การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์แบบมูนช้อต
การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์แบบมูนช้อต
นักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เอกชนได้ช่วยขับเคลื่อนเรื่องราวความสำเร็จของผลกระทบทางสังคมสำคัญที่สุดบางเรื่องของศตวรรษที่แล้ว การกำจัดโปลีโอที่มีอยู่ทั่วโลก การจัดหาอาหารเที่ยงฟรีแก่เด็กนักเรียนยากจน การสร้างบริการ 911 โดยทั่วไป ความพยายามเหล่าได้ปฏิรูปและหรือช่วยชีวิตบุคตลหลายร้อยล้านคน มันจะเป็นมูนช็อตที่คิดไม่ถึง ณ เวลานั้น ก่อนที่มันจะเป็นเรื่องราวที่สำคัญเมื่อมองย้อนกลับไป
นักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ขนาดใหญ่ที่ปรากฏขึ้นปัจจุบันนี้หลายคนปราถนา
ต่อความสำเร็จที่กล้าหาญอย่างเดียวกัน พวกเขาไม่ต้องการให้เงินทุนแก่ที่พักพิงของคนไร้บ้าน และครัวอาหาร พวกเขาต้องการให้การไร้บ้านและความหิวหมดไป
มาร์ค ซ้กเกอร์เบิรก ได้ให้สัญญาไม่นานมานี้ที่จะใหความร่ำรวยอย่างมหาศาลของเขาเดินตามประเพณีอเมริกันที่ยาวนาน ใครคือผู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนแรก บุคคลที่ร่ำรวยได้ใช้เงินจำนวนมากเพื่อการกุศลเป็นศตวรรษ แต่มันจะมาถึงจนกระทั่งยุคเคลือบทองของต้นศตวรรษที่ยี่สิบที่การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์สมัยใหม่ตามที่เรารู้ได้เริ่มต้น การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมนิยมได้สร้างความมั่งคั่งอย่างสำคัญที่แบ่งแยกระหว่างคนงานอยู่ล่างและขุนนางนักปล้นที่เรียกกันอยู่ ภายใต้ความพยายามที่จะจัดการความไม่สมดุล และปรับปรุงชื่อเสียงของพวกเขา เมื่อนักอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้เข้าใกล้การสิ้นสุดชีวิตของพวกเขา นักอุตสาหกรรมร่ำรวยที่สุดหลายคนได้เลือกที่จะบริจาคความร่ำรวยเกือบทั้งหมดของพวกเขา ผู้บุุกเบิกของขบวนการคือ แอนดรูว์ คาร์เนกี้ นักธุรกิจชาวสก็อตที่ได้กลายเป็นบุคคบร่ำรวยที่สุดภายในโลก ภายหลังจากการขายบริษัทเหล็กของเขาเมื่อ ค.ศ 1901 แอนดูรว์ คาร์เนกี้ เขื่อว่าผู้ประกอบการที่บรรลุความสำเร็จจะถูกผูกมัดทางศีลธรรมใช้ความร่ำรวยของพวกเขาช่วยเหลือบุคคลอื่น ดังที่เขาได้กล่าวไว้ภายในบทความ 1889 The Gospel of Wealth ที่ได้กลายเป็นปรัชญาขี้นำแก่นักช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ “ใครตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี”
ผู้สืบทอดของแอนดูรว์ คาร์เนกี้ ในฐานะบุคคลร่ำรวยที่สุดภายในโลก จอห์น รอคกี้เฟลเลอร์ ได้เดินตามการนำของเขา ทรัพย์สินรวมของนักธุรกิจน้ำมันที่ยิ่งใหญ่สร้างตัวเองสูงสุดถึง 1.4 พันล้านเหรียญ – ประมาณเท่ากับ 30 พันล้านเหรียญของเงินปัจจุบัน ภายใต้ถ้อยแถลงภารกิจที่กว้างของการส่งเสริม ความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติทั่วโลก การบริจาคและมูลนิธิของรอคกี้เฟลเลอร์ ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างยิ่งใหญ่
“การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาตทั่วโลก” และ “และการส่งเสริมความก้าวหน้าและการกระจายของความรู้และความเข้าใจ” วิสัยทัศน์ที่กล้าหาญสองอย่างนี้จะมาจากชายสองคนที่ต้องการใช้ความร่ำรวยของพวกเขาทำสิ่งที่ดี จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ และ แอนดูรว์ คาร์เนกี้ ได้สร้างเงินของพวกเขาภายในอุตาสหกรรมน้ำมันและเหล็ก แต่พวกเขาทั้งสองต้องการที่จะมั่นใจว่าเงินของพวกเขาควรจะสร้างผลกระทบต่อสังคมอย่างยาวนานภายหลังจากพวกเขาไม่อยู่แล้ว และได้สร้างมูลนิธิของพวกเขาเองขึ้นมา
แอนดรูว์ คาร์เนกี้ อาจจะเป็นผู้ช่วยเหลือเพี่อนมนุษย์มีอิทธิพลมากที่สุด
ภายในประวัติศาสตร์อเมริกัน ขนาดของการให้เกือบจะไม่มีผู้ใดเทียบเคียงได้ การบริจาคของเขาจะมากกว่าบุคคลทุกคนภายในประวัติศาสตร์ของชาติ และบางทีไม่เหมือนใครท่ามกลางนักธุรกิจ คุณภาพของข้อเขียนของเขารับรองว่าความคิดของเขาเกี่ยวกับการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ถูกพิมพ์อย่างต่อเนื่องนานกว่าศตวรรษ และยังคงอ่านและศึกษาอย่างกว้างขวางจนถึงวันนี้
เมื่อ ค.ศ 1901 ความมั่งคั่งสูงสุดส่วนบุคคลของแอนดูรว์ คาร์เนกี้จะประมาณ 380 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 309 พันล้านเหรียญตามมาตรฐานปัจจุบันนี้
ต่อจากนั้นเขาได้ทุ่มเทตัวเขาเองแก่การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
แอนดูรว์ คาร์เนกี้ มีอายุ 66 ปี เมื่อเขาได้ขายบริษัทเหล็กของเขา
เขาได้กลายเป็นผู้ใจบุญแนวหน้าคนหนึ่งภายในอเมริกาและอังกฤษ ภายในข้อเขียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขา The Gospel of Wealth แอนดูรว์ คาร์เนกี้ ได้กล่าวว่า บุคคลที่ตายด้วยความร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี และเขาได้ใช้ส่วนที่เหลืออยู่ของชีวิตต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ตั่งแต่ ค.ศ 1901 จนกระทั่งการเสียชีวิตของเขาเมื่อ ค.ศ 1919
แอนดูรว์ คาร์เนกี ได้จัดสรรเงิน 350 ล้านเหรียญแก่โรงเรียน ห้องสมุด มหาวิทยาลัย และงานสาธารณะ ภายในโลกที่พูดภาษาอังกฤษ เขาเชื่อว่าวิถีทางดีที่สุดที่จะใช้สิ่งที่เขาเรียกว่า
ความมั่งคั่งที่ล้นเหลือเพื่อสันติภาพโลก ศิลปะ และการศึกษา
เขาได้ให้เงิน 350 ล้านเหรียญ – ประมาณ 65 พันล้านเหรียญ ค.ศ 2019 แก่การกุศล มูลนิธิ และมหาวิทยาลัย เกือบ 90% ของมั่งคั่งของเขา บทความ 1889 “The Gospel of Wealth ” ได้เรียกร้องบุคคลร่ำรวยที่จะใช้ความมั่งคั่งของพวกเขาปรับปรุงสังคม และกระตุ้นกระแสของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ บุคคลร่ำรวยควรจะมีข้อผูกพันทางศีลธรรมที่จะจัดสรรเงินของพวกเขาภายในวิถีทางที่ส่งเสริมสวัสดิการและความสุขของสามัญชน ภายใต้กิจกรรมทางเพื่อนมนุษย์ของเขา คาร์เนกี้ ได้ให้เงินเพื่อการสร้างห้องสมุดสาธารณะมากกว่า 2,500 แห่งทั่วโลก บริจาคออร์แกนมากกว่า 7,600 เครื่องแก่โบสถ์ทั่วโลกและให้เงินทุนแก่องค์การเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา และสันติภาพโลก เขาได้บริจาคเงิน 1.1 ล้านเหรียญเพื่อเป็นต้นทุนของที่ดินและการก่อสร้างคาร์เนกี้ ฮอลล์ สถานที่จัดคอนเสิรตตำนานของเมืองนิวยอร์คเปิดเมื่อ ค.ศ 1891สถาบันคาร์เนกี้เพื่อวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน และมูลนิธิ คาร์เนกี้ ได้ถูกสร้างจากการบริจาคเงินของเขา
ถ้อยคำ Philanthropy แปลว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ สามารถถูกให้ความหมายที่กว้างว่าเป็นความรักต่อมวลมนุษย์ มาจากภาษากรีก Philos หมายถึงความรัก Antropos หมายถึงมวลมนุษย์ ความม่งหมายของการช่วยเหลือ
เพื่อนมนษย์คือ การปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีของมวลมนุษย์โดยการป้องกันและการแก้ปัญหาทางสังคม
ปัจจุบันแนวคิดของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จะรวมถึงการกระทำของการให้อย่างสมัครใจโดยบุคคลหรือกลุ่มที่จะส่งเสริมผลประโยชน์ส่วนรวม การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จะอ้างถึงการปฏิยัติที่เป็นทางการของการให้เงินช่วยเหลือโดยมูลนิธิไปถึงองค์การที่ทำกำไร การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อาจจะย้อนหลังไปถึงนักปรัชญากรีก เพลโต้ ความมุ่งมั่นของเขาได้ชี้นำ
หลานของเขาที่จะใช้รายได้ของฟาร์มของครอบครัวสนับสนุนเงินทุนแก่สถาบันที่เพลโตสร้าง เงินได้ช่วยเหลือนักเรียนและคณะรักษาสถาบันให้ดำเนินการอยู่ต่อไปได้
การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จะเป็นส่วนหนึ่งที่ยึดถือโดยความรับ
ผิดชอบทางสังคมของบริษัท การกระทำการกุศลเพื่อสิ่งที่ดีต่อสังคม ลักษณะเฉพาะของมันจะเป็นนิสัยโดยความสมัครใจ ยักษ์ใหญ่ธุรกิจต้นศตวรรษที่สิบเก้าเหมือนเช่น แอนดรูว์ คาร์เนกี้ และจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ จะมีชื่อเสียงอย่างเดียวกันต่อการบริจาคการกุศลภายในอเมริกา
ความพยายามครั้งแรกที่จะสร้างทฤษฎีการปฏิบัติการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ภายในการบริหารธุรกิจได้รอจนถึงปลาย 1970 แต่กระนั้นภายในการแบ่งประเภทซีเอสอาร์ของเขา ค.ศ 1979 อาร์ชี แคร์รอลล์ ได้ระบุการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อยู่สูงสุดของพีรามิดสี่ระดับ
การเข้ามาครั้งแรกของของประวัติของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์สมัยใหม่
มาจาก ค.ศ 1526 เมื่อฮวน ลุยส์ วีเวส ได้พิมพ์ On the Subvention of Paupers ความคิดภายในบทความของเขาคือ ผู้มีอำนาจของบ้านเมืองควรจะรับผิดชอบต่อการผ่อนคลายความยากจนที่จะรักษาระเบียบทางสังคม และได้กลายเป็นโมเดลแก่กฏหมายในอนาคตที่จะต่อสู้ความยากจนภายในยุโรปและอาณานิคมอเมริกัน
ผู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ปัจจุบันนี้จะมุ่งที่การบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น และการสร้างสิ่งที่ดีเพื่อสังคมที่เป็นจุดสนใจของผู้คน ต่อผู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หลายคนแล้ว การบริจาคการกุศลจะดำเนินการภายในครอบครัว
ผู้ทีส่วนร่วมภานในการประชุมสุดยอดการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ประหลาดใจต่อการนำเสนอของผู้พลิกเกมที่กำลังคิดใหญ่ และบินไปถึงดวงจันทร์ด้วย
ความพยายามการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ทะเยอทะยาน หรือ “มูนช้อต”
เราจะมีผู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่หยิ่งยะโสกล่าวว่า ผมมีห้าพันล้านเหรียญ
พวกเขาไม่ต้องการที่จะให้เงินทุนแก่่ที่พักพิงผู้ไร้บ้านและห้องครัวอาหาร
แต่พวกเขาต้องการยุติการไร้บ้านและความหิว
การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ขนาดใหญ่สามารถสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง
ภายในวิทยาศาตร์และการแพทย์ ความพยายามของมูลนิธิบิลล์ เกตส์ที่จะผลิตวัคซีนที่ดีกว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของโครงการระยะยาวที่คุ้มค่า และความพยายามของมูลนิธิโฮวอร์เร็น บัฟเฟตต์ ที่จะปรับปรุงการเกษตรภายใน
โลกที่สามด้วย แต่ทั้งโครงการของเกตส์และบัฟเฟตต์ ไม่ได้เกียวพันกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์
ยักษ์ใหญ่ซอฟทแวร์ บิลล์ เกตส์ และนักธุรกิจเหล็กที่มีอิทธิพล แอนดรูว์
คาร์เนกี้ ได้ร่วมความเหมือนกันที่พวกเขาดำเนินตามการช่วยเหลือเพื่อนมนุษยอย่างไร แต่บิลลฺ เกตส ทำเงินของเขาภายในซอฟทแวร์ แอนดูรว์
คาร์เนกี้ภายในเหล็ก
มูลนิธิบิลล์ แอนด์ เมลินดา เกตส์ จะเป็นมูลนิธิเอกชนก่อตั้งโดยบิลล์ เกตส์ และมูลนิธิของพวกเขาได้เปิดตัวเมื่อ ค.ศ 2000 เป็นมูลนิธิใหญ่ที่สุดของโลกถือทรัพย์สิน 46.8 พันล้านเหรียญ เป้าหมายพื้นฐานของมูลนิธิจะทั่วโลกคือ การ
ยกระดับการดูแลสุขภาพ และการลดความยากจน และภายในอเมริกา การขยายโอกาสทางการศึกษา และการเข้าสูเทคโนโลยีข้อมูล มูลนิธิจะถูกควบคุมโดยผู้ดูแลสามคน บิลล์ และเมรินดา เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์
มูลนิธิวอร์เรน บัฟเฟตต์ จะเป็นองค์การการกุศล ก่อตั้งโดยวอร์เรน บัฟเฟตต์ เพื่อเป็นเครื่องมือการบริจาคการกุศล วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้สร้างมูลนิธิชื่อต้นกำเนิดคือ มูลนิธิบัฟเฟตต์ เมื่อ ค.ศ 1960 มูลนิธิได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นมูลนิธิ
ซูซาน ทอมป์สัน บัฟเฟตต์ เพื่อการยกย่องภรรยาของเขาที่เสียชีวิต เป้าหมายของมูลนิธิคือ การควบคุมพลเมือง สิ่งที่นักเขียนชีวประวัติเรียกว่า “ความกลัวของมาลธูเชียน” ของพลเมืองมากเกินไปท่ามกลางความยากจนของโลกใขณะที่หนึ่งศตวรรษจะแยกยักษ์ใหญ่ทะเทอทะยานของอุตสาหกรรมสองคนนี้จากกัน ระหว่างบิลล์ เกตส์ และแอนดูรว์ คาร์เนกี้ พวกเขาได้ถูกเชื่อมโยงไม่เพียงแต่ความมั่งคั่งอย่างมากมายที่พวกเขาได้สะสม แต่ด้วยเงินที่พวกเขาได้บริจาคด้วย ทั้งสองได้สร้างการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ยิ่งใหญ่ที่สุดภายในเวลาของพวกเขา พวกเขาได้สัญญาที่จะบริจาคความร่ำรวยของพวกเขา และได้กระตุ้นบุคคลอื่นทางสาธารณะที่จะร่วมกับพวกเขา พวกเขาได้สนับสนุนเงินทุนโครงการที่พยายามจะแก้สาเหตุรากฐานของความท้าทายทางมนุษยธรรม
การก่อตั้งมูลนิธิโดยบิลล์ เกตส์ บุคคลร่ำรวยที่สุดของประเทศ และการต่อตั้งมูลนิธิโดยวอร์เรน บัฟเฟตส์ บุคคลร่ำรวยที่สุดลำดับสองของประเทศ ได้ชักจูงการเปรียบเทียบการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์กับแอนดูรว์ คาร์เนกี้ และจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ บุคคลร่ำรวยที่สุดภายในประเทศเมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ยี่สิบ แอนดูรว์ คาร์เนกี้ และจอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ ได้ใช้ความพยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ใหญโตและอิสระ พวกเขาได้บริจาคเงินหลายร้อยล้านเหรียญภายในทศวรรษสุดท้ายของชีวิตของพวกเขา และแต่ละบุคคล
ได้มอบมูลนิธิที่ยังคงเป็นพลังการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อยู่
รอน เขอร์นาว ผู้เขียน ” Titan” กล่าวว่า การเปรียบเทียบจะเหมาะสม
ชีวประวัติที่เชื่อถือได้ของจอห์น รอคกี้ เฟลเลอร์ จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ และแอนดูรว์ คาร์เนกี้ จะเป็นผู้บุกเบิกภายในธุรกิจใหญ่ และดังนั้นมันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่พวกเขาจะเป็นผู้บุกเบิกภายในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเหมือนกับพวกเขา บิลล์ เกตส์ และ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะเป็นผู้บุกเบิกด้วย พวกเขากำลังมุ่งปัญหาที่น่าสนใจอยางกว้างขวางและการสนับสุนนโดยทั่วไป เหมือนที่แอนดูรว์ คาร์เนกี้ และจอห์น รอคกี้ เฟลเล่อร์ ได้กระทำ บิลล์ เกตส์ กำลังมุ่งที่ด้านเหมือนเช่นการศึกษา การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการดูแลสุขภาพ การแก้สาเหตุที่รากของปัญหาที่กระทบทั่วโลกอย่างรุนแรง
แม้ว่าจะคล้ายคลึงกัน บิลล์ เกตส์ ได้เข้าหาการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ภายในวิถีทางที่แตกต่างทางพื้นฐาน – เรียกว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ 2.0 ความพยายามช่ายเหลือเพื่อนมนุษย์ของบิลล์ เกตส์ จะถูกกำหนดและกระทบโดยเศรษฐกิจลำดับชั้นและเครือข่ายน้อยที่เขาได้ช่วยสร้าง ด้วยจำนวนบุคคลไม่กี่คนของพวกเขา กลยุทธ์ของการสร้างความเป็นหุ้นส่วน และการมุ่งที่การวิจัยและการพัฒนา มูลนิธิบิลล์ และเมลินดา เกตส์ จะคล้ายกับบริษัทซอฟท์แวร์ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด มากกว่าการช่วยเพื่อนมนุษย์ศตวรรษที่ยี่สิบ
จอห์น รอคกี้เฟลเล่อร์ และแอนดูรว์ คาร์เนกี้ จะเป็นผู้บุกเบิกภายในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์แบบอาคารบ้านช่อง ภายหลังจากแอนดูรว์ คาร์เนกี้ ขายบริษัทเหล็กของเขาแก่เจ พี มอร์แกนเมื่อ ค.ศ 1901 เขาได้ทุ่มเทความร่ำรวยเลขเก้าหลักของเขาลงไปที่หินปูน เขาได้สร้างสถาบันคารเนกี้ภายในพิตต์
เบิรก และสถาบันคาร์เนกี้ ภายในวอชิงตัน และ
หว่านเมล็ดประเทศด้วยห้องสมุดมากกว่า 2,800 แห่ง จุดมุ่งของเขาคือการยกระดับมนุษยชาติ และห้องสมุดต่อเขาแล้วเป็นวิถีทางดีที่สุดที่จะเข้าไปถึง
คลื่นกว้างที่สุดของบุคคล ปีเตอร์ แครสส์ ผู้เขียน “Carnegie” กล่าว
ห้องสมุดจะเป็นหัวใจของมูลนืธิเกตส์ด้วย แต่แทนการสร้างห้องสมุด บิลล์เกตส์จะวางสายห้องสมุด การทำงานร่ามกับภาคเอกชนเหมือนเช่นไมโครซอฟท์และเกตเวย์ มูลนิธิเกตส์ได้ช่วยจัดหาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีแก่ห้องสมุด 11,000 แห่ง
จอหน รอคกี้เฟลเลอร์ ได้สร้างสถาบันการศึกษาจากไม่มีอะไรเลย การสร้างทั้งมาวิทยาลัยชิคาโกและมหาวิทยาลัยรอคกี้เฟลเลอร์ภายในนิวยอร์ค – สถาบันที่สำคัญแห่งแรกที่ทุมเทต่อการวิจัยทางแพทย์ แต่บิลล์ เกตส์ได้ใช้วิถีทางแตกต่างกันที่จะปฏิรูปการศึกษา พวกเขาได้ให้เงินแก่ระบบโรงเรียน และได้บอกพวกเขาที่จะปรับปรุงโครงสร้าง และลดขนาดโรงเรียนของพวกเขาลง
เมื่อ ค.ศ 2015 มาร์ค ซักเกอร์เบิรก และพริสซิลลา ได้สัญญาที่จะให้ 99% ของหุ้นเฟสบุ้คของพวกเขา มูลค่าประมาณ 45 พันล้านเหรียญแก่การกุศลตลอดชีวิต ณ กิฟวิ่ง ทิวสเดย์ พวกเขาได้ส่งจดหมายเปิดผนึกไปยังลูกสาวที่เกิดใหม่ของพวกเขา ภายในจดหมายมาร์ค และชาน ได้อธิบายว่าพวกเขาต้องการให้แมกซ์ เจริญเติบโตภายในโลกที่ดีกว่าของเราวันนี้ และได้ผูกพัน
ที่จะให้ 99% ของหุ้นเฟสบุคของพวกเขาแก่การกุศลตอนนี้ นั่นคือข้อตกลงที่ยิ่งใหญ่ บุคคลร่ำรวยที่สุดลำดับแปดของโลกได้สัญญาความร่ำรวยของพวกเขาเกือบทั้งหมดแก่การกุศล
ชาน ซักเกอร์เบิรก อินนิชิเอทีฟ : ซีแซดไอ เป็นบริษัทรับผิดชอบจำกัด ก่อตั้งและเป็นเจ้าของโดยมาร์ค และพริสซิลลา ภรรยาของเขา ด้วยเงินลงทุน 1 พันล้านเหรียญด้วยหุ้นของเฟสบุคภายในแต่ละปีของสามปีข้างหน้า การสร้างบริษัทของพวกเขาได้ถูกประกาศเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2015 วันเกิดลูกสาวของพวกเขา แมกซิมา ชาน ซักเกอร์เบิรก ความมุ่งหมายของซีแซดไอคือ การสร้างความก้าวหน้าศักยภาพของมนุษย์ และการส่งเสริมความเสมอภาคภายในด้านเหมือนเช่น สุขภาพ การศึกษา การวิจัยวิทยาศาสตร์ และพลังาน
พวกเขากำลังใชใช้เทคโนโลยีที่จะช่วยแก้ปัญหาของความท้าทายที่ยากที่สุดของเรา ตั้งแต่การป้องกันและการกำจัดโรค ปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็ก การปฏิรูประบบยุติธรรมอาชญากรรม
ซักเกอร์เบิรกและชานจะเป็นบรรดาบุคคลรุ่นใหม่ของผู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ประกอบการวันหนุ่มสาว ที่ได้ปรับเครื่องมือการกุศลและประเพณีให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลง
พวกเขาได้ประกาศเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ – ไม่น่าจะเป็นไปไม่ได้ พวกเขากำลังลงทุน 3 พันล้านเหรียญของความร่ำรวยของพวกเขาภายในการริเริ่มใหม่ที่จะรักษา ป้องกัน หรือจัดการโรคทุกอย่างภายในตลอดชีวิตของเด็ก นี่จะเป็นความผูกพันการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขา เขาและชานจะยังคงร่ำรวยมากในที่สุดอยู่ 1% ของ 45.5 พันล้านเหรียญจะประมาณ 455 ล้านเหรียญ แต่พวกเขาจะมีส่วนร่วมภายในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ยิ่งที่สุดอย่างหนึ่งภายในประวัติศาสตร์ของมนุษย์
เมื่อเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 การทำการกุศลของบริษัทจะมีน้อย แต่นักธุรกิจที่ร่ำรวยอาจจะทำการกุศลส่วนบุคคลของพวกเขา ข้อผูกพันต่อความรับผิดชอบทางสังคมได้วิวัฒนาการโดยอุตสาหกรรมเหล็กได้บริจาคเงินแก่การศึกษาจำนวนมาก เฮนรี่ ฟอร์ด ได้ใช้สไตล์การบริหารแบบพ่อลูก การดูแลสุขภาพและการพักผ่อนของคนงานฟอร์ด มอเตอร์ ตอลดเวลานักธุรกิจจำนวนมากขึ้นยอมรับว่าธุรกิจจะต้องมีความรับผิดชอบทางสังคมเลยพ้นไปจากการขายผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น
เมื่อ ค.ศ 1950 ยุคสมัยใหม่ของความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัทได้ถูก
กระตุ้นจากหนังสือของโฮวาร์ด โบเว็น เมื่อ ค.ศ 1953 โฮวาร์ด โบเว็น อธิการบดีของมหาวิทยาลัยกรินเนลล์ ตั้งแต่ ค.ศ 1955 ถึง ค.ศ 1964
ได้พิมพ์หนังสือของเขาชื่อ Social Responsibilities of the Businessman เขาได้ถูกยกย่องว่าเป็นผู้สร้างถ้อยคำ ความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท : ซีเอสอาร์ ขึ้นมา และบางทีเป็นบิดาของความรับผิดชอบทางสังคม หนังสือเล่มนี้ได้ถูกพิจารณาว่าเป็นรากฐานของการศึกษาความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท
โฮวาร์ด โบเว็น ได้ถามว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมอะไรบ้างที่นักธุรกิจได้ถูกคาดหวังอย่างมีเหตุผลให้รับผิดชอบ เขาได้ให้คำนิยามความรับผิดชอบทางสงคมว่าหมายถึงข้อผูกพันของนักธุรกิจ เพื่อที่จะมุ่งนโยบาย ทำการตัดสินใจ หรือดำเนินการกระทำตามความปราถนา ในแง่ของวัตถุประสงค์และค่านิยมทางสังคมของเรา
ผู้มีส่วนร่วมภายในการประชุมสุดยอดของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ตกตะลึงกับการนำเสนอโดยผู้พลิกเกมที่กำลังคิดใหญ่และบินไปสู่ดวงจันทร์
ด้วยความมุ่งมั่นช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างทะเยอทะยาน หรือ “มูนช็อต”
แนวคิดของมูนช็อต นิยมแพร่หลายโดยกูเกิ้ล จะเป็นโครงการที่กล้าหาญ เพื่อการแก้ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ ด้วยการนำเสนอข้อแก้ปัญหาอย่างน่าทึ่ง และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น ความมยายามโดยมูลนิธิบิลล์ และเมรินดา เกตส์ที่จะกำจัดโรคที่แพร่เชื้อจากยุง ได้สะท้อนแก่ผู้เข้าร่วมประชุม
ถ้อยคำ มูนช้อต ได้มาจากโครงการอพอลโล 11 ที่ส่งมนุษย์ลงบนดวงจันทร์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ 1969 มูนช้อต อาจจะอ้างถึงถ้อยคำก่อนหน้านี้ ฝันให้ถึงดวงจันทร์ หมายถึงความมุ่งหมายเพื่อเป้าหมายที่สูงมาก
แลร์รี่ เพจ ซีอีโอ ของอัลฟาเบต บริษัทแม่ของกูเกิ้ล ชอบที่จะพูดเกี่ยวกับ “มูนช้อตส์ ” ของบริษัท การเดิมพันที่เสี่ยงภัยสูงและโอกาสทำกำไรสูงต่อแนวคิดเหมือนเช่นรถยนต์ไร้คนขับ เขาได้กล่าวว่า ถ้าเราไม่ทำบางสิ่งบางอย่างที่ประหลาดแล้ว เรากำลังทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มูนช้อตส์ จะเป็นถ้อยคำที่มีต้นตอจากคำปราศัยของจอห์น เคนเนดี้ ประธานาธิบดีอเมริกา ณ มหาวิทยาลัยไรซ์ เมื่อ ค.ศ 1962
จอห์น เคนเนดี้ ได้มีการประกาศอย่างกล้าหาญที่ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ของการพูดที่จูงใจ เราจะต้องยอมรับว่าอเมริกาต้องส่งมนุษย์ลงบนดวงจันทร์นำหน้ารัสเซียได้สำเร็จ เนื่องจากการสร้างบันดาลใจจากวิสัยทัศน์ของ จอห์น เคนเนดี้ เขาได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อชาวอเมริกันด้วยคำพูดที่ดึงดูดใจมาก จนกลายเป็นแรงบันดาลใจแก่ชาวอเมริกันทั่วทั้งประเทศที่ต้องการให้ความฝ้น
ของเขากลายเป็นความจริง ดังที่มาร์ค ซักเกอร์เบิรก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเฟสบุ๊คได้กล่าวถึงตอนที่เขาได้มีโอกาสไปกล่าวคำปราศัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดว่า ผมมีเรื่องราวที่ชอบมากเรื่องหนึ่งที่จะเล่าว่า เมื่อจอห์น เคนเนดี้ ได้ไปเยี่ยมองค์การนาซ่า และได้เห็นภารโรงคนหนึ่งถือไม้กวาดอยู่ จอห์น เคนเนดี้ได้ถามว่า “คุณกำลังทำอะไรอยู่” ภารโรงตอบว่า “ท่านประธานาธิบดีครับ ผมกำลังช่วยส่งมนุษย์ลงบนดวงจันทร์อยู่ครับ ประธานาธิบดีจอห์น เคนเนดี้ได้เกิดจินตนาการของโลกด้วยการกล่าวอย่างกล้าหาญว่า ประเทศนี้ควรจะผูกพันตัวเองกับการบรรลุเป้าหมายของการส่งมนุษย์ลงบนดวงจันทร์ และการนำเขากลับมาบนโลกอย่างปลอดภัยภายในทษวรรษนี้ สิ่งนี้ได้กลายเป็นการวางไว้บนหิ้งบูชาภายในประวัติศาสตร์เป็นเป้า
หมายมูนช็อตครั้งแรก จอห์น เคนเนดี้ ได้กล่าวต่อไปว่า เราเลือกเป้าหมายนี้ ไม่ใช่เพราะว่าง่าย แต่เพราะว่ายาก เนื่องจากเป้าหมายนี้ได้ถูกใช้วัดสิ่งที่ดีที่สุดของพลังและทักษะของเรา จอห์น เคนเนดี้ ไม่สามารถมองเห็นล่วงหน้าว่าการส่งมนุษย์ลงบนดวงจันทร์อย่างไรและเมื่อไรจะทำได้ แต่เขาเชื่อมันกับการส่งมนุษย์ลงบนดวงจันทร์ และวิสัยทัศน์ของเขาได้กลายเป็นความจริงเมื่อ ค.ศ 1969 ทำไมเราต้องการเป้าหมายมูนช็อต แลร์รี่ เพจ ผู้ก่อตั้งร่วมและซีอีโอของกูเกิ้ล ได้กล่าวว่า เขาจะมีชีวิตอยู่กับกฏของ 10x บริษัทส่วนใหญ่จะมีความสุขกับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น 10% แต่ไม่ใช่แลร์รี่ เพจ เขามองว่าการปรับปรุง 10% หมายความว่า เรากำลังทำสิ่งเดียวกับบุคคลอื่น เราน่าจะไม่ล้มเหลวอย่างตื่นเต้น แต่เรารับประกันได้ว่าเราจะไม่บรรลุความสำเร็จอย่างลำพอง ดังนั้นแลร์รี่ เพจ ได้ใช้กฏ 10x นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท บุคคลทุกคนของกูเกิ้ลต้องบรรลุเป็นสิบเท่าความคิดอยู่ที่หัวใจของ กูเกิ้ล X ที่ต้องรัยผิดชอบต่อเป้าหมายมูนช็อต เหมือนเช่นรถยนต์ไร้คนขับ แลร์ รี่ เพจ ได้อธิบายว่า การปรับปรุง 1000% ต้องการแนวทางที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงต่อปัญหา การสำรวจข้อจำกัดอะไรที่เป็นไปได้ทางเทคนิคมูนช็อตได้ถูกนำมามาใช้กับการฟื้นตัวและการสร้างนวัตกรรมภายในโลกของบริษัท มูนช็อต ที่โด่งดังของ ของกูเกิ้ลคือ การพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหริอรถยนต์ไร้คนขับ ภายในการตอบคำถามแก่นักข่าว มาริสซ่า เมเยอร์ ซีอีโอ ของยาฮู ได้กล่าวว่า มูนช็อต ของบริษัทคือ อยู่บนทุกสมาร์ทโฟน ทุกแทปเล็ต ทุกวัน ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคน ทำไมเราควรจะมุ่งไปสู่ดวงจันทร์ บริษัทได้ถูกล่อด้วยเรื่องราวของบริษัทที่มุ่งการยิงจรวดไปยังดวงจันทร์ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเป้าหมายที่สุดเอื้อมสร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ การลงบนดวงจันทร์ การพัฒนาสมาร์ทโฟน หรือการขุดคลองปานามา ย่อมจะเป็นจริงไม่ได้ถ้าไม่มีเป้าหมายที่สุดเอื้อมเราจะมีคำพูดที่นิยมแพร่หลายของการกำหนดเป้าหมายที่ทะเยอทะยานของเลส บราวน์ นักพูดจูงใจ ว่า“จงไปให้ถึงดวงจันทร์ ถึงแม้ว่าคุณไปไม่ถึง คุณยังอยู่ท่ามกลางหมู่ดาว”เป็นถ้อยคำเปรียบเทียบ หมายถึงการบันดาลใจบุคคลให้มุ่งเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน การให้เหตุผลว่า ถ้าพวกเขาไปไม่ถึงดวงจันทร์ พวกเขาจะยังคงบรรลุสิ่งที่ยิ่งใหญ่
ตามฮาร์วาร์ด บิสซิเนส รีวิว มูนช้อตที่ดีจะมีส่วนผสมสามอย่าง
1 มูนช้อตจะต้องบันดาลใจ
เป้าหมายของจอห์น เคนเนดี้ ได้กระตุ้นจิตวิญญานอย่างชัดเจน และเราจะมีเหตุผลที่ทำไมบุคคลเกือบทุกคนรู้สึกตื่นเต้นสิ่งที่กูเกิ้ลได้กระทำ มูนช้อตไม่ได้เป็นเป้าหมายประจำวันเหมือนเช่นความพยายามเพิ่มยอดขาย 13%
2 มูนช้อตจะต้องน่าเชื่อถือ
มูนช้อตไม่ได้เป็นเป้าหมายที่น่าหัวเราะ แต่มูนช้อตได้ถูกสร้าภายในความเป็นจริง เป้าหมายที่ไร้สาระจะไม่จูงใจบุคคลทำให้มันเกิดขึ้น เป้าหมายต้องเป็นมูนช้อต แต่เป้าหมายจะต้องมีโอกาสที่มีเหตุผลของความสำเร็จ
3 มูนช้อตจะเป็นจินตนาการ
มูนช้อตจะต้องนำเสนอการแหวกแนวอย่างมีความหมายไปจากอดีต เป้าหมายจะต้องทะเยอทะยานไม่ใช่ยิงแค่หลังคา มูนช้อตไม่ควรจะเป็นการคาดการณ์ที่เห็นได้ชัดของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นวันนี้ มูนช้อตไม่ได้เป็นก้าวที่มีเหตุผลต่อไป แต่มูนช้อตจะเป็นก้าวกระโดดที่มีความหมาย
Cr : รศ สมยศ นาวีการ