jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ฟื้นความสัมพันธ์ซาอุฯ-อิหร่านกับกระแสที่ต้องจับตา - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ฟื้นความสัมพันธ์ซาอุฯ-อิหร่านกับกระแสที่ต้องจับตา

ฟื้นความสัมพันธ์ซาอุฯ-อิหร่านกับกระแสที่ต้องจับตา

ประเสริฐ  สุขศาสน์กวิน

 

ซาอุดิอาระเบียกับแผนการพัฒนาแผนปฏิรูปเศรษฐกิจตามวิสัยทัศน์ 2030 (Saudi Vision 2030) ของ MBSเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูดนั้น ได้สร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลกและยังทำให้กระแสโลกจับตาซาอุดิอาระเบียเพิ่มมากขึ้นในวันนี้   แม้แต่ประเทศไทยก็ถือว่าเป็นอีกยุทธศาสตร์ของวิสัยทัศน์ 2030 (Saudi Vision 2030)เลยเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกจากการที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบียระหว่างวันที่ 25-26 มกราคมที่ผ่านมาและสื่อทุกสำนักได้รายงานเป็นเสียงเดียวกันว่ากระแสใหม่ของซาอุดิอาระเบียกำลังทยานไปสู่ความทันสมัยและการสร้างสัมพันธ์นานาประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศที่เคยเป็นศัตรูต่อกัน

นักพยากรณ์ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจและแม้แต่ทางด้านศาสนาและสังคมต่างกล่าวว่า ซาอุดิอาระเบียกำลังจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวเองที่เคยเป็นผู้นิยมความแข็งกร้าวในทางอุดมการณ์ทางศาสนาและการเมือง ไม่ว่าต่อปัญหาเรื่องกรณีของสงครามในเยเมนซึ่งก็มีแนวโน้มว่าจะหาทางลงที่เหมาะสมโดยผ่านการพูดคุยกันมาหลายรอบแล้วหรือการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านที่เป็นศัตรูทางการเมืองมาหลายทศวรรษมีทีท่าว่าจะเริ่มการเปิดสถานกงสุลอีกครั้ง หรือภาพของความสุดโต่งของมิติทางศาสนาแบบลัทธิวาฮาบีก็จะแสวงหาทางสายกลางมากยิ่งขึ้นดั่งที่ เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกได้เดินทางมาประเทศไทยและได้เข้าเฝ้าเจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และยังได้พูดถึงมิติด้านพหุวัฒนธรรมและศาสนสัมพันธ์กันอย่างน่าสนใจทีเดียว

ส่วนในมิติทางการเมืองรัฐมนตรีต่างประเทศซาอุอาระเบีย ได้เปิดเผยว่าเรากำลังเตรียมเจรจารอบที่ 5 กับอิหร่าน แม้ก่อนหน้านี้จะไม่มี “ความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม”  ซึ่งซาอุดีอาระเบียตัดสัมพันธ์กับอิหร่านในปี 2016 หลังสถานทูตของตนในกรุงเตหะรานถูกผู้ประท้วงโจมตีอันเนื่องจากริยาดประหารชีวิตนักการศาสนาชีอะห์คนสำคัญชาวซาอุฯ สองมหาอำนาจในภูมิภาคได้เปิดการเจรจาเมื่อปีที่แล้วโดยมีอิรักยื่นมือเข้าเป็นเจ้าภาพ

เจ้าชาย ไฟซอล ฟาร์ฮาน อัลซาอูด รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุฯ กล่าวเมื่อวันเสาร์ ที่19 ก.พ.ที่ผ่านมาในการประชุมความมั่นคงในนครมิวนิก ประเทศเยอรมนี ว่า หากการรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 อิหร่านบรรลุอีกครั้ง ก็ควร “จะเป็นจุดเริ่มต้น ไม่ใช่จุดจบ” เพื่อแก้ปัญหาความกังวลในระดับภูมิภาคระหว่างเรากับอิหร่าน

 

ซาอุดีอาระเบีย เป็นรัฐอาหรับในภูมิภาคตะวันออกกลาง ราชอาณาจักรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2475 โดยพระเจ้าอิบนุ ซาอุด เป็นรัฐเดี่ยวปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชคือเป็นเผด็จการสืบสายโลหิตที่ปกครองตามแบบอิสลามนิกายซุนหนี่ สาขาวะฮาบีย์ ประเทศซาอุดีอาระเบียมีฉายาว่า “ดินแดน 2 มัสยิดศักดิ์สิทธิ์” หมายถึง มัสยิดอัลฮารามในนครมักกะ และมัสยิดอันนาบาวี ในเมืองมะดีนา ซึ่งถือเป็น 2 มัสยิดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาอิสลาม

ประเทศนี้มีพื้นที่ประมาณ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร และประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห้งแล้ง คนอยู่อาศัยไม่ได้

ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีประชากร 28.7 ล้านคน มีการค้นพบปิโตรเลียมในปี 2481 ทำให้ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยที่รายรับของประเทศประมาณ 2 ใน 3 มาจากการส่งออกน้ำมันแต่เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียมีความหลากหลายน้อยที่สุด

ประเทศซาอุดีอาระเบียมีรายจ่ายทางทหารสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ประเทศซาอุดีอาระเบียถูกจัดว่าเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคตะวันออกกลางคู่กับประเทศอิหร่าน (https://www.sanook.com/news/8439450/หน้าใหม่ของความสัมพันธ์แบบชักเข้าชักออก ระหว่างอิหร่านกับซาอุดีอาระเบีย)

อิหร่านเป็นชาติที่มีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งของโลกที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร กรุงเตหะรานเป็นเมืองหลวงและนครใหญ่สุดของประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชั้นนำ อิหร่านมีประชากร 78.4 ล้านคน

ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในใจกลางยูเรเชีย และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซที่เป็นเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในโลกแห่งหนึ่งในการขนส่งน้ำมันจากช่องแคบเป็นจำนวน 40% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมด และ 20% ของการขนส่งน้ำมันทั่วโลก ได้เกิดการปฏิวัติใหญ่ล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในอิหร่านเมื่อปี 1979 และได้สถาปนาสาธารณรัฐอิสลามขึ้นเป็นรัฐศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ตั้งแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน(https://www.sanook.com/news/8439450/หน้าใหม่ของความสัมพันธ์แบบชักเข้าชักออก ระหว่างอิหร่านกับซาอุดีอาระเบีย)

ความแตกต่างทางนิกายระหว่างชีอะห์กับซุนนีไม่เคยเป็นปัญหาเลยและทั้ง 2 ประเทศนี้มีความมั่งคั่งจากการส่งออกน้ำมัน ในขณะที่มีการแพร่ขยายของพวกที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและชาตินิยมสุดโต่งเข้ามาในบริเวณอ่าวเปอร์เซีย ทำให้ซาอุดีอาระเบียกับอิหร่านต้องผนึกกำลังร่วมกันต่อต้านหยุดยั้งภัยที่มีต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชร่วมกัน จึงชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิหร่านในปัจจุบันไม่ได้มีสาเหตุหลักจากพื้นฐานความแตกต่างทางนิกายศาสนาอย่างที่เชื่อกัน แม้แต่ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรมก็ไม่ใช่ปัญหาเลยแต่การมีศัตรูร่วมกัน คือพวกที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและชาตินิยมสุดโต่งต่างหากที่ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศแนบแน่นก่อนที่อิหร่านได้เปลี่ยนการปกครองในปี1979

ถ้ามองทางด้านมิติศาสนาประเทศซาอุดีอาระเบียถือว่าเป็นประเทศมุสลิมซุนนีที่นิยมลัทธิวาฮาบี ส่วนอิหร่านซึ่งเป็นมุสลิมที่ปกครองโดยชีอะห์สายสิบสองอิมาม โดยมีการแข่งขันกันในภูมิภาคตะวันออกกลางมาหลายทศวรรษแล้ว และทั้งสองประเทศยังได้มีขั้วทางการเมืองที่แตกต่างกัน โดยรัฐซาอุฯอยู่กับสหรัฐอเมริกาและต่อต้านอิหร่านอย่างหนัก ส่วนอิหร่านได้เป็นพันธมิตรกับจีนและรัสเซียอย่างใกล้ชิดทีเดียว จึงได้เห็นตัวแสดงทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางได้อย่างชัดเจน  ไม่ว่าในกรณีในเยเมนที่ซาอุฯ นำกลุ่มพันธมิตรอาหรับทำสงครามกับกลุ่มกบฎฮูซีที่อิหร่านสนับสนุน หรือในเลบานอนที่อิหร่านหนุนกองกำลังฮิซบุลเลาะฮ์

แต่หากย้อนกลับไปดูความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอาระเบีย-อิหร่าน ก็จะพบว่าทั้งสองประเทศเคยมีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันมาตั้งแต่ปี 1928 หรือช่วงที่มีการสถาปนารัฐซาอุดีอาระเบียขึ้นมาใหม่ภายใต้การนำของตระกูลสะอูด (Al-Saud Family) อย่างไรก็ตาม นับจากการปฏิวัติอิหร่านปี 1979 ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่านก็เปลี่ยนไปทันที ซาอุดีอาระเบีย เริ่มมองไม่ไว้ใจอิหร่านและตีห่างจากอิหร่านแล้วเข้าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯอย่างเหนียวแน่น และมองว่าอิหร่านพยายามที่จะส่งออกการปฏิวัติไปยังรัฐอื่นๆ รอบอ่าวเปอร์เซียซึ่งนั่นคือความสะเทือนต่อความมั่นคงของซาอุดิอาระเบีย

ในปี 1987 เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สะเทือนความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอาระเบีย-อิหร่านอีกครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่เริ่มต้นจากการที่ผู้แสวงบุญชาวอิหร่านจัดขบวนชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านสหรัฐฯ ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮ์ จนเกิดการปะทะรุนแรงกับกองกำลังรักษาความมั่งคงของซาอุดีอาระเบีย นำไปสู่การนองเลือด ซึ่งทำให้ผู้แสวงบุญชาวอิหร่านเสียชีวิตทันที 275 คน บาดเจ็บอีก 303 คน และอิหร่านได้เรียกทูตฯตัวเองกลับทันทีและตัดความสัมพันธ์กับซาอุฯแบบไร้เยื้อใย

แต่เมื่อเจ้าชาย มุฮัมมัด บิน ซัลมานหรือรู้จักในนามMBS  ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทแห่งซาอุอาระเบีย ซึ่งทำให้MBSขึ้นครองอำนาจเบ็ดเสร็จในหลายส่วน กระแสความสัมพันธ์ระหว่างซาอุฯกับอิหร่านก็ยังสู้ไม่ค่อยจะดีนักและจุดเลวร้ายที่สุดคือเมื่อปี2016ซาอุดีอาระเบียตัดสัมพันธ์กับอิหร่าน หลังสถานทูตของตนในกรุงเตหะรานถูกผู้ประท้วงโจมตีอันเนื่องจากริยาดประหารชีวิตนักการศาสนาชีอะห์คนสำคัญชาวซาอุฯ และการแข่งขันระหว่างสองประเทศได้เพิ่มมากขึ้น

และนับจากนั้นจึงเห็นทั้งอิหร่านและซาอุดีอาระเบียเข้าไปแทรกแซงและมีส่วนทางการเมืองของหลายประเทศในตะวันออกกลางไม่ว่าใน อิรัก ซีเรีย บาห์เรน ,เลบานอนและในเยเมนที่เป็นปัญหาความขัดแย้งในขณะนี้และถือว่าเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการเจรจาฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับซาอุฯอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามความพยายามในการฟื้นความสัมพันธ์ของสองประเทศนี้ได้ผ่านการพูดคุยกันมาหลายรอบ จะเห็นได้แม้ในสมัยของอดีตประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานีที่ได้ขยับในเรื่องนี้มาก่อนแล้ว จนถึงวันนี้ประธานาธิบดี รออซี่ก็กล่าวตรอกย้ำถึงนโยบายการต่างประเทศว่าด้วยการสร้างความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างซาอุดิอาระเบียตลอดมาและพร้อมที่จะฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ส่วนซาอุดิอารเบียเองก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนท่าทีเช่นกัน ดังที่เจ้าชาย ไฟซอล รัฐมนตรีต่างประเทศระบุว่า ซาอุดีอาระเบียยังคงสนใจในการเจรจากับอิหร่าน แต่ก็เรียกร้องให้ทางอิหร่านเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และปรารถนาอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่  โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุฯเน้นว่าอิหร่านคือเพื่อนบ้านของเราจะต้องมีความปรารถนาอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่มีอยู่ และเราหวังว่าจะมีความปรารถนาอย่างจริงจังที่จะหาวิธีการใหม่(ในการฟื้นความสัมพันธ์ต่อกัน)

อะไรคือเหตุปัจจัยให้ซาอุดิอาระเบียฟื้นความสัมพันธ์กับอิหร่าน?

เหตุปัจจัยที่หนึ่ง  การที่อิหร่านทยานสู่ความเข็มแข็งทางด้านการทหารและอาวุธ  กล่าวคือนับจากการที่มีการแข่งขันระหว่างซาอุดีอาระเบีย-อิหร่าน ทำให้ความก้าวหน้าของอิหร่านในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ไปไกลมาก ทำให้ ซาอุดีอาระเบียเชื่อว่าความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์จะทำให้อิหร่านมีสถานะที่เหนือกว่าตนในภูมิภาค ซึ่งในทางกลับกันก็สะท้อนให้เห็นถึงความล้าหลังไร้ศักยภาพของซาอุดีอาระเบียที่ไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวได้  ดังนั้นจะเห็นความไม่พอใจของซาอุดีอาระเบียในเรื่องนิวเคลียร์อิหร่านตลอดมา และอาจดูได้จากความร่วมมือระหว่างซาอุดีอาระเบียกับสหรัฐฯ ในการที่จะหยุดยั้งทุกกิจกรรมของอิหร่านไม่ให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้สำเร็จอย่างเด็ดขาด และการกดดันของสหรัฐฯต่ออิหร่านในเรื่องนิวเคลียร์ได้เพิ่มมากขึ้นในสมัยอดีตประธานาธิบดี ทรัมป์ ซึ่งซาอุดิอาระเบียและอิสราเอลคืออีกสองตัวแปรสำคัญที่มีส่วนร่วมในการไม่ให้การเจรจานิวเคลียร์อิหร่านบรรลุผลสำเร็จ

แต่เมื่อไบเดน ได้ขื้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ การรื้อฟื้นการเจรจา JCPOAได้นำมาพูดคุยบนโต๊ะอีกครั้งโดยไม่ฟังเสียงยับยั้งของอิสรอเอลและซาอุฯ และดูว่าการเจราจาครั้งล่าสุดหรือครั้งที่แปด ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียจะบรรลุข้อตกลง ดังนั้นเป็นไปได้ว่าอีกเหตุผลหนึ่งของการฟื้นความสำพันธ์ระหว่างซาอุฯกับอิหร่าน คือเรื่องนิวเคลียร์และการยกเลิกการคว้ำบาตรอิหร่าน ซึ่งจะทำให้อิหร่านมีอำนาจการต่อรองมากขึ้นและมีศักยภาพที่เข้มแข็ง และซาอุฯมองแล้วว่าการฟื้นความสัมพันธ์กับอิหร่านเป็นประโยชน์มากกว่าการเป็นศัตรู

เหตุปัจจัยที่สอง ถือว่าเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่สุดก็ว่าได้ นั่นคือ เมื่อโลกเปลี่ยนดุลอำนาจและกระแสความถดถอยของสหรัฐฯเริ่มเป็นที่ประจักษ์มากขึ้น ในขณะที่จีนและรัสเซียได้ผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกอีกขั้วหนึ่งวันนี้  ดังนั้นการขยับตัวของซาอุฯกับอิหร่านจึงมีนัยยะสำคัญต่อการเปลี่ยนขั้วอำนาจ นั่นคือว่าซาอุฯพยายามจะลดบทบาทการพึ่งพาสหรัฐฯลงและไปใกล้ชิดกับจีนและรัสเซียมากขึ้น  จึงเป็นไปได้ที่ซาอุฯได้รับการพูดคุยโดยจีนและรัสเซียให้ปรับความสัมพันธ์กับอิหร่าน เพราะอิหร่านคือพันธมิตรใกล้ชิดกับจีนและรัสเซียมากกว่า  และท่าที่ของการขยับเปลี่ยนขั้วอำนาจของซาอุฯที่เอนเอียงมายังจีนและรัสเซียก็เริ่มให้เห็นมากขึ้นและเปิดโต๊ะเจรจากับอิหร่านและหันมาปรับความสัมพันธ์กับอิหร่านคือทางรอดของซาอุฯคือนโยบายเพื่อรักษาหลักการว่าด้วยผลประโยชน์ของชาติตามทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เหตุปัจจัยที่สาม คือความพ่ายแพ้ของซาอุฯในแผนยุทธศาสตร์ที่ได้แข่งขันกับอิหร่านตลอดมา ไม่ว่าการสนับสนุนสงครามอิรัก-อิหร่าน หรือการสร้างสงครามตัวแทนในซีเรียหรือปัญหาการทำสงครามในเยเมนและอีกหลายๆประเทศที่ซาอุฯเข้าไปแทรกแซงเพื่อสู้กับอิหร่าน ไม่ประสบความสำเร็จสักสมรภูมิ  จึงเล็งเห็นแล้วว่าการเปลี่ยนความเป็นศัตรูมาเป็นมิตรคือทางรอดของซาอุฯวันนี้

เหตุปัจจัยที่สี่ คือวิสัยทัศน์2030 คือหางเสือการกำหนดทิศทางซาอุดิอารเบียภายใต้การนำของMBSวันนี้ และหนึ่งในยุทธศาสตร์นั้นคือการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของซาอุดิอารเบียใหม่ เป็นประเทศสมัยใหม่ เป็นรัฐสมัยใหม่ที่พร้อมจะเป็นมิตรกับนานาประเทศและลดภาพลักษณ์ความเป็นรัฐเผด็จการหรือเป็นรัฐสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอะไรทำนองนั้น แต่หันมาพูดคุยและใช้หลักเจรจามากขึ้น โดยเฉพาะความแข็งกระด้างทางมิติความเป็นลัทธิวาฮาบีในแบบสุดโต่ง แล้วแสวงหาความเป็นสายกลางมากขึ้น ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์กับอิหร่านเป็นการลบภาพจำที่เลวร้ายของความขัดแย้งระหว่างนิกายซุนนี-ชีอะฮ์ลงไปได้อีกด้วย

การฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างซาอุฯกับอิหร่านคือสัญญาณบวกที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่และครั้งสำคัญในตะวันออกกลางท่ามกลางภาวะความถดถอยของสหรัฐอเมริกาที่ต้องจับตามองอย่างไม่กระพริบตากันทีเดียว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *