โตโยต้า มอเตอร์ กำลังเหยียบย่ำบนเปลือกกล้วย
ทำไมบริษัทบางบริษัทเจริญรุ่งเรืองนานเป็นทษวรรษ ในขณะที่บริษัทอื่นเหี่ยวแห้งและตายไป จิม คอลลินส์ กูรูทางการบริหารของโลก ได้ค้นหา
ปริศนาเกี่ยวกับความยั่งยืนของบริษัท เขาจะอยู่ ณ จุดสูงสุดทางวิชาชีพของเขาเกือบสองทศวรรษ ทำไมเขาได้เขียนหนังสือที่ขายดีที่
สุดเล่มแล้วเล่มเล่า หนังสือเล่มลาสุดของเขา Great by choice ได้ซ้อนสูงอยู่ภายในร้านหนังสือทุกร้าน หนังสือเล่มก่อนหน้านี้ Good to Great ขายได้มากกว่าสี่ล้านเล่ม และเขาได้บรรลุอิทธิพลที่ศักดิ์สิทธ์เหนือผู้อ่านได้อย่างไรตัวอย่างเช่น เมื่อ ค.ศ 2009 อกิโอะ โตโยดะ ซีอีโอ ของโตโยต้า มอเตอร์
ได้ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ตกตะลึงด้วยการประกาศว่าเขาได้อ่านหนังสือ How the Mighty Fall ของ จิม คอลลินส์ และได้สรุปว่าบริษัทของเขาจะอยู่ภายในขั้นตอนที่สี่ของขั้นตอนการตกต่ำห้าขั้นของจิม คอลลินส์หน้าปกของวารสารอีโคโนมิสท์ ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม 2009 จะมีพาดหัวว่า Toyota Slips Up และภาพที่ตลกของกล้วยบนล้อรถยนต์ บทความเรื่อง ได้เขียนว่า อกิโอะ โตโยตะ ได้กล่าวว่า โตโยต้า จะอยู่ ณ ขั้นตอนที่สี่ การทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด ภายในขั้นตอนห้าขั้นของการตกต่ำของบริษัทโดย จิม คอลลินส์ แต่กระนั้นหลักฐานจริงของการตกต่ำของบริษัทที่พวกเขาได้นำเสนอคือ
1 การขาดทุนสูงมากภายในการถดถอย – สูงกว่าเจ็นเนอรัล มอเตอร์
2 ส่วนแบ่งตลาดที่หยุดนิ่งหรือลดลงภายในทุกที่ยกเว้นภายในญี่ปุ่น
3 ความรู้สึกว่ารถยนต์ของโตโยต้าน่าเบื่อเปรียบเทียบกับยักษ์ใหญ่
รถยนต์ญี่ปุ่นรายอื่นภายหลังหลายปีของการศึกษาบริษัที่บรรลุความสำเร็จ และพยายามค้นหา “ทำไม” เบื้องหลังความสำเร็จชองพวกเขา จิม คอลลินส์ กูรูทางการบริหารได้เปลี่ยนความสนใจของเขาไปยังการตกต่ำของบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่ “เรากำลังเปลี่ยนไปที่ด้านมืด” เขาได้พูดกับเพื่อนร่วมงานของเขา
จิม คอลลินส์ จะเป็นผู้เขียนหนังสือทางธุรกิจขายดีที่สุดสองเล่มตลอดเวลาคือ Built to Last และ Good to Great หนังสือทั้งสองเล่มจะกล่าวถีงบริษัทที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืน และคำแนะนำจากจิม คอลลินส์แก่ผู้อ่านที่ต้องการจะสร้างบริษัทให้ยิ่งใหญ่และยั่งยืน ต่อมาจิม คอลลินส์ ได้เขียนหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด
คือ How the Mighty Fallที่มองอีกด้านหนึ่งของเหรียญ – ความล้มเหลว ซีอีโอคนหนึ่งได้มีคำถามว่า “เมื่อเราเป็นบริษัทที่บรรลุความสำเร็จมากที่สุดภายในอุตสาหกรรมของเรา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าถ้าอำนาจและความสำเร็จได้ปิดบังข้อเท็จจริงว่าเราได้อยู่บนเส้นทางของการตกต่ำแล้ว” คำถามนี้จะเป็นแรงจูงใจต่อหนังสือเล่มนี้ของจิม คอลลินส์ปัจจุบัน จิม คอลลินส์ จะเป็นวิทยากรที่นิยมแพร่หลายมากที่สุดคนหนึ่ง – รายได้ดีที่สุด ภายในวงจรของการบรรยาย แต่เขาและผู้เขียนร่วมคนหนึ่ง เจอร์รี่ โพรร่าส์ จะเป็นแต่เพียงนักวิชาการที่รู้จักกันน้อยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเมื่อ ค.ศ 1994 เมื่อพวกเขาได้พิมพ์หนังสือ Built to Last เริ่มแรก หนังสือจะไม่มีใครสังเกตุ แต่ยอดขายหนังสือได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดการยืนยันของจิม คอลลินส์ คือ สถาบันอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหนจะเสี่ยงภัยต่อการตกต่ำ คำถามที่สำคัญคือเขาได้พยายามจะตอบว่าการตกต่ำสามารถหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ หรือถ้ามันเป็นผลตามมาของเวลาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเป้าหมายนี้ภายในจิตใจ จิม คอลลินส์และทีมวิจัยของเขา ได้ประเมินบริษัทที่มีชื่อเสียงหลายบริษัท ภายใต้ความพยายามจะระบุขั้นตอนที่แตกต่างกันของการตกต่ำ การระบุการกระทำที่สามารถนำไปสู่การพลิกฟื้นของการตกต่ำภายในหนังสือเล่มล่าสุด How the Mighty Fall จิม คอลลินส์ ได้เริ่มต้นประหลาดใจ บริษัทยิ่งใหญ่ได้ตกต่ำอย่างไรด้วยความพยายามตอบคำถามต่อไปนี้
การตกต่ำสามารถหลีกเลี่ยงได้หรือไม่
การตกต่ำสามารถตรวจสอบได้หรือไม่
การตกต่ำสามารถพลิกฟื้นได้หรือไม
หนังสือเล่มนี้ได้ค้นพบขั้นตอนห้าขั้นของการตกต่ำด้วยการใช้กรณีศึกษาของบริษัทที่ได้ผ่านขั้นตอนของการตกต่ำเหล่านี้ และบริษัทไม่กี่ยริษัทเท่านั้นที่สามารถฟื้นตัวได้ แบงค์ ออฟ อเมริกา เซอร์กิต ซิตี้ วอลท์ ดีสนี่ย์ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ไอบีเอ็ม เมอร์ค โมโตโรล่า นูคอร์ รับเบอร์เมด ซีนิธ ซีรอกซ์ เป็นต้น
จิม คอลลินส์ ได้อธิบายการตกต่ำของบริษัทเหมือนกับระยะของการเกิดโรค มันจะเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายถ้าถูกตรวจพบแต่เริ่มแรก แต่กระนั้นมันจะตรวจพบได้ยากมากภายในระยะเริ่มแรก ต่อมามันจะรักษาได้ยากขึ้น แต่จากนั้นจะตรวจพบได้ง่ายขึ้น บริษัทสามารถปรากฏตัวได้อย่างเข้มแข็งแม้ว่าจะอยู่บนจุดของการตกต่ำลง ตามโมเดลห้าขั้นตอนของบริษัทที่ยิ่งใหญ่ตกต่ำได้อย่างไรขันตอนสองขั้นแรกจะกล่าวถึงทำไมบริษัทได้ตกต่ำ และขั้นตอนสามขั้น
ต่อไปจะอธิบายว่าผู้บริหารได้ตอบสนองต่อการตกต่ำเหล่านี้อย่างไร จิม คอลลินส์ชี้ว่าโมเดลอาจจะไม่สมบูรณ์ แต่โมเดลจะให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้อ่านที่ต้องการจะป้องกัน ตรวจสอบ และพลิกฟื้นบริษัทได้อย่างไร ขั้นตอนห้าขั้นของการตกต่ำได้ถูกสรุปไว้ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง ความหยิ่งยะโสจากความสำเร็จ ความหยิ่งยะโสจะอ้างถึงความภูมิใจหรือความอวดดีมากเกินไป ขั้นตอนที่หนึ่งจะเริ่มต้นเมื่อบุคคลได้กลายเป็นความเชื่อมั่นมากเกินไป และมักจะลืมรากฐานที่แท้จริงของความสำเร็จของพวกเขา การละทิ้งรากฐานและแรงขับเคลื่อนแห่งความสำเร็จขององค์การ “ล้อตุนกำลัง” ล้อตุนกำลัง จะเป็นแรงขับเคลื่อนหรือแรงเหวียงอย่างต่อเนื่องที่ถูกสร้างจากจุดมุ่งที่ชัดเจนของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยผลลัพธ์ที่มองเห็นได้ พลังขององค์การนี้จะถูกขับเคลื่อนโดยบุคคลมุ่งไปข้างหน้าคล้ายกับฝูงม้าจิม คอลลินส์ จะอ้างว่าเป็นวงจรที่ได้รวมกันเป็นปึกแผ่นของผลกระทบของวงกลมที่ตัดกันของแนวคิดเม่นเมื่อ “ผลกระทบของล้อตุนกำลัง” ไม่ได้เกิดขึ้น แรงขับเคลื่อนจะกลายเป็นกระจายและขาดจุดมุ่ง การนำไปสู่ “วงจรแห่งความหายนะ” การปราศจากแนวคิดเม่นที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวเครื่องชี้ตัวหนึ่งจะถูกละเลยของล้อตุนกำลัง ความเข้าใจว่าอะไรที่เราทำได้ดีกว่าใครก็ตามบนโลกนี้ และอะไรที่มีส่วนช่วยมากที่สุดต่อความสำเร็จของเรา จากนั้นเราจะลืมและก้าวไปสู่บางสิ่งบางอย่าง เมื่อบริษัทได้ถูกพัดพาให้ห่างออกไป และได้เริ่มต้นสับสนจากสิ่งอื่น มันง่ายต่อพวกเขาที่จะลืมล้อตุนกำลังนั้นเครื่องชี้อีกตัวหนึ่งคือการไม่ยอมเชื่อว่าโชคจะมีบางสิ่งบางอย่างต่อความสำเร็จของเรา เราคิดว่าความสำเร็จทุกอย่างของเราจะอยูบนพื้นฐาน 100% ของสิ่งที่เราได้กระทำ ซีอีโอที่ดีที่สุดจะมีความรับผิดชอบต่อความล้มเหลวของพวกเขาอยู่เสมอ ที่จริงแล้วพวกเขาจะรับเอาความล้มเหลวของบุคคลของพวกเขาเป็นของพวกเขาเอง พวกเขาจะยกย่องความสำเร็จแก่บุคคลอื่นหรือแม้แต่โชค
บุคคลจะมองความสำเร็จเป็นของตาย การสูญเสียความอยากจะเรียนรู้ การไขว้เขวจากด้านที่ไม่เป็นแกน และการสับสน ทำไม และ อะไร ของพวกเขา
บริษัทที่ยิ่งใหญ่สามารถกลายเป็นถูกป้องกันจากความสำเร็จ แรงเหวี่ยงที่สะสมสามารถนำบริษัทไปข้างหน้าระยะหนึ่ง แม้ว่าผู้นำของพวกเขาจะมีการตัดสินใจที่ไม่ดี หรือการขาดระเบียบวินัย ขั้นตอนที่หนึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลกลายเป็นหยิ่งยะโส พวกเขาจะมองไม่เห็นปัจจัยรากฐานแท้จริงที่สร้างความสำเร็จภายในระยะแรก เมื่อการโอ้อวดถึงความสำเร็จ – เราบรรลุความสำเร็จเพราะว่าเราได้กระทำสิ่งที่โดยเฉพาะเหล่านี้ – ทดแทนการรับรู้ความเข้าใจ
– เราบรรลุสำเร็จเพราะว่าเราเข้าใจทำไมเราไ้ด้กระทำสิ่งทีโดยเฉพาพเหล่านี้ – การตกต่ำของบริษัย่อมจะตามมา
จิม คอลลินส์ ได้เตือนว่าเมื่อความหยิ่งยะโสได้เกิดขึ้นภายในบริษัท ความหยิ่งยะโสสามารถสร้างความผูกพันอย่างไม่ไตร่ตรอง ต่อการเจริญเติบโตมากขึ้นและมากขึ้น ความใหญ่โตจะกลายเป็นสำคัญมากกว่าความยิ่งใหญ่ มันไม่ใช่ว่าการเจริญเติบโตจะไม่ดี ที่จริงแล้วขั้นตอนที่สองจะไม่เกียวกับการเจริญเติบโตอย่างแท้จริง แต่จะเป็นการแสวงหาเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีระเบียบวินัยจิม คอลลินส์ ได้อ้างถึง “กฏของแพคการ์ด” ชื่อของเดวิด แพคการ์ด ผู้ก่อตั้งร่วมฮิวเลตต์-แพคการ์ด ที่ได้สังเกตุว่า บริษัทที่ยิ่งใหญ่น่าจะตายจากการไม่ย่อยของโอกาสมากเกินไป มากกว่าการอยู่รอดจากเล็กน้อยเกินไป
จิม คอลลินส์ ได้กล่าวต่อไปว่า กฏของแพคการ์ด ระบุว่าไม่มีบริษัทไหนสามารถเจริญเติบโตทางรายได้อย่างสม่ำเสมอ รวดเร็กว่าความสามารถของพวกเขาจะได้บุคคลที่เหมาะสมเพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโต และยังคงกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่อยู่่ จิม คอลลินส์ ได้เล่าเรื่องราวของโมโตโรล่า บริษัทได้คิดค้นโทรศัพท์มือถือที่เล็กที่สุดภายในโลกด้วยการใช้อนาลอก เทคโนโลยี ในขณะที่ดิจิตอล เทคโนโลยีกำลังกลายค่อยเป็นคลื่นลูกต่อไป โมโตโรล่าได้กลายเป็นหยิ่งยะโสและไม่รับฟังตลาด การกล่าวว่างูกค้าอนาลอก 43 ล้านคนจะไม่ผิดพลาดความหยิ่งยะโสของพวกเขาได้ทำให้คู่แข่งขันสามารถเพิ่มส่วนแบ่งคลาดและพวกเขาได้ตกต่ำลงจากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือหมายเลขหนึ่งของโลกด้วยการมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 17% เท่านั้นเมื่อ ค.ศ 1999 เมื่อ ค.ศ 2003 บริษัทจะมีบุคคลลดลงเป็น 88,000 คน – การสูญเสียงานเกือบ 60,000 งานจาก ค.ศ 2001ขั้นตอนที่สอง การแสวงหามากขึ้นอย่างขาดระเบียบวินัย ความหยิ่งยะโส
จากความสำเร็จของขั้นตอนที่หนึ่งจะนำบริษัทไปสู่การทำเกินความสามารถ การกระโดดไปสู่ด้านที่มันไม่สามารถจะยิ่งใหญ่ได้ หรือการแสงหาการเจริญเติบโตโดยไม่มีบุคคลที่เหมาะสม พวกเขาได้กลายเป็นลุ่มหลงต่อการเจริญเติบโต จนถึงจุดที่ขาดจุดมุ่งและระเบียบวินัย และพวกเขาจะสร้างข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง เนื่องจากการเจริญเติบโตรวดเร็วกว่าที่พวกเขาจะได้บุคคลที่เหมาะสม และหรือการวางผู้สืบทอดที่เหมาะสมไว้แล้ว
เราจะมีความยิ่งใหญ่ เราสามารถทำอะไรก็ได้ – จะนำไปสู่การแสวงหามากขึ้นด้วยการเจริญเติบโตมากขึ้น ขนาดใหญ่มากขึ้น การโห่ร้องมากขึ้น อะไรก็ตามมากขึ้นที่ถูกมองว่าเป็นความสำเร็จ บริษัทจะหลงทางจากความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบวินัยที่นำพวกเขาไปสู่ความยิ่งใหญ่เริ่มแรก การกระโดดไปอย่างไม่มีระเบียบวินัยไปสู่ด้านที่พวกเขาไม่สามารถสร้างความยิ่งใหญ่ได้ จิม คอลลินส์ ได้เตือนว่า การเจริญเติบโตจะไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อบริษัทอยู่เสมอ เมื่อบริษัทได้เจริญเติบโตเลยพ้นไปจากความสามารถของพวกเขาที่จะบรรจุที่นั่งที่สำคัญด้วยบุคคลที่เหมาะสม บริษัทได้กำหนดตัวเองเพื่อการตกต่ำแล้ว
ขั้นตอนที่สาม การไม่ยอมรับความเสี่ยงภัยและอันตราย เมื่อบริษัทได้เข้ามาสู่ขั้นตอนที่สาม ผลลัพธ์ภายนอกจะยังคงเข้มแข็ง
เพียงพอที่จะอธิบายเหตุผลข้อมูลลบให้พ้นตัวได้ หรือการเสนอแนะว่าความยุ่งยากจะชั่วคราว หรือ วงจร หรือไม่ใข่ไม่ดี และไม่มีอะไรเลยที่ผิดพลาดพื้นฐาน แต่สัญญานเตือนภายในของการตกต่ำกำลังปรากฏขึ้น ผู้นำโน้มเอียงที่จะขยายข้อมูลบวกและลดค่าข้อมูลลบ และปั่นข้อมูลคลุมเครือให้เป็นบวก ผู้นำจะเริ่มต้นกล่าวหาปัจจัยภายนอกจากการตกต่ำ แทนที่จะยอมรับความรับผิดชอบ ผลลัพธ์ของการเคลือบลูกกวาดได้กลายเป็นบรรทัดฐานแทนข้อยกเว้น การเรียนรู้วงรอบเดียวได้กลายเป็นข้อแก้ตัวของวงรอบเดียว แทนการขุดหาลึกลงไปภายในสถานการณ์ เพื่อที่จะดูสมมุติฐานรากฐานของสถานการณ์ และการค้นหาคำตอบที่ใหม่และสร้างสรรค์ เป้าหมายเดิมพันสูงและกล้าหาญโดยไม่มีการตรวจสอบทางประสบการณ์จะนำไปสู่ความล้มเหลวและการตกต่ำที่เร็วขึ้น
เราเชื่อว่าเราจะอยู่เหนือความเสี่ยงภัยและอันตราย การถือตัวเองเองว่าสำคัญของเราคิดว่าเราจะจัดการได้ เราได้เริ่มต้นบิดเบือนความเป็นจริง และวางแผนและกระทำตามการบิดเบือนความเป็นจริง การกระทำจะเริ่มต้นผิดพลาดอย่างรุนแรงด้วยการตัดสินใจที่บิดเบือนเหล่านี้
ขั้นตอนที่สี่ การแสวงหาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยูรอด ณ ขั้นตอนนี้ การตกต่่ำได้กลายเป็นปฏิเสธไม่ได้ แต่ความตายของบริษัท
จะยังไม่ใกล้ การตอบสนองของผู้นำ ณ จุดนี้จะพิจารณาว่าบริษัทจะจมหรือว่ายน้ำ บริษัทจะหวาดกลัวและแสวงหาความอยู่รอดอย่างรวดเร็ว – การนำผู้ช่วยชีวิตภายนอกเข้ามา การกระโดดไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจะเร่งการตกต่ำของพวกเขาไปสู่ขั้นตอนที่ห้า การรอดชีวิตจะเป็นไปได้ด้วยการกลับไปสู่รากฐานเดิมเท่านั้น เช่น บริษัทจะต้องสร้างและเสริมแรงล้อตุนกำลังใหม่อีกครั้งหนึ่งการตกต่ำจะกลายเป็นมองเห็นได้ภายในขั้นตอนนี้ ความเสี่ยงภัยและหรืออันตรายสะสมของขั้นตอนที่สามจะยืนยันตัวมันเอง การโยนบริษัทลงไปสูการตกต่ำที่บุคคลทุกคนมองเห็นได้ คำถามที่สำคัญคือ ผู้นำของพวกเขาได้ตอบสนองอย่างไร ด้วยการซวนเซเพื่อความอยู่รอดอย่างรวดเร็ว หรือการกลับไปยังระเบียบวินัยที่ได้สร้างความหยิ่งใหญ่ตอนเริ่มแรก ใครที่แสวงหาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดจะตกลงไปอยู่ขั้นตอนที่สี่บริษัทจะสูญเสียการตระหนักถึงวิญญานของความยิ่งใหญ่ของตัวเอง การหวังว่าจะค้นพบกระสุนเงินหรือคำตอบไม้เท้ากายสิทธิ์
การไขว่คว้ากระสุนเงินซ้ำแล้วซ้ำอีก กระสุนเงินหมายถึงบางสิ่งบางอย่างที่จะแก้ปัญหาที่ยุ่งยากได้อย่างรวดเร็วและง่าย
ขั้นตอนที่ห้า การยอมแพ้หรือตาย บริษัทยิ่งอยู่ ณ ขั้นตอนที่สี่นานเท่าไร และผู้นำของพวกเขาุยายามค้นหาคำตอบที่อัศจรรย์มากขึ้นเท่าไร บริษัทจะยิ่งตกลงอย่างรวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น ในที่สุดทรัพยากรการเงินจะแห้งลง และบุคคลจะไม่พยายามต่อไป ณ จุดนี้ โดยปรกติบริษัทจะมีสองเส้นทาง 1 เลิกและขายบริษัท หรือ 2 ทำต่อไปจนกระทั่งหมดแรงมรดกของการตกต่ำลงที่สะสมและความผิดพิดพลาดราคาแพงได้เริ่มต้นความล้มเหลว บริษัทที่ยังคงอยู่ขั้นตอนที่สี่นานเท่าไร การไขว่คว้ากระสุนเงินซ้ำแล้วซ้ำอีก การตกต่ำจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ภายในขั้นตอนที่ห้า การตกต่ำที่สะสมและความผิดพลาดราคาแพงจะเริ่มต้นกัดเซาะจุดแข็งทางการเงินและจิตใจของบุคคล จนผู้นำได้ละทิ้งความหวังทุกอย่างของการสร้างความยิ่งใหญ่ในอนาคต
ซีนิธ คอรปอเรชั่น จะยึดครองฐานะเด่นภายในโทรทัศน์และวิทยุ เงินทุก
ดอลล่าร์ที่ได้ลงทุนภายในซีนิธ ตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ 1950 และผ่านมาถึง
ค.ศ 1965 ได้เพิ่มมูลค่ามากกว่าหนึ่งร้อยเท่า การสร้างผลลัพธ์สะสมสิบเท่าสูงกว่าตลาด แต่กระนั้น ซีนิธได้เผชิญกับปัญหาและการคุกคามจากบริษัทญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่นสามารถสร้างโทรทัศน์ที่ดีกว่าและต้นทุนต่ำกว่า ซีนิธไม่ได้ให้ความสนใจพวกเขาด้วยความเชื่อว่าบริษัทญี่ปุ่นไม่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้
: ขั้นตอนที่หนึ่ง นอกจากนี้พวกเขาจะมีปัญหาของการสืบทอดความเป็นผู้นำการสร้างความยุ่งยากแก่บริษัทเมื่อผู้สืบทอดทีได้เลือกไว้เสียชีวตลง
: ขั้นตอนที่สอง ซีนิธ ได้กล่าวหาปัญหาภายนอกเหมือนเช่นการต่อสู้ทางเศรษฐกิจของอเมริกา ความไม่สงบทางแรงงาน และการตกตะลึงทางน้ำมัน แทนการเผชิญกับการขาดความสามารถทางการแข่งขันของพวกเขา
: ขั้นตอนที่สาม การทำกำไรได้ตกต่ำลงสู่ระดับที่ไม่ได้มองเห็นภายในสามสิบปี การขาดการวางแผนและการกระโดดไปสู่โอกาสทุกอย่าง เช่น วีซีอาร์ วีดีโอดิสค์ คอมพิวเตอร์ ได้ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทลดลงอย่างมาก
: ขั้นตอนที่สี่ภายใต้การทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด ซีนิธ ได้พบโอกาสใหม่โดยบังเอิญที่ทำให้พวกเขายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง พวกเขาได้กลายเป็นผู้ผลิตหมายเลขสองของส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของไอบีเอ็ม แต่แม้ว่าพวกเขาจะบรรลุความสำเร็จ ซีนิธได้ถูกลากลงมาด้วยธุรกิจโทรทัศน์ การ
ทำใหฐานะทางการเงินเลวลง การนำไปสู่การขายซีนิธแก่บูลล์ คอรปอเรชั่นในที่สุดจิม คอลลินส์ ยืนยันว่าการตกต่ำสามารถหลีกเลี่ยงได้ ตรวจสอบ หรือแม้แต่พลิกผ้นได้ บริษัทยิ่งใหญ่สามารถสะดุดลง เลวร้าย หรือพลิกกลับได้ การตกต่ำจะเป็นการติดเชื้อตัวเอง และเส้นทางไปสู่การฟื้นตัวจะอยู่ภายในมือของพวกเราเองเราไม่ได้ถูกคุมขังโดยสถานการณ์ของเรา ประวัติของเรา หรือแม้แต่ความพ่ายแพ้ของเรา ตราบเท่าที่เราไม่เคยต้องพ่ายแพ้ออกจากการแข่งขัน ความหวังจะยังคงมีอยู่ บริษัทยิ่งใหญ่สามารถตกต่ำได้ แต่พวกเขามักจะลุกขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง จิม คอลลินส์ ได้วิเคราะห์บริษัทยิ่งใหญ่สามบริษัทที่ได้ตกต่ำลงคือ ไอบีเอ็ม นูคอร์ และนอร์ดสตรอม และการชี้ให้เห็นถึงขั้นตอนที่บริษัทสามบริษัทเหล่านี้ไ้ด้ใช้ที่จะฟื้นตัวเขาได้สัมพันธ์ขั้นตอนเหล่านี้กับหลักการของกรอบข่ายบริษัทที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่ตามกรอบข่ายของบริษัทที่ดีไปสู่ยิ่งใหญ่ จิม คอลลินส์ ได้แสดงว่าการสร้างบริษัทที่ยิ่งใหญ่จะดำเนินไปตามขั้นตอนเบื้องต้นสี่ขั้น ขั้นตอนแต่ละขั้นจะประกอบด้วยหลักการรากฐานสองข้อ
ขั้นตอนที่ 1
บุคคลที่มีระเบียบวินัย :
ใครก่อน จากนั้นอะไร
ขั้นตอนที่ 2 ความคิดที่มีระเบียบวินัย :
การเผชิญกับข้อเท็จจริงที่โหดร้าน
แนวคิดของเม่น
ขั้นตอนที่ 3 การกระทำที่มีระเบียบวินัย :
วัฒนธรรมแห่งวินัย
ตัวเร่งทางเทคโนโลยี
ขั้นตอนที่สี่ การสร้างความยิ่งใหญ่ไปสู่ความยั่งยืน :
การสร้างนาฬิกา ไม่ใช่การบอกเวลา
การรักษาแกนและการกระตุ้นความก้าวหน้า
จิม คอลลินส์ ตำนานกูรูทางธุรกิจ เมื่อสิบปีที่แล้ว Good to Great และ Built to Last ทำให้เขาเป็นปีเตอร์ ดรัคเกอร์ คนใหม่ ยูเอสเอ ทูเดย์ ได้กล่าวว่า
เขาค่อนข้างจะกล่าวถึงการปีนภูเขา แทนที่จะช่วยให้บริษัทเรียนรู้ความลับของการก้าวกระโดดไปสู่ความยิ่งใหญ่การตัดสินใจเขียนหนังสือเล่มนี้ How the Mighty Fall ส่วนหนึ่งจะเกิดขึ้นจากการประชุม ณ เวสท์พอยท์ ของจิม คอลลินส์ การประชุมระหว่างนายพล 12 คน ซีอีโอ 12 คน และผู้นำภาคสังคม 12 คน พวกเขาต้องการอภิปรายหัวข้อ “อเมริกา” ผมจะสอนกลุ่มนี้เกี่ยวกับอเมริกาได้อย่างไรอเมริกากำลังจะชุบชีวิตความยิ่งใหญ่ของพวกเขา หรืออเมริกาจะเป็นอัน
ตรายจากการอยู่บนจุดของการตกต่ำจากยิ่งใหญ่ไปสู่ดี หรือไม่ หัวข้อหลักได้กลายเป็นชัดเจน ระหว่างการหยุดพัก ซีอีโอคนหนึ่งของบริษัทอเมริกันที่มีชื่อเสียงได้ดึงผมไปพูดส่วนตัาว่า “เราได้บรรลลุความสาเร็จยิ่งใหญ่มากเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อเราอยู่ ณ บนสุดของโลก ประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดบนโลกนี้ บริษัทที่บรรลุความสำเร็จมากที่สุดภายในอุตสาหกรรมของเรา ผู้เล่นที่ดีที่สุดภายในเกมของเรา อำนาจและความสำเร็จของเราอาจจะปกปิดข้อเท็จจริงว่าเราได้อยู่บนเส้นทางของการตกต่ำแล้วหรือไม่”ความซ่อนเร้นภายในการคลานเข้ามาอย่างนิ่งเงียบของความหายนะ เมล็ดพันธ์ุแห่งความล้มเหลว ความสำเร็จทำให้มองไม่เห็น เมื่อบุคคลทุกคนพูดว่าเราเป็นผู้นำดีที่สุด ผู้เล่นที่มีพลังมากที่สุด เมื่อหนังสือพิมพ์ คู่แข่งขันของเรา และศัตรูของเรา ได้ยกเราขึ้นแท่น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราไม่ได้อยู่บนเส้นทางของการตกต่ำแล้ว คำถามนั้นของซีอีโอได้สร้างแรงบันดาลใจการวิจัยครั้งใหม่ต่อสิ่งที่จิม คอลลินส์ เรียกว่า “การคลานเข้ามาอย่างสงบนิ่งของความหายนะ”
วารสารเดอะ อีโคโนมิสท์ ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม 2009 จะมีบทความเรืองโตโยต้าได้เหยียบย่ำบนเปลือกกล้วย ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ถูกรุมเร้าเจ้าภาพของปัญหา และหลานชายของผู้ก่อตั้ง ได้รู้สึกกลัวต่อความเลวร้าย หน้าปกของวารสารฉบับนี้จะมีภาพที่น่าตลกของกล้วยบนล้อรถยนต์
ตามมาตรฐานของญี่ปุ่นแล้ว เมื่อซีอีโอของบริษัทจะขออภัยต่อประชาชนเป็นประจำ เมื่อบริษัทของพวกเขาอยู่ภายในวิกฤติ สามเดือนกว่าภายหลังที่
อกิโอะ โตโยดะ กลายเป็นซีอีโอของโยต้า มอเตอร์ เขาได้กล่าวแก่ผู้สื่อข่าวณ สโมสรข่าวแห่งชาติของญี่ปุ่น ว่า เขาได้แสดงความเสียใจต่อการชนกันของรถยนต์อย่างร้ายแรงที่นำไปสูการเรียกคืนรถยนต์ 8.5 ล้านคัน การเสียใจต่อการขาดทุนติดต่อกันเป็นปีที่สอง และการเสียใจต่อการปิดโรงงานอเมริกาแห่งแรกของบริษัทยิ่งกว่านั้นอกิโอะ โตโยดะ ได้กล่าวถึงบริษัทได้ละอายใจที่ไม่ได้ตระเตรียมต่อวิกฤติทางเศรษฐกิจโลกที่ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์เสียหายอย่างรุนแรงบริษัทกำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด การก้าวออกมาจากการยอมแพ้หรือตาย อกิโอะ โตโยดะ ซีอีโอ หลานชายของผู้ก่อตั้งบริษัท ได้ขอโทษต่อการเรียกคืนรถยนต์ทั่วโลกเพื่อความปลอดภัยการทำลายชื่อเสียงอย่างมากต่อบริษัทไอคอนรายหนึ่งของญี่ปุน เขาได้กล่าวว่า “เขาเสียใจอย่างลึกซึ้ง” ความห่วงใยต่อข้อผิดพลาดจากการเร่งความเร็วได้ทำให้เกิดอุบัติเหตุแก่ลูกค้า เขาได้กล่าวว่า “มันจะเเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลของผม” ที่จะต้องแก้ปัญหา
อกิโอะ โตโยดะ ได้ให้ปากคำต่อรัฐสภาอมริกาด้วยการขออภัยต่อรัฐสภาและชาวอเมริกันที่เป็นเจ้าของรถโตโยต้า เขารู้สึกเสียใจมากต่อปัญหาของความปลอดภัยที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต เพราะว่าความผิดพลาดของคันเร่งและระบบห้ามล้อของรถยนต์โตโยต้าหลายรุ่น และทำให้โตโยต้าต้องเรียกคืนรถยนต์ เขาได้ยอมรับว่าเนื่องจากโตโยต้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเกินไป การพัฒนาองค์การและบุคคลไม่สามารถตามทันได้เขาได้บอกแก่สมาชิกของรัฐสภาว่าการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของบริษัทของเขาได้ทำให้ “สับสน” กับลำดับความสำคัญต่อความปลอดภัยอย่างตรงไปตรงมาผมกลัวว่าการก้าวไปของการเจริญเติบโตของเราจะรวดเร็วเกินไป อกิโอะ โตโยดะ ได้กล่าวระหว่างการสอบปากคำนานกว่าสามชั่วโมง ผมเสียใจที่ทำให้เกิดปัญหาทางความปลอดภัย ผมเสียใจอย่างมากต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นผู้ขับรถยนต์โตโยต้าต่อมาล่าสุดโตโยต้าได้ประกาศเรียกคืนรถยนต์พรีอุสรวมถึงรุนล่าสุดและรถไฮบริดรุ่นอื่นด้วย 437,000 คัน เพื่อที่จะซ่อมแซมระบบห้ามล้อที่บกพร่องภายในญี่ปุ่น 223,000 คัน และภายในอเมริกา 147,500 คันการเรียกคืนรถยนต์ของโตโยต้ากำลังกระทบต่อรถยนต์หลายรุ่นภายในหลายภูมิภาคและได้สร้างความวิตกกังวลต่อลูกค้าว่ารถยนต์ของพวกเขาจะปลอดภัยหรือไม่ อกิโอะ โตโยดะ ได้บอกแก่นักข่าว ณ การแถลงข่าวเรียกคืนรถยนต์อย่างเร่งรีบภายในนาโกย่า ใกล้สำนักงานใหญ่ญี่ปุ่นของบริษัท ว่า ” เราเสียใจอย่างมาก” เขาได้เปิดเผยว่าเขาได้ตัดสินใจที่จะพูดกับสื่อ ภายใต้ความพยายามจะสร้างความมั่นใจแก่เจ้าของโตโยต้า เขาเชื่อว่าบริษัทจะได้ความไว้วางใจคืนมาในไม่ช้า เขาได้กล่าวว่า “เชื่อผม” รถยนต์โตโยต้าปลอดภัย “เราจะให้ลูกค้าเป็นหนึ่งอยู่เสมอ”อกิโอะ โตโยดะ อายุ 53 ปี ได้ถูกแต่งตั้งเป็นซีอีโอ เพื่อที่จะนำผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดของโลกให้หลุดพ้นจากวิกฤติ นับตั้งแต่บริษัทได้ถูกก่อตั้งเมื่อ ค.ศ 1938 โตโยต้าสามารถนำหน้าเจ็นเนอรัล มอเตอร์ ในฐานะของผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกไม่นานมานี้ พวกเขาต้องเผชิญกับการตกต่ำลงทั่วโลกของอุปสงค์รถยนต์ โดยเฉพาะภายในตลาดอเมริกาที่สำคัญเราจะอยู่ภายในท่ามกลางของวิกฤติใหญ่ และได้เผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ข้างหน้า การขออภัยจะหมายถึงการส่งข่าวสารแก่บุคคลของบริษัทและลูกค้าว่าอกิโอะ โตโยดะ ได้วางแผนทิศทางใหม่แก่บริษัท ถ้าเราเป็นอกิโอะ โตโยดะ และเรามาถึงจุดนี้แล้ว เราจะไม่มีทางเลือกหลายทางที่เราจะสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่อย่างไรอกิโอะ โตโยดะ ได้กล่าววต่อสมาชิกรัฐสภาอเมริกาว่า ผมคืออกิโอ โตโยดะ จากโตโยต้า มอเตอร์ ผมรักรถยนต์มากเท่ากับทุกคน และผมรักโตโยต้าเท่ากับทุกคน ผมจะมีความสุขมากที่สุดต่อการนำเสนอรถยนต์ที่ลูกค้าของเรารัก และผมรู้ว่าสมาชิของทีม 200,000 ของโตโยต้า ผู้แทนจำหน่าย และซัพพลายเออร์ ทั่วทั้งอเมริกาจะรู้สึกทำนองเดียวกัน แต่กระนั้นลูกค้าของเราได้เริ่มต้นที่จะรู้สึกไม่แน่ใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของรถยนต์โตโยต้า แลผมจะต้องมีความรับผิดชอบอต่อเรื่องนั้น ผมอยากจะอธิบายต่อลูกค้าของเราภายในอเมริกาและทั่วโลกว่าโตโยต้าได้จริงจังกับคุณภาพและความปลอดภัยอย่างไรภาพซีฮีโอของโตโยต้าด้วยร่องคิ้วและเม้มริมฝีปาก น้ำตาเอ่อล้นภายในตาของเขา ได้แพร่กระจายไปทั่วเว็บไซต์และหนังสือพิมพ์ จากอเมริกาไปญี่ปุ่นไปจีน การคาดคะนถึงความหมายอย่างครึกโครม การหลั่งน้ำตาของอกิโอะ โตโยดะ
อกิโอะ โตโยดะ ได้ออกจากอเมริกาโดยไม่ได้กล่าวถึงน้ำตามาก จนวารสารวอลสตรีท ได้พบกับเขาที่จีน และได้ขอให้เขา ณ การประชุมสื่อ อธิบายการแสดงออกทางอารมณ์ จีนจะเป็นจุดท้ายของการเดินทางไปของการขออภัยและอธิบายความเสียใจทางคุณภาพของบริษัท เขาได้มาโดยตรงที่เมืองหลวงของจีนจากอเมริกา อธิบายแก่ชาวจีนด้วยคำพูดของเขาเองให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เขาจะฟื้นฟูความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อรถยนต์ของโตโยต้าอย่างไร
ภายใต้ความล้มเหลวทางคุณภาพของโตโยต้า อกิโอะ โตโยดะ ได้กล่าวว่า ผมได้พิจารณตัวเองว่าเป็นผู้รับผิดชอบคนสุดท้ายต่อสมาชิกของทีม 200,000 คนของโตโยต้า ผู้แทนจำหน่าย และซัพพลายเออร์ ทั่วทั้งอเมริกา ในขณะนี้โตโยต้าได้อยู่ภายใต้การตรวจสอบความผิดพลาดทางคุณภาพที่นำไปสู่การเรียกคืนรถยนต์ทั่วโลก 8.5 ล้านคัน ผู้บริหารญี่ปุ่น ได้ให้ปากคำต่อหน้าสมาชิกรัฐสภาอเมริกา และตอบคำถามที่มักจะใจร้อนจากผู้บัญญัติกฏหมาย ภายใต้การอธิบายประชาชนด้วยตัวเองเขาจะพยายามป้องกันคนงานคนงานอเมริกันของโตโยต้า แต่เมื่อผมได้พบพวกเขาเป็นส่วนบุคคล และผมจะมีโอกาสพูดเผชิญหน้ากับพวกเขา ผมได้รับรู้มันจะตรงกันข้าม พวกเขาทุกคนจากบุคคล 200,000 คน ที่ทำงานเพื่อโตโยต้ากำลังป้องกันผม อเมริกาไม่ได้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ แต่หัวใจของผมจะท่วมท้นด้วยความเสียใจ และผมได้ร้องให้ภายในญี่ปุ่น อารมณ์ของอกิโอะ โตโยดะ ได้ชนะการตอบสนองที่สงสารโดยทั่วไป บุคคลหลายคนได้อ้างถ้อยคำ “ชายคนนี้ร้องให้” ร้องให้ด้วยการรักษาความเป็นชายอยู่ ภายในจีน ตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุด ของโลก มองว่าเขาจะเป็นผู้บริหารญี่ปุ่นที่มีความสำคัญมากที่สุดคนหนึ่งต่อโตโยต้า ภาพของการตอบสนองด้วยน้ำตาของเขาจะถูกยอมรับอย่างดีด้วยเมื่อไม่นานมานี้โตโยต้า มอเตอร์ ได้ใช้ความรู้ของชาวอเมริกันภายในการสื่อสารแก่ประชาชน อกิโอะ โตโยดะ ซีอีโอของโตโยต้า ได้กล่าวถึงหนังสือ How The Mighty Fall ของจิม คอลลินส์ ว่า เขาได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของจิม คอลลินส์กับโตโยต้า ด้วยการอธิบายว่าโตโยต้า ได้ผ่านสามขั้นตอนแรกของการตกต่ำไปแล้ว และในขณะนี้พวกเขาจะอยู่ ณ ขั้นตอนที่สี่ เรากำลังแสวงหาทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด โตโยต้าได้กลายเป็นใหญ่จนเกินไปและห่างไกลจากลูกค้าของพวกเขาอกิโอะ โตโยดะ ได้กล่าวถึงผู้ผลิตรถยนต์ที่ขาดทุนของเขากำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด บริษัทได้ดิ้นรนที่จะกลับมาทำกำไร บริษัทรถนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ครั้งหนึ่งบริษัทได้กำหนดเป้าหมายการขายต่อปี 10 ล้านคัน แต่ได้คาดหวังการขาย 7.3 ล้านคันของปีนี้ ลดลงจาก 8.97 ล้านคัน เมื่อ ค.ศ 2008อกิโอะ โตโยดะ ได้กล่าวภายในการประชุมผู้สื่อข่าวด้วยการอ้างถึงขั้นตอนห้าขั้นภายในการตกต่ำของบริษัทของจิม คอลลินส์ เขาได้เตือนว่าบริษัทของเขาได้ตกต่ำลงไปที่ขั้นตอนที่สี่แล้วที่จิม คอลลินส์ เรียกว่า การทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด”เรากำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด” อกิโอะ โตโยดะ ได้กล่าวเพิ่มว่าบริษัทได้ผ่านสามขั้นตอนแรกไปแล้ว 1 ความหยิ่งยะโสจากความสำเร็จ 2 การแสวงหาเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีระเบียบวินัย และ 3 การไม่ยอมรับความเสี่ยงภัยและอันตราย การตักเตือนตัวเองได้สะท้อนการขอโทษจากผู้บริหารญี่ปุ่นโดยทั่วไป การแสดงความรับผิดชอบต่อความยุ่งยากทางการเงินหรือเรื่องน่าละอายของบริษัท
แม้ว่าโตโยต้าจะห่างไกลจากการเข้าไปสู่ขั้นตอนที่ห้า : การยอมแพ้หรือตาย การประเมินความน่ากลัวของอกิโอะ โตโยดะ หมายความที่จะยืนยันความท้าทายที่เขาได้เผชิญอยู่ภายหลังสามเดือนในฐานะของซีอีโอ พวกเขาได้มุ่งหมายที่จะรับรองลูกค้าว่าเขาได้เข้าใจความร้ายแรงของสถานการณ์ และได้ผูกพันที่จะพลิกฟื้นการตกต่ำของโตโยต้าให้ได้
ภายในอเมริกายอดขายของโตโยต้าได้ลดลง 13% อกิโอะ โตโยดะ ได้ย้ำถึงความมุ่งหมายของโตโยต้าที่จะกลับมาทำกำไรให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แม้ว่าเขาได้คาดหวังยอดขายของโลกจะลดลง 18% จาก ค.ศ 2008 เป็น 7.34 ล้านคันของปีนี้ การนำไปสูกำลังการผลิตของบริษัทไม่ได้ถูกใช้ถึง 30%
วารสารอีโคโนมิสท์ 14 ธันวาคม 2009 : โตโยต้าได้เหยียบบนเปลือกกล้วย ไมถึงสองปีที่ผ่านมาโตโยต้าได้นำหน้าเจ็นเนอรัล มอเตอร์ กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก ปัจจุบันนี้ซีอีโอคนใหม่ อกิโอะ โตโยดะ อายุ 53 ปี หลานชายของผู้ก่อตั้ง ได้กล่าวว่าบริษัทได้ถูกปิดตายอยู่ภายในวงจรของการตกต่ำ โตโยต้ายังคงเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัวอยู่ และบุคคลบางคนภายในอุตสาหกรรมและภายในโตโยต้าเองเชื่อว่าอาจจะโตโยต้าอาจจะกล่าวถึงเหตุการณ์เกินจริง
เรื่องราวของโตโยต้าจะมีเลยพ้นไปจากอุตสาหกรรมรถยนต์ พวกเขาไม่เพียงแต่จะเป็นบริษัทรถยนต์เท่านั้น พวกเขาจะเป็นโมเดลของความเป็นเลิศทางการผลิตด้วย การผลิตแบบลีนของโตโยต้าได้ถูกลอกเลียนแบบจากบริษัทนับไม่ถ้วนแม้ว่าคู่แข่งขันบางราย โฟลคสวาเก้น จากเยอรมัน และฮุนได จากเกาหลีใต้ ได้ผ่่านพ้นความน่ากลัวโดยไม่ได้รับอันตรายมาแล้ว ส่วนแบ่งตลาดของโตโยต้าจะลดลงภายในทุกภูมิภาคยกเว้นญี่ปุ่น ภายในอเมริกา ตลาดที่ใหญ่ที่สุดและทำกำไรมากที่สุด โตโยต้าได้เกิดความยุ่งยากจากการเรียกคืนรถยนต์ การสร้างข้อสงสัยต่อความปลอดภัยของรถยนต์ ภายในจีน อินเดีย และบราซิล ตลาดใหญ่ที่เกิดขึ้นมาที่ได้ตอบสนองการเจริญเติบโตในอนาคตของเกือบทั้งอุตสาหกรรม โตโยต้าจะเข้าใจได้ช้าการนำทางไฮบริด เทคโนโลยีของโตโยต้า ได้ถูกคุกคาม เมื่อผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ได้แย่งชิงที่จะนำรถยนต์ไอเสียเป็นศูนย์ออกสู่ตลาด ภายในสามเดือนแรกของ ค.ศ 2009 โตโยต้า ได้ประกาศการขาดทุนที่สูง แม้แต่สูงกว่าเจ็นเนอรัล มอเตอร์จนต้องอยู่ริมขอบของการล้มละลาย รากฐานของปัญหาเหล่านี้จะเป็นความจริงที่ไม่สบายใจ คู่แข่งขันของโตโยต้านำได้เสนอรถยนต์ไม่เพียงแต่เชื่อถือได้ แต่น่าตื่นเต้นไปไกลกว่ารถยนต์ที่น่าเบื่อของโตโยต้า การปลุกเตือนของอกิโอะ โตโยดะ ได้ถูกกระตุ้นจากการอ่านหนังสือ How Mighty Fall ของจิม คอลลินส์ เขาได้ระบุขั้นตอนห้าขั้นของการตกต่ำของบริษัท อกิโอะ โตโยดะ เชื่อว่าโตโยต้า ได้อยู่ ณ ขั้นตอนที่สี่ แล้ว จิม คอลลินส์ ได้เขียนไว้ว่า บริษัท ณ จุดนี้จะยังคงกุมโชคชะตาของพวกเขาเองอยู่ อกิโอะ โตโยดะ ยอมรับว่าบริษัทของเขาได้เกิดอันตรายจากความหยิ่งยะโส หนังสือพิมพ์นิคเคอิได้สะท้อนว่า คำพูดจะไม่เพียงพอ โตโยต้าได้ยอมเสียคุณภาพ ระหว่างการขยายตัวไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว พวกเขาไม่สามารถจองหองจากความสำเร็จที่ผ่านมาได้แล้ว การปฏิเสธไม่ได้ว่าโตโยต้าเชื่อมั่นมากเกินไปโตโยต้าได้กลายเป็นใหญ่จนเกินไปและห่างใกลจากลูกค้าของพวกเขา
ตามขั้นตอนห้าขั้นของการตกต่ำของจิม คอลลินส์ ขั้นตอนที่หนึ่ง การหยิ่งยะโสที่เกิดจากความสำเร็จ บุคคลจะเริ่มต้นเชื่อว่าความสำเร็จจะมีอยู่ต่อไป ไม่ว่าบริษัทจะตัดสินใจทำหรื่อไม่ทำอะไร ผู้บริหารอาวุโสคนหนึ่งของโตโยต้า ได้ยอมรับว่า จนกระทั่งในขณะนี้ทัศนคติของเราจะเป็นเราสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ การหยิ่งยะโสจะถูกตามมาด้วยการแสวงหามากขึ้นอย่างไม่มีระเบียบวินัย ความใหญ่จะสับสนกับความยิ่งใหญ่ การขายตัวอย่างรวดเร็วที่ไม่ธรรมดาของโตโยต้า ได้ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืน ภายในขั้นตอนนี้ เราจะไม่บุคคลที่เหมาะสมเพียงพอจะนั่งเก้าอี้ที่สำคัญได้ ค่านิยมแกนได้ถูกละทิ้ง
ภายหลังจากนั้นจะเข้ามาสู่ การไม่ยอมรับความเสี่ยงภัยและอันตราย ข่าวที่ไม่ดีจะถูกลดค่าหรืออธิบายเหตุผลให้พ้นตัว แทนการเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่โหดร้าย บริษัทจะปรับปรุงองค์การอย่างเรื้อรัง ขั้นตอนก่อนจะไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายจะเกี่ยวพันกับ การทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด การกระทำด้วยการก้าวไปด้วยความหวาดกล้ว และขั้นตอนสุดท้ายคือ การยอมแพ้หรือตาย ที่ไม่ต้องการคำอธิบายต่อไปอีกที่จริงแล้วหัวข้อเหล่านี้จะเป็นถ้อยคำของอกิโอะ โตโยดะ ภายในการประชุมสื่อ เมื่่อผมขึ้นมาเป็นซีอีโอของโตโยต้า ผมได้ให้ความสำคัญสูงสุดส่วนบุคคลต่อการปรับปรุงคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ รถยนต์โตโยต้าทุกคันรับผิดชอบชื่อผม เมื่อรถยนต์เสียหาย ผมจะต้องเสียหายด้วย ผมรักรถยนต์ และผมจะมีความสุขมากที่สุดจากการนำเสนอรถยนต์ที่ลูกค้าของเรารัก ผมมากกว่าใครทุกคน ต้องการให้รถยนต์โดโยต้าปลอดภัย และลูกค้าของเราจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อพวกเขาได้ขับรถยนต์ของเรา
Cr : รศ สมยศ นาวีการ