jos55 instaslot88 Pusat Togel Online อิหร่านศึกษา : การท่องเที่ยว วัฒนธรรมและนวัตกรรม(ตอนที่๑) - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

อิหร่านศึกษา : การท่องเที่ยว วัฒนธรรมและนวัตกรรม(ตอนที่๑)

อิหร่านศึกษา : การท่องเที่ยว วัฒนธรรมและนวัตกรรม(ตอนที่๑)

 

ดร.ประเสริฐ สุขศาส์นกวิน

ศูนย์อิหรานศึกษาและภาษาเปอร์เซีย วทส.

       

การศึกษาและค้นคว้าอายรยธรรมของมนุษยชาติ หลีกหนีไม่พ้นที่กล่าวถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรเปอร์เซียในอดีตสมัย ที่โลกจะต้องจารึกถึงความยิ่งใหญ่และนับว่าเป็นอู่อารยธรรมหนึ่งของโลก

อิหร่านศึกษาถือว่าเป็นเนื้อหาหนึ่งที่สำคัญของภาคบูรพคดีวิทยาซึ่งได้ให้ความสำคัญต่อด้านอิหร่านศึกษาเป็นอย่างมากทีเดียว เหตุผลก็เป็นไปได้ว่าเพราะอารยธรรมอิหร่านได้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่ออารยธรรมโบราณและได้ทิ้งผลตกทอดไว้หลายรูปแบบในสังคมที่หลากหลายต่อชนรุ่นหลัง

เปอร์เซียหรือที่ถูกรู้จักในปัจจุบันว่า ประเทศสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ในอดีตได้ครอบคลุมแผ่นดินที่ราบสูงซึ้งกว้างไพศาลที่นักภูมิศาสตร์เรียกว่าที่ราบสูงอิหร่าน โดยครอบคลุมประเทศอิหร่าน(ปัจจุบัน) อัฟฆานิสถานรวมทั้งที่ราบสูงปามีร์ จนถึงทิศตะวันออกและที่ราบสูงอะนาโตเลีย จนถึงตะวันตกเฉียงเหนือ และพื้นดินที่ราบแห่งทรานโซซาเนีย และคะวาราซม์เรื่อยไปจนถึงชายฝั่งทะเลสาบแคสเปียนไปทางทิศเหนือ   และมีอณาบริเวณทางตอนใต้ของที่ราบสูงนี้จรดอ่าวเปอร์เซียและทะเลโอมานตลอดจนทั้งหุบเขาอินดูส

ความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์ผนวกกับความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและทางด้านภาษา จึงทำให้เกิดขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแตกต่าง และแต่ละวัฒนธรรมจะมีความเด่นกันไปคนละอย่าง  ชนชาติเปอร์เซียเดิมที่รู้จักกันว่าพวกเขานับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์  นับถือเทพพระเจ้าสูงสุด อะฮุลา มาสดา พวกเขารังเกียจการพูดเท็จและการทำผิด และยังเคารพความเชื่อทางศาสนาของบุคคลอื่น  โดยมีเสรีภาพทางด้านศาสนามาตั้งแต่โบราณเลยทีเดียว

สมัยเมื่อชาวอาหรับพิชิตอิหร่านทำให้ประชาชนส่วนมากหันเข้ารับศาสนาอิสลามและประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ยังยึดถือศาสนาดั้งเดิมของพวกเขาก็พากันอพยพไปอยู่ในประเทศอินเดีย  ส่วนประชาชนที่ยังนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ที่อาศัยอยู่เมืองยัซด์ได้ตัดสินใจนับถือศาสนาเดิมของพวกเขาและยอมจ่ายภาษีพิเศษเป็นการทดแทนและได้อยู่ร่วมกับมุสลิมตลอดมาจวบจนถึงปัจจุบันอย่างศานติ

การเผยแพร่ศาสนาอิสลามในอิหร่าน มิได้เป็นสาเหตุให้ประชาชนต้องเปลี่ยนภาษาพื้นเมืองของพวกเขาไปพูดภาษาอาหรับ เมื่อพวกเขาได้ยอมรับศาสนาอิสลาม  แต่ในอิหร่านประชาชนยังพูดภาษาดะฮ์รี และภาษาเปอร์เซีย ซึ่งเป็นภาษาของชาวอิหร่านอย่างกว้างขวาง และแม้ว่าปราชญ์บางคนของชาวอิหร่านที่ได้เรียนรู้ภาษาอาหรับระดับสูงจนสามารถเขียนตำราเป็นภาษาอาหรับ  เขียนคู่มือว่าด้วยไวยากรณ์ภาษาอาหรับ และปทานุกรมภาษาอาหรับก็ตาม พวกเขายังพูดและสนทนาภาษาเปอร์เซียอยู่ เช่น ท่านซีบูวัยฮ์  ท่านฟีรุซ ซาบอดีและคนอื่นๆที่มีความชำนาญด้านวิชานิรุกติศาสตร์ และไวยากรณ์ภาษาอาหรับอย่างน่าพิศดาร ทำให้ปราชญ์ของอิหร่านมีความชำนาญทั้งภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย

จากการที่อิหร่านตั้งอยู่ในฐานะได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ และตั้งอยู่ในทางสี่แพร่งแห่งอารยธรรมที่แตกต่างกัน จึงทำให้อิหร่านมีวัฒนธรรมที่เก่าแก่ อุดมมั่งคั่ง อีกทั้งได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางทีเดียว  และด้วยสาเหตุดังกล่าวนั้น จึงทำให้อิหร่านได้โอบอุ้มวัฒนธรรมหลากหลาย  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทีวางอยู่บนคุณค่าแห่งอุดมคติ  ศีลธรรม  ศาสนาและศิลปะ  ยิ่งกว่านั้นอารยธรรมนี้ยังได้ประดับประดาตกแต่งด้วยคุณค่าทางจริยธรรมและวิทยาการอันดีเด่นอีกโสตหนึ่งทีเดียว  กรอปกับทิ้งร่องรอยความละเมียดละไมและวิจิตรประณีตทางด้านงานศิลปกรรมที่แฝงเร้นด้วยปรัชญาขั้นสูง   จนกระทั้งมิติแง่มุมด้านต่างๆที่นับว่าเป็นความเพียรพยายามที่จะทำให้อารยธรรมยิ่งใหญ่นี้เป็นที่ถูกรู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักศึกษาและปัญญาชน และนับเป็นความจำเป็นที่จะต้องรื้อฟื้นและสืบค้นหาวัฒนธรรมอันวิจิตรและงดงามของโลก เพื่อจะให้เกิดพลังทางความคิดและพลวัตรทางการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ และจะได้สืบสานเจตนารมณ์นี้ต่อไป

การศึกษาด้านอิหร่านศึกษาจะให้องค์ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ดีต่อผู้อ่านและผู้สนอกสนใจเกี่ยวกับอิหร่านได้อย่างถูกต้อง  อีกทั้งทำให้ผู้สนใจอิหร่านและผู้ค้นคว้าได้เห็นถึงอารยธรรมอิหร่านและอารยธรรมอิสลามต่างก็ได้เกื้อกูลต่อกันและกัน และมีคุณูปการต่อกันและกัน จนประจักษ์ถึงความยิ่งใหญ่ของอิสลามในอิหร่านและเห็นถึงความยิ่งใหญ่ชนชาติอิหร่านในการธำรงไว้ซึ่งอารยธรรมที่น่าชื่นชมจวบจนถึงวันนี้ และทำให้มีนักวิชาการและนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลกหันเข็มทิศในการจะเดินทางมาเยือนอาณาจักร์เปอร์เซียสักครั้งเพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของพวกเขาและประจักษ์ในอารยธรรมอันงดงามนั้น อีกทั้งผ่านมุมมองด้านการท่องเที่ยวเพื่อสรวจสอบสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่ได้ถูกกล่าวขานไว้นับพันปี

จะเห็นได้ว่าอิหร่านมีสถานที่ท่องเที่ยวอันงดงามและน่าทึ่ง ทั้งด้านภูมิศาสตร์และโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ขึ้นทะเบียนไว้กับมรดกโลกขององค์การสหประชาชาติ  และบางข้อมูลได้กล่าวว่ามีมากถึงร้อยละ๑๕ของโบราณสถานสำคัญของโลกที่ควรแก่การศึกษาและวิจัย  อาจเป็นไปได้ที่ว่าอิหร่านคืออาณาจักรเปอร์เซียในอดีตมีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากว่า ๒๕๐๐ปี จึงทำให้มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งเป็นร่องรอยทางอารยธรรมและแหล่งท่องเที่ยวสมัยใหม่  และจะพบว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอิหร่านได้เพิ่มรายได้ให้กับประเทศปีละจำนวนมากทีเดียว

อิหร่านมีทะเลทรายสองแห่ง คือ รูตและมัรกาซี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของอิหร่าน  ส่วนภมิอากาศจะแตกต่างไปตามภูมภาคต่างๆ โดยมีลักษณะของอากาศแตกต่างกัน กล่าวคือในบริเวณเทือกเขาในแถบทะเลสาบแคสเปียส และภูมิอากาศแถบทะเลทรายและกึ่งทะเลยทราย  จะทำให้มีอุณหภูมิ  แตกต่างตามกันไป

อิหร่านมีการปกครองถึง ๒๘ จังหวัด  และ ๒๔๑ เมือง  เมืองหลวงคือ กรุงเตหราน  ซึ่งมีอายุเก่าแก่มากกว่า ๒๐๐ปีทีเดียว นับว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ รองลงมา  เมืองตับรีส  เมืองคีรมอน   เมืองอิสศฟาฮาน  เมืองมะชัด   เมืองชีราซ และเมืองยาซด์และยังมีเมืองขนาดกลาง ขนาดเล็กอื่นๆที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1997 จนถึงวันนี้   กิจการการท่องเที่ยวอิหร่านได้เพิ่มมากขึ้นมากว่าร้อยละ85  และกิจการการท่องเที่ยวอิหร่านได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขนานใหญ่ เพื่อให้เป็นที่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จึงเห็นการขยายตัวของธุรกิจการท่องเที่ยวของอิหร่านทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างน่าชื่นชมทีเดียว

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอิหร่าน มีศักยภาพสูงที่จะลองรับในการเติบโตและพัฒนาการท่องเที่ยว จากการรายงานขององค์การการท่องเที่ยวโลก อิหร่านนั้นอยู่ในอันดับสิบที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชม โบราณสถานและประวัติศาสตร์และอยู่ในอันดับที่ห้าในการดึงดูดเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยว ธรรมชาติ ในปี2017 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าเยี่ยมชมอิหร่านจำนวน4,911,920 คน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้านี้ถือว่าลดลง9.9%

 ผู้เชี่ยวชาญ อุตสากรรมการท่องเที่ยวนี้ไม่ได้พัฒนาไปในทิศทางที่ดีเท่าที่ควร อาจจะด้วยเหตุผลที่ไม่พร้อมของเศรษฐกิจในอิหร่านที่จะดึงดูดนักลงทุนในการสร้างโรงแรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ หรืออาจจะด้วยเหตุผลอื่นที่นักลงทุนเองไม่ได้รับข่าวสารในอิหร่านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้เท่าที่ควร หรือการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึงหรือการนำเสนอข่าวสารในเชิงลบให้อิหร่านหรือข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมและนิกายสำหรับ นักท่องเที่ยวต่างชาติในอิหร่าน และเช่นเดียวกันความตึงเครียดทางการเมืองกับบางประเทศของตะวันตกอาจจะเป็นข้อจำกัดในการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอิหร่าน

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอิหร่าน บางประเทศนั้นมีความสามารถและประสบความสำเร็จที่จะตอบโจทย์แก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ในปี2007คริสต์ศักราชนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 15ล้านคนได้เข้าเยี่ยมชมเมืองดูไบในประเทศสาธาณรัฐอาหรับอามิเรดซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอ่าวเปอร์เซีย แต่ในขณะเดียวกันประเทศอิหร่านมีอัตตาส่วนที่น้อยกว่า1ต่อ15ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เมืองดูไบ ด้วยอัตตาส่วนที่น้อยกว่า1ต่อ100 ของรายได้เข้าประเทศจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนี้ก็ได้

เห็นได้ชัดว่า ในอีกกลุ่มของการท่องเที่ยว เป็นนักท่องเที่ยวสุขภาพ ซึ่งในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมาอิหร่านกลายเป็นศูนย์กลางในการบำบัดให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอิรัก บางส่วนของเคอร์ดิสถานอิรัก จากบางสถิติในปีที่ผ่านมาเฉพาะกลุ่มนี้มีมากกว่า1000 วีซ่าที่ออกให้ในทุกๆวัน และนักเดินทางมากกว่าครึ่งเดินทางมาอิหร่านเพื่อการรักษาที่ดีกว่า ยังมีประเทศบาคู,อาร์เมเนีย,ทาจิกิสถานอีก ในปีที่ผ่านมาชาวโอมานเกือบ4000คนเดินทางมาที่อิหร่านเพื่อรักษาปลูกเส้นผม,ทำศัลยกรรมเสริมความงาม รวมถึง ทำศัลยกรรมจมูก,ยกกระชับใบหน้า,ปลูกผม และก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวยุโรปหลั่งไหลเข้ามารักษา ทั้งหมดทั้งปวงนั้นก็ด้วยความรู้ทางด้านเทคนิค และความเชื่อมั่นที่ประเทศเพื่อนบ้านมีต่ออิหร่าน ข้อสำคัญที่ควรรู้ ตามข้อตกลงล่าสุดระหว่างอิหร่านและมหาอำนาจ อิหร่านนั้นมีศักยภาพสูงพอที่จะ เติบโตและขยายธุรกิจการท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งตามคำบอกเล่าของผู้บริหารระดับสูงอิหร่านนั้นมีความจำเป็นทีจะต้องมีโรงแรมระดับ4ดาวและ5ดาว 200แห่ง และการเสริมศักยภาพทางกองทัพอากาศ อิหร่านก็สามารถมีอนาคตที่สดใสในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว(ข้อมูลจากวีกีพีเดีย การท่องเที่ยวในประเทศอิหร่าน)

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติทางตอนเหนือ

ชายฝั่งทางทะเลสาบคะซัร(แคสเปียน) พื้นที่ชุ่มน้ำของอันซะลีและเมาซูเละเป็นที่น่าเยี่ยมชมของที่นี่ พื้นที่ๆล้อมรอบไปด้วยภูเขาของเมาซูเละตั้งอยู่ในเมืองกีลาน มีหมู่บ้านเล็กใหญ่อยู่30 แห่ง บ้านเรือนที่นี่จะใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างรวมถึงบานหน้าต่างที่ตบแต่งอย่างสวยงามมองเห็นบ้านใกล้เรือนเคียงและสร้างขึ้นติดๆกันตามเนินเขา สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในแถบนี้ก็มีสวนป่าซีเซ็งกอนซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองโนชะฮ์ ในแถบป่าแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย อาทิ โต๊ะ แคล่ไม้ไผ่ ห้องน้ำ เตาไฟ เต๊นต่างๆ ที่เตรียมไว้ให้กับนักท่องเที่ยวมาพักค้างแรม ถึงแม้ว่าจะไม่เพียงพอกับนักท่องเที่ยวที่มาเป็นจำนวนมากก็ตาม และเป็นที่น่าเสียใจในสถานที่นี้ไม่ได้รับการรักษาดูแลจากนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร เช่น การจุดไฟใต้ต้นไม้ ใช้มีดแกะเปลือกต้นไม้ ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ทำให้สิ่งแวดล้อมที่นี่ถูกทำลาย

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นทางภาคเหนือของประเทศอิหร่าน สวนสาธารณะกุลิซตอน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างโดมกอวูซและเบจนูรด์ ในสวนสาธารณะที่นี่ก็เหมือนกับสวนสาธารณะแห่งชาติของประเทศอื่นๆ เป็นสถานที่ๆใช้พักผ่อนหย่อนใจ ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนเข้ามาที่นี่นับแสนคน และการมาของนักท่องเที่ยวที่ล้นหลาม ทำให้พืชผักในสถานที่นั้นได้รับความเสียหาย การอพยพของสัตว์นอกฤดูกาล รวมถึงการไม่รักษาความสะอาดอีกเป็นต้น

ชายฝั่งทางใต้ของอิหร่าน

อยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซียและช่องแคบฮุรมุส เนื่องด้วยกับน้ำและอากาศที่ร้อนการมาพักผ่อนที่นี่จึงเหมาะกับการมาในฤดูหนาว มีป่าไม้ต่างๆที่สวยงามตามชายฝั่งของบันดัรอับบาส เวลาที่น้ำทะเลขึ้นก็จะกลืนผืนป่าไปกว่าครึ่ง และเวลาที่น้ำทะเลลดละดับลงผืนป่าก็จะกลับคืนมาอีกครั้ง มันคือจุดเด่นของสถานที่นี้

 

พื้นที่ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ

ที่ราบสูงของเทือกเขาอัลบุรซและซอกรัส ในฤดูหนาวปกคลุมไปด้วยหิมะ มีการจัดกีฬาฤดูหนาวที่นี่ ส่วนในช่วงฤดูร้อนตามเนินเขาที่มีความสูงสภาพอากาศเย็นสบายมีทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงาม มีน้ำตกต่างๆ มีตาน้ำและมีถ้ำอีกมากมายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่นี่ โดเมนต่างๆของชอฮูและออบีดัรในเคอดิสถาน และโดเมนต่างๆของซะบะลอนและซะฮันในอาเซอร์ไบจันและมะรอเฆะ เมืองอัรเดบีนและมิชกีนก็เป็นอีกเมืองที่อยู่ติดกับภูเขาดะมอวันในเทือกเขาอัลบุรซและยังเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวในฤดูร้อนอีก การกีฬาที่สำคัญในฤดูหนาวของอิหร่าน ส่วนมากจะมีการจัดขึ้นที่ ออบอะลี,ดีซีน,ชัมแชกและตูจอลซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงของอัลบุรซ

น้ำแร่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่พัฒนาการของนักท่องเที่ยว ดูจากแผนที่การกระจัดกระจายของตาน้ำพุที่ผลิตน้ำแร่ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในพื้นที่ทำงานของนักธรณีวิทยา เช่น เมืองมิชกีน,ซัรอีน,มะรอเฆะ,ลอเรยอน,โอจอีกเป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา

เนื่องด้วยอิหร่านนั้นเป็นศูนย์กลางและมีสถานที่สำคัญทางศาสนา จึงเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกประการหนึ่ง เมืองมะชัดด้วยสาเหตุที่มีสถานฝังศพของท่านอิมามริฏอ อ.(อิมามที่แปดแห่งอะลุลบัยต์ ชีอะฮ์ สาขาสิบสองอิมาม) จึงเป็นศูนย์รวมที่สำคัญทางศาสนาของประเทศอิหร่าน ในทุกๆปีจะมีนักแสวงบุญทั้งชาวอิหร่านและต่างชาติจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงมุสลิมอีกเป็นจำนวนมากหลั่งไหลเดินทางมาที่เมืองนี้ ในบริเวณรอบๆสถานฝังศพจะมีสิ่งปลูกสร้างต่างๆมากมายเช่นลานมัสยิดกุฮัรชอดและลานอื่นๆอีก งานติดกระเบื้องดินเผา,สถาปัตยกรรมและตบแต่งความสวยงามอื่นๆ นับได้ว่าเป็นศิลปะที่สวยงามและโดดเด่นของศาสนาอิสลามเลยก็ว่าได้ สถานฝังศพของท่านหญิงมะอ์ซูเมะในเมืองกุม,ท่านอับดุลอะซีมฮะซะนีในเมืองเรย์,ชาฮ์เจรอฆบุตรของท่านอิมามกาซิม อ. ในเมืองชีราสและสถานฝังศพของซัยยิดยะลาลุดดีนอัชรัฟน้องชายของท่านอิมามริฏอ อ. อยู่ในเมืองอัชรอฟีเยะ ทั้งหมดนี้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา นักท่องเที่ยวอิหร่านชอบมาแสวงบุญ ในเมืองมะชัดซึ่งมีนักแสวงบุญมาเป็นเรือนล้านในช่วงวันหยุดราชการหรือวันขึ้นปีใหม่ มีโรงแรม,สถานที่ท่องเที่ยวและร้านอาหารต่างๆมากมายในเมืองนี้

อาคารและอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์

ในเมืองฟอรซ์ มีสิ่งก่อสร้างและอนุสรณ์สถานก่อนประวัติศาสตร์ ครอบคลุมไปถึงหินแกะสลักต่างๆของชาวถ้ำ หมู่บ้านเดะมูรด์มีโบราณสถานเช่น เพอเซโพรัส,ภาพวาดรุสตัม,สถานที่ปรักหักพังของสระน้ำ,บัลลังก์ของโซโลมอน,พอซอรกอด(หลุมฝังศพของไซรัส)และโรงสีต่างๆทางประวัติศาสตร์ หมู่บ้านเดะมูรด์ยังมีสถานที่บูชาไฟและเนินเขาเก่าแก่หลายพันปี และอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์

หลังจากอิสลามเช่นมัสยิด,ห้องอาบน้ำ,ตลาดวะกีลชีราส,ซุ้มประตูกุรอาน,หลุมฝังศพกวีฮาฟิสและซะอ์ดีถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศอิหร่าน เมืองอิสฟาฮานก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีจตุรัสนักเชะยาฮอน,สแควร์อาลีกอพู,มัสยิดอิมามโคมัยนี,มัสยิดลุตฟุลลอห์,ตลาดไกซะลีเยะ,สามสิบสามสะพาน,สะพานคอยูและพระราชวังสี่สิบเสาล้วนเป็นสมบัติอันล้ำค่าทางสถาปัตยกรรมและศิลปะแขนงต่างๆไม่ว่าจะในการก่อสร้าง,ปูกระเบื้องดินเผาและแกะสลักซึ่งสามารถถูกรู้จักเป็นเมืองหลวงทางด้านวัฒนธรรมของประเทศอิสลามอิหร่านก็ว่าได้ ในเมืองกิรมานชาก็มีอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ก่อนอิสลามเช่นพิพิธภัณสถานแห่งชาติพอลีเนะแซ็งกี,ภาพวาดบนผนังหินอนูบอนีนี,การจารึกบนเขาบิสโตน(จารึกที่ใหญ่ที่สุดในโลก),ต็อกบุสตอน,ต็อกกะรอ,วัดอานาฮิตา,รูปปั้นเฮอคิวลิสแกะสลักบนเนินเขา,พื้นที่ล่าสัตย์ ส่วนอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์หลังจากอิสลามเช่น คาราวานอับบาซี,ที่พำนักของมุอาวินอัลมุลก์,ที่พำนักของ Iran Tourism ,มัสยิดชาฟิอี,มัสยิดอิมาดอั๊ดโดละห์,มัสยิดและห้องอาบน้ำของฮัจยีชะฮบอสคอน,ตลาดแบบดั้งเดิมที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง,สถาปัตยกรรม,งานกระจก,กระเบื้องดินเผา ทำให้เมืองนี้เป็นจุดท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของอิหร่าน ((ข้อมูลจากวีกีพีเดีย การท่องเที่ยวในประเทศอิหร่าน)

อะลี อัซการ์ โมเนซัน (Ali Asghar Mounesan) หัวหน้ากองมรดกทางวัฒนธรรม หัตถกรรม และองค์กรการท่องเที่ยวแห่งอิหร่าน (ICHTO) ได้กล่าวในการสัมภาษณ์กับไชน่า เรดิโอ อินเตอร์เนชันแนล (China Radio International) ในวันพฤหัสบดี (4 ก.ค.2019)

เมื่อวันอาทิตย์ (30 มิ.ย.2019) รัฐบาลอิหร่านผ่านกฎหมายที่ยกเลิกข้อจำกัดเรื่องวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน การตัดสินใจดังกล่าวเป็นการตอบสนองต่อการร้องขอร่วมกันของกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านและ ICHTO ขณะที่ประเทศนี้กำลังพยายามหาแหล่งรายได้ใหม่ท่ามกลางการคว่ำบาตรของสหรัฐ

เมื่อพิจารณาถึงประชากรจีนที่มีจำนวนมาก และจากข้อเท็จจริงที่ว่าชาวจีนประมาณ 150 ล้านคนเดินทางไปเยือนประเทศอื่นในแต่ละปี อิหร่านจึงได้กำหนดเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าประเทศ โมเนซันกล่าวและเสริมว่า “เรากำลังพยายามเตรียมการด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับประเทศเป้าหมาย เพื่อที่จะเดินทางมายังอิหร่านอย่างสะดวกขึ้น”

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ชาวจีนที่มาเยือนอิหร่านในแต่ละปีมีจำนวน 52,000 คน

โดยพิจารณาว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในไม่ช้าจะกลายเป็นสิ่งใหม่ที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนี้ โมเนซันกล่าวว่า อิหร่านได้ดำเนินมาตรการใหม่ๆ เช่นการออกวีซ่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ก่อนหน้านี้ชาวจีนจำเป็นต้องได้รับวีซ่าเมื่อเดินทางมาถึงอิหร่าน และชาวอิหร่านยังคงต้องได้รับวีซ่าเพื่อเดินทางไปยังประเทศจีน ทั้งสองประเทศได้ทำงานในโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2014 เพื่อยกเลิกข้อกำหนดเรื่องวีซ่าซึ่งกันและกัน อีกทั้งก่อนหน้านี้อิหร่านก็ได้ยกเว้นวีซ่ากับประเทศอาเซอร์ไบจานไปแล้ว และขณะนี้ก็รอให้อาเซอร์ไบจานดำเนินการเช่นเดียวกันนี้กับชาวอิหร่าน

ชาวอิหร่านสามารถเดินทางไปยังประเทศต่างๆ ได้ประมาณ 20 กว่าประเทศ โดยไม่ต้องมีวีซ่า

ในเดือนที่ผ่านมาประธานาธิบดีอิหร่านฮัสซัน รูฮานี สั่งให้ทางการยกเลิกการประทับตราเข้าออกในหนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางมาถึงอิหร่าน เป็นการก้าวย่างนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการเดินทางท่องเที่ยวมายังอิหร่านมากขึ้น ในช่วงเวลาที่มีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งจำกัดความสามารถของเตหะรานในการเข้าถึงสกุลเงินต่างประเทศ

อิหร่านเป็นที่ตั้งของอาณาจักรและอารยธรรมโบราณย้อนหลังไปหลายพันปี ประเทศนี้มีโบราณวัตถุย้อนหลังไปถึงยุค อีลาไมต์ (Elamite) เปอร์เซียโบราณ และอิสลาม

อิหร่านเป็นเป็นที่ตั้งอนุสรณ์สถานทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก รวมถึง 19 แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก และภูมิประเทศที่หลากหลายตั้งแต่สถานที่ทะเลทรายไปจนถึงสกีรีสอร์ท(ข้อมูลจาก “เดอะพับลิคโพสต์ โดย กองบรรณาธิการ –   วันที่5 กรกฎาคม 2019)

และเราจะทยอยนำเสนอในรายละเอียดของและหมวดด้านการต่อเที่ยว เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆในประเทศอิหร่านเป็นลำดับต่อไป

 

 

 

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *