jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ความสุขในมุมนักปรัชญา: กรณีศึกษาปรัชญาอัลฟารอบี - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ความสุขในมุมนักปรัชญา: กรณีศึกษาปรัชญาอัลฟารอบี

ความสุขในมุมนักปรัชญา: กรณีศึกษาปรัชญาอัลฟารอบี

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

 

ดูเหมือนว่าโลกวันนี้มันแห้งแล้งไปหรือเปล่า?กระแสโซเชียลหรือโลกเสมือนจริงได้เข้ามาแทนที่โลกความจริงไปเสียแล้วหรือไม่? เลยทำให้ผู้คนมากมายพูดถึงเรื่องความสุขมากขึ้นและพูดกันว่าเราสามารถทำให้ความสุขเกิดขึ้นได้อย่างไร? จะต้องทำอย่างไรฉันจึงจะมีความสุข?และตั้งคำถามโน้นนี่นั้นเพื่อให้เข้าถึงความสุข?  หรือแม้แต่บรรดาไลฟ์โค้ชได้นำเป็นประเด็นฮอตฮิตเป็นธงนำในการพูดให้คนฟัง และได้เหมารวมชีวิตทุกชีวิตว่ามีรูปแบบเหมือนตน ถ้าจะมีความสุข ก็ต้องมีแบบแผนอย่างนั้น อย่างนี้ อะไรทำนองนั้น

แต่ถ้าเราย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์มนุษยชาติก็จะพบว่าความสุขนั้นถูกพูดถึงมานักต่อนักตั้งแต่สมัยกรีกโบราณก่อนคริสตกาลเป็นร้อยๆ ปี มีการหานิยาม สร้างความหมาย ตั้งคำถามและอธิบายใหม่อยู่ตลอดเวลาสำหรับในแวดวงนักปรัชญา เกี่ยวกับนิยามความสุขและการแสวงหาความสุขแท้  หรือถ้าย้อนดูนักปรัชญามุสลิมเองก็ได้ตั้งคำถามนี้เหมือนกันว่า”ความสุขคืออะไร”  มนุษย์เราจะไปถึงความสุขแท้ได้หรือไม่?

จริงแล้วโลกนี้ไม่ได้โหดร้ายหรือน่ากลัวเหมือนที่มโนไปอะไรกันหรอก โลกนี้มีทั้งสุขและทุกข์  ดังนั้นอยู่ที่เราว่าเลือกมองด้านไหน นักปรัชญาถือว่า ความผาสุก เป็นเนื้อหาทางปรัชญาจริยะและเป็นเนื้อหาที่ได้พูดถึงมาช้านานตั้งแต่อดีต จากนักปรัชญาเมธี อย่าง โซคราติส  เพลโต้ หรืออริสโตเติล และถือว่าความสุขยังเป็นเนื้อหาที่ได้รับความสนอกสนใจของนักปรัชญาในยุคหลังและนักคิดในยุคต่อๆมาอีกด้วย และจนกระทั้งว่าในปัจจุบันมีลัทธิเกิดขึ้นมากมายที่ได้กล่าวถึงความสุขและความผาสุก บางลัทธิได้ผูกความสุขเพียงโลกวัตถุและบางลัทธิมองว่าความสุขเป็นเรื่องของจิต

อริสโตเติล บอกว่าความสุขอันแท้จริงต้องสัมผัสได้ อีกคนหนึ่งในยุคกรีกเหมือนกันอย่าง เซเนกา การรู้จักเป้าหมายของตนเองนั้นคือหนทางแห่งความสุขในชีวิต  มาถึงศตวรรษที่ 18  นักปรัชญาตะวันตอถือว่า ความสุขจะเกิดจากอะไรก็ได้ไม่สำคัญตราบใดที่เรารู้สึกจะมีความสะบายใจกับมัน ส่วนจอห์น สจ๊วต มิลล์ อิสรภาพในการเติบโตคือสิ่งสำคัญในการบันดาลความสุข

ถ้าถามอริสโตเติลว่า การตื่นขึ้นมาแล้วไปพักผ่อน ไปเที่ยวทะเล ไปซื้อต้นไม้อะไรทำนองนั้นที่ได้ทำอย่างเพลิดเพลินถือว่าเป็นความสุขหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ แต่สำหรับอริสโตเติลนั้น ถือว่า“การแสวงหาความสุข ไม่ใช่การกระทำที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจประเดี๋ยวประด๋าว ฉะนั้นการออกไปใช้ชีวิตอย่างสำเริงสำราญก็มิใช่ความสุขแต่เป็นเพียงแค่ความเพลิดเพลิน สำหรับเขาความสุขจะต้องมีความความเป็นเที่ยงแท้  มากกว่าแค่ความชั่วคราว

มาถึงตรงหลายๆคนคงจะคิดว่าถ้าให้คุณพูดถึงความสุข ก็อาจจะพูดถึงกิจกรรมต่างๆที่สร้างความเพลิดเพลิน อย่างการดูหนัง ฟังเพลง ช้อปปิ้ง อ่านหนังสือ ไปคอนเสิร์ต หรือถ้าหากจะพูดในเชิงความความรู้สึก ก็คือสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดี ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากตัวเองหรือรับมาจากบุคคลอื่นอะไรทำนองนั้น  เดี๋ยวมาดูซิว่า นักปรัชญามุสลิม อย่าง อัลฟารอบี เขาคิดอย่างไร

อัลฟารอบี เป็นนักปรัชญามุสลิม โด่งดังที่สุดคนหนึ่งได้รับฉายา “ครูคนที่สอง”(ส่วนครูคนแรกคือ อริสโตเติล)เลยทีเดียวและเขาได้นำเสนอทฤษฎีความสุขในมุมปรัชญาได้อย่างน่าสนใจ

อัลฟารอบีได้นิยามความสุขไว้ว่า  ความสุข คือเป้าหมายปลายทางของมนุษย์ที่ทุกๆคนต่างเพียรพยายามและแสวงหามัน   เขาถือว่าความสุข คือความสมบูรณ์ในชีวิตมนุษย์  พูดง่ายๆคือถ้าคนเราไปไม่ถึงความสุข เท่ากับค้นหาความจริงของชีวิตยังไม่เจอ  และเขาถือว่าความสุขไม่ใช่ความน่าเบื่อที่จะพูดถึงมัน  และเป็นความเบิกบานแห่งชีวิต  และเขาถือว่า ความสุข คือการขับเคลื่อนชีวิตสู่จุดสูงสุดและเข้าถึงความจริงสูงสุด ที่เกินจะนิยาม

อัลฟารอบีกล่าวว่า ทุกๆความดีและความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ คือเหตุปัจจัยที่ทำให้มนุษย์มุ่งแสวงหาความสุข เพราะว่าในความดีนั้น คือการเกิดสุข  และเขาถือว่า สุขแท้เกิดจากการเข้าถึงความดีงามและทุกๆความดีงามเกิดจากความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณและปัญญา   อัลฟารอบีกล่าวอีกว่า  ความสุขคือสิ่งมีค่าที่สุดและถือว่าเป็นประโยชน์สูงสุดของมนุษย์

มีคำถามว่าแล้วความสุขและความผาสุกนั้น เราควรจะแสวงหาหรือไม่?อย่างไร? หรือถ้าเราพูดแบบง่ายๆว่า ความสุขมีอยู่ติดเรามาแล้วใช่หรือไม่  เพียงแต่เราสะกิดมันขึ้นมา แล้วจะเกิดสุข  เช่น เมื่อใจเรารู้สึกดีกับสิ่งใด เราจะเกิดความสุข  หรือว่าจริงๆความสุขไม่มีอยู่จริงเป็นเพียงมายา? ในตรงนี้แหละที่เราจึงเห็นว่า นักปรัชญาเขาพยายามจะยืนยันถึงเรื่องความสุขว่าเป็นสิ่งมีอยู่จริงไม่ใช่มายา

อัลฟารอบีเชื่อว่า ความดีสากล  อาจจะเป็นการทำความดีต่อตัวเอง หรืออาจจะเป็นทำความดีต่อผู้อื่นคือการสร้างความสุข  และเขาเชื่อว่าความดีนั้น เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้คนอื่นเกิดสุขได้ด้วย

อัลฟารอบีเชื่อว่า ความสุข เป็นองคาพยบและส่วนย่อยหนึ่งของความดี และเขาถือว่าเป็นส่วนสำคัญสูงสุดของความดีทั้งผอง

เรามารู้จัก อัลฟารอบีกันสักนิดครับ  เขาเป็นนักปรัชญา เป็นนักดนตรี และนักสังคมวิทยา เป็นปราชญ์ระดับสูงของโลกอิสลาม  และจากผลงานของอัลฟารอบีก็ไม่เคยพบว่าเขาเป็นพวกสุดโต่งอะไรทำนองนั้นที่มองโลกในแง่ร้าย หรือเขามีมุมมองต่อความสุขผ่านม่านของศาสนาเพียงอย่างเดียว หรือจะกล่าวให้ใกล้เข้ามาคือ อัลฟารอบีได้มองโลก มองมนุษย์บนพื้นฐานของความจริง ไม่ได้ผ่านกรอบการตีความทางศาสนาเพียงมิติเดียว  เอาเป็นว่าวันนี้ อยากจะให้รู้จัก อัลฟารอบีมากขึ้นสักนิดครับ เพื่อจะได้เห็นว่า เขามองโลก มองมนุษย์ และความความสุขอย่างไร  อย่างเพิ่งซีเรียสนะครับ  เพียงแค่อยากจะเปิดประเด็นเท่านั้น

ชื่อเต็มๆคือ อบูนัศร์ อัลฟารอบี ได้เกิดในปีคริสศักราชที่  870  ได้เกิดมา ณ เมืองเล็กๆในแคว้นฟารอบ ประเทศกาซักสถานในปัจจุบัน   อัล-ฟารอบีได้เติบมาจากการเลี้ยงดูในแวดวงของนักการศาสนาและได้เรียนรู้ภาควิชาศาสนาและวิชานิรุกติศาสตร์ภาษาศาสตร์ได้อย่างดี เช่นวิชาฟิกฮ์(นิติศาสตร์อิสลาม) อัลฮะดีษ วิชาด้านตัฟซีร และเขายังได้เรียนภาษาอะหรับ ภาษาตุรกี และภาษาเปอร์เซียอีกด้วย บ้างก็กล่าวว่า เขานิยมในนิกายชีอะฮฺ แต่นักวิชาการหลายคนไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ เอาเป็นว่า ค่อยๆศึกษากันต่อไป และจากการบันทึกของอิบนุคอลาค่านกล่าวว่า อัลฟารอบีย์มีความชำนาญต่อภาษาต่างประเทศหลายภาษาทีเดียวแต่อัลฟารอบีมีความนิยมในศาสตร์ด้านตรรกวิทยาและการอ้างเหตุผลเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้เขามีความชำนาญต่อปรัชญาและตรรกศาสตร์เป็นอย่างดี

อัลฟารอบีย์ได้ใช้ชีวิตในเมืองแบกแดดประมาณยี่สิบปี และได้นำศาสตร์ปรัชญามาอรรถาธิบายอย่างน่าชื่นชมและน่าทึ่งทีเดียว และแนวปรัชญาของฟารอบีย์จัดอยู่ในแนวของพวกเหตุผลนิยมจัดหรือรู้จักในนาม”สำนักมัชชาอียะฮ์”และถือว่าเป็นสำนักปรัชญาแรกของอิสลามซึ่งต่อมาผู้ที่นำแนวคิดทางปรัชญาของฟารอบีย์มาขยายและเผยแพร่ต่อคือบรรดาสานุศิษย์ของเขาและต่ออิบนิ สีน่า และอิบนิรุชด์ ได้สร้างความสมบูรณ์ทางศาสตร์ปรัชญา จนถูกเรียกสำนักของอัลฟารอบีย์ว่า สำนักปรัชญามัชชาอียะฮ์(مشائية ) สำนักปรัชญาแนวเหตุผลนิยม(Peripatetic Philosophy)  จนเป็นที่โด่งดังและรู้จักไปทั่วโลกทั้งโลกมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *