อดอล์ฟ ไอช์มาน และกรงเหล็ก
อดอล์ฟ ไอช์มาน และกรงเหล็ก
กรงเหล็กของเเมกซ์ เวเบอร์ ได้เข้ามาสู่อดอล์ฟ ไอช์มาน อย่างไร แมกซ์ เวเบอร์ และแฮนนาห์ แอเรนดท์ เป็นนักคิดทางการเมืองเยอรมันที่สำคัญสองคนของศตวรรษที่ยี่สิบ ท่ามกลางนักวิชาการของแฮนนาห์ แอเรนดท์ ผลกระทบของเเมกซ์ เวเบอร์ต่อการคิดและการเขียนของเธอยังคงไม่ได้ถูกรับรู้แม้แต่วันนี้ ฮานนาห์ แอเรนดท์ ได้รับเอาวิธีการอุดมคติของเเมกซ์ เวเบอร์ และใช้มันเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์สำคัญที่สุดของเธอต่อการเขียนบุคคลที่สังคมรังเกียจ ชาวยิว และการวิเคราะห์ระบบเผด็จการ อดอล์ฟ ไอข์มาน นายทหารเยอรมัน นาซีติดกับดักภายในกรงเหล็กของเเมกซ์ เวเบอร์ของการยอมจำนนอย่างไม่สนใจต่อความมีเหตุผลของระบบราชการ ฮานนาห์ แอเรนดท์ ได้ใช้ฉากหลังการสอบสวนภายในอิสราเอลของอดอล์ฟ ไอซมาน การสำรวจระบบราชการของสนับสนุนพฤติกรรมที่ไร้มนุษยธรรมอย่างไร้สติโดยบุคคลธรรมดาเชื่อมโยงกับมัน แม้ว่าอดอล์ฟ ไอชมานเป็นข้าราชการเอสเอสระดับกลางเท่านั้น ผู้กล่าวหาอิสราเอลของเขาและหนังสือพิมพ์โลกแสดงเขาเป็นซาตานต่อบทบาทของเขาภายในรัฐบาลนาซี แต่กระนั้นภาพของสื่อขัดเเย้งคุณลักษณะเด่นที่สุดอย่างเดียวของอดอล์ฟ ไอชมาน เขาเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้เเสดงคุณลักษณะส่วนบุคคลที่น่ากลัวใดเลยมันเป็นปัญหาที่ลำบากของศีลธรรมและกฏหมายมายาวนานที่บุคคลบางคนต้องรับผิดชอบต่อการกระทำที่ถูกสั่งการโดยผู้บังคับบัญชา ภายในสภาพแวดล้อมทางทหาร เรามีสายการบังคับบัญชาระบุไว้ชัดเจน และการไม่เชื่อฟังคำสั่งสามารถนำไปสู่การสะท้อนกลับอย่างรุนเเรง มันไม่น่าประหลาดใจที่คำกล่าวอ้างผู้บังคับบัญชาสั่ง หรือเพียงแค่ทำตามคำสั่ง
ถูกใช้โดยนาซีเผชิญการสอบสวนภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองการป้องกันของอาชญกรรมนาซีมักจะอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อฟังนั่นคือพวกเขาเพียงแค่ทำตามคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เราต้องการที่จะลากเส้นระหว่างผู้นำรับผิดชอบและบุคคลเช่นผมถูกบังคับเป็นเพียงเครื่องมือภายในมือของผู้นำ…..ผมไม่ได้เป็นผู้นำที่รับผิดชอบ และไม่รู้สึกตัวผมเองผิด อดอล์ฟ ไอช์มาน กล่าว ณ การสอบสวนอาชญกรรมสงคราม อดอล์ฟ ไอช์มานได้ถูกกล่าวหาต่อการจัดการขนส่งมวลชนของยิวไปสู่ค่ายกักกัน การป้องกันของอดอล์ฟ ไอช์มาน และบุคคลอื่นที่ถูกกล่าวหา จะอยู่บนพื้นฐานการเชื่อฟัง ภายในความพยายามที่จะโยนความรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของชาวยิวหลายล้านคน การเชื่อฟังของอดอล์ฟ ไอช์มาน ได้ช่วยจุดประกายความสนใจอย่างมากของสแตนลี่ย์ มิลเเกรม นักจิตวิทยา ณ มหาวิทยาลัยเยลภายในเรื่องของการเชื่อฟัง
การทดลองมิลแกรมได้เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ 1961 หนึ่งปีภายหลังการสอบสวนอดอล์ฟ ไอซ์มาน ภายในเยซูซาเลม สแตนลีย์ มิลแกรม ได้ออกแบบการทดลองตอบคำถามมันสามารถเป็นที่อดอล์ฟ ไอซ์มานและผู้สมรู้ร่วมคิดของเขาภายในโฮโลคอสท์เพียงแค่ทำตามคำสั่งหรือไม่ เราสามารถเรียกพวกเขาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดหรือไม่
“ผมไม่สามารถมองเห็นภรรยาของผมอีกต่อไป เธอได้ถูกหายไปภายในฝูงชน ผมไม่สามารถมองเห็นลูกชายของอีกต่อไป เขาได้หายไปภายในฝูงชน แตลูกสาวตัวน้อยของผมมีเสื้อโคทสีแดง และจุดแดงเล็กยิ่งเล็กลงเล็กลง นี่คือครอบครัวของผมได้หายไปจากชีวิตของผมอย่างไร”
นี่คือมาร์ติน ฟอลดี ได้อธิบายช่วงเวลาเมื่อเขาได้สูญเสียครอบครัวของเขาตลอดไป เขาเป็นหนึ่งคนของพบาน 110 คนเป็นพยานต่อต่อสู้อาชญกรรมนาซี อดอล์ฟ ไอช์มาน
แมกซ์ เวเบอร์ ได้แนะนำแนวคิดทางสังคมวิทยาของกรงเหล็ก เขาได้สร้างถ้อยคำกรงเหล็กขึ้นมา แสดงความหมายของความมีเหตุผลที่เพิ่มสูงขึ้นภายในชีวิตทางสังคม โดยเฉพาะภายในสังคมทุนนิยมทางตะวันตก กรงเหล็กแสดงถึงความรู้สึกของบุคคลที่ถูกกับดัก ควบคุม และลดความเป็นมนุษย์โดยระบบที่ควบคุมเรา บนพื้นฐานของประสิทธิภาพ ความมีเหตุผล ความเป็นระเบียบ และการควบคุม แมกซ์ เวเบอร์ ได้อธิบายการกลายเป็นระบบราชการของความเป็นระเบียบทางสังคมว่าเป็นโพลาร์ ไนท์ ของความมืดที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวมาเหล่านี้ เราจะมีวิวัฒนาการของกรงเหล็กกลายเป็นสังคมที่มีความเป็นระเบียบทางเทคนิค ความไม่ยืดหยุ่น และการลดคุณค่าของมนุษย์กรงเหล็กคือ กลุ่มของกฏและกฏหมายที่เราทุกคนต้องทำตาม ระบบราชการได้ขังเราไว้ภายในกรงเหล็ก การจำกัดความเป็นอิสระและศักยภาพของมนุษย์ มันเป็นวิถีทางของสถาบัน เราไม่มีทางเลือกต่อไปอีกแล้ว เมื่อระบบทุนนิยมได้เกิดขึ้น มันคล้ายกับเครื่องจักรที่เราถูกลากเข้าไปโดยไม่มีทางเลือก การคำนวณด้วยเหตุผล จะลดบุคคลทุกคนลงเป็นฟันเฟืองภายในเครื่องจักรทางระบบราชการบุคคลจะเพียงแต่ถามว่าจปฏิรูปตัวเขาเองให้เป็นฟันเฟืองที่ใหญ่ขึ้นอย่างไรเท่านั้น ความลุ่มหลงต่อการกลายเป็นระบบราชการตามความหมายนี้จะขับเคลื่อนเราไปสู่ความสิ้นหวังต้นกำเนิดของถ้อยคำกรงเหล็ก จะมาจากภาษาเยอรมันคือ Stahlhartes Gehause แมกซ์ เวเบอร์ ไม่เคยใช้ถ้อยคำนี้ด้วยตัวเขาเอง ทาลคอทท์ พาร์สัน นักสังคมวิทยา ชาวอเมริกันได้แปลเป็นคำว่า กรงเหล็ก จากการแปลหนังสือของแมกซ์ เวเบอร์เมื่อ ค.ศ 1930 ชื่อ Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism เมื่อ ค.ศ 1922 หนังสือ Economy and Society ชองแมกซ์ เวเบอร์ ได้ถูกพิมพ์เผยแพร่ หนังสือเล่มนี้ได้ถูกมองว่าเป็นตำราทางสังคมวิทยายิ่งใหญ่ที่สุดของศตวรรษที่ 20 แมกซ์ เวเบอร์ ได้อธิบายองค์การแบบอุดมคติที่มีประสิทธิภาพเรียกว่า ระบบราชการ ของเขา ภายในโมเดลอุตสาหกรรมของการผลิตแบบจำนวนมาก ภายใต้การชื่นชมต่อประสิทธิภาพโมเดลระบบราชการ แมกซ์ เวเบอร์ ได้รับรู้ด้านมืดของระบบราชการด้วย เขาได้มองเห็นว่าระบบราชการจะทำให้เกิดกรงเหล็กทางสถาบันที่มีความเป็นระเบียบทางเทคนิคและความไม่ยืดหยุ่น แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาเยอรมัน ได้เขียนบทความเรื่อง “The Three Types of Ligitimate Rule” เขาได้เสนอแนะทฤษอำนาจหน้าที่ด้วยการแบ่งอำนาจหน้าที่เป็นสามประเภท
*อำนาจหน้าที่ทางจารีตประเพณี จะอยู่บนรากฐานของขนบธรรมเนียมหรือประเพณีของการสืบทอด
*อำนาจหน้าที่ทางกฏหมาย จะอยู่บนรากฐานของกฏและข้อบังคับที่เป็นทางการที่ใช้กับบุคคลทุกคน เราเชื่อฟังผู้นำเนื่องจากตำแหน่งของพวกเขาภายในองค์การ
*อำนาจหน้าที่ทางบารมี จะเกิดขึ้นจากคุณลักษณะส่วนบุคคลที่พิเศษ – บารมี บุคคลยอมรับการนำเนื่องจากบารมีของเขา ไม่ใช่ประเพณีหรือกฏหมายอะไรได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ตามมุมมองของแมกซ์เวเบอร์แล้ว คือ การสะสมทีละน้อยของการปรับปรุงทางเทคโนโลยี และความดื้อดึงของสมาชิกวัยหนุ่มสาวภายในสังคม ดังนั้นอำนาจหน้าที่สมัยเดิมจะค่อยถูกลอบทำลายแต่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างสำคัญจะไม่เกิดขึ้น จนกว่าเราจะมีผู้นำทางบารมีปรากฏขึ้น รากฐานอำนาจหน้าที่ภายในสังคมและองค์การเปลี่ยนแปลงจากประเพณีไปสู่บารมี และผู้นำทางบารมีจะกลายเป็นผู้นำทางการเปลี่ยนแปลง แมกซ์ เวเบอร์ ได้ระบุพระเยซู ผู้นำทางศาสนา เป็นผู้นำทางการเปลี่ยนแปลงต้นแบบแมกซ์ เวเบอร์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ศีกษาระบบราชการ และผลงานของเขาได้นำไปสู่ความนิยมแพร่หลายของถ้อยคำว่า “Bureaucracy” : ระบบราชการ ทั้งภายในภาครัฐและภาคธุรกิจ แมกซ์ เวเบอร์ เชื่อว่าระบบราชการจะเป็นวิถีทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดของการสร้างองค์การ เรียกว่าองค์การแบบราชการคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งขององค์การแบบราชการคือ การกำหนดสายการบังคับบัญชาไว้อย่างชัดเจน แมกซ์เวเบอร์ ได้ใช้ถ้อยคำเรียกสายการบังคับบัญชาว่า “Hierarchy” หมายถึงลำดับชั้นของอำนาจหน้าที่แมกซ์ เวเบอร์ ได้ระบุคุณลักษณะที่สำคัญขององค์ก่ารแบบราชการไว้ต่อไปนี้คือ 1 การแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน 2 การกำหนดสายการบังคับบัญชาไว้อย่างชัดเจน 3 การคัดเลือกและการเลื่อนตำแหน่งบุคคลบนพื้นฐานคุณสมบัติทางวิชาชีพ 4 การเกี่ยวพันระหว่างกันของบุคคลต้องไม่เป็นส่วนตัว 5 การกำหนดกฏและระเบียบวิธีปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ และ 6 การแยกความเป็นเจ้าของออกจากการบริหาร
ทำไมระบบราชการมีความหมายเป็นลบ เนื่องจากระบบราชการมีความล่าช้า “Red Tape” เป็นคำสแลงที่ใช้อธิบายความล่าช้าของระบบราชการ ระบบราชการมีงานเอกสาร กฏ ข้อบังคับ และระเบียบมากจนเกินไป และมักจะไม่จำเป็น ขัดขวางการกระทำและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่ศตรรษที่ 17 ต้นกำเนิดของเรด เทปจะมาจากการผูกมัดเอกสารทางกฏหมายและเป็นทางการด้วยเทปผ้าสีแดง โดยปรกติเราใช้ถ้อยคำ เรด เทป อ้างถึงกฏและข้อบังคับที่มากเกินไปหริอการทำตามมกฏและข้อบังคับอย่างตายตัวภายในระบบราชการและบริษัทใหญ่
ระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 กษัตริย์แห่งสเปน ชาร์ลส์ที่ห้า ได้เริ่มต้นการระบุเอกสารที่สำคัญโดยการผูกเอกสารด้วยริบบิ้นสีแดง ไม่ใช่เชือก และได้กลายเป็นการปฏิบัติมาตรฐานไปทั่วยุโรป เมื่อสงครามกลางเมืองของอเมริกาสิ้นสุดสง ทหารผ่านศึกได้ติดต่อขอประวัติทางทหาร และได้พบว่าเอกสารของพวกเขาได้ถูกผูกมัดด้วยริบบิ้นสีแดง
ระหว่างโฮโลคอสท์ ระบบราชการแสดงบทบาทอย่างมากภายในรัฐบาลนาซี ระบบราชการเป็นรูปแบบหนึ่งของรัฐาลทำงานตามลำดับชั้นสายการบังคับบัญชา มาจากการตัดสินใจของผู้นำระดับสูงรัฐบาลนาซีมีโครงสร้างเพื่อความมุ่งหมายเฉพาะที่จะกำจัดการขาดประสิทธิภาพ และทำลายล้างยิว ความสำคัญภายในระบบราชการของนาซีเยอรมันยังคงเป็นรากฐานเพื่อทุกสิ่งทุกอย่างทุกสิ่งทุกอย่างผ่านทางระบบอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของอำนาจหน้าที่ทางบารมีของแมกซ์ เวเบอร์ ตามแนวคิดอำนาจ บารมีอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้มีบารมีและผู้เชื่อมั่นบารมีมุมมองของแมกซ์ เวเบอร์ไม่ได้มุ่งที่การวิเคราะห์บุคลิกภาพ แต่เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ทางสังคมบารมี โครงสร้างทางสังคมที่มาจากความสัมพันธ์ทางบารมี แสดงการการกระทำร่วมกันทางความรู้สึกยึดด้วยกันกับผู้นำทฤษฎีอำนาจหน้าที่ของการยอมรับได้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยแมรี่ ฟอลเล็ต แต่ได้ถูกทำให้นิยมแพร่หลายโดยเชสเตอร์ บาร์นาร์ด อำนาจหน้าที่ไม่ได้จากผู้บริหารระดับสูง เเต่จะมาจากบุคคลที่เกี่ยวพันระดับล่าง บนเรื่องอำนาจหน้าที่ แมรีย์ ฟอลเลต ได้ชี้ว่า ความเป็นเจ้าของ หรือเพียงข้อเท็จจริงของการยึดครองตำแหน่งบางอย่างไม่ได้ให้อำนาจหน้าที่แก่ผู้บริหารผู้บริหารระดับสูงอำนาจหน้าที่แท้จริงที่บุคคลเชื่อฟังมาจากหน้าที่และประสบการณ์ความท้าทายของการบริหารที่ดีคือการให้อำนาจหน้าที่แก่บุคคลที่มีความรับผิดชอบแท้จริงต่อหน้าที่ของพวกเขา บุคคลที่ถูกออกคำสั่งควรจะพยายามนำบุคคลที่สั่งมาสู่สถานการณ์ ผลงานเขียนการบริหารของแมรีย์ ฟอลเลต ได้ช่วยส่องสว่างต่อแนวคิดของอำนาจและอำนาจหน้าที่จนวันนี้ เมื่อเธอได้กล่าวว่า อำนาจคือบางสิ่งบางอย่างที่ผู้บริหารควรจะพัฒนาร่วมกันกับบุคคลของพวกเขาภายในสถานที่ทำงานบุคคลหนึ่งไม่ควรจะออกคำสั่งต่อบุคคลอื่น แต่ทั้งสองบุคคลควรจะเห็นด้วยกับที่จะรับคำสั่งของพวกเขาจากสถานการณ์ งานของเราไม่ใช่ทำให้บุคคลเชื่อฟังคำสั่งอย่างไร แต่จะออกแบบวิธีการอย่างไรที่เราสามารถค้นพบคำสั่งเชื่อมโยงกับสถานการณ์ได้ดีที่สุดเเมรีย์ ฟอลเลต มององค์การเป็นเครือข่ายของกลุ่มไม่ใช่โครงสร้างลำดับชั้น และให้ความสนใจอย่างมากต่ออิทธิพลของมนุษย์สัมพันธ์ภายในกลุ่ม เธอไม่เห็นด้วยกับการอธิบายการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ที่ลดผู้บริหารให้ออกคำสั่ง และสั่งให้บุคคลทำตามคำสั่ง เชสเตอร์ บาร์นารด เป็นนักบริหารธุรกิจ เนักสังคมวิทยาอเมริกัน และผู้บุกเบิกทฤษฎีการบริหารและองค์การ เขาได้หน้งสือคลาสสิคไว้เล่มหนึ่งคือ The Functions of the Excutives เมื่อ ค.ศ 1938 กล่าวถึงทฤษฎีองค์การและหน้าที่ของผู้บริหารภายในองค์การ หนังสือเล่มนี้ได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางกับวิชาทฤษฎีการบริหารของมหาวิทยาลัย ตอนวัยหนุ่มเชสเตอร์ บาร์นารด ทำงานภายในไร่ และหาเงินด้วยการขายเปียนโน เขาได้เข้าเรียนปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่เรียนไม่จบการศึกษาทฤษฎีอำนาจหน้าที่ของการยอมรับ เราจะเรียกกันว่าทฤษฎีอำนาจหน้าที่จากล่างขึ้นบนด้วย ทฤษฎีอำนาจหน้าที่ของการยอมรับอยู่บนรากฐานความเชื่อว่าอำนาจหน้าที่ไม่ได้เกิดจากบนลงล่าง แต่จะเป็นล่างขึ้นบน หมายความว่าผู้นำมารถใช้อำนาจหน้าที่ได้ต่อเมื่อบุคคลยอมรับอำนาจหน้าที่เท่านั้น มุมมองของทฤษฎีอำนาจหน้าที่ของการยอมรับจะขัดแย้งกับทฤษฎีอำนาจหน้าที่สมัยเดิมเชสเตอร์ บาร์นารด มองว่าอำนาจหน้าที่จะมีอยู่ต่อเมื่อบุคคลเต็มใจยอมรับ ถ้าบุคคลไม่ยอมรับอำนาจหน้าที่ ผู้นำจะสูญเสียสิทธิที่จะออกคำสั่งแก่พวกเขา เราหมายความว่าอำนาจหน้าที่จะถูกยอมรับถ้าอำนาจหน้าที่อยู่ภายในขอบเขตของการยอมรับ บุคคลจะกำหนดขอบเขตหรือข้อจำกัดที่พวกเขาจะยอมรับอำหน้าที่ของผู้นำ เชสเตอร์ บาร์นารดเรียกขอบเขตของการยอมรับว่า บริเวณของความไม่แตกต่าง เฮอร์เบิรต ไซมอนเรียกว่า บริเวณของการยอมรับ เชสเตอร์ ได้ระบุเงื่อนไขสี่ข้อของการยอมรับอำหน้าที่คือ
1 บุคคลต้องเข้าใจว่าพวกเขาถูกสั่งการให้กระทำอะไร
2 บุคคลต้องสามารถทำตามคำสั่งได้
3 บุคคลต้องคิดว่าคำสั่งสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ
4 บุคคลต้องเชื่อว่าคำสั่งไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายส่วนบุคคลของพวกเขาเชสเตอร์ บาร์นารด ยืนยันว่าบุคคลแต่ละคนจะมีขอบเขตของความไม่แตกต่าง หรือขอบเขตที่บุคคลจะเต็มใจยอมรับคำสั่งโดยไม่มีข้อสงสัยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์การจะต้องสร้างแรงจูงใจเพียงพอที่จะขยายขอบเขตของความไม่แตกต่างของแต่ละบุคคลให้กว้างขึ้นเพื่อที่จะให้คำสั่งของผู้บริหารถูกยอมรับ
สโลแกนของนักเคลื่อนไหวทางสงครามคือ สมมุติว่าเรามีสงคราม และไม่มีทหารมาเลย อะไรจะเกิดขึ้นถ้าผู้บังคับบัญชาสั่งการแต่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เชื่อฟัง
ภายในหนังสือ The Human Side of Enterprise ของดักกลาส แมคเกรเกอร์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์อย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่ของการยอมรับคนงานทอผ้าคนหนึ่งได้เล่าเรื่องราวของผู้จัดการโรงงานคนใหม่ เมื่อผู้จัดการโรงงานมาทำงานวันแรก เขาได้เดินตรงไปยังผู้แทนคนงานและพูดว่า นาย A ใช่ไหม นาย A ตอบว่าใช่ ผู้จัดการโรงงานพูดต่อไปว่า ผมเป็นผู้จัดการโรงงานคนใหม่ที่นี่ ในฐานะของผู้จัดการโรงงาน ผมต้องจัดการทุกสิ่งทุกอย่างภายในโรงงาน เข้าใจไหม นาย A พยักหน้ารับทราบ และได้ยกมือส่งสัญญานแก่คนงานภายในโรงงาน คนงานทุกคนได้หยุดเครื่องจักรทอผ้าทุกเครื่องทันที นาย A ได้หันกลับมาพูดกับผู้จัดการโรงงานว่า ไปจัดการโรงงานของคุณได้เลย เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้จัดการโรงงานจะไม่มีอำนาจหน้าที่เลย ถ้าคนงานไม่ยอมรับอำนาจหน้าที่ของเขา
Cr : รศ สมยศ นาวีการ