การเมืองไม่ใช่เรื่องสกปรก
คอลัมน์ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ
ทหารประชาธิปไตย
การเมือง นั้น คือกระบวนการและวิธีการที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคนในทุกระดับ ตั้งแต่ชุมชนเล็กๆ ห้างร้าน บริษัทไปจนถึงระดับประเทศ คือ ระดับรัฐบาล บุคคลหรือคณะบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการตัดสินใจแทนคนส่วนใหญ่ ถูกเรียกว่า “นักการเมือง” ซึ่งต้องผ่านกระบวนการเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจและนำอำนานาจไปใช้ ด้วยการกำหนดนโยบาย ดังนั้น การเมือง ( POLITIC ) นักการเมือง ( POLICIAN ) และนโยบาย ( POLICY ) จึงมีความเกี่ยวพันอย่างแยกกันไม่ออก ทั้งนี้อำนาจทางการเมืองนั้นอาจได้มาด้วยการใช้กำลังทหาร หรือด้วยการสนับสนุนจากประชาชนโดยส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดระบบการปกครอง 2 ลักษณะคือ การปกครองแบบเบ็ดเสร็จ ( TOTALIARIANISM ) และการปกครองแบบประชาธิปไตย ( DEMOCRACY ) ในยุคปัจจุบัน ส่วนการปกครองแบบเผด็จการ ( DICTATORSHIP ) นั้น จัดเป็นการปกครองที่ใกล้เคียงกับการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ แต่จะเน้นการครอบครองอำนาจการเมืองการปกครองเท่านั้น ซึ่งอาจเรียกอีกชื่อว่า Authoritarianism ส่วนการปกครองแบบเบ็ดเสร็จนั้นถือเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองประเภทหนึ่งที่มุ่งควบคุมประชาชนส่วนใหญ่ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนการสื่อสารทุกประเภท
ดังนั้นการเมืองจึงถือได้ว่าเป็นอุดมการณ์อันบริสุทธิ์ ไม่ต่างจากศาสนา แต่ที่ต้องแปดเปื้อนและตกเป็นจำเลยของสังคมบ่อยครั้ง ก็เพราะคนหรือนักการเมืองที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม จึงใช้อำนาจในทางที่ผิด เพราะอำนาจทางการเมืองนั้นเกี่ยวกันกับการจัดสรรทรัพยากรของชาติ โดยผ่านกระบวนการทางกฎหมายและคำสั่ง หรือนโยบายของผู้ถืออำนาจทางการเมือง
นักการสื่อสารการเมืองที่ดี อาจตั้งประเด็นว่า
-อะไรคือเนื้อหาสาระ แก่นแท้อันจะเป็นแรงจูงใจ
-การนำเอาเหตุการณ์ที่สลับซ้อนมาอธิบายได้เข้าง่าย
-เนื้อหาอะไรที่ยังคลุมเครือ หรือขัดแย้งกันเอง
-ลีลา สำนวน โวหาร การปลุกเร้า
-การสร้างแรงจูงใจที่จะขยายแนวร่วม
-ระมัดระวัง การเสนออะไร งดเว้นอะไร
-ห้วงอารมณ์ของมวลชน ที่จะนำเสนอเรื่องใด
-จุดแข็ง จุดอ่อนในการนำเสนอ
-ปชช.และสื่อสาสมารถตรวจสอบ เนื้อหาสาระทางการเมืองนั้นๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงจังของการเคลื่อนไหว
เราได้ พ.ท.ข่าวสารในสื่อมวลชน หรือสื่ออื่นๆมากน้อยเพียงใด และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่เรานำเสนอหรือไม่
ต้องชี้แจงเจตจำนงทางการเมือง Political Will
-อุดมการณ์ทางการเมือง
-นโยบาย/การกระทำ
ซึ่งทั้ง 2 ประการเป็นคุณค่าหลัก (Core Value) หรือจิตวิญญาณของผู้นำทางการเมืองพรรคการเมือง นักการเมือง
-คุณค่าเชิงสังคม ส่วนรวม ผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งจะต้องครอบคลุมผลประโยชน์ของประชาชนในแต่ละกลุ่มด้วย
-นักการสื่อสารทางการเมืองที่ดีต้องกำหนดว่า
-สิ่งใดคือเจตจำนงทางการเมืองที่จะโดนใจประชาชน
-เป้าหมายทางการเมือง ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวคืออะไร
-ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ หรือการเคลื่อนไหว
-มีการแสดงถึงจุดยืน คือ เจตจำนงทางการเมืองชัดเจนหรือไม่และมีการกระทำใดๆที่จะเป็นตัวสนับสนุน หรือขัดแย้ง สอดคล้องกับความต้องการหรือกระแสสังคมหรือไม่
Political Participation (การมีส่วนร่วมทางการเมือง) ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญขาดไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าเราจะขับเคลื่อนไปในแนวทางประชาธิปไตย เทคโนฯใหม่ช่วยให้เปิดกว้างขึ้นหากรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกขั้นตอน
-การมีส่วนร่วมอาจหมายถึง
-การตั้งกลุ่มพูดคุย อภิปราย ถกเถียงในที่สาธารณะ หรือในสื่อออนไลน์
-การรวมกลุ่มรณรงค์ แสดงความเห็น
-การทำประชาพิจารณ์/ประชามติ
-การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การเชื่อมโยง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
-การจัดให้ภาคพลเมืองมีบทบาทในการแสดงความเห็น ต่อการตัดสินใจ หรือการออกนโยบายสาธารณะของรัฐบาล การตรวจสอบต่างๆ
ที่สำคัญในประเทศกำลังพัฒนา ประชาชนมักจะเพิกเฉยต่อบทบาทเหล่านี้ ถ้าผู้ปกครองมีเจตจำนงทางการเมือง Political Will ที่จะสร้างระบอบประชาธิปไตย ต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มาก
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่มีขีดความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจำนวนมากเป็นล้านคน หรือหลายล้านคนนั่นคือ เรื่องของ Big Data และ Block Chain
ปัญหาอยู่ที่ผู้ปกครองจะเปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือไม่ เพราะเขาต้องการควบคุมประชาชนให้อยู่ในอำนาจการปกครอง เอวังลงด้วยประการฉะนี้
อย่างไรก็ตามการเมืองทุกระบอบ ย่อมมีจุดอ่อนจุดแข็งแตกต่างกัน ซึ่งก็มีการโต้แย้งกันมาตลอด และที่สำคัญความเหมาะสมต่อภาวการณ์ก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องพิจารณา อย่างเช่น รัฐบาลของเชอร์ชิล และชาร์ล เดอโกล ในสมัยสงคราม ต้องการความกระชับอำนาจ เพื่อบริหารจัดการบ้านเมืองยามสงคราม จึงมีลักษณะค่อนไปทางเผด็จการ
อีกประเด็นหนึ่งก็คือ จุดใหญ่ประชาชนต้องการรัฐบาลที่จะทำเพื่อประชาชน For the People ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อบ่งชี้ที่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฮับราฮัม ลินคอร์น ได้เคยไว้ คือ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเท่านั้น จึงจะสามารถจะก่อให้เกิดรัฐบาลดังกล่าวได้ แต่ในประเทศกำลังพัฒนาโอกาสที่เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวเป็นไปได้ยาก หรือเกือบเป็นไปไม่ได้ จึงอาจจะพิจารณาที่จะสนับสนุนให้มีรัฐบาลที่ทำเพื่อประชาชน ปัญหาใหญ่ก็คือมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะทุกรัฐบาลต่างก็อ้างว่าทำเพื่อประชาชนทั้งนั้น
บางท่านอาจมีคำตอบว่าก็ขอพระราชทาน รัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นมาเพื่อให้สถาปนาระบอบประชาธิปไตย โดยเริ่มจากการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อประชาชน ซึ่งนั่นก็ยังวังเวงอยู่ หรืออาจต้องรอให้เกิดปรากฎการณ์อย่างมหาปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ประชาชนร่วมใจร่วมแรงกันโค่นล้มระบอบเก่า แล้วสร้างระบอบใหม่ขึ้นมาซึ่งแน่นอนใช้เวลานานและเกิดการสูญเสียอย่างมาก แต่ไม่ว่าจะอย่างไร สังคมย่อมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน พิจารณาแล้วตามคุณสมบัติดังกล่าว จะตัดสินใจเลือกใครก็เลือกไปเลย