jos55 instaslot88 Pusat Togel Online วิกฤตเลบานอนกับการเมืองโลกตะวันออกกลาง ตอนที่ 3 - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

วิกฤตเลบานอนกับการเมืองโลกตะวันออกกลาง ตอนที่ 3

 

วิกฤตเลบานอนกับการเมืองโลกตะวันออกกลาง ตอนที่ 3

นิกายชีอะฮ์กับบทบาทการเมืองในเลบานอน

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

 

การจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จของนายสะอัด อารีรี่ถือว่าเป็นความวิกฤติภายใต้วิกฤติของประเทศเลบานอนที่ได้ฝังรากลึกได้ปะทุอีกครั้ง ในขณะที่ปัญหาทางเศรษฐกิจได้จู่โจมมากที่สุดของประวัติศาสตร์เลบานอน ถึงกับประชาชนอดอยากและไม่มีแม้จะซื้อยาเวชภัณท์และสิ่งจำเป็นส่วนตัว บางสำนักข่าวรายงานถึงสภาพประชาชนว่าถึงกับได้เก็บเศษอาหารในขังขยะเพื่อปะทังชีวิตเลยทีเดียว

เมื่อนายกรัฐมนตรีรักษาการ นายสะอัด อะรีรี่ได้ลาออก ยิ่งทำให้ดูสถานการณ์เลวร้ายเพิ่มขึ้นอีก เพราะความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองและความไม่ลงตัวของจัดสรรอำนาจดูจะเลวร้ายสำหรับการเมืองเลบานอน  จนกระทั้งเมื่อวันจันทร์ที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา   นายนะจีบ มีคอตี ได้เสียงข้างมากจากสภาถึง 73เสียง จาก 118เสียง  ทำให้เขามีอำนาจจัดแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของเลบานอนและเป็นนายกรัฐมนตรีของเลบานอนในภาวะวิกฤตินั้น และคาดหวังกันว่าจะเป็นที่ยอมรับของประธานาธิบดี มิเชล อูน และสามารถทำงานกับทุกๆพรรคการเมืองได้

นายนะจีบ มิคอตี เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเลบานอนมาถึงสองสมัย ครั้งแรกในปี2005 และครั้งที่สองในปี ค.ศ. 2011   ในขณะที่ประชาคมนานาชาติ นำโดยฝรั่งเศสและกลุ่มประชาคมยุโรปให้สัญญาว่า จะจัดเงินช่วยเหลือจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์โดยมีเงื่อนไขให้เลบานอนได้ปฏิรูปทุกภาคส่วนของรัฐบาล และเป็นผู้นำผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารปกครองขั้นพื้นฐานที่สำคัญ และยังมีเงื่อนไขให้มีการควบคุม ปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังเพื่อให้องค์กรของรัฐได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่พึ่งพาได้ของประชาชน ที่สำคัญคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต้องได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ ซึ่งได้ให้การช่วยเหลือและบริจาคเงินเพื่อฟื้นฟูประเทศ

รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของนายนะจีบ มีคอตี  ได้พยายามที่จะให้กลุ่มก้อนทางเมืองหันมาเจรจาและหาข้อตกลงกันให้ได้ โดยนายมีคอตีได้เน้นย้ำต่อพรรคการเมืองทุกกลุ่มว่า ให้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจากกลุ่มฮิซบุลเลาะฮ์ที่มีอิหร่านสนับสนุน หรือกลุ่มของสะอัดอะรีรี่ ที่มาจากฝั่งอะลิซซุนนะฮ์

นักวิเคราะห์ด้านเลบานอนศึกษามองว่า ปัญหาความกฤติในเลบานอน ถือว่าสหรัฐฯและอิสราเอลเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง   ดร.อับดุลบารี อัฎวาน นักวิชาการด้านตะวันออกกลางศึกษา กล่าวอ้างถึงคำพูดของซัยยิด ฮะซัน นัสรุลเลาะฮฺ เลขาธิการฮิซบุลเลาะฮ์ว่า  แท้จริงสหรัฐฯและอิสราเองคือผู้สร้างความปั่นป่วนต่างๆในเลบานอนและอยู่เบื้องหลังของความวิกฤตินั้น  เรา ฮิซบุลเลาะฮ์ได้เคยปลดแอกออกจากความชั่วร้าย(ที่สร้างโดยอิสราเอลและสหรัฐฯ)มาแล้วถึงสองครั้ง และในครั้งนี้เราก็จะไม่ยอมให้ประชาชนประเทศนี้(เลบานอน)เป็นทาสของความวิกฤติครั้งนี้  ซัยยิดฮะซัน นัสรุลเลาะฮ์ กล่าว

นักวิเคราะห์ด้านเลบานอนศึกษามองว่า การลาออกของนายฮารีรี่ คือเกมของสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดความวุ่นวายปัญหาการเมืองภายใน อีกทั้งต้องการให้ไปสู่สงครามกลางเมือง โดยการลุกฮือของประชาชน และโยนความวิกฤตินั้นให้กับฮิซบุลเลาะฮฺ และกล่าวหาว่าอิหร่านได้เข้ามาแทรกแซงของเลบานอน อีกทั้งยังสนับสนุนให้กลุ่มฮิซบุลเลาะฮ์ได้มีขีปนาวุธทันสมัยมากขึ้น นั่นคือภัยคุกคามต่อภูมิภาคและต่ออิสราเอล ดังนั้นความพยายามของชาติตะวันตกและสหรัฐฯต้องการให้ฮิซบุลเลาะฮ์ปลดอาวุธ  พวกเขาสัญญาว่าเสถียรภาพการเมืองและเศรษฐกิจของเลบานอนจะกลับมาดีขึ้น และนั่นคือฉากทัศน์ของการเมืองเลบานอน ที่มีตัวแสดงใหญ่ คือสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปและอาหรับบางประเทศ กับการกดดันให้กลุ่มฮิซบุลเลาะห์หมดอำนาจและปลดอาวุธและการขยายอิทธิพลของอิหร่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่นั่นคือเกมการเมืองที่จับตาต่อไป

นิกายชีอะฮ์กับบทบาทการเมืองในเลบานอน

เริ่มจากการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1932 ในเลบานอน ถือว่าฝรั่งเศสเป็นผู้กำหนดการเมืองและรูปแบบการบริหารของประเทศเลบานอนแล้วแม้แต่รัฐธรรมนูญของประเทศถูกเขียนขึ้นโดยฝรั่งเศสในยุคนั้น  จึงจะเห็นว่าบทบาทของมุสลิมนิกายชีอะห์เกือบไม่มีอยู่เลยในช่วงต้นๆ และยังได้บันทึกไว้ว่าชีอะห์ไม่มีสิทธิใดๆทั้งทางการเมืองหรือกระทั้งบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจ   แต่กลุ่มคริสเตียนนิกายมาโรไนต์คือผู้ถือบังเหงียนทางด้านการเมืองและสังคมตลอดมา

จนกระทั้งได้มีปรับปรุงรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจทางการเมืองของกลุ่มศาสนาและนิกาย และได้ยอมรับกฎหมายนั้นมาบับคับใช้  จนในปี ค.ศ. 1970  เริ่มเห็นบทบาททางการเมืองของชีอะห์ในเลบานอน  โดยการนำของ อิมาม มูซา ศ็อดร์ แต่ก็ยังมีขีดจำกัดอยู่มากทีเดียว

เป็นไปได้ว่าสังคมชีอะห์ในเลบานอนในช่วงศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่20 มีฐานะทางสังคมน้อย กรอปกับไม่มีผู้นำหรือองค์กรทางสังคมที่ชัดเจน อีกทั้งถูกนับว่าเป็นพลเมืองที่มีความยากจน เป็นประชากรผู้ใช้แรงงานของประเทศ ชาวนาชาวสวน หรือถือว่าเป็นพลเมืองชั้นสองหรือชั้นสามของประเทศเลยทีเดียว   และว่ากันว่าสภาพความเป็นอยู่ของชีอะห์ในเลบานอนที่ต้องต่อสู้กับความยากจน ถึงกับบางพิธีทางศาสนาเช่นพิธีแต่งงานต้องไปขอใช้โบสถ์ของชาวคริสต์ทำพิธี และว่ากันว่าบางคนต้องออกจากนิกายชีอะห์หรือเปลี่ยนศาสนาเพื่อเอาตัวรอดจากความยากจน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีอะห์ภาคใต้ของประเทศถือว่ามีชีวิตเป็นอยู่ที่หดหู่และรันทดมาก ยากจน สภาพการเป็นอยู่ที่แร้นแค้นขัดสน ไม่มีด้านสาธารณสุขและความปลอดภัยเอาเสียเลย   จนกระทั้งมีกลุ่มก้อนการเมืองของชีอะห์บางคนได้เข้าร่วมบทบาททางการเมืองเลบานอนหรือสถาบันทางการเมือง  จนเกิดความหวังขึ้นและเห็นว่าเป็นไปได้ที่จะต่อสู้ทางการเมืองและนำพาชีอะห์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีวัฒนธรรมแบบชีอะห์อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี

จนกระทั้งปี ค.ศ.1960 ซัยยิด อิมาม มูซา ศ็อดร์ ได้เดินทางมาจากอิหร่านยังประเทศเลบานอน เขาได้ฟื้นฟูสังคมชีอะห์ในเลบานอน  ด้วยการสร้างระบอบและโครงสร้างทางสังคม  อิมามมูซา ศ็อดร์ ได้เริ่มวางรากฐานจากปี ค.ศ.1960-1970  สิบปีแรก ด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ชีอะฮ์ให้ความหวังอีกทั้งได้จัดระบบต่างๆทางการเมืองและสังคม จนเป็นที่ยอมรับและชีอะห์มีสถานะทางสังคมมากขึ้น นั่นนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว

อิมามมูซา ศ็อดร์ ได้ยกระดับชีอะห์เลบานอนได้อย่างมหัศจรรย์และสร้างความน่าเชื่อถือทางสังคมให้กับชีอะห์อย่างมากทีเดียว จนเป็นที่ยอมรับของประชาชนชาวเลบานอน  และถือได้ว่า อิมาม มูซา ศ็อดร์ คือบุคคลสำคัญที่สุดบุคคลหนึ่งในยุคบุกเบิกของชีอะห์ในเลบานอน  ผลงานที่ประจักษ์ที่ อิมามมูซา ศ็อดร์ได้ทำไว้ ได้แก่

๑. สร้างองค์กรและสถาบันทางวัฒนธรรมของนิกายชีอะห์

๒.สร้างสภาทางการเมืองของชีอะห์ที่จดทะเบียนเป็นทางการในนาม”สภาสูงชีอะห์เลบานอน”(มัจลิส อะลา ชีอะห์ ลุบนานียะห์)

๓.จัดตั้งองค์กร ไม่ใช่รัฐ(NGO) เพื่อสังคมสงเคราะห์

๔.จัดตั้งกองกำลังไม่ใช่รัฐ กองกำลังอะมัล ต่อต้านการรุกรานของอิสราเอล

๕.กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองพรรคอะมัล(พรรคความหวัง)

ต่อมาในปี 1972 บทบาทของชีอะห์ในเลบานอนได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น จนก่อตัวเป็นสถาบันทางการเมือง มีบทบาททางการเมืองเลบานอน ภายในชื่อ”ขบวนการต่อสู้อะมัล” โดยการนำของอิมามมูซา ศ็อดร์  หลังจากนั้นได้จัดตั้งกองกำลัง(ทางทหาร)ที่ไม่ใช่รัฐเพื่อปกป้องมาตุภูมิจากการรุกรานของอิสราเอลและต่างชาติ   ว่ากันว่าในระยะเริ่มก่อตั้งขบวนการต่อสู้อะมัลนั้น อิมามมูซา ศ็อดร์ได้ร่วมมือกับ ดร. มุสตอฟา จัมรอน เป็นนักต่อสู้ชาวอิหร่าน เป็นผู้ก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวอิสระอิหร่านที่ได้ต่อต้านชาฮ์ ปาลาวีห์  และกลุ่มของอะมัลนั้นยังได้ร่วมมือระหว่างกลุ่มเยาวชนชีอะห์อิหร่านและกลุ่มเยาวชนชีอะห์เลบานอนอีกด้วย

จนกระทั้งเกิดสงครามกลางเมืองในเลบานอน พรรคอะมัลประสบกับความอ่อนแอ ด้วยกับยุทธศาสตร์ของพรรคที่ผิดพลาด ทำให้ชีอะห์มีความขัดแย้งกันเอง กรอปกับมีพรรคการเมืองฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายที่แบ่งขั้วกันอย่างชัดเจน และมีกลุ่มการเมืองอื่นที่ไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมืองชีอะห์ต้องการมิให้ชีอะห์มีอำนาจทางการเมือง เลยถูกตัดตอนและสกัดขั้น  จนมาถึงช่วงที่อิมามมูซา ศ็อดร์ ได้ลูกลักพาตัว เมื่อเดินทางไปยังประเทศลิเบีย  ทำให้พรรคอะมัลเกิดระส่ำระสาย จึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น

จากการหายตัวไปของอิมามมูซา ศ็อดร์ ได้เกิดปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งใหม่ขึ้นของชีอะห์ นั่นคือ ซัยยิด อับบาส มูซาวี ได้วางยุทธศาสตร์ โดยให้ขบวนการต่อสู้ของพรรคอะมัลจะต้องเดินไปสองทางคู่กันไป นั่น คือ การมีกองกำลังเป็นของตัวเองเพื่อปกป้องการรุกรานจากอิสราเอล และส่งคนหรือคณะบุคคลให้มีบทบาททางการเมืองในรัฐสภา

ต่อมาบทบาททางด้านศาสนาและนักการศาสนาชีอะฮ์ได้มีมากขึ้น ทำให้ขบวนการต่อสู้กลุ่มอะมัลเปลี่ยนชื่อมาเป็น”อะมัลอิสลามี”(ขบวนการต่อสู้ความหวังอิสลาม) จนสามารถรวบรวมแนวร่วมได้มากขึ้น มีกองกำลังอาสาเข้าร่วม เป็นกองกำลังต่อต้านการรุกรานอิสราเอล  จนในที่สุดกองกำลังที่มีการนำโดย ซัยยิด อับบาส มูซาวี เปลี่ยนมาเป็น”กลุ่มฮิซบุลเลาะฮ์” หรือ ขบวนการต่อสู้ฮิซบุลเลาะห์   และมีบทบาทอย่างสูงต่อการเมืองเลบานอนในวันนี้ โดยการสนับสนุนจากอิหร่าน

 

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *