jos55 instaslot88 Pusat Togel Online กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS) กับความท้าทาย ต่อวิกฤตการณ์ด้านอาหารและความยากจน - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS) กับความท้าทาย ต่อวิกฤตการณ์ด้านอาหารและความยากจน

คอลัมน์ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ

ทหารประชาธิปไตย

กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS) กับความท้าทาย

ต่อวิกฤตการณ์ด้านอาหารและความยากจน

กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS) ประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และอาฟริกาใต้ มีจำนวนประชากรกว่า 40% ของประชากรโลก และมีขนาดเศรษฐกิจ 20% ของ GDP โลก

            นอกจากนี้กลุ่มประเทศดังกล่าวยังผลิตธัญพืช เพื่อเป็นอาหารโลกมากกว่า 1 ใน 3 แม้ว่าบางประเทศจะมีจำนวนประชากรมาก เช่น อินเดีย จีน ที่ผลผลิตถูกบริโภคภายในประเทศเป็นจำนวนมากก็ตาม

อนึ่งกลุ่มประเทศ BRICS ยังถูกตั้งความหวังว่าจะเป็นประเทศที่จะเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความอดอยากและความยากจนในทศวรรษ 2030 ตัวอย่างเช่น รัสเซีย กลายเป็นผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่ให้กับประเทศยากจนในอาฟริกา อย่างไรก็ตามในกลุ่ม BRICS นี้อาฟริกาใต้ดูจะติดตามความก้าวหน้าของกลุ่มอันดับท้าย และอาจจะต้องการความช่วยเหลือจากภายนอกในการพัฒนาเศรษฐกิจของตนเอง

            ทว่าในภาพรวม BRICS ถูกจับตามองถึงความสำเร็จในการพัฒนาและความก้าวหน้าในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะจีนและรัสเซีย ที่สามารถยืนหยัดในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางการแซงก์ชั่นหรือการทำสงครามการค้าจากตะวันตก เช่น สหรัฐฯ

Carlos Watson ผู้แทนขององค์การอาหารและการเกษตร (FAO) ที่ประจำอยู่ที่ประเทศจีน ได้ให้สัมภาษณ์กับโกลบัลไทม์ สื่อภาษาอังกฤษของจีน ก่อนที่จะมีการประชุม BRICS ในวันพฤหัสที่ผ่านมา ซึ่งก็ใกล้เคียงกับการประชุมใหญ่ EU และ NATO ที่จะมีการประชุมสุดยอดในสิ้นเดือนนี้เช่นกัน

Watson กล่าวว่าในช่วงหลังจากการแพร่ระบาดของโควิดนี้ FAO กำลังเฝ้าติดตามความร่วมมือที่เข้มแข็งของ BRICS ในด้านเกษตรกรรมและอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันองค์ความรู้ ตลอดจนผลผลิตให้แก่ประเทศอื่นๆในโลก

            Watson กล่าวว่าเขามีความประทับใจต่อการประชุมของ BRICS ครั้งที่ 12 ที่ผ่านมาในช่วงต้นเดือนมิถุนายน คือการประชุมระดับรัฐมนตรี ก่อนมีการประชุมสุดยอดผู้นำที่ประเทศจีนในวันพฤหัสฯที่ 22 มิถุนายน

ทั้งนี้เพราะได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเชิงลึกในระหว่างสมาชิก BRICS ในแนวทางปฏิบัติโดยความร่วมมือด้านการเกษตรกรรม และการพัฒนาชนบท โดยให้ความสำคัญต่อการสร้างความมั่นใจต่อความมั่นคงด้านอาหารและการลดความยากจน และอื่นๆ

แม้ว่าที่ผ่านมาสื่อตะวันตกจะนำเสนอในด้านลบต่อความสำเร็จของกลุ่ม BRICS แต่ Watson เชื่อว่าประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายต่างก็ให้ความสนใจติดตามรูปแบบในการร่วมมือ และพัฒนาด้านการเกษตรของกลุ่มนี้มาตลอดช่วงหลายสิบปีมานี้ เพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนา

วัตสัน ยังกล่าวว่า กลุ่ม BRICS มีประสบการณ์และองค์ความรู้ในการเร่งรัดพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นเป้าหมายของ UN ในการตั้งเป้าพัฒนาอย่างยั่งยืน

จากตัวเลขของ UN อัตราความยากจนของโลกอยู่ในระดับ 17.2% ในขณะที่การพัฒนาในเมืองเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ตัวในช่วงเวลาเดียวกัน

การเร่งรัดพัฒนาชนบทต้องมีการผสมผสานกันระหว่างการพัฒนาทางการเกษตรกรรม และในภาคเศรษฐกิจที่ไม่ใช่ภาคเกษตรกรรม เพื่อยกระดับการตลาดของเกษตรกร และการปกป้องทางสังคมต่อคนในชนบท

ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการนำเอาเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆในทางเกษตรกรรมไปสนับสนุนภาคชนบท เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตของภาคชนบทในกลุ่มสมาชิกBRICSและยังเผยแพร่ประสบการณ์ไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ

            ในหมู่สมาชิกประเทศจีนได้ให้ความร่วมมือเผยแพร่ประสบการณ์ต่างๆในการเร่งรัดพัฒนาชนบท โดยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ FAO และ UN และองค์กรอื่นๆของ UN หรือการร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่างจีน สมาชิก BRICS และ UN ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายของ UN ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และขจัดความยากจนในทุกรูปแบบแก่ประชากรทั่วโลก

ในอดีตเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำสงครามประชาชนกับรัฐบาลก๊กมินตั๋งของ เจียง ไคเชก ประธานเหมา เจ๋อตุง ได้ประกาศว่าใครก็ตามที่มาร่วมกับกองทัพประชาชน เราให้สัญญาว่าพรุ่งนี้ท่านจะมีข้าวกิน

คำกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าประชากรชาวจีนส่วนมากในอดีต มีความเป็นอยู่ที่ยากแค้น จนแม้แต่ข้าวที่เป็นอาหารหลักก็ยังไม่รู้ว่าจะมีกิน หรือไม่ในวันพรุ่งนี้

ปัจจุบันจีนมีประชากรประมาณ 1300 ล้านคน ปัญหาการสร้างความมั่นคงทางอาหาร จึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่ท้าทายรัฐบาลจีน ดังนั้นรัฐบาลจีน จึงกระตือรือร้นอย่างมากที่จะพยายามสร้างการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงด้านอาหารให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจนกว่าจะขจัดความยากจนให้หมดไป

จะเห็นได้ว่าจีนใช้ผืนดินหนึ่งในสิบของโลก เพื่อทำการผลิตธัญพืช ถึงหนึ่งในสี่ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของโลก และใช้ผลิตภัณฑ์นั้นเลี้ยงประชากรหนึ่งในห้าของประชากรโลก

ดังนั้นองค์ความรู้ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจีนจึงถือได้ว่าเป็นขุมทรพัย์สำคัญที่ได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้วในทางปฏิบัติในการพัฒนาประเทศจีน

ท่ามกลางวิกฤตการณ์ของการแพร่ระบาดโควิด-19 และปัญหาการสู้รบในยูเครนอันนำไปสู่การแซงก์ชั่นการค้า-การเงิน ต่อรัสเซีย จนนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ปุ๋ย และพลังงาน

ทำให้ประชากรโลกมีอัตราอดอยากขาดแคลนอาหารในระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตกกังวล ในปีค.ศ.2022 รายงานของ UN เกี่ยวกับวิกฤตการณ์อาหาร มีผลกระทบต่อประชากรประมาณ 193¥ ล้านคน ซึ่งไม่มีความมั่นคงทางอาหาร และต้องการความช่วยเหลือโดยรีบด่วน ซึ่งผลกระทบนี้กระจายไปสู่ 53 ประเทศ หรือ เขต ซึ่งเป็นอัตราที่น่าตกใจเพราะในปีค.ศ.2020 มีประชากรกลุ่มเสี่ยงเพียง 40 ล้านคนเท่านั้น

อนึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ได้ถูกซ้ำเติมโดยการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศอันเกิดจากภาวะโลกร้อน ที่มนุษย์โลกยังไม่ตระหนักถึงมหันตภัย โดยต่างก็ปล่อยปละละเลยไม่ปกป้องเท่าที่ควร

ประเทศไทยแม้จะเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารมาเป็นระยะเวลานาน แต่ความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาส่งผลให้ภาคการเกษตรต้องรับภาระที่ถูกกดันจากนโยบายของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย นั่นคือกดราคาพืชผลเพื่อไปเลี้ยงแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อทำให้ค่าแรงงานถูก

แต่ภาวการณ์นี้กำลังจะเปลี่ยนไป ภาคการเกษตรที่ส่วนใหญ่เป็นภาคที่ยากจนในอดีต กำลังจะหมดกำลังลงในการผลิตอาหารเลี้ยงประชากรในประเทศ ด้วยระบบตลาดที่ผู้ซื้อมีอำนาจผูกขาดในขณะที่วัสดุอุปกรณ์ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และอื่นๆ ก็ถูกผูกขาด ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนต่ำ แต่ต้นทุนสูงขึ้นมาโดยตลอด

หากรัฐบาลไม่ปรับนโยบายแบบ 360 องศา เพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรในการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน และแก้ปัญหาความยากจนอย่างจริงจัง สุดท้ายการเป็นประเทศส่งออกอาหารของไทย อาจเกิดปัญหาทางแยก 2 แพร่ง คือมีการส่งออกอาหาร ในขณะที่ประชาชนบางส่วนโดยเฉพาะคนยากจน จำนวนมากขาดแคลนอาหาร และไม่มีความมั่นคงในด้านนี้

การท่องคาถาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นเพียงมายาคติที่น่าจะตระหนักได้แล้วว่า มันไม่อาจแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาความยากจนของคนส่วนใหญ่ และปัญหาการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *