jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ชีราซ (Shiraz) ดินแดนแห่งวรรณคดีและมนต์เสน่ห์แห่งศิลปะเปอร์เซีย - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ชีราซ (Shiraz) ดินแดนแห่งวรรณคดีและมนต์เสน่ห์แห่งศิลปะเปอร์เซีย

ชีราซ (Shiraz) ดินแดนแห่งวรรณคดีและมนต์เสน่ห์แห่งศิลปะเปอร์เซีย

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

ศูนย์อิสลามและอิหร่านศึกษา วทส.

เมืองชีราซ (Shiraz) นับว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่เมืองหนึ่งของประเทศอิหร่าน มีอายุมามากกว่า 4,000 ปีเลยทีแล้ว และได้รับการขนานนามว่าเป็น”เมืองแห่งนักกวีและนักปราชญ์ของเปอร์เซีย” ภายในเมืองแห่งนี้มีมนต์เสน่ห์จากแหล่งท่องเที่ยวที่มีสถาปัตยกรรมที่งดงามอลังการ รวมถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ รวมถึงกลิ่นอายความเป็นพื้นเมืองแห่งเปอร์เซียน่าทึ่งมาก

เมืองชีราซ (Shiraz) มีมัสยิดสีชมพู (Pink Mosque)ที่โด่งดังซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางอีกที่หนึ่งของนักท่องเที่ยว หรือมีชื่อว่า Nasir al Molk Mosque มัสยิดแห่งนี้ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญและสวยงามที่สุดเลยก็ว่าได้  เอกลักษณ์ของมัสยิดนี้คือ ส่วนต่าง ๆจะถูกตกแต่งด้วยกระเบื้องสีชมพู สร้างขึ้น ในปี ค.ศ.1876 สร้างขึ้นตามพระบัญชาของจักรพรรดิเมอร์ซา ฮาซาน อาลี นาเซอร์ อัล มุลก์ แห่งราชวงศ์กอญัร ด้วยสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและการใช้สีที่แปลกใหม่ผสมกับลวดลายที่ถูกสลักลงบนมัสยิดทำให้มีความงดงามอย่างลงตัว ประดับประดาด้วยกระจกสี เมื่อแสงแดดตกกระทบทำให้เกิดความสวยงามดั่งต้องมนต์   ปัจจุบันมัสยิดสีชมพูแห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่ขึ้นชื่อของอิหร่านและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลก

เมืองชีราซ (Shiraz)ยังมีความสำคัญต่อชาวอิหร่านทางประวัติศาสตร์และศิลปะเพราะในอดีตเป็นต้นกำเนิดของชาวเปอร์เซียและยังเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดที่มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเพอร์ซีโพลิส Perse-polis ของยุครุ่งเรืองอณาจักรเปอร์เซียโบราณก่อน3000ปี

“ชาห์เชอราก” (Shahcheragh) เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของมุสลิมชีอะห์ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นที่ฝังศพของซัยยิดอะหมัดบุตรชายของอิมามมูซา อัล-กาซิม อิหม่ามคนที่เจ็ดตามความเชื่อของมุสลิมนิกายชีอะห์อิมามียะฮ์ ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองชีราซ เป็นศาสนสถานสำคัญแห่งหนึ่งและยังถูกประดับประดาด้วยศิลปะอิสลามและมีกลิ่นอายศิลปะเปอร์เซียอย่างงดงามมากทีเดียวและต่อมาได้กลายเป็นสถานที่แสวงบุญที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 14 เมื่อ พระราชินีทาชิ คาตุน Tashi Khatun ได้สร้างมัสยิดและโรงเรียนศาสนาเพิ่มในสุสานแห่งนั้น พร้อมบูรณะศาสนสถานแห่งนั้นด้วยการสร้าง หอมินาเร่ท์ 2 ด้าน พร้อมโดมขนาดมหึมารูปทรงเรียวยาวแปลกตา เหนือศาลฝังด้วยโมเสคกระเบื้องสีหลายพันชิ้น ทั้ง สีเขียว, สีเหลือง, สีแดงและสีฟ้าสลับกับ และตกแต่งบริเวณภายในด้วยกระจกสีโมเสคนับล้านๆชิ้นให้งดงามระยิบระยับ เหนือบริเวณหลุมศพนั้น จนทำให้ศาสนสถานชาห์เชอราก” (Shahcheragh)   ได้กลายเป็นหนึ่งในมัสยิดที่สวยงามมากที่สุดและเป็นศูนย์กลางการเดินทางไปแสวงบุญที่สำคัญของเมืองชีราซและมีความสำคัญเป็นอันดับสามในอิหร่านวันนี้

ที่ลืมไปเสียไม่ได้อีกสถานที่สำคัญทางวรรณคดีคือสุสานท่านฮาฟิซ นักกวีอิหร่านนามก้องโลก เขาได้เกิดที่เมืองชีราซเมื่อปี ค.ศ.1324 และเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ.1391 และสุสานของ ชัยค์ซะดีเจ้าของหนังสือ”กุลิสตาน ว่า บุสตาน”หรือรู้จักในชื่อ”Wisdom of Sa’di” กวีเรืองนามแห่งเปอร์เซีย

ฮาฟีซ(Hafez)ถูกยกย่องว่าเป็นดาวฤกษ์แห่งเปอร์เซียที่เจิดจ้าที่สุดในแผ่นฟ้าแห่งวรรณคดีและวัฒนธรรมอิหร่าน  ท่านฮาฟิซได้รับแรงบันดาลใจการเขียนบทกวีในหนังสือดีวานฮาฟิซมาจากพระคัมภีร์อัลกุรอาน  เขาสามารถถ่ายทอดและจรรโลงบทกวีได้อย่างประนีตที่สุดและเนื้อหาทรงพลังทางจิตวิญญาณขั้นสูงและนำศีลธรรมอันงดงามผ่านตัวอักษรทางวรรรณคดีได้อย่างลึกซึ้งทีเดียว จนทำให้บทกวีของเขาเป็นที่จับจิตจับใจต่อชาวอิหร่าน ถึงกับชาวอิหร่านให้ฉายาหนังสือดีวาน ฮาฟิซของเขาว่า”อัลกุรอานในภาษากลอน”

เมืองชีราช (Shiraz) ถือว่าเป็นเมืองใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์อย่างมากอีกทั้งมีประวัติศาสตร์น่าสนใจในหลายด้านของอิหร่าน ไม่ว่าด้านการเมืองการปกครองหรือด้านวัฒนธรรมและอารยธรรมเปอร์เซีย แม้แต่ด้านศาสนา โดยเฉพาะมุสลิมนิกายชีอะฮ์มีประวัติศาสตร์น่าสนใจทีเดียว

เราก็หยิบยกนักกวีชื่อดัง มุฮัมมัด ชัมซุดดีน ฮาฟิซ หรือที่รู้นักในนามว่า”ฮาฟิซ”เขาได้เกิดในเมืองหลวงของจังหวัดฟาร์ส เมืองชีราซในวันนี้ อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิหร่าน ในปี ค.ศ. 1320 ประมาณ 60 ปีหลังจากที่อาณาจักรอิสลามตกอยู่ภายใต้การถูกทำลายอย่างย่อยยับ เนื่องจากฮูลากู ข่านได้เข้าโจมตีกรุงแบกแดด และในช่วงเกือบศตวรรษหลังจากการสิ้นชีวิตของอิบนิอะรอบี (ค.ศ. 1240) นักปราชญ์ทางศาสนาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอาหรับ หรือประมาณ 50 ปีหลังจากการตายของ เมาลานา ญะลาลุดดีน รูมี (ค.ศ. 1273) นักกวีรหัสยะนัย (ลัทธิซูฟี)ของอิหร่านที่โด่งดังมากอีกท่านหนึ่ง เราคงจะได้กล่าวถึงรูมีกันในตอนต่อไปครับ

ฮาฟิซ (Hafez) ได้เจริญเติบโต และได้รับการศึกษาในเมืองชีราซในยุคสมัยที่วรรณคดีอาหรับเองได้เจริญและได้รับความสนใจอย่างมาก ไม่ว่าจากร่องรอยผลงานของ อิบนุ อะรอบี ในขณะเดียวกันในช่วงดังกล่าวนั้น ณ เมืองชีราซเองได้มีนักกวีชื่อซะดี (ค.ศ. 1291) กวีชาวเปอร์เชียอีกท่านหนึ่งกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังร่วมสมัยกับท่านฮาฟิซ

จากชื่อของจังหวัดฟาร์ส ถือว่าเป็นที่มาในการเรียกชื่อว่า”เปอร์เชีย”หมายถึงชนชาติชาวอิหร่านที่มีความยิ่งใหญ่และร่ำรวยทางอารยธรรม และในช่วงที่ท่านฮาพีชมีชีวิตอยู่นั้น อาณาเขตเมืองชีราซอยู่ภายใต้การปกครองของ ชะรอฟุดดีน มะหมูดชาฮ์ แห่งราชวงศ์อินญู ที่อยู่ภายใต้การปกครองระบบเจ้าขุนมูลนายของพวกมองโกล ซึ่งตั้งตนเป็นกษัตริย์ในสมัยของอัลไจตุ และผู้สืบสันตติวงศ์ต่อมาคือ อะบูซาอิด หลังจากการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์อะบู ซาอิด ประมาณปี ค.ศ. 1335 เป็นสมัยที่ฮาฟิซได้รับประสบการณ์ส่วนตัวเป็นครั้งแรกที่จะเคลื่อนขึ้นไปสู่ความมีชื่อเสียงอย่างกว้างขวางในแวดวงวรรณคดีเปอร์เซีย

เซอร์ วิลเลียม โจนส์ (ค.ศ.1746- 1794) ผู้นี้นับเป็นบิดาของการศึกษาภาษาเปอร์เซียในโลกตะวันตกที่เรียกว่าเปอร์เซียคดีศึกษา เขาได้มีการจัดพิมพ์เรื่อง “บทเพลงเปอร์เซีย”  เป็นการแนะนำฮาฟิซแห่งชิราซให้เป็นที่รู้จักในโลกแห่งวรรณคดีแก่ประชาชนชาวลอนดอนและยุโรป หลังจากนั้นก็มีบุคคลอื่นๆได้สานต่อและดำเนินงานของฮาฟิซโดยเฉพาะเป็นการศึกษาเพิ่มเติมในการให้ความหมายบทกวีที่ยิ่งใหญ่ของชาวเปอร์เซียผู้นี้

นับตั้งแต่นั้นมาทำให้บรรดานักศึกษาได้มีตำราเรียนที่เกี่ยวกับวรรณกรรมของกวีเปอร์เชีย สร้างความซาบซึ้งให้แก่นักศึกษาผู้มีความต้องการด้านนี้ โดยเฉพาะแก่ผู้เริ่มต้นที่ให้ความสนใจแก่บทกวีที่แสดงอารมณ์ตามลักษณะของกวีเปอร์เซียจนกระทั้งได้รับความสนใจในการศึกษาด้านวรรณณดีเปอร์เซียมาจนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว รวมไปถึงการแปลงานของฮาฟิซในประเทศไทย ได้ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าทางวรรณคดีเปอร์เซียที่ทรงพลังและทรงคุณค่าหาสิ่งใดมาเปรียบเทียงได้

อายาตุลลอฮ์ ซัยยิด อะลี คามาเนอี ผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน(คนปัจจุบัน) ได้กล่าวว่า”ฮาฟิซ เป็นเสมือนดวงดาวที่เจิดจ้าที่สุดของวัฒนธรรมเปอร์เซีย เขาเป็นกวีของทุกๆศตวรรษ แม้ว่าจะมีหนังสือมากมายหลายร้อยเล่มเขียนเกี่ยวกับอัตชีวะประวัติของเขาหรือรวบรวมบทกวีของเขา แต่ทว่าก็ยังไม่รู้จักตัวตนของเขา เราไม่เพียงแต่ให้การเคารพต่อ ท่านฮาฟิซในฐานะเป็นบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ทว่าท่านผู้นี้ได้นำสาส์นหนึ่งและวัฒนธรรมหนึ่งมาเสนอต่อโลก อัลกุรอานนั้นเป็นคำสอนและบทเรียนอันยิ่งใหญ่ตลอดกาลของมนุษยชาติ และบทกวีของฮาฟิซตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัลกุรอาน ฉะนั้นบทกวีของฮาฟิซ ได้นำศิลปะกรรมเปอร์เซียให้ขึ้นสู่จุดสูงสุด”

อายาตุลลอฮ์ อะลี คามาเนอีได้กล่าวอีกว่า…”ในทัศนะของข้าพเจ้า ฮาฟิซมีโลกทัศน์ไปในทางปรัชญาศาสนาซึ่งเน้นในเรื่องพระผู้เป็นเจ้า ตัวของเขาเองเป็นผู้ศรัทธาในหลักเอกานุภาพของพระเจ้า ซึ่งไม่เกินเลยที่กล่าวว่า บทกวีของฮาฟิซมีความสัมพันธ์กับศาสนา เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้า การรักในพระเจ้า”

“ความงดงามของพระองค์ คือลมหายใจของข้า ความโอ่อ่าสง่าของพระองค์ คือความตายของข้าอย่างภาคภูมิแห่งรักนั้น”

ไม่ว่าพระองค์อยู่หนใด ณ ที่นั่นช่างงดงามที่สุด ทุกความสุขและความปิติแห่งชีวิตอยู่ที่นั่น”

“ ดวงตาที่พร่ามัว ไม่อาจเห็นใบหน้าของผู้เป็นที่รักนั้น จับจ้องสายตาของท่านไปยังผู้นั้น เมื่อกระจกของท่านใสสะอาด”

“ฉันล้างตาของฉันให้สะอาดด้วยน้ำตาของฉันเอง เหมือนผู้เห็นอย่างชัดแจ้งกล่าวว่า จงชำระตัวเองของท่านให้สะอาดเสียก่อน แหละแล้วจะมองเห็นไปยังความสะอาดนั้น”(จากหนังสือดีวาน ฮาฟิซ)

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *