด์ได้จบลงภายในการควบคุมรถไฟ และได้รวมทีมตามข่าวกับบอสส์ ทวีด และปีเตอร์ สวีนีย์ทำกำไรต่อไปจากการเก็งกำไรหุ้น ในที่สุดเจย์ กูลด์ได้ยุ่งเกี่ยวภายในกลอุบายทางการเงินที่ร้ายแรง
ปัจจุบันนี้ถ้อยคำ แบล็ค ฟรายเดย์ หมายถึงบางสิ่งบางบาอย่างที่เฉพาะต่อเรา :
การใช้จ่ายของลูกค้าอย่าน่าขัน ความบ้าคลั่งของวันหลังจากวันขอบคุณพระเจ้า
แต่ 144 ปีที่แล้ววันนี้ 24 กันยายน 1869 จะมีความหมายแตกต่างกัน มันจะเป็นวันที่นักเก็งกำไร เจย์ กูลด์ และจิม ฟิสค์ ได้ควบคุมตลาดทองของประทศ เกือบจะทำให้เศรษฐกิจอเมริกันล้มละลาย
การใช้ที่บันทึกไว้ครั้งแรกของถ้อยคำ “แบล็ค ฟรายเดย” ไม่ได้ถูกใช้กับการซื้อสินค้าวันหยุด แต่จะใช้กับวิกฤติทางการเงิน การล้มละลายของตลาดทอง
เมื่อราคาทองได้ตกลงอย่างรวดเร็ว
ของอเมริกา 24 กันยายน ค.ศ 1869 นักการเงินวอลล์ สตรีทที่โหดร้ายสองคนเจย์ กูลด์ และจิม ฟิสค์ ได้ร่วมกันซื้อมากที่สุดเท่าที่พวกเขาสามารถซื้อทองของประเทศ ความหวังที่จะขับเคลือนราคาให้สูง และขายทำกำไร
แบล็ค ฟรายเดย์ภายในประวัติศาสตร์อเมริกัน 24 กันยายน ค.ศ 1869 เมื่อราคาทองได้ตกดิ่งลงกระตุ้นการตื่นตกใจของตลาดหุ้น การล้มละลายจะเป็นผลตามมาของความพยายามของเจย์ กูลด์ และจิม ฟิสค์ ที่จะควบคุมตลาดทอง และขับเคลื่อนราคาสูงขึ้น
นักเก็งกำไรหุ้นสองคน เจย์ กูลด์ และจิม ฟิสค์ ได้พยายามจะควบคุมตลาดทอง พวกเขาได้ชักจูงประธานาธิบดีแกรนท์ ว่ากระทรวงการคลังจะต้องไม่ขายทอง พวกเขาได้แพร่ข่าวลือต่อผลกระทบที่ประธานาธิบดีเห็นด้วย
เมืิอปลาย ค.ศ 1860 เจย์ กูลด์ ได้สังเกตุเหตการณ์พลิกผ้นบางอย่างภายในวิถีทางที่ตลาดทองขึ้นลง และเขาได้วางแผนที่จะผูกขาดทอง แผนซับซ้อนจะทำให้เจย์ กูลด์ ควบคุมอุปทานของทองภายในอเมริกาได้ นั่นหมายความว่าเขาสามารถมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของทั้งประเทศ แผนของเจย์ กูลด์ จะสำเร็จได้ถ้ารัฐบาลกลางเลือกที่จะไม่ขายทองสำรอง พวกเขาต้องการความร่วมมือของรัฐบาลอเมริกัน ดังนั้นเจย์ กูลด์ และจิม ฟิสค์ ได้ชักจูงข้าราชการบางคนไม่ขายทองภายในตลาด
พวกเขาได้พบกับประธานาธิบดียูลีสเซส แกรนท์ และพยายามชักจูงเขาว่ามันจะเป็นผลประโยชน์ของอเมริกาที่ไม่ขายทอง ประธานาธิบดีได้รับฟังและไม่ได้พูดอะไรเลย ดังนั้นพวกเขาสามารถแพร่ข่าวลือว่าประธานาธิบดีแกรนท์ เห็นด้วยว่ารัฐบาลควรจะหยุดขายทอง ด้วยเหตุนี้ราคาทองได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 162 เหรียญต่อออนซ์ ในที่สุด
เมื่อประธานาธิบดีแกนท์ได้กลายเป็นรู้แผน เขาได้สั่งการขายทองของรัฐบาล 4,000,000 เหรียญภายในตลาด ราคาของทองได้พังทลายลง และแผนของเจย์ กูลด์ และจิม ฟิสท์ ด้วย บรรดานายหน้าได้พังทลายลงด้วย การสมรู้ร่วมคิดของพวกเขาในที่สุดได้ถูกแก้ การทำให้ตลาดหุ้นร่วงลงอย่างเสรี และบุคคลทุกคนได้ล้มละลายจากขุนนางวอลล์ สตรีทไปเป็นเกษตรกร
เจย์ กูลด์ ได้เริ่มต้นเป็นนายหน้าซื้อขายหุ้นบนวอลล์ สตรีท การซื้อหุ้นภายในรถไฟ และการยุ่งเกี่ยวภายในการปฏิบัติทางการลงทุนเก็งกำไรเมื่อ ค.ศ 1859 เมื่อ ค.ศ 1868 เจย์ กูลด์ ได้ถูกแต่งตั้งเป็นประธานบริษัทของอีรี่ เรลโรด และระหว่างช่วงเวลานี้ เขาได้สร้างการเป็นหุ้นส่วนกับนักการเงิน ดริว แดเนี่ยล และจิม ฟิสค์ เจย์ กูลด์ได้ทำให้ดริว แดเนี่ยล และจิม ฟิสค์ เป็นพันธมิตรของเขา ดังนั้นพวกเขาสามารถรักษาการควบคุมของอีรี เรลโรดออกมาจากมือของนักธุรกิจรถไฟยิ่งใหญ่ คอร์เลเนียส แวนเดอร์บิวท์
การต่่อสู้ของนักการเงินเหล่านี้ตลอดเวลาจะรู้จักกันเป็น “สงครามอีรี่”
เมื่อ ค.ศ 1869 เจย์ กูลด์ และจิม ฟิสค์ ได้พยายามจะควบคุมตลาดทอง ความหวังว่าราคาทองที่สูงขึ้นจะทำให้ราคาข้าวสาลีสูงขึ้น การทำให้การขนส่งขนมปังจำนวนมากใช้รถไฟของพวกเขา เจย์ กูลด์ ได้พยายามจะให้สินบนข้าราชการ
รวมทั้งน้องเขยของประธานาธิบดี ยูลีสเซส แกรนท์ ด้วความหวังว่าจะทำให้เขามีอิทธิพลต่อประธานาธิบดี เมื่อ 24 กันยายน ค.ศ 1869 เนื่องจากแผนทองของเจย์ กูลด์ การตื่นตกใจได้เกิดขึ้นบนวอลล์ สตรีท เมื่อราคาของทองได้เริ่มต้นสูงขึ้นอย่างรุนแรง และเมื่อกระทรวงการคลังได้ตัดสินใจขายทอง ราคาทองได้ตกต่ำลงทันที
สงครามอีรี เรลโรด จะเป็นความขัดแย้งของศตวรรษที่สิบเก้าระหว่างนักการเงินอเมริกันเพื่อการควบคุมอีรีื เรลเวย์ คอมพานี ที่เป็นเจ้าของและดำเนินงานโดยอีรี เรลโรด สายรถไฟยาวที่สุดภายในโลก
อีรี ได้กลายเป็นรู้จักกันเป็น ผู้หญิงชั่วของวอลล์ สตรีท ภายในกลางศตวรรษที่สิบเก้า เมื่ออีรี่ได้เป็นวัตถุของการต่อสู้ทางการเงินระหว่าง คอร์เนเลียส แวนเดอร์บิวท์ นักธุรกิจการขนส่งที่ยิ่งใหญที่รู้จักกันเป็น “ผู้บัญชาการกองเรือ และดริว แดเนียล เจย์ กูลด์ และจิม ฟิสค์ ผู้ค้าหุ้นของาวอลล์ สตรีท ดริว
แดเนียล ได้กลายเป็นผู้อำนวยการของอีรีเมื่อ ค.ศ 1857 และได้ใช้ตำแหน่งของเขาที่จะพลิกแพลงมูลค่าของหุ้นอีรี่เพื่อข้อได้เปรียบของเขาเอง เมื่อ ค.ศ 1868 คอร์เนเลียส แวนเดอร์บิวท์ ได้พยายามจะควบคุมอีรี เรลโรด เขาเชื่อว่าด้วยการเพิ่มอีรีกับเครือข่ายของรถไฟอื่นของเขา เขาสามารถจะควบคุมเครือข่ายรถไฟของประเทศได้มาก
เจย์ กูลย์ จิม ฟิสค์ และดริว แดเนียล ได้ร่ำรวยระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกันด้วยการค้าทองและพันธบัตรรัฐบาล พวกเขาได้ใส่กำไรของพวกเขาลงไปที่อีรี เรลโรด คอมพานี แต่ได้ยินยอมที่อีรี่อาจจะตกต่ำลง คอร์เนเลียส แวนเดอร์บิวท์ จะเป็นเจ้าของนิวยอร์ค เซ็นทรัล เรลโรด จากนั้นไ้ด้เปิดประมูลซื้ออีรี เจย์ กูลด์ จิม ฟิสค์ และดริวแดเนียล ได้ออกหุ้นอีรีผิดกฏหมายหลายพันหุ้น คอร์เนเลียส แวนเดอร์บิวท์ ได้ซื้อหุ้นเหล่านี้จำนวนมากโดยไม่รู้ เมื่อศาลได้สังจับพวกเขา เจย์
กูลด์ จิม ฟิสค์ และดริว แดเนี่ยล ได้หลบหนีการจับกุมข้ามแม่น้ำฮัดสัน และได้กลับมานิวยอร์คที่จะให้สินบนแก่ผู้ออกกฏหมาย และรักษาการควบคุมอีรี เรลโรด คอมพานี ไว้ คอร์เนเลียส แวนเดอร์บิวท์ ได้สูญเสียเงินมากกว่าเจ็ดล้านเหรียญภายในความพยายามจะควบคุมอีรี่ เรลเวย์ แม้ว่าต่อมาเจย์ กูลด์ ได้คืนเงินส่วนใหญ่ภายใต้การคุกคามของการฟ้องร้อง คอร์เนเลียส แวนเดอรบิวท์ ได้ยินยอมการควบคุมรถไฟแก่บุคคลทั้งสาม
สงครามอีรี จะเป็นการต่อสู้ทางการเงินที่ยาวนานและขมขื่นเพื่อการควบคุมสายรถไฟภายในปลาย ค.ศ 1860 การแข่งขันระหว่างขุนนางนักปล้นจะยืนยันการทุจริตของวอลล์ สตรีทที่พุ่งพรวดกลายเป็นมีชื่อเสียงต่อยุทธวิธีที่น่าละอายและขาดจริยธรรม
Cr : รศ สมยศ นาวีการ