เสี่ยวหมี่กำเนิดด้วยหม้อข้าวต้มข้าวฟ่าง
เสี่ยวหมี่กำเนิดด้วยหม้อข้าวต้มข้าวฟ่าง
Pirates of Silicon Valley จะเป็นภาพยนตร์ ค.ศ 1999 บนพื้นฐานของหนังสือ Fire in the Valley : The Making of The Personal Computer
ของพอล ไฟรเบอร์เกอร์ และไมเคิล สเวน ภาพยนตร์โทรทัศน์ที่สร้างจากเหตุการณ์ ภาพยนตร์บันทึกการเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์บ้าน – คอมพิวเตอร์ส่วนบุคตล ด้วยการแข่งขันระหว่างแอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์ และไมโครซอฟท์
คำถามที่ได้เปิดตัวอุตสากรรมคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลคือ เครื่องจักรสามารถถูกโปรแกรมที่จะคิดได้หรือไม่
เมื่อ ค.ศ 1970 โลกคอมพิเตอร์จะประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่บริษัทใหญ่เท่านั้นสามารถซื้อได่ มันจะเป็นตลาดถูกยึดครองโดยไอบีเอ็ม
ชาวพื้นเมืองซีแอตเติ้ลและลูกชายของครอบครัวฐานะดี บิลล์ เกตส์ ได้สร้างซอฟท์แวร์ คอมพิวเตอร์ ระหว่างเรียนมัธยมปลายและมหาวิทยาลัยกับเพื่อนของเขา พอล อัลเล็น พวกเขาได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และก่อตั้งไมโครซอฟท์เมื่อ ค.ศ 1975
ภายในพาโล อัลโต แคลิฟอร์เนีย สตีฟ จ้อป และสตีฟ วอชเนียก นักเรียนมัธยมปลายสองคน ที่ลุ่มหลงกับเทคโนโลยีใหม่ ได้ก่อตั้งแอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์ เมื่อ ค.ศ 1976 เมื่อไมโครซอฟท์ ได้สร้างเบสิค ซอฟท์แวร์ ที่ขาย
แก่ทุกบริษัทคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ สตีฟ จ้อป และสตีฟ วอชเนียก ได้คิดค้นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกเมื่อ ค.ศ 1977 พวกเขาได้เปิดตัวแอปเปิ้ลทู
พีซีเครื่องแรกที่ออกแบบต่อสาธารณะ การขายจะยอดเยี่ยม แต่แอปเปิ้ลทู
จะมีความบกพร่อง และบิลล์ เกตส์ จะมีข้อแก้ปัญหา : เบสิค
สตีฟ จ้อป และบิลล์ เกตส์ ได้เริ่มต้นการสร้างบริษัทของพวกเขาภายในเวลาเดียวกัน และมันจะเป็นตัวเร่งทางธรรมชาติของการแข่งขันของพวกเขา
ในขณะที่ผู้ก่อตั้งสองคนจะมีช่วงเวลาของการเอื้อเฟื้อกัน ณ ช่วงเวลาอื่น
พวกเขาจะเชือดคอหอยระหว่างกัน สตีป จ้อป จะดูหมิ่นรสนิยมและจินตนาการของบิลล์ เกตส์ ในขณะที่ครั้งหนึ่งบิลล์ เกตส์ ได้พรรณาสตีป จ้อป เป็นจุดด่างพร้อยที่น่าประหลาดในฐานะของมนุษย์
ความสัมพันธ์ที่ซับซัอนระหว่างสตีฟ จ้อป และบิลล์ เกตส์ ได้เริ่มต้นขึ้น และเมื่อปลาย ค.ศ 1970 ไมโครซอฟท์ได้ทำเงินส่วนใหญ่จากการเขียนซอฟท์แวร์แก่แอปเปิ้ล เมื่อ ค.ศ 1980 แอปเปิ้ลได้ออกสู่สาธารณะ ระหว่างนั้นบิลล์ เกตส์ ได้ลงนามสัญญากำไรงามกับไอบีเอ็ม ระบบปฏิบัติการใหม่ของเขา เอ็มเอส ดอส ใช้กับคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มทุกเครือง ณ ตอนเริ่มต้นของ ค.ศ 1980 สตีฟ จ้อป และบิลล์ เกตส์ อายุยัังไม่ถึง 30 ปี แต่พวกเขาจะเป็นผู้เล่นสำคัญสองคนภายในอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไมโครซอฟท์และแอปเปิ้ล ทำงานจับมือกันเพื่อแมค
บุคคลหนึ่งของแอปเปิ้ล ได้กล่าวว่า เราไม่ได้เป็นคู่แข่งขัน ณ จุดนั้น พวเขาจะเป็นพันธมิตรของเราที่จะช่วยสร้างแมคอินทอขให้เกิดขึ้น ดังนั้นเราเข้ากับพวกเขาได้อย่างดี พวกเขาจะคล้ายคลึงกับเราภายในวิถีทางหลายอย่าง แต่กระนั้น การรู้ว่าการใช้ภาพเป็นตัวประสานกับผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงของแมคจะแสดงอนาคตของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล บิลล์ เกตส์ ได้ทำการโคลนนิ่งแมค เมื่อไมโครซอฟท์ได้เปิดตัววินโดว์ระบบปฏิบัติการใหม่รุ่นแรก มันจะเป็นการสิ้นสุดของความร่วมมือของพวกเขา ภายในสิบปี วินโดว์ 95 ได้ถูกติดตั้งกับคอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่องภายในตลาด ด้วยวินโดว์ 95 บิลล์ เกตส์ และพีซี ได้ยึดบัลลังก์ แมค และชาวพื้นเมืองซีแอตเติ้ลคนนี้ได้กลายเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดภายในโลก แต่ผู้บริหารสองคนนี้ปรากฏเข้ากันได้ดีขึ้นภายในชีวิตต่อมา สตีฟ จ้อป ได้เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ 2011 บิลล์ เกตส์ ได้กล่าวว่า พวกเขาได้กระตุ้นระหว่างกัน แม้ว่าจะเป็นคู่แข่งขัน มันดูแล้วเป็นไม่ได้ที่แอปเปิ้ลจะอยู่ตรงนี้ ณ วันนี้ โดยไม่มีไมโครซอฟท์ หรือไมโครซอฟท์โดยไม่มีแอปเปิ้ล บิลล์ เกตส์ และสตีฟ จ้อป ไม่ได้เป็นศัตรูกันอยู่เสมอ – ไมโครซอฟท์ได้สร้างซอฟท์แวร์เริ่มแรกแก่
พีซีแอปเปิ้ลทูที่นิยมแพร่หลาย และบิลล์ เกตส์จะบินมาคูเปอร์ติโนประจำที่จะดูแอปเปิ้ลกำลังทำอะไร
สตีฟ จ้อป และสตีฟ วอซเนียก สองแฮกเกอร์วัยหนุ่ม พวกเขาได้ลาออกจากมหาวิทยาลัย ก่อตั้งแอปเปิ้ลเมื่อ ค.ศ 1976 ภายในโรงเก็บรถยนต์ของพ่อแม่ของสตีฟ จ้อป พวกเขาได้สร้างวิสัยทัศน์บริษัทของการเปลี่ยนแปลงที่บุคคลมองคอมพิวเตอร์ สตีฟ จ้อป และสตีฟ วอชเนียก ต้องการสร้างคอมพิวเตอร์ที่เล็กเพียงพอแก่บุคคลที่จะมีมันไว้ภายในบ้านหรือสำนักงานของพวกเขา พวกเขาเพียงแต่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ใช้งานง่าย สตีฟ จ้อป ต้องการเงินทุน 1,350 เหรียญที่จะเริ่มต้นแอปเปิ้ล ดังนั้นสตีฟ จ้อป ได้ขายวีดับบลิว ไมโครบัสของเขา และสตีฟ วอชเนียก ได้ลงทุนด้วยเครื่องคิดเลขเอชพีของเขาสตีฟ จ้อป ได้แสดงความสนใจแต่เริ่มแรกต่ออีเล็คโทรนิคและเครื่องมือ ในขณะที่อยู่โรงเรียนมัธยม เขาได้กล้าหาญไปเยี่ยมฮิวเลตต์ แพคกราด ที่จะขอชิ้นส่วนเพื่อโครงการของโรงเรียน ด้วยความประทับใจต่อสตีฟ จ้อป วิลเลียม ฮิวเลตต์ ผู้ก่อตั้งร่วม ไม่เพียงแต่ให้ชิ้นส่วนแก่เขา แต่ได้เสนอการฝึกงานภาคฤดูร้อนแก่เขา ณ ฮิวเลตต์ แพคการ์ด ด้วย ณ ที่นี่ พวกเขาได้เริ่มต้นสร้างแอปเปิ้ลวันภายในโรงเก็บรถยนต์ของสตีฟ จ้อปด้วยความมุ่งหมายของการขายแอปเปิ้ล วันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรก สตีฟ วอชเนียกจะสร้างด้วยมือและใช้ไม้แต่แอปเปิ้ลวันจะขาดความสมบูรณ์ การขาดอุปกรณ์ส่วนประสานกับผู้ใช้เหมือนเช่นแป้นพิมพ์หรือแม้แต่ตัวกล่อง แอปเปิ้ล วัน ได้ถูกแสดงต่อประชาชนครั้งแรก ณ โฮมบริว คอมพิวเตอรฺ คลับ ราคาขาย 666.66 เหรียญ ด้วยจำนวนและระยะเวลาที่จำกัด แอปเปิ้ล ทู จะเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกที่บรรลุความสำเร็จทางตลาดมวลชน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง แอปเปิ้ล ได้เริ่มต้นดิ้นรนภายหลังจากคณะกรรมการบริษัทได้ปลดสตีฟ จ้อป จากบริษัทเมื่อ ค.ศ 1985 เมื่อ สตีฟ จ้อป กลับมาที่แอปเปิ้ลเมื่อ ค.ศ 1997 บริษัทใกล้จะล้มละลายอยู่แล้ว ต่อจากนั้นสตีฟ จ้อป ได้ดำเนินการฟื้นฟูอย่างน่าทึ่ง ด้วยการแนะนาไอพอดเมื่อ ค.ศ 2001 ไอโฟน ค.ศ 2007 และไอแพด ค.ศ 2010 ผลลัพธ์ : แอป
เปิ้ลมีกำไรเกือบ 40 พันล้านเหรียญเมื่อ ค.ศ 2014 สตีฟ จ้อป ได้เสียชีวิต เมื่อ ค.ศ 2011 นับตั้งแต่นั้นมาบริษัทได้ถูกนำโดยทิม คุกแอปเปิ้ล จะเป็นผู้กำหนดแนวโน้มแห่งซิลิคอน แวลลี่ย์ นานเกือบสี่ทษวรรษ แอปเปิ้ล ทู แมคอินทอช ไอพอด ไอโฟน และไอแพด ได้ถูกเลียนแบบอย่างกว้างขวาง โดยคู่แข่งขันของแอปเปิ้ลความสำเร็จของแอปเปิ้ลจะเกิดขึ้นจากจุดมุ่งที่ลุ่มหลงต่อประสบการณของผู้ใช้ แอปเปิ้ลจะเป็นบริษัทนักออกแบบ – อยู่ตรงศูนย์กลาง พวกเขาชอบที่จะสร้างชิ้นส่วนทุกอย่างของผลิตภัณฑ์ – ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และบริการออนไลน์ – ด้วยตัวเอง
เสี่ยวหมี่คือบริษัทอีเล็คโทรนิคจีน สำนักงานใหญอยู่ที่ปักกิ่ง จีน แต่บริษัทจะดำเนินงานอยู่ทั่วโลก การออกแบบ การผลิต และการขายสมาร์ทโฟน แล็ปท็อป และอิเล็คโทรนิคอื่น ตามสถิติ ค.ศ 2015 เสี่ยวหมี่จะเป็นบริษัท
สมาร์ทโฟนใหญ่ที่สุดลำดับห้าภายในโลก เนื่องจากกลยุทธ์การตลาดของพวกเขาก้องกังวาลกับลูกค้าเป้าหมาย พวกเขาได้ใช้สื่อสังคมส่งเสริมการขาย และการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาชนนิยมของท้องที่ของประเทศที่พวกเขาได้เข้าไป ภายใต้กลยุทธ์ทางธุรกิจของพวกเขา
เสี่ยวหมีจะส่งเสรืม พัฒนา และกระตุ้นแฟนของพวกเขาผ่านทางเทศกาลหมี่แฟนเป็นการลดราคาและของขวัญ คำขวัญของบริษัทคือ “หมี่แฟนเท่านั้น”
และบริษัทจะเสาะหาพนักงานใหม่ท่ามกลางหมี่แฟนด้วย กลยุทธ์ทางธุรกิจของเสี่ยวหมี่อาจจะแยกประเภทความเป็นความเป็นผู้นำทางต้นทุน ตามที่ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเสี่ยวหมี่ เหลย จุน ได้กล่าวว่า เสี่ยวหมี่ถูกก่อตั้งบนความเชื่อว่า
เทคโนโลยีคุณภาพไม่จำเป็นต้องราคาแพง บริษัทได้นำเสนอสมาร์ทโฟนและผลิตภัณฑ์อินเตอร์เน็ตเทคโนโลยีอื่น ด้วยราคาที่สามารถซื้อได้ เสี่ยวหมี่จะรักษาราคาให้ต่ำด้วยอี คอมเมิรช เสี่ยวหมี่จะมุ่งการทำให้เทคโนโลยีคุณภาพสูงราคาถูก ตามโมเดลกลยุทธ์การแข่งขันโดยทั่วไปของไมเคิล พอร์เตอร์
เสี่ยวหมี่ได้ใช้กลยุทธ์ความเป็นผู้นำทางต้นทุนได้บรรลุความสำเร็จด้วยความประหยัดจากการเรียนรู้ ความประหยัดจากขนาด เทคโนโลยีกระบวนการ และลูกโซ่คุณค่า ความสามารถของเสี่ยวหมี่ภายในการประยุกต์ใข้กลยุทธ์ความเป็นผู้นำทางต้นทุนด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและการรักษาคุณภาพที่สูงจะไม่เหมือนใคร และไม่ง่ายที่คู่แข่งขันจะลอกเลียนแบบ ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นเสี่ยวหมี่
ขายผลิตภัณฑ์ออนไลน์เท่านั้นผ่านอีคอมเมิรช พวกเขาไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับต้นทุนของคลังสินค้าและการกระจายสินค้า เราคือบริษัทอีคอมเมิรช เราอาศัยอยู่กับอินเตอร์เน็ต เราขายผ่านอีคอมเมิรชอย่างเดียว และราคาจะต่ำมาก
เสี่ยวหมี่จะหลีกเลี่ยงโมเดลการโฆษณาสมัยเดิม และขึ้นอยู่กับการตลาดสื่อทางสังคมและปากต่อปากเท่านั้น เสี่ยวหมี่จะลดต้นทุน ณ ทุกขั้นตอน
เสี่ยวหมี่จะเดิมพันบนกฏของมัวร์ ด้วย ไม่เหมือนกับคู่แข่งขันที่สำคัญได้ยกเลิกโมเดลของพวกเขาภายหลังจากหกถึงแปดเดือนภายในตลาดหลังจากการเปิดตัว เสี่ยวหมี่จะขายจะขายผลิตภัณฑ์สิบแปดถึงยี่สิบเดือนหลังจากการเปิดตัว นี่หมายความว่าตามกฎของมัวร์ ราคาของส่วนประกอบจะลดลง ในขณะที่ราคาของสมารทโฟยังคงที่อยู่ เสี่ยวหมี่จะเป็นบริษัทโมบาย อินเตอร์เน็ต เรามองที่จะทำเงินไม่ใช่บนฮาร์ดแวร์ แต่ด้วยการขายแอ้ปส์
และเกมส์ ภายในอดีตบริษัทโทรศัพท์มือถือจีนจำนวนมากได้เข้ามาสู่ตลาด
ด้วยโทรศัพท์มือถือราคาต่ำ แต่ด้วยราคาต่ำจะตามมาด้วยคุณภาพต่ำด้วย
การสร้างชื่อไม่ดีแก่ตลาดจีน เสี่ยวหมี่ได้กำหนดทิศทางที่เหมาะสมด้วยการ
นำเสนอคุณภาพสูงและ ณ ราคาที่สามารถซื้อได้
เสี่ยวหมึ่ได้ถูกเรียกครั้งแล้วครั้งเล่าว่า แอปเปิ้ลของจีน ข้อเท็จจริงคือ เหลย จุน ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนภายในวิถีทางและการแต่งกายคล้ายกับสตีฟ จ้อป
แอปเปิ้ลจะเป็นบริษัทผิดธรรมดามากที่สุดเท่าที่โลกได้มองเห็น และอยู่ต่อไปอย่างยาวนาน ความเป็นจริงคือ เราจะเป็นบริษัทประเภทที่แตกต่างกัน
เราอาจจะกล่าวได้ว่าเสี่ยวหมี่จะคล้ายเล็กน้อยกับกูเกิ้ล และแอปเปิ้ล และอเมซอน เราจะมีซอฟท์แวร์วิศวกรรมของกูเกิ้ล ความทะเยอทะยานการออกแบบของแอปเปิ้ล และแพลตฟอร์มอีคอมเมิรชของอเมซอน
เราสามารถประยุกต์ใช้โมเดลพลังห้าตัวของไมเคิล พอร์เตอร์ กับเสี่ยวหมี่ เพื่อที่จะวิเคราะห์และศึกษาพลังภายนอกห้าตัวเหล่านี้มีผลต่อบริษัทที่จะกระทบต่อตลาดเป้าหมายและความสามารถแข่งขันของพวกเขาภายในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนอย่างไร
เมื่อ Thinkers50 ได้ถูกเปิดตัวเมื่อ ค.ศ 2001 Thinkers50 จะเป็นการเรียงลำดับนักคิดทางการบริหารของโลกครั้งแรก
งานการมอบรางวัลของ Thinkers50 ได้ถูกเรียกชื่อว่า ออสการ์ของการคิดทางการบริหารโดยไฟแนนเชี่ยล ไทม์
ไมเคิล พอร์เตอร์ นักวิชาการคณะบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด จะเป็นนักคิดทางธุรกิจที่มีอิทธิพลมากที่สุดภายในโลก เขาจะได้รับรางวัลความสำเร็จตลอดชีวิตของ Thinkers50 จากการมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการคิดทางการบริหารตลอดสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ไมเคิล พอร์เตอร์ จะอยู่บนสูงสุดของการเรียงลำดับ
ของ Thinkers50 ของนักคิดทางธุรกิจแนวหน้าของโลกถึงสองครั้ง ค.ศ 2005 และ ค.ศ 2015
Thinkers 50 ได้เรียกไมเคิลเตอร์ วัย 68 ปี ว่า “บิดาของกลยุทธ์ธุุรกิจสมัยใหม่” ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญทางความสามารถแข่งขัน เขาจะเป็นที่ปรึกษาแก่บริษัทหลายบริษัท และรัฐบาลของประเทศจำนวนหนึ่งรวมทั้งอังกฤษ โมเดลพลังห้าตัวของเขาจะเป็นวิถีทางที่ไม่มีกำหนดเวลา และยังคงถูกสอนอยู่ภายในทุกคณะบริหารธุรกิจของโลก
ไมเคิล พอร์เตอร์ “พระเจ้าของกลยุทธ์การแข่งขัน” เขาจะเป็นรูปแบบที่ไม่เปลี่ยนแปลงของสิบลำดับสูงสุดของ Thinkers50 นับตั้งแต่การเรียงลำดับถูกรวบรวมครั้งแรกเมื่อ ค.ศ 2001 ไมเคิล พอร์เตอร์ ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์ต่อความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดของบริษัทและประเทศ ได้เผชิญอยู่
เมื่อ ค.ศ 1979 ไมเคิล พอร์เตอร์ ได้พัฒนาโมเดลพลังห้าตัวขึ้นมาเป็นบทความแรกของเขาภายในเอสบีอาร์ ชื่อ How Competitive Forces Shape Strategy ต่อมาโมเดลพลังห้าตัวของเขาได้ถูกอธิบายรายละเอียดภายในหนังสือของเขาชื่อ Competitive Strategy
โมเดลพลังห้าตัวจะเป็นวิธีการอย่างหนึ่งเพื่อการวิเคราะห์การแข่งขันของธุรกิจ มันจะดึงมาจากเศรษฐศาสตร์องค์การอุตสาหกรรมที่จะได้พลังห้าตัว
กำหนดความเข้มข้นของการแข่งขัน
พลังห้าตัวจะกำหนดความเข้มข้นทางการแข่งขัน และความดึงดูดหรือความไม่ดึงดูดของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่ไม่ดึงดูดจะเกิดขึ้นจากผลกระทบของพลังห้าตัวเหล่านี้ที่ลดการทำกำไรของบริษัทลง
อุตสาหกรรมที่ไมดึงดูดมากที่สุดคือ การแข่งขันแท้จริง บริษัททุกบริษัทจะมีกำไรปรกติเท่านั้น มุมมองของพลังห้าตัวกำเนิดขึ้นมาจากไมเคิล พอร์เตอร์ และได้พิมพ์ครั้งแรกภายในวารสารฮาร์วาร์ด บิสซิเนส รีวิว เมิ่อ ค.ศ 1979
ไมเคิล พอร์เตอร์ได้เสนอแนะว่่าคุณลักษณะห้าอย่างของอุตสาหกรรมสามารถคุกคามต่อความสามารถของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการรักษากำไรหรือการทำกำไรที่สูงได้
ไมเคิล พอร์เตอร์ ได้อ้างว่าพลังเหล่านี้เป็นสภาพแวดล้อมทางจุลภาคคือ สภาพแดล้อมทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่สภาพแวดลล้อมทางมหภาค คือ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป พลังห้าตัวของไมเคิล พอร์เตอร์ จะเป็นเครื่องมือเรียบง่ายแต่ทรงพลัง เพื่อความเข้าใจการแข่งขันของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของเรา และเพื่อการระบุการทำกำไรที่เป็นไปได้ของกลยุทธ์ของเรา พลังห้าตัวจะเป็นโมเดลที่ระบุและวิเคราะห์พลังการแข่งขันห้าตัวที่กำหนดรูปร่างของทุกอุตสาหกรรม และช่วยพิจารณาจุดอ่อนและจุดแข็งของอุตสาหกรรม การวิเคราะห์พลังห้าตัวมักจะถูกใช้ระบุโครงสร้างของอุตสาหกรรมที่จะกำหนดกลยุทธ์ของบริษัท โมเดลพลังห้าตัวสามารถถูกประยุกต์ใช้ไดักับทุกภาคของเศรษฐกิจ เพื่อความเข้าใจระดับการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม และการปรับปรุงการทำกำไรระยะยาวของบริษัท
1 การเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่
พลังตัวนี้จะคุกคามเมื่ออุตสาหกรรมทำกำไรสูง การคุกคามของคู่แข่งขันรายใหม่จะรุนแรงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู๋กับอุปสรรคของการเข้ามา คู่แข่งขันรายใหม่ยิ่งมีต้นทุนของการเข้ามาสูงเท่าไร อุปสรรคของการเข้ามายิ่งสูงขึ้นเท่านั้น อุปสรรคของการเข้ามาที่สูงจะขัดขวางการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ภายในอุตสาหกรรม โจ เบน นักเศรษฐศาสตร์ ได้ระบุอุปสรรคของการเข้ามาที่สำคัญไว้สามอย่างคือ ความจงรักภักดีต่อตราสินค้า ข้อได้เปรียบทางต้นทุน และความประหยัดจากขนาด นอกจากนี้เราอาจจะเพิ่มอุปสรรคการเข้ามาที่สำคัญภายในหลายประเทศคือ การควบคุมของรัฐบาล
ภายในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนของจีน อุปสรรคการเข้ามาจะสูงมาก ด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงที่เราจะมีบริษัทที่มั่นคงแล้วนำหน้าเสี่ยวหมี่คือ หัว
เหว่ย แอปเปิ้ล และซัมซุง และทุกบริษัทจะมีความประหยัดจากขนาดและการผลิตสูง การทำให้คู่แข่งขันรายใหม่มีต้นทุนสูงมากที่จะแข่งขัน
อุตสาหกรรมสมาร์โฟนจะท่วมท้นด้วยการแข่งขันอย่างเข้มแข็งและรุนแรงภายในตลาด อุตสาหกรรมจะมีภาพพจน์ตราสินค้าทื่เข้มแข็งของบริษัทที่มั่นคงแล้ว ลูกค้าจะมีความจงรักดีต่อตราสินค้าของพวกเขามาก อุปสรรคของการเข้ามาภายในอุตสาหกรรมนี้ต่อคู่แข่งขันรายใหม่จะมีมาก และพวกเขาจะมีต้นทุนสูงมากที่จะก่อตั้งภายในอุตสาหกรรมนี้ ดังนั้นเสี่ยวหมี่จะเผชิญกับการคุกคามที่ต่ำจากคู่แข่งขันรายใหม่เข้ามาภายในอุตสาหกรรม
2 อำนาจการต่อรองของลูกค้า
พลังตัวนี้จะคุกคามเมื่อลูกค้ามีอำนาจต่อรองที่จะเรียกร้องราคาที่ต่ำลง หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น ลูกค้าจะมีอำนาจการต่อรองที่เข้มแข็งเมื่อ ลูกค้ามีเพียงไม่กี่ราย ลูกค้าซื้อเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ทดแทนมีหลายอย่าง และการคุกคามที่ลูกค้าจะเข้าไปทำธุรกิจของซัพพลายเออร์เอง
อุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนจะแข่งขันรุนแรง และลูกค้าจะมีทางเลือกหลายทางที่จะเลือกเมื่อพวกเขาต้องการซื้อสมาร์ทโฟน นี่คือเหตุผลทำไมลูกค้ามีอำนาจการต่อรองที่สูงต่อบริษัทสมาร์ทโฟนรวมทั้งเสี่ยวหมี่ เนื่องจากต้นทุนการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าจะต่ำมาก และพวกเขาสะดวกอย่างมากที่จะเลือกจากทางเลือกหลายทางที่หามาได้ภายในตลาด ณ ทุกราคา ดังนั้นมันจะสำคัญต่อตราสินค้าเหมือนเช่นเสี่ยวหมี่ที่จะรักษาความจงรักภักดีของลูกค้าของพวกเขา
ลูกค้าจะมีทางเลือกอย่างมากจากทั้งตลาดบนและตลาดล่างที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่เฉื่อยชาภายในตลาดสามาร์ทโฟนจีน ในขณะที่เสี่ยวหมี่ได้พยายามจะเพิ่มยอดขายเมื่อ ค.ศ 2018 เพราะว่าราคาที่สามารถซื้อได้ทำให้พวกเขานำหน้าแอปเปิ้ลได้ การมุ่งกำไรต่ำของตลาดล่างของพวกเขาหมายความว่ากำไรของพวกเขาจะต่ำกว่าแอปเปิ้ลมาก และเเอปเปิ้ลยังคงควบคุม 80% ของตลาดบนภายในจีนอยู่
3 อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์
พลังตัวนี้จะคุกคามเมื่อซัพพลายเออร์มีอำนาจการต่อรองที่จะขึ้นราคา และลดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลง ซัพพลายเออร์จะมีอำนาจการต่อรองที่เข้มแข็งเมื่อซัพพลายเออร์มีอยู๋ไม่กี่ราย ลูกค้ามีจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ทดแทนไม่มี ต้นทุนการสับเปลี่ยนไปยังซัพพลายเออร์รายอื่นสูง และการคุกคามของซัพพลายเออร์ที่จะเข้าไปทำธุรกิจของลูกค้าเอง
อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ของเสี่ยวหมี่จะสูง เนื่องจากลักษณะทางเทคนิคของส่วนประกอบของการผลิตสมาร์ทโฟน บริษัทได้สร้างการเป็นหุ้นส่วนกับซัพพลายเออร์เหมือนเช่น คอลคอมม์
ซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่ของเสี่ยวหมี่จะอยู่ภายในใต้หวัน และตลอดมาเสี่ยวหมี่จะมีซัพพลายเออร์ที่จงรักภักดี และบริษัทได้สร้างลูกโซ่อุปทานอย่างเข้มแข็งที่เป็นกระดูกสันหลังต่อความสำเร็จของเสี่ยวหมี่ เมื่อเสี่ยวใหม่เป็นบริษัทใหม่ภายในตลาด ซัพพลายเออร์จะมีอำนาจการต่อรองสูงมากต่อพวกเขา
เมื่อซัพพลายเออร์มีความจงรักดีต่อลูกค้าเก่าของพวกเขา แต่ด้วยเวลาเสี่ยวหมี่ได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับซัพพลายเออร์ของพวกเขา และถ้าเรามองดูสถานการณ์ในขณะนี้ อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์จะปานกลาง
4 การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน
พลังตัวนี้จะคุกคามเมื่อตลาดมีผลิตภัณฑ์ทดแทนอย่างใกล้ชิด ลูกค้าสามารถค้นพบผลิตภัณฑ์ได้ง่าย ณ ราคาที่ดึงดูดกว่าและคุณภาพดีกว่า การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทนจะเข้มแข็ง เมื่อต้นทุนการสับเปลี่ยนต่ำ ราคาของผลิตภัณฑ์ต่ำกว่า ณ คุณภาพที่เท่ากัน เพื่อที่จะลดการคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทนลง บริษัทจะต้องสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
เราจะมีผลิตภัณฑ์ทดแทนสมาร์ทโฟนหลายอย่างภายในตลาด แต่ข้อเท็จจริงนี้ไม่สามารถไม่ยอมรับว่าไม่มีอะไรสามารถทดแทนสมาร์ทโฟนได้ แล็ปท็อปหรือแท็ปเล็ต อุปกรณ์เหล่านี้จะมีคุณลักษณะและความมุ่งหมายของมันเอง
และมันไม่สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนอย่างสมบูรณ์แก่สมาร์ทโฟน แต่เสี่ยวหมี่ยังคงเผชิญการคุกคามปานกลางจากผลิตภัณฑ์ทดแทนเหล่านี้อยู่เหมือนกับตราสินค้าสมาร์ทโฟนอื่น
เพราะว่ายอดขายที่ลดลงของพวกเขาภายในตลาดจีน มันจะเป็นข้อเท็จจริงที่พวกเขาได้เริ่มต้นใช้จ่ายกับยุทธวิธีการตลาดที่คู่แข่งขันของพวกเขากำลังทำอยู่ และสิ่งเหล่านี้จะเป็นการปฏิบัติที่ครั้งหนึ่งเสี่ยวหมี่ได้อ้างที่่จะหลีกเลี่ยง
5 การแข่งขันท่ามกลางคู่แข่งขันที่มีอยู่
พลังตัวนี้จะกำหนดว่าอตสาหกรรมจะแข่งขันและทำกำไรมากน้อยแค่ไหน ภายในอุตสาหกรรมที่แข่งขันสูง บริษัทจะแข่งขันอย่างรุนแรงเพื่อที่จะยึดครองส่วนแบ่งตลาด การทำกำไรย่อมจะต่ำ การแข่งขันระหว่างคู่แข่งขันจะรุนแรงเมื่อคู่แข่งขันมีหลายราย อุปสรรคของการออกไปจะสูง คู่แข่งขันมีขนาดเท่ากัน และลูกค้าไม่มีความจงรักภักดี
บางครั้งบริษัทต้องแแข่งขันระหว่างกันอย่างรุนแรงภายในอุตสาหกรรมแม้ว่ากำไรจะต่ำหรือขาดทุน เนื่องจากบริษัทได้เผชิญกับอุปสรรคของการออกไปจากอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์
หรือความรู้สึก ทำให้บริษัทต้องยังคงอยู่ภายในอุตส่หกรรมแม้ว่าการทำกำไรจะต่ำ
อุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนจะแข่งขันสูงมาก เราจะมีคู่แข่งขันที่สำคัญหลายรายภายในอุตสาหกรรม พวกเขาได้ดำเนินงานหลายปีที่จะสร้างภาพพจน์ตราสินค้าของพวกเขา และพวกเขาจะเเข่งขันกันบนปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น ราคา คุณภาพ ความต้องการของลูกค้า และความจงรักภักดีตราสินค้า ตลาดสมาร์ทโฟนจีนจะรวมศูนย์ท่ามกลางบริษัทห้าลำดับสูงสุด ฮัวเหวย ออปโป้และวีโว่ เสี่ยวหมี่ แอปเปิ้ล และซัมซุง ยึดครองตลาด และขายสมาร์ทโฟนอย่างน้อยที่สุดสามในทุกสี่เครื่องภายในจีน
เราจะมีคู่แข่งขันที่สำคัญภายในตลาดจีนเหมือนเช่น ออปโป้ วีโว่ ฮัวเหวย กำลังแข่งขันกับเสี่ยวหมี่
บริษัทจีนเหล่านี้กำลังพยายามจะยึดครองส่วนแบ่งที่เหมาะสมของตลาดระหว่างประทศ ซัมซุงและแอปเปิ้ลจะเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญ แต่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสมาร์ทโฟนจีนจะมีส่วนแบ่งที่เหมาะสมภายในตลาดโลก ฮัวเหวยจะอยู่ ณ ลำดับสามภายในตลาดโลก เสี่ยวหมี่กำลังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากภายในตลาด
Cr : รศ สมยศ นาวีการ