jos55 instaslot88 Pusat Togel Online เลือกตั้งอิรัก 2021 กับฉากทัศน์การเมืองชีอะห์และบทบาทอิหร่าน ตอนที่2 - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

เลือกตั้งอิรัก 2021 กับฉากทัศน์การเมืองชีอะห์และบทบาทอิหร่าน ตอนที่2

เลือกตั้งอิรัก 2021 กับฉากทัศน์การเมืองชีอะห์และบทบาทอิหร่าน ตอนที่2

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

 

เหตุการณ์การลอบสังหารนายกรัฐมนตรีอิรักเมื่อวันอาทิตย์ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจการเมืองในอิรักอย่างไม่กระพริบตาอีกครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจต่อการเมืองในอิรักและดูเหมือนว่าการเลือกตั้งในวันที่10ตุลาคมที่ผ่านมานั้นมีคู่ขัดแย้งทางการเมืองมากมายทีเดียว และยังได้สะท้อนถึงตัวแสดงทางการเมืองทั้งภายนอกและภายในของอิรักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

มีรายงานว่าผู้ก่อการร้ายใช้โดรนติดระเบิดโจมตีบ้านพักของมุสตาฟา อัล-คาดิมี (Mustafa al-Kadhimi) นายกรัฐมนตรีอิรัก โดยโดรน 2 ลำถูกยิงสกัดตกเหลือเพียงลำเดียวที่พุ่งเข้าเป้าหมาย คนคุ้มกันนายกรัฐมนตรี ทำให้บาดเจ็บหลายคนแต่ไม่ร้ายแรงมาก ต่อมากระทรวงมหาดไทยอิรักเผยว่าผู้ก่อเหตุใช้โดรนบินขึ้นจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงแบกแดดที่ห่างออกไป 10-12 กิโลเมตร อยู่ชานกรุงแบกแดด

ซัยยิดมุกตาะดา อัล-ซอ๊ดร์ (Moqtada al-Sadr) ได้ออกแถลงว่าการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีอิรัก คือการก่อการร้าย และตั้งใจสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย สร้างความรุนแรง พวกไม่หวังดีต่อชาติ ไม่อยากเห็นประเทศสงบสุขชี้ว่าเป็นฝีมือของกลุ่มติดอาวุธในประเทศหวังเปิดทางให้ต่างชาติแทรกแซง  และต่อมาคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ (UNSC) ยังได้ออกแถลงการณ์ประณามการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีอิรัก และได้เรียกร้องหาตัวผู้ก่อเหตุ ผู้สนับสนุนก่อการร้าย นำมาลงโทษตามกฎหมาย

ปฏิบัติการหมายสังหารนายกรัฐมนตรีอิรัก ครั้งนี้ทำให้มีการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ทางการเมืองในอิรักที่น่าสนใจ นั่นหมายความว่ามีกลุ่มก้อนการเมืองที่ไม่พอใจต่อการเลือกตั้งที่ผ่านและได้แสดงท่าทีว่ามีการโกงการเลือกตั้ง หรือบางคนไว้วิเคราะห์ไกลไปกว่านั้น นั่นคือการช่วงชิงอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองด้วยกันในอิรักด้วยกันเอง และสาเหตุที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ คือการช่วงชิงทางภูมิรัฐศาสตร์ในอิรักของสหรัฐอเมริกาและการขยายอิทธิพลของอิหร่าน

ถ้าย้อนดูเหตุการณ์ความไม่สงบในอิรักในช่วงสิบปีหลังนั้น จะพบว่ามีการวางระเบิดและการก่อการร้าย ลอบสังหารบุคคลสำคัญจากกลุ่มนิยมความรุนแรง กลุ่มก่อการร้ายที่เข้ามาปฎิบัติการอิรัก ไม่ว่าจากกลุ่มอัลกออิดะห์  กลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลาม(ไอเอส)  เป้าหมายหลักคือ การทำลายเสถียรภาพทางการเมืองของอิหรัก  หรือมองไกลไปกว่านั้นคือ การมิให้อิรักมีความเข้มแข็งทางการเมืองที่ถูกปกครองโดยกลุ่มชีอะห์  โดยเฉพาะอย่างนี้การเมืองในอิรักวันนี้ หลังจากการเลือกตั้งไปหมาดๆ  ซึ่งกระบวนการทางเมืองที่ได้มีการเลือกตั้งเพื่อจะสร้างชาติอิรักและประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น และที่สำคัญคือการปฎิรูปการเมืองอิรัก  แต่ดูเหมือนว่าการก่อการร้ายครั้งนี้ เป็นการสร้างสถานการณ์ เพื่อมิให้การปฏิรูปการเมืองในอิรักเกิดขึ้น  แต่ที่น่าสังเกตคือว่า การก่อการร้ายและการสร้างสถานการณ์ได้ขยับก่อนการเลือกตั้งแล้ว  ไม่ว่าการโจมตีของกลุ่มไอเอสต่อฐานที่มั่นของกลุ่มติดอาวุธอัลอัชดุ ชะบี(กลุ่มกำลังประชาชนสำคัญในอิรัก ที่ทำงานร่วมกับกองกำลังกุดส์ของIRGCอิหร่าน)ทางตอนเหนือของประเทศ จนกระทั้งเกิดการลอบสังหารนายกรัฐมนตรี เป็นเหตุการณ์ที่น่านำมาวิเคราะห์เพื่อเห็นตัวแสดงหลักทางการเมืองในอิรัก

เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นในเขตกรีนโซนที่อาจจะเกิดคำถามว่าในสถานที่ที่ถือว่ามีความปลอดภัยที่สุดยังเกิดเหตุการณ์ลอบสังหารเลย ซึ่งจะต้องติดตามว่าเป้าหมายของกลุ่มก่อเหตุนั้นเพื่ออะไร?  และคือผลสะท้อนของการเลือกตั้ง2021ในอิรักหรือไม่? และใครอยู่เบื้องหลัง?  เราค่อยๆแกะรอยในเรื่องนี้กัน  และในตอนนี้ อยากจะนำเรื่องของการเลือกอิรักมากล่าวสักนิดหนึ่ง เพื่อจะได้เห็นภาพทางการเมืองในอิรัก หลังจากนั้น คงจะพอจะวิเคราะห์ได้ว่า เหตุการณ์ลอบสังหารนายกรัฐมนตรีอิรักใครอยู่เบื้องหลัง

ทำไมสถานการณ์ในอิรักจึงซับซ้อน?

ทันทีที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งเบื้องต้นในอิรักที่ผ่านมา ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างมากมายและหลายพรรคไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งโดยกล่าวว่ามีการทุจริต ต้องการให้นับคะแนนใหม่และมีการออกมาประท้วงในหลายเมือง จนเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่ ได้มีการเผยแพร่รายงานข่าวที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจำนวนมากเกี่ยวกับความไม่พอใจของกระแสการเมืองอิรักจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับการประกาศผล และบุคคลสำคัญทางการเมืองบางคนก็บ่นว่า มีการ “ทุจริต” และ “บิดเบือนผลคะแนน”

ฟีราส อัล-ยาซีร์ สมาชิกสภาการเมืองของขบวนการแห่งชาติอิรัก ( Al-Najba )กล่าวว่า ความสับสนในการประกาศผลการเลือกตั้งและประกาศผลก่อนนับบัตรลงคะแนนทั้งหมด บ่งชี้ถึงแผนการยึดครองเจตจำนงของชาติ

ฟีราส อัล-ยาซีร์ ทวีต ว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความพยายามทำรัฐประหารต่อต้านระบบการเมือง และแน่นอน มาตรการเหล่านี้เป็นบทโหมโรงเพื่อทำให้ฐานทางการเมืองของกลุ่มฮัชด์ ชะอฺบี ให้อ่อนแอลง และพยายามบีบให้แคบลงในอนาคตและสอดคล้องกับความคิดเห็นของสหรัฐฯ  ซึ่งกำลังพยายามป้องกันไม่ให้คะแนนเสียงของกลุ่มขบวนการต่อสู้เข้าสู่รัฐสภาอิรัก

ในช่วงสองวันที่ผ่านมา มีการเผยแพร่รายงานข่าวที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจำนวนมากเกี่ยวกับความไม่พอใจของกระแสการเมืองอิรักจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับการประกาศผล และบุคคลสำคัญทางการเมืองบางคนก็บ่นว่า มีการ “ทุจริต” และ “บิดเบือนผลคะแนน”

นอกเหนือจากกรณีเหล่านี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ “สำคัญ” “อ่อนไหว” และ “แตกต่าง” ทำให้กระแสการเมืองอิรักทั้งหมดจึงต้องให้ความสนใจ นั่นคือประเด็นของการดำรงอยู่ต่อไปของสหรัฐฯในอิรัก ที่ต้องผูกติดอยู่กับโชคชะตาและผลการเลือกตั้งครั้งนี้  ด้วยเหตุนี้เอง ชะตากรรมของการเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับชาวอเมริกัน  สมาชิกรัฐสภาอิรักส่วนใหญ่ได้โหวตอย่างท่วมท้นให้ขับไล่ทหารอเมริกาออกไปจากประเทศ หลังจากการลอบสังหารนายพล กอเซ็ม สุไลมานี และ อบู มะห์ดี อับมุฮันเดส  และในช่วงสองปีนับตั้งแต่การลาออกของนายกรัฐมนตรีอาเดล อับดุล-มาห์ดี ของอิรักในขณะนั้นและการขึ้นสู่อำนาจของนายกรัฐมนตรีฝ่ายตะวันตกและรัฐบาลอิรักชั่วคราวของอิรัก สหรัฐฯ ได้ทำทุกอย่างตามอำนาจของตนเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกไล่ออก

ดังนั้น พวกเขากำลังติดตามการพัฒนาในอิรักอย่างใกล้ชิดในทุกวันนี้ และไม่สามารถเพิกเฉยต่อเรื่องนี้ได้  ล่าสุดหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานเมื่อวันจันทร์ว่า “การลงคะแนนเสียงของอิรักในการเลือกตั้งรัฐสภาเมื่อวานนี้ มีแนวโน้มที่จะกำหนดชะตากรรมและอนาคตของกองทหารสหรัฐฯ ที่ยังคงประจำการอยู่ในอิรัก” และ“ผลของการเลือกตั้งครั้งนี้ยังเป็นตัวกำหนดว่าแบกแดดจะจัดการกับความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างวอชิงตันและเตหะรานอย่างไร”

พัฒนาการเหล่านี้ บรรยากาศทางสังคมหลังการเลือกตั้ง และแม้แต่ผลลัพธ์ของการเลือกตั้ง จึงมีความสำคัญต่อระบอบไซออนิสต์เช่นเดียวกับชาวอเมริกัน   มีสื่ออทางการของระบอบไซออนิสต์ กล่าวถึงการพัฒนาหลังการเลือกตั้งในประเทศนี้ว่า “อิรักอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง” นั่นอาจหมายถึงการที่มีกลุ่มการเมืองชีอะห์บางกลุ่มออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการแทรกแซงของอิหร่าน หรืออาจจะรวมไปถึงการจะเสี้ยมว่ากลุ่มการเมืองชีอะห์ในอิรักมีความแตกแยกไม่เป็นเอกภาพอะไรทำนองนั้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางศึกษามองว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในประเทศอิรักมีส่วนทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้อยู่ในระดับต่ำ และอีกเหตุผลคือผู้คนที่ถูกกลุ่มผู้ก่อการร้าย(ไอซิส)ที่เข้ายึดครองมาหลายปีและอาศัยอยู่ในความกลัวและความยากลำบาก ซึ่งไม่อาจที่จะทนต่อความล้มเหลวอีกต่อไปโดยมีความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงของอิรัก   นอกจากนั้นประเทศอิรักตกอยู่ภายใต้การยึดครองของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่การล่มสลายระบอบซัดดัมปี2003 เป็นเรื่องปกติที่ประเทศดังกล่าวจะเข้าไปพัวพันกับวิกฤตการณ์ที่ซับซ้อนและปัญหาทางเศรษฐกิจและความมั่นคงมากมาย และยังคงเป็นธรรมดาที่ประชาชนจะแสดงความไม่พอใจเช่นนี้ในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ เพื่อให้ประเทศได้รับการปฎิรูป

Charles Kurzman นักคิดชาวอเมริกันที่มีผลงานในด้านสังคมวิทยาแห่งการปฏิวัติ เน้นย้ำถึงความซับซ้อนของสังคมอิรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ไม่ปกติและละเอียดอ่อน ในการวิเคราะห์สถานะของสังคมนั้นว่า เมื่อประเทศใดมีสภาพเช่นสถานการณ์ในอิรักในปัจจุบัน และทุกๆ วันในมุมหนึ่ง มีการชุมนุม การระเบิด การยิง และการสังหาร ประเทศไม่มีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวย เป็นภาวะที่ไม่ปกติ นั่นคือสถานการณ์ที่ ไม่ปกติและซับซ้อนและจากคำกล่าวของนาย Kurzman ถือว่าเป็นการยากที่จะคาดการณ์การพัฒนาในอนาคตได้  แต่ที่สามารถวิคราะห์ได้สาเหตุที่อิรักมีความซับซ้อนและมีภาวะที่ไม่ปกติ ก็เพราะ :สหรัฐอเมริกาได้ยึดครองประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว ประเทศนั้นจะพบกับชะตากรรมที่เลวร้าย ตัวอย่างที่ใกล้เคียงที่สุดสำหรับการกล่าวอ้างนี้คือสถานการณ์ปัจจุบันในอัฟกานิสถาน  อเมริกาประกาศว่าการที่พวกเขาได้ยึดอัฟกานิสถานก็เพื่อปรับปรุงสถานการณ์ในประเทศและต่อสู้กับการก่อการร้าย (ตาลีบัน) !? แต่หลังจาก 20 ปี เกิดอะไรขึ้นในอัฟกานิสถาน และเนื่องจากความซับซ้อนแบบเดียวกันที่กล่าวไว้ข้างต้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำนายอนาคตของอิรัก แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะทำนายสถานการณ์ในประเทศนี้ หากผู้ยึดครองชาวอเมริกันยังคงปรากฏตัวต่อไป: นั่นคือ “ความต่อเนื่องของสถานะที่เป็นอยู่ (ความวุ่นวาย) ” เป็นคำทำนายในแง่ดีที่สุดที่จะติดตามความต่อเนื่องของการยึดครองอิรัก

ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในอิรักไม่ว่าพรรคใดขึ้นมามีอำนาจ มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับใครนอกจากชาวอิรักเอง แต่ควรสังเกตว่าบางครั้งด้วยการเลือกที่ผิดพลาดอาจมีผลลัพธ์ที่แก้ไขไม่ได้  และการกำจัดปัจจัยของสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการปรับปรุงสถานการณ์นั้น และการมีอยู่ของข้อพิพาทและความแตกแยกมันเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการขจัดองค์ประกอบและปัจจัยที่ไม่พึงประสงค์ออกจากอิรักนั่นเอง  แต่ทว่าสมมติฐานอื่นๆที่เป็นสิ่งที่น่าติดตามคือ  บทบาทอิหร่านต่ออรักเป็นอย่างไร?และจะขยับไปในทิศทางใด? เราคงจะมาคุยกันในตอนต่อไป.

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *