jos55 instaslot88 Pusat Togel Online สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเยือนอิรักกับนัยยะทางศาสนาและการเมือง - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเยือนอิรักกับนัยยะทางศาสนาและการเมือง

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเยือนอิรักกับนัยยะทางศาสนาและการเมือง

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

ศูนย์อิสลามศึกษา  วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

 

ทั่วโลกต่างให้ความสนใจของการมาเยือนสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในอิรักช่วงระยะเวลาทั้ง๓วัน  รวมถึงสำนักข่าวทั่วโลกได้เผยแพร่กิจกรรมการเดินทางเยี่ยม ทั้ง๓ วันของพระองค์อย่างใกล้ชิด นับว่าได้สร้างรอยยิ้มให้ชาวคริสต์และชาวโลกอย่างมากทีเดียว  ถึงกับถูกให้ฉายาต่อโป๊ปในการเดินทางไปอิรักครั้งนี้ว่า นักบุญแห่งสันติภาพ

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสมีความตั้งใจที่การสร้างสันติภาพและร่วมเป็นส่วนหนึ่งต่อประณามการก่อการร้ายและใช้ความรุนแรงและพระองค์ยังได้แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจต่อเหยื่อจากการก่อการร้าย และพระองค์ยังตั้งใจร่วมมือระหว่างศาสนาเพื่อปูทางไปสู่พัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนโลกใบนี้

ทันทีที่มีการเผยแพร่ภาพข่าวของกระบวนสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ได้เสด็จเยือนอิรัก เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมานั้น สร้างความปราบปรื้มปิติให้กับชาวคริสเตียนในอิรักและรวมถึงประชาชนทั่วโลกไม่น้อยทีเดียว ถึงแม้ว่าการเยือนของพระองค์ครั้งนี้จะอยู่ในภาวะการระบาดโควิด-19และยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบอื่นๆของกลุ่มก้อนทางการเมืองในอิรักอยู่ก็ตาม

ถือว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้เดินทางเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน หลังการระบาดของโควิด-19 ทำให้มีข้อจำกัดในการเดินทางมากมายและมีความไม่สะดวกเหมือนกับเดินทางไปประเทศอื่นๆก่อนหน้านั้น จึงทำให้สมาชิกทุกคนในคณะของพระสันตปาปาจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนออกเดินทาง รวมถึงเว้นระห่าง และสวมหน้ากากอนามัยในการพบปะบุคคลสำคัญ และรัฐบาลอิรักสัญญาว่า ให้การรักษาความปลอดภัยสูงในระหว่างการเยือน 6 เมืองในอิรักเป็นเวลา 3 วัน แม้ว่าการทิ้งระเบิดและการโจมตีที่รุนแรงอื่น ๆ จะลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ตาม

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสและคณะ ได้เริ่มต้นที่กรุงแบกแดด โดยมีพิธีต้อนรับอย่างอบอุ่นที่ทำเนียบประธานาธิบดี และพบปะพูดคุยกับประธานาธิบดีของอิรัก และนายกรัฐมนตรี มุสตาฟา อัล-กาธีมี เมื่อแล้วเสร็จจะทรงพบปะกับบาทหลวงนักบวชที่วิหาร Syro-Catholic Cathedral of Our Lady of Salvation

วันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม ได้เดินทางลงใต้ไปยังเมืองศักดิ์สิทธิ์เมืองศาสนา เมืองนะญัฟ ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์สำคัญของมุสลิมนิกายชีอะฮ์ และยังเป็นสถานที่ฝังศพ คอลีฟะฮ์แห่งอาณาจักรอิสลาม อิมามอะลี บิน อะบีตอลิบ สาวกทรงธรรมแห่งศาสดามุฮัมมัดอีกด้วย  โดยโป๊ปพบกับแกรนด์อายาตุลเลาะห์ อาลี อัล-ซิสตานี ผู้นำทางศาสนามุสลิมชีอะฮ์ ผู้นำจิตวิญญาณโลกชีอะฮ์ วัย 90 ปี  ผู้นำจิตวิญญาณโลกชีอะฮ์ปัจจุบัน นับว่าเป็นการเผยแพร่ภาพข่าวที่น่าประทับใจ ได้เห็นประมุขทั้งสองทักทายและจับมืออย่างมิตรไมตรีและได้สนทนากันเกือบสองชั่วโมงครึ่งเลยทีเดียว

อายาตุลลอฮ์ซีสตานีให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ส่วนพระสันตะปาปาถอดรองเท้าเข้าพบอยาตุลลอฮ์ซีสตานีอย่างอบอุ่นยิ่งนัก โดยอายาตุลลอฮ์ซีสตานีได้ลุกขึ้นมาทักทายและจับมือด้วยรอยยิ้ม ส่วนพระสันตะปาปาได้ดื่มชาและน้ำและยังได้สนทนาหลายประเด็น ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญของการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์นี้ก็ว่าได้ เราจะขอหยิบยกการสนทนานั้นมากล่าวเล็กน้อยเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการพบปะกันระหว่างสองประมุขผู้ยิ่งใหญ่

รายงานจากสำนักอายาตุลลอฮ์ ซิสตานีประเทศอิรัก กล่าวถึง ข้อความของแถลงการณ์ว่า :

แกรนด์ อายาตุลเลาะห์ ซิสตานี  ได้ให้การต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส หัวหน้าคริสตจักรคาทอลิกและหัวหน้ารัฐบาลวาติกัน ในการพบปะครั้งนี้ทั้งสองได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่มนุษยชาติที่กำลังเผชิญในยุคนี้ และบทบาทของความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าและการยึดมั่นในคุณค่าทางศีลธรรมอันสูงส่งเพื่อเอาชนะความท้าทายแหล่านี้

แกรนด์ อยาตุลเลาะห์ ซิสตานี  ยังได้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นความอยุติธรรม การกดขี่ ความยากจน การข่มเหงทางศาสนาและปัญญา การปราบปรามเสรีภาพขั้นพื้นฐานและการขาดความยุติธรรมทางสังคมที่ประเทศต่าง ๆ ต้องทนทุกข์ทรมาน โดยเฉพาะสงครามและการกระทำที่รุนแรง การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ การพลัดถิ่นและอื่นๆที่ประชาชาติในภูมิภาคของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวปาเลสไตน์ในดินแดนที่ถูกยึดครองต้องประสบกับความทนทุกข์ทรมาน

แกรนด์ อยาตุลเลาะห์ ซิสตานี   ชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่ผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ในการป้องกันความหายนะเหล่านั้น  และย้ำเตือนพวกเขาด้วยความคาดหวังที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศมหาอำนาจ  หันมาเอาชนะด้วยเหตุผลและสติปัญญา ละทิ้งภาษาแห่งสงครามและละเว้นจากการเผยแพร่ผลประโยชน์ส่วนตัวอันไปสู่การสร้างความเสียหายและทำลายสิทธิของชาติต่างๆ ที่จะดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและเสรีภาพ  อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของความพยายามที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในการเสริมสร้างค่านิยมของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของมนุษย์ในทุกสังคมบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิและความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างผู้นับถือศาสนาต่างๆ

อายาตุลลอฮ์ ซิสตานี ได้ชี้ไปที่ตำแหน่งของอิรักและประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์และคุณสมบัติที่ดีของเผ่าพันธุ์ต่างๆและยังแสดงความหวังว่าพวกเขาจะผ่านพ้นโศกนาฏกรรมในปัจจุบันในอนาคตอันใกล้นี้   และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของพลเมืองคริสเตียนบนพื้นฐานที่ควรได้รับ ความปลอดภัยและความสงบสุขและได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่เช่นเดียวกับพลเมืองชาวอิรักทั้งหลาย 

อายาตุลลอฮ์  ซิสตานีได้ชี้ถึงบทบาทของมัรเญีอญ์ตักลีดในการสนับสนุนพวกเขาและคนอื่น ๆ ที่ถูกกดขี่ข่มเหงในเหตุการณ์ไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ผู้ก่อการร้ายเข้ายึดครองพื้นที่ในวงกว้างในหลายจังหวัดของอิรักและก่ออาชญากรรมที่น่าอับอายในพื้นที่เหล่านี้

ในตอนท้าย อยาตุลลอฮ์ ซิสตานี ได้วิงวอนภาวนาจากพระผู้เป็นเจ้าให้พระสันตะปาปาและสาวกของคริสตจักรคาทอลิกและมวลมนุษยชาติให้พบกับสิ่งดีงามและความผาสุก และขอบคุณพระสันตะปาปาที่อดทนต่อความเหน็ดเหนื่อยและลำบากจากการเดินทางมายังเมือง  Najaf Ashraf สำหรับการเดินทางครั้งนี้

 

อายาตุลลอฮ์  ซิสตานี คือใคร?

อายาตุลลอฮ์ อะลี  ฮุซัยนี ซิสตานี  ท่านเป็นนักบวช(เป็นมัรเญียะตักลีดระดับสูงสุด ผู้ให้คำวินิจฉัยปัญหาศาสนาโลกชีอะฮ์) ปราชญ์ยิ่งใหญ่ยุคปัจจุบันเลยทีเดียว เป็นผู้นำจิตวิญญาณผู้ทรงอิทธิพลต่อชาวชีอะฮ์ที่สุดในอิรักและต่างประเทศ  ท่านใช้ชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย ดังภาพข่าวได้เผยแพร่ขณะที่สมเด็จพระสันตปาปาเดินเท้าเข้าไปยังบ้านพักของท่าน หรือภาพข่าวฉายถึงห้องรับแขกที่อบอุ่นและเรียบง่าย ว่ากันว่าประชาชนชาวชีอะฮ์ทั่วโลกให้การยอมรับอายาตุลลอฮ์  ซิสตานีสูงมาก

ชื่อของอายาตุลลอฮ์  ซิสตานี เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เมื่อระบอบซัดดามถูกโค่นล้ม ในปี 2003  และอิรักเปลี่ยนคณะบริหารมาอยู่ในมือของกลุ่มการเมืองฟากชีอะฮ์ และถือว่าอายาตุลลอฮ์ ซิสตานีมีบทบาทที่สุดที่ทำให้ นาย นูรี อัลมาลิกี อดีตนายกรัฐมนตรีอิรัก ได้ขึ้นดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีในวันนั้น  เพราะเขาได้ส่งสารสำคัญฉบับหนึ่งถึงพรรคการเมืองชีอะฮ์

อายาตุลลอฮ์ ซิตตานีเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น เมื่อกลุ่มติดอาวุธไอเอสเข้ายึดเมืองโมซุลปี2014 และประกาศจัดตั้งรัฐอิสลาม ภายใต้การนำอบุบักร์ อัลแบกแดดี สร้างความเสียหายและสร้างความสพึงกลัวต่อชาวอิรักและทั่วโลกด้วยการฆ่าตัดคอและการสังหารหมู่ โดยเฉพาะชาวคริสเตียนที่ถูกฆ่าตัดคออย่างโหดเหี้ยม และว่ากันว่ากลุ่มก่อการร้ายไอเอสได้สังหารคริสเตียนจำนวนมากในพื้นที่ต่างๆของอิรักและได้ทำลายคริสตจักรจำนวนมากในอิรักซึ่งบางแห่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สูงทีเดียว โดยอายาตุลลอฮ์ ซิสตานีได้ออกคำฟัตวาห์ให้ร่วมรบและต่อสู้กับกลุ่มไอเอส และถือว่าการต่อสู้กับกลุ่มไอเอสคือหน้าที่หนึ่งทางศาสนา จนทำให้คนหนุ่มและชาวอิรักจำนวนมากลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องมาตุภูมิและศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ และทำให้กลุ่มติดอาวุธไอเอสต้องพ่ายแพ้ สร้างขวัญและกำลังใจต่อชาวอิรักกลับคืนมาอย่างมีความหวังและรอยยิ้ม

อายาตุลลอฮฺ ซิสตานี ได้แสดงจุดยืนทางการเมืองแบบสายกลาง ไม่สุดโต่ง  และถือว่าประชาชนชาวอิรักคือผู้กำหนดทางเมืองของประเทศ และหนทางที่จะสร้างความสงบทางการเมืองคือการคืนอำนาจการเลือกตั้งให้ประชาชน  อายาตุลลอฮ์ ซิสตานี ยังเรียกร้องให้สร้างเอกภาพต่อคนในชาติ และไม่เห็นด้วยกับการแซกแทรงกิจการภายในโดยต่างชาติ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และวันนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่าอิสลามการเมืองในอิรักผ่านกระบวนทัศน์ของบุคคลยิ่งใหญ่ผู้นี้ที่ชื่อว่า”อายาตุลลอฮฺ  ซิสตานี” และกำลังจะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใหม่ของอิรักในไม่ช้านี้

สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จเยือนจัตุรัส ‘เชิร์ช สแควร์’ ในเมืองโมซูล วันอาทิตย์ที่ 7 มี.ค. 2564 ซึ่งเป็นวันที่ 3 ในภารกิจเยือนประเทศอิรักครั้งแรกของพระองค์ โดยโป๊ปฟรานซิสทรงเป็นผู้นำพิธีสวดภาวนา เพื่ออุทิศแก่ผู้เสียชีวิตในสงครามกับกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม หรือ กลุ่มก่อการร้ายไอซิส

โป๊ปได้กล่าวว่าช่างโหดร้ายเหลือเกิน ที่ประเทศนี้ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของอารยธรรม ต้องเสียหายจากความป่าเถื่อนโหดร้าย สักการะสถานมากมายถูกทำลาย ประชาชนมากมายหลายพัน ทั้งชาว มุสลิม, คริสต์, ยาซิดี และอื่นๆ ถูกพลัดถิ่นหรือถูกสังหาร

แต่ในวันนี้ เรายืนยันอีกครั้งว่า ความเชื่อของเราที่ว่า ภราดรภาพยั่งยืนกว่าการฆ่าฟันกัน, ว่าความหวังมีพลังเหนือกว่าความเกลียดชัง, ว่าสันติภาพมีอิทธิพลเหนือกว่าสงคราม

นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตุต่อการเดินทางของโป๊ปครั้งนี้ว่ามีหลายประเด็นน่าสนใจ คือ :

หนึ่ง คริสเตียนชาวอิรักเป็นหนึ่งในเหยื่อรายใหญ่ของสงครามและการก่อการร้ายโดยกลุ่มติดอาวุธไอเอสในอิรัก และผู้นำคาทอลิกของโลกตั้งใจที่จะเอาใจและปลอบประโลมใจพวกเขาด้วยการเดินทางไปอิรัก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเน้นย้ำในข้อความเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่เกิดขึ้นโดยคริสเตียนชาวอิรักในช่วงสงคราม และกล่าวพร้อมยกย่องชนกลุ่มน้อยยาซิดีของอิรักว่า “ พวกเขาได้รับความเดือดร้อนมากเช่นกัน”

ถึแม้ว่าชาวอิรักที่นับถือศาสนาคริสต์คิดเป็นร้อยละ 6 ของประชากร 25 ล้านคนของประเทศก็ตาม แต่หลังจากสงครามและความรุนแรงหลายปีประชากรคริสเตียนในอิรักลดลงเหลือประมาณ 400,000 คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไอซิสได้สังหารคริสเตียนจำนวนมากในพื้นที่ต่างๆของอิรักและได้ทำลายคริสตจักรจำนวนมากในอิรักซึ่งบางแห่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สูง(วิเคราะห์ : เป้าหมายการเยือนอิรักของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ครั้งประวัติศาสตร์

โดยอิบรอฮีม อาแว -6 มีนาคม 202 https://www.abnewstoday.com)

สอง: ของการเยือนอิรักของสมเด็จพระสันตะปาปาคือการพัฒนาพื้นที่สำหรับการอยู่ร่วมกันระหว่างกันทางศาสนาอย่างสันติ ในการนี้สมเด็จพระสันตะปาปามีกำหนดการจะเดินทางไปยังเมืองนาซิริยาห์ทางตอนใต้ของอิรักในอีกส่วนหนึ่งของการเดินทางเพื่อพบปะกับบุคคลสำคัญทางศาสนาของศาสนาต่างๆในบ้านเกิดของอิบราฮิมในเมือง “อูร์”

สาม เพื่อปะพบกับอายาตุลเลาะห์ ซิสตานี ผู้มีอำนาจทางศาสนาสูงสุดของอิรักและถือว่าเป็นประมุขโลกมุสลิมนิกายชีอะฮ์ และเป็นบุคคลทรงอิทธิพลที่สุดในการเมืองอิรักวันนี้ โดยจะสนทนาปัญหาเรื่องสันติภาพในการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนาและนิกาย และรวมไปถึงการประณามการก่อการร้ายและความรุนแรงและเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างศาสนาวิเคราะห์ : เป้าหมายการเยือนอิรักของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ครั้งประวัติศาสตร์

โดยอิบรอฮีม อาแว -6 มีนาคม 202 https://www.abnewstoday.com)

 

 

 

 

 

 

 

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *