การสลายตัวตน(ฟะนาอ์)ในสำนักซูฟี(ตอนที่ ๓)
การสลายตัวตน(ฟะนาอ์)ในสำนักซูฟี(ตอนที่ ๓)
โดย ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน
ศูนย์อิสลามศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
บทวิเคราะห์ประเด็นปัญหาเรื่อง”การสลายตัวตน”(ฟะนาห์)
ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับทัศนะนี้สามารถที่จะกล่าวได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับสองทัศนะที่ผ่านมาแนวทางการอรรถาธิบายนี้มีความน่าเชื่อถือดีกว่า เพราะว่า เหตุผลแรก มีการอธิบายถึงกรณีต่างๆจากประสบการณ์ทางอิรฟานอันเป็นเรื่องราวแง่มุมทางญาณวิทยาและจริยศาสตร์ไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ ยังอธิบายถึงคำจำกัดความทางอิรฟานซึ่งแง่มุมที่ผ่านมามิได้อธิบายไว้ หมายถึงคำจำกัดความที่ชี้ชัดถึงภาวะของอาริฟว่าพวกเขาประจักษ์แจ้งข้อเท็จจริงแห่งเอกภาพซึ่งคลอบคลุมเหนือความหลากหลายทั้งหมด และเหตุผลที่สอง บนพื้นฐานของการอรรถาธิบายอันนี้ ยังได้อธิบายถึงการดำรงอยู่ของภาวะความรู้สึก-จิตวิทยา และค่านิยม- ในแง่มุมทางจริยศาสตร์ ญาณวิทยา และบรรทัดฐานการรับรู้ต่อประสบการณ์ทางอิรฟานด้วย มากกว่านี้ก็คือ วิธีการอรรถาธิบายเชิงญาณวิทยานี้มีความสอดคล้องกับแนวความคิดเชิงภาวะวิทยาแบบระดับขั้น(วุญูดตัชกีกี)ของท่าน มุลลาศัดรอ อย่างดีด้วย เพราะว่า ตามทัศนะภาวะวิทยาแบบระดับขั้นของท่านมุ้ลลาศัดรอ ภาวะข้อเท็จจริงของการดำรงอยู่เป็นภาวะที่มีระดับขั้นแตกต่างกันซึ่งแง่มุมต่างๆของความเป็นเอกภาพและความสมบูรณ์ในระดับขั้นที่สูงกว่าจะมีภาวะที่เข็มข้นกว่าเอกภาพและความสมบูรณ์ที่อยู่ในระดับขั้นต่ำลงมาและระดับขั้นที่สูงสุดแห่งภาวะการดำรงอยู่คือภาวะแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ซึ่งถูกกำหนดให้อยู่บนระดับขั้นของความเข็มข้นและความแข็งแกร่งอันไม่มีที่สิ้นสุด การพินิจพิจารณาและการประจักษ์แจ้งต่อภาวะอันเป็นทิพย์นี้เป็นเหตุให้หลงลืมตัดขาดปล่อยวางต่อระดับขั้นที่ต่ำลงมา แม้กระทั่งการดำรงอยู่ของผู้อุทิศตนก็ลบหายจากจิตเข้าสู่เอกภาพที่อัมตะแห่งภาวะระดับขั้นการดำรงอยู่อันสูงสุด โดยที่ข้อเท็จจริงของภาวะการดำรงอยู่ที่ต่ำลงมาหรือตัวตนจริงของผู้อุทิศตนสูญสลายหายไป ในความเป็นจริงก็คือ การประจักษ์แจ้งต่อเอกภาพอันอัมตะแห่งภาวะพระผู้เป็นเจ้านั้นมิได้ค้านกับความหลากหลายแห่งการสร้าง แม้ว่าต้องเจอกับความหลากหลายเหล่านั้นอยู่ในโลกของความเป็นจริงก็ตาม (ออชติยานี หนังสือ ชัรฮ มุกอ็ดดิมะ กัยศะรี หน้าที่ ๓๘๕ และ ๘๗๐)
ทว่า แม้ว่าจะมีอย่างนี้แล้วก็ตาม แนวทางการอรรถาธิบายนี้ก็ไม่สามารถถือว่าเป็นการให้คำจำกัดความที่สมบูรณ์เกี่ยวกับประสบการณ์ทางอิรฟานและคำจำกัดความที่พวกเขากล่าวถึงการสูญสลายได้ เพราะว่า บางการอรรถาธิบายเชิงอิรฟานที่กล่าวถึงความหลากหลายของสรรพสิ่งในประสบการณ์แห่งการสูญสลายหรือการแบ่งแยกเป็นสองของผู้อุทิศตนและพระผู้เป็นเจ้าตามระดับขั้นอ่อนสีกว่าและไม่มีความชัดเจนเหมือนขนาดหนึ่งที่ได้ถูกสาธยายถึงไว้ตามทัศนะภาวะวิทยาแบบมีระดับขั้นต่อความหลากหลายของสรรพสิ่งของท่านมุ้ลลาศัดรอ อันเนื่องจาสาเหตุนี้ ถ้าหากสามารถที่จะได้รับการอรรถาธิบายเกี่ยวกับการสลายตัวตน ที่ในขณะที่รักษาไว้ซึ่งสารัตถะและภาวะการดำรงอยู่ของสรรสิ่งอันหลากหลาย ยังชี้ชัดถึงความสัมพันธ์ที่อ่อนกว่าของสิ่งเหล่านั้นต่อภาวะความเป็นเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้าจากระดับขั้นที่ต่ำลงมา การอรรถาธิบายอย่างนี้ถือว่ามีความสอดคล้องและใกล้เคียงมากกว่ากับประสบการณ์ต่างๆที่บรรดาอาริฟได้รายงานมาให้รับรู้จากตัวของพวกเขาเอง และจะเป็นการอรรถาธิบายที่ถูกยอมรับ(ในเชิงญาณวิทยา-ภาวะวิทยา)เกี่ยวกับการสูญสลาย และเราจะนำเสนอต่อไปภายหน้า ในช่วงต่อไปนี้เราจะนำเสนอการอรรถาธิบายอีกทัศนะหนึ่งที่กล่าวถึงการสลายตัวตน ซึ่งสำนักอิรฟานที่มิใช่อิสลาม(ตะวันออกและตะวันตก)จะยืนยันและสนับสนุนถึงกรณีนี้มากกว่า
แนวทางการอรรถาธิบายเชิงภาวะวิทยาเกี่ยวกับการสลายตัวตน(กับเรื่องอวตาร สิงสถิต การเป็นหนึ่งเดียว การเข้าสิงสู่)
อีกทัศนะหนึ่งที่เกี่ยวพันธ์กับการสลายตัวตน คือ ทัศนะที่บรรดาผู้ต่อต้านอิรฟานได้นำมาพูดถึงกันอย่างมากมาย พวกเขาส่วนใหญ่มักจะใช้การให้คำกำจัดความนี้เพื่อสร้างความเข้าใจผิดและกล่าวเท็จต่ออิรฟาน ประกอบกันที่โดยส่วนใหญ่แล้ว บรรดาอิรฟานผู้ที่มีชื่อเสียงในหมู่มุสลิม อย่างเช่น อิบนิอะระบี และลูกศิษย์ลูกหาในสำนักของท่าน เชคอับดุลการรีมญีลี ซัยยิดฮัยดัร ออมูลี เมาละวี ชะบัสตะรี และคนอื่นๆ รวมทั้งผู้ที่ฝักใฝ่ค้นคว้าอิรฟานอย่างเช่น ท่านนิโคลิสันและลูกศิษย์ของท่าน อะบุ้ลอุลาอ อะฟีฟี ก็เช่นกันที่พวกเขาได้อรรถาธิบายถึงทัศนะนี้ด้วย (อะบุ้ลอุลาอ์ อะฟีฟี หนังสือ ฟุศูศุ้ลฮิกัม หน้าที่ ๒๖)
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของทัศนะให้คำจำกัดความว่า การเข้าสิงหรืออวตารหรือว่า การเป็นอันหนี่งอันเดียวกัน และโดยพื้นฐานแล้ว มันได้ถูกพาดพิงไปหาศาสนาบางศาสนาในกรอบของการแสวงหาพระผู้เป็นเจ้า และในศาสนาคริสต์(การอวตารของพระผู้เป็นเจ้า) บางทีท่านนิโคลิสัน ก็ตกอยู่ภายใต้อทิพลการนำมาจากพระเยซูจึงต้องพาดพิงทัศนะการอวตารแก่บรรดาอิรฟาน ดังนั้นที่ว่า ทัศนะนี้อรรถาธิบายเชิงภาวะในการดำรงอยู่ มีเหตุผลดังนี้ คือ พวกเขามองการสลายตัวตนว่า การสลายตัวตนของผู้อุทิศตนสู่พระผู้เป็นเจ้ามิใช่เพียงแค่จัดอยู่ในประเภทการประจักษ์แจ้งการดับสูญเพียงอย่างเดียว(โดยมิได้มีการดับสูญการดำรงอยู่จริงของเขา) ทว่า ภาวะการดำรงอยู่มีปฏิสัมพันธ์ต่อภาวะการดำรงอยู่ของพระองค์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง การเชื่อมปฏิสัมพันธ์ที่สามารถจะมีความหมายทำนองว่า เช่น การอวตารและเข้ามาสิงสถิตของพระองค์สู่การดำรงอยู่ของผู้อุทิศตน หรือว่า การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างผ็อุทิศตนกับภาวะการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าและเทพ หรือว่า เหมือนดั่งเช่นการสลายของหยดน้ำสู่มหาสมุทร จะหมายความว่าอย่างไรก็ตาม บนพื้นฐานของทัศนะนี้อันดับแรกการดำรงอยู่ของผู้อุทิศตนกับภาวะการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้ามีภาวะเป็นสองและแบ่งแยกอย่างชัดเจน เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนของการสลายตัวตนได้รับภาวะความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระผู้เป็นเจ้าในรูปแบบที่ความหลากหลายที่แท้จริงก่อนหน้านี้เปลี่ยนเป็นความเป็นเอกภาพที่แท้จริงที่เกิดขึ้นภายหลัง หรือสองภาวะแห่งการดำรงอยูอยู่เปลี่ยนสภาพกลายเป็นหนึ่งเดียว
วิเคราะห์
ทว่า เหมือนดั่งที่ได้ชี้แจงไปแล้ว บรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงในโลกอิสลามไม่ยอมรับทัศนะนี้และเชื่อว่า ด้านหนึ่งคัดค้านกับสิ่งที่บรรดาอิรฟานได้รับมา อีกด้านหนึ่งคัดค้านกับองค์ความรู้จากอัลกุรอานและฮะดีษ มีบางรายงานที่พวกเขาได้อรรถาธิบายเพื่อปฏิเสธความเชื่อนี้เอาไว้ ดังนี้
มีรายงานจากเชคอับดุลการีม ญีลี ว่า “การเข้าถึงสู่อาตมันอันศักสิทธิ์ คือ การรับรู้โดยวิถีการประจักษ์แจ้งภาวะแห่งพระผู้เป็นเจ้าว่า แท้จริงแล้วมีเฉพาะพระองค์เท่านนั้น และพระองค์มองท่านอยู่ มิใช่หมายถึงการเป็นหนึ่งเดียวกัน การจำแลงร่างและการอวตาร เพราะแท้จริงแล้ว บ่าวก็คือบ่าว พระเจ้าก็คือพระเจ้า และบ่าวไม่สามารถเปลี่ยนเป็นพระเจ้า และพระเจ้าก็ไม่มีทางเปลี่ยนเป็นบ่าวได้” (หนังสือ อัลอินสาน คามิล ฟี มะริฟะติ้ล อะวาคิร วั้ล อะวาอิล, เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๑) เช่นกันรายงานจากท่านเชคอับดุลฆอนี นอบลิสี ว่า “ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอวตารเป็นความเชื่อที่น่ารังเกียจที่สุด คือการเชื่อถึงความเสมอกันระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับบ่าว แม้ว่าจะเป็นแค่แง่มุมเดียวซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อย่างชัดแจ้ง” (หนังสือ กอศีดะตุ้ล นาดิรอต อัลอัยนียะฮ์ ลิ อับดุลกะรีม อัลญีลี มะอะ ชัรฮ อัลนิบลิสี, หน้าที่ ๑๖๕)
และอีกรายงานหนึ่งที่กล่าวปฏิเสธความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอวตารและการสิงสถิตพร้อมกับชี้แจงถึงเหตุผลในความเป็นไปไม่ได้ของความเชื่อนี้ ว่า “อวตารที่หมายถึงการมโนภาพถึงสิ่งสองสิ่งที่มีการรวมกันแล้วมีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นสิ่งที่ไม่มีความเหมาะสมอันใดเลยระหว่างบ่าวกับพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าจะเป็นสิ่งไดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาวะอันเป็นอสะสารก็จะมโนภาพได้อย่างไรที่สิ่งหนึ่งจะอวตารสู่อีกสิ่งหนึ่งหรือว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนภาวะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอีกสิ่งหนึ่ง” (หนังสือ อัตตะเซาวุฟ อิสลามมี บัยนั้ลอะสาละฮ์ วั้ลอิกติบาส ฟี อัสร อัลนอบสิลี, หน้าที่ ๓๑๔) แม้กระทั่งท่านอิบนิตัยมียะฮ์ซึ่งถือเป็นศัตรูกับอิรฟาน ได้ปกป้องบรรดาอิรฟานให้พ้นจากกล่าวหาต่อความเชื่อการอวตารและความเป็นออันเดียวกัน ท่านกล่าวว่า “ไม่มีผู้อุทิศตนสู่พระผู้เป็นเจ้าคนใดที่เชื่อต่อการอวตาร(สิงสถิต)ของพระผู้เป็นเจ้าสู่ตัวเขา หรือให้คำจำกัดความต่อพระองค์ดั่งเช่นสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ถ้าหากใครก็ตามได้ฟังมาอย่างนี้ว่ารายงานมาจากบรรดาผู้อวุโสเหล่านั้นส่วนใหญ่แล้วเขาถูกล่าวเท็จ…” (อิบนิตัยมียะฮ์ หนังสือมัญมูอะตุ้ลฟะตาวา, เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๗๔-๗๕) ท่านฆอซะลีก็ได้โต้แย้งทัศนะนี้เช่นเดียวกัน(หนังสือ มักศะดุ้ล อุสนา, หน้าที่ ๑๖๘) ท่านอิบนิอะระบีได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านเองว่า “ใครที่เชื่อเรื่องอวตารเท่ากับพระองค์เป็นผล การเชื่อแบบนี้คืออาการป่วยที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และไม่มีใครที่เชื่อต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนอกจากเขาเป็นผู้ปฏิเสธ เช่นเดียวกับผู้ที่เชื่อถึงเรื่องอวตารคือพวกไร้ปัญญา” (หนังสือ อัลฟุตุฮาตมักกียะฮ เล่มที่ ๑ , หน้าที่ ๘๐-๘๑)
จากข้อความทั้งหมดสรุปได้ว่า หนึ่ง การอวตาร การสิงสถิตและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคือ การเปลี่ยนสภาพมาเป็นหนึ่งของภาวะความเป็นจริงสองอย่างซึ่งมีการแปลกแยกทางการดำรงอยู่อย่างแท้จริงอยู่ และสอง เป้าหมายของบรรดาผู้อุทิศตนชาวอิรฟานจากการสลายตัวตนหรือภาวะเอกภาพมิใช่หมายถึงการเปลี่ยนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้กระทั่งเป้าหมายของท่านบอยะซีดในประโยคที่ว่า “ไม่มีอะไรเลยในมื้ออาหารของฉันนอกจากพระองค์” หรือว่าความหมายประโยคนี้ของท่านฮัลลาญที่ว่า “ฉันคือพระเจ้า” มิได้หมายความถึงการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบที่ได้กล่าวมาแล้วเลย
ความเป็นจริงก็คือ ตามทัศนะที่ถูกยอมรับในหมู่อิรฟานผู้มีชื่อเสียงของโลกอิสลามปัญญหาหลักของทัศนะเกี่ยวกับการอวตาร การสิงสถิตและการเป็นหนึ่งเดียว ก็คือสมมุติฐานของมันที่ว่า ภาวะความหลากหลายที่แท้จริงของผู้อุทิศตนกับพระผู้เป็นเจ้า หรือความรู้กับพระผู้เป็นเจ้า, ในขณะที่บนพื้นฐานของทัศนะที่ถูกต้องในอิรฟานคือ ความหลากหลายแห่งการประจักษ์แจ้งของภาวะการดำรงอยู่ มิได้เป็นความหลากหลายที่แท้จริงเลยเพื่อที่จะเปลี่ยนเป็นภาวะเอกภาพอันเนื่องมาจากผลของการอวตารและการรวมตัวกัน ดังนั้นภาวะความหลากหลายมิใช่เป็นภาวะที่แท้จริง เอกภาพแห่งการประจักษ์แจ้งที่เกิดมาจากผู้อุทิศตนในขั้นและตำแหน่งการสลายตัวตนนั้นไม่สามารถที่จัดอยู่ในประเภทของการอวตารและการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ทว่า หากมิใช่เป็นภาวะความหลากหลายที่แท้จริง แล้วการประจักษ์แจ้งในเอกภาพและการสลายตัวตนที่ปรากฏต่อผู้อุทิศตนเป็นภาวะเอกภาพอย่างไร? คำถามนี้เป็นคำถามที่คิดว่าแนวทางการอรรถาธิบายต่อไปซึ่งเป็นทัศนะที่ถูกต้องจะพยายามให้คำตอบต่อมัน
แนวทางการอธิบายเชิงภาวะวิทยา-ญาณวิทยาเกี่ยวกับการสลายตัวตนในสำนักอิรฟาน
การนำเสนอการอรรถาธิบายที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดจะต้องอยู่บนพื้นฐานการสร้างความจ่างชัดต่อความสัมพันธ์ของเอกาภาวะและสหภาะ เพราะว่า สิ่งที่บุคคลทั่วไปเข้าใจจากความเป็นจริงภายนอกและมองเห็นโดยผ่านทางผัสสะและปัญญานั้นคือภาวะความหลากหลายที่แท้จริงซึ่งปกครองเหนือสรรพสิ่งที่มีอยู่ทั้งหลายอยู่,แต่สิ่งที่บรรดาผู้อุทิศตนได้สัมผัสกับภาวะทิพย์ในขณะที่สลายตัวตนสู่พระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นภาวะเอกภาพที่แท้จริงแบบไม่มีเงื่อนไข(มุฏลัก)ซึ่งความหลากหลายได้สลายสู่ภวันค์ของมัน ในขณะที่ยังมีความจำเป็นต่อทัศนะที่รวมระหว่างสองภวันค์จากภาวะความหลากหลายของสรรพสิ่งทั้งหลายและภาวะเอกภาพที่แท้จริง ทว่า ทัศนะต่างๆที่นำเสนอมาแล้วจนถึงตอนนี้แม้กระทั่งทัศนะเชิงภาวะวิทยา(ตัชกีกี)ของท่านมุ้ลลาศัดรอ อันเป็นแนวความคิดที่ผลสรุปของมันคือสร้างภาพของภาวะการดำรงอยู่ในลักษณะที่ความหลากหลายสลายสู่เอกภาพและเอกภาพสลายสู่ความหลากหลาย อย่างไรก็ตามทัศนะนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจตามแนวทางการอรรถาธิบายความสัมพันธ์ของเอกภาพและความหลากหลายในลักษณะที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการสลายตัวตนทางอิรฟานได้อย่างชัดเจน และคิดว่าสิ่งที่บรรดาผู้ปฏบัติตามสำนักท่านมุฮยิดดีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาบุคคลผู้มาสานต่อแนวความคิดด้านอิรฟานภาคทฤษฎีที่นิยมนิกายชีอะฮที่มีการอรรถาธิบายความสัมพันธ์ของภาวะเอกภาพและความหลากหลาย อย่างเช่น ท่านออกอมุฮัมมัด ริฎอ กุมชะอี มีรซอฮาชิมอัชคุรี เชคมุฮัมมัดชาออบอดี มีรซอมะฮ์ดีออชติยอนี สุดท้ายท่านอิม่ามโคมัยนี สามารถจะพบคำตอบที่ชัดเจนอีกทั่งตอบปัญหาการสลายตัวตนในอิรฟานได้ แต่การที่จะนำเสนอทัศนะนี้อย่างละเอียดจำเป็นที่จะต้องเข้าไปทำความเข้าใจต่อปัญหาอื่นๆอีกมากมาย อาทิเช่น แก่นแท้ทางภาววิทยา, ประเภทของเอกภาพ, วะดัตฮัก ฮะกีกียะฮ์ วุญูด, ปัญหาการสิ่งที่เป็นมายา(การสะท้อนปรากฏที่ชัดเจน-ตะญัลลิญาต)และปัญหาอื่นๆอีกมากมายซึ่งงานเขียนชิ้นนี้ไม่สามารถที่จะนำเสนอได้ทั้งหมด แต่จะอธิบายพอสังเขปตามที่ทัศนะนี้นำเสนอแนวทางไว้ นั่นก็คือว่า ภายใต้พื้นฐานภาวะวิทยาตามแนวความคิดของบรรดาอาริฟผู้อวุโสของโลกอิสลาม แก่นแท้แห่งการดำรงอยู่มีภาวะเป็นเอกภาพแบบ “วะดัตอิฏลากี ลา บิ ชัรฏ” คือว่า เอกภาพซึ่งไม่สามารถที่ตั้งสมมุติฐานแห่งภาวะความหลากหลายสำหรับมันได้, ทว่า ภาวะเอกภาพที่แท้จริงอันนี้มีการแสดงให้ปรากฏสิ่งต่างๆอันมากมายนับไม่ถ้วนอยู่ในรูปของความหลากหลาย เหมือนดั่งเช่น บุคคลหนึ่งที่ยืนอยู่เบื้องหน้ากระจกจำนวนหนึ่งซึ่งมันต่างสะท้อนภาพหลายๆด้านของเขาออกมาอย่างมากมายโดยที่ความหลากหลายอันนี้มิได้ไปทำหลายความเป็นหนึ่งของบุคคลนั้น หรือว่าเขาก็มิได้อวตารและสิงสถิตหรือเปลี่ยนสภาพเป็นหนึ่งเดียวกันกับสิ่งเหล่านั้นเลยแม้แต่น้อย ความจริงแล้ว ข้อเท็จจริงมีภาวะเป็นหนึ่งเดียวซึ่งแสดงออกมาในรูปของความหลากหลาย บรรดาบุคคลที่ไม่เห็นผู้นั้นที่ถูกเอยนามถึงสายตาของพวกเขามองแค่กระจกเหล่านั้นเท่านั้นจึงเห็นมีหลายคน ทว่า บุคคลที่มองเข้าถึงสิ่งที่กระจกสะท้อนออกมาและบรรลุถึงเอกภาพของบุคคลที่อยู่หน้ากระจก เขาจะได้รับแทนจากภาวะความหลากหลายอันเป็นมายาเปลี่ยนเป็นเอกภาพที่แท้จริงโดยที่บุคคลจริงผู้นั้นมิได้เปลี่ยนเป็นหลากหลายคนหรือภาวะความเป็นจริงอันหลากหลายต้องเปลี่ยนเป็นเอกภาพ ดังนั้นภาวะการดำรงอยู่ในทัศนะของอิรฟานคือความจริงอันเป็นหนึ่งเดียวซึ่งมีการสะท้อนปรากฏออกมาอันหลากหลาย ส่วนบุคคลทั่วไป(สามัญชนตามความเชื่อของอิรฟาน)เห็นความจริงโดยผ่านทางภาวะความหลากหลายที่ปรากฏให้เห็นออกมาเท่านั้น ด้วยกับการใช้ผัสสะหรือแม้กระทั่งสติปัญญา พวกเขาคิดว่า ความหลากหลายที่พวกเขาได้ประสบพบเจอนั้นเป็นภาวะความจริงแท้,ในขณะที่ความหลากหลายอันนี้มิได้เป็นภาวะจริงแท้มาตั้งแต่ต้นแล้ว และยังเป็นความหลากหลายที่อยู่ในกระจกและสะท้อนออกมา แต่สำหรับผู้อุทิศตนเมื่อเขาบรรลุสู่ขั้นของการสลายตัวตนเขาจะได้รับภาวะจริงแท้เดิมดั่งที่อยู่ในภาวะเริ่มต้น นั่นก็คือเอกภาพอันเป็นภาวะจริงที่ปกครองอยู่เหนือความหลากหลายที่เป็นสิ่งสะท้อนปรากฏออกมาเท่านั้น เพราะฉะนั้นภาวะเอกภาพที่ผู้อุทิศตนได้ประจักษ์แจ้งมิได้เป็นเอกภาพอันเป็นภาวะแห่งการประจักษ์แจ้งของผู้อุทิศตนเท่านั้นแต่เป็นภาวะเอกภาพอันเป็นแก่นแท้และเป็นภาวะจริงซึ่งผู้อุทิศตนบรรลุสู่การประจักษ์แจ้ง เพราะเหตุนี้เองภาวะทิพย์จึงถูกตั้งชื่อว่า การประจักษ์แจ้ง-ภาวะจริง และเพราะเหตุนี้เรามักจะได้อ่านประโยคบางประโยคของบรรดาอิรฟานว่า “มีพระองค์และไม่มีสิ่งใดอยู่พร้อมกับพระองค์” และประโยคที่ว่า “ขณะนี้เหมือนเช่นที่เคยเป็น” ดังนั้นการสลายตัวตนในทางอิรฟานคือผลที่เกิดจากการตัดขาดม่านต่างๆแห่งผัสสะและม่านต่างๆแห่งสติปัญญาอันเป็นภาวะเอกภาพซึ่งประชาชนทั่วไปถือเป็นความหลากหลายและคิดว่าสิ่งอื่นนอกเหนือจากพระผู้เป็นเจ้าเป็นภาวะจริงแท้ และด้วยกับการหลุดพ้นจากม่านทั้งหลายจึงพบกับภาวะทิพย์อันเป็นแก่นแท้ของภาวะการดำรงอยู่ และผู้อุทิศตนได้ลิ้มรสภาวะอันเป็นทิพย์นี้ขณะที่อยู่ในขั้นและตำแหน่งแห่งการสลายตัวตน. อันเป็นภาวะจริงแท้ที่โองการอัลกุรอานบางโองการได้ชี้แจงเอาไว้ เช่นโองการ “พระองค์คือผู้แรกเริ่มและผู้สุดท้ายและผู้เปิดเผยและผู้ซ่อนเร้น” (ซูเราะฮ์ฮะดีด / ๓) และเช่นกันโองการที่ว่า “ไม่ว่าสูเจ้าจะผินหน้าไปทางทิศใดเจ้าจะได้เห็นเบื้องหน้าพระองค์” (ซูเราะฮ์บะกอเราะฮ์ / ๑๑๕) ความจริงที่จะถูกสะท้อนให้ทุกคนเห็นในวันกิยามัต “อำนาจปกครองในวันนั้นเป็นกรรมสิทธของพระองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงเอกะผู้ทรงอัมตะ” (ซูเราะฮ์ฆอฟิร / ๑๖)