บลิทซ์สเกลลิ่งเป็นการวิ่งเเข่งของราชินีแดง
บลิทซ์สเกลลิ่งเป็นการวิ่งเเข่งของราชินีแดง
ความต้องการเพื่อการเปลี่ยนแปลงไม่เคยสิ้นสุด การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแปดอย่าง และกฏที่ขัดสัญชาติญานแปดข้อมีอะไรร่วมกันหรือมันได้สะท้อนข้อเท็จจริงว่าเมื่อคุณได้บลิทซ์สเกลลิ่ง ความต้องการเพื่อการเปลี่ยนแปลงไม่เคยหยุดเพียงแค่เมื่อไรคุณบริหารการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ หรือใช้กฏที่ขัดสัญซาติญานได้บรรลุความสำเร็จ เกมกระดานได้เปลี่ยนแปลง และคุณต้อวทำมันทั้งหมดอีกครั้งไม่มีตลาดใดมีคุณค่าตลอดไป หมายความว่าแม้ว่าบริษัทที่ไปถึงระยะประเทศได้สำเร็จ ด้วยการยึดครองตลาดที่สำคัญ ต้องรักษาการค้นหาเพื่อตลาดต่อไปที่จะบลิทซ์สเกล ทุกเทคโนโลโยหรือตลาดใหม่ที่ตื่นเต้นครั้งหนึ่งเคยสนับสนุนการสร้างความมั่งคั่งอย่างมากมาย ในที่สุดมันได้กลายเป็นอุตสากรรมที่อยู่นิ่งและน่าเบื่อ และ ณ จุดแตกต่างกันภายในประวัตศาสตร์ เรือขนส่งสินค้า รถไฟ และรถยนต์ได้กำเนิดบริษัทและนวัติกรรมเปลี่ยนแปลงโลก เเละสร้างความมั่งคั่งชั่วอายุคน วันนี้มันได้เป็นน้ำนิ่งที่นอนหลับ แม้ว่าบริษัทเหมือนเช่นเทสลาได้บริหารที่จะฟื้นฟูมันแบบแผนอย่างเดียวกันได้แผ่ออกบนบนขนาดเล็กลงภายในซิลิคอนเเวลลี่ย์ ตรงที่ตลาดเพื่อดีแรม ฮาร์ด ไดรฟ์ และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทำให้บริษัทเหมือนเช่นอินเทล ซีเกต และคอมเเพค เจริญเติบโตไปสูมูลค่ามากมาย ก่อนกลายเป็นผลิตภัณฑ์เหมือนกันกำไรต่ำ อินเทลได้เจริญเติบโตอยู่ต่อไป ขอบคุณต่อการเปลี่ยนแปลงของมันไปสู่ซีพียูกำไรสูง ในขณะที่ซีเกตและคอมเเพคได้ร่วงโรยไป และในกรณีของคอมแพค จบลงด้วยการถูกซื้อและหายไปอินเทล ได้ประกาศการถอนตัวของมันจากธุรกิจดีแรม การอ้างถึงราคาที่ตกต่าลงเเละสูญเสียการทำกำไรเป็นปัจจัยที่สำคัญนำไปสู่การตัดสินใจนี้ การกระตุ้นอินเทลออกไปจากธุรกิจนี้ที่จะมุ่งไมโครโพรเซสเซอร์ แต่การตัดสินใจไม่ได้ง่ายดีเเรม ถูกแนะนำเมื่อ ค.ศ 1970 เป็นนวัตกรรมที่สำคัญอย่างแรกของบริษัท ดีเเรม ณ จุดหนึ่งของเวลา รับผิดชอบมากกว่า 90% ของรายได้ของอินเทล แต่มันได้พิสูจน์เป็นความฉลาด ดังที่แอนดี้ โกรฟได้อธิบาย มันเป็นการตัดสินใจทางความรู้้สึกอย่างหนึ่ง เราเป็นรายแรกที่แนะนำผลิตภัณฑ์และสร้างธุรกิจ เมื่อคิดย้อนกลับไป การออกจากดีเเรมเมื่อเราได้ทำเป็นการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีที่สุดที่เราเคยทำมา
เมื่อ ค.ศ 1990 แอนดี้ โกรฟ ซีอีโอของอินเทล ได้สร้างถ้อยคำว่า จุดหักเหทางกลยุทธ์ขึ้นมาภายในหนังสือล่มหนึ่งของเขาชื่อ “Only the Paranoid Survive ” ความสำเร็จทำให้เกิดความหลงพอใจ ความหลงพอใจทำให้เกิดความล้มเหลว ความหวาดระแวงเท่านั้นทำให้อยู่รอด” ผมเชื่อมั่นต่อคุณค่าของความหวาดระแวง แอนดี้ โกรฟ เชื่อมั่นต่อระดับของความกลัวที่ไม่มากจะดีต่อสุขภาพทางธุรกิจแอนดี้ โกรฟ ได้นำทางด้วยจุดผกผันทางกลยุทธ์หลายครั้ง เช่น การเปลี่ยนแปลงจากธุรกิจดีแรมไปเป็นธุรกิจไมโครโพรเซสเซอร์ เมื่ออินเทล ได้ตระหนักว่าพวกเขาไม่สามารถตามทันการแข่งขันจากญี่ปุ่นได้อินเทลได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อปลาย ค.ศ 1970 บริษัทเกือบจะล้มเหลวเนื่องจากคู่แข่งขันจากญี่ปุ่น พวกเขาจะผลิตชิ้ปหน่วยความจำ ณ ต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก และได้เริ่มต้นทุ่มตลาดภายในอเมริกาด้วยการลดราคาลง อินเทล กำลังเผชิญกับวิกฤต แอนดี้ โกรฟิ ได้ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตของอินเทล การมุ่งการผลิตชิปหน่วยความจำน้อยลง และได้วางเดิมพันบริษัทกับการก้าวไปสู่ธุรกิจไมโครโพรเซสเซอร์ผู้ประกอบการและบริษัทที่ดีที่สุดใช้บลิทซ์สเกลลิงบรรลุความสำเร็จภายในตลาดหนึ่ง กระโดดไปสู่ตลาดอื่น อินเทลกระโดดจากดีแรมไปสู่ไมโครโพรเซสเซอร์ และขี่คลื่นลูกที่สองไปสู่จุดสูงขึ้น ไมโครซอฟท์ใช้ความเหนือกว่าของมันภายในระบบปฏิบัติการไปสู่การพัฒนาแพลตฟอร์มไมโครซอฟท์ แอฟฟิซ บลิทซ์สเกลลิงอี-คอมเมิรชค้าปลีกของอเมซอนทำให้มันกลายเป็นผู้นำภภายในคลาวด์ คอมพิวติ้งด้วยอเมซอนเว็บ เซอร์วิซความต้องการเพื่อการเปลี่ยนแปลงไม่เคยสิ้นสุดควรจะใส่คุณทั้งความกลัวและความหวัง ความกลัว เพราะว่าคุณไม่เคยสามารถพักหรืออยู่นิ่ง ความหวัง เพราะว่าตลาดใหม่ปรากฏขึ้นอยู่เสมอให้แก่บุคคลทุกคนตั้งแต่ซิลิคอน แวลลี่ย์ ไปถึงเซียงไฮ้ โอกาสที่จะสร้างเหมือนกับจรวดใหม่ภายในหนังสือคาสสิคของเลวิส แคร์รอลล์ “Through the Looking Glass “ราชินีเเดงได้บอกอลิซ เดี๋ยวนี้ ที่นี่ เธอเห็นหรือยัง เธอวิ่งไปทั้งหมดยังอยู่ที่เดิม ถ้าเธออยากวิ่งไปที่อื่น เธอต้องวิ่งอย่างน้อยที่สุดให้เร็วที่สุดเป็นสองเท่า บางครั้งบลิทซ์สเกลลิ่งบริษัทอาจจะรู้สึกเหมือนกับวิ่งเต็มที่ยังอยู่ที่เดิม แต่ความแตกต่างระหว่างโลกของเราและราชินีเเดงคือ บลิทซ์สเกลลิงเป็นการวิ่งสร้าง สิ่งทำให้โลกเป็นสถานที่ดีขึ้น ไม่ว่าตลาดใหม่ของคุณจะเป็นเครื่องการเรียนรู้ หรือคอมพวเตอร์ไร้สาย หรือบางสิ่งบางอย่างที่ยังไม่ได้ถูกคิดค้น เราจะมีถ้อยคำเพื่อผลพลอยได้ของบลิทซ์สเกลลิ่ง : “ความก้าวหน้า”เราไม่มีข้อสงสัยเลยภายในโลกตรงที่ในขณะนี้ผู้ชนะได้รับทุกสิ่ง คุณต้องบลิทซ์สเกลลิ่ง ถ้าคุณไม่ทำ บุคคลอื่นจะทำโดยเฉพาะภายในตลาดและผลิตภัณฑ์ด้วยผลกระทบของเครือข่าย ผลกระทบเครือข่ายเกิดขึ้นเมื่อการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการเพิ่มขึ้นสนับสนุนคุณค่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นแก่ผู้ใช้คนอื่นบลิทซ์สเกลลิ่งเป็นการวิ่งเเข่งของราชินีสีเเดง อลิซพบตัวเธอเองวิ่งเร็วขึ้น และเร็วขึ้น แต่ยังคงอยู่ภายในที่เดิม เพราะว่าโลกที่อลิชอยู่ในขณะนั้นหมุนเร็วพอกับความเร็วภายในการวิ่งของอลิซ ดังนั้นถ้าอลิซจะวิ่งจากที่นั่นได้ อลิซต้องวิ่งให้เร็วขึ้นเป็นสองเท่าผลกระทบราชินีเเดงทำไมคุณไม่สามารถหยุดวิ่ง ผลกระทบราชินีเเดงเป็นแนวคิดที่อธิบายปรากฎการณ์สิ่งมีชีว้ตต้องปรับตัว วิวัฒนาการ และเเข่งขันอยู่เสมอเพื่อที่จะอยู่รอดภายในสภาพเเวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตรงที่ศัตรูและคู่แข่งขันของมันกำลังวิวัฒนาการด้วยบลิทซ์สเกลลิ่งขับเคลื่อนการเจริญเติบโตสายฟ้าแลบโดยการให้ความสำคัญความรวดเร็วเหนือกว่าประสิทธิภาพ
อิกอร์ แอนฟซอฟท์ บิดาของการบริหารเชิงกลยุทธ์ ได้พัฒนาตารางผลิตภัณฑ์-ตลาด เรียกกันว่าตารางแอนซอฟท์ขึ้นมาเมื่อ ค.ศ 1957 และได้กลายเป็นผลงานที่โด่งดังไปทั่วโลก ตารางแอนซอฟท์ไดัถูกพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเป็นบทความชื่อ “Strategies for Diversification” ภายในวารสารของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ต่อมาตารางแอนซอฟท์ ได้ถูกพิมพ์ภายในหนังสือของเขาชื่อ “Corporate Strategy” ค.ศ 1965 อิกอร์ แอนซอฟท์ มีคำพูดเปรียบเทียบ “ราชินีแดง” ตัวแสดงที่มีชื่อเสียงของหนังสือของ เลวิส แครอลล์ “Through the Looking Glass” ภายในบทความนี้ ราชินีสีแดงได้กล่าวว่า “ตอนนี้ ที่นี่ มันต้องใช้การวิ่งทุกอย่างที่เราสามารถทำที่จะรักษาเราไว้ภายในที่เดิม ถ้าเราต้องการไปที่อื่น เราต้องวิ่งอย่างน้อยที่สุดเร็วเป็นสองเท่า”ดังนั้นภายในเศรษฐกิจอเมริกัน เพียงแค่รักษาตำแหน่งเทียบเคียง บริษัทต้องเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะปรับปรุงตำแหน่ง พวกเขาต้องเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยที่สุดรวดเร็วเป็นสองเท่าตามการสำรวจบริษัทอเมริกันใหญ่ที่สุด 100 บริษัทตั้งแต่ ค.ศ 1909 ถึง 1948 บริษัทมีไม่กี่แห่งที่ติดอยู่กับผลิตภัณฑ์และวิธีการสมัยเดิมได้เจริญเติบโตภายในชนาด รายงานได้สรุปว่า ไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อว่าบริษัทบนสุดในขณะนี้จะยังคงอยู่ เว้นเสียแต่พวกเขาตามให้ทันภายในการวิ่งแข่งของนวัตกรรมและการแข่งขัน
อิกอร์ แอนซอฟท์ ได้มองว่ากลยุทธ์เป็น การกระจายธุรกิจอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะสร้างการเสริมแรงระหว่างธุรกิจ และเพิ่มมูลค่าของบริษัทให้สูงขึ้น อิกอร์ แอนซอฟท์ ได้บุกเบิกการศึกษากลยุทธ์อย่างมีระบบ ด้วยการวิจัยการซื้อบริษัทโดยบริษัทอเมริกันระหว่าง ค.ศ 1948 และ 1968 เขาได้พบว่าการซื้อบริษัทจะอยู่บนพื้นฐานของกลยุทธ์ที่มีเหตุผลมากกว่าบนพื้นฐานของโอกาสเรามีทางเลือการเจริญเติบโตพื้นฐานสี่อย่างเปิดแก่ธุรกิจ มันสามารถเจริญเติบโตผ่านการเจาะตลาด ผ่านการพัฒนาตลาด ผ่านการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ หรือผ่านการกระจายธุรกิจ
1 การเจาะตลาด
การเจาะตลาดจะเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นด้วยการขายผลิตภัณฑ์เดิมภายในตลาดเดิม ด้วยคำพูดอีกอย่างหนึ่งบริษัทมุ่งหมายที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของพวกเขาภายในตลาดเดิม การขายผลิตภัณฑ์มากขึ้นแก่ลูกค้าเดิม หรือการค้นหาลูกค้าใหม่ภายในตลาดเดิม บริษัทจะพยายามเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์ในขณะนี้ภายในตลาดขณะนี้ด้วยการส่งเสริมการขายและการจัดจัดหน่ายอย่างรุกรานมากขึ้น การลงทุนภายในการตลาดมากขึ้น และการเพิ่มกำลังการผลิตที่มีอยู่การเจาะตลาดสามารถถูกกระทำภายในวิถีทางโดยการลดราคาเพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าเดิมหรือใหม่ การเพิ่มการส่งเสริมการขาย และความพยายามทางการจัดจำหน่าย หรือการซื้อคู่แข่งขันภายในตลาดเดียวกัน เช่น บริษัทยักษ์ใหญ่สามรายของโลก ยูนิลีเวอร์ พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิ้ล และคอลเกต ปาล์มโอลีฟ นักการตลาดที่เชี่ยวชาญการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด ได้ใช้การเจาะตลาดเพิ่มยอดขายอยู่เสมอ
2 การพัฒนาตลาด
การพัฒนาตลาดจะเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นด้วยการขายผลิตภัณฑ์เดิมภายในตลาดใหม่ การขยายตัวไปสู่ตลาดใหม่อาจจะหมายถึงการขยายตัวไปยังพื้นที่หรือ กลุ่มลูกค้าใหม่ การพัฒนาตลาดจะบรรลุความสำเร็จมากที่สุดเมื่อบริษัทเป็นเจ้าของเทคโนโลยีลิขสิทธ์ มันสามารถใช้ประโยชน์ภายในตลาดใหม่ได้ และลูกค้าภายในตลาดใหม่จะมีกำไร
การพัฒนาตลาดสามารถถูกกระทำโดย การสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ การเข้าไปสู่ตลาดใหม่ภายในประเทศ – การขยายตัวทางพื้นที่ และการขยายตัวไปสู่ตลาดต่างประเทศ – การขยายตัวระหว่างประเทศ เช่น โคคาโคล่า ได้ใช้การพัฒนาตลาดเพิ่มยอดขายด้วยการสร้างตลาดใหม่ขึ้นมาทั่วโลก วิสัยทัศน์ของโค้กคือ “เราจะเอาโค้กใส่มือ แล้วยื่นไปยังบุคคลทุกคนทั่วโลก” แมคโดนัลด์ ได้ใช้การพัฒนาตลาดเพื่อการดำเนินธุรกิจไปทั่วโลกยกเว้นภูมิภาคไม่กี่แห่งของตะวันออกกลาง เอเชียตะวันตก และอัฟริกา
3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นด้วยการขายผลิตภัณฑ์ใหม่ภายในตลาดเดิม การพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเกี่ยวพันกับการวิจัยและพัฒนาอย่างเข้มข้น และการขยายตัวของขอบเขตผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จะถูกใช้เมื่อบริษัทมีความเข้าใจอย่างดีต่อต่อตลาดในขณะนี้ของพวกเขา และสามารถให้ข้อแก้ปัญหาทางนวัตกรรมที่จะตอบสนองความต้องการของตลาดเดิม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถูกกระทำโดยการลงทุนอาร์ แอนด์ ดี ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตอบสนองตลาดเดิม เช่น โตโยต้า มอเตอร์ ได้ใช้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มยอดขายด้วยการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเฉลี่ยทุกสองปี แมคสลัดจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของแมคโดนัลด์ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ตระหนักทางสุขภาพ
4 การกระจายธุรกิจการกระจายธุรกิจจะเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นด้วยการขายผลิตภัณฑ์ใหม่ภายในตลาดใหม่ แม้ว่าการกระจายธุรกิจจะเป็นกลยุทธ์เสี่ยงภัยที่สุด ความเสี่ยงภัยสามารถถูกลดลงได้ด้วยการกระจายธุรกิจที่เกี่ยวพันกัน การกระจายธุรกิจต้องการทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาด และอาจจะอยู่ภายนอกความสามารถแกนของบริษัท การกระจายธุรกิจอาจจะถูกมองว่าเป็นการฆ่าตัวตายโดยบุคคลบางคน แต่กระนั้นการกระจายธุรกิจอาจจะเป็นทางเลือกที่มีเหตุผล ถ้าความเสี่ยงภัยสูงได้ถูกชดเชยด้วยผลตอบแทนที่สูง เช่น เป้ปซี่ โค. ได้ใช้การกระจายธุรกิจเพิ่มยอดขายด้วยการเข้าไปสู่ธุรกิจ ร้านอาหารเคเอฟซี พิซซ่า ฮัท และทาโก้ เบลล์ มาแล้ว
การเจาะตลาดจะเป็นกลยุทธ์การเจริญเติบโตด้วยความเสี่ยงภัยต่ำที่สุดเพราะว่ามันจะเกี่ยวพันกับการขายผลิตภัณฑ์เดิมแก่ลูกค้าเป้าหมายที่ระบุไว้อย่างดี โดยทั่วไปการเจาะตลาดจะเป็นกลยุทธ์การเจริญเติบโตแกนต่อธุรกิจส่วนใหญ่ และได้ถูกลงทุนด้วยทรัพยากรส่วนใหญ่ของธุรกิจ แต่กระนั้นผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ใครก็ตามจะบอกเราว่า เราจะมาถึงเวลาที่การขึ้นอยู่กับการเจาะตลาดทั้งหมดต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจจะไม่ได้ผลต่อไปอีกแล้วในที่สุดเราจะไปถึงจุดที่ตลาดอิ่มตัวแล้ว และเราจะเพียงแต่มีลูกค้าไม่เพียงพอที่จะขาย ณ จุดนี้ เพื่อการเจริญเติบโตธุรกิจของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ผู้ก่อตั้งจะต้องเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกัน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการพัฒนาตลาด แต่เมื่อเราเข้าไปสู่ช่องใหม่ของตาราง ความเสี่ยงภัยจะเพิ่มขึ้นโดยธรรมชาตินับตั้งแต่อิกอร์ แอนซอฟท์ ได้เสนอแนะกลยุทธ์การกระจายธุรกิจเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ 1957 ผลกระทบทางการเสริมแรงของกลยุทธ์การกระจายธุรกิจได้กลายเป็นหัวข้อที่นักวิชาการและนักบริหารธุรกิจได้ให้ความสนใจอย่างมาก กลยุทธ์การเจริญเติบโตอย่างหนึ่งของบริษัทที่นิยมแพรหลายคือ การกระจายธุรกิจ อิกอร์ แอนซอฟท์ได้เสนอแนะว่าการกระจายธุรกิจของบริษัทเป็นวิถีทางอย่างหนึ่งที่จะเพิ่มมูลค่าของบริษัทโดยสร้างการเสริมแรงระหว่างธุรกิจหลายอย่างของบริษัทถ้อยคำของผลกระทบทางการเสริมแรงไดัถูกแนะนำครั้งแรกโดยอิกอร์ แอนซอฟท์ เมื่อ ค.ศ 1960 เขาได้อธิบายการเสริมแรงว่าเป็นผลกระทบรวมกันของผลิตภัณฑ์สองอย่างหรือตลาดสองตลาด เขายืนยันว่าบริษัทที่บรรลุความสำเร็จมากที่สุดคือ บริษัทที่สร้างข้อได้เปรียบภายในธุรกิจแกนด้วยการกระจายธุรกิจ การกระจายธุรกิจจะนำไปสู่ผลกระทบทางบวกของการเสริมแรงอิกอร์ แอนซอฟฟ์ ได้ให้คำนิยามของการเสริมแรงว่า การเสริมแรงคือ 1+1 = 3 หรือมากกว่า การเสริมแรงของบริษัทจะเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจสองอย่างหรือมากกว่าจะสร้างกำไรสูงกว่าที่ธุรกิจสองอย่างจะสร้างกำไรแยกจากกัน เช่น เป้ปซี่ได้เพิ่มการทำกำไรโดยสร้างการเสริมแรงทางการตลาดระหว่างธุรกิจน้ำอัดลมเป้ปซี่ และธุรกิจร้านอาหารเคเอฟซี
Cr : รศ สมยศ นาวีการ