jos55 instaslot88 Pusat Togel Online ข้อถกเถียงสิทธิสตรีในชุดความคิดทางอิสลามการเมือง ตอนที่ 3 - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

ข้อถกเถียงสิทธิสตรีในชุดความคิดทางอิสลามการเมือง ตอนที่ 3

ข้อถกเถียงสิทธิสตรีในชุดความคิดทางอิสลามการเมือง ตอนที่ 3

 

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

ศูนย์อิสลามและอิหร่านศึกษา  วทส.

 

กลายเป็นข่าวใหญ่ในปี2022ไปเลยทีเดียวจากการพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบียระหว่างวันที่ 25-26 มกราคมที่ผ่านมานั้นและสื่อทุกสำนักได้รายงานเป็นเสียงเดียวกันว่ากระแสใหม่ของซาอุดิอาระเบียกำลังทยานไปสู่ความทันสมัยและการสร้างสัมพันธ์นานาประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศที่เคยเป็นศัตรูต่อกัน และประเทศไทยคงจะได้รับประโยชน์จากการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ในครั้งนี้อย่างแน่นอนและเป็นการขยับของซาอุดิอาระเบียที่น่าสนใจทีเดียว

ซาอุดิอาระเบียได้ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์แบบ360องศาว่าด้วยเผยการพัฒนาแผนปฏิรูปเศรษฐกิจตามวิสัยทัศน์ 2030 (Saudi Vision 2030) ที่ได้มีการประกาศเมื่อ 23 เมษายน 2559  โดยการนำของ MBSเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด ยิ่งทำให้กระแสโลกจับตาซาอุดิอาระเบียเพิ่มมากขึ้นและนักพยากรณ์ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจและแม้แต่ทางด้านศาสนาและสังคมต่างกล่าวว่า ซาอุดิอาระเบียกำลังจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวเองที่เคยเป็นผู้นิยมความแข็งกร้าวในทางอุดมการณ์ทางศาสนาและการเมือง ไม่ว่าต่อปัญหาเรื่องกรณีของสงครามในเยเมนซึ่งก็มีแนวโน้มว่าจะหาทางลงที่เหมาะสมหรือการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านที่เป็นศัตรูทางการเมืองมาหลายทศวรรษมีทีท่าว่าจะเป็นไปได้สูง หรือภาพของความสุดโต่งของมิติทางศาสนาในความเป็นลัทธิวาฮาบีจะแสวงหาทางสายกลางมากยิ่งขึ้น ซึ่งคงจะได้เห็นภาพของการเปลี่ยนผ่านหลายประเด็นโดยการนำของMBSในเวทีทางการเมืองระหว่างประเทศและในประเทศของซาอุดิอาระเบีย

 

 

ซาอุดิอาระเบียกับมุมมองต่อสิทธิสตรี

เมื่อกษัตริย์ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เจ้าชาย มุฮัมมัด บิน ซัลมานหรือรู้จักในนามMBS มีอายุยังไม่ถึง 40 ปี โอรสองค์ที่เจ็ดของกษัตริย์ซัลมาน และบุตรชายคนโตในจำนวนหกคนอันที่เกิดจากภรรยาคนที่ 3 ของกษัตริย์ซัลมาน ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทแห่งซาอุอาระเบีย ซึ่งทำให้MBSขึ้นครองอำนาจเบ็ดเสร็จในหลายส่วน กล่าวคือ นอกจากเป็นมกุฏราชกุมารแล้ว เจ้าชาย มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ประธานสภากิจการฝ่ายเศรษฐกิจและพัฒนา เป็นประธานสภากิจการการเมืองและความมั่นคงเป็นที่ปรึกษาพิเศษของกษัตริย์และยังเป็นประธานกองทุนความมั่งคั่งซาอุดิอาระเบียอีกด้วย

MBSเป็นผู้ริเริ่มแผนยุทธศาสตร์ Saudi Vision 2030 ซึ่งเป็นแผนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการลดการพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน แล้วหันไปเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาภาคบริการสาธารณะ พัฒนาประเทศซาอุดิอาระเบียโดยเปิดกว้างด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการลงทุน การเพิ่มการค้าระหว่างประเทศอื่นๆ ที่จะไม่พึ่งพิงอุตสาหกรรมน้ำมัน

อีกมุมที่สร้างความสนใจให้นานาชาติหันมาให้ความสนใจประเทศซาอุดิอาระเบีย นั่นคือประเด็นเกี่ยวกับสตรีในกฎหมายชะรีอะฮ์ที่ได้กล่าวถึงข้อปฏิบัติต่างๆจำกัดสถานภาพของสตรีในซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะ “ระบบผู้คุ้มครองที่เป็นชาย” ไม่ว่าจะเป็นพ่อ, พี่ชาย, สามี หรือลูกชาย มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่าง ๆ แทนผู้หญิงได้ หรือในมุมที่ว่าผู้หญิงซาอุอิอาระเบียจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากญาติเพศชายเมื่อต้องการทำหนังสือเดินทาง, เดินทางออกไปต่างประเทศ, ไปเรียนต่างประเทศด้วยทุนของรัฐบาล, แต่งงานและเรื่องอื่นๆสำหรับสิทธิและเสรีภาพสตรี

จากข่าวในปี 2019ดังไปทั่วโลก สื่อกระแสหลักได้โหมและดราม่าเกี่ยวกับข้อจำกัดที่ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบีย ให้กลับมาอยู่ในความสนใจของผู้คนอีกครั้ง นั่นคือประเด็นของ นางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน วัย 18 ปี เธอได้หนีออกจากครอบครัวในซาอุดีอาระเบียและขณะนี้เธอได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยในแคนาดาแล้ว  จากนั้นสำนักข่าวบีบีซีได้เจาะประเด็นสิทธิสตรีในซาอุฯว่าเรื่องการจำกัดสิทธิและเสรีภาพสตรีครั้งนั้น ถือว่าส่งผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็กหญิงซาอุฯทุกคน ตั้งแต่เกิดจนตาย

ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียให้สัตยาบัน อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women–CEDAW) และระบุว่า รับประกันความเท่าเทียมทางเพศที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของชารีอะห์ หรือกฎหมายอิสลามตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล นอกจากนี้ถ้าได้ติดตามข่าวก็ ยังได้ยกเลิกการห้ามผู้หญิงและเด็กหญิงเล่นกีฬาในโรงเรียนรัฐบาลและอนุญาตให้ผู้หญิงเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลในสนามได้หรือการอนุญาตให้ผู้หญิงขับขี่รถยนต์ได้ ซึ่งประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ห้ามผู้หญิงขับรถภายใต้กฎหมาย มีเพียงผู้ชายเท่านั้นที่สามารถทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้ ส่วนผู้หญิงที่ฝ่าฝืนจะถูกจับกุมและเสียค่าปรับ ซึ่ต่อมาเมื่อปี 2017 MBSประกาศว่า ผู้หญิงจะได้รับอนุญาตให้ขับรถได้เป็นครั้งแรก นักเคลื่อนไหวต่างยินดีต่อข่าวนี้ แต่ก็ยืนยันว่าจะรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมกันมากขึ้น โดยก่อนหน้านั้นกฎหมายนี้ทำให้หลายครอบครัวต้องจ้างคนขับรถส่วนตัวไว้รับส่งผู้หญิงจนทำให้เกิดวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางและยังมองว่าอิสลามการเมืองในแบบซาอุดิอาระเบียเป็นอิสลามการเมืองที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนบ้างหรือกล่าวว่าได้ละเมิดสิทธิสตรีบ้าง

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ แสดงความกังวลในปี2018 จากความล้มเหลวในการรับรองกฎหมายพิเศษว่าด้วยการห้ามการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง รวมถึง การไม่มีนิยามทางกฎหมายว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในประเทศซาอุดิอาระเบีย

ประเทศซาอุดีอาระเบียถือว่าเป็นประเทศอยู่ในตะวันออกกลางมีความสำคัญต่อศาสนาอิสลามอย่างมาก เพราะมีสถานอันศักดิ์สิทธิ์ถึง๒ แห่ง คือมหานครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ และต่อมาอณาบริเวณนั้นได้ถูกสถาปนารัฐขึ้นมาใหม่ภายใต้ราชวงศ์ซาอูด จึงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น”ประเทศซาอุดิอาระเบีย”  โดยราชวงศ์ซาอูด ประกอบด้วยลูกหลานของมุฮัมมัดบินซาอูด ผู้ก่อตั้งอาณาจักรดีรียะฮ์ รู้จักในนามรัฐซาอุฯที่๑ โดยร่วมมือระหว่างนักการศาสนาชื่อดัง มุฮัมมัด อิบนุ อับดุลวะฮาบกับ มุฮัมมัด บินซาอูด ระหว่างปี 1744-1818  โดยมีเป้าหมายหลักคือการปฎิรูปศาสนาในดินแดนคาบสมุทรอาระเบีย และได้ผ่านการต่อสู้ระหว่างผู้ปกครองเมืองอยู่หลายร้อยปี จนกระทั้งได้ชัยชนะเหนือแคว้นนัจด์และฮิยาซซึ่งมีเมืองศักดิ์สิทธิ์อยู่อย่างมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ จนในที่สุดในปี 1932 อิบนุซาอูดได้รวบรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

โครงสร้างทางการเมืองเป็นระบอบราชาธิปไตย(monarchy)  โดยราชวงศ์ซาอูดเป็นฝ่ายบริหาร  ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ รวมถึงการปกครองในระดับท้องถิ่นหรือกองทัพก็อยู่ภายใต้ราชวงศ์ ส่วนระบอบทางศาสนามีหลักการตามข้อบังคับที่เคร่งครัดตามหลักศาสนาอิสลามนิกายสุนนี ลัทธิวะฮาบี(Wahabism) โดยการวางรากฐานทางศาสนามาจากชัยค์ มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ มีลักษณะเป็นกลุ่มจารีตนิยมและอนุรักษ์นิยม และอิสลามการเมืองซาอุดิอาระเบียก็จะมีรูปแบบหลักอนุรักษ์นิยม

หลักความเชื่อในเรื่องสตรีเพศตามหลักการของลัทธิวาฮาบีซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องกฎการแบ่งแยกเพศผ่านการตีความตัวบททางศาสนาแบบอนุรักษ์นิยม มีมุมมองที่มีลักษณะเป็นอนุรักษ์และไม่เปิดกว้างต่อบทบาทสตรีสักเท่าไหร่นัก ดังนั้นจะเห็นว่าบทบาทผู้หญิงในซาอุฯด้านการเมือง ด้านสังคมค่อนข้างจะเบาตาทีเดียว หรือเรื่องที่ผู้หญิงต้องปฏิบัติตามระเบียบการแต่งกายที่เคร่งครัด ไม่สุงสิงกับชายที่ไม่ใช่ญาติ และหากต้องการเดินทาง ทำงาน หรือรับบริการด้านสาธารณสุข ก็จะต้องมีชายผู้ดูแลไปด้วย หรือได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ดูแลซึ่งเป็นผู้ชายในครอบครัว เช่น สามี บิดา หรือพี่ชาย และเรื่องอื่นๆสำหรับผู้หญิง ไม่ว่าการแต่งงาน การหย่าร้างที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อกระแสหลักอยู่ตลอดมา ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหรับศึกษาระบุว่า ระบบผู้คุ้มครองที่เป็นชาย เป็น “อุปสรรคสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในทางสังคมและเศรษฐกิจ” โดยที่สำนักวาฮาบีเชื่อว่าหลักการในเรื่องสตรีที่ถือปฎิบัติในซาอุดิอาระเบียมาจากการตีความบทบัญญัติในพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน จึงได้ระบุว่า “ผู้ชายคือผู้ปกป้องและผู้ดูแลผู้หญิง เพราะพระเจ้าทรงประทาน ความแข็งแกร่งให้ผู้ชาย มากกว่าผู้หญิง และเพราะพวกเขาสนับสนุนพวกเธอจากวิธีการของพวกเขา”

ฮิวแมนไรท์วอทช์ Human Rights Watch รายงานปี 2016 ว่า ซาอุดิอาระเบียได้บังคับใช้ระบบที่ต้องมีผู้ปกครองในหลายกิจกรรมอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา และผู้หญิงจำนวนหนึ่งซึ่งท้าทายระบบนี้เผชิญกับการถูกกักกันและดำเนินคดีอย่างน่าเป็นห่วง

แกรนด์ มุฟตี อับดุล อาซิส อัช ชัยค์ เจ้าหน้าที่ด้านศาสนาที่มีตำแหน่งสูงสุดของประเทศซาอุดิอาระเบียกล่าวถึงกฏหมายเกี่ยวกับสตรีว่า”อาชญากรรมต่อกฎหมายอิสลามและภัยคุกคามต่อสังคมซาอุดิอาระเบียนั้นมีอยู่จริง” แต่ทว่ากษัตริย์ซัลมานได้ออกพระราชกำหนดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ารับบริการของภาครัฐได้โดยไม่ต้องการขออนุญาตจากผู้คุ้มครองที่เป็นผู้ชายได้ ซึ่งได้สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อมุมมองเรื่องผู้หญิงในอิสลามการเมืองแบบซาอุดิอาระเบียในระดับหนึ่งและด้วยกับวิสัยทัศน์ของ MBS อาจจะเห็นอะไรที่แปลกหูแปลกตาต่อการเมืองในซาอุดิอาระเบียไปจากเดิม โดยเฉพาะปัญหาสตรีในซาอุดิอาระเบียที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้

 

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *