jos55 instaslot88 Pusat Togel Online เกิดอะไรขึ้นในอิหร่าน? - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

เกิดอะไรขึ้นในอิหร่าน?

 

เกิดอะไรขึ้นในอิหร่าน?

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

ศูนย์อิสลามและอิหร่านศึกษา  วทส.

 

ถือได้ว่าสื่อกระแสหลักได้เขย่าข่าวความวุ่นวายการประท้วงในอิหร่าน ให้ทุกสายตาของโลกต้องหยุด แล้วหันมาจับจ้องอิหร่านอีกครั้ง  เกิดโหนกระแสให้ติดตามเหตุการณ์ของการเสียชีวิต น.ส. มาห์ซา อามินี หญิงสาววัย 22 ปี โดยปั่นข่าวให้ภาพลบต่อหน่วยงานรัฐของอิหร่านที่ถูกรู้จักในนาม”กัชตีเอร์ชาด” (Gasht-e Ershad)   หรือ”ตำรวจศีลธรรม” ว่าได้ถูกควบคุมตัวน.ส. มาห์ซา อามินี  แล้วใช้ความรุนแรงเกินเหตุอีกทั้งได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อการคลุมฮิญาบ จนทำให้เธอเสียชีวิตหรือบางสำนักข่าวได้รายงานว่าเธอได้ถูกทุบตีทำร้ายร่างกายจนเป็นเห็นต้องส่งโรงพยายาลและขาดใจตาย

เท่านั้นยังไม่พอสื่อยังได้โหนต่อและจุดกระแสว่าประชาชนโกรธแค้นและสื่อได้นำภาพของการประท้วงของผู้หญิงที่พากันจุดไฟเผาผ้าคลุมศีรษะเป็นสัญลักษณ์การขัดขืนข้อบังคับเรื่องการแต่งกายของสตรีที่เคร่งครัดของทางการอิหร่าน และสื่อยังได้นำคลิปโหนหนักต่อความรุนแรงตำรวจในการปราบปรามผู้ประท้วง จนเป็นภาพโด่งดังไปทั่วโลกและมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาลอิหร่านอย่างกว้างขวาง เท่านั้นยังไม่พอ ไบเดน ได้กล่าวสุนทรพจน์  ในการประชุมสามัญสหประชาชาติครั้งที่๗๗  ณ กรุงนิวยอร์ก ว่าเราขอยืนเคียงข้างกับสตรีอิหร่านในการแสดงออกถึงสิทธิและเสรีภาพของตนเอง  ยิ่งทำให้การประท้วงในอิหร่านและนอกอิหร่านเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

เหรียญอีกด้าน ทางการของอิหร่านได้รายงานว่า การเสียชีวิตของของ น.ส.มาห์ซา อามินี (Mahsa Amini)เป็นเพราะเธอภาวะหัวใจล้มเหลวฉับพลัน  ไม่ใช่มาจากการทุบตีตามที่ข่าวได้เสนอ โดยทางตำรวจได้นำคลิปรายงานและวิดีโอทางการของอิหร่านได้ให้หลักฐานในสิ่งที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาพของ น.ส.อามีนีนอนบนเตียงในโรงพยาบาลไม่แสดงสัญญาณของความรุนแรงทางร่างกาย  และเธอไม่เคยถูกทำร้าย ทุบตี หรือทารุณกรรมตามกล่าวกระแสหลักได้นำเสนอ

ทางฝ่ายสอบสวนของอิหร่านยังได้แสดงหลักฐานคือภาพจากกล้องวงจรปิด โดยชี้ให้เห็นว่าการรายงานของชาวตะวันตกถือว่าเป็นคลิปปลอมและปลอมแปลง เหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อปลุกปั่นให้เกิดวุ่นวาย เพราะว่ากล้องวงจรปิด แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงคนหนึ่งกำลังเข้าใกล้กับน.ศ.อามินีและชี้ไปที่ฮิญาบของเธอ อามินีและเจ้าหน้าที่เริ่มขัดแย้งด้วยวาจา หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็หันหลังกลับและปล่อยให้อามินีอยู่ตามลำพังไม่ได้ทุบตีใดๆ แล้วหลังจากนั้นเธอได้ล้มลงและผู้หญิงหลายคนเข้ามาพร้อมเจ้าหน้าที่พาเธอไปโรงพยาบาล

อะไรคือเบื้องหลังของการก่อความวุ่นวายครั้งนี้?และหวังผลทางการเมืองอิหร่านอย่างไร?

หลังจากที่กระแสได้เกิดความวุ่นวายและมีกระประท้วงลามไปเกือบแปดสิบเมือง ทำให้เกิดคำถามมากมายว่า อิหร่านเป็นประเทศบีบบังคับสตรีให้คลุมฮิญาบและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง  ,เจ้าหน้าที่ตำรวจจริยธรรมได้ใช้ความรุนแรงและไม่มีความเป็นมนุษยธรรม? อิหร่านเป็นประเทศปกครองระบอบรัฐศาสนาที่ขัดแย้งกับหลักสากล ล้าหลัง  หรือไปไกลกว่านั้นคือประชาชนเบื่อหน่ายกับระบอบปกครองอิหร่าน และไม่ต้องการรัฐศาสนาหรือการใช้กฎหมายชะรีอะฮ์อีกต่อไป    แต่ทว่าอยากจะวิเคราะห์และค้นหาสาเหตุและเบื้องหลังของเหตุการณ์ครั้งนี้เจริงๆว่าป็นอย่างไรและทำไมได้สร้างกระแสได้มากขนาดนี้? ใครอยู่เบื้องหลัง?หรือเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่อิหร่านเอง?  เราจะค่อยๆมาวิเคราะห์ไปพร้อมๆกันครับ

สมมติฐานที่๑  สร้างกระแสเพื่อกลบข่าวการเดินของปธน.ดร.รออีซี่ไปประชุมที่ อูเอ็น แล้วได้กล่าวถึงการทวงความยุติธรรมต่อการสังหารนายพลกอซิม สุไลมานี ทำให้เกิดกระแสคนทั้งโลกสนใจเรื่องนี้อีกครั้ง   ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังการสังหารกอซิม สุไลมานี คือ สหรัฐฯและอิสราเอล

สมมุติฐานที่ ๒ ต้องการดิสเครดิตรัฐบาลดร.รออีซี่ เป็นพรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยม เพื่อทำลายภาพลักษณ์ว่าเป็นรัฐบาลที่ละเมิดสิทธิสตรีมากที่สุดของรัฐบาลที่ผ่านมา

สมมติฐานที่ ๓ เหตุปัจจัยภายนอกแทรกแซง เพื่อล้มล้างการปกครองรัฐอิสลามในอิหร่าน  โดยกลุ่มจัดตั้งเหล่านั้นได้ก่อหวอตตลอดมา และสหรัฐฯและอิสรอเอลที่ให้การสนับสนุนผู้ประท้วงและปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย

สมมติฐานที่ ๔ กลุ่มสตรีที่ไม่ยอมรับกฎหมายการคลุมฮิญาบแล้วได้ปลุกให้สตรีหันมาต่อต้านรัฐบาลและให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายการคลุมฮิญาบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการปฎิวัติอิสลามปี1979 โดยการนำอิมามโคมัยนี

สมมติฐานที่ ๕ เป็นความผิดพลาดของหน่วยงานรัฐ ตำรวจริยธรรม ที่ใช้การจับคุมและใช้มาตรการรุนแรงเกิดเหตุ ทำให้ประชาชนไม่พอใจและก่อความไม่สงบขึ้น

ท่าทีอิหร่านต่อการก่อจลาจล

อิหร่านก็ไม่รีรอนใช้มาตรการการตอบกลับและเข้าจัดการกับเหตุการณ์ประท้วงในอิหร่านได้อย่างน่าสนใจ  นั่นการรวมพลังมวลชนชาวอิหร่านที่ยังเอาการปฎิวัติและยึดมั่นในหลักกฏหมายอิสลามต่างได้รวมตัวกันหลังละหมาดวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยออกกันมาเดินขบวนบนท้องถนนแล้วกล่าวประณามผู้ก่อความไม่สงบและกลุ่มที่ก่อจลาจลรวมไปถึงแสดงจุดยืนต่อการรักษาฮิญาบ และได้ประณามกลุ่มสตรีที่ได้เผาผ้าคลุม(ฮิญาบ)ซึ่งนั่นคือการลบหลู่หลักการอิสลาม และในวันเสาร์และวันอาทิตย์เป็นวันคล้ายวันวะฟาตเสียชีวิตศาสดาอิสลาม ชาวเตหร่านได้ชุมนุมรวมตัวอีกครั้ง ณ จัตุรัสเสรีภาพ กรุงเตหราน เพื่อแสดงพลังต่อต้านผู้ทำลายความมั่นคงในอิหร่านและประณามกลุ่มผู้ปลุกปั่นให้เกิดความเสียหายจนทำให้เกิดการตายเกิดขึ้นหลายรายและประชาชนส่วนใหญ่ยังได้แสดงจุดยืนต่อการน้อมรับหลักชะรีอะฮ์อิสลามต่อเรื่องฮิญาบและถือว่าหลักการคลุมฮิญาบคืออาภรณ์แห่งเกียรติยศของสตรี  จนดูเหมือนว่าความตึงเคลียดของการเกิดกลุ่มจลาจลและการประท้วงที่ลามไปหลายเมืองในอิหร่านนั้นเริ่มจะคลี่คลายลงนับเป็นสัญญาณที่ดี

ขณะที่ประธานาธิบดีอิหร่าน ซัยยิด อิบรอฮีม ระอีซี ได้แถลงข่าวตอบคำถามเกี่ยวกับการตายของ Mehsa Amini ว่า : ” สาเหตุของปัญหานี้กำลังถูกสอบสวนและค้นหาความจริงและสาธารณรัฐอิสลามจะไม่อนุญาตให้มีการละเมิดสิทธิของใคร ”

ซัยยิด อิบรอฮีม รออีซี่ยังกล่าวอีกว่า: ปีที่แล้วมีคนถูกฆ่าตายในมือตำรวจอเมริกันหลายพันคน ถามว่าปัญหานี้ได้รับการติดตามบ้างหรือไม่ ? ผู้หญิงที่อังกฤษมากกว่า 80 คนเสียชีวิตในมือตำรวจภายใน 28 สัปดาห์ มีใครติดตามประเด็นเหล่านี้บ้าง ? เราไม่อนุญาตให้มีการละเมิดสิทธิของพลเมืองอิหร่านเด็ดขาด ไม่ว่าหน่วยงานภายนอกจะแสดงความคิดเห็นหรือไม่อย่างไรก็ตาม เราจะทำหน้าที่ของเรา และปัญหาสิทธิมนุษยชนไม่ควรถูกมองเป็น2 มาตรฐาน”

ด้านโฆษกส่วนตัวของ อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน เผยว่า ท่านผู้นำสูงสุด อายาตุลลอฮ์ ซัยยิด อะลี คามาเนอี รู้สึกเสียใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และยืนยันว่าความเศร้าเสียใจของครอบครัวอามินีคือความเศร้าเสียใจของอยาตอลเลาะห์ด้วยเช่นกัน

นายอะหมัด วะฮีดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอิหร่าน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้น่าสนใจว่า “เราขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของ น.ส. เมฮ์ซา อามีนี และมั่นใจว่าจะนำผู้ก่อเหตุจรจลและแกนนำที่ก่อความไม่สงบมาสอบสวนค้นหาความจริงอย่างแน่นอน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้กล่าวกร้าวผ่านช่องทางโทรทัศน์อิหร่านว่า” ถ้าหากศัตรูอิหร่านคิดว่าการก่อจราจลครั้งนี้จะทำลายเสถียรภาพของรัฐบาลอิหร่านได้  นั่นคือการคิดผิดและยังเป็นเด็กไร้เดียงสาสิ้นดี”

ในขณะเดียวกันก็เริ่มเห็นท่าทีของสหรัฐอเมริกามากขึ้นเมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯออกมากล่าวว่า เราอาจจะยกเลิกการการคว้ำบาตรต่ออิหร่านในเรื่องอินเตอร์เนต เพื่อให้ประชาชนอิหร่านได้เข้าถึงความจำเป็นพื้นฐานของการดำเนินชิวิต จนทำให้โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านออกมาโต้ตอบทันทีว่า การทำเช่นนี้ของสหรัฐฯ คือการแทรกแซงการบริหารกิจการภายในประเทศอิหร่านและถือเป็นการทำลายระบอบประเทศอย่างไม่ละอายใจ

นายกันอานี โฆษกกระทรวงต่างประเทศได้โพสต์ในทวิตเตอร์ว่า”สหรัฐฯเพียรพยายามอยู่ตลอดเวลาในการทำลายรัฐอิสลามอิหร่านและต้องการทำลายความมั่นคงของอิหร่าน แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ   และสหรัฐฯเองไม่ใช่หรือที่ได้ปฏิบัติการคว้ำบาตรอิหร่านขั้นสูงสุด  แต่วันนี้จะมายกเลิกคว้ำบาตรในปัญหาอินเตอร์เนตที่ทางรัฐบาลได้ตัดสัญญา นั่นคือ การปลุกปั่นและการฉวยโอกาสอย่างไม่อับอายสิ้นดี

หรือสื่อของอิสราเอลได้กล่าวว่า เราขอยืนเคียงข้างกับสตรีอิหร่านที่ได้ลุกขึ้นมาประท้วงและต่อต้านรัฐบาล

จากปรากฏการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อิหร่านอย่างกว้างขวางและนักวิเคราะห์มองว่าอิหร่านถูกท้าทายครั้งใหม่สำหรับแรงต่อต้านของกลุ่มสตรีและการแสดงออกของสตรีอิหร่านทั่วโลก ส่งผลกระทบในหลายด้าน โดยมุ่งเป้าไปที่ภาพลักษณ์ของรัฐบาลซัยยิด อิบรอฮีม รออีซี่ ว่าเป็นรัฐบาลอนุรักษ์นิยมจัด เผด็จการบ้าง ไม่ให้สิทธิสตรีบ้าง หรือสื่อบางสำนักได้โยงกับเหตุการณ์การก่อจลาจลของสตรีครั้งนี้ว่า เป็นเพราะความเข็มงวดเกินไปของกับหน่วยงานตำรวจศิลธรรม(Morality Police)และคือต้นเหตุของเกิดการประท้วงและการเกิดจลาจลลุกลามไปทั่วทั้งประเทศและยังส่งผลไปต่างประเทศที่มีชาวอิหร่านอาศัยและพำนักอยู่ และประชาชนยังได้เรียกร้องให้ปฎิรูปหน่วยงานของตำรวจศิลธรรมนี้โดยด่วน   หรือไปไกลกว่านั้นทำให้ประชาคมโลกมองว่าอิหร่านไม่ได้ปรับตัวเข้ากับสากลและความเป็นรัฐสมัยใหม่ได้ด้วยกับการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม  แม้แต่สื่อกระแสหลักเองพยายามจะโหนกระแสว่ารัฐบาลอิหร่านภายใต้การนำซัยยิด อิบรอฮีม รออีซี่เป็นรัฐบาลที่แข็งกร้าวไม่ประณีประณอม จนก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่เป็นลบให้กับรัฐบาลและต่อรัฐอิสลามในอิหร่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสื่อได้พยายามโยงประเด็นเรื่องสิทธิสตรีและปลุกเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้งเพื่อให้เป็นลบต่ออิหร่าน และยังได้โหนประเด็นเมื่อนักข่าวสาวอเมริกันจะสัมภาษณ์ประธานาธิบดีอิหร่าน มีเงื่อนไขว่าต้องใส่ฮิญาบอะไรทำนองนั้น

หรือมีนักวิเคราะห์มองไปไกลว่ารัฐอิสลามแห่งอิหร่านอยู่ในภาวะอ่อนแอและถดถอย เพราะว่าเกิดกระแสการประท้วงของสตรีหลายเมืองและจากผลของเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ กอรปกับความยากลำบากของประชาชนทำให้กระแสการต่อต้านเพิ่มมากขึ้นภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน และยังโยงไปถึงประเด็นเรื่องการเผาผ้าคลุมว่าเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่และการไม่มีเสรีภาพ   หรือกล่าวว่าคนรุ่นใหม่ไม่เอาการปฎิวัติอีกต่อไปหรือมองว่าคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่กำลังเบื่อหน่ายกับอิสลามการเมืองที่ได้ปฎิวัติขึ้นปี ค.ศ.1979 หรือได้มองว่าสิทธิและเสรีภาพของสตรีไม่มีอยู่จริงในรัฐอิสลามอิหร่าน

ในขณะที่อีกมุมหนึ่งของอิหร่านได้สะทอ้นในเรื่องนี้น่าสนใจว่าเหตุปัจจัยสำคัญ นั่นคือต้องการทำลายรัฐอิสลามแห่งอิหร่านต่างหาก ด้วยการร่วมมือของฝ่ายสื่อกระแสหลักที่อยู่ในมือของศัตรูอิหร่านที่ได้เพียรพยายามทุกวิถีทางอยู่แล้วและครั้งนี้ใช้ชื่อของ Miss Mehsa Amini เป็นข้ออ้างเพื่อไปถึงเป้าหมายใหญ่นั่นคือล้มล้างระบอบสารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และถ้าย้อนดูบทบาทของสตรีในอิหร่านจะพบว่า   สถานะของผู้หญิงอิหร่านนั้นกล่าวได้ว่า ดีกว่าบรรดาผู้หญิงในประเทศแถบตะวันออกกลางทั้งหมดก็ว่าได้ ในด้านการศึกษา อิหร่านได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดในการยกระดับการศึกษาของผู้หญิง ลดช่องว่างของหญิงชายในด้านการศึกษา ในด้านแรงงาน อิหร่านมีผู้หญิงที่ทำงานเป็นข้าราชการถึงหนึ่งในสามของจำนวนข้าราชการทั้งหมด มีผู้หญิงรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกต่างๆนับร้อย และในการเลือกตั้งท้องถิ่นในปี 1999 มีผู้หญิงถึง 5,000 คนลงสมัครรับเลือกตั้ง และในจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้นำท้องถิ่นถึง 300 คน

ยิ่งไปกว่านั้นความเปลี่ยนแปลงในสถานะของผู้หญิงอิหร่านก็กำลังเพิ่มขึ้นทุกขณะ หลังปี 1997 เป็นต้นมา โดยเฉพาะในสมัยของประธาธิบดีคาตามีเขาได้ประกาศต่อชาวโลก ถึงความพยายามที่จะยกระดับสถานะของสตรีอิหร่าน ขจัดระบบเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิง และรวมถึงมีการแต่งตั้งผู้หญิงขึ้นเป็นรองประธานาธิบดีอีกด้วย สารคดีบทนี้จึงมุ่งเสนอภาพของผู้หญิงอิหร่าน จากมุมมองปัจจุบันที่ทีมวิจัยได้เดินทางไปพบเห็น และมีโอกาสได้สัมภาษณ์พูดคุยกับผู้หญิงอิหร่านจำนวนมาก ในช่วงปีพ.ศ. 2544 จากแง่มุมต่างๆ ทั้งในแง่ของชีวิตครอบครัว การศึกษา เศรษฐกิจ และการเมือง(ผู้หญิงอิหร่าน: https://www.sarakadee.com/feature/2003/03/iranian_women.htm) และเชื่อเหลือเกินว่าการก่อจลาจลในครั้งนี้นั้น มีประเทศมหาอำนาจแทรกแซงและเสี้ยมให้ชาวอิหร่านลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลของตนเอง เพื่อสะท้อนว่าชาวอิหร่านเบื่อหน่ายกับระบอบอิสลามและรัฐอิสลาม.

 

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *