อดอล์ฟ ไอซ์มาน “เพียงเเค่ทำตามคำสั่ง”
อดอล์ฟ ไอซ์มาน “เพียงเเค่ทำตามคำสั่ง”
เราจะมีสองสายของการวิจัยที่มีผลกระทบยิ่งใหญ่ต่อมุมมองของการทำตาม ภายในการวิจัยอย่างหนึ่งเมื่อ ค.ศ 1935 นักจิตวืทยาสังคม มูซาเฟอร์ เซอริฟ ได้แสดงพลังของอิทธิพลทางสังคมเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของบุคคลของสิ่งเร้าที่คลุมเครือ เขาได้ศึกษาบุคคลจะตอบสนองต่อผลกระทบออโตคิเนติค เมื่อพวกเขาอยู่ภายในห้องคนเดียวอย่างไร เขาได้ใช้ผลกระทบออโตคิเนติค ภาพลวงตาการรับรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลถูกขอให้เพ่งบนจุดเเสงที่ไม่เคลื่อนไหวภายในห้องมืด ภายในสถานการณ์นี้ บุคคลได้การรับรู้การเคลื่อนไหวของแสงบุคคลบางคนคิดว่ามันเคลื่อนที่เล็กน้อย บุคคลอื่นคิดว่มมันเคลื่อนที่มาก มูซาเฟอร์ เชอริฟ พบว่าเมื่อกลุ่มของบุคคลสามคนถูกรวมกัน และขอให้ร้องตะโกนจุดแสงเคลื่อนที่ไปไกลแค่ไหน ดุลยพินิจของพวกเขาค่อยเบนเข้าหากัน ด้วยคำพูดอีกอย่างหนึ่ง พวกเขาได้พัฒนาบรรทัดฐานขอกลุ่มเกี่ยวกับระยะทางที่จุดเเสงได้เคลื่อนที่ และบรรทัดฐานนั้นมีผลกระทบที่ยั่งยืนต่อการรับรู้ของพวกเขาภายในการวิจัยอย่างที่สองคือ การทดลองการทำตามของนักจิตวิทยาอเมริกัน โซโลมอน อาช เมื่อ ค.ศ 1950 การทดลองได้เปิดเผยระดับที่ความคิดเห็นของบุคคลเองถูกอิทธิพลโดยกลุ่มอย่างไร โซโลมอนอาชได้พบว่าบุคคลเต็มใจที่จะละเลยความเป็นจริง เเละให้คำตอบอย่างไม่ถูกต้อง เพื่อการทำตามกลุ่มการทดลองการทำตามของโซโลมอน อาช อยู่ท่ามกลางชื่อเสียงมากที่สุดภายในประวัติขอจิตวิทยา และได้บันดาลใจการวิจัยการทำตามและพฤติกรรมกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย การวิจัยนี้ได้ให้ความเข้าใจที่สำคัญไปสู่ อย่างไร ทำไม และเมื่อไรบุคคลได้ทำตาม และผลกระทบของแรงกดดันทางสังคมต่อพฤติกรรม การทดลองการทำตามครั้งแรกของโซโลมอน อาช ได้ถูกทำซ้ำอย่างกว้างขวางภายในจิตวิทยาสังคมการพิสูจน์ทางสังคมเป็นประเภทหนึ่งของการทำตาม เมื่อบุคคลได้อยู่ภายในสถานการณ์ตรงที่พวกเขาไม่มั่นใจวิถีทางที่ถูกต้องที่จะกระทำ พวกเขามักจะมองที่บุคคลอื่น เพื่อร่องรอยเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกต้อง แต่กระนั้น ณ เวลานั้น โซโลมอน อาช ได้เรียกชื่อปรากฏการณ์สังคมและจิตวิทยานี้ว่าพฤติกรรมทำตามคนส่วนใหญ่ มันเป็นจนกระทั่ง ค.ศ 1984 ที่ถ้อยคำพิสูจน์ทางสังคมได้กลายเป็นที่นิยมแพร่หลายมาก เมื่อโรเบิรต เคียลดินี อาจารย์จิตวิทยา ได้สร้างถ้อยคำนี้ภายในหนังสือของเขา โรเบิรต เคียลดินีได้เสนอแนะว่าการพิสูจน์ทางสังคมเป็นข้อหนึ่งของหลักการที่สำคัญหกข้อของการชักจูง หนังสือของเขาในขณะนี้จะเป็นตำรารากฐานเล่มหนึ่งของการตลาด และการพิสูจน์ทางสังคมได้กลายเป็นปรากฏการณ์ศึกษาอย่างกว้างขวาง ความเข้าใจที่ดีขึ้นที่จะสะกิดพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างไรมันเป็นคืนวันเสาร์ มันเป็นเวลาพักผ่อนของคุณเพื่อที่จะชมเนตฟลิกซ์เนื่องจากคุณต้องการรู้อะไรกำลังมาเเรง คุณตรวจสอบความนิยมแพร่หลายได้บนปุ่มเนตฟลิกซ์ นั่นคือเนตฟลิกซ์ได้ใช้การพิสูจน์ทางสังคมอย่างไรแทนการเลื่อนไปเรื่อย ทำให้ผู้ใช้ของพวกเขาสามารถที่จะดูได้อย่างจุใจอะไรที่นิยมแพร่หลาย นั่นเป็นวิถีทางที่ยิ่งใหญ่ของการรักษาลูกค้าด้วยโซโลมอน อาซ เชื่อว่าปัญหาที่สำคัญของการทดลองการทำตามของมูซาเฟอร์ เชอริฟเมื่อ ค.ศ 1935 คือ เราจะไม่มีคำตอยที่ถูกต้องต่อการทดลองออโตคิเนติคที่คลุมเครือ เราสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่าบุคคลทำตามเมื่อไม่เราไม่คำตอบที่ถูกต้อง โซโลมอน อาช ได้ออกแบบสิ่งที่เราได้มองเป็นการทดลองคลาสสิคภายในจิตวิทยาสังคม ด้วยวิธีการที่เราจะมีคำตอบชัดเจนต่อดุลยพินิจเส้นตรงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์อยู่บนจุดสูงสุดของอำนาจ โซโลมอน อาช ได้เริ่มต้นการศึกษาผลกระทบของการโฆษณาชวนเชื่อ และการปลูกฝัง ในขณะที่เขาเป็นอาจารย์อยู่ที่คณะจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยบรูคลิน เขาเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยสวารธมอร์ 19 ปี ตรงที่เขาได้ทำงานอยู่กับนักจิตวิทยาเกสตัลท์ที่มีชื่อเสียง วอล์ฟ แกง โคห์เล่อร์ ภายในการปลุกขึ้นของโฮโลคอสท์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว เมื่อนักจิตวิทยาถูกถามมันสามารถเป็นได้อย่างไรเมื่อบุคคลจำนวนมากเชื่อฟังต่อความมุ่งมั่นของอดอล์ฟฮิตเลอร์ โซโลมอน อาช ได้สะท้อนบนอำนาจของอิทธิพลทางสังคม เขาได้เริ่มต้นที่จะเปิดเผยผลกระทบของมันจิตวิทยาสังคมได้ถูกกระตุ้นโดยนักวิจัยที่ได้พยายามจะเข้าใจผู้นำนาซีเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สามารถสร้างความเชื่อฟังสุดขั้วและพฤติกรรมน่ากลัวเช่นนี้ภายในผู้ตามของเขาได้อย่างไร ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การศึกษาการทำตามดำเนินการโดยมูซาเฟอร์ เชอริฟและโซโลมอน อาชจิตวิทยาสังคมเป็นการตรวจสอบความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของเราถูกอิทธิพลโดยบุคคลอื่นอย่างไร มันได่ถูกบุกเบิกโดยชาวยิวห้าคนที่ได้สูญเสียครอบครัวภายในโฮโลคอสท์ และได้ถูกขับเคลื่อนโดยคำถามพิ้นฐานเดียวกันมันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร การฆ่าประมาณสองในสามของชาวยิวของยุโรปและบุคคลอื่น ต้องการคำอธิบาย มันไม่ได้เป็นเพียงแค่นาซี เรามีผู้สมรู้ร่วมคิดและผู้ยืนดูจำนวนมาก 75 ปึ จากการปลดปล่อยของเอาชวิทย์ เราได้มองดูความพยามเข้าใจการเหยียดเชื้อชาติ การต่อต้านชาวยิว และความน่ากลัวของอุดมการณ์นาซี นำไปสู่การสร้างศาสตร์ใหม่อย่างไร – จิตวิทยาสังคม ชาวยิวห้าคนเหล่านี้คือ เคริท เลวิน โซโลมอน อาช เซอร์เก มอสโควิซี เฮนรี ทอจเฟล และสเตนลี่ย์ มิลแกรม
เมื่อ ค.ศ 1945 กองทัพของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ถูกบดขยี้โดยกองกำลังพันธมิตร และไรช์ที่สามได้พังทลายลง การนำมาสู่ 12 ปี ความโหดร้ายที่น่ากลัวของนาซีได้สิ้นสุดลง แต่กระนั้นนักโทษที่ปลดปล่อยและศพที่ไม่ได้เผาจำนวนมากภายในค่ายกักกันได้นำเสนอการมองเห็นอย่างน่าตกใจความเป็นจริงที่น่ากลัวมาก เราไม่สามารถละเลยและปฏิเสธได้สารคดีของวิทยุบีบีซี สำรวจผลกระทบของโฮโลคอสท์ต่อนักจิตวิทยาสังคมแนวหน้าห้าคน บนทั้งสองฝั่งของแอตแลนติค สแตนลี่ย์ มิลแกรม หนึ่งคนของชาวยิวห้าคน และการทดลองความเชื่อฟังผู้มีอำนาจของเขาจะมีชื่อเสียงมากที่สุด แต่ผลงานของชาวยิวอีกสี่คนสำรวจเรื่องเดียวกัน แม้ว่าจะใช้วิธีการที่แตกต่างกันการศึกษาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของการเชื่อฟังภายในจิตวิทยาได้ถูกดำเนินการโดยสแตนลี่ย์ มิลแกรม เมื่อ ค.ศ 1963 เขาดำเนินการทดลองมุ่งที่ความขัดแย้งระหว่างการเชื่อฟังอำนาจหน้าที่ และความสำนึกส่วนบุคคล เขาได้พิจารณาการให้เหตุผลต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิวที่นำเสนอโดยนายทหารนาซีที่ได้ถูกกล่าวหา ณ การสอบสวนอาชญกรรมสงครามนูเรมเบิรก การป้องกันของพวกเขามักจะอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อฟัง นั่นคือพวกเขาเพียงแค่ทำตามคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เราต้องการที่จะลากเส้นระหว่างผู้นำรับผิดชอบและบุคคลเช่นผมถูกบังคับเป็นเพียงเครื่องมือภายในมือของผู้นำ…..ผมไม่ได้เป็นผู้นำที่รับผิดชอบ และไม่รู้สึกตัวผมเองผิด อดอล์ฟ ไอช์มาน กล่าว ณ การสอบสวนอาชญกรรมสงครามนูเรมเบิรก อดอล์ฟ ไอช์มานได้ถูกกล่าวหาต่อการจัดการขนส่งมวลชนของยิวไปสู่ค่ายกักกัน การป้องกันของอดอล์ฟ ไอช์มาน และบุคคลอื่นที่ถูกกล่าวหา จะอยู่บนพื้นฐานการเชื่อฟัง ภายในความพยายามที่จะโยนความรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของชาวยิวหลายล้านคน การเชื่อฟังของอดอล์ฟ ไอช์มาน ได้ช่วยจุดประกายความสนใจอย่างมากของสแตนลี่ย์ มิลเเกรม นักจิตวิทยา ณ มหาวิทยาลัยเยลภายในเรื่องของการเชื่อฟังการทดลองมิลแกรมได้เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ 1961 หนึ่งปีภายหลังการสอบสวนอดอล์ฟ ไอซ์มาน ภายในเยซูซาเลม สแตนลีย์ มิลแกรม ได้ออกแบบการทดลองตอบคำถามมันสามารถเป็นที่อดอล์ฟ ไอซ์มานและผู้สมรู้ร่วมคิดของเขาภายในโฮโลคอสท์เพียงแค่ทำตามคำสั่งหรือไม่ เราสามารถเรียกพวกเขาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดหรือไม่สแตนลี่ย์ มิลแกรม ได้ดำเนินการทดลองของเขาในฐานะอาจารย์ ณ มหววิทยาลัยเยลเ เขาได้เริ่มต้นการสรรหาผู้ชายจากนิว ฮาเวน คอนเนตติคัท เพื่อการมีส่วนร่วมภายในการศึกษา เขาได้อ้างถึงที่จะมุ่งบนความจำและการเรียนรู้ เขาได้คัดเลือกผู้มีส่วนร่วมเพื่อการทดลองเขาโดยการโฆษณาหนังสือพิมพ์ต่อผู้มีส่วนร่วมชาย อายุระหว่าง 20 ปีและ 50 ปี และจากภูมิหลังการจ้างงานที่หลากหลาย ภายในการเเลกเปลี่ยนเพื่อการมีส่วนร่วมของพวกเขา ผู้มีส่วนร่วมแต่ละคนได้รับ 4.50 เหรียญ เมื่อพวกเขาได้อาสาสมัคร พวกเขาได้ถูกบอกว่าการทดลองจะทดสอบผลกระทบของการลงโทษต่อความสามารถการเรียนรู้ ที่จริงแล้วผู้อาสาสมัครเป็นผู้ถูกทดสอบเกี่ยวกับการเชื่อฟังอำนาจหน้าที่ ผู้มีส่วนร่วมแต่ละคนรับบทบาทของผู้สอนเป็นผู้มีส่วนร่วมจริง และผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมปลอม ผู้ดำเนินการทดลองเป็นผู้มีอำนาจ ห้องสองห้องได้ถูกใช้ ห้องหนึ่งเพื่อผู้เรียน ด้วยเก้าอี้ไฟฟ้า และอีกห้องหนึ่งเพื่อผู้สอนด้วยเครื่องช็อตไฟฟ้าผู้สอนถูกให้คำแนะนำที่จะช็อตไฟฟ้าต่อผู้เรียนทุกครั้งเมื่อผู้เรียนได้ให้คำตอบที่ผิดต่อคำถาม การช็อตเริ่มต้น ณ ระดับต่ำ และเพิ่มความเข้มข้นกับแต่ละคำตอบที่ผิด ผู้เรียนไม่ได้รับการช็อตจริง แต่พวกเขาจะแกล้งทำเจ็บปวด และขอให้ผู้สอนหยุด แต่กระนั้นผู้ทดลองได้แนะนำให้ผู้สอนช็อตผู้เรียนอยู่ต่อไปผลลัพธ์ของการทดลองของมิลแกรมน่าตกตะลึง ทั้งที่มีการประท้วงของผู้เรียน แต่ส่วนใหญ่ของผู้สอนได้ช็อตไปจนถึงระดับสูงสุด เเม้ว่าพวกเขาเชื่อว่าการช็อตทำให้เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง การทดลองของมิลแกรมจะเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเของการเชื่อฟังภายในจิตวิทยา การศึกษาเริ่มเเรกของมิลแกรมเกี่ยวพันกับผู้มีส่วนร่วมจริง 40 คนที่ถูกแนะนำให้ช็อตไฟฟ้าแก่ผู้มีส่วนร่วมปลอมที่แกล้งทำได้รับการช็อตการช็อตได้ถูกให้ผ่านทางเครื่องช็อต และระดับภายในความรุนแรงจากช็อตเล็กน้อย – 15 โวลต์ ไปสู่ช็อตรุนแรง – 450 โวลต์ แม้ว่าผู้มีส่วนรวมจะปลอมได้ร้องเจ็บปวดและประท้วง ผู้มีส่วนร่วมจริงส่วนใหญ่ได้ช็อตต่อไปจนถึงระดับสูงสุด การแสดงระดับที่สูงของการเชื่อฟังต่อผู้มีอำนาจสแตนลีย์ มิลแกรม ได้สรุปจากการทดลองการเชื่อฟังของเขาว่าบุคคลส่วนใหญ่จะยอมต่ออำนาจหน้าที่ แม้ว่าอะไรที่พวกเขากำลังทำเป็นความรังเกียจทางศีลธรรม เขาได้อธิบายพฤติกรรมนี้เป็นการเชื่อฟังที่ทำลายการเชื่อฟังที่ทำลายจะเกิดขึ้นบนเงื่อนไขสองข้อ ข้อเเรกบุคคลต้องรับรู้ผู้มีอำนาจเป็นบุคคลเหมาะสมที่จะออกคำสั่ง ข้อสองบุคคลจะต้องรู้สึกว่าพวกเขาจะไร้การตำหนิต่อผลลัพธ์ทางลบใดก็ตาม เพราะว่าผู้มีอำนาจจะรับผิดชอบเต็มที่ต่อการกระทำของพวกเขา
การทดลองของมิลแกรมได้ศึกษาบุคคลจะไปไกลแค่ไหนเชื่อฟังอำนาจหน้าที่แม้ว่ามันหมายถึงทำร้ายบุคคลอื่นการศึกษาได้แสดงบุคคลธรรมดาสามารถทำอะไรที่ร้ายเเรงเมื่อถูกสั่งโดยผู้มีอำนาจหน้าที่อย่างไร ภายในจดหมาย ค.ศ 1962 ความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อความเมตตา ผู้บงการโฮโลคอสท์ อดอล์ฟ ไอซ์มาน เขียนว่า เขาและนายทหารระดับต่ำคนอื่น ได้ถูกบังคับให้รับใช้เป็นเป็นเครื่องมือเท่านั้น โยนความรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของชาวยิวหลายล้านคนไปที่ผู้บังคับบัญชาของเขา ข้อแก้ตัว “เพียงแค่ทำตามคำสั่ง” ได้สร้างชื่อเสียงอย่างมากภายในการสอบสวนนูเรมเบิรก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การแสดงภายในการพิจารณาคดีของอดอล์ฟ ไอซ์มาน แต่ทว่าภายในปีเดียวกันนั้น สแตนลี่ย์ มิลเเกรม นักจิตวิทยามหาวิทยาลัยเยล ได้ดำเนินการทดลองที่มีชื่อเสียงที่ทดสอบบุคคลธรรมดาจะลงโทษทำร้ายบุคคลอื่นโดยทำตามคำสั่งจากผู้มีอำนาจหรือไม่มันน่าตกตะลึงผลลัพธ์เสนอแนะว่ามนุษย์ใครก็ตามสามารถหัวใจมืดได้เคิรท เลวิน ผู้อพยพที่ก่อตั้งจิตวิทยาสังค ที่มักจะถูกมองเป็นบิดาของจิตวิทยาสังคมการทดลอง เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ขึ้นมาสู่อำนาจ เคิรทเลวิน ชาวยิวกำเนิดโปแลนด์ ได้ออกจากงานของเขา ณ มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ไปปักหลักอยู่ที่มหาวิทยาลัยไอโอวา ขอให้จินตนาการดูว่าโลกของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าอเมริกาได้ส่งเคิรทเลวิน กลับไปที่นาซี เยอรมัน เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้กลายเป็นผู้นำของเยอรมันเมื่อ ค.ศ 1933 เคริทเลวิน ได้รับรู้ว่าเขาและครอบครังของเขาไม่ปลอดภัยอีกแล้วภายในบ้านเกิดของพวกเขา เพราะว่าพวกเขาเป็นยิว เขาได้ลาอแกจากมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และหลบหนีไปสู่อเมริกา ในขณะนี้ผมเชื่อว่าไม่มีทางเลือกต่อผม นอกจากอพยพ แม้ว่ามันจะทำให้ชีวิตของผมเจ็บปวด เคิรท เลวิน กล่าว ภายการเผชิญกับการปฏิบัติต่อชาวยิวและนักจิตวิทยาของนาซีเยอรมันเคิรท เลวิน ได้อพยพมาที่อเมริกา ดังนั้นเขาไม่ได้อยู่ภายในเยอรมัน เมื่อเเม่ของเขา น้องสาว และบุคคลอื่นหลายคนถูกฆ่าถายในค่ายกักกันนาซีการมีอิทธิพลเหนือบุคคลของนาซี เยอรมันได้บันดาลใจเคริท เลวินศึกษาการเป็นสมาชิกของกลุ่มเรามีการศึกษาหลายอย่างเกี่ยวกับสไตล์ความเป็นผู้นำเเต่การศึกษาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ สไตล์ความเป็นผู้นำของเคิรท เลวิน เขาเชื่อว่าบุคคลจะเจริญเติบโตภายใต้ความผู้นำแบบประชาธิปไตย ไม่ใช่ความผู้นำแบบเผด็จการ เขาได้ดำเนินการทดลองวิธีการความเป็นผู้นำกับกลุ่มของเด็ก เขาได้ยืนยันว่ากลุ่มของเด็กดำเนินงานได้บรรลุความสำเร็จเมื่อเขาได้ถูกดำเนินการภายในวิถีทางแบบประชาธิปไตย
เมื่อ ค.ศ 1951 โซโลมอน อาช ได้ดำเนินการลำดับของการทดลองที่บุกเบิกเปลี่ยนแปลงพื้นฐานความเข้าใจการทำตามของเรา การทดลองของเขาจะตรงไปตรงมาแต่ทรงพลังมาก โซโลมอน อาช ได้ใช้นักศึกษามหาวิทายาลัย 50 คนภายในการทดลองตรงที่พวกเขาต้องเปรียบเทียบความยาวของเส้นตรงเขาได้รวมกลุ่มของบุคคลเจ็ดถึงเก้าคนภายใแต่ละห้อง เพื่อการศึกษาการรับรู้ที่มองเห็น เเต่กระนั้นแต่ละกลุ่มได้รวมบุคคลจริงไว้หนึ่งคนเท่านั้น ด้วยส่วนที่เหลือเป็นบุคคลปลอมได้ถูกแนะนำให้คำตอบที่ผิด บุคคลปลอมได้ตกลงกันล่วงหน้าการตอบสนองของพวกเขาเป็นอะไรภายในการเสนอด้วยเส้นตรง แต่บุคคลจริงจะไม่รู้เรื่องนี้ และเชื่อว่าบุคคลปลอมอื่นเจ็ดคนจะเป็นบุคคลจริง บุคคลจริงนั่งสุดท้ายของแถวและให้คำตอบของเขาเป็นคนสุดท้าย
พวกเขาได้ถูกขอให้เปรียบเทียบบัตรสองใบที่ถืออยู่โดยนักวิจัย บัตรใบที่หนึ่งมีเส้นตรงหนึ่งเส้น บัตรใบที่สองมีเส้นตรงสามเส้นที่มีความยาวแตกต่างกัน เส้นตรงเส้นหนึ่งของบัตรเส้นตรงสามเส้นจะเหมือนกับเส้นตรงของบัตรเส้นเดียว ยิ่งกว่านั้นความแตกต่างค่อนข้างจะชัดเจนด้วย บุคคลต้องบอกเสียงดังว่าเส้นตรงเส้นไหนของสามเส้นเท่ากับเส้นตรงเส้นเดียว ณ ตอนเริ่มต้น บุคคลทุกคน รวมทั้งบุคคลปลอม ได้ให้คำตอบที่ถูกต้องเเต่กระนั้นภายหลังไม่กี่รอบ บุคคลปลอมทุกคนได้เริ่มต้นให้คำตอบที่ผิด เราจะมองว่าบุคคลจริงจะทำตามการเห็นพ้องที่ไม่ถูกต้องของกลุ่มหรือไม่ มันน่าประหลาดใจ โซโลมอน อาชไ ด้พบจำนวนของบุคคลที่สูงเลือกที่จะทำตามการตัดสินใจของกลุ่มที่ผิดอย่างชัดเจน แทนที่จะขึ้นอยู่กับการรับรู้ของพวกเขาเอง
ถ้าบุคคลภายในกลุ่มให้คำตอบที่ผิด แรงกดดันให้ทำตามจะเกิดขึ้นภายในกลุ่มต่อบุคคลที่ยังไม่รู้เปลี่ยนแปลงคำตอบของเขาให้สอดคล้องกับบุคคลอื่นหรือไม่ นี่คือสิ่งที่ โซโลมอน อาช ต้องการจะรู้ ดังนั้นเขาได้ตระเตรียมกลุ่มที่บุคคลหนึ่งไม่รู้ว่าการทดลองได้ถูกตระเตรียมไว้ก่อนถ้าบุคคลให้คำตอบที่ไม่ถูกต้อง มันจะชัดเจนว่ามันเนื่องจากแรงกดดันของกลุ่ม
Cr : รศ สมยศ นาวีการ