ยิ่งเล็กยิ่งสวยงาม หรือยิ่งใหญ่ยิ่งดี
ยิ่งเล็กยิ่งสวยงาม หรือยิ่งใหญ่ยิ่งดี
อี เอฟ ชูเมคเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เขียน “Small is Beautiful” 1973 สี่สิบกว่าปีมาแล้ว แต่ถ้าเราไม่รู้ เราอาจจะคิดว่ามันถูกพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว “Small is Beautiful” เป็นการรวบรวมบทความของเขา
ด้วยการอธิบายปัญหาโลกสมัยใหม่เผชิญอยู่ ท่ามกลางปัญหาเหล่านี้
ที่เขา
สนใจมากคือ การดูถูกและการลดค่าของมนุษย์และสิ่งเเวดล้อม
ภายในชื่อของ “ยักษ์ใหญ่นิยม” การรวมกันของ
แนวคิดการเจริญเติบโตยิ่งดี และยิ่งใหญ่ยิ่งดี “Small is Beautiful”
เป็นความท้าทายอย่างรุนเเรงต่อความเป็นพิษของศตวรรษที่ยี่สิบ
ด้วยอะไรที่ชูมัคเกอร์อธิบายเป็นการหลงใหลโดยทั่วไปของ “ยักษ์ใหญ่นิยม”
การโต้แย้งต่อต้านการบริโภคมากเกินไป การกลายเป็นอุตสาหกรรม
เกินไป และวัตถุนิยมมากเกินไป เขาได้ท้าทายเเนวคิดที่สนับสนุนมา
ยาวนานว่ายิ่งใหญ่ยิ่งดี
“Small is Beautiful” ได้แสดงปรัชญาของการคิดที่สวยงามของเขา
ด้วยถ้อยคำที่ยิ่งใหญ่ เขาได้เสนอข้อแก้ปํญหาขนาดเล็กแต่เป็นไปได้
สูงต่อปัญหาหลายอย่างสร้างโดยความใหญ่ – วิกฤติทางสิ่งเเวดล้อม
การขาดแคลนพลังงาน การลดความเป็นมนุษย์ของคนงาน การต่อสู้
จากพื้นที่ชนบท
เขาเป็นบุคคลแรกที่แสดงการหมดสิ้นของทรัพยากรเป็นการคุกคาม
ต่อการเป็นอุตสาหกรรม เขาได้วิจารณ์ความต้องการเพื่อการเจริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องด้วย แต่ได้เสนอแนะการคิดทาง
เศรษฐกิจใหม่มุ่งที่ความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ เขาเชื่อว่าเศรษฐศาสตร์
ได้กลายเป็นนามธรรม และพลาดความมุ่งหมายที่สำคัญของมัน
การแยกบุคคลจากรากฐานทางเศรษฐกิจของพวกเขา การรวมอำนาจ โลกาภิวัฒน์ การมุ่งขนาดทางอุตสาหกรรม การขยายตัวนิยม ระบบอัตโนมัติ และความเจ้่าของธุรกิจที่ไร้ตัวตน
ชูเมคคเกอร์ เสนอแนะว่ารากฐานเศรษฐกิจของเราควรจะ
อยู่บนพื้นฐานของความต้องการและทรัพยากร
ท้องที่ เทคโนโลยีที่เหมาะสม และความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และ
สิ่งแวดล้อม และความเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมของท้องที่ ต่อชูมัคเกอร์แล้ว
ความก้าวหน้าไม่เกี่ยวกับการสร้างอะไรให้ใหญ่โตขึ้นและซับซ้อนมาก
ขึ้น แต่เกี่ยวกับการทำให้อะไรเล็กลงและเรียบง่ายขึ้น
ชูเมคเกอร ได้กล่าวถึงขนาดด้วยการเตือนเราว่าสหประชาชาติเริ่มต้น
ภายใน ค.ศ 1945 ด้วย 60 ประเทศ แต่เมื่อ ค.ศ 1973 ได้เพิ่มเป็นสองเท่า 120
ประเทศ มันทำให้เขาประหลาดใจ เพราะว่าในฐานะของนักเศรษฐศาสตร์
เขาได้ถูกสอนว่า ยิ่งใหญ่ยิ่งดี แต่การวิจัยของเขาเองได้แสดงเขาว่า
ประเทศที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดของโลกส่วนใหญ่จะเล็ก ในขณะที่
ประเทศใหญ่ส่วนใหญ่จะจน นักเศรษฐศาสตร์ชอบสโลแกนเช่น
ความประหยัดจากขนาด เป็นเหตุผลของยักษ์ใหญ่นิยม
ชูเมคเกอร์เห็นด้วยกับมหาตมะ คานธี ความยากจนของโลกไม่
สามารถช่วยโดยการผลิตแบบจำนวนมากสมัยใหม่ เมื่อมันต้องการ
ทุนมากเกินไป และมุ่งหวังเพื่อการประหยัดเเรงงาน พวกเขาทั้งสอง
ชอบการผลิตโดยมวลชนที่สามารถสนับสนุนด้วยเครื่องมือที่เหมาะ
สม ชูเมคเกอร์ ได้เรียกชื่อมันว่าทางสายกลาง “เทคโนโลยีระดับกลาง”
การชี้ว่ามันเหนือกว่าเทคโนโลยีดั้งเดิมของยุคที่ผ่านไปแล้ว เเต่ในขณะ
เดียวกันเรียบง่ายและถูกกว่าเทคโนโลยีระดับสูง ที่จริงแล้วมันนำ
เขาไปสู่ความเข้าใจว่า “ยิ่งเล็กยิ่งสวยงาม”
ด้วยการทำงานเป็นหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แก่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง
ของอังกฤษ ชูเมคเกอร์ ได้สัมผัสโดยตรงกับบริษัทยักษ์ใหญ่นิยม
ที่เขามองเป็นแนวโน้มใหญ่ของสมัยใหม่ เขาไม่เห็นด้วยแม้ว่า
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า “ยิ่งใหญ่ยิ่งดี” เขากล่าวว่า
นักสังคมวิทยาได้เตือนเราว่าภายในบริษัทใหญ่ บุคคลจำนวนมาก
รู้สึกเป็นฟันเฟืองตัวเล็กเท่านั้นภายในเครื่องจักรใหญ่ที่ลดความ
เป็นมนุษย์ของบุคคลทุกคน
ข้อเสนอแนะของชูเมคเกอร์ว่าเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
ไม่เหมาะสมต่อบุคคลบนโลกเป็นข้อโต้เถียงกันอยู่ แต่เป็น
ความคิดที่สำคัญต่อโลกสมัยใหม่ “Small is Beautiful”
ยังคงมีอิทธิพลทั่วโลกอยู่ การเขียนด้วยส่วนผสมของ
สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และปรัชญา โดยพื้นฐาน
ชูเมคเกอร์ ได้สงสัยต่อ การผลิตแบบจำนวนมาก และโลกา
ภิวัฒน์ในขณะนี้ของเรา การวิเคราะห์การใช้ของทรัพยากร
โลกที่หมดสิ้นของเรา เขาเสนอแนะว่าการเจริญเติบโตและ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ได้เป็นเครื่องวัดดีที่สุดของ
ความสำเร็จอยู่เสมอ แต่ “Small is Beautiful” เกี่ยวกับการ
รักษาการกระทำของเรา และ
เทคโนโลยีของเราภายในมุมมอง ณ ขนาดของมนุษย์ที่จะ
รับรองว่าเศรษฐกิจของเราอยู่แนวเดียวกับความยั่งยืน
ของมนุษย์และโลก
ชูเมคเกอร์ เชื่อว่าเศรฐกิจควรจะรับใช้บุคคล ไม่ใช่ตรงกันข้าม
เขามุ่งที่การพัฒนารูปแบบของเทคโนโลยีทำให้บุคคลสามารถ
รับผิดชอบชีวิตของพวกเขาได้มากขึ้น ไม่ใช่ต้องขึ้นอยู่กับ
บริษัทใหญ่ ทั้งที่มีบทบาทที่สำคัญภายในการสร้างเศรษฐกิจ
อังกฤษ ชูเมคเกอร์ ระหว่าง ค.ศ 1960 เขาเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
แก่ประเทศภายในเอเชีย การนำเขาไปสู่การพัฒนาสิ่งที่เขา
เรียกว่าเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
ถ้อยคำเศรษฐศาสตร์แนวพุทธถูกสร้างโดยชูเมคเกอรเมื่อ ค.ศ
1955
เมื่อเขาเดินทางไปพม่า เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจแก่นายกรัฐมนตรี
อูนุ ถ้อยคำได้ถูกใช้ภายในบทความของเขา “Buddhist Economics”
พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ 1966 ภายใน Asia : Handbook และพิมพ์ใหม่
ภายใน “Small is Beautiful” เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เป็นวิถีทาง
จิตวิญญานและปรัชญาที่จะศึกษาเศรษฐศาสตร์ มันพิจารณา
จิตวิทยาของจิตวิญญานมนุษย์ และความรู้สึกที่นำทางกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ การประยุกต์ใช้หลักการจิตวิญญานและความมุ่งหมาย
ทางศีลธรรมต่่อข้อสงสัยของความมั่งคั่ง การเขียนบทความนี้
ระยะเวลาเดียวกับอลัน วัตต์ ได้พิจารณาเลหัวข้อนี้อยู่
ชูเมคเกอร์ ได้เริ่มต้นว่า
“การดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง” เป็นข้อกำหนดอย่างหนึ่งของ
มรรค 8 ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นมันชัดเจนที่เราต้องมีสิ่งที่เป็น
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตใจและวัตถุ
ไม่ได้เป็นศัตรูกัน มันเป็นพันธมิตรทางธรรมชาติ”
ชูเมคเกอร์ ยืนยันว่าข้อกำหนดทางพุทธของการดำรงชีวิตอย่าง
ถูกต้อง หมายความว่าเรามีเศรษฐศาสตร์แนวพุทธด้วยเป้าหมาย
ของการทำให้บริสุทธ์ของอุปนิสัยและการให้เสรีภาพ เขาวาง
รากฐานเศรษฐศาสตร์แนวพุทธบนค่านิยมศูนย์กลางของ
ความเรียบง่ายและความไม่รุนแรง เขามองว่าแบบแผนของ
การบริโภคดีที่สุดคือ การทำให้ความเป็นอยู่ดีที่สุด และใช้
ทรัพยากรน้อยที่สุด ชูเมคเกอร์ สรุปว่าวิถีทางพุทธต่อ
เศรษฐศาสตร์แสดงทางสายกลางระหว่างเศรษฐกิจเจริญ
เติบโตสมัยใหม่และการหยุดนิ่งสมัยเดิม
แนวคิดเศรษฐศาสตร์ทางพุทธของชูเมคเกอร์ กลายเป็นที่รับรู้ว่า
เกี่ยวพันไม่เพียงแต่ประเทศพุทธศาสนาเท่านั้น แต่เพื่อประเทศ
ตะวันตกด้วย เพื่อการแก้ปํญหาของการบริโภคมากเกินไป การ
ตกต่ำทางสวัสดิการ และการทำลายธรรมชาติ
ชูเมคกอร์ มองว่าการคิดทางเศรษฐกิจของมหาตมะ คานธีอยู่บนพื้นฐานเกณฑ์จิตวิญญาน เขาได้รับเอาความคิดของสวาเดซี่ – การผลิตท้องที่ และคาดี
– เสื้อผ้าทอด้วยมือ ของคานธี และประยุกต์ใช้มันกับปัญหาเศรษฐกิจสมัย
ใหม่ “Small is Beautiful” มุ่งเน้นการทำอะไรบนขนาดเล็กและท้องที่
ภายในหนังสือของเขา ชูเมคเกอร์ กล่าวว่า เมื่อคานธี กล่าวว่า
“ไม่ใช่การผลิตแบบจำนวนมาก แต่การผลิดโดยมวลชน” หรือเมื่อเขาพูด
เกี่ยวกับ “กระจายอำนาจชนบทบนพื้นฐานเศรษฐกิจเลี้ยงตัวเอง” หรือเมื่อ
เขาเรียกร้องว่า “การผลิตและการตลาดต้องถูกกลับมารวมตัวกัน”
เขากำลังพูดภาษาของ “Small is Beautiful”
จุดศูนย์กลางปรัชญาของคานธีเป็นหลักการของสวาเดซี
หมายถึงการเลี้ยงตัวเองของท้องที่ มหาตมะ คานธี เป็นผู้ชนะของสวา
เดซี หรือเศรษฐกิจบ้าน การเคลื่อนไหวสวาเดซี เป็นการเคลื่อนไหวการเลี้ยงตัวเองที่เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวอิสระภาพของอินเดีย มหาตมะ คานธี เป็นท่ามกลางการท้าทายครั้งแรกต่อความจำเป็นของ
การเป็นระดับโลกของการปฏิรูปอุตสาหกรรม การสนับสนุนกฏตัวเอง
– สวาราจ และความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ สวาเดซีภายในสถานที่ของ
มัน
มหาตมะ คานธีมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ 1869 และ 1948 แต่เขาได้รับรู้
อยู่แล้วว่าระบบ
เศรษฐกิจในขณะนี้ – ทุนนิยม ไม่ถูกต้องต่อการพัฒนามนุษย์ เมื่อถาม
อะไรคือวิสัยทัศน์เศรษฐกิจของเขา คานธี ได้ตอบว่า การผลิตแบบ
จำนวนมาก…. ไม่ใช่ภายในอุตสาหกรรม แต่ภายในบ้านของบุคคล
ชูมัคเกอร์ ได้สรุปแนวคิดด้วยถ้อยคำเหล่านี้ ไม่เป็นการผลิตแบบ
จำนวนมาก แต่เป็นการผลิตโดยมวลชน มรดกของมหาตมะ คานธี
ได้กระตุ้นการทดแทนจีดีพีด้วยเครื่องวัดความก้าวหน้าที่ให้ความ
สำคัญลำดับแรกต่อความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและสิ่งเเวดล้อม
ความคิดทางเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงที่สุดของคานธีคือ การให้ชีวิต
ใหม่ของอุตสาหกรรมหมู่บ้านและเศรษฐกิจท้องที่
มหาตมะ คานธีเชื่อว่าการผลิตแบบจำนวนมาก ด้วยธุรกิจที่รวมกัน
ตามแนว
ดิ่ง และการรวมอำนาจทางเศรษฐกิจมีผลตามมาที่เลวร้ายต่อมนุษย์
เช่น ผลตามมาของการควบคุมอำนาจ เราต้องขึ้นอยู่กับอำนาจ
นั้นเพื่อแสงสว่าง น้ำ และอย่างอื่น มันเป็นความเลวร้ายอย่างมาก
ตามมหาตมะ คานธี ปัญหาไม่เพียงแต่การรวมอำนาจเท่านั้น การผลิตแบบจำนวนมากถูกออกแบบต่อเราด้วยเครื่องจักรมากขึ้น ผลิตผลิตภัณฑ์มากขึ้นด้วยแรงงานน้อยลง ณ ต้นทุนที่ถูกลง เขาให้เหตุผลว่า ถ้าทุกประเทศ
ใช้การผลิตแบบจำนวนมาก เราจะไม่มีตลาดใหญ่เพียงพอเพื่อผลิตภัณฑ์
ของพวกเขา คานธียืนยันว่าความต้องการประสิทธิภาพการผลิตทำให้
เกิดความเลวร้าย ทดแทนแรงงานมนุษย์ด้วยการผลิตอัตโนมัติ การปล่อย
ให้บุคคลว่างงานมากขึ้น และไม่มีอำนาจซื้อเพียงพอที่จะซื้อผลิตภัณฑ์
ที่ผลิต
ดังนั้นการกระจายรายได้ที่ยุติธรรมเป็นเชื้อเพลิงของทุนนิยม
ทุนนิยมด้วยการแสวงหากำไรและประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ
และเนื่องจากการมุ่งการแข่งขันมากเกินไป ดังนั้นตัวมันเองเผาไหม้
ด้วยเชื้อ
เพลงของมันเอง มหาตมะ คานธีมองชีวิตเศรษฐกิจเป็นการแสวงหา
ศีลธรรมและ
จิตใจไม่ใช่วัตถุ ต่อคานธีแล้ว ยาแก้พิษต่อการหาประโยชน์และ
ความโลภทางเศรษฐกิจที่แพร่หลายคือ ความผูกพันที่เสียสละ
ต่อชุมชน
เศรษฐกิจอุดมคติของคานธี เริ่มต้นภายในหมู่บ้านท้องที่ และขยาย
ออกไปสู่โลก คานธี เชื่อว่าการใช้ผลิตภัณฑ์สวาเดซี
ทำให้เราเลี้ยงตัวเอง และกำจัดการขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์นำเข้าของเรา
เขามุ่งเน้นแรงงานครอบครัวใช้มือภายในการผลิต สวาเดซี่
ควรจะถูกใช้สนับสนุน ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของโรงงานท้องที่ แต่เป็น
อุตสาหกรรมหมู่บ้าน สวาเดซีหรือเศรษฐกิจบ้านต้องการการควบคุม
ตัวเอง การพึ่งพาตัวเอง และการจ้างงานตัวเองของบุคคลภายใน
หมู่บ้าน เขาเน้นว่าสวาเดซี่เป็นจิตวิญญานภายในมนุษย์ กระตุ้น
พวกเขาใช้้ผลิตภัณฑ์ของบริเวณใกล้เคียงของพวกเขา ไม่ยอม
ให้กับผลิตภัณฑ์ที่ไกลออกไป
การเคลื่อนไหวสวาเดซีในขณะนี้รู้จักกันเป็น การรณรงค์
“ผลิตภายในอินเดีย” ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อ 7 สิงหาคม
1905 ณ กัลกัตตา ทาวน์ ฮอลล์ ภายในเบงกอล การเคลื่อนไหว
ต่อต้าน ได้เปิดตัวพร้อมกับการเคลื่อนไหวสวาเดซี่ การเคลื่อน
ไหว กระตุ้นการใช้ผลิตภัณฑ์ผลิตภายในอินเดีย และเผาผลิต
ภัณฑ์ผลิตจากอังกฤษ เช่น เสื้อผ้าจากแมนเชสเตอร์ และเกลือ
จากลิเวอร์พูล
การเคลื่อนไหวสวาเดซี่ เป็นการเคลื่อนไหวการเลี้ยงตัวเองเป็น
ส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวอิสรภาพของอินเดีย และช่ายสร้าง
ชาตินิยมของอินเดีย มหาตมะ
คานธี ได้อธิบายมันเป็นจิตวิญญานของสวาราจ
– กฏตัวเอง การเคลื่อนไหวได้กลายเป็นจำนวนมากภายหลังที่
ชาวอินเดียร่ำรวย ได้บริจาคเงินและที่ดิน มอบให้สังคมผ้าคาดี และ
เริ่มต้นการผลิตเสื้อผ้าภายในทุกครัวเรือน มันได้รวม
ไปถึงอุตสาหกรรหมู่บ้านอื่นด้วย เพื่อที่จะทำให้หมู่บัานเลี้ยงตัวเอง
มหาตมะ คานธี เชื่อว่าด้วยการเลี้ยงดูอุตสาหกรรมหมู่บ้าน งานสามารถหา
มาได้แก่มวลชนที่ว่างงาน ดังนั้นพวกเขาจะไม่ถูกหาประโยชน์อย่าง
โหดร้าย อะไรสำคัญที่สุดภายในจิตใจชองคานธีคือ การกำจัดความ
ยากจนของมวลชน คานธีสนับสนุนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมหมู่บ้าน
เหมือนเช่น คาดี กลายเป็นสัญลักษณ์ทั้งการไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์
ผลิตต่างประเทศ และการรับเอาไว้ของอุตสาหกรรมหมู่บ้าน การ
แสดงสัญลักษณ์โดยชาร์คา – เครื่องปั่นด้าย
มหาตมะ คานธี ได้สร้างความแตกต่างระหว่างสวาเดซีการเมือง
และสวาเดซีแท้จริง สวาเดซีการเมืองหมายถึงอุปสรรคประดิษฐ์ของ
การไหลผลิตภัณฑ์จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง และบังคับโดยเขตทางการ
เมืองของโลก มันไม่สามารถมีส่วนช่วยต่อสันติภาพโลกได้ คานธี
รู้สึกความต้องการเพื่อ สวาเดซีแท้จริง หมายถึงการปฏิเสธตัวเราเอง
ต่อความสุขของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผลิตด้วยการยอมรับของ
เรา และไม่ใช่ความรู้ของเรา
บาล คงคาธร ติลก ได้กระตุ้นการเคลื่อนไหวสวาเดซี่
ภายหลังอังกฤษได้ตัดสินใจแบ่งเเยกเบงกอล การเคลื่อนไหวต่อมา
โดยคานธี ตั้งแต่ ค.ศ 1951 เช่น การเคลื่อนไหวสัตยาเคราะห์ การเคลื่อนไหวไม่ร่วมมือ เป็นต้น อยู่บนรากฐานของการเคลื่อนไหวสวาเดซี่
สัตยานุเคราะห์ และสวาเดซี เป็นรากฐานภายในปรัขญาชีวิตของคานธี
สวาเดซี ภายในการคิดของคานธี เป็นค่านิยมและการปฏิบัติทางศีลธรรม
ภายในสังคม-เศรษฐกิจ และเชื่อมโยงอย่างแท้จริงต่อชวาราจ – กฏตัวเอง
สัตยานุเคราะห์ – พลังความจริง อหิงสา – ไม่รุนแรง และสรรโวทัย – สวัสดิการของทุกคน
ตามมหาตมะ คานธี กฏเศรษฐกิจมุ่งหมายความก้าวหน้าทางวัตถุ
ความสามัคคีของสังคม และการพัฒนาทางศีลธรรม ควรจะ
กำหนดตามกฏธรรมชาติ เราไม่มีความขัดเเย้งระหว่างกฏธรรมชาติ
และกฏเศรษฐกิจ กฏธรรมชาติเป็นสากล มุมมองเศรษฐกิจของคานธี
คือ ความเป็นมนุษย์ภายในธรรมชาติ เกิดขึ้นจากความห่วงใยต่อ
คนงานและเกษตรกรทำงานหนัก และการไร้งานทำของบุคคล
มหาตมะ คานธีต้องการสร้างหมู่บ้านเลี้ยงตัวเอง เขารู้ว่าอินเดียมีชีวิต
อยู่ภายในหมู่บ้านของมัน ดังนั้นทำไมเขาเน้นการเจริญเติบโตของ
เศรษฐกิจชนบท เช่น ผ้าคาดี ผ้าทอมือ งานฝีมือ และการเลี้ยงไหม
อุตสาหกรรมชนบทอยู่บนรากฐานแรงงานครอบครัว และต้องการทุน
น้อย ผลิตภัณฑ์ขายภายในตลอดท้องที่ ภายในวิถีทางนี้ การผลิต
และการตลาดทั้งสองได้ถูกดูแล มันเป็นทำไมเขาได้สนับสนุนการ
สร้างอุตสาหกรรมกระท่อม และเเนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ท้องที่
เศรษฐกิจหมู่บ้านสามารถบรรลุเป้าหมายที่สำคัญสองอย่าง
ข้อเเรก มันให้การจ้างงานสูงสุด และรายได้แก่ชาวชนบท
ข้อสอง มันสร้างความเสมอภาค เสรีภาพ และความยุติธรรม
มหาตมะ คานธี ได้เริ่มต้นการเคลื่อนไหวของเขาเพื่อคาดีเมื่อ
ค.ศ 1918 เขาเสนอแนะว่าถ้าเราใส่และผลิตเสื้อผ้านี้ เสื้อผ้าอ้งกฤษ
จะถูกกำจัด
จากตลาดอินเดีย และอินเดียกลายเป็นเศรษฐกิจที่อิสระภาพ เขา
ได้กำหนดอุตสาหกรรมกระท่อมขนาดเล็กเพื่อประโยชน์ต่อ
เศรษฐกิจอินเดีย เพราะว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่บนพื้นฐาน
แรงงานครอบครัวและการลงทุนน้อบ วัตถุดิบหามาได้ง่ายภาย
ในหมู่บ้านจากผลิตภัณฑ์เกษตร เช่น ฝ้าย อาหาร และพืชผล
อื่น ดังนั้นมันนำไปสู่ตลาดพื้นเมือง คานธีได้ให้เเรงกดดันต่อ
การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมชนบท
กฎเศรษฐกิจจัดการกับปัญหาทางปฏิบัติ ไม่ใช่โดยทั่วไป
กฏเศรษฐกิจของประเทศถูกกำหนดโดยภูมิอากาศ ภูมิศาสตร์ และ
สภาวะความรู้สึกของประเทศนั้น ดังนั้นมันแตกต่างกันไปของแต่ละ
ประเทศ มหาตมะ คานธีสนับสนุนความไม่รุนแรง ดังนั้นกฏเศรษฐกิจ
ของ
เขาอาจจะเรียกว่า เศรษฐกิจของความไม่รุนเเรง หลักการความ
ไม่รุนแรงเป็นปรัชญาของคานธี เราไม่มีอุตสาหกรรมใดไม่มีความ
รุนเเรงบางอย่าง เขาต้องการทำให้มันน้อยที่สุด เขาเชื่อว่าความ
รุนเเรงแพร่พันธุ์ความรุนแรงมากขึ้น
วิธีการแก้ปัญหาพื้นฐานของอินเดีย อยู่ที่การปฏิบัติความไม่รุน
เเรง มหาตมะ
คานธี ต่อต้านทุนนิยมเมื่อมันทำให้เกิดการเอาเปรียบแรง
งานมนุษย์ เขาเชื่อว่าธรรมชาติผลิตเพียงพอเพื่อการตอบสนอง
ความต้องการของบุคคล และเราจะไม่มีความยากจนและความ
อดอยาก ถ้าบุคคลทุกคนใช้อย่างเพียงพอต่อเขาเท่านั้น
มหาตมะ คานธี ไม่ชอบการเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะ
ว่ามันทำให้เกิดความชั่วร้ายทางสังคมเศรษฐกิจหลายอย่าง เขา
เชื่อว่าขนาดใหญ่ใช้เครื่องจักรนำไปสู่ความซ้ำซากและความน่า
เบื่อ เขาชอบเศรษฐกิจกระจายอำนาจ ภายในเศรษฐกิจนี้ การ
เอาเปรียบแรงงานไม่มี ความเชื่อของเขาเข้มแข็งภายใน
สภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจอินเดีย อินเดียมีทรัพยากรมนุษย์
มากมาย แต่อุปทานเงินทุนขาดแคลน ดังนั้นเทคโนโลยีใช้เเรง
งานมากควรจะถูกนำมาใช้
มหาตมะ คานธี ได้สนับสนุนเศรษฐกิจกระจายอำนาจ
การผลิตควรจะถูกสร้างภายในสถานที่จำนวนมากด้วยขนาด
เล็ก การพัฒนาอุตสาหกรรกระท่อมภายในชนบท คานธีเชื่อว่า
การกระจายอำนาจสำคัญต่อการอยู่รอดของประชาธิปไตย
เเละเพื่อการสร้างรัฐที่ไม่รุนแรง
มหาตามะ คานธี ต้องการการผลิตภายในบ้านของมวลชน
ณ หมู่บ้าน อุตสาหกรรมกระท่อมและหมู่บ้านช่วยเพิ่มการจ้าง
งาน การผลิตมีต้นทุนต่ำ เพราะว่าการใช้เครื่องมือน้อยมาก
ปัญหาของความขาดเเคลนไม่มี ต้นทุนการขนส่งเล็กน้อย
เราไม่มีการผลิตมากเกินไปเเละการสูญเสียของการเเข่งขัน
การรวมอุตสาหกรรมกระท่อมกับการเกษตรสร้างงานแก่
เกษตรกรภายในเวลาว่างของพวกเขา
ที่จริงแล้วอุตสาหกรรมเหล่านี้สอดคล้องอย่างดีต่อจังหวะของ
ชีวิตชนบท การเพิ่มรายได้ของชนบท และตอบสนองความต้อง
การพื้นฐานของพวกเขา มันไม่เพียงแต่กำจัดความยากจนและ
การว่างงานจากหมู่บ้านเท่านั้น แต่มันทำให้พวกเขาเป็นหน่วย
เศรษฐกิจเลี้ยงตัวเองได้
ชาวอินเดียทุกคนต้องการอย่างน้อยที่สุด 13 หลาของเสื้อผ้า
ต่อปี คานธีเชื่อว่า การเพิ่มจำนวนโรงงานไม่สามารถแก้ปัญหา
ของอุปทานเสื้อผ้าได้ ดังนั้นเขาได้มุ่งการพัฒนาอุตสาหกรรม
คาดี ต่อมหาตามะ คานธีแล้ว คาดีเป็นสัญลักษณ์ของเอกภาพ
ของความเป็นมนุษย์ของอินเดีย อิสระภาพและความเสมอ
ภาคทางเศรษฐกิจ คาดีหมายความถึงการกระจายอำนาจของ
การผลิตและการกระจายความจำเป็นของชีวิตมนุษย์ การ
เคลื่อนไหวคาดีได้เริ่มต้นภายหลังคานธีกลับจากอัฟริกาใต้
มหาตมะ คานธี เชื่อว่าอุตสาหกรรมคาดีช่วยชีวิตบุคคล
หลายล้านคน
จากความอดอยาก การผลิตขนาดใหญ่หมายถึงการมุ่งกำไร
และทำอันตรายต่อสังคม เมื่อมันสามารถนำไปสู่การรวมตัวกัน
ของความมั่งคั่งและอำนาจภายในไม่กี่มือ คานธีสนับสนุน
การกระจายอำนาจ เพราะว่ามันสามารถหลีกเลี่ยงความรุนเเรง
เขาเสนอแนะการเคลื่อนย้ายการผลิตต่อสู้การรวมกันของการ
ผลิตภายใน
พื้นที่่เฉพาะ ความเชื่อต่อการกระจายอำนาจของเขามุ่งหมาย
ที่จะเเก้ไขความเลวร้ายของเศรษฐกิจรวมอำนาจ
เมื่อ ค.ศ 1946 มหาตมะ
คานธี ได้เขียนว่า ผมไม่ได้ต่อต้านเครื่องจักร ผม
ต่อต้านเครื่องจักรที่ทดแทนแรงงาน และทำให้พวกเขาว่างงาน การ
เป็นเครื่องจักรดี ถ้ามันไม่ทำให้บุคคลต้องว่างงาน
การพัฒนาความคิดของคานธีเกี่ยวกับถ้อยคำคาดีเป็นผ้าเพื่อเอกราชของอินเดีย และเป็นทั้งสัญลักษณ์ของการเลี้ยงตัวเองทางเศรษฐกิจ และสื่อกลางเพื่อการสื่อสารต่ออังกฤษถึงศักดิ์ศรีของความยากจนและความเสมอภาคของอารยธรรมอินเดีย
มหาตมะ คานธี ได้ริเริ่มแนวคิดของสังคมซาร์โวดายา แปลว่า ความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน ความก้าวหน้าของทุกคน เขาไม่สนใจถ้าเราจะเป็นฮินดู พุธ คริสเตียน ยิว หรือมุสลิม เขาไม่สนใจถ้าเราจะเป็นขาว หรือดำ แดง น้ำตาล หรือเหลือง เขามีวิสัยทัศน์ประเภทของสังคมที่ดำรงชีวิตอย่างสันติภาพระหว่างกันและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
อัลเบิรต ไอน์สไตน์ ได้ยกย่องมหาตมะ คานธี ด้วยการกล่าวว่า คนรุ่นหลังที่จะมาถึง…… ยากที่จะเชื่อมนุษย์ที่มีเนื้อหนังมังสาอย่างคานธีจะเดินอยู่บนโลกนี้ แนวคิดสัตยาเคราะห์ของคานธีี หมายถึงการยึดมั่นต่อความจริง ได้ดึงดูดอัลเบิรตไอน์สไตน์อย่างมาก
มหาตมะ คานธีได้ใช้วิธีการต่อต้านแบบไม่ต่อสู้ภายในการเคลื่อนไหวและได้เปลี่ยนมาใช้ถ้อยคำว่าสัตยาเคราะห์ สัตยาเคราะห์เกลือหรือการเดินขบวนเกลือ เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ 1930 ภายในอินเดีย เป็นความไม่เชื่อฟังของประชาชนนำโดยมหาตมะ คานธีที่จะประท้วงการปกครองของอังกฤษภายในอินเดีย
ชาวอินเดียจำนวนมากได้เดินตามคานธีระยะทาง 240 ไมล์ – 384 กิโลเมตร การรณรงค์การต่อต้านภาษีเกลือและการประท้วงที่ไม่ใช้ความรุนแรงต่อต้านการผูกขาดเกลือของอังกฤษ การเดินขบวนทำให้เกิดการจับกุมบุคคลเกือบ 60,000 คน รวมทั้งตัวคานธีด้วย ในที่สุดอินเดียได้รับอิสระภาพเมื่อ ค.ศ 1947 กฏหมายเกลือของอังกฤษเมื่อ ค.ศ 1882 ได้ห้ามชาวอินเดียจากการเก็บเกลือหรือการขายเกลือ อาหารหลักของชาวอินเดีย
ชาวอินเดียได้ถูกบังคับให้ซื้อเกลือจากผู้ปกครองอังกฤษของพวกเขา นอกเหนือจากการผูกขาดต่อการผลิตและการขายเกลือ และได้เรียกเก็บภาษีเกลือที่สูงด้วย คนยากจนของอินเดียได้ทุกข์ยากภายใต้ภาษีเกลือ เนื่องจากชาวอินเดียทุกคนต้องการเกลือ
การรณรงค์สัตยาเคราะห์เกลืออยู่บนพื้นฐานหลักการคานธีของการต่อต้านไม่ใช้ความรุนแรงเรียกว่าสัตยคราหะ หมายถึงพลังความจริง มาจากภาษาสันสกฤติ สัตยะ แปลว่า ความจริง และอาครหะ แปลว่า การยึดมั่น
ทุกครั้งที่เราได้อ่านการยกย่องคานธีของไอน์สไตน์ มันทำให้ความเชื่อของเราเข้มแข็งขึ้นเกี่ยวกับผู้ประกอบการเพื่อสังคมทุกคน ไม่ว่าพวกเขากำลังทำงานภายในหมู่บ้านเล็กที่จะแก้ปัญหาทางสังคม หรือกำลังนำนวัตกรรมที่จะแก้ปัญหาของชุมชนที่ไม่เคยแก้ไขโดยรัฐบาลหรือพลังทางตลาด พวกเขาเป็นมนุษย์ไม่ธรรมดาที่ให้ความมุ่งหมายมาก่อนกำไร และทำงานอย่างไม่ย่อท้อที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคและความยุติธรรมภายในชีวิตจำนวนมากที่พวกเขาได้สัมผัส
มหาตมะ คานธี ได้มีคำพูดอ้างอิงว่า ครั้งแรกพวกเขาไม่สนใจเรา จากนั้นพวกเขาจะหัวเราะเรา พวกเขาต่อสู้เรา จากนั้นเราจะชน นี่จะเป็นความจริงเมื่อผู้ประกอบการกำลังเริ่มต้นธุรกิจของพวกเขา ผู้ก่อตั้งจะต้องผ่านช่วงเวลาที่ยุ่งยาก เมื่อพวกเขาต้องดำเนินการความคิดสตารทอัพของพวกเขา และชักจูงผู้มีส่วนได้คนอื่น
เครื่องมือที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสังคมตามมุมมองของมหาตมะ คานธี คือ หลักการและการปฏิบัติของสวาเดซี หมายถึงการพึ่งพาตนเอง
และการเลี้ยงตัวเองได้ ณ ระดับของบุคคล หมู่บ้าน และประเทศ ด้วยการทำตามหลัการของสวาเดซี่ ความเชื่อมั่นและความเจริญรุ่งเรืองของชาติสามารถถูกรับรองได้ การเคลื่อนไหวของคาดีของคานธี ได้เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ 1918 เพื่อที่จะส่งเสริมความคิดที่ชาวอินเดียสามารถผลิตเสื้อผ้าของพวกเขาเองด้วยทรัพยากรท้องที่ ไม่ต้องพึ่งพาเสื้อผ้าต่างประเทศต้นทุนสูง คาดีหมายถึงเสื้อผ้าปั่นด้วยมือและทอด้วยมือ คาดีมีความหมายที่ลึึกซึ้งมากภายในอินเดีย มันไม่ได้เป็นเพียงผ้าที่ทอด้วยมืออย่างเรียบง่าย มันจะเป็นการเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง การเคลื่อนไหวคาดีได้ส่งเสริมอุดมการณ์
ที่ชาวอินเดียสามารถพึ่งพาตัวเองบนฝ้าย และเป็นอิสระจากเสื้อผ้าต่างประเทศ อังกฤษซื้อฝ้ายราคาถูกจากอินเดีย ส่งออกมันไปยังกฤษเพื่อทอเป็นเสื้อผ้า เสื้อผ้าเหล่านี้ถูกส่งกลับมาที่อินเดีย และขายราคาที่แพง
การเคลื่อนไหวคาดีมุ่งที่การต่อต้านสินค้าต่างประทศรวมทั้งฝ้าย และส่งเสริมสินค้าอินเดีย เพื่อการปรับปรุงเศรษฐกิจของอินเดีย มหาตมะ คานธี ได้เริ่มต้นส่งเสริมการทอคาดี เพื่อการจ้างงานตัวเองภายในชนบทและการพึ่งพาตนเองภายในอินเดีย ไม่ใช่การใช้ผ้าที่ผลิตจากอุตสาหกรรมภายในอังกฤษ
การทำให้คาดีเป็นส่วนที่สำคัญและสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวสวาเดซี่
การพัฒนาความคิดของคานธีเกี่ยวกับถ้อยคำคาดีเป็นผ้าเพื่อเอกราชของอินเดีย และเป็นทั้งสัญลักษณ์ของการเลี้ยงตัวเองทางเศรษฐกิจ และสื่อกลางเพื่อการสื่อสารต่ออังกฤษถึงศักดิ์ศรีของความยากจนและความเสมอภาคของอารยธรรมอินเดีย
มหาตมะ คานธี ได้ริเริ่มแนวคิดของสังคมซาร์โวดายา แปลว่า ความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน ความก้าวหน้าของทุกคน เขาไม่สนใจถ้าเราจะเป็นฮินดู พุธ คริสเตียน ยิว หรือมุสลิม เขาไม่สนใจถ้าเราจะเป็นขาว หรือดำ แดง น้ำตาล หรือเหลือง เขามีวิสัยทัศน์ประเภทของสังคมที่ดำรงชีวิตอย่างสันติภาพระหว่างกันและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
มหาตมะ คานธี ระหว่างช่วงชีวิตของเขา ได้ต่อสู้บนความคิดของการมีชีวิตอยู่ด้วยการประกาศตัวเขาเอง การมองเห็นของคานธีเรียบง่ายมาก
นำงานมาสู่บุคคล และไม่ใช่บุคคลไปสู่งาน โมเดลนี้ที่เขาเรียกว่า สวาเดซี่
อยู่บนรากฐานการผลิตท้องที่ด้วยมวลชนภายในบ้านของพวกเขาเองและ
เพื่อนบ้าน คานธีเชื่อว่าการผลิตและการบริโภคต้องถูกรวมกัน และการ
ผลิตแบบจำนวนมากส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามท้องที่ และส่วนมากไม่ทั้งหมด
บริโภคตามท้องที่ ปรัชญาของคานธีมุ่งเน้นการกระจายอำนาจการผลิต
ภายในชุมชนท้องที่เลี้ยงตัวเอง การเเสวงหาแรงงานฝีมือเหนือเเรงงาน
เครื่องจักร
Cr : รศ สมยศ นาวีการ