ปัญหานิวเคลียร์อิหร่านกับเกมการเมืองสหรัฐอเมริกา ตอนที่3
ปัญหานิวเคลียร์อิหร่านกับเกมการเมืองสหรัฐอเมริกา ตอนที่3
ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน
ศูนย์อิสลามและอิหร่านศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ความเคลื่อนไหวของการเจรจาเพื่อรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านอีกครั้งหลังจากที่ได้หยุดชะงักลงมาเป็นเวลากว่าห้าเดือนกว่า ตั้งแต่อิหร่านจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีและเปลี่ยนผ่านรัฐบาลใหม่และครั้งนื้ถือว่าเป็นครั้งที่7ในวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยสื่อต่างๆได้ให้ความสำคัญต่อการรื้อฟื้นการเจรจาของอิหร่านกับสมาชิก4+1 โดยที่สหรัฐอเมริกาได้ร่วมเจรจาทางอ้อม และในขณะเดียวกันนั้นยังมีข่าวรายงานอ้างว่าอิสราเอลซึ่งต่อต้านโครงการนิวเคลียร์อิหร่านตลอดมา ได้พยายามส่งสัญญาณว่าอาจจะลงมือโจมตีสถานที่พัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านซึ่งอาจจะใช้เครื่องบินโจมตี เหมือนที่ได้เคยทำกับโครงการของอิรัก เป็นการสำแดงถึงความอหังการต่อกรณีนิวเคลียร์อิหร่านอย่างไม่เกรงใจ แต่นักวิเคราะห์มองว่า สำหรับอิสราเอลไม่ง่ายที่จะโจมตีอิหร่าน เพราะอิหร่านได้เตรียมพร้อมสำหรับตั้งรับการโจมตีของอิสราเอล ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริงก็คงจะนำไปสู่การตอบโต้อย่างรุนแรงและเกิดสงครามระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนาของชาติมหาอำนาจต่างๆ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายอาลี บาเกรี กานี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศและผู้นำการเจรจาด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน เปิดเผยว่า อิหร่านได้ตกลงเข้าร่วมการเจรจาเพื่อรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ ที่รู้จักกันในชื่อ ‘แผนปฏิบัติการร่วมที่ครอบคลุม (Joint Comprehensive Plan for Action) หรือ JCPOA กับ 6 ชาติมหาอำนาจ ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หลังหารือทางโทรศัพท์กับนายเอนริก โมรา ผู้แทนพิเศษของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ย
นายบาเกรี กานี ระบุในทวิตเตอร์ว่า “เราตกลงที่จะการเริ่มเจรจาโดยมีเป้าหมายเพื่อยกเลิกการคว่ำบาตรที่ผิดกฎหมายและไร้มนุษยธรรม ในวันที่ 29 พ.ย. ที่กรุงเวียนนา อย่างแน่นอน”
ด้านนายเน็ด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า “สหรัฐฯ หวังว่าการเจรจาจะสามารถคลี่คลายจุดที่มีการหารือกันค้างไว้ในการเจรจาถึงหกรอบมาแล้วที่เวียนนา(และครั้งนี้เป็นครั้งที่เจ็ด) และเราคิดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้อย่างรวดเร็ว หากผู้แทนเจรจาจากฝ่ายของอิหร่านมีความจริงจัง”
ในขณะที่จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน หวัง เหวิน ปิน ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรักษากฎเจรจารื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรียโดยกล่าวว่าสหรัฐฯ ในฐานะผู้กระทำผิดและฝ่าฝืนกฎเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ ควรรับผิดชอบด้วยการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทั้งหมดต่ออิหร่านรวมทั้งจีนด้วย
หวังเหวิน ปิน กล่าวเสริมว่า: เราต้องเคารพสิทธิอันชอบธรรมของกฎหมาย และการเจรจาเหล่านี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิซึ่งกันและกันรวมทั้งการคำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกฝ่ายในการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และทางด้านการเมือง รวมถึงการสร้างความร่วมมือรอบด้านกับอิหร่านต่อไป
ซะอีด กาติบซาเดห์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศอิหร่านกล่าวว่า อิหร่านจะไม่จัดการเจรจาทวิภาคีใดๆ กับสหรัฐฯ ในรอบถัดไปของการเจรจาในออสเตรีย ซึ่งเกี่ยวกับการฟื้นฟูข้อตกลงของแผนปฏิบัติการร่วมที่ครอบคลุม (JCPOA) นอกจากนี้ กาติบซาเดห์ ยังเตือนสหรัฐฯว่า ด้วยความตั้งใจจริงที่จะยกเลิกการคว่ำบาตรเท่านั้น ที่จะสามารถนำสหรัฐกลับเข้าร่วมข้อตกลงนิวเคลียร์2015ได้
กาติบซาเดห์ยังให้คำแนะนำสหรัฐฯ ว่า สหรัฐคว้าโอกาสนี้เอาไว้ ในขณะที่รัฐบาลอิหร่านกำลังเข้าสู่การเจรจาด้วยความปรารถนาดีและตั้งใจจริงที่จะเห็นผลของมัน และหน้าต่างแห่งโอกาสเช่นนี้จะไม่เปิดตลอดไป
นายฮุเซน อะมีร อับดุลอิลาฮียอน รัฐมนตรีการต่างประเทศอิหร่านกล่าวหลังจากเจรจาล้มเหลมที่กรุงเวียนนา ว่า มันเกิดจากความไม่จริงใจของชาติตะวันตกในการเจรจาข้อตกลง JCPOAที่ผ่าน ซึ่งนั่นหมายถึงการยกเลิกการคว้ำบาตรต่อเราอิหร่าน และเขากล่าวอีกว่า สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านยังมีเจตนาที่ดีและตั้งใจจริงเพื่อให้บรรลุข้อตกลงโครงการนิวเคลียร์ภายใต้กรอบที่เป็นธรรมกับอิหร่านและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยธรรม และโปรดอย่าลืมว่าปัญหาโครงการนิวเคลียร์ ถือว่าสหรัฐฯคือต้นปัญหาหลักของเงื่อนไขวันนี้(ไม่ใช่เรา) และจากเจ็ดครั้งที่ได้ผ่านมาของการเจรจานั้น ก็ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าสหรัฐฯไม่จริงใจ นั่นคือยังไม่ได้ยกเลิกการคว้ำบาตรต่ออิหร่านใดๆเลย
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมองว่าปัญหาโครงการนิวเคลียร์อิหร่านคงจะดำเนินต่อไป ดั่งที่กลุ่มประเทศยุโรปได้กล่าวว่าจะมีการพูดคุยกันในครั้งต่อไปแน่นอน ดังนั้นเกมการเมืองโลกระหว่างสหรัฐนกับอิหร่านคงเป็นประเด็นน่าติดตาม แต่ทว่านักวิเคราะห์ต่างมองว่าอิหร่านรู้ดีว่าการแข็งกร้าวต่อจุดยืนในการเจรจา นั่นคือการให้สหรัฐฯยกเลิกการคว้ำบาตรทุกกรณีเสียก่อนถึงจะมีการตกลงใดๆนั้น นั่นคือพ่ายใบสำคัญที่เหนือกว่าของอิหร่านและจะทำให้อิหร่านบรรลุเป้าหมายหลัก นั่นคือการยกเลิกการคว้ำบาตร และการที่อิหร่านไม่รีบต่อการตกลงโครงการนิวเคลียร์ยิ่งจะทำให้อิหร่านมีความเข้มแข็งโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติมากขึ้น หรือไปไกลกว่านั้นคือเข้าถึงการมีอาวุธนิวเคลียร์ที่ฝ่ายศัตรูต่างกังวลถึงแม้ว่าอิหร่านจะบอกว่าโครงการนิวเคลียร์ไม่ได้มีเป้าหมายการผลิตอาวุธก็ตาม ซึ่งนั้นไม่เป็นผลดีกับสหรัฐฯและอิสราเอลแน่นอน และอีกมุมหนึ่งความเลวร้ายจากการคว้ำบาตรของสหรัฐฯต่ออิหร่านนั้นได้ผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดไปแล้วซึ่งสหรัฐฯก็รู้ดีในเรื่องนี้ ดังนั้นท้ายที่สุดคงเป็นไปตามลายแทงที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่แรกว่า อิหร่านได้ถือพ่ายเหนือกว่าสหรัฐฯสำหรับในประเด็นนิวเคลียร์ และคงจะได้เห็นการเจรจาครั้งที่แปดที่จะเป็นการอ่อนข้อจากสหรัฐฯและอียูมากยิ่งขึ้นและบรรลุข้อตกลง โดยการยกเลิกการคว้ำบาตรต่ออิหร่านในที่สุดนั่นเอง.