เส้นทางสายไหม
เส้นทางสายไหม
รศ.สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย
ตั้งแต่ปลายปีค.ศ. 1978 เป็นต้นมา นโยบายเศรษฐกิจของประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากการขับเคลื่อนโดยการวางแผนส่วนกลางและมีระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างปิดสู่การปฏิรูปและเปิดประเทศทางเศรษฐกิจโดยอาศัยกลไกตลาดมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจของจีนนี้ประสบผลงดงาม ตั้งแต่ปีค.ศ. 1980 จนถึงปัจจุบัน เศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวในอัตราสูง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปีราวร้อยละ 10 เป็นเวลานานกว่าสามทศวรรษ และสามารถแซบหน้าประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่หลายประเทศ จนขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก มีขนาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกในปัจจุบัน และคาดว่าจะมีขนาดเศรษฐกิจโดยรวมใหญ่ที่สุดในโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าหรือก่อนปีค.ศ. 2030 (ขนาดเศรษฐกิจรวมของประเทศนี้วัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติในราคาตลาด แต่ถ้าวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติด้วยกำลังซื้อของเงิน จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกตั้งแต่ปีค.ศ. 2015 เป็นต้นมาแล้ว)
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีอัตราการขยายตัวที่สูงมากมาเป็นเวลาสามทศวรรษ เศรษฐกิจจีนได้ชะลอตัวลงไปตามลำดับในทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลจีนจึงได้ริเริ่มนโยบายที่มีผลส่งเสริมการลงทุน การบริโภค และการส่งออกเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
หนึ่งในนโยบายของรัฐบาลจีนที่มีการกล่าวขวัญกันมากก็คือแผน’หนึ่งแถมหนึ่งทาง’(一带一路 )ซึ่งเดิมแปลเป็นภาษาอังกฤษว่าOne Belt One Road แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น Belt and Road Initiative: BRI เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่นานาประเทศ ทั้งนี้เพราะเส้นทางสายไหมที่เรียกกันว่าหนึ่งแถบ(一带One Belt)นั้น หมายถึง’แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม’(丝绸之路经济带)ที่เชื่อมโยงประเทศจีนกับประเทศต่างๆในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกไปถึงทวีตยุโรปซึ่งเป็นเส้นทางSomsak.tambunlertchai@gmail.comทางบก ส่วนคำว่าหนึ่งทาง(一路 One Road)นั้นหมายถึงเส้นทางทางน้ำหรือทางทะเล(水路หรือ海路) ที่รัฐบาลจีนเรียกว่า’เส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21’(二十一世纪海上丝绸之路) ที่เริ่มจากจีนไปตามเส้นทางการเดินเรือในมหาสมุทรต่างๆตั้งแต่มหาสมุทรแปซิฟิก(太平洋)ทางใต้ซึ่งเชื่อมโยงกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(东南亚)ไปถึงประเทศต่างๆในมหาสมุทรอินเดีย(印度洋)และมหาสมุทรแอตแลนติก(大西洋) รวมหลายสิบประเทศ
เส้นทางสายไหมเป็นแผนการที่รัฐบาลจีนริเริ่มขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆทั่วโลกทั้งทางบกและทางทะเล ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง(习近平)ของจีนได้ประกาศแนวคิดเรื่องเส้นทางสายไหมนี้ในเดือนกันยายน ค.ศ.2013 ในระหว่างที่เยือนประเทศคาซักสถาน(哈萨克)ซึ่งเขาได้กล่าวถึงแนวความคิดแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม(丝绸之路经济带)และในเดือนต่อมา ในระหว่างการเยือนประเทศอินโดนิเซีย เขาก็ได้เสนอแนวคิดเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 (二十一世纪海上丝绸之路)ตั้งแต่ปลายปีค.ศ.2013 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายเส้นทางสายไหมหนึ่งแถบหนึ่งทางอย่างเป็นทางการและมีการดำเนินโครงการต่างๆเพื่อสนับสนุนนโยบายนี้
เส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเล เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณในเวลากว่า 2000 ปีมาแล้ว กล่าวกันว่า เส้นทางสายไหมทางบกที่เชื่อมโยงจีนกับประเทศต่างๆทางทิศตะวันตกของจีนได้เกิดขึ้นในราชวงศ์ฮั่น(汉)ในรัชสมัยของฮั่นอู่ตี้(汉武帝)ซึ่งรัฐชนเผ่าซงหนู(匈奴)ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มักส่งกองกำลังทหารมารุกรานปล้นสดมภ์ในจีน กษัตริย์อู่ตี้จึงแต่งตั้งให้จางเชียน(张骞)นำคณะไปผูกความสัมพันธ์กับชนเผ่าอื่นๆที่อยู่ทางทิศตะวันตกของจีนมาเป็นแนวร่วมเพื่อต่อสู้กับชนเผ่าซงหนู
จางเชียนและคณะได้ออกเดินทางจากเมืองหลวงฉางอาน(长安)ในปีก่อนค.ศ. 139 ปี แต่คณะของเขาก็ถูกชนเผ่าซงหนูจับกุมระหว่างทางและถูกกักขังไว้เป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงสามารถหนีรอดออกมาได้และเดินทางต่อไปเยือนรัฐต่างๆที่อยู่ทางทิศตะวันตกของจีน
จนถึงก่อนค.ศ.126ปี จางเชียนจึงได้กลับสู่เมืองฉางอานพร้อมผู้ติดตามที่เหลืออยู่เพียงคนเดียว แต่ในช่วงเวลาหลายปีที่เขาเดินทางอยู่ในเขตปกครองต่างๆของชนเผ่าที่อยู่ทางภาคตะวันตกของจีน เขาก็ได้เห็นสภาพภูมิประเทศและขนบธรรมเนียมประเพณีของรัฐชนเผ่าต่างๆซึ่งมีความแตกต่างกับจีน ทำให้คนจีนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐต่างๆในทิศตะวันตกของจีนมากขึ้น
ในปีก่อนค.ศ.119 หลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นมีชัยชนะในการสู้รบกับเผ่าซงหนูได้ระดับหนึ่งแล้ว ก็ได้แต่งตั้งให้จางเชียนนำคณะไปเยือนรัฐต่างๆทางตะวันตกของจีนอีกครั้งหนึ่ง ในการเดินทางครั้งนี้ คณะของจางเชียนได้นำของกำนัลและสินค้าไปด้วยเป็นจำนวนมาก และเมื่อกลับมาถึงประเทศจีน ก็ได้นำสิ่งของต่างๆ เช่นผลิตผลการเกษตร ม้าพันธุ์ดี หัตถกรรมและสินค้าอี่นๆที่ผลิตในรัฐต่างๆที่เชาไปเยือนกลับมาด้วย การเดินทางของคณะจางเชียนในครั้งที่สองนี้ประสบความสำเร็จเพราะเมื่อรัฐต่างๆรับทราบถึงความเจริญของประเทศจีน ก็มีความยินดีที่จะมีความสัมพันธ์และมีความสวามิภักดิ์ต่อจีน ในเวลาต่อมาราชวงศ์ฮั่นก็ได้สถาปนามณฑลการปกครองภาคตะวันตก(西域都护府)ขึ้น บรรดาพ่อค้าและประชาชนจีนจึงมีความสัมพันธ์กับรัฐต่างๆในเขตตะวันตกของประเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเส้นทางที่เชื่อมโยงออกไปรัฐต่างๆในภาคตะวันตกของจีนก็ได้กลายเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญในการค้าขายและการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมระหว่างจีนกับเขตการปกครองอื่นๆในภูมิภาคนี้ และถูกขนานนามเป็นเส้นทางสายไหมในเวลาต่อมา
คำว่า’เส้นทางสายไหม’นี้ ที่จริงไม่ใช่มีเพียงเส้นทางเดียว แต่มีหลายเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างประเทศจีนกับประเทศต่างๆ เส้นทางสายไหมทางบกเหล่านี้มีความยาวหลายพันกิโลเมตร บางช่วงต้องผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย ที่ราบสูงและป่าทึบ การขนส่งสินค้าจากจีนไปยังเขตต่างๆระหว่างทางจนถึงทวีปยุโรปต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นแรมปี สินค้าที่มีการซื้อขายกันก็มีอยู่หลายชนิด โดยผ้าไหมเป็นเพียงหนึ่งในสินค้าเท่านั้น สินค้าที่นำออกจากจีนสู้เขตต่างๆที่สำคัญมีผ้าไหม ใบชา เครื่องปั้นดินเผา หยก ผลิตผลการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางหัตถกรรมและสินค้าอื่นๆ ส่วนสินค้าที่นำกลับเข้าจีนก็มีอยู่หลากหลายประเภท เช่นพืชผลการเกษตร สมุนไพร ผ้าฝ้าย อัญมณีและอื่นๆ
เนื่องจากกองคาราวานพ่อค้าต้อบเดินทางไปในเส้นทางที่มีความยากลำบากในการเดินทาง สินค้าจากจีนเมื่อถึงปลายทางจึงมีราคาสูงมาก และพ่อค้าก็มีกำไรสูงคุ้มค่ากับความเหนื่อยยาก ในทำนองเดียวกัน สินค้าที่มีการนำเข้ากลับมาจีนก็มีราคาที่สูงกว่าราคาในแหล่งกำเนิดมาก แม้ต้องเดินทางด้วยความยากลำบาก แต่ก็มีผู้ร่วมทำการค้าทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติอยู่เป็นจำนวนมาก
เส้นทางสายไหมนอกจากเป็นเส้นทางการค้าขายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นเส้นทางการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การเผยแพร่ศาสนา และการถ่ายทอดวิทยาการระหว่างจีนกับประเทศต่างๆทางตะวันตก ผู้คนที่ไปมาหาสู่กันนอกจากพ่อค้าแล้ว ก็ยังมีช่างฝีมือ นักผจญภัยและผู้เผยแพร่ศาสนา เส้นทางสายไหมนี้จึงเอื้อประโยชน์ต่อการติดต่อเชื่อมโยงทั้งทางด้านการค้า การเผยแพร่ศาสนา การถ่ายทอดความรู้และความคิดวิทยาการ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับประเทศอื่นตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา
หลังจากราชวงศ์ฮั่น เส้นทางสายไหมก็ยังคงเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญในการเชื่อมโยงประเทศจีนกับประเทศต่างๆ ในสมัยราชวงศ์ถัง(唐)การค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างจีนกับชนชาติอื่นๆมีความคึกคักมาก มีพ่อค้าและประชาชนชนชาติอื่นทั้งจากยุโรป เอเชียกลางและชาวอาหรับเข้ามาทำการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศจีนเป็นจำนวนมาก และบ้างก็มีการอาศัยและตั้งรกรากในประเทศจีนเลย
ทางด้านการแลกเปลี่ยนทางวิทยาการ กล่าวกันว่า เทคโนโลยีการทอผ้า การพิมพ์ การทำกระดาษ ดินปืน การผลิตเครื่องโลหะ ตลอดจนวิธีการเพาะปลูกได้มีการถ่ายทอดจากจีนไปสู่ประเทศตะวันตก ในขณะที่ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วิชาการแพทย์ ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนวิธีการผลิตสินค้าต่างๆในชาติตะวันตกก็ได้มีการเผยแพร่จากชาติตะวันตกสู่จีนเช่นกัน
หลังจากสมัยราชวงศ์ถัง การเดินเรือทางทะเลมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น ประกอบกับสภาวะการเมืองการปกครองของชนชาติต่างๆทางตะวันตกของจีนเกิดการเปลี่ยนแปลง การเดินทางค้าขายเและการติดต่อสัมพันธ์ทางด้านอื่นระหว่างรัฐต่างๆตามเส้นทางสายไหมทางบกนี้ได้ซบเซาลง แต่ในอีกด้านหนึ่ง เส้นทางสายไหมทางทะเลก็มีการพัฒนามากขึ้น
ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เส้นทางสายไหมทางทะเลเริ่มเกิดขึ้นในสมัยใด กล่าวกันว่า ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน(秦)และฮั่น(汉)เมื่อเวลากว่า 2000 ปีก่อน ประเทศจีนก็มีการติดต่อทางทะเลกับชาติอื่นๆทานตะวันออกแล้ว ในราชวงศ์ฉิน ฉินซีฮ่องเต้(秦始皇)ได้ส่งคณะออกเดินทางจากทะเลทางด้านตะวันออกของจีน เพื่อไปค้นหาอายุวัฒนะ และในสมัยราชวงศ์ถัง ก็มีการติดต่อกันระหว่างจีนกับญี่ปุ่น โดยจักรพรรดิญี่ปุ่นในสมัยนั้นได้ส่งมกุฏราชกุมารนำคณะมาศึกษาอารยธรรมและวัฒนธรรมจีน และญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากจีนตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา แต่ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง(明)และชิง(清) กษัตริย์จีนส่วนใหญ่มีแนวความคิดปิดประเทศ และมีคำสั่งห้ามไม่ให้พ่อค้าประชาชนทำการติดต่อกับชาติอื่นๆทางทะเล การติดต่อค้าขายและการแลกเปลี่ยนอื่นๆตามเส้นทางสายไหมทางทะเลจึงได้หยุดชะงักไป
อย่างไรก็ตาม ในต้นราชวงศ์หมิง กษัตริย์ได้มอบหมายให้เจิ้งเหอ(郑和)นำกองเรือขนาดใหญ่ออกเดินทางจากจีนสู่ประเทศต่างๆทางทะเลหลายครั้งในเวลารวมหลายสิบปี แต่หลังจากนั้น รัฐบาลจีนก็มีคำสั่งห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อค้าขายและประกอบธุรกรรมอื่นทางทะเลอีกเป็นเวลานาน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศอื่นๆในทิศตะวันออกและทางใต้ที่เป็นเส้นทางทางทะเลอย่างจึงได้หยุดชะงักลงไปจนถึงตอนปลายราชวงศ์ชิง ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ยังมีประชาชนบางส่วนที่ลักลอบออกสู่ทะเลไปทำมาหากิน และตั้งรกรากในที่ต่างๆ ทั้งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และในที่อื่นๆ
เช่นเดียวกับเส้นทางสายไหมทางบก เส้นทางสายไหมทางทะเลก็มีส่วนสำคัญต่อการติดต่อค้าขาย การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การเผยแพร่ศาสนาและการถ่ายทอดความรู้วิทยาการระหว่างจีนกับประเทศอื่นสินค้าหลายชนิด เช่น ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผาใบชา ยาสมุนไพรหยก เครื่องเงินเครื่องทองและผลิตผลการเกษตร มีการส่งออกจากจีนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในขณะที่เครื่องเทศ พืชผลและผลไม้เมืองร้อน อัญมณี งาช้าง และสินค้าอื่นๆที่ผลิตในประเทศต่างๆในแถบตะวันออกและทางใต้ของจีน ก็มีการส่งไปขายในประเทศจีนมากขึ้น ในช่วงเวลาที่จีนมีปัญหาทางการเมือง หรือมีภัยธรรมชาติ ก็มีชาวจีนเดินทางออกไปลี้ภัยหรือไปทำมาหากินในประเทศอื่นๆผ่านเส้นทางทางทะเลมากขึ้น ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในที่อื่นๆ รวมทั้งในทวีปออสเตรเลีย และอเมริกาทางเหนือ กลางและใต้จึงมีคนจีนที่อพยพไปอยู่เป็นจำนวนมาก
การรื้อฟื้นแนวความคิดเส้นทางสายไหมนี้ เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลจีนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ ที่การค้า การลงทุนระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น การเชื่อมโยงจีนกับประเทศต่างๆทั่วโลกผ่านเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเลนี้มีผลในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมตลอดจนการติดต่อสื่อสารกับองค์กร สถานประกอบการและประชาชนในประเทศต่างๆตามทางในยุคปัจจุบัน
ตั้งแต่มีการประกาศแผนเส้นทางสายไหมในปีค.ศ.2013 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนที่มีการจัดประชุมนานาชาติหลายครั้ง และมีการเผยแพร่เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนี้จำนวนมาก โดยชี้ให้เห็นว่า เส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเล แม้มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีน และสามารถส่งเสริมความเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆตามเส้นทาง เป็นประโยชน์ต่อทั้งจีนและประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาลจีนได้ใช้คำขวัญ ‘ร่วมปรึกษา ร่วมสร้าง และได้ประโยชน์ร่วมกัน’(共商、共建、共享)ซึ่งหมายความว่าแผนเส้นทางสายไหมนี้แม้จะเป็นแผนหรือโยบายที่เริ่มโดยจีน แต่ประเทศอื่นๆก็มีส่วนร่วม ในการส่งเสริมด้วย
เช่นเดียวกันกับเส้นทางสายไหมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เส้นทางสายไหมในปัจจุบันได้ครอบคลุมการเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆหลายด้าน ที่รัฐบาลจีนกล่าวถึงมีอยู่ห้าด้านคือ การเชื่อมโยงทางนโยบาย การสร้างสิ่งสาธารณูปโภค การค้า
เช่นเดียวกับเส้นทางสายไหมทางบก เส้นทางสายไหมทางทะเลก็มีส่วนสำคัญต่อการติดต่อค้าขาย การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การเผยแพร่ศาสนาและการถ่ายทอดความรู้วิทยาการระหว่างจีนกับประเทศอื่นสินค้าหลายชนิด เช่น ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผาใบชา ยาสมุนไพรหยก เครื่องเงินเครื่องทองและผลิตผลการเกษตร มีการส่งออกจากจีนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในขณะที่เครื่องเทศ พืชผลและผลไม้เมืองร้อน อัญมณี งาช้าง และสินค้าอื่นๆที่ผลิตในประเทศต่างๆในแถบตะวันออกและทางใต้ของจีน ก็มีการส่งไปขายในประเทศจีนมากขึ้น ในช่วงเวลาที่จีนมีปัญหาทางการเมือง หรือมีภัยธรรมชาติ ก็มีชาวจีนเดินทางออกไปลี้ภัยหรือไปทำมาหากินในประเทศอื่นๆผ่านเส้นทางทางทะเลมากขึ้น ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในที่อื่นๆ รวมทั้งในทวีปออสเตรเลีย และอเมริกาทางเหนือ กลางและใต้จึงมีคนจีนที่อพยพไปอยู่เป็นจำนวนมาก
การรื้อฟื้นแนวความคิดเส้นทางสายไหมนี้ เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลจีนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ ที่การค้า การลงทุนระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น การเชื่อมโยงจีนกับประเทศต่างๆทั่วโลกผ่านเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเลนี้มีผลในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมตลอดจนการติดต่อสื่อสารกับองค์กร สถานประกอบการและประชาชนในประเทศต่างๆตามทางในยุคปัจจุบัน
ตั้งแต่มีการประกาศแผนเส้นทางสายไหมในปีค.ศ.2013 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนที่มีการจัดประชุมนานาชาติหลายครั้ง และมีการเผยแพร่เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนี้จำนวนมาก โดยชี้ให้เห็นว่า เส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเล แม้มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีน และสามารถส่งเสริมความเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆตามเส้นทาง เป็นประโยชน์ต่อทั้งจีนและประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาลจีนได้ใช้คำขวัญ ‘ร่วมปรึกษา ร่วมสร้าง และได้ประโยชน์ร่วมกัน’(共商、共建、共享)ซึ่งหมายความว่าแผนเส้นทางสายไหมนี้แม้จะเป็นแผนหรือโยบายที่เริ่มโดยจีน แต่ประเทศอื่นๆก็มีส่วนร่วม ในการส่งเสริมด้วย
เช่นเดียวกันกับเส้นทางสายไหมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เส้นทางสายไหมในปัจจุบันได้ครอบคลุมการเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆหลายด้าน ที่รัฐบาลจีนกล่าวถึงมีอยู่ห้าด้านคือ การเชื่อมโยงทางนโยบาย การสร้างสิ่งสาธารณูปโภค การค้า การลงทุน และเชื่อมความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประชาชนในประเทศต่างๆ(五通:政策沟通、设施联通、贸易畅通、资金融通、民心相通)
นอกจากแผนเส้นทางสายไหมแล้ว รัฐบาลจีนยังได้ริเริ่มนโยบายและมาตรการอื่นๆที่มีส่วนสนับสนุนแผนนี้ เช่น มีการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน(亚洲基础设施建设投资银行 Asian infrastructure Investment Bank: AIIB)ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมถือหุ้นด้วยหลายสิบประเทศ และจัดตั้งกองทุนสายไหม(丝路基金 Silk Road Fund)ขึ้นในปีค.ศ. 2014 เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนที่จะสนับสนุนทางด้านเงินทุนอีกด้วย
ปฎิเสธไม่ได้ว่า แผนเส้นทางสายไหมเป็นนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อประเทศจีนในหลายด้าน การดำเนินการในโครงการต่างๆตามแผนนี้ ทำให้จีนสามารถการขายสินค้าหลายชนิดที่ผลิตในประเทศได้มากขึ้น ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมหลายประเภทของจีนมีกำลังการผลิตส่วนเกิน เช่น เหล็กกล้า ถ่านหิน โซล่าเซลล์ และสินค้าบริโภคชนิดต่างๆจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศ การค้า การลงทุนและการก่อสร้างในโครงการตามแผนเส้นทางสายไหม จะสร้างโอกาสให้จีนมีแหล่งระบายสินค้ามากขึ้น วิสาหกิจของจีนทั้งกิจการการก่อสร้าง การผลิต การค้า และการเงิน จะทำการค้าขายลงทุนในประเทศต่างๆได้สะดวกขึ้น และจีนก็สามารถออกไปลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ และสิ่งสาธารณูปโภคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับแผนนี้ ซึ่งย่อมเป็นประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งยังทำให้จีนสามารถจัดหาพลังงานและวัตถุดิบอื่นๆที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ด้วย การให้เงินกู้ในโครงการที่เกี่ยวข้องนี้ ยังทำให้จีนซึ่งมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถใช้เงินทุนเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ได้เต็มที่ได้มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ หากแผนเส้นทางสายไหมประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และมีผลทำให้ประเทศต่างๆตามเส้นทางมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้น ประเทศเหล่านี้ก็จะกลายเป็นลูกค้าที่มีกำลังซื้อสินค้าและบริการที่ส่งออกจากประเทศจีนมากขึ้น
มีนักวิชาการบางคนได้เทียบเคียงแผนเส้นทางสายไหมกับแผนมาแชล(Marshall Plan)ของสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งรัฐบาลอเมริกาได้ไช่วยเหลือประเทศต่างๆในทวีปยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจขึ้นมาได้โดยรวดเร็ว และกลายเป็นแหล่งการค้าและการลงทุนที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจอเมริกาในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม แผนเส้นทางสายไหมกับแผนมาแชลมีความแตกต่างกัน แผนมาแชลให้ความความช่วยเหลือแก่ประเทศพันธมิตรในยุโรปที่ถูกทำลายจากสงคราม ในขณะที่แผนเส้นทางสายไหมไม่ใช่การช่วยเหลือประเทศพันธมิตร และมีพื้นที่ครอบคลุมที่กว้างกว่า แม้เงินทุนที่ใช้ในโครงการตามเส้นทางสายไหมส่วนใหญ่มาจากจีน แต่ประเทศอื่นๆก็มีส่วนร่วมด้วย และเงินทุนมีลักษณะเป็นเงินกู้ ไม่ใช่เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า
ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีผู้เห็นว่า แผนเส้นทางสายไหม เป็นนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลจีนที่มุ่งหวังทำให้จีนสามารถแผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองไปยังภูมิภาคต่างๆของโลกมากขึ้น ทำให้ประเทศอื่นๆต้องพึ่งพาจีนทางเศรษฐกิจ การเมือง และแม้กระทั่งทางความมั่นคงมากขึ้น ทั้งนี้เพราะจีนมีพละกำลังที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆที่มีส่วนร่วมตามแผนเส้นทางสายไหมนี้
หลังจากที่โครงการตามแผนเส้นทางสายไหมดำเนินการได้ระยะหนึ่งแล้ว ก็มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่คุ้มค่าด้านเศรษฐกิจของโครงการการก่อสร้างและการลงทุนต่างๆที่เกี่ยวข้อง และเห็นว่าโครงการเหล่านี้เหล่านี้เอื้อประโยชน์ต่อจีนมากกว่าต่อประเทศที่เป็นเจ้าของพื้นที่ เช่น การลงทุนในอุตสาหกรรมที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของจีน ซึ่งประเทศที่รับการลงทุนได้ผลประโยชน์ไม่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยเงินกู้จากจีน ทำให้ประเทศเจ้าบ้านต้องมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ในที่สุด สิ่งสาธารณูปโภคหรือสิ่งปลูกสร้างเช่น ทางรถไฟ ท่าเรือ ฯลฯ จะเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อจีนมากกว่าประเทศที่เป็นเจ้าของพื้นที่ และทำให้ประเทศต่างๆต้องพึ่งพาจีนมากขึ้น
กล่าวโดยสรุป แผนเส้นทางสายไหม เป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศจีนในช่วงเจ็ดแปดปีที่ผ่านมา แม้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยู่ไม่น้อย แต่ถ้าแผนนี้ว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่รัฐบาลจีนคาดหวังไว้ได้ ก็น่าจะเป็นผลดีต่อการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศทางด้านต่างๆ และมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลกได้