jos55 instaslot88 Pusat Togel Online คิดอย่างคานธี (4) - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

คิดอย่างคานธี (4)

คิดอย่างคานธี (4)

จรัญ มะลูลีม

7 บาปทางสังคมของมหาตมคานธี

บาปทางสังคม 7 ประการโดยมหาตมคานธี ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ Young India ของเขาในปี 1925 สิ่งเหล่านี้เป็นรายการพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสังคมโดยรวม

1. ความมั่งคั่งโดยไม่ต้องทำงาน (Wealth without Work)

2. ความสุขโดยปราศจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดี (Pleasure without Conscience)

3. ความรู้ที่ขาดคุณลักษณะ (Knowledge without Character)

4. การค้า (ธุรกิจ) ที่ไร้ศีลธรรม (จริยธรรม) (Commerce (Business) Without Morality (Ethics)

5. วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากมนุษยชาติ (Science without Humanity)

6. ศาสนาที่ไม่มีการเสียสละ (Religion without Sacrifice)

7. การเมืองที่ไม่มีหลักการ (Politics without Principle)

ความมั่งคั่งโดยไม่ต้องทำงาน  แสดงให้เห็นถึงการสร้างความมั่งคั่งด้วยวิธีที่ไม่เป็นธรรมโดยใช้ทางลัด ตัวอย่าง เงินสีดำ (สีเทา) การหลีกเลี่ยงภาษี  ความหลอกลวง การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลวงใน เป็นต้น

ความสุขที่ปราศจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดี  การได้รับความสุขจากค่าใช้จ่ายของผู้อื่นนั้นเทียบเท่ากับบาป ความเห็นแก่ตัวบังคับให้คนไม่สนใจความต้องการของผู้อื่น หากปราศจากเหตุผลทางศีลธรรม ก็จะส่งเสริมการปฏิบัติที่ไม่ดี นอกจากนี้ยังจะนำไปสู่การใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ในทางที่ผิดเพิ่มขึ้นรวมถึงการจับจ่ายอย่างไร้สติ

ความรู้ที่ขาดคุณลักษณะ  มีบุคคลที่แม้จะมีความรู้ความสามารถแต่มีอุปนิสัยและมีคุณลักษณะที่ไม่ซื่อสัตย์และซื่อตรงให้เห็นอยู่เสมอ

ธุรกิจที่ไม่มีศีลธรรม  ส่วนใดส่วนหนึ่งของชุมชนที่ลงเอยด้วยการทำงานหนักเกินไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง จะก่อให้เกิดแรงเสียดทานทางสังคมและความขัดแย้งในชุมชนที่จะเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งนี้ ตัวอย่างของบาปนี้ ได้แก่ สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย การปลอมปน และการขาดความปลอดภัย

วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากมนุษยชาติ บริษัทยาขนาดใหญ่ตั้งราคาใบสั่งยาให้สูง ทำให้คนยากจนไม่สามารถจ่ายค่ายาได้และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือก็ไม่สามารถจ่ายค่ายาได้เช่นกัน  หากใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า นั่นถือว่าดีมาก แต่การใช้นิวเคลียร์เพื่อทำลายล้างประเทศต่างๆ อย่างที่เกิดในฮิโรชิมาและนางาซากิประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องผิดศีลธรรมอย่างยิ่ง

ศาสนาที่ไม่มีการเสียสละ ศาสนาในปัจจุบันประกอบด้วยพิธีกรรมและกิจกรรมเท่านั้น บาปคือเมื่อเราไม่ปฏิบัติตามหลักศีลธรรมของภราดรภาพ ความเห็นอกเห็นใจ และความรักใคร่กลมเกลียว

การเมืองที่ไม่มีหลักการ การทำการเมืองให้เป็นอาชญากร เงินนอกบัญชี และการใช้อำนาจบาตรใหญ่แสดงถึงการเมืองที่ไม่มีหลักการ

ประมวลเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของมหาตมาคานธี

ค.ศ. เหตุการณ์สำคัญ

1869  เกิดที่เมือง โปรพันทระ รัฐคุซราต ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม

1876  ปฐมศึกษาในรัฐราชโกฏิ หมั้นกับ กัสตูรบา

1885  บิดาถึงแก่กรรม

1887  ผ่านการสอบชั้นมัธยมบริบูรณ์เข้าเรียนต่อในวิทยาลัยสันวัลทาสที่เมืองภวะนคร

1888  เดินทางไปประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 4 กันยายน เพื่อศึกษากฎหมาย

1889  พูดในที่สาธารณะเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษต่อที่ประชุมนักมังสวิรัติ

1891   เป็นเนติบัณฑิต เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน โดยสารเรือกลับประเทศอินเดีย ถึงนครบอมเบย์ (มุมใบ) วันที่ 7 กรกฎาคม พอถึงก็ได้ทราบข่าวมรณกรรมาของมารดา

1892  เริ่มประกอบอาชีพทางกฎหมายในรัฐราชโกฏิและนครบอมเบย์ (มุมใบ)

1893  เดินทางไปแอฟริกาใต้  ในเดือนเมษายน  เพื่อว่าความในคดีแพ่ง

1894  คดีตกลงกันได้ด้วยการประนีประนอม

1895   เข้าเป็นทนายความในศาลสูงเมืองนาตัล ก่อตั้งพรรคคองเกรสอินเดีย (Indian National Congress) แห่งเมืองนาตัล

1896   จากแอฟริกาใต้กลับประเทศอินเดีย อยู่ในอินเดีย 6 เดือน ระหว่างนี้ได้พบกับผู้นำของอินเดีย มี Tilak, Gokhale และผู้ตำคนอื่นๆ กลับไปแอฟริกาใต้อีกเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน

1897   มีการเดินขบวนต่อต้านคานธีในเมือง Durban อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ในชีวิตของคานธี

1899  ช่วยฝ่ายอังกฤษพยาบาลทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสงคราม Boer

1901   กลับประเทศอินเดีย  จัดตั้งหน่วยบริการสาธารณสุขในเขตที่กาฬโรคระบาดในรัฐบาชกิฏอยู่ในอินเดียประมาณ 3 เดือน

1902   ไปประเทศพม่า  เริ่มเดินทางโดยรถไฟชั้นที่ 3 (คานธีเดินทางโดยรถไฟชั้นที่ 3 เป็นประจำ) เปิดสำนักงาน ทนายความในนครบอมเบย์ (มุมใบ) ในเดือนกรกฎาคม  กลับไปแอฟริกาใต้อีกหลังจากอยู่ในอินเดีย ประมาณ 3 เดือน

1903  ก่อตั้งสมาคมอินเดียอังกฤษแห่งนครทรานสวาล เริ่มออกวารสาร “Indian Opinion”

1904   เริ่มศึกษาคัมภีร์ ภควัทคีตา และหนังสือ “Unto This Last” ของ Ruskin  ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างใหญ่หลวงในชีวิต  ก่อตั้งอาศรม “Phoenix”

1906   เกิดขบถ Zulu ช่วยผู้ได้รับบาดเจ็บในการขบถครั้งนี้  ตั้งปณิธานจะประพฤติพรหมจรรย์ ปัญญัติคำว่า สัตยากราหะหรือ “สัตยาเคราะห์” (Satyagraha) ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก ไปประเทศอังกฤษในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในคณะผู้แทนอินเดีย

1907  เริ่มปฏิบัติการสัตยาเคราะห์ต่อต้าน “กฎหมายทมิฬ” (Black Act)

1908  ลงนามความตกลงชั่วคราวกับอังกฤษ ถูกประทุษร้ายโดยชาวปาทาน ปฏิบัติการสัตยาเคราะห์อีก ถูกจับกุม

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *