jos55 instaslot88 Pusat Togel Online สงครามสนามเพลาะ - INEWHORIZON

INEWHORIZON

ขอบฟ้าใหม่

สงครามสนามเพลาะ

สงครามสนามเพลาะ

เมื่อศัตรูที่ต่อสู้กันได้ใช้วิถีทางเหมือนกัน และครอบครองอาวุธเหมือนกันสงครามสนามเพลาะได้กลายเป็นหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปรกติฝ่ายที่ชนะจะมีข้อได้เปรียบเล็กน้อยภายในกำลังผลืต หรือทรัพยากรมันยากที่จะมองเห็นเมื่อคุณอยู่ภายในมัน บุคคลและธุรกิจส่วนใหญ่จะอยู่ภายในรูปแบบบางอย่างของสงครามพร่ากำลัง วิถีทางออกไปที่ดีที่สุดคือ การใช้วิถีทางแตกต่างกัน ผ่านทางยุทธวิธี กลยุทธ์ หรืออาวุธ ตามที่ปีเตอร์คอฟแมนได้กล่าวว่า เมื่อคุณทำเหมือนที่บุคคลอื่นทำอย่าประหลาดใจเมื่อคุณได้อะไรที่บุคคลอื่นได้สงครามพร่ากำลังเป็นสงครามโดยไม่มีกลยุทธ์ มันไม่ได้มุ่งชัยชนะทางกลยุทธ์ที่สำคัญ หรือยึดเมืองหรือฐานทางทหาร มันมุ่งที่ชัยชนะเล็กน้อยอย่างต่อเนื่อง สงครามพร่ากำลังคล้ายกับการซุ่มโจมตี และการโจมตีเล็กน้อย มันได้ถูกพิจารณาค่อนข้างเป็นยุทธวิธีสกปรก แม้ว่าจะจำเป็นภายในสถานการณ์บางอย่าง การบุกรัสเซียของฝรั่งเศสจะเป็นตัวอย่างตำราของสงครามพร่ากำลัง ตรงที่รัสเซียได้แทรกแซงกับการขนส่งทางทหารของนโปเลียน และได้ชนะสงครามโดยไม่มีการสู้รบเด็ดขาด การนำเสนอที่จะมองเห็นได้ดีมากของสงครามพร่ากำลังของรัสเซียถูกสร้างโดยชารลส์ ไมนาร์ดแสดงการลดลงอย่างสม่ำเสมอของจำนวนทหารของกองทัพใหญ่ฝรั่งเศส ระหว่างเส้นทางของสงครามตัวอย่างที่รู้จักกันโดยทัวไปของสงครามพร่ากำลังอาจจะอยู่บนแนวรบด้านตะวันตกระหว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทั้งสองกองกำลังทหารได้พบตัวพวกเขาเองภายในตำเเหน่งป้องกันคงที่ภายในสนามเพลาะติดต่อกันไป จากสวิสเซอร์แลนด์ ไปถึงช่องแคบอังกฤษ นานหลายปีโดยไม่มีโอกาสใดก็ตามเพื่อหลบหลีก วิถีทางเดียวเท่านั้นที่ผู้บัญชาการคิดว่าพวกเขาจะสามารถชนะศัตรูคือ โจมตีตัวต่อตัวซ้ำและบดศัตรูให้เป็นผงตัวอย่างที่ยั่งยืนมากที่สุดของสงครามพร่ากำลังบนแนวรบด้านตะวันตกคือ การสู้รบแห่งเเวร์เดิงได้เกิดขึ้นตลอดทั้ง ค.ศ 1916 ยุทธวิธี ณ แวร์เดิงไม่ได้ออกแบบที่จะยึดเมือง แต่จะทำลายกองทัพฝรั่งเศสภายในการตั้งรับของมัน ดังนั้นยุทธวิธีพร่ากำลังได้ถูกใช้ภายในการสู้รบเมื่อนายพลกองทัพสหภาพ วิลเลียม เชอร์แมน ได้กล่าวอย่างมีชื่อเสียงว่า สงครามคือนรก เขาได้อ้างถึงสงครามโดยทั่วไปเเต่เขาสามารถจะอธิบายสงครามสนามเพลาะยุทธวิธีทางทหารที่ย้อนหลังไปยังสงครามกลางเมืองสนามเพลาะ – ขุดหลุมยาวลึกเป็นเครื่องป้องกันคุ้มครอง – มักจะเชื่อมโยงกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและผลลัพธ์ของสงครามสนามเพราะที่การต่อสู้เหมือนนรกสงครามสนามเพลาะภายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ถูกใช้เป็นรากฐานบนแนวรบด้านตะวันตก พื้นที่ของฝรั่งเศสภาคเหนือและเบลเยี่ยมจะมองเห็นการสู้รบระหว่างกองทัพเยอรมัน และกองกำลังพันธมิตรจากฝรั่งเศสอังกฤษ และต่อมาอเมริกาสงครามพร่ากำลังคือ เมื่อฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายได้ตัดสินใจกัดกร่อนศัตรูของพวกเขาจนถึงจุดของความพ่ายแพ้ด้วยการโจมตีกองกำลังของพวกเขาอย่างต่อเนื่องสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่ได้มุ่งชัยชนะอย่างสำคัญ เเต่อยู่ที่บนสงครามสนามเพลาะอย่างต่อเนื่องเมื่อทั้งสองฝ่ายพยายามที่จะได้การรุกล้ำเล็กน้อยภายในพื้นที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งกลายเป็นสงครามพร่ากำลังภายหลังการสู้รบแห่งแม่น้ำมาร์นภายใน ค.ศ 1914 เมื่อพันธมิตรได้หยุดการโจมตีของเยอรมันต่อปารีส ณ แม่น้ำมาร์น ทั้งสองฝ่ายได้สร้างแนวรบที่ยาวของสนามเพลาะป้องกัน สงครามพร่ากำลังที่ยันกันนี้ได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่งสงครามได้กลายเป็นเคลื่อนที่อีกครั้งหนึ่ง แผนการภายในสงครามพร่ากำลังระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคือทำใหศัตรูสึกกร่อนอย่างต่อเนื่อง และจะได้ชนะพวกเขาไปสู่ความพ่ายแพ้ที่ยอมรับสงครามพร่ากำลังเป็นกลยุทธ์ทางทหารที่พยายามทำให้ศัตรูอ่อนแอลงผ่านการสูญเสียภายในบุคคลและวัตถุไม่ใช่ชัยชนะที่รวดเร็วและเด็ดขาด วิธีการนี้มุ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ถ้อยคำพร่ากำลังจะมาจากลาติน หมายถึงสึกกร่อน การอธิบายที่เหมาะสมการสึกกร่อนทีละน้อยของความสามารถของศัตรูที่จะทำสงคราม วิถีทางนี้จะมีประสิทธภาพโดยเฉพาะ เมื่อกองกำลังที่โจมตีศัตรูจะมีความเหนือกว่าภายในทรัพยากรและสามารถรักษาการสู้รบได้นานกว่าศัตรู
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีความหมายอย่างเดียวกับสงครามสนามเพลาะ มันเป็นสงครามพร่ากำลังที่กองทัพของทั้งสองฝ่ายได้สละชีวิตจำนวนมาก
บ่อยครั้งเพื่อการได้พื้นที่เพิ่มเล็กน้อยสงครามสนามเพลาะภายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกี่ยวพันกับสนามเพลาะที่ยาวนาน การให้ตำแหน่งป้องกันแก่ทหารอย่างไม่น่าเชื่อ และตำแหน่งที่พวกเขาสามารถจะเปิดการโจมตี สงครามสนามเพลาะสยดสยอง ทหารมีพื้นที่น้อยที่จะเคลื่อนที่ และมักจะสร้างเชื้อโรคจากสภาวะการมีชีวิตที่สกปรก
ภายในการเริ่มต้นของสงคราม ทั้งสองฝ่ายรับรู้ว่ามันจะยุ่งยากอย่างมากต่อแต่ละฝ่ายที่จะเดินทัพ และทั้งสองฝ่ายได้เริ่มต้นขุดสนามเพราะป้องกัน สงครามสนามเพราะได้เริ่มต้นกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อ 1914 เมื่อสิ้น 1914 แนวรบด้านตะวันตกได้มองเห็นการใช้สนามเพราะอย่างกว้างขวาง ชีวิตภายในสงครามสนามเพราะลำบากมากทหารมีพื้นที่น้อยที่จะเคลื่อนไหว และต้องรับมือกับหนู การคุมขัง และเชื้อโรค นอกจากสงครามเมื่อต้นศตวรรษที่ยี่สิบ การสู้รบภายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นภายในลำดับของสนามเพลาะคู่ขนาน การรบทางทหารหลายครั้งต่อสู้กันภายในลำดับของสนามเพลาะคู่คขนาน ถ้ากองทัพที่โจมตีรุกคืบเพียงพอที่จะบังคับกองทัพที่ตั้งรับถอยกลับไปยังสนามเพลาะต่อไป และพยายามเสริมกำลังตำแหน่งของพวกเขา การล่าถอยเล็กน้อยนี้ดีกว่าที่จะการรับการพ่ายแพ้ทั้งหมด สงครามสนามเพลาะได้บันดาลใจถ้อยคำทางธุรกิจคือ กลยุทธ์การหดตัวแนวรบด้านตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีมากของสงครามพร่ากำลัง สงครามพร่ากำลังเป็นถ้อยคำใช้อธิบายกระบวนการที่ยั่งยืนของการสึกกร่อนศัตรู ผ่านการสูญเสียอย่างต่อเนื่องของบุคคล อุปกรณ์ และสเบียง หรือสึกกร่อนพวกเขาจนถึงขนาดที่ความตั้งใจของพวกเเขาที่จะต่อสู้พังทลายลงภายหลังที่เยอรมันเดินทัพมาสู่ปารีส ได้ถูกหยุด ณ การสู้รบแห่งมาร์นครั้งแรก ทั้งสองฝ่ายได้ขุดแนวคดเคี้ยวของสนามเพลาะป้องกันยืดจากทะเลเหนือไปสูพรมแดนสวิสกับฝรั่งเศส เเนวรบด้านตะวันตกได้เริ่มต้นไปสู่สงครามพร่ากำลังด้วยแนวสนามเพราะที่เปลี่ยนแปลงน้อยจน ค.ศ.1917 เมื่อ ค.ศ 1916 การสู้รบแห่งแม่น้ำซอมม์บนเเนวรบด้านตะวันตกพันธมิตรสูญเสียทหาร 620,000 คน และเยอรมันสูญเสียทหาร 450,000 คนภายในการสู้รบที่พันธมิตรได้พื้นที่เพียงแค่เเปดไมล์ มันเป็นสองปีต่อมาและผู้เสียชีวิตมากขึ้นเป็นหลายล้านคน ก่อนการยันกันภายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดภายในชัยชนะของพันธมิตร การเสียชีวิตจำนวนมากเพียงเพื่อไม่กี่ไมล์ เมื่อทั้งสองฝ่ายได้เคลื่อนไปช้าทีละนิ้วไปสู่การจบสิ้นไม่ว่าอะไรก็ตาม มันเป็นผลตามมาที่เเท้จริงของสงครามแพร่กำลังที่น่ากลัวต้องสูญเสียชีวิตของบุคคลจำนวนมากเหลือเกิน

ภายในต้นศตวรรษที่ยี่สิบ การสู้รบทางทหารต่อสู้กันภายในลำดับของสนามเพลาะคู่ขนานกัน สงครามสนามเพลาะ ได้ถูกใช้โดยทั่วไปภายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มันเป็นกลยุทธ์การตั้งรับตรงที่กองทหารได้ตั้งมั่นอยู่ภายในสนามเพลาะ ป้องกันตัวพวกเขาเองจากการยิงของศัตรู การใช้สนามเพลาะได้ดำเนินต่อไปภายในสงครามโลกครั้งที่สองแม้ว่าสไตล์การ
ต่อสู้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เยอรมันใช้สนามเพลาะอย่างกว้างขวางภายในการป้องกันของพวกเขาต่อสู้กองกำลังพันธมิตรถ้ากองทัพโจมตีเดินหน้าเพียงพอที่จะกดดันกองทัพตั้งรับ ละทิ้งสนามเพลาะ ผู้ตั้งรับจะถอยหลังไปสนามเพลาะต่อไป และพยายามเสริมกำลังตำแหน่งของพวกเขา เพื่อที่จะหยุดการเดินหน้า การล่าถอยล็กน้อยนี้จะดีกว่าแพ้การสู้รบทั้งหมด สงครามสนามเพลาะได้บันดาลใจถ้อยคำธุรกิจ “การหดตัว”เมื่อบริษัทได้เผชิญกับผลการดำเนินงานที่ตกต่ำลงยอดขายหรือรายได้ลดลง และกำไรได้กลายเป็นขาดทุน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจได้ถดถอย การคุกคามจากคู่แข่งขันรายใหม่ การขยายตัวมากเกินไป หรือฐานะการแข่งขันของบริษัทอ่อนแอลง ดังนั้นบริษัทจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ของการหดตัวลง เพื่อที่จะปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้น ผู้บริหารต้องหดตัวบริษัทให้มีขนาดเล็กลง ถ้าเป็นกลยุทธ์ทางทหารจะถูกเรียกกันว่ากลยุทธ์การตั้งรับบริษัทที่ใช้กลยุทธ์การหดตัวจะหดตัวหน่วยธุรกิจอย่างหนึ่งหรือมากกว่าของพวกเขา คล้ายคลึงมากกับกองทัพภายใต้การโจมตี บริษัทใช้กลยุทธ์การหดตัวหวังเพียงแค่ทำการล่าถอยเล็กน้อยไม่ใช่แพ้การสู้รบ แต่มันจะเป็นเพื่อความอยู่รอด มันได้ถูกอ้างโดยทั่วไปเป็นการลดขนาด หรือขนาดที่เหมาะสมด้วยกลยุทธ์การหดตัวที่นิยมแพร่หลายอยู่ในขณะนี้จะเป็นหนี้ต้นกำเนิดต่อสงครามสนามเพลาะนี้ บริษัทที่ใช้กลยุทธ์การหดตัวจะหดตัวหรือตัดทอนหน่วยธุรกิจหน่วยหนึ่งหรือมากกว่าของพวกเขากลยุทธ์การหดตัวมีตั้งแต่การใช้กลยุทธ์การฟื้นฟู กลยุทธ์การขายธุรกิจ ไปจนถึงกลยุทธ์การเลิกธุรกิจ


กลยุทธ์การหดตัวมีขั้นตอนที่สำคัญสองขั้นคือ ขั้นแรกคือ การลดขนาดบริษัทให้เล็กลงด้วยการลดจำนวนบุคคลลง และการขายธุรกิจบางอย่างออกไป ขั้นตอนที่สองคือ การฟื้นฟูบริษัทด้วยการปรับปรุงผลการดำเนินของธุรกิจที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เพื่อที่จะทำให้บริษัทกลับไปสู่การขยายตัวได้อีกครั้งหนึ่ง กระบวนสองขั้นตอนของกลยุทธ์หดตัวอาจจะเปรียบเทียบได้การตัดเล็มต้นกุหลาบ ก่อนที่มันจะถึงฤดูกาลเจริญเติบโตต้นกุหลาบควรจะถูกตัดเล็มกิ่งก้านลงสองในสามของขนาดปรกติการตัดเล็มมันไม่ได้ทำให้ต้นกุหลาบตาย แต่การตัดเล็มจะทำให้ต้นกุหลาบแข็งแรงขึ้นและพร้อมที่จะออกดอกสวยงามและกลิ่นหอม เราอาจจะมองเหมือนกับการลดน้ำหนักของบุคคล
และการทำให้แข็งแรงขึ้น ณ บางเวลาภายในความเป็นมาของบริษัท บริษัทดีเด่นบางบริษัทอาจจะต้องเผชิญกับการเฉื่อยชา หรือผลการดำเนินงานตกต่ำลง ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นมักจะเจ็บปวด เราจะต้องยอมรับว่าบริษัทมีขึ้นและมีลง เมื่อสภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไป แต่ด้วยความเชื่อทางปรัชญาทางตะวันตกที่ว่า “เราต้องเจริญเติบโตหรือตาย” ได้สร้างปัญหาทางจิตใจต่อการตกต่ำของบริษัท


กลยุทธ์การขยายตัวไม่ใช่ว่าจะดีที่สุดต่อบริษัทอยู่เสมอไป กลยุทธ์ของบริษัทต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และบางครั้ง กลยุทธ์การหดตัวจะเป็นกลยุทธ์ดีที่สุดได้ก่อน ค.ศ 1980 ผู้บริหารได้มองว่าการหดตัวเป็นการสบประมาท ไม่มีผู้บริหารคนไหนเลยยอมรับว่ากำลังใช้กลยุทธ์การหดตัวอยู่แต่ต่อมาการบริหารการตกต่ำของบริษัทได้กลายเป็นหัวข้อการวิจัยมากที่สุด และเป็นโรงเรียนการบริหารที่ดีที่สุด การหดตัวอาจจะเป็นทางเลือกที่เจ็บปวดของผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารอาจจะถูกมองว่าล้มเหลว แต่การหดตัวเป็นโอกาสแก่ผู้บริหารที่จะฟื้นฟูบริษัทขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

Cr : รศ สมยศ นาวีการ

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *