jos55 instaslot88 Pusat Togel Online เศรษฐกิจจีนหลังจากการปฏิรูปและการเปิดประเทศในปีค.ศ. 1978 ตอนที่ 2 - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

เศรษฐกิจจีนหลังจากการปฏิรูปและการเปิดประเทศในปีค.ศ. 1978 ตอนที่ 2

ความเจริญและความเสื่อม ของเศรษฐกิจจีน: จากอดีตถึงปัจจุบัน

เศรษฐกิจจีนหลังจากการปฏิรูปและการเปิดประเทศในปีค.ศ. 1978 ตอนที่ 1

รศ.สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย

ความนำ
จีนประกาศนโยบายการปฏิรูปและการเปิดประเทศทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการในปลายปีค.ศ. 1978 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โครงสร้างของเศรษฐกิจจีนได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ปะเทศจีนซึ่งเดิมมีฐานะเศรษฐกิจที่ยากจนและล้าหลัง เมื่อมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาประเทศโดยอาศัยกลไกตลาด ก็ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตในอัตราสูงต่อเนื่องกันหลายสิบปี จนก้าวขึ้นมาเป็น มหาอำนาจเศรษฐกิจชั้นนำของโลกในปัจจุบัน
ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนในช่วงกว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์โลก การปฏิรูปและการเปิดประเทศทางเศรษฐกิจของจีนไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ยังมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยยะสำคัญด้วย
ประสบการณ์และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนหลังการปฏิรูปเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ในเวลาที่ผ่านมา มีหนังสือและบทความ จำนวนมากที่อธิบายถึงสาเหตุของการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของจีน แต่ก็ยังมีความเห็นและข้อสรุปที่แตกต่างกันอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนหลังการปฏิรูปเป็นสิ่งที่น่าศึกษา และควรมานำเป็นบทเรียนสำหรับประเทศอื่นๆที่มีความปรารถนาที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเจริญก้าวหน้า
เรื่องประสบการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศจีนในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา อาจต้องเขียนออกมาหลายตอน แต่จะสรุปออกมาโดยย่อและใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย
เค้าโครงของบทความชุดนี้คือ 1. บทนำ 2. การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจหลังการปฏิรูป 3. ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโต 4. การปฏิรูปในภาคเศรษฐกิจต่างๆโดยสังเขป 5. การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงทางนโยบายเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป 6. ปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต. 7. บทเรียน
โดยในแต่ละหัวข้อ อาจมีหัวข้อย่อยอีก

การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจจีนหลังการปฏิรูป
ก. จากระบบเศรษฐกิจการวางแผนสู่ระบบตลาด
ข. จากประเทศรายได้ต่ำสู่รายได้ปานกลางระดับสูง
ค. ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นมามาก
ง. ผลสำเร็จในการขจัดความยากจน
จ. การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจ
ฉ. จากเศรษฐกิจปิดสู่การเปิดประเทศ
ช. การพัฒนาเทคโนโลยี
ซ. การปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจเมื่อสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง

ตั้งแต่ปีค.ศ. 1978 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
ก. จากการบริหารเศรษฐกิจที่พึ่งการวางแผนเป็นหลักสู่ระบบตลาดที่ใช้กลไกตลาดเป็นสำคัญ
ลักษณะเด่นของการปฏิรูปที่เริ่มตั้งแต่ค.ศ. 1978 คือการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารเศรษฐกิจจากระบบการวางแผนโดยส่วนกลางมาเป็นระบบตลาดที่ใช้กลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากรมากขึ้น สำหรับจีนที่ถือว่าประเทศตนเป็นประเทศสังคมนิยม การลดความสำคัญของการวางแผนจากส่วนกลางเพื่อควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่มีความสำคัญมาก ก่อนหน้านี้ ในช่วงที่เหมาเจ๋อตง(毛泽东) มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แนวคิดหลักของพรรคคอมมิวนิสต์คือ “ใช้การต่อสู้ทางชนชั้นเป็นหลัก”(以阶级斗争为纲)ในการบริหารประเทศ ความคิดนี้ได้มีการเปลี่ยนไปเป็น”ใช้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นแกนกลาง”(以经济建设为中心)การเปลี่ยนแปลงแนวคิดหลักในการบริหารประเทศนี้ เป็นนโยบายสำคัญที่กำหนดโดยผู้นำประเทศระดับสูงและแปลงออกมเป็นมาตรการต่างๆที่เป็นรูปธรรมในทุกระดับชั้นของรัฐบาล นโยบายและมาตรการต่างๆในยุคการปฏิรูปเช่นการยกเลิกระบบคอมมูนประชาชน การอนุญาตให้ภาคเอกชนประกอบอุตสาหกรรมและการค้า การเปิดกว้างในการทำการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ การเปิดเศรษฐกิจพิเศษ การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก(世界贸易组织) ฯลฯ ล้วนมีความสอดคล้อง กับแนวคิดหลักในการบริหารประเทศที่เน้นความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ(แทนการต่อสู้ทางชนชั้น) หากไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดหลักหรือทิศทางในการบริหารประเทศแล้ว การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่มีการแข่งขันกันคงเป็นไปได้ยาก

ข. จากประเทศรายได้ต่ำสู่รายได้ปานกลางระดับสูง
ในปีค.ศ. 1978 ประชาชนจีนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว(ที่วัดโดยดอลล่าร์อเมริกาในราคาตลาด)เพียง190 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี ปีค.ศ. 2019 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนจีนได้เพิ่มสูงขึ้นถึงระดับกว่า 10,000 ดอลล่าร์ต่อต่อคนต่อปี(จากสถิติที่รวบรวมโดยธนาคารโลก รายได้เฉลี่ยหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อคนของจีน = 10,262 ดอลล่าร์) นั่นคือรายได้เฉลี่ยของประชาชนจีนได้เพิ่มขึ้นมากว่า 50 เท่าในเวลาเพียง41 ปี เท่านั้น
ในด้านขนาดเศรษฐกิจที่วัดโดยผลิดภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(国内生产总值หรือGDP)ในราคาตลาด ในปีค.ศ. 1978 GDPของจีน = 218.5 พันล้านเหรียญอเมริกา และในปีค.ศ. 2019. GDP ของจีนเพิ่มมาเป็น 14363.5พันล้านเหรียญ หรือเพิ่มขึ้นมา 65.7 เท่า ในปัจจุบันประเทศจีนมีขนาดเศรษฐกิจวัดโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา เป็นที่คาดกันว่า จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก แซงหน้าอเมริกาภายในปีค.ศ. 2030 แม้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนจีนยังคงต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยของชาวอเมริกันมาก แต่ด้วยประชากรที่มากกว่าและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า การแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในขนาดเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนี้น่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แท้ที่จริง หากวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมด้วยอำนาจซื้อของเงิน(购买力平价 purchasing power parity:PPP) แทนการวัดด้วยราคาตลาดแล้ว จีนได้กลายเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกตั้งแต่ปีค.ศ. 2015 แล้ว
ในปีค.ศ. 2008 ประเทศจีนได้ขยับฐานะจากประเทศรายได้ต่ำสู่ประเทศรายได้ปานกลาง(中等收入国家)และในปี 2010 จีนได้กลายเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง(中等收入国家上方)แม้ในปีที่ผ่านมาประเทศจีนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19(新冠肺炎病毒)การขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงไปมาก จนมีบางช่วงเวลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตติดลบ แต่หลายฝ่ายก็คาดการณ์ว่า ประเทศจีนจะก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง(中等收入陷阱 middle-income trap) และกลายมาเป็นประเทศที่มีรายได้สูง(高收入国家)ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ค. ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นมามาก
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา มีผลทำให้ประชาชนจีนโดยส่วนใหญ่หลุดพ้นภาวะยากจนโดยผู้ทีมีรายได้อยู่ใต้เส้นความยากจนลดน้อยลงมาก แม้ว่าการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากระบบการวางแผนสู่ระบบตลาดมีผลทำให้ความเหลื่อมล้ำในรายได้ระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆเพิ่มสูงขึ้น จนในปัจจุบัน ประเทศจีนมีระดับความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทรัพย์สินค่อนข้างสูง โดยดรรชนีจีนี(几尼指数 Gini coefficient)ที่วัดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของจีนในปีค.ศ. 2019 = 0.47 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง
ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทรัพย์สินมักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ในระบบตลาดที่มีการแข่งขันเสรี คนที่มีความรู้ความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น ย่อมมีโอกาสทำงานที่มีเงินเดือนหรือผลตอบแทนที่สูงกว่า สถานประกอบการที่มองเห็นโอกาสการผลิตและการจำหน่ายสินค้าที่มีความต้องการมากย่อมประสบกับความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ จึงมีผู้กล่าวว่า ระบบทุนนิยมที่มีการแข่งขันทางตลาดสร้างแรงจูงใจในการทำงานได้ดีกว่าระบบสังคม แต่ก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทรัพย์สินระหว่างประชาชนมากกว่า ส่วนระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม โดยทั่วไปแล้วประชาชนมีความเท่าเทียมกันทางรายได้ แต่ก็ไม่เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
แม้ประเทศจีนที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ยังคงยืนยันตลอดมาว่า จีนเป็นประเทศสังคมนิยม แต่การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปลายทศวรรษ1970เป็นต้นมา ทำให้ในประเทศจีนมีมหาเศรษฐีระดับโลกอยู่เป็นจำนวนมาก การขยายตัวของธุรกิจจีน ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การค้าและบริการ ทำให้วิสาหกิจจีนจำนวนมากมีขนาดการประกอบการที่ใหญ่ขึ้นและกลายมาเป็นสถานประกอบการธุรกิจชั้นนำระดับโลก จากการจัดอันดับสถานประกอบการทางธุรกิจขนาดใหญ่ระดับโลก 500 รายแรกของนิตยสารฟอร์จูน(财富世界五百强 Fortune500) ในปีค.ศ. 2020 จีนมีธุรกิจที่อยู่ใน 500 รายแรกนี้อยู่กว่า 100 กิจการ ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นๆทั่วโลก และธุรกิจจีนที่มีขนาดทรัพย์สินและจำนวนพนักงานมากในอันดับแรกๆของโลก ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม แม้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆมีมากขึ้นหลังการปฏิรูป แต่จีนก็ประสบความสำเร็จมากในการยกระดับมาตรฐานครองชีพของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง และในชนบทมีการปรับปรุงดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจมีผลโดยตรงต่อการยกระดับรายได้ของประชาชนในทุกภาคเศรษฐกิจและในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้นในภาคการเกษตร การเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม การค้าและบริการมีผลทำให้สร้างการจ้างงานและลดภาวะการว่างานแฝงที่มีระดับสูงก่อนการปฏิรูปได้มาก นอกจากผลการพัฒเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลจีนยังมีนโยบายและมาตรกต่างๆในการยกระดับรายได้ของคนยากจนทั้งที่อยู่ในชนบทและในเมืองเป็นจำนวนมากด้วย
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากนโยบายรัฐบาลแล้ว ภาคเอกชนจีนก็มีส่วนในการส่งเสริมระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอยู่ไม่น้อย แนวโน้มหนึ่งที่น่าสนใจในช่วงเจ็ดแปดปีที่ผ่านมาก็คือ มีชาวชนบทที่ออกไปทำงานในเมืองในช่วงต้นของการปฏิรูปจำนวนมาก พากันกลับสู่ชนบท และหันมาประกอบกิจการที่มีส่วนในการส่งเสริมการพัฒนาชนบท ในมณฑลต่างๆ
ในช่วงที่ทศวรรษแรกของการปฏิรูป แรงงานภาคการเกษตรในชนบทซึ่งเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศ ได้หันมาประกอกิจกรรมนอกภาคการเกษตรในเขตชนบทเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อระบบสำมะโนครัวได้คลายความเข้มงวดลง ก็เกิดกระแสของชาวชนบทออกไปทำงานในเขตเมือง แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง กลับมีกระแสกลับจากเมือง(城归) คือผู้ที่ทำงานในเขตเมืองย้ายกลับสู่ชนบท แม้ยังไม่มีการรวบรวมตัวเลขชัดเจน แต่มีผู้ประมาณไว้ว่า ชาวชนบทที่ไปทำงานในเมืองที่กลับสู่ชนบทอาจมีจำนวนสิบล้านคนขึ้นไป ในช่วงเจ็ดแปดปีที่ผ่านมา การกลับถิ่นฐานเดิมของคนเหล่านี้นอกจากกลับไปอยู่กับครอบครัวและดูแลพ่อแม่แล้ว ยังได้นำเอาเงินทองที่สะสมมาได้และความรู้ความถนัด ตลอดจนเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ได้จากทำงานกลับมาสร้างกิจการที่มีส่วนในการส่งเสริมการพัฒนาชนบท เช่น การทำอาหารและสินค้าอื่น และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลโลยีการสื่อสารคมนาคม เช่น การโฆษณาและการขายสินค้าและบริการออนไลน์หรืออีคอมเมอร์ซ และการโฆษณาแหล่งท่องเที่ยวโดยมีข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ การบริการด้านที่พัก อาหาร และการพาเที่ยวโดยมีมัคคุเทศก์ที่สามารถพูดได้หลายภาษา ล้วนมีส่วนในการสร้างรายได้ให้แก่มาตุภูมิของผู้ที่กลับเข้ามาอยู่ในชนบท
ก่อนยุคปฏิรูป ในช่วงเวลาที่ประชาชนจีนส่วนใหญ่ยังมีความยากจนอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความอดอยากและขาดแคลนสิ่งของที่จำเป็น รัฐบาลจีนใช้มาตรการปันส่วนอาหารและสินค้าอื่นที่มีความจำเป็นให้แก่ประชาชนทุกครัวเรือน ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ถึงช่วงแรกของการปฏิรูป ทั้งธัญญาหาร เนื้อสัตว์ เกลือ ผ้าและเสื้อผ้า รองเท้า รถจักรยาน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ล้วนต้องมีการปันส่วน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในแต่ละท้องถิ่นจะจัดสรรคูปองให้แก่ประชาชนเพื่อนำมาซื้อหรือแลกกับสินค้าเหล่านี้ ในทศวรรษ 1980 ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีนดีขึ้น ระบบการจัดสรรปันส่วนนี้จึงได้ทยอยกันถูกยกเลิก แต่จนถึงต้นทศวรรษ 1990 ระบบคูปองนี้จึงได้หมดสิ้นลง
จนถึงปลายศตวรรษที่ 20 ในแต่ละช่วงเวลา มีสินค้าที่ครัวเรือนจีนปรารถนาที่จะมีไว้ มีการกล่าวถึงสินค้าใหญ่4อย่างที่ครัวเรือนจีนอยากมีไว้ครอบครอง(四大件)ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 สินค้าใหญ่สี่อย่างประกอบด้วยรถจักรยาน จักรเย็บผ้า นาฬิกาและเครื่องรับวิทยุ ในช่วงแรกของการปฏิรูป สินค้าที่พึงปรารถนาของครัวเรือนเปลี่ยนเป็นเเครื่องโทรทัศน์ขาวดำ ตู้เย็น เครื่องซักผ้าและรถจักรยานยนต์ ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นโทรศัพท์สี

ก่อนยุคปฏิรูป ในช่วงเวลาที่ประชาชนจีนส่วนใหญ่ยังมีความยากจนอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความอดอยากและขาดแคลนสิ่งของที่จำเป็น รัฐบาลจีนใช้มาตรการปันส่วนอาหารและสินค้าอื่นที่มีความจำเป็นให้แก่ประชาชนทุกครัวเรือน ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ถึงช่วงแรกของการปฏิรูป ทั้งธัญญาหาร เนื้อสัตว์ เกลือ ผ้าและเสื้อผ้า รองเท้า รถจักรยาน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ล้วนต้องมีการปันส่วน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในแต่ละท้องถิ่นจะจัดสรรคูปองให้แก่ประชาชนเพื่อนำมาซื้อหรือแลกกับสินค้าเหล่านี้ ในทศวรรษ 1980 ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีนดีขึ้น ระบบการจัดสรรปันส่วนนี้จึงได้ทยอยกันถูกยกเลิก แต่จนถึงต้นทศวรรษ 1990 ระบบคูปองนี้จึงได้หมดสิ้นลง
จนถึงปลายศตวรรษที่ 20 ในแต่ละช่วงเวลา มีสินค้าที่ครัวเรือนจีนปรารถนาที่จะมีไว้ มีการกล่าวถึงสินค้าใหญ่4อย่างที่ครัวเรือนจีนอยากมีไว้ครอบครอง(四大件)ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 สินค้าใหญ่สี่อย่างประกอบด้วยรถจักรยาน จักรเย็บผ้า นาฬิกาและเครื่องรับวิทยุ ในช่วงแรกของการปฏิรูป สินค้าที่พึงปรารถนาของครัวเรือนเปลี่ยนเป็นเเครื่องโทรทัศน์ขาวดำ ตู้เย็น เครื่องซักผ้าและรถจักรยานยนต์ ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นโทรศัพท์สี เครื่องปรับอากาศ เครื่องเล่นวิดีโอและเครื่องดูดฝุ่น แม้สิ่งของเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีการผลิตในประเทศจีน แต่ก็มีราคาแพง รัฐบาลจีนจึงอนุญาตให้คนที่มีญาติพี่น้องในต่างประเทศนำสิ่งของเหล่านี้มาเป็นของฝากระหว่างที่เข้ามาเยี่ยมญาติในประเทศจีนได้ปัจจุบัน
ในปัจจุบัน สินค้าใหญ่เหล่านี้ ไม่ถือว่าเป็นของฟุ่มเฟือยแล้ว ในเขตชนบท ครัวเรือนต่างๆก็มีโทรศัพท์ใช้แล้ว และการใช้โทรศัพท์มือถือก็แพร่หลายมาก แม้กระทั่งเด็กนักเรียนก็ยังมีโทรศัพท์มือถือกัน โดยโทรศัพท์มือถือนั้น สามารถใช้งานได้หลายอย่าง ทั้งการส่งข้อความ ฟังเพลง ดูหนังดูละคร ฝากเงิน โอนเงินและชำระค่าสินค้าบริการได้
ค.ศ. 2021 เป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน รัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ประชาชนทุกคนในประเทศจะมีฐานะพอกินพอใช้กันถ้วนหน้า(全面小康)ภายในปีค.ศ. 2020 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมห้าปีฉบับที่ 13(第十三个五年规划:2016-2920)
ในปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อหัว(人均收入)ของประชาชนจีนอยู่ในระดับกว่า10,000 เหรียญอเมริกาต่อคนต่อปีแล้ว และประเทศจีนมีฐานะเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง แต่รัฐบาลจีนต้องการให้ประเทศจีนพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีรายได้สูง(高收入国家)ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *