คิดอย่างคานธี (จบ)
คิดอย่างคานธี (จบ)
จรัญ มะลูลีม
ค.ศ. เหตุการณ์สำคัญ
1909 เขียนจดหมายติดต่อกับ ลีโอ ตอลสตอย เป็นครั้งแรก ไปประเทศอังกฤษในฐานะสมาชิกคนหนึ่งใน คณะผู้แทนอินเดีย ครั้งที่ 2 ระหว่างเดินทางกลับจากประเทศอังกฤษ แต่งหนังสือเรื่อง “ฮินฺด สวราช” (อินเดียปกครองตนเอง)
1910 ก่อตั้งฟาร์มดอลสตอยในเมืองโจฮันเนสเบอร์ก
1912 นายโคขเล (ผู้นำคนสำคัญคนหนึ่งของอินเดีย) ไปเยี่ยมที่แอฟริกา ได้พิมพ์หนังสือ “นิติธรรม” และแต่งหนังสืออีกเล่มหนึ่งว่าด้วยการบำบัดโรคโดยธรรมชาติ
1913 ปฏิบัติการสัตยาเคราะห์อีก ถูกจับและได้รับการปล่อยตัว อดอาหาร 7 วันและหลังจากนั้นรับประทานอาหารวันละมื้อเป็นเวลา 4 เดือนครึ่ง
1914 อดอาหาร 14 วัน ปฏิบัติการสัตยาเคราะห์ ประสบผลสำเร็จ มีการประนีประนอมกัน (ระหว่างอังกฤษกับอินเดีย) ไปประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม สงครามโลกครั้งที่ 1 ปะทุขึ้นเมื่อ
1915 วันที่ 4 สิงหาคม พบปะกับนางสโรชินิ นายฑู (สตรีผู้เป็นผู้นำของอินเดีย) ช่วยอังกฤษทำสงครามได้รับเหรียญเกียรติคุณ “โกสเร ฮินฺด” จากรัฐบาลอังกฤษ เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศอินเดีย เดินทางเพื่อการเรียนรู้อย่างกว้างไกลในอินเดีย พบปะกับนายกากา กาเลนกะระ และอาจารย์กฤปลานี (ทั้งสองคนเป็นผู้นำของอินเดีย) ก่อตั้งอาศรม “กาศี วิศว วิทยาลัย” พบกับเยาวหะระลาล เนห์รู (สะกดตามภาษาฮินดี) เป็นครั้งแรกในการประชุมพรรคคองเกรสแห่งชาติ
1917 ที่เมืองลัคเนาว์ พบกับดอกเตอร์ราเชนทรประสาทเป็นครั้งแรก เริ่มปฏิบัติการสัตยาเคราะห์กรณีไร่ครามในเมืองจัมปารัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน ต่อสู้จนมีการยกเลิกกฎหมายว่าจ้างแรงงานโดยมี
1918 สัญญาผูกมัด เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม กรรมการโรงงานทอผ้าในเมืองอาหะเมดาบาด ผละงาน อดอาหาร 3 วัน ปฏิบัติการสัตยาเคราะห์
1919 ที่เมืองเข-รา ฟื้นฟูการปั่นด้ายด้วยมือ รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายเราเลตต์ (Rowlatt Act) ประกาศ 6 เมษายน เป็นวันสวดมนต์ไหว้พระและอดอาหาร เกิดการสังหารฝูงชนยัลเลียนวาลาบาฆ เมื่อวันที่ 13 เมษายน ออกวารสาร “Young India” (ยุวอินเดีย) และ Navajivan” (นวชีพ – ชีวิตใหม่) เริ่มการเคลื่อนไหว
1920 “คิลาฟัต” ประชุมพรรคคองเกรสที่เมืองอมฤตสระ
1921 เขียนธรรมนูญให้พรรคคองเกรสแห่งชาติ เริ่มขบวนการไม่ร่วมมือกับรัฐบาล ก่อตั้งสถาบันการศึกษาชาตินิยมหลายแห่งทั่วประเทศอินเดีย ไม่ร่วมมือกับรัฐบาลในการต้อนรับ
1922 มกุฏราชกุมารของอังกฤษ ซึ่งเสด็จประพาสอินเดีย อดอาหาร 5 วัน
1924 เกิดการขบถเจารี-เจารา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ อดอาหาร 5 วัน ถูกจับเมื่อ วันที่ 10 มีนาคม ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 6 ปี ผ่าตัดไส้ติ่ง ได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขังเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ อดอาหาร 21 วัน ตั้งแต่ 24 กันยายน เพื่อเรียกร้องความสามัคคีระหว่างฮินดูกับมุสลิม เป็นประธานการประชุมพรรคคองเกรส
1925 แห่งชาติที่เมืองเบลคาม
1927 อดอาหาร 1 สัปดาห์ ก่อตั้งสมาคมปั่นด้ายด้วยมือ
1928 เดินทางทั่วประเทศอินเดียเพื่อส่งเสริมการใช้ผ้าทอด้วยมือ
1929 ปฏิบัติการสัตยาเคราะห์ที่เมืองบาระโดลี ลูกชายชื่อมคันลาล (Magalal) ถึงแก่กรรมที่เมืองปัฏนา
1930 พรรคคองเกรสแห่งชาติซึ่งประชุมที่เมืองลาฮอร์ผ่านญัตติให้อินเดียต่อสู้เพื่อเอกราชโดยสมบูรณ์ ประกาศการต่อสู้เพื่อเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 26 มกราคม นำขบวนเดินเท้าไปเมืองฑัณฑ์
1931 เพื่อล้มเลิกกฎหมายทำเกลือ ถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมได้รับการปลดปล่อยจากที่คุมขังเมื่อวันที่ 25 มกราคม ลงนามในข้อตกลงคานธี-เออร์วิน ร่วมประชุมโต๊ะกลมครั้งที่ 2 ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้แทนคนเดียวจากประเทศอินเดีย
1932 แต่ต้องเดินทางกลับด้วยความผิดหวังในเดือนธันวาคม รัฐบาลประกาศให้พรรคคองเกรสแห่งชาติเป็นองค์การผิดกฎหมาย ต่อสู้ด้วยวิธีการของ
1933 สัตยาเคราะห์อีก ถูกจับเมื่อวันที่ 4 มกราคม ประกาศอดอาหารจนตายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน อดอาหารเป็นเวลา 31 วันตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม เริ่มออกวารสาร “หริชน” (Harijan) หรือ Childrens of God ได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขังแล้วถูกจับอีก ถูกตัดสินจำคุกหนึ่งปีประกาศอดอาหารจนตายตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม แต่เลิกอดหลังจาก 1 สัปดาห์ เพราะมีการตกลงกันได้กับฝ่ายรัฐบาล ถูกปล่อยตัวจากที่คุมขังเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ย้ายจากอาศรมสาพะระ
1934 มติ ไปอยู่วะระธา เดินทางไปยังภาคต่างๆ ของอินเดียเพื่อยกฐานะของชนวรรณะต่ำต้อยอดอาหารเป็นเวลา 7 วัน จัดตั้งองค์การส่งเสริมอุตสาหกรรมชนบทเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ร่วม
1935 ประชุมพรรคคองเกรสแห่งชาติที่นครบอมเบย์
1936 ร่วมฉลองงานสุวรรณสมโภชของพรรคคองเกรสแห่งชาติ
1937 จัดตั้งอาศรม เสวาคาม
1939 รับเป็นสมาชิกคองเกรสแห่งชาติในเดือนกรกฎาคม เริ่มโครงการ “การศึกษาใหม่”ประกาศอดอาหารจนตายที่เมืองราชโกฏิ แต่เลิกอด 4 วันต่อมาเพราะอุปราชของอินเดียเข้ามาไกล่เกลี่ยพรรคคองเกรสแห่งชาติประชุมที่เมืองตริปุระ สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อ
1940 วันที่ 3 กันยายน รัฐบาลพรรคคองเกรสแห่งชาติในทุกแคว้นลาออก เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน
1941 เริ่มปฏิบัติการสัตยาเคราะห์เพียงลำพังคนเดียวเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม
1942 ประกาศเลิกการเป็นผู้นำพรรคคองเกรสแห่งชาติ จัดตั้งองค์การพิทักษ์โค เมื่อวันที่ 30 กันยายน ยอมรับเป็นผู้นำของพรรคคองเกรสแห่งชาติอีกวาระหนึ่ง ประกาศให้อังกฤษถอนตัวออกจาก
1943 อินเดียเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ผู้นำของพรรคคองเกรสแห่งชาติถูกจับคุมขังทั่วประเทศ
1944 อดอาหารเป็นเวลา 21 วัน ในวังของอะกาข่าน (สถานที่ที่คานธีถูกคุมขัง)กัสตูรบา ภรรยาของคานธี ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 6
1945 พฤษภาคม การเจรจาระหว่างคานธี – จินนาฮ์ (ผู้ก่อตั้งประเทศปากีสถาน)
1946 ผู้นำของอินเดียได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขัง การประชุมที่เมืองสิมลา ครั้งที่ 1 อังกฤษส่งคณะรัฐมนตรีมาเจรจาเรื่องให้เอกราชแก่อินเดีย สันนิบาตมุสลิม เริ่มปฏิบัติการ ‘Direct Action” เพื่อแบ่งแยกอินเดียออกเป็น 2 ประเทศ ชาวฮินดูกับมุสลิมเริ่มประหัต
1947 ประหารกัน อินเดียฉลองเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม อดอาหาร 73 ชั่วโมงเพื่อเรียกร้องมิให้ฮินดู-มุสลิม
1948 ฆ่าฟันกันในนครกัลกัตตา (โกลกัตตา) ประกาศอดอาหารจนตายเพื่อวิงวอนให้ฮินดู-มุสลิมหยุดปะทะกันในนครเดลี อดอาหารได้ 5 วัน ชุมชนทั้งสองฝ่ายจึงหยุดประหัตประหารกันถูกยิงตายเมื่อเวลา 17.05 น. ของวันที่ 30 มกราคม