jos55 instaslot88 Pusat Togel Online เมื่อก๊าซธรรมชาติกลายเป็นเหยื่อการเมือง - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

เมื่อก๊าซธรรมชาติกลายเป็นเหยื่อการเมือง

เมื่อก๊าซธรรมชาติกลายเป็นเหยื่อการเมือง

ทหารประชาธิปไตยนะ

ช่วงนี้มีการเชื่อมโยงถึงราคาก๊าซธรรมชาติ กับเหตุการณ์ตึงเครียด ทางทหารและการเมืองกรณีวิกฤติการณ์ยูเครน อันมีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซธรรมชาติอย่างผิดปกติ

               นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงไปสู่อภิมหาโปรเจค NORD STREAM 2 ซึ่งได้มีการต่อท่อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย ลอดใต้ทะเลบอลติค ไปยังเยอรมันระยะทางประมาณ 1,200 กม. สามารถส่งก๊าซจากรัสเซียสู่เยอรมันได้ประมาณ 55,000 ล้านลูกบาตรเมตร ซึ่งเมื่อรวมกับ NORD STREAM 1 และท่อก๊าซอื่นๆ ที่รัสเซียส่งให้ยุโรปจะมีปริมาณรวมกันถึง 110,000 ล้านลูกบาตรเมตรต่อปี ที่สำคัญจะทำให้เยอรมันกลายเป็นศูนย์พลังงานแห่งหนึ่งของตะวันตก

แต่พอเกิดวิกฤติการณ์ยูเครนแม้ไม่ยังเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดและความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-นาโต้-รัสเซีย ก็ทำให้เกิดประเด็นที่สหรัฐฯจะใช้เป็นข้ออ้างตามสัญญากับยุโรปที่จะทำการแซงค์ชั่นรัสเซีย และในขบวนการแซงค์ชั่นนี้ ก็จะรวมถึงการยุตินำเข้าก๊าซธรรมชาติ จำนวนมหาศาลจากรัสเซีย รวมถึงการเริ่มดำเนินการส่งก๊าซผ่านท่อในโครงการ NORD STREAM 2 ที่สร้างเสร็จแล้ว เพียงรอการอนุมัติดำเนินการเท่านั้นก็จะพลอยต้องยุติไปด้วย

ผลกระทบคือโครงการต่างๆของเยอรมันก็จะมีอันหยุดชะงัก และที่สำคัญทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงขึ้น เพราะซัพพลายก๊าซของรัสเซียถูกจำกัด ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆก็เพิ่มกำลังการผลิตจนอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว

               แน่นอนประเทศในยุโรปซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ต่อผลิตภัณฑ์ก๊าซธรรมชาติที่ถือเป็นพลังงานที่สะอาดและสามารถมาทดแทนพลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่ยังไม่พร้อมสานต่อกระบวนการพลังงานแทนที่น้ำมันและถ่านหินได้ในขณะนี้

อย่างไรก็ตามในตัวของมันเองก็ต้องยอมรับความจริงว่ามันเป็นปรากฏการณ์ที่ก๊าซธรรมชาติประสบความสำเร็จในการตอบรับจากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายทศวรรษนี้ โดยเฉพาะแรงจูงใจจากการลดภาวะโลกร้อนของประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย

ตลาดก๊าซธรรมชาติได้รับแรงกระตุ้นจนพุ่งสูงขึ้นในช่วงปี 2021 ส่วนหนึ่งเกิดจากความตึงเครียดทางการเมืองระหว่าง ขั้วอำนาจเดิมที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำกับขั้วอำนาจใหม่ที่มีรัสเซียและจีนเป็นแกนนำ แต่มันไม่ใช่แค่นั้นภาวะอากาศที่เลวร้ายกับความไร้ทิศทางที่ชัดเจนของการจัดการเรื่องพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนที่จะเข้ามา รับภาระต่ออันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการ ลดทอนปัญหาโลกร้อนทำให้เกิดช่องว่างที่ก๊าซธรรมชาติกลายเป็นตัวเลือกในอันดับต้นๆ

ในปี 2022 ก็เช่นกันแม้ว่าสหรัฐฯจะเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก แต่สหรัฐฯเองก็ยังต้องเผชิญกับการที่ บิลค่าใช้จ่ายเพื่อความร้อนเพิ่มขึ้นถึง 7.5 % ในเดือนมกราคมซึ่งนับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 40 ปี และไปเพิ่มน้ำหนักกับภาวะเงินเฟ้อ

               เพราะว่าความวิตกกังวลต่อสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย อาจบานปลายออกไปเป็นเพียงปลายเหตุที่กระตุ้นระดับราคา ก๊าซธรรมชาติ ผสมกับความขัดแย้งระหว่างอัลจีเรีย  ซึ่งเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่ส่งไปยุโรปเกิดมีปัญหากับโมรอคโค เพราะโมร็อคโคไปเปิดสัมพันธ์ปกติกับอิสราเอล และให้อิสราเอลมาช่วยยกระดับสมรรถนะของอาวุธยุทโธปกรณ์ของตน อันถือเป็นภัยคุกคามอัลจีเรีย

ประการสำคัญคือมีการลดการลงทุนในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเกี่ยวกับพลังงานทดแทน และการใช้พลังงานทดแทนในประดิษฐกรรมใหม่ๆลดลงทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ในปีถัดไปเราก็ยังคงจะต้องเผชิญหน้ากับการ ขาดแคลนก๊าซธรรมชาติและต้องพบกับราคาที่ยังคงสูงอยู่

ปี 2021 เราพบว่าผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ และนักธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิต ครั้นปี 2022  กลับมีความจำเป็นต้องคาดเข็มขัดนิรภัย และปี 2023 ก็อาจจะต้องเผชิญกับอนาคตที่มืดมนถ้ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่

ก๊าซธรรมชาติได้กลายเป็นศูนย์กลางของแหล่งพลังงานของโลกไปแล้วเพราะมันเหมาะที่จะเป็นกุญแจที่นำไปสู่การเชื่อมต่อระหว่างพลังงานแบบเก่ากับพลังงานสีเขียว   ในหลายๆประเทศ จากรายงานของ INTERNATIONAL ENERGY AGENCY (IEA) ระบุว่าก๊าซธรรมชาติมีสัดส่วน ถึงหนึ่งในสี่ของพลังงานที่ผลิตไฟฟ้า ซึ่งนำไปสู่พลังงานในการผลิตที่สำคัญของความร้อนในบ้าน โรงงาน และแสงสว่างในเมือง

ตลาดก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยกลุ่มผู้ผลิตซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเทศและธุรกรรมการส่งออก LNG ตลอดจนกระบวนการขนส่งก๊าซธรรมชาติที่ต้องใช้เรือพิเศษในการขนส่งทางเรือ นอกจากการใช้ท่อก๊าซขนส่ง

ลูกค้าสำคัญก็คือยุโรปและเอเชียซึ่งแค่จีนกับอินเดียร่วมกันก็เกือบครึ่งของปริมาณทั้งหมดที่นำเข้า

ในช่วงเพียงไม่กี่ปี เอเชียใช้ก๊าซธรรมชาติถึง 345.4 พันล้านคิวบิกเมตรในปี 2020 ส่วนยุโรปมาอันดับ 2 คือบริโภคก๊าซธรรมชาติ 114.8 พันล้านคิวบิกเมตร

ถ้านับเป็นประเทศเยอรมันญี่ปุ่นและจีนเป็นประเทศที่นำเข้าก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับหนึ่งสองสามตามลำดับ

สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันแม้จะยังไม่มี ท่าทีว่าจะเกิด สงครามขนาดใหญ่ในบริเวณยูเครนกับรัสเซีย แต่การประกาศรับรองแคว้นโดเนตสก์และลูฮานสก์ ในเขตยูเครนตะวันออกของรัสเซีย ก็อาจมีผลทำให้สหรัฐและอังกฤษกดดันให้มีการแซงค์ชั่นรัสเซีย เนื่องจากรัสเซียได้ส่งหน่วยรักษาสันติภาพเข้าไปในรัฐอิสระเกิดใหม่ 2 รัฐนี้ซึ่งจะส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติประมาณ 40 % ถูกระงับการส่งไปยุโรปและจะเป็นตัวไปกระตุ้นราคาก๊าซธรรมชาติอย่างแน่นอน

ประเด็นจึงไม่ใช่อยู่ที่รัสเซียจะระงับการส่งก๊าซไปยุโรปหรือไม่หากเกิดสงครามกับยูเครน แต่ฝั่งตะวันตกนำโดยสหรัฐฯก็อาจกดดันให้มีการแซงค์ชั่นก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย

อนึ่งยุโรปและกลุ่มประเทศ OECD ในยุโรปได้นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียถึง 72% ส่วนในเอเชียนำเข้าเพียบ 11% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจีนคือ 5%

ผลกระทบใหญ่ในกรณีวิกฤตการณ์ยูเครนต่อยุโรปจึงมีมหาศาลโดยเฉพาะต่อเยอรมันซึ่งมีแหล่งนำเข้าหลักจาก 3 ประเทศ คือรัสเซีย นอร์เว และอัลจีเรีย สองประเทศหลังก็ผลิตเต็มกำลังแล้ว ซึ่งเห็นได้ชัดว่าหากรัสเซียไม่อาจส่งก๊าซไปยุโรปได้ทางยุโรปก็คงลำบากมากเพราะไม่สามารถหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นมาทดแทนได้

โดยเฉพาะอาจเกิดเหตุซ้ำเติมได้หากอัลจีเรียเกิดสงครามกับโมร็อคโค ที่ท่อก๊าซของอัลจีเรียต้องผ่านไปสู่ยุโรปโดยผ่านสเปนและอิตาลี

แม้ในขณะที่ยังไม่เกิดสงครามในเดือนพฤศจิกายน 2021 อัลจีเรียได้ปิดการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อส่งที่ต้องผ่าน โมร็อคโค ไปสเปน และ ปอร์ตุเกส แต่ก็ยังคงส่งก๊าซผ่านท่อไปอิตาลีและยังมี โรงงานผลิต LNG ที่ส่งไปยุโรปทางเรืออีกด้วย

อย่างไรก็ตามแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองในอัลจีเรียยังดูว่ามั่นคงบนพื้นผิวแต่ภายใต้ก็ยังมีแรงกระเพื่อมอยู่ ในขณะที่ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติภายในประเทศก็เพิ่มขึ้น

ในปี 2022 ยุโรปจึงต้องเผชิญหน้ากับ ความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตการณ์พลังงานและจะมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยุโรปและต่อโลกอีกด้วย

และหากมองไปในอนาคตอันใกล้ประเทศที่สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติมาทดแทนหากขาดก๊าซจากรัสเซียก็ยังไม่พร้อมที่จะมาชดเชยได้ เช่น ลิเบียที่มีปัญหาภายในที่เกิดความไม่มั่นคง และสงครามภายในจึงไม่พร้อมขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออก

อียิปต์ซึ่งค้นพบแหล่งก๊าซนอกชายฝั่งหลายปีมาแล้วก็ผลิตเต็มกำลังแล้วจนไม่อาจเพิ่ม LNG เพื่อการส่งออกได้อีก

กาตาร์ก็ผลิตเต็มกำลังและมีลูกค้าประจำทางเอเชียเต็มพิกัดแล้วถ้าจะผ่อนผันขายผลิตภัณฑ์ให้ยุโรปก็คงมีปัญหากับลูกค้าเก่าแน่

ออสเตรเลียที่เป็นผู้ผลิต LNG และส่งออกรายใหญ่ของโลกก็ผลิตเต็มกำลังผลิตหรือใกล้เคียงแล้วนอกจากนี้ยังมีลูกค้าประจำเต็มพิกัดอยู่ คือ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน เกาหลีใต้ เวียดนาม ปากีสถาน ประเทศไทย และบังกลาเทศ

ปัญหาคือพลังงานทดแทนยังไม่อาจสร้างความก้าวหน้าในการผลิตเพราะขาดแรงกระตุ้นทางดีมานต์ เมื่อราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูง โลกอาจจะต้องกลับไปใช้พลังงานแบบเดิม และจะทำให้ภาวะโลกร้อนยิ่งเลวร้ายมากขึ้น

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *