jos55 instaslot88 Pusat Togel Online เศรษฐกิจไทย วิกฤต-ไม่วิกฤต? (2) - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

เศรษฐกิจไทย วิกฤต-ไม่วิกฤต? (2)

เศรษฐกิจไทย วิกฤต-ไม่วิกฤต? (2)

โดย ดร.พิสิทธ์ ลี้อาธรรม

ปัญหาโครงสร้างที่หมักหมมเหล่านี้ ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยการแจกเงินคนละหนึ่งหมื่นบาทในรูปของ Digital Wallets (DW) ซึ่งมีการกล่าวอ้างว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ผมมีข้อโต้แย้งดังนี้

  • รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ได้ให้เหตุผลเดียวกันในการตรา พระราชกำหนด2ฉบับใช้เงินรวม 5 ล้านล้านบาทในเวลา 3ปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนบริโภคมากขึ้น แต่ก็ไม่ปรากฎว่าเศรษฐกืจไทยมีการตอบสนองด้วยการขยายตัวสูงมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด เงินDigital Wallet มีวงเงินน้อยกว่าเพียง 1 ใน 3 ของที่เคยใช้ จึงย่อมไม่อาจเชื่อได้ว่าจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5 ได้
  • สาเหตุที่กระตุ้นเศรษฐกิจไทยไม่ได้ผล เพราะลักษณะเศรษฐกิจไทยคล้ายกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ คือเป็นเศรษฐกิจเปิด มีสัดส่วนของการนำเข้าสูงมากถึง 68% ใกล้เคียงกับกัมพูชาที่ 80% และมาเลเซียที่ 60% ซึ่งตรงข้ามกับประเทศใหญ่ เข่น สหรัฐอเมริกา จีนและญี่ปุ่น ซึ่งเศรษฐกิจอันดับ 1-2-3 ของโลกเหล่านี้มีสัดส่วนการนำเข้าเพียง 15%สำหรับสหรัฐอเมริกา 17% สำหรับจีนและ 18% สำหรับญี่ปุ่น ดังนั้น multiplier effect* หรือการเกิดการไหลเวียนของเงินหลายๆรอบจึงเกิดได้ชัดในประเทศใหญ๋ แต่สำหรีบประเทศไทยหรือกัมพูชาเงินส่วนใหญ่จะรั่วไหลไปต่างประเทศทันทีที่จ่ายออกไปในรอบแรก นอกจากนี้ ความเหลื่อมล้ำของการมีรายได้ ย่อมทำให้เงินบางส่วนที่อัดฉีดไปไม่ได้มีการใช้จ่ายทันที ยิ่งมีความเหลื่อมล้ำมากรายได้หรือเงินก็จะกระจุกตัวในหมู่ผู้มีรายได้มาก รัฐบาลได้ประกาศว่าเงินนี้จะหมุน 3 รอบแต่จากการตรวจสอบผู้ทำวิจัยเรื่องนี้จากข้อมูลประเทศไทย ได้รับคำชี้แจงว่าจะหมุนเพียง 0.8 รอบเท่านั้น

ตามสมการ องค์ประกอบของรายจ่ายประชาชาติหรือGDP มี4 ปัจจัย

GDP = C(consumption) + G(Government Expenditure) + I(Investment) + E-M(Current Account Balance)

หากรัฐบาลเพิ่ม ตัว C ผลที่ตามมาคือตัว M ที่จะเพิ่มตามมาทำให้ GDP ไม่ได้เพิ่ม แถมยังจะติดลบและอาจมีผลทำให้ค่าเงินอ่อนเพราะเกิดการสูญเสียทุนสำรองระหว่างประเทศ

การที่รัฐบาลกล่าวอ้างว่า เศรษฐกิจจะหมุน 3.3 รอบจากการใข้จ่ายบริโภค เท่ากับมีข้อสมมุตฐานว่า mpc (marginal propensity to consume) ของไทยมีค่า 0.7 ขณะที่สมการข้างต้นจะเห็นได้ว่า GDP=Y

C  =0.7Y                  consumption function

M = 0.68Y                import function

Y = 0.7Y-0.68Y + A    A คือ ปัจจัยอื่นๆ

Y = .02Y+A

(1-.02)Y = A

0.98Y  =A

^Y     =1.02A

สรุป       จากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการนำเข้าถึง68% multiplier effect น่าจะมีเพียง 1.02 รอบ ไม่ใช่ 3.3 รอบ

แต่ multiplier อาจจะลดต่ำลงอีก หากการหาแหล่งเงินชดเชยมาจากการลดการให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนและเกิด Crowding out effect

  • พฤติกรรมการออมและการบริโภคของคนในแต่ละประเทศแต่ละสังคมก็มีความแตกต่างกัน จะมาอ้างเพื่อลอกเลียนกันง่ายๆมิได้ การนำมาตรการแจกเงินที่ใช้ในบางประเทศเช่นญี่ปุ่นมาเป็นตัวอย่างจึงพึงตระหนักว่า คนญี่ปุ่นจะมีนิสัยรักการออมและระมัดระวังการใช้เงินมากกว่า จนประเทศเข้าสู่ภาวะDeflation แม้รัฐบาลจะมีหนี้สาธารณะมากแต่ก็เป็นการลงทุนของชาวญี่ปุ่น ขณะที่คนเกาหลีเมื่อได้รับการกระตุ้นให้ใช้จ่ายก็เกิดภาวะวิกฤตบัตรเครดิด ประชาชนมีหนี้สินเกินตัว เป็นต้น
  • การออกพรบ กู้เงินจำนวน 5 แสนล้านบาทย่อมได้รับการสนับสนุนจากธนาคารต่างๆ ที่มีสภาพคล่องสูงแต่เป็นห่วงเรื่องความเสี่ยงในการให้สินเชื่อแก่ประชาชน และมีความต้องการที่จะถือครองหลักทรัพย์รัฐบาลเช่นพันธบัตรมากกว่าที่จะปล่อยสินเชื่อซึ่งจะมีกรณีไม่อาจชำระหนี้ได้ หรือ NPL (non performing loans) ธนาคารต่างๆย่อมขานรับการกู้เงินของรัฐบาลเพราะได้รับประโยชน์เฉพาะหน้า ผลเสียที่เกิดขึ้นในระบบการเงินคือ ประชาชนและธุรกิจขนาดเล็กขนาดย่อมจะถูกเมินจากธนาคารในการขอกู้เงิน เพราะให้กู้กับรัฐบาลจำนวน500,000 ล้านบาท เป็นหนี้ที่ปลอดความเสี่ยงและได้ดอกเบี้ยสูงเพราะเป็นภาวะที่ดอกเบี้ยโลกปรับตัวขึ้นสูงมาก มิฉะนั้นผู้กู้ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นให้ระบบธนาคาร การลงทุนและการบริโภคของประชาชนและธุรกิจย่อมถูกกระทบและถ่วงไม่ให้เศรษฐกิจขยายตัวตามที่รัฐบาลคาดหวัง ผลกระทบนี้ ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Crowding Out Effects

ดังนั้น เมื่อเทียบตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ประเทศไทยไม่อาจจัดว่าอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องอัดฉีดเงินจำนวนมากด้วยการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการเพื่อเพิ่มตัวเลข GDP เฉพาะหน้าคือการเร่งรัดการใช้จ่ายของรัฐ โดยเฉพาะงบประมาณรายจ่าย ที่ล่าช้าในปี 2567 เพราะเป็นตัวถ่วงGDPในปีนี้ หน่วยราชการมีการชองบประมาณถึง 5.8 ล้านล้านบาท แต่ได้รับการจัดสรรในวงเงินเพียง 3.48 ล้านล้านบาท ยังมีอีก40% หรือ 2.32 ล้านล้านบาทที่ไม่ได้รับงบประมาณ ซึ่งน่าจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างสาธารณูปไภคสาธารณูปการที่ช่วยประชาชนเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในการหารายได้ โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำในภาคเกษตร การให้ความรู้แก่ประชาชนในการประกอบสัมมาชีพด้าน Digital Technology เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้รัฐบาลควรเร่งรัดปรับแก้กฎเกณฑ์ต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารการเงินของประชาชน เช่น กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารการเงินและหนี้สิน โดยไม่มีภาระใดๆต่องบประมาณแผ่นดิน

ในการบริหารเศรษฐกิจให้เติบโตต้องคำนึงถึงความยั่งยืนและต่อเนื่อง ลำพังแค่การใช้เงินหมื่นบาทให้หมดเปลืองไปไม่กี่วัน ย่อมไม่สามารถแก้ไขปัญหาโครงสร้างเรื้อรังที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่างๆที่ระบุไว้ข้างต้นทั้ง8 ประการได้ การบริหารเศรษฐกิจโดยคิดแต่จะปั้นGDPเพื่อกดสัดส่วนหนี้ต่อGDPก็ไม่น่าใช่วิธีคิดที่รอบคอบ และเป็นการใช้เงินที่ไม่คุ้มค่า

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *