jos55 instaslot88 Pusat Togel Online อย่าเพิ่งมั่นใจว่า”ทรัมพ์”แพ้เลือกตั้ง  - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

อย่าเพิ่งมั่นใจว่า”ทรัมพ์”แพ้เลือกตั้ง 

สบาย สบาย สไตล์เกษม 

เกษม อัชฌาสัย 

อย่าเพิ่งมั่นใจว่า”ทรัมพ์”แพ้เลือกตั้ง 

อีกประมาณสี่สัปดาห์จากนี้ไป สหรัฐอเมริกาก็จะมีการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ขึ้นพร้อมๆ กัน ตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมา ในระบอบประชาธิปไตย  

เป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีอะไรจะมายับยั้งไว้ได้ แม้แต่การแพร่ระบาดของ”โรค”โควิด 19” ซึ่งกำลังโหมกระหน่ำดินแดนแห่งนี้ ชนิดที่ไม่มีทีท่าว่าจะสร่างซา เพียงเพราะความไม่เคารพในกฎระเบียบการป้องกัน ด้วยถือว่า สิทธิเสรีภาพ ย่อมต้องมาก่อนเป็นอันดับแรกเหนือสิ่งอื่นใด   

ผู้คนชาวอเริกันก็เลยต้อง ป่วย เจ็บ  ล้ม ตาย กันเป็นใบไม้ร่วง นำหน้าชาติอื่นใดในโลก เป็นที่น่ายกย่องในความอหังการ์ยิ่งนัก 

ขั้นตอนการเลือกตั ในช่วงที่เขียนเรื่องนี้ ก็คือพรรครีพับลิกันประชุมใหญ่พรรคเป็นคืนที่ ๒ (อังคารที่ ๒๕ สค.เวลาท้องถิ่นสหรัฐ)เพื่อยืนยันการเสนอตัวเป็นตัวแทนพรรค ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของ”โดนัลด์ ทรัมพ์” ที่เมือง”แจ็กสันวิลล์”รัฐฟลอริดา ซึ่ง”ทรัมพ์”ก็ได้หอบเอาครอบครัวไปปราศรัยสนับสนุนเขา รวมทั้ง สุภาพสตรีหมายเลข ๑ “เมลาเนีย ทรัมพ์”ผู้เป็นภริยาด้วย  

โดยมี”ไมค์ เพนซ์”เข้าคู่ลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีดังเดิม ไม่เปลี่ยนเป็นคนอื่น  

สำหรับ”ทรัมพ์”นั้น จะปราศรัยในค่ำคืนวันพฤหัสบดี(๒๗ สิงหาคม) เป็นการปิดท้ายารประชุมใหญ่ครั้งนี้  

ส่วนการประชุมใหญ่พรรคของเดโมแครต เพื่อรับรอง”โจ ไบเดน”ส่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี(พร้อมรับรอง”กมลา แฮร์ริส”เข้าคู่กับเขาลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี) กระทำไปก่อนหน้านั้นแล้วที่เมือง”มิลวอกี”รัฐวิสคอนซินระหว่างวันที่ ๑๗๒๐ สิงหาคมที่ผ่านมา 

นั่นเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองล่าสุดในการช่วงชิงกันขึ้นเป็นผู้นำประเทศของสหรัฐอเมริกา ของพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคและพรรคอื่นๆ ซึ่งมีบางประเด็นน่าติดตามในรายละเอียด ที่จะหยิบยกมาให้เห็น ซึ่งน่าจะบ่งชี้ความเป็นไปได้ว่า ใครน่าจะขึ้นมา เป็นผู้นำสหรัฐคนต่อไป ดังต่อไปนี้ 

Pew Research Center ซึ่งหมายถึงหน่วยงาน คลังข้อมูลที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ระบุว่า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยของชติ(สหรัฐ)ในขณะนี้ สำรวจพบว่าเกือบ ๘ ใน ๑๐ ของผู้ลงทะเบียนเลือกตั้ง (หรือราว ๗๙ %)  เห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจเป็นประเด็นสำคัญสูงสุด ที่ชาวบ้านจะนำมาประกอบการตัดสินใจลงคะแนนว่าจะเลือกใคร  

ทั้งนี้ โดยมีประเด็นสูงสุดอื่นๆ รองลงมาอีก ๑๑ ประเด็น ที่จะใช้ในการพิจารณาตัดสินใจโหวต ได้แก่  

การดูแลด้านสาธารณสุข ๖๘ / การแต่งตั้งศาลสูง ๖๔ % / การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส ๖๒ / อาชญากรรมรุนแรง ๕๙ / นโยบายต่างประเทศ ๕๗ นโยบายปืน ๕๕ % / ความไม่เท่าเทียมกันทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ๕๒ /  การอพยพ ๕๒ / ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ๔๙ % / ภูมิอากาศแปรปรวน ๔๓ / การทำแท้ง ๔๐  

ซึ่งก็หมายความว่า ยังมีประเด็นแยกย่อยอีกมากมายที่เป็นหัวข้อในการพิจารณาประกอบว่า จะโหวตให้ใคร แต่ไม่อาจนำมาแจกแจงหรือพรรณาจนหมดสิ้นได้  

เมื่อนำ”ประเด็น”คนอเมริกันผู้งทะเบียนไปใช้สิทธิ์ให้ความสำคัญสูงสุด มาพิจารณาแล้ว จะพบข้อเท็จจริงว่า การที่วงการทั่วไป โดยเฉพาะวงการสื่อสารมวลชน หรือโลกภายนอก มีความเห็นว่า “ทรัมพ์”น่าจะพ่ายแพ้การเลือกตั้งครั้งนี้ให้แก่“ไบเดน” เพราะพลาดท่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของ”โควิด 19”อย่างทันท่วงทีนั้น อาจเป็นการคาดหวังที่เกินจริง เพราะมีความเป็นไปได้ว่า ผู้ใช้สิทธิ์โดยเฉพาะฝ่ายขวาสุดโต่ง อาจนำคะแนนส่วนใหญ่เทน้ำหนักสนับสนุน”ทรัมพ์”เพราะยังคงเชื่อว่า “ทรัมพ์”สามารถสร้างาน หรือทำให้เศรษฐกิจชาติดีกว่า“ไบเดน”ซึ่งยังไม่มีผงานอะไรเลย  

ถึงแม้”ทรัมพ์”จะเปิดฉากทำสงครามการค้ากับจีนและกระทบ กระเทือนผลประโยชน์ของบางกลุ่มธุรกิจอเมริกัน แต่ก็เพื่อรักษาผลประโยชนของชาติอย่างชัดเจน ดังนั้น ประเด็นที่จะชี้ขาด ก็คือเศรษฐกิจนี่เอง เช่น ในกรณีที่ว่า ระยะที่ผ่านมา มีตำแหน่งงานเพิ่มหรือไม่ หรือคนอเมริกันได้ทำงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ น่าจะมีส่วนช่วย”ทรัมพ์”  

ซึ่งก็มีข่าวที่ไม่มีการยืนยันว่านโยบายเศรษฐกิจรวมๆ ของ“ทรัมพ์”ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มจริง จากการที่”ทรัมพ์”พยายาม”กันท่า”ไม่ให้ต่างชาติเข้าประเทศหรือด้วยการเนรเทศคนลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย  

ในแง่เศรษฐกิจส่วนรวมนั้น การวิเคราะห์ตัวเลขของ Pew Research Center ระบุว่าพรรครีพับลิกันมีความสามารถในการจัดการเศรษฐกิจได้ดีกว่า พรรคเดโมแครตถึง ๙ (๔๙ % ต่อ ๔๐ %) 

นอกจากนั้น ผู้ถูกสำรวจยังเชื่อว่าพรรครีพับลิกันทำงานดีกว่าพรรคเดโมแครตในการจัดการกับประเด็นก่อการร้าย (๔๖ ต่อ ๓๗ %) 

นี้คือการยกตัวอย่างบางประเด็นมาแสดงให้ประจักษ์ว่า แม้”ทรัมพ์”จะชั่วร้ายอย่างไร ปากเสีย โป้ปดมดเท็จ ไร้คุณธรรมทำให้เสื่อมความศรัทธาอย่างไร แต่มองในแง่รวมๆ แล้วพรรครีพับลิกันได้เปรยบพรรคเดโมแครต 

ที่นี้ลองมาดูกันในประเด็นร้อนแรงที่ถกถียงกันในขณะนี้ว่าการโหวตเสียงคราวนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งส่วนใหญ่ จะใช้วิธีโหวตผ่านไปรษณีย์มากขึ้น เพราะผู้คนพากันกลัวติดเชื้อการแพร่ระบาดของไวรัสเวลาไปลงคะแนนเสียง  ทั้งนี้มีรัฐต่างๆ ที่กำหนดท่าทีที่จะทำเช่นนี้หกรัฐแล้ว อาทิ แคฟอร์เนีย, ยูทาห์ฮาวาย, โอเรกอน, โคราโดและวอชิงตัน 

ปรากฏว่าเมื่อวันอังคารที่ ๒๕ สิงหาคมที่ผ่านมานี้ “ทรัมพ์”ออกแถลงแสดงความห่วงใยว่า จะเป็นช่องทางให้โกงเลือกตั้งกันขนานใหญ่  

ภายใต้กฎเกณฑ์นี้ไม่มีหลักฐานว่า จะโกงกันอย่างไร เพราะเคยทำกันมาเมื่อสี่ปีที่แล้วอย่างสะดวก ซึ่งปรากฏว่า”ทรัมพ์”ก็ชนะเลือกตั้งไปในการแข่งขันกับ”ฮิลลารี คลินตัน” 

สำหรับในคราวนี้ หากมีการโหวตผ่านการลงคะแนนทางไปรษณีย์ ซึ่งก็จะจัดการโหวตวันเดียวกัน กับที่มีการโหวตเสียงตามปกติธรรม สำหรับผู้ไม่ต้องการใช้วิธีโหวตผ่านไปรษณีย์  

เอาเป็นว่า ณ บัดนี้ ใกล้กำหนดจะเลือกตั้งประธานาธิดีสหรัฐแล้ว  แต่ยังคงมี”วาระ”ที่ยังต้องติดตามสังเกตการณ์อยู่อีกสามสี่ประการ ด้วยกัน คือ 

๑ การอภิปรายแสดงทัศนะ ไหวพริบปฏิภาณของผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ 

๒ การโหวตลงคะแนนเสียงในวันอังคารที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ 

๓ การลงคะแนนของคณะเลือกตั้ง Electoral vote ของ Elector (๕๓๗ เสียง / ใครได้ ๒๗๐ เสียง คนนั้นชนะ)ในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๔ 

๔ พิธีเริ่มต้นเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔  

จึงเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการการเลอกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ   

  

  

  

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *